โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตลาดบางแค

ดัชนี ตลาดบางแค

ตลาดบางแค หรือ ตลาดสดบางแค เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ เก่าแก่และยาวนานแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครและฝั่งธนบุรี จุดเริ่มต้นตั้งอยู่ที่ ซอยเพชรเกษม 39/1 (ชุมชนแสงหิรัญ) ในแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ข้ามคลองราชมนตรีเข้าสู่พื้นที่แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพมหานคร และ พื้นที่บริเวณตลาดสดบางแคนี้ไปสิ้นสุดตรงทางแยกบางแค (ถนนบางแค) ในแขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพมหานคร ตลาดบางแค มีจุดกำเนิดจากการที่พื้นที่ตรงนี้เป็นชุมชนมาแต่ดั้งเดิม และเป็นเส้นทางสัญจรไปมาของผู้คนโดยเรือผ่านทางคลองภาษีเจริญ และคลองบางแค จึงมีการค้าขายกันเป็นวิถีชีวิต ต่อมาในยุคก่อนพุทธศักราช 2500 รัฐบาลโดย จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีมีนโยบายต้องการให้กรุงเทพมหานครมีความสวยสะอาด มีระเบียบวินัย หลวงพรหมโยธี นายกเทศมนตรีพระนคร ได้กวดขันให้แม่ค้าหาบเร่ตามสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ เช่น ท้องสนามหลวง, ลานพระบรมรูปทรงม้า ย้ายมาขาย ณ ที่แห่งใหม่ เช่น สะพานเทเวศน์, ท่าเตียน, ถนนวรจักร, หน้าโรงไฟฟ้าสามเสน รวมถึง ณ ที่แห่งนี้ด้วย ซึ่งตลาดสดบางแคมีของขายมากมายอาทิ เช่น ผัก, ผลไม้, ขนมหวาน, ข้าวแกงต่าง ๆ ฯลฯ ในปี..

19 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2500กรุงเทพมหานครมังกร พรหมโยธีรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานครรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลลานพระราชวังดุสิตสถานีบางแคผลไม้ผักถนนบางแคถนนวรจักรท้องสนามหลวงขนมไทยคลองภาษีเจริญตลาดแปลก พิบูลสงครามเขตบางแคเขตภาษีเจริญ

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

มังกร พรหมโยธี

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก มังกร พรหมโยธี หรือ หลวงพรหมโยธี (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2509) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และอดีตรัฐมนตรี.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและมังกร พรหมโยธี · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร

ตัดกันระหว่างคลองบางน้อย กับคลองบางกอกใหญ่ ในพื้นที่แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน คลองในกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 1,161 คลอง และคูลำกระโดง จำนวน 521 คู รวมเป็น 1,682 คูคลอง ความยาว 2,604 กม.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและรายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร

ต (district หรือ khet) เป็นชื่อเรียกหน่วยการปกครองทางมหาดไทย อยู่ระดับเดียวกับอำเภอซึ่งอยู่รองจากจังหวัด แต่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งไม่มีสถานะเป็นจังหวัด ในแต่ละเขตแบ่งออกเป็นแขวง.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

| open.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล · ดูเพิ่มเติม »

ลานพระราชวังดุสิต

ระบรมรูปทรงม้า ภาพถ่ายประมาณ สมัยรัชกาลที่ 6 พระบรมรูปทรงม้า และ ลานพระราชวังดุสิต ในปัจจุบัน ภาพน้ำท่วมเมื่อปี พ.ศ. 2485 หมุดคณะราษฎร พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตน และสวนสนาม ของทหารรักษาพระองค์ ภาพแสดงที่ตั้งของหมุดคณะราษฎร (วงกลมสีเหลือง) พระลานพระราชวังดุสิต หรือที่นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ลานพระบรมรูปทรงม้า เป็นลานกว้างอยู่ด้านหน้าของพระที่นั่งอนันตสมาคมและสวนอัมพร ในเขตพระราชวังดุสิต ถนนอู่ทองใน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ "พระบรมรูปทรงม้า" และหมุด 24 มิถุนายน 2475 ที่ระลึกการเปลี่ยนแปลงการปกครอง.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและลานพระราชวังดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

สถานีบางแค

นีบางแค (Bang Khae Station, รหัส BS19) เป็นโครงการสถานีรถไฟฟ้าลอยฟ้า ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-บางแค ซึ่งโครงการยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง โดยสถานีจะยกระดับเหนือถนนเพชรเกษม.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและสถานีบางแค · ดูเพิ่มเติม »

ผลไม้

แผงขายผลไม้ ผลไม้ (อีสาน: หมากไม้, บักไม้, ถิ่นเหนือ: หน่วยไม้) หมายถึง ผลที่เกิดจากการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศของพืชบางชนิด ซึ่งมนุษย์สามารถรับประทานได้ และส่วนมากจะไม่ทำเป็นอาหารคาว.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและผลไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ผัก

ผักในตลาด ผัก คือพืชที่มนุษย์นำส่วนใดส่วนหนึ่งของพืชอาทิ ผล ใบ ราก ดอก หรือลำต้น มาประกอบอาหาร ซึ่งไม่นับรวมผลไม้ ถั่ว สมุนไพร และเครื่องเทศ แต่เห็ด ซึ่งในทางชีววิทยาจัดเป็นพวกเห็ดรา ก็นับรวมเป็นผักด้วย หลายบ้านมักจะปลูกผักไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน เรียกว่าเป็นผักสวนครัว หรือบางครั้งก็เพื่อเป็นไม้ประดับ ใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มาก พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว แต่ผักบางชนิดอาจมีอายุมากกว่า 1 ปี หากมีจำนวนมากเหลือจากการบริโภค ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและผัก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบางแค

นนบางแค (Thanon Bang Khae) เป็นถนนในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เดิมมีชื่อเรียกว่า "ถนนสุขาภิบาล 1" และ "ถนนบางแค-บางบอน" เริ่มต้นจากถนนเพชรเกษมช่วงแยกบางแคในท้องที่แขวงบางแค เขตบางแค ไปทางทิศใต้ ตัดกับถนนกัลปพฤกษ์ ไปสิ้นสุดที่สะพานข้ามคลองบางโคลัดซึ่งเป็นคลองที่แบ่งเขตระหว่างเขตบางแคกับเขตบางบอน ซึ่งจากจุดนี้ไปก็จะเป็นถนนบางบอน 1.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและถนนบางแค · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวรจักร

นนวรจักรบริเวณแยกเอส. เอ. บี. ถนนวรจักร (Thanon Worachak) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ มีจุดเริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุง (ทางแยกเอส. เอ. บี.) และตัดกับถนนหลวง (ทางแยกวรจักร) ก่อนจะสิ้นสุดลงที่ถนนบำรุงเมือง (ทางแยกแม้นศรี) โดยเป็นเส้นแบ่งพื้นที่การปกครองระหว่างแขวงบ้านบาตรกับแขวงป้อมปราบและแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ถนนวรจักรเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ปรากฏในเอกสารของกระทรวงโยธาธิการใน พ.ศ. 2439 ว่า ทรงสอบถามเรื่องการตัดถนนวรจักรจากพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งได้กราบบังคมทูลว่า กรมโยธาธิการยังไม่ได้รับที่ดินที่ถนนจะตัดผ่านจากกระทรวงนครบาลและยังไม่ได้ประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนเพราะยังทำแผนที่และบัญชีบ้านเรือนที่จะต้องรื้อถอนยังไม่เสร็จ จนกระทั่ง พ.ศ. 2441 การเวนคืนที่ดินก็ยังไม่เรียบร้อย เช่น ยังติดขัดที่เรือนหม่อมเจ้าดำรงค์ หม่อมเจ้าอเนก และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ซึ่งกีดขวางแนวถนน รวมทั้งสะพานเฉลิมยศ 45 ก็อยู่ในแนวถนนวรจักรด้วยเช่นกัน ต่อมาจึงได้มีการประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนออกจากแนวถนนเพื่อให้กรมโยธาธิการก่อสร้างถนน ซึ่งพระราชทานนามไว้ว่าถนนวรจักร จนสำเร็จ นามถนนวรจักรมาจากพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ (พระองค์เจ้าปราโมช) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาอัมพา ในรัชกาลที่ 2 และเป็นต้นราชสกุลปราโมช ปัจจุบัน รอบ ๆ ถนนวรจักรเป็นแหล่งรวมร้านค้าขายอะไหล่รถยนต์ รวมถึงรถจักรยานยนต์ และจักรยาน โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคลองถมด้ว.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและถนนวรจักร · ดูเพิ่มเติม »

ท้องสนามหลวง

ท้องสนามหลวง ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 74 ไร่ 63 ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: ตลาดบางแคและท้องสนามหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ขนมไทย

นมไทยหลายชนิด อาทิ ทองหยอด, ทองหยิบ, ฝอยทอง ซึ่งเป็นขนมที่มีที่มาจากโปรตุเกส โดย ท้าวทองกีบม้า ขนมไทย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยคือ มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและขนมไทย · ดูเพิ่มเติม »

คลองภาษีเจริญ

ลองภาษีเจริญ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2559 มองเห็นพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ คลองภาษีเจริญ บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสบางหว้า คลองภาษีเจริญ เริ่มต้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกัน ไปเชื่อมแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร รวมความยาว 28 กิโลเมตร โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร) เจ้าภาษีฝิ่นเป็นแม่กองขุด ใช้เงินภาษีฝิ่นพระราชทานเป็นเงิน 112,000 บาท พระราชทานนามว่า “คลองภาษีเจริญ” แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเปิดคลองในปี พ.ศ. 2415 ได้คลองมีความยาว 620 เส้น กว้าง 7 วา ลึก 5 ศอก ต่อมาในปี พ.ศ. 2428 -พ.ศ. 2429 และพ.ศ. 2446 ได้มีการขุดลอกอีกครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้ทำพิธีเปิดคลองเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม มีประตูน้ำ 2 แห่ง สร้างเมื่อปี..

ใหม่!!: ตลาดบางแคและคลองภาษีเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

ตลาด

ตลาดสดในสิงคโปร์ ตลาด เป็นการชุมนุมกันทางสังคม แลกเปลี่ยนสินค้ากัน ในภาษาทั่วไป ตลาดหมายความรวมถึงสถานที่ที่มนุษย์มาชุมนุมกันเพื่อค้าขาย ในทางเศรษฐศาสตร์ ตลาดหมายถึงการแลกเปลี่ยนซื้อขาย โดยไม่มีความหมายของสถานที่ทางกายภาพ การค้าขายของไทยสมัยก่อนนั้น เน้นทางน้ำเป็นหลัก เพราะการคมนาคมทางน้ำเป็นการคมนาคมหลักของคนไทย ซึ่งอาจจะเห็นได้จากการมีตลาดน้ำต่าง ๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าและบริการตามความถนัดของแต่ละครอบครัว เป็นแหล่งรายได้ที่สุจริตของแต่ละครอบครัว เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจภายในชุมชนรวมถึงจากภายนอกเข้าสู่ชุมชนด้วย และยังก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในระดับชุมชน รวมถึงการช่วยธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีในชุมชน ในกรณีของชุมชนที่มีวัฒนธรรมความเป็นมา จากการที่กลุ่มคนในชุมชนมีการสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีด้วยกัน คำว่า "ตลาด" สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "ยี่สาร" ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า "บาซาร์" ในภาษาเปอร์เซีย ซึ่งแปลว่า "ตลาด" ตามชาวเปอร์เซียเริ่มเข้ามาในประเทศไทยสมัยพระเจ้าปราสาททอง.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและตลาด · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางแค

ตบางแค เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ ซึ่งถือเป็นเขตเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมดีทางฝั่งธนบุรี ปัจจุบันเขตบางแคเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตคลองสามว.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและเขตบางแค · ดูเพิ่มเติม »

เขตภาษีเจริญ

ตภาษีเจริญ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพโดยทั่วไปมีลักษณะกึ่งชนบทกึ่งชุมชนเมือง แต่ในพื้นที่เนื่องจากมีการขยายตัวของระบบสาธารณูปโภค (โดยเฉพาะด้านการคมนาคม) จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนเกษตรเป็นชุมชนเมืองมากขึ้น.

ใหม่!!: ตลาดบางแคและเขตภาษีเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ตลาดสดบางแค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »