โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดรากอน (ยานอวกาศ)

ดัชนี ดรากอน (ยานอวกาศ)

รากอน (Dragon) เป็นยานอวกาศที่สามารถนำบางส่วนมาใช้ใหม่ได้ พัฒนาโดย สเปชเอ็กซ์ บริษัทขนส่งอวกาศเอกชนสัญชาติอเมริกัน ตั้งอยู่ในฮาวธอร์น, รัฐแคลิฟอร์เนีย ดราก้อนถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดขนส่งแบบ Falcon 9 ซึ่งเป็นจรวดสองส่วน สเปซเอ็กซ์ยังพัฒนาดรากอนอีกหนึ่งรุ่นที่สามารถขนส่งมนุษย์ได้ ชื่อว่า ดราก้อนไรเดอร์ (Dragon V2) ยานดรากอน เริ่มเที่ยวบินแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 และทำให้ดรากอนกลายเป็นยานอวกาศเชิงพาณิชย์ลำแรก และสามารถกู้คืนจากวงโคจรได้สำเร็จ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ยานดรากอนแบบขนส่งสินค้า เป็นยานอวกาศเชิงพาณิชย์ลำแรกที่โคจรบรรจบและเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ นอกจากนี้ยังได้ทำสัญญาในการขนส่งสินค้าไปยังสถานีอวกาศนานาชาติภายใต้โครงการชื่อ Commercial Resupply Services ของนาซา ดรากอนเริ่มการขนส่งดังกล่าวตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา นอกจากนี้ สเปซเอ็กซ์ยังพัฒนาดรากอนสำหรับบรรทุกนักบินอวกาศในชื่อ ดรากอน วี2 สามารถขนส่งนักบินอวกาศได้ถึง 7 คน และสามารถปรับเปลี่ยนให้ขนส่งนักบินอวกาศพร้อมกับสินค้าได้ มีระยะปฏิบัติการในวงโคจรต่ำของโลก นอกจากนี้ สเปซเอ็กซ์ยังได้รับสัญญาจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้พัฒนายานขนส่งมนุษย์ให้ทางรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีแผ่นกันความร้อนที่ออกแบบมาเพื่อรองรับแรงเสียดทานจากบรรยากาศโลกหลังกลับจากดาวอังคารได้ เพราะการเดินทางระหว่างดาวเคราะห์จะใช้ความเร็วหลุดพ้น ซึ่งมีความเร็วสูงมาก.

15 ความสัมพันธ์: ฟัลคอน 9พ.ศ. 2553พ.ศ. 2555ยานอวกาศรัฐแคลิฟอร์เนียวงโคจรต่ำของโลกสถานีอวกาศนานาชาติสเปซเอ็กซ์ธันวาคมความเร็วหลุดพ้นตุลาคมนาซาเดอะนิวยอร์กไทมส์G25 พฤษภาคม

ฟัลคอน 9

ฟัลคอน 9(อังกฤษ: Falcon 9) เป็นชื่อตระกูลพาหนะขนส่งทางอวกาศที่ออกแบบและสร้างโดยสเปซเอ็กซ์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองฮาวทอร์น, แคลิฟอร์เนีย ตระกูลจรวดนี้ประกอบด้วยฟัลคอน 9 v1.0 และฟัลคอน 9 v1.1 และฟัลคอน 9-อาร์ ทั้งสองส่วนของจรวด ขับดันโดยเครื่องยนต์จรวดที่ใช้ออกซิเจนเหลว และน้ำมันก๊าดแบบ RP-1 เป็นเชื้อเพลิง ฟัลคอน 9 รุ่นปัจจุบัน มีระวางบรรทุก 13,150 กิโลกรัมขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลก และ 4,850 กิโลกรัมขึ้นสู่วงโคจรค้างฟ้า จรวดทั้ง 3 แบบ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับกลางของระบบขนส่งอวกาศ จรวดฟัลคอน 9 และยานดรากอนชนะข้อเสนอภารกิจขนส่งสัมภาระขึ้น/ลงจากสถานีอวกาศนานาชาติ ในชื่อภารกิจ Commercial Resupply Services (CRS) ภายใต้โครงการ Commercial Orbital Transportation Services (COTS) ของนาซา และได้เริ่มเที่ยวบินแรกของภารกิจดังกล่าวเมื่อเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และฟัลคอน 9 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2555

ทธศักราช 2555 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2012 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีมะโรง จัตวาศก จุลศักราช 1374 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก) สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้..

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และพ.ศ. 2555 · ดูเพิ่มเติม »

ยานอวกาศ

นอวกาศที่มีคนขับ Soyuz ของรัสเซีย(รุ่นที่แสดงเป็นรุ่น TMA)ได้บินมาแล้วมากกว่า 100 ครั้งตั้งแต่ปี 1967, แต่เดิมถูกใช้สำหรับโครงการดวงจันทร์ที่มีคนขับของโซเวียต, แต่ปัจจุบันให้การสนับสนุนสถานีอวกาศนานาชาติ Spacelab), สถานีอวกาศเมียร์และสถานีอวกาศนานาชาติ (ภาพแสดงการยิงขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกของยาน"โคลัมเบีย") ยานอวกาศ คือยานพาหนะ, ยานหรือเครื่องยนต์ที่ออกแบบมาเ'''พื่'''อบินไปในอวกาศ ยานอวกาศถูกนำมาใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย, รวมถึงการสื่อสารโทรคมนาคม, การสังเกตโลก, การอุตุนิยมวิทยา, การนำทาง, การสำรวจดาวเคราะห์และการขนส่งมนุษย์และสินค้า ในการบินในอวกาศแบบวงโคจรย่อย) ยานอวกาศเข้าสู่อวกาศด้านนอก จากนั้นก็กลับมายังพื้นผิวโลกโดยไม่ได้ขึ้นไปสู่วงโคจรหลัก. แต่สำหรับการบินในอวกาศแบบวงโคจรหลัก (orbital spaceflight) ยานอวกาศเข้าสู่วงโคจรปิดรอบโลกหรือรอบวัตถุนอกโลกหรือดวงดาวอื่นๆ ยานอวกาศที่ใช้สำหรับการบินของมนุษย์จะบรรทุกลูกเรือหรือผู้โดยสารบนยานจากจุดเริ่มต้นหรือสถานีอวกาศในวงโคจรเท่านั้น ในขณะที่ ยานที่ใช้สำหรับภารกิจหุ่นยนต์อวกาศจะทำงานด้วยตนเองหรือจากระยะไกลอย่างใดอย่างหนึ่ง ยานอวกาศหุ่นยนต์ที่ใช้เพื่อสนับสนุนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เป็นยานสำรวจอวกาศ ยานอวกาศหุ่นยนต์ที่ยังคงอยู่ในวงโคจรรอบโลกเป็นดาวเทียม มีเพียงยานสำรวจระหว่างดวงดาวไม่กี่ลำเช่นไพโอเนียร์ 10 และ 11, Voyager 1 และ 2, และ New Horizons ที่ปัจจุบันยังอยู่ในวงโคจรที่หลุดออกจากระบบสุริยะของเร่า ยานอวกาศที่อยู่ในวงโคจรอาจจะสามารถกู้คืนได้แต่บางทีก็ไม่ได้. โดยวิธีการย้อนกลับไปยังโลก พวกมันอาจจะถูกแบ่งออกเป็นแคปซูลที่ไม่มีปีกหรือเครี่องบินอวกาศที่มีปีก ปัจจุบันมนุษย์ได้ประสบความสำเร็จในการบินในอวกาศ แต่มีเพียงยี่สิบสี่ประเทศเท่านั้นที่มีเทคโนโลยีอวกาศเช่น รัสเซีย (Roscosmos, กองกำลังอวกาศรัสเซีย), สหรัฐอเมริกา (นาซ่า, กองทัพอากาศสหรัฐและอีกหลายบริษัทการบินอวกาศเชิงพาณิชย์), รัฐสมาชิกขององค์การอวกาศยุโรป, สาธารณรัฐประชาชนจีน (องค์การบริหารอทวกาศแห่งชาติจีน), ญี่ปุ่น (สำนักงานสำรวจอวกาศญี่ปุ่น) และอินเดีย (องค์การวิจัยอวกาศอินเดีย).

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และยานอวกาศ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐแคลิฟอร์เนีย

รัฐแคลิฟอร์เนีย (California,, แคลึฟอรฺนยะ) เป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาและมีพื้นที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสาม ตั้งอยู่บนชายฝั่งตะวันตก (ติดมหาสมุทรแปซิฟิก) ของสหรัฐอเมริกา มีชายแดนติดกับรัฐแอริโซนา รัฐเนวาดาและรัฐออริกอน และมีชายแดนระหว่างประเทศติดต่อกับรัฐบาฮากาลิฟอร์เนียของประเทศเม็กซิโก เมืองหลวงรัฐ คือ แซคราเมนโต ลอสแอนเจลิสเป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐแคลิฟอร์เนีย และเป็นนครใหญ่สุดอันดับสองของประเทศรองจากนครนิวยอร์ก รัฐแคลิฟอร์เนียยังมีเคาน์ตีที่มีประชากรที่สุดของประเทศ คือ ลอสแอนเจลิสเคาน์ตี และมีพื้นที่มากที่สุด คือ แซนเบอร์นาร์ดีโนเคาน์ตี ภูมิศาสตร์หลากหลายของรัฐแคลิฟอร์เนียมีตั้งแต่ชายฝั่งแปซิฟิกทางทิศตะวันตกถึงเทือกเขาเซียร์ราเนวาดาทางทิศตะวันออก และตั้งแต่ป่าเรดวูด–สนดักลาสทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงทะเลทรายโมฮาวีทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เซ็นทรัลแวลลี พื้นที่เกษตรกรรมหลัก กินพื้นที่ตอนกลางส่วนใหญ่ของรัฐ แม้รัฐแคลิฟอร์เนียจะขึ้นชื่อด้านภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่น แต่ขนาดที่ใหญ่หมายความว่าภูมิอากาศมีหลากหลายตั้งแต่ป่าฝนเขตอบอุ่นชื้นทางทิศเหนือ ถึงทะเลทรายแห้งแล้งด้านใน ตลอดจนแบบแอลป์หิมะในเขตภูเขา ทีแรกพื้นที่รัฐแคลิฟอร์เนียปัจจุบันมีชนเผ่าอเมริกันพื้นเมืองตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนมีการสำรวจของชาวยุโรปจำนวนหนึ่งระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ต่อมาจักรวรรดิสเปนอ้างสิทธิ์เป็นส่วนหนึ่งของอัลตาแคลิฟอร์เนียในอาณานิคมนิวสเปน พื้นที่ดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโกใน..

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และรัฐแคลิฟอร์เนีย · ดูเพิ่มเติม »

วงโคจรต่ำของโลก

แสดงทิศทางการยิงวัตถุ และความเป็นไปได้ที่จะเข้าสู่วงโคจร วงโคจรระดับต่างๆ รอบโลก เขตสีเขียวคือเขตวงโคจรต่ำของโลก วงโคจรต่ำของโลก (Low Earth Orbit; LEO) เป็นคำที่ใช้หมายถึงวงโคจรในระดับโลกัสที่ออกจากพื้นผิวโลกไปไม่เกินระดับ 2,000 กิโลเมตร โดยทั่วไประดับที่ยอมรับกันคือที่ความสูงระหว่าง 160-2000 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวโลก.

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และวงโคจรต่ำของโลก · ดูเพิ่มเติม »

สถานีอวกาศนานาชาติ

นีอวกาศนานาชาติ (International Space Station, ISS, Междунаро́дная косми́ческая ста́нция, МКС, Station spatiale internationale, SSI) เป็นห้องทดลองและสถานอำนวยความสะดวกสำหรับงานค้นคว้าวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งถูกประกอบขึ้นในวงโคจรต่ำของโลก การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และสถานีอวกาศนานาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สเปซเอ็กซ์

ริษัทสเปซเอ็กซ์ (Space Exploration Technologies Corporation – SpaceX) เป็นบริษัทเอกชนทางด้านธุรกิจการขนส่งทางอวกาศ ประเทศสหรัฐอเมริกา สำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองฮาวโทรน, รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และสเปซเอ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ธันวาคม

ันวาคม เป็นเดือนที่ 12 และเดือนสุดท้ายของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนธันวาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีธนู และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีมกร แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนธันวาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนูในปลายเดือน เดือนธันวาคมในภาษาอังกฤษ December มาจากภาษาละติน decem เนื่องจากเป็นเดือนที่ 10 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม.

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

ความเร็วหลุดพ้น

การวิเคราะห์ของไอแซก นิวตัน เกี่ยวกับความเร็วหลุดพ้น กระสุนปืน ''A'' และ ''B'' จะตกกลับลงสู่พื้นโลก กระสุนปืน ''C'' จะเคลื่อนที่ครบรอบเป็นวงโคจรรูปวงกลม, กระสุนปืน ''D'' จะเคลื่อนที่เป็นรูปวงรี กระสุนปืน ''E'' จะเคลื่อนที่หลุดพ้นออกไปจากโลก ในวิชาฟิสิกส์ ความเร็วหลุดพ้น คือ อัตราเร็วที่พลังงานจลน์บวกกับพลังงานศักย์โน้มถ่วงของวัตถุแล้วมีค่าเป็นศูนย์ พลังงานศักย์โน้มถ่วงมีค่าเป็นลบเนื่องจากแรงโน้มถ่วงเป็นแรงดึงดูดและมีศักยที่ถูกกำหนดให้มีค่าเป็นศูนย์ที่ระยะอนันต์ ความเร็วหลุดพ้น คือ ความเร็วที่จะพาวัตถุไปได้ไกลจนพ้นจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงของโลกได้พอดี ถ้าต้องการส่งยานอวกาศออกไปให้พ้นจากสนามโน้มถ่วงของโลก ต้องทำให้ยานอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าความเร็วหลุดพ้น ความเร็วหลุดพ้นมีค่าประมาณ 11.2 km/s หรือ 40,320 km/h สำหรับวัตถุทรงกลมสมมาตร ความเร็วหลุดพ้นที่ระยะทางค่าหนึ่งคำนวณได้จากสูตร เมื่อ G คือ ค่าคงที่โน้มถ่วงสากล (the universal gravitational constant) (G.

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และความเร็วหลุดพ้น · ดูเพิ่มเติม »

ตุลาคม

ตุลาคม เป็นเดือนที่ 10 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนตุลาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีตุล และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพิจิก แต่ในทางดาราศาสตร์ เดือนตุลาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวและไปอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งตอนต้นเดือนพฤศจิกายน เดือนตุลาคมในภาษาอังกฤษ October มาจากภาษาละติน octo เนื่องจากเป็นเดือนที่ 8 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนตุลาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และนาซา · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

G

G เป็นอักษรลำดับที่ 7 ในอักษรละติน.

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และG · ดูเพิ่มเติม »

25 พฤษภาคม

วันที่ 25 พฤษภาคม เป็นวันที่ 145 ของปี (วันที่ 146 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 220 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดรากอน (ยานอวกาศ)และ25 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ดราก้อน (ยานอวกาศ)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »