โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนพุทธมณฑล สาย 4

ดัชนี ถนนพุทธมณฑล สาย 4

right ถนนพุทธมณฑล สาย 4 (Thanon Phutthamonthon Sai 4) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3310 สายกระทุ่มล้ม - พุทธมณฑล เป็นถนนผิวแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 8 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ทางหลวงชนบท นฐ.4006 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ผ่านมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา ทางแยกต่างระดับศาลายา (ตัดกับถนนบรมราชชนนี) วิทยาลัยราชสุดา ผ่านถนนอุทยาน พุทธมณฑล สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ ไปสิ้นสุดที่ถนนเพชรเกษมบริเวณสี่แยกสาครเกษม ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทาง 10.814 กิโลเมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินดังกล่าวอยู่ในความดูแลของหมวดการทางกระทุ่มแบน แขวงการทางสมุทรสาคร ยกเว้นตั้งแต่หลักกิโลเมตรที่ 0 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 1+680 อยู่ในความดูแลของเทศบาลนครอ้อมน้อ.

14 ความสัมพันธ์: พุทธมณฑลมหาวิทยาลัยมหิดลอำเภอพุทธมณฑลอำเภอกระทุ่มแบนอำเภอสามพรานจังหวัดสมุทรสาครจังหวัดนครปฐมถนนบรมราชชนนีถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4ถนนพุทธสาครถนนอุทยานถนนเพชรเกษมถนนเศรษฐกิจ 1เทศบาลนครอ้อมน้อย

พุทธมณฑล

ทธมณฑล (อังกฤษ: Buddha Monthon)เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา อยู่ใน ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ สร้างขึ้นเพื่อฉลองวาระกึ่งพุทธกาล เมื่อ พ.ศ. 2500 มีพระพุทธรูปปางลีลาประจำพุทธมณฑล เรียกว่า พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี พระพุทธรูปนี้มีความโดดเด่นทางผ้าจีวรที่พลิ้วเหมือนจริง พระพุทธรูปนี้สร้างเสร็จและฉลอง เมื่อ พ.ศ. 2525 คราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี พุทธมณฑลในปัจจุบันนอกจากจะเป็นศูนย์รวมการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและจัดประเพณีกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปพักผ่อนได้อีกด้ว.

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และพุทธมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University; ชื่อย่อ: ม.มหิดล / MU) เป็นสถาบันที่มีที่มาจากการเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช ชื่อว่า โรงเรียนแพทยากร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และมหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพุทธมณฑล

อำเภอพุทธมณฑล เป็นอำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่สุดและมีพื้นที่น้อยที่สุดในจังหวัดนครปฐม.

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และอำเภอพุทธมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอกระทุ่มแบน

กระทุ่มแบน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร.

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และอำเภอกระทุ่มแบน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสามพราน

อำเภอสามพราน เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม มีแม่น้ำนครชัยศรีไหลผ่าน.

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และอำเภอสามพราน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรสาคร

ังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้รับการจัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และจังหวัดสมุทรสาคร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครปฐม

ังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และจังหวัดนครปฐม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบรมราชชนนี

นนบรมราชชนนี (Thanon Borommaratchachonnani) เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ระหว่างเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ระยะทางรวม 33.984 กิโลเมตร เฉพาะส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 สายอรุณอมรินทร์–นครชัยศรี และมีระยะทาง 31.265 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และถนนบรมราชชนนี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4

นนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 เป็นโครงการก่อสร้างถนนตัดใหม่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรี) และจังหวัดนครปฐม โดยต่อขยายถนนพรานนก จากสามแยกไฟฉาย ไปบรรจบถนนพุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร ชาวบ้านเรียกกันว่า "ถนนพระเทพ" หรือ "ถนนจรัญ-กาญจนา".

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพุทธสาคร

นนพุทธสาคร (Thanon Phutthasakhon) หรือ ทางหลวงชนบท.1018 บางครั้งเรียกว่า "ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตัดใหม่" เป็นถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท เชื่อมต่อระหว่างถนนเศรษฐกิจ 1 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3091) ไปสิ้นสุดที่ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) และถนนพุทธมณฑล สาย 4 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3310) ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ระยะทางประมาณ 7.445 กิโลเมตร เดิมเป็นโครงการถนนลาดยางสาย ง 1 ผังเมืองรวมเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2547 ประกอบด้วยถนนแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 4 ช่องจราจร และสะพานทางแยกต่างระดับกระทุ่มแบน ต่อมากรมทางหลวงชนบทได้ก่อสร้างสะพานข้ามแยกตัดกับถนนเพชรเกษม แล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และถนนพุทธสาคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอุทยาน

นนอุทยาน ในปี พ.ศ. 2549 ถนนอุทยาน (Thanon Utthayan) หรือที่นิยมเรียกในชื่อเดิมว่า ถนนอักษะ เป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 3 ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ถึงถนนพุทธมณฑลสาย 4 ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีระยะทาง 3.98 กิโลเมตร ความกว้าง 90 เมตร พร้อมด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือ เสาโคมไฟรูปหงส์เรียงราง 2 ข้างทาง ที่มากถึง 979 ต้น และคูน้ำคั่นกลางความกว้าง 30 เมตร ที่มีน้ำพุเล่นระดับ 3 แห่ง จนได้ชื่อว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดในประเทศไทย ถนนอุทยานหรือเดิมชื่อถนนอักษะ เป็นถนนที่สร้างมุ่งไปพุทธมณฑลซึ่งได้เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2498 สมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (พ.ศ. 2500) โดยเริ่มดำเนินการเวนคืนที่ดินของราษฎรเพื่อสร้างถนนตั้งแต่ พ.ศ. 2494 แต่การก่อสร้างพุทธมณฑลและถนนอักษะได้หยุดชะงักไปเมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม ถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจใน พ.ศ. 2500 ต่อมาในสมัยพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เริ่มรื้อฟื้นโครการพุทธมณฑลขึ้นเนื่องจากใกล้การเฉลิมฉลองโอกาสที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปีใน พ.ศ. 2525 และเสร็จสมบูรณ์ในสมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนถนนอักษะได้รับอนุมัติให้ลงมือก่อสร้างในสมัยที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โครงการก่อสร้างถนนอักษะเป็นโครงการหนึ่งที่กรุงเทพมหานครดำเนินการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ใน พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสง่างามแก่พุทธมณฑลซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ และอำนวยความสะดวกในพระราชพิธีที่พุทธมณฑล ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 1,068,987,571 บาท (ถือเป็นถนนที่ใช้งบประมาณในการสร้างสูงที่สุดในประเทศไทยด้วยกรุงเทพมหานคร, แฟนพันธุ์แท้. เกมโชว์ทางช่อง 5: ศุกร์ที่ 5 เมษายน 2545) และเสร็จสมบูรณ์เปิดให้ประชาชนใช้ได้ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 สำหรับชื่อถนนอักษะซึ่งมาจากภาษาอังกฤษว่า "Axis" แปลว่า "แกนกลาง" นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกหมายถึงประเทศฝ่ายอักษะ คือ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งทำสงครามกับฝ่ายพันธมิตร คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และรัฐบาลในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายอักษะ เมื่อสร้างถนนเสร็จแล้ว กรุงเทพมหานครได้ประสานงานกับกรมศิลปากรในเรื่องชื่อถนนอักษะ ซึ่งกรมศิลปากรได้แนะนำให้ใช้ชื่อว่า ถนนอักษะ ซึ่งแปลว่าแกนกลาง เนื่องจากเป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 3 กับถนนพุทธมณฑลสาย 4 ต่อมากรุงเทพมหานครได้ประสานงานกับกรมศิลปากรเพื่อขอพระราชทานชื่อถนนจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า "ถนนอุทยาน" ซึ่งเป็นชื่อที่สัมพันธ์กับพุทธมณฑล ในเทศกาลสงกรานต์สมัยปัจจุบัน ถนนอุทยานรวมถึงถนนเลียบคลองทวีวัฒนาที่อยู่ใกล้เคียงกัน นิยมใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมและเล่นสาดน้ำเช่นเดียวกับถนนข้าวสารในเขตพระนครและถนนสีลมในเขตบางรัก แต่ในปี..

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และถนนอุทยาน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเพชรเกษม

นนเพชรเกษม (Thanon Phet Kasem) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายกรุงเทพมหานคร–จุดผ่านแดนถาวรสะเดา (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานของประเทศไทย ที่มีเส้นทางมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีระยะทาง 1277.512 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงหรือถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ถนนเพชรเกษมมีเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร (ข้ามคลองบางกอกใหญ่) ตั้งอยู่บนเส้นแบ่งการปกครองระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บริเวณเขตแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อกับทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ ที่เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 123.

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และถนนเพชรเกษม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเศรษฐกิจ 1

นนเศรษฐกิจ 1 (Thanon Setthakit 1) หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3091 สายอ้อมน้อย - สมุทรสาคร เป็นถนนแอสฟัลต์คอนกรีตขนาด 4-6 ช่องจราจรไป-กลับ แยกจากถนนเพชรเกษมที่ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร แยกไปทางซ้ายที่สามแยกกระทุ่มแบน ผ่านทางต่างระดับกระทุ่มแบน บรรจบกับถนนพุทธสาคร (ทางหลวงชนบท สค.4018) แยกไปทางขวา เข้าสู่เขตอำเภอเมืองสมุทรสาคร ผ่านทางแยกต่างระดับมหาชัย ตัดกับถนนพระรามที่ 2 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35) สิ้นสุดที่สี่แยกมหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร รวมระยะทางที่ควบคุมโดยกรมทางหลวง 19.8 กิโลเมตร (ไม่นับรวมทางของเทศบาลนครสมุทรสาคร) ผ่าน 2 อำเภอ คืออำเภอเมืองสมุทรสาคร (ตำบลมหาชัย ตำบลท่าทราย ตำบลนาดี) และอำเภอกระทุ่มแบน (ตำบลคลองมะเดื่อ ตำบลท่าไม้ และตำบลอ้อมน้อย) ถนนเศรษฐกิจ 1 ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 0+000 ถึงกิโลเมตรที่ 19+851 ปัจจุบันอยู่ในความควบคุมของหมวดการทางสมุทรสาครที่ 2 แขวงการทางสมุทรสาคร กรมทางหลวง.

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และถนนเศรษฐกิจ 1 · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลนครอ้อมน้อย

อ้อมน้อย เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลนครแห่งหนึ่งในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร มีพื้นที่ 30.40 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ้อมน้อยทั้งตำบล มีประชากรในปี..

ใหม่!!: ถนนพุทธมณฑล สาย 4และเทศบาลนครอ้อมน้อย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ถ.พุทธมณฑล สาย 4ถนนพุทธมณฑล สาย ๔ถนนพุทธมณฑลสาย 4ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3310

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »