โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาวเคราะห์น้อยประเภท V

ดัชนี ดาวเคราะห์น้อยประเภท V

วเคราะห์น้อยประเภท V หรือดาวเคราะห์น้อยเวสตอยด์ (Vestoid; หมายถึง คล้ายเวสต้า) เป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยเวสต้า ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงที่ใหญ่ที่สุดในประเภทนี้ และเป็นที่มาของชื่อ (V) ดาวเคราะห์น้อยประเภทนี้ส่วนมากมีองค์ประกอบของวงโคจรคล้ายคลึงกับ 4เวสต้า มีความเยื้องศูนย์กลางและความเอียงของวงโคจรพอๆ กัน ทั้งยังอยู่ใกล้กันพอที่จะถือเป็นดาวเคระกูลเวสต้า โดยมีค่ากึ่งแกนเอก ระหว่าง 2.18 หน่วยดาราศาสตร์ ไปจนถึงบริเวณช่องว่างเคิร์กวูด 3:1 หรือ 2.50 หน่วยดาราศาสตร์ ข้อมูลนี้บ่งชี้ว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนมากเหล่านี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกของเวสต้ามาก่อน แล้วแตกกระจายออกโดยการปะทะคราวใดคราวหนึ่งในอดีต ทั้งนี้มีแอ่งขนาดใหญ่ทางซีกใต้ของเวสต้าที่สนับสนุนสมมุติฐานนี้ ดาวเคราะห์น้อยประเภท V มีความสว่างระดับปานกลาง โดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยประเภท S ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นหิน เหล็ก และคอนไดรท์ธรรมดาๆ แต่มี ไพร็อกซีน มากกว่าประเภท S.

8 ความสัมพันธ์: ช่องว่างเคิร์กวูดกึ่งแกนเอกหน่วยดาราศาสตร์ดาวเคราะห์น้อยดาวเคราะห์น้อยประเภท Sความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรความเอียงของวงโคจร4 เวสตา

ช่องว่างเคิร์กวูด

องว่างเคิร์กวูด หรือ ช่องแคบเคิร์กวูด (Kirkwood gaps) เป็นช่องว่างของการกระจายตัวของดาวเคราะห์น้อยในแถบดาวเคราะห์น้อยที่ค่ากึ่งแกนเอกต่างๆ (หรือเทียบเท่ารอบการโคจรของมัน) ดังแสดงให้เห็นในแผนภาพฮิสโตแกรมข้างล่างนี้ ตำแหน่งของช่องว่างเคิร์กวูดมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งการสั่นพ้องของวงโคจรกับดาวพฤหัสบดี แผนภาพแสดงการกระจายตัวของดาวเคราะห์น้อยตามกึ่งแกนเอกต่างๆ ตามค่าแกนของแถบหลัก ตำแหน่งลูกศรชี้คือตำแหน่งช่องว่างเคิร์กวูด ยกตัวอย่างดังนี้ มีดาวเคราะห์น้อยอยู่จำนวนน้อยมากที่ค่ากึ่งแกนเอกใกล้เคียงกับ 2.50 หน่วยดาราศาสตร์ หรือคาบโคจร 3.95 ปี ซึ่งหมายถึงดาวเคราะห์น้อยเหล่านี้ต้องโคจรไปสามรอบจึงจะเท่ากับรอบโคจรของดาวพฤหัสบดี 1 รอบ (ดังนั้นจึงเรียกตำแหน่งนี้ว่า การสั่นพ้องวงโคจร 3:1) ตำแหน่งการสั่นพ้องวงโคจรแห่งอื่นๆ มีความสัมพันธ์กับคาบโคจรของดาวพฤหัสบดีแบบเป็นเลขจำนวนเต็มเช่นเดียวกัน แรงสั่นพ้องนี้ไล่ให้ดาวเคราะห์น้อยออกไปจากบริเวณ ขณะที่ยอดแหลมในแผนภาพฮีสโตแกรมมักแสดงถึงการรวมกลุ่มกันของตระกูลดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ ผู้ที่สังเกตเห็นช่องว่างนี้เป็นครั้งแรก คือ แดเนียล เคิร์กวูด ในปี ค.ศ. 1857 ทั้งยังสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของตำแหน่งช่องว่างเหล่านี้กับวงโคจรของดาวพฤหัสบดีด้วย หมวดหมู่:ดาวเคราะห์น้อย.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์น้อยประเภท Vและช่องว่างเคิร์กวูด · ดูเพิ่มเติม »

กึ่งแกนเอก

กึ่งแกนเอกของวงรี ระยะกึ่งแกนเอก (Semi-major axis) ในทางเรขาคณิต หมายถึงความยาวครึ่งหนึ่งของแกนเอก ซึ่งใช้แสดงถึงมิติของวงรีหรือไฮเพอร์โบลา หมวดหมู่:ภาคตัดกรวย.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์น้อยประเภท Vและกึ่งแกนเอก · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU".

ใหม่!!: ดาวเคราะห์น้อยประเภท Vและหน่วยดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์น้อย

วเคราะห์น้อย 253 แมธิลด์ เป็นดาวเคราะห์น้อยแบบ C-Type ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid หรือบางครั้งเรียกว่า Minor Planet / Planetoid) คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว 10 เมตรหรือน้อยกว่า) และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว (คำว่า asteroid มาจากคำภาษากรีกว่า αστεροειδής หรือ asteroeidēs ซึ่งหมายถึง "เหมือนดวงดาว" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า Aστήρ หรือ astēr ซึ่งแปลว่า ดวงดาว) และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ) และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีการตั้งชื่อคือ ซีรีส ค้นพบในปี พ.ศ. 2344 โดย จูเซปเป ปิอาซซี ซึ่งในช่วงแรกคิดว่าได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ และกำหนดประเภทให้มันว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ ซีรีสนับเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน และจัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์แคระ ส่วนดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ จัดเป็นวัตถุในระบบสุริยะขนาดเล็ก เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (พ.ศ. 2281 - 2365 ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส เมื่อ พ.ศ. 2324) เป็นผู้ประดิษฐ์คำศัพท์ "asteroid" ให้แก่วัตถุอวกาศชุดแรก ๆ ที่ค้นพบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งทั้งหมดมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี โดยส่วนใหญ่วงโคจรมักบิดเบี้ยวไม่เป็นวงรี แต่หลังจากนั้นมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ นับตั้งแต่ดาวพุธไปจนถึงดาวเนปจูน และอีกหลายร้อยดวงอยู่พ้นจากดาวเนปจูนออกไป ดาวเคราะห์น้อยส่วนมากพบอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่เป็นซากที่หลงเหลือในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ระหว่างการก่อกำเนิดระบบสุริยะเนื่องจากแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีดาวบริวาร หรือโคจรระหว่างกันเองเป็นคู่ เรียกว่า ระบบดาวเคราะห์น้อยคู.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์น้อยประเภท Vและดาวเคราะห์น้อย · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์น้อยประเภท S

อีรอส ตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยประเภท S ดาวเคราะห์น้อยประเภท S เป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกา (Silica) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ มีอยู่เป็นจำนวนประมาณ 17% ของดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด ซึ่งเป็นจำนวนมากรองจากดาวเคราะห์น้อยประเภท C หรือจำพวกคาร์บอน.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์น้อยประเภท Vและดาวเคราะห์น้อยประเภท S · ดูเพิ่มเติม »

ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร

ตัวอย่างค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร (Orbital eccentricity) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร มีความหมายถึงความเบี่ยงเบนไปจากวงกลมของวงโคจรของวัตถุนั้น คำนวณโดยลักษณะเดียวกับความเยื้องศูนย์กลางของภาคตัดกรวย โดยวงโคจรของวัตถุจะมีค่าความเยื้องศูนย์กลาง(e\,\!) ดังนี้.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์น้อยประเภท Vและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ความเอียงของวงโคจร

แสดงความเอียงของวงโคจร ความเอียงของวงโคจร (inclination) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร หมายถึงมุมระหว่างระนาบของวงโคจรกับระนาบอ้างอิง ความเอียงของวงโคจร เป็นหนึ่งใน 6 องค์ประกอบของวงโคจร ใช้อธิบายถึงรูปร่างและทิศทางของวงโคจรของวัตถุท้องฟ้า นับเป็นระยะเชิงมุมของระนาบวงโคจรเทียบกับระนาบอ้างอิง (โดยมากมักใช้เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นสุริยวิถีของดาวฤกษ์แม่ในระบบ และมีหน่วยเป็นองศา) สำหรับระบบสุริยะ ความเอียงของวงโคจร (คือ i ในภาพด้านข้าง) ของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งๆ จะเท่ากับมุมระหว่างระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นกับเส้นสุริยวิถี ซึ่งเป็นระนาบที่เป็นเส้นทางโคจรของโลก นอกจากนี้ยังสามารถวัดได้โดยเปรียบเทียบกับระนาบอื่นๆ เช่น เทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ หรือเทียบกับระนาบโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่การใช้เส้นสุริยวิถีในการอ้างอิงจะเหมาะสมกับผู้สังเกตการณ์บนโลกมากกว่า วงโคจรของดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะของเรามีค่าความเอียงของวงโคจรค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกันเองหรือเทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ก็ตาม มีข้อยกเว้นก็เพียงในบรรดาดาวเคราะห์แคระ เช่น พลูโต และ อีรีส ซึ่งมีค่าความเอียงของวงโคจรเทียบกับสุริยวิถีสูงถึง 17 องศาและ 44 องศาตามลำดับ ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่เช่น พัลลัส ก็มีความเอียงของวงโคจรสูงถึง 34 องศา สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบ ยังไม่ค่อยมีการวัดความเอียงของวงโคจร ทราบได้แต่เพียงมวลต่ำสุดของมันเท่านั้น ซึ่งหมายถึง ดาวเคราะห์นอกระบบบางดวงที่แท้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาล หรือเป็นดาวแคระแดงที่จางมากๆ ก็ได้ มีแต่เพียงดาวเคราะห์ที่ตรวจพบการเคลื่อนผ่าน และที่ตรวจจับด้วยวิธีมาตรดาราศาสตร์ จึงสามารถทราบถึงความเอียงของวงโคจร และบางทีอาจทราบถึงมวลที่แท้จริงได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 ข้างหน้านี้ น่าจะมีการตรวจวัดความเอียงของวงโคจรและมวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากได้เพิ่มขึ้น โดยใช้การสังเกตการณ์ในอวกาศผ่านปฏิบัติการต่างๆ เช่น Gaia mission, Space Interferometry Mission, และ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์น้อยประเภท Vและความเอียงของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

4 เวสตา

4 เวสต้า (Vesta) เป็นวัตถุขนาดใหญ่ที่มีมวลมากที่สุดเป็นลำดับสองในแถบดาวเคราะห์น้อย โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 530 กิโลเมตร (329 ไมล์) และมีมวลคิดเป็นประมาณ 9% ของมวลดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักทั้งหมด ผู้ค้นพบเวสต้าคือนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ เฮนริค วิลเฮล์ม โอลเบอร์ส ค้นพบเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1807 และได้ตั้งชื่อตามเทพีผู้บริสุทธิ์ตามเทพปกรณัมโรมันซึ่งเป็นผู้ปกครองบ้านเรือนและเตาไฟ คือเทพีเวสต.

ใหม่!!: ดาวเคราะห์น้อยประเภท Vและ4 เวสตา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »