โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เกาะตะรุเตา

ดัชนี เกาะตะรุเตา

หาดของเกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา เป็นเกาะหลัก เกาะใหญ่ที่สุดในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ซึ่งประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ห่างจากเกาะลังกาวี ของมาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร รวมทั้งพื้นที่บนเกาะและทะเลประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร คำว่า "ตะรุเตา" เป็นภาษามลายู เพี้ยนมาจากคำว่า ตือโละตาวาร์ (Teluk Tawar) แปลว่า "อ่าวจืด" หรือ "อ่าวน้ำจืด" เพราะบนเกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่เดียวที่มีธารน้ำจืดอยู่ด้วย ในทางประวัติศาสตร์ ในปี..

10 ความสัมพันธ์: ช่องแคบมะละกากบฏบวรเดชกบฏนายสิบภาษามลายูสงครามแปซิฟิกอำเภอละงูอุทยานแห่งชาติตะรุเตาจังหวัดสตูลทะเลอันดามันเกาะลังกาวี

ช่องแคบมะละกา

องแคบมะละกา อยู่ระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย 250px ช่องแคบมะละกา (Strait of Malacca) เป็นช่องแคบระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตรา อยู่บริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ตะวันตกและใต้ของมาเลเซีย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของเกาะสุมาตรา และเลยไปถึงทางด้านใต้ของสิงคโปร์ ระบุพิกัดที่ประมาณ 1.43 องศาเหนือ และ 102.89 องศาตะวันออก ช่องแคบมะละกาเป็นช่องแคบที่มีความกว้างบริเวณทางเข้าประมาณ 5 ไมล์ ยาวประมาณ 600 ไมล์ ช่วงที่แคบที่สุดประมาณ 1.5 ไมล์ มีเรือผ่านประมาณ 900 ลำต่อวันหรือประมาณ 50,000 ลำต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วมีประมาณเรือที่ผ่านมากกว่าคลองสุเอซประมาณ 2 เท่า และมากกว่าคลองปานามากว่า 3 เท่า มะละกา มะละกา หมวดหมู่:ประเทศสิงคโปร์ มะละกา หมวดหมู่:ชายแดนมาเลเซีย - อินโดนีเซีย.

ใหม่!!: เกาะตะรุเตาและช่องแคบมะละกา · ดูเพิ่มเติม »

กบฏบวรเดช

กบฏบวรเดช เกิดขึ้นเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่ากับระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้เสนอ และถูกมองว่าเป็น "คอมมิวนิสต์" ชนวนสำคัญที่สุดคือข้อโต้แย้งในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ เป็นผลนำไปสู่การนำกำลังทหารก่อกบฏโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อันเป็นที่มาของชื่อ "กบฏบวรเดช" โดยในที่สุดฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามคณะกบฏลงได้ ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและพระชายาได้หนีไปยังประเทศกัมพูชา อนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่บริเวณหลักสี่ บางเขน กรุงเทพฯ ที่เรียกกันว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่" นั้น ชื่อจริงคือ "อนุสาวรีย์ปราบกบฏ" หรือ "อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ" ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้น ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวร.

ใหม่!!: เกาะตะรุเตาและกบฏบวรเดช · ดูเพิ่มเติม »

กบฏนายสิบ

กบฏนายสิบ เป็นแผนที่จะเกิดขึ้นในเวลา 03.00 น. วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2478 หลังการสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) แ้ล้ว และเสด็จไปประทับยังประเทศอังกฤษ เมื่อนายทหารชั้นประทวนในกองพันต่าง ๆ นำโดย สิบเอกสวัสดิ์ มหะมัด ได้รวมตัวกันก่อการเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยหมายจะสังหารนายทหารและบุคคลสำคัญต่าง ๆ ในกองทัพบกและรัฐบาลหลายคน โดยเฉพาะหลวงประดิษฐมนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ให้จับตายเท่านั้น และเมื่อลงมือจริงต้องสามารถจับ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี และ พันโทหลวงพิบูลสงคราม (จอมพลป. พิบูลสงคราม - ยศในขณะนั้น) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นตัวประกันไว้ให้ได้ โดยมีแผนการจะยึดที่ทำการกระทรวงกลาโหมเป็นฐานบัญชาการ และปล่อยตัวนักโทษการเมืองต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นกองกำลังด้วย จากนั้นจะอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นิวัติคืนสู่พระนคร และเสด็จขึ้นครองราชย์อีกครั้ง แต่รัฐบาลล่วงรู้แผนการไว้ได้ก่อน จึงสามารถจับกุมผู้คิดก่อการเอาไว้ได้ในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2478 เวลา 12.00 น. ต่อมาได้มีการตั้งศาลพิเศษชำระคดี หัวหน้าฝ่ายกบฏ.อ.สวัสดิ์ มหะมัด ถูกตัดสินประหารชีวิต โดยศาลนี้ไม่มีทนาย ไม่มีอุทธรณ์ ไม่มีฎีกา และยังสามารถตั้งผู้พิพากษาได้ตามใจอีกต่างหาก โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้พิพากษาที่ผ่านคดีต่าง ๆ มาแล้วอย่างมากเช่นศาลคดีตามปกติ แนวคิดในการก่อกบฏครั้งนี้เกิดขึ้นในกองพันทหารราบที่ 2 ในบังคับบัญชาของ พันตรีหลวงประหารริปู ซึ่งตั้งอยู่ในวังจันทรเกษม (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ผู้เริ่มต้นแนวคิดนี้ คือนายสิบจำนวน 8 คน (ผู้ต้องหาไม่ยอมซัดทอดว่ามีนายทหารหรือใครที่ใหญ่กว่านี้อยู่เบื้องหลังหรือไม่ แม้ว่ารัฐบาลจะเชื่อว่าน่าจะมี โดยเฉพาะพยายามให้ซัดทอดพระยาทรงสุรเดชมากที่สุด แต่ไม่เป็นผล) ผู้ที่เป็นต้นคิดของเหล่าสิบกองพันนี้ก็คือ สิบเอกถม เกตุอำไพ ซึ่งต่อมาก็ได้ขยายวงไปยังกองพันทหารราบที่ 3 และนายทหารอีก 7 คนที่เป็นจุดเริ่มของกบฏครั้งนี้ คือ สิบเอกแช่ม บัวปลื้ม, สิบเอกตะเข็บ สายสุวรรณ, สิบเอกเท้ง แซ่ซิ้ม, สิบเอกกวย สินธุวงศ์, สิบเอกเข็ม เฉลยทิศ, สิบโทหม่อมหลวงทวีวงศ์ วัชรีวงศ์, สิบโทแผ้ว แสงส่งสูง ซึ่งทั้ง 8 คนนี้เป็นนายสิบอาวุโสของกองพัน เป็นผู้ที่คุมคลังอาวุธของกองพัน และเป็นทหารที่ใกล้ชิดกับเหล่าพลทหารที่เป็นกำลังหลักของแต่ละกองพัน ซึ่งเหล่านายสิบนี้คาดว่าจะนำกำลังเหล่านี้ออกปฏิบัติการในวันก่อการ ส่วนกองพันทหารราบที่ 3 ที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามนั้นมี จ่านายสิบสาคร ภูมิทัต กับ สิบเอกสวัสดิ์ มหะหมัด เป็นหัวแรงสำคัญ การพบปะพูดคุยกันก็ใช้ร้านค้าร้านอาหารที่สังสรรค์ของระดับชั้นประทวน แผนที่เหล่านายสิบกลุ่มนี้คิดขึ้น คือ จะมีการนำเอารถถังออกมาข่มขวัญสักจำนวนหนึ่ง และแบ่งสายทหารราบเข้าประชิดตัวบรรดาสมาชิกของคณะราษฎร โดยเฉพาะสายของหลวงพิบูลสงคราม เช่น หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ, พันตำรวจเอกหลวงอดุลเดชจำรัส และ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา แต่ว่าแผนการทั้งหมดได้เกิดแตกเสียก่อน เมื่อสิบเอกผู้หนึ่งในกรมรถรบที่ร่วมรู้ในแผนได้นำไปบอกกับทางรัฐบาล.

ใหม่!!: เกาะตะรุเตาและกบฏนายสิบ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: เกาะตะรุเตาและภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

สงครามแปซิฟิก

งครามแปซิฟิก (Pacific War) หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (Greater East Asia War; 大東亜戦争, Dai Tō-A Sensō) เป็นเขตสงครามหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง สู้รบกันในมหาสมุทรแปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเป็นหลัก มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าสงครามแปซิฟิกเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 หรือ 8 ธันวาคม 1941 เมื่อญี่ปุ่นบุกครองประเทศไทยและโจมตีอาณานิคมของบริติช ได้แก่ มาลายา สิงคโปร์และฮ่องกง ตลอดจนฐานทัพสหรัฐในหมู่เกาะฮาวาย หมู่เกาะเวก เกาะกวมและฟิลิปปินส์ ทว่า สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นและสาธารณรัฐจีนมีมาต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 1937 โดยมีความเป็นปรปักษ์ย้อนหลังไปถึงวันที่ 19 กันยายน 1931 เมื่อประเทศญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรีย จักรวรรดิญี่ปุ่นเริ่มนโยบายชาตินิยมโดยใช้คำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asiatics) วันที่ 3 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: เกาะตะรุเตาและสงครามแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอละงู

อำเภอละงู ตั้งอยู่ในจังหวัดสตูล.

ใหม่!!: เกาะตะรุเตาและอำเภอละงู · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา

'''อุทยานแห่งชาติตะรุเตา''' อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เป็นอุทยานแห่งชาติที่อยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในเขตจังหวัดสตูล อุทยานประกอบไปด้วยเกาะจำนวน 51 เกาะ มีพื้นที่ประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร มีชื่อเสียงที่โด่งดังทางด้านธรรมชาติ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีสภาพเป็นป่าดิบชื้นซึ่งยังมีพรรณไม และสัตว์ป่าที่น่าสนใจจำนวนไม่น้อย และมีพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นป่าชายเลน นอกจากนี้ยังมีอ่าวน้อยใหญ่ที่มีชายหาดสวยงามอยู่หลายแห่ง และในท้องทะเลของเกาะตะรุเตายังมีพันธุ์ปลามากมายหลายชนิดรวมทั้งเต่าทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์ 4 ชนิด คำว่า “ตะรุเตา” นี้ เพี้ยนมาจาก คำว่า “ตะโละเตรา” ในภาษามลายูแปลว่า มีอ่าวมาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช, สำนักอุทยานแห่งชาติ สืบค้นวันที่ 26 มิถุนายน 2555.

ใหม่!!: เกาะตะรุเตาและอุทยานแห่งชาติตะรุเตา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสตูล

ตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า สตูล มาจากคำภาษามลายูเกดะห์ว่า เซอตุล (ستول) (ภาษามาเลย์ว่า เซอตุล (setul)) แปลว่ากระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้.

ใหม่!!: เกาะตะรุเตาและจังหวัดสตูล · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

ใหม่!!: เกาะตะรุเตาและทะเลอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

เกาะลังกาวี

ัตุรัสอินทรี ที่สร้างตามที่มาของชื่อเกาะคือ ''ฮลัง'' ลังกาวี (Langkawi) หรือ ลังกาวี อัญมณีแห่งไทรบุรี (Langkawi Permata Kedah; ลังกาวีเปอร์มาตาเกอดะฮ์) ตั้งอยู่ในทะเลอันดามันใกล้ฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ขึ้นกับรัฐเกอดะฮ์ ประเทศมาเลเซีย ลังกาวีห่างจากเกาะตะรุเตา จังหวัดสตูลของประเทศไทยเพียง 4 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมืองกัวลาปะลิสประมาณ 30 กิโลเมตร และเมืองกัวลาเกอดะฮ์ 51 กิโลเมตร ประกอบด้วยกลุ่มเกาะเมืองร้อนจำนวน 99 เกาะ และเป็นที่รู้จักของชาวไทยและมาเลเซียจากตำนานของมะห์สุหรี สตรีผู้ถูกประหารด้วยความอยุติธรรม โดยนางได้สาปแช่งเกาะลังกาวีไว้ก่อนสิ้นใจ และการนำทายาทรุ่นที่ 7 ของเธอมาถอนคำสาป.

ใหม่!!: เกาะตะรุเตาและเกาะลังกาวี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ตะรุเตา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »