โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาราจักรแปลก

ดัชนี ดาราจักรแปลก

ราจักรแปลก (Peculiar Galaxy) คือดาราจักรที่ผิดปกติในหลายๆ ด้าน ทั้งขนาด รูปร่าง หรือองค์ประกอบ ดาราจักรชนิดนี้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างดาราจักร และอาจมีองค์ประกอบของฝุ่นและแก๊สที่ไม่เป็นไปตามปกติ โดยอาจมีความสว่างพื้นผิวที่สูงหรือต่ำกว่าดาราจักรโดยทั่วไป หรืออาจมีส่วนประกอบเช่นลำอนุภาคนิวเคลียร์ ลักษณะรูปร่างอาจจะผิดประหลาดอย่างมากเนื่องจากผลของแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อมันอย่างรุนแรงระหว่างการปะทะกับดาราจักรอื่น ในตารางรายชื่อดาราจักรจะใช้รหัสแทนดาราจักรประเภทนี้ว่า p หรือ pec.

6 ความสัมพันธ์: ฝุ่นคอสมิกดาราจักรดาราจักรชนิดวงแหวนดาราจักรชนิดดาวกระจายดาราจักรไร้รูปแบบความโน้มถ่วง

ฝุ่นคอสมิก

ฝุ่นคอสมิก (Cosmic Dust) เป็นฝุ่นชนิดหนึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบเล็ก ๆ ในอวกาศ มีขนาดโมเลกุลราว 0.1 มม.

ใหม่!!: ดาราจักรแปลกและฝุ่นคอสมิก · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักร

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง.

ใหม่!!: ดาราจักรแปลกและดาราจักร · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรชนิดวงแหวน

''Hoag's Object'' ตัวอย่างดาราจักรชนิดวงแหวน ดาราจักรชนิดวงแหวน (Ring Galaxy) คือดาราจักรที่มีลักษณะปรากฏคล้ายวงแหวน ที่บริเวณวงแหวนประกอบด้วยดาวฤกษ์มวลมากสีน้ำเงินที่อายุยังน้อยและสว่างมาก ส่วนย่านใจกลางเป็นสสารส่องสว่างจำนวนไม่มากนัก นักดาราศาสตร์เชื่อว่าดาราจักรชนิดวงแหวนก่อตัวขึ้นเนื่องจากมีดาราจักรขนาดเล็กกว่าเคลื่อนผ่านใจกลางของดาราจักรที่ใหญ่กว่า และในดาราจักรส่วนมากมีช่องอวกาศว่างเปล่าอยู่มากมาย ผลจาก "การปะทะ" เช่นนี้เกิดขึ้นน้อยกว่าผลการปะทะระหว่างดาวโดยทั่วไป อย่างไรก็ดีการกีดขวางแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากคลื่นการก่อตัวของดาวฤกษ์ใหม่เมื่อเคลื่อนผ่านดาราจักรที่ใหญ่กว่าอาจทำให้เกิดผลเช่นนี้ขึ้นได้ วัตถุของโฮแอก (Hoag's Object) ค้นพบโดย อาร์ต โฮแอก เมื่อ ค.ศ. 1950 เป็นตัวอย่างของดาราจักรชนิดนี้.

ใหม่!!: ดาราจักรแปลกและดาราจักรชนิดวงแหวน · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรชนิดดาวกระจาย

ราจักรหนวดแมลง ตัวอย่างของดาราจักรชนิดดาวกระจายระดับสูง เกิดจากการปะทะกันระหว่างดาราจักร NGC 4038 กับ NGC 4039 ปฏิกิริยาดาวกระจายที่เกิดขึ้นย่านใจกลางของดาราจักรแคระ NGC 1569 ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ดาราจักรชนิดดาวกระจาย (Starburst Galaxy) คือดาราจักรที่อยู่ในกระบวนการก่อเกิดดาวฤกษ์ใหม่ในอัตราสูงเป็นพิเศษ เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการก่อเกิดดาวฤกษ์ใหม่ที่พบในดาราจักรทั่วไป บ่อยครั้งที่มักตรวจพบดาราจักรที่ก่อเกิดดาวฤกษ์ใหม่อย่างมหาศาลภายหลังการปะทะกันระหว่างดาราจักรสองแห่ง อัตราการเกิดดาวฤกษ์นี้มีมากขนาดที่ว่า หากคงอัตราเดิมต่อไป แก๊สที่มีอยู่ในดาราจักรจะถูกใช้หมดไปในเวลาอันสั้นกว่าอายุเฉลี่ยของดาราจักรอย่างมาก เหตุนี้การเกิดปฏิกิริยาดาวกระจายจำนวนมากจึงเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น ดาราจักรชนิดดาวกระจายที่มีชื่อเสียงได้แก่ ดาราจักร M82 ดาราจักร NGC 4038/NGC 4039 (ดาราจักรแอนเทนนา) และดาราจักร IC 10 เป็นต้น.

ใหม่!!: ดาราจักรแปลกและดาราจักรชนิดดาวกระจาย · ดูเพิ่มเติม »

ดาราจักรไร้รูปแบบ

ราจักร NGC 1427A ตัวอย่างของดาราจักรไร้รูปแบบ อยู่ห่างออกไปประมาณ 52 ล้านปีแสง ภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ดาราจักรไร้รูปแบบ (Irregular Galaxy) คือดาราจักรที่ไม่สามารถแบ่งแยกชนิดให้เป็นประเภทใดประเภทหนึ่งในลำดับของฮับเบิลได้อย่างชัดเจน ดาราจักรเหล่านี้ไม่มีรูปทรงแบบก้นหอยและไม่มีสัณฐานรี โดยมากมักมีลักษณะยุ่งเหยิง ไม่ปรากฏดุมดาราจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดที่คล้ายจะเป็นแขนดาราจักรเลย โดยมากเชื่อกันว่าดาราจักรชนิดนี้มีอยู่ประมาณ 1 ใน 4 ของดาราจักรทั้งหมด ครั้งหนึ่งมันน่าจะเคยเป็นดาราจักรชนิดก้นหอยหรือชนิดรีมาก่อน แล้วเกิดสูญสลายรูปทรงไปด้วยแรงกิริยาความโน้มถ่วง ในดาราจักรไร้รูปแบบยังมีแก๊สและฝุ่นอยู่เป็นจำนวนมากด้วย ดาราจักรไร้รูปแบบอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดฮับเบิลใหญ่ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: ดาราจักรแปลกและดาราจักรไร้รูปแบบ · ดูเพิ่มเติม »

ความโน้มถ่วง

หมุนรอบดวงอาทิตย์ ไม่หลุดออกจากวงโคจร (ภาพไม่เป็นไปตามอัตราส่วน) ความโน้มถ่วง (gravity) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้วัตถุกายภาพทั้งหมดดึงดูดเข้าหากัน ความโน้มถ่วงทำให้วัตถุกายภาพมีน้ำหนักและทำให้วัตถุตกสู่พื้นเมื่อปล่อย แรงโน้มถ่วงเป็นหนึ่งในสี่แรงหลัก ซึ่งประกอบด้วย แรงโน้มถ่วง แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และ แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม ในจำนวนแรงทั้งสี่แรงหลัก แรงโน้มถ่วงมีค่าน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าแรงโน้มถ่วงจะเป็นแรงที่เราไม่สามารถรับรู้ได้มากนักเพราะความเบาบางของแรงที่กระทำต่อเรา แต่ก็เป็นแรงเดียวที่ยึดเหนี่ยวเราไว้กับพื้นโลก แรงโน้มถ่วงมีความแรงแปรผันตรงกับมวล และแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสอง ไม่มีการลดทอนหรือถูกดูดซับเนื่องจากมวลใดๆ ทำให้แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่สำคัญมากในการยึดเหนี่ยวเอกภพไว้ด้วยกัน นอกเหนือจากความโน้มถ่วงที่เกิดระหว่างมวลแล้ว ความโน้มถ่วงยังสามารถเกิดขึ้นได้จากการที่เราเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน เช่น การเพิ่มหรือลดความเร็วของวัตถุ การเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ เป็นต้น.

ใหม่!!: ดาราจักรแปลกและความโน้มถ่วง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »