โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชีทที่ระลึก

ดัชนี ชีทที่ระลึก

ีทที่ระลึกแบบปรุรู ชีทที่ระลึกแบบไม่ปรุรู แผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึก หรือ ชีทที่ระลึก (souvenir sheet หรือ miniature sheet) เป็นแผ่นแสตมป์อย่างหนึ่ง มีขนาดเล็ก ออกมาสำหรับการสะสมโดยเฉพาะ รอบ ๆ แสตมป์มักมีการพิมพ์ภาพหรือรายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อความสวยงาม การจัดเรียงแสตมป์บนชีทที่ระลึกมีมากมายหลายรูปแบบ เช่น.

8 ความสัมพันธ์: การสะสมแสตมป์การปรุรู (แสตมป์)ลายน้ำวันแรกจำหน่ายประเทศไทยแสตมป์แผ่นแสตมป์ไปรษณีย์

การสะสมแสตมป์

ร้านขายแสตมป์ในงานแสดงตราไปรษณียากรแห่งชาติ การสะสมแสตมป์ คือ การเก็บสะสมและรวบรวมแสตมป์ ตลอดจนสิ่งสะสมอื่น ๆ เช่น ซองจดหมาย ถือเป็นงานอดิเรกที่นิยมมาก.

ใหม่!!: ชีทที่ระลึกและการสะสมแสตมป์ · ดูเพิ่มเติม »

การปรุรู (แสตมป์)

แสตมป์จากตู้หยอดเหรียญของสหรัฐอเมริกาปี พ.ศ. 2460 การปรุรู (perforation) คือการเจาะรูเล็ก ๆ รอบดวงแสตมป์เพื่อให้สะดวกแก่การฉีกแสตมป์ออกมาจากแผ่นเป็นดวง ๆ และเมื่อฉีกออกจากแผ่นแล้ว จะปรากฏรายหยักบนขอบแสตมป์ที่เรียกว่า ฟันแสตมป์ (perfs หรือ teeth) แสตมป์ที่ฉีกมาจากแผ่นมักมีการปรุรูครบทั้งสี่ด้านของแสตมป์ ส่วนแสตมป์ที่จำหน่ายในรูปแบบอื่น ๆ อาจมีรูปแบบการปรุแตกต่างจากนี้ เช่น แสตมป์ที่มาจากตู้หยอดเหรียญ (coil stamp) มักมีการปรุรูเพียงสองด้าน ในขณะที่แสตมป์ที่มาจากสมุดตราไปรษณียากรเล่มเล็ก (stamp booklet) อาจไม่ปรุรูบางด้าน ความสมบูรณ์ของฟันแสตมป์ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสะสมแสตมป์ แสตมป์ที่มีฟันแหว่งหรือขาดไปถือว่ามีตำหนิ และมีมูลค่าต่ำลง.

ใหม่!!: ชีทที่ระลึกและการปรุรู (แสตมป์) · ดูเพิ่มเติม »

ลายน้ำ

ลายน้ำ "Crown & CA" (ย่อมาจาก "Crown Agent") พบได้บนแสตมป์ของอาณานิคมต่าง ๆ ของอังกฤษในช่วงประมาณ พ.ศ. 2420 ถึง 2470 ลายน้ำ (watermark) คือภาพที่สามารถสังเกตได้ในกระดาษ โดยปรากฏเป็นสีจางกว่าเมื่อนำกระดาษมาส่องผ่านแสง และเป็นสีทึบเมื่อนำกระดาษมาทาบบนวัสดุสีเข้ม ลายน้ำถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) ที่เมืองโบโลญญา ประเทศอิตาลี ซึ่งช่างทำกระดาษใช้เป็นเครื่องหมายบอกผลิตภัณท์ของตน ลายน้ำยังใช้บนแสตมป์ เงินตรา หรือเอกสารทางราชการอื่น ๆ เพื่อป้องกันการปลอมแปลง.

ใหม่!!: ชีทที่ระลึกและลายน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

วันแรกจำหน่าย

วันแรกจำหน่าย (first day of issue) คือวันแรกที่วางจำหน่ายแสตมป์ชุดหนึ่ง ๆ ให้กับนักสะสมและผู้สนใจ แสตมป์สามารถหาซื้อได้ในวันดังกล่าวจากที่ทำการไปรษณีย์ต่าง ๆ ที่มีเคาน์เตอร์จำหน่ายแสตมป์สำหรับการสะสม หรือจากร้านจำหน่ายแสตมป์ที่ไปรษณีย์จัดในงานต่าง ๆ เช่น งานกาชาด หรือ งานสัปดาห์สากลแห่งการเขียนจดหมาย เป็นต้น ในกรณีที่วันแรกจำหน่ายตรงกับวันหยุดราชการ ไปรษณีย์บางแห่งจะเปิดทำการเป็นพิเศษสำหรับจำหน่ายแสตมป์โดยเฉพาะ แต่ไม่เปิดให้บริการด้านไปรษณีย์หรือบริการอื่น.

ใหม่!!: ชีทที่ระลึกและวันแรกจำหน่าย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ชีทที่ระลึกและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

แสตมป์

แสตมป์ฝรั่งเศส ที่ใช้ในจักรวรรดิออตโตมัน ช่วงปี พ.ศ. 2445-2463 แสตมป์ หรือ ตราไปรษณียากร (Postage stamp หรือ Stamp) เป็นหลักฐานการชำระค่าบริการไปรษณีย์ มักเป็นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมเพื่อติดบนซองจดหมาย แสตมป์ที่มีรูปร่างหรือทำจากวัสดุอื่นก็มีปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง แสตมป์มักพิมพ์ออกเป็นแผ่น ประกอบด้วยแสตมป์หลายดวง ปกติอยู่ระหว่าง 20 ถึง 120 ดวง มีการปรุรู รอบดวงแสตมป์เพื่อเพิ่มความสะดวกในการฉีก รอยฉีกที่ได้เรียกว่า ฟันแสตมป์ ด้านหลังแสตมป์มีกาวเคลือบอยู่ กระดาษที่ใช้พิมพ์มักมีสิ่งพิเศษไว้เพื่อป้องกันการปลอมแปลง เช่น ลายน้ำ (watermark) หรือ ด้ายสี หากติดแสตมป์เพื่อใช้งานบนซองแล้ว ต้องมีการประทับตราทุกครั้ง เพื่อป้องกันการนำกลับมาใช้อีก การสะสมแสตมป์เป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก.

ใหม่!!: ชีทที่ระลึกและแสตมป์ · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นแสตมป์

แผ่นแสตมป์คละแบบ รอบ ๆ แสตมป์มีข้อมูลเช่นโรงพิมพ์ หมายเลขแผ่น เป็นต้น แผ่นแสตมป์ (หรือ แสตมป์เต็มแผ่น) แผ่นกระดาษที่ประกอบไปด้วยแสตมป์อยู่ภายในและยังไม่ได้ฉีกแยกออกมา ในหนึ่งแผ่นอาจมีแสตมป์ 20, 25, 50 หรือ 100 ดวงหรือต่างจากนี้ขึ้นกับความต้องการของไปรษณีย์ของประเทศนั้น ๆ ในอดีต แสตมป์ทุกดวงในแผ่นจะเป็นแบบเดียวกันหมด แต่ในระยะหลัง มีการพิมพ์แผ่นที่มีแสตมป์หลายแบบในแผ่นเดียวกัน เรียกว่า แผ่นแสตมป์คละแบบ (composite sheet) โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อการสะสม แสตมป์บางชุดมีการพิมพ์ทั้งแผ่นธรรมดาและแผ่นคละแบบ และแสตมป์บางชุดทุกดวงในแผ่นก็มีแบบไม่ซ้ำกันอีกด้ว.

ใหม่!!: ชีทที่ระลึกและแผ่นแสตมป์ · ดูเพิ่มเติม »

ไปรษณีย์

ในที่ทำการไปรษณีย์ โดยในภาพเป็นที่ทำการไปรษณีย์นาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ไปรษณีย์ เป็นคำที่มีความหมายได้หลายอย่าง อาจหมายถึง จดหมาย (mail) บริการรับส่งจดหมายและพัสดุภัณฑ์ (postal service) รวมทั้งเป็นคำเรียกย่อ ๆ ของ ที่ทำการไปรษณี.

ใหม่!!: ชีทที่ระลึกและไปรษณีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

แผ่นตราไปรษณียากรพิเศษแผ่นตราไปรษณียากรที่ระลึก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »