โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จักรพรรดินีเซี่ยวเต๋อเสี่ยน

ดัชนี จักรพรรดินีเซี่ยวเต๋อเสี่ยน

ระสาทิสลักษณ์ของพระนางสะโกตา จักรพรรดินีเสี้ยวเต๋อเสี่ยน(孝德显皇后Empress Xiaodexian) (12 เมษายน ค.ศ.1831 - 24 มกราคม ค.ศ.1850) พระวรชายาเอกในจักรพรรดิเสียนเฟิงขณะทรงดำรงพระยศเป็นมกุฎราชกุมาร.

9 ความสัมพันธ์: ชาวแมนจูพ.ศ. 2393ราชวงศ์ชิงรายพระนามจักรพรรดินีจีนจักรพรรดินีเซี่ยวมู่เฉิงจักรพรรดิเสียนเฟิงจักรพรรดิเต้ากวัง12 เมษายน24 มกราคม

ชาวแมนจู

แมนจู (แมนจู:; หม่านจู๋) เป็นชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในประเทศจีนและผู้คนจากดินแดนแมนจูเรียได้ใช้ชื่อดินแดนเป็นชื่อเรียกชนเผ่าของตนเอง ชาวแมนจูเป็นกลุ่มสาขาที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มชาวตุงกูซิกที่ใช้ภาษากลุ่มตุงกูซิกและได้อาศัยกระจัดกระจายทั่วประเทศจีน ถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของประเทศจีน ชาวแมนจูได้อาศัยและพบได้ใน 31 จังหวัดของจีน โดยเฉพาะในดินแดนแมนจูเรีย เหลียวหนิงถือได้ว่าเป็นดินแดนที่มีประชากรแมนจูเยอะที่สุด ส่วนเหอเป่ย, เฮย์หลงเจียง, จี๋หลิน, มองโกเลียในและปักกิ่ง มีประชากรแมนจู 100,000 คนอาศัยอยู่ ประมาณครึ่งของประชากรอาศัยอยู่ในเหลียวหนิงและ 1 ใน 5 อยู่ที่เหอเป่ย์ นอกจากนี้ยังมีชาวแมนจูอาศัยอยู่ในประเทศรัสเซียอันได้แก่ ดินแดนปรีมอร์สกี บางส่วนของดินแดนฮาบารอฟสค์และแคว้นอามูร์ ประวัติโดยสังเขปของชาวแมนจูนั้น ในทัศนคติของชาวฮั่น ถือได้ว่าเป็นชนกลุ่มน้อยเร่ร่อนหรือคนป่าเถื่อน ชาวแมนจูได้สืบเชื้อสายมาจากชาวหนี่เจิน (Jurchen; 女真) ที่ซึ่งได้สถาปนาราชวงศ์จินตอนแรกขึ้นทางตอนเหนือของจีน ในช่วง..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวเต๋อเสี่ยนและชาวแมนจู · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2393

ทธศักราช 2393 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวเต๋อเสี่ยนและพ.ศ. 2393 · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวเต๋อเสี่ยนและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามจักรพรรดินีจีน

ในจักรวรรดิจีน จักรพรรดินี เป็นพระอิสริยยศของพระอัครมเหสีในจักรพรรดิจีน และ จักรพรรดินีพันปีหลวง เป็นพระอิสริยยศของพระราชชนนีในจักรพรรดิจีนพระองค์ปัจจุบันหรือพระองค์ก่อน.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวเต๋อเสี่ยนและรายพระนามจักรพรรดินีจีน · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดินีเซี่ยวมู่เฉิง

ระสาทิสลักษณ์พระจักรพรรดินีเสี้ยวมู่เฉิงในฉลองพระองค์ในงานพระราชพิธี จักรพรรดินีเสี้ยวมู่เฉิง (孝穆成皇后; Empress Xiaomucheng) เป็นพระวรชายาเอกในจักรพรรดิเต้ากวงขณะทรงดำรุงพระยศเป็นมงกุฎรัชกุมาร.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวเต๋อเสี่ยนและจักรพรรดินีเซี่ยวมู่เฉิง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเสียนเฟิง

มเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิงขณะทรงแก้ไขพระราชกิจ สมเด็จพระจักรพรรดิเสียนฟงขณะทรงพักผ่อนพระอิริยาบถ จักรพรรดิเสียนเฟิง พงศาวดารไทยเรียก สมเด็จพระเจ้าฮำหอง เป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 9 (นับจากจักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อ) แห่งราชวงศ์ชิง เป็นราชโอรสองศ์ที่ 4 ของจักรพรรดิเต้ากวง มีนามเดิมว่า อ้ายซินเจว๋หลัว อี้จู่ หรือองค์ชาย อี้จู่ ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2374 (ค.ศ. 1831) ขึ้นครองราชย์ได้ทั้ง ๆ ที่มิใช่รัชทายาทองค์เอกที่วางตัวไว้ แต่ว่าพระองค์สามารถเอาชนะใจพระราชบิดาได้ด้วยการออกล่าสัตว์ และพระองค์ไม่สังหารสัตว์ที่มีลูกอ่อน นอกจากนี้ยังมีคนกล่าวกันว่าพระราชวรกายของพระองค์อ่อนแอมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์แล้ว จึงมักประชวรบ่อย ๆ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) ทันทีที่จักรพรรดิเต้ากวงสวรรคต ด้วยพระชนมายุ 19 พรรษา ซึ่งในระหว่างที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ใหม่ ๆ พระราชประเพณีจีนห้ามจักรพรรดิองค์ใหม่มีมเหสีหรือพระสนม และต้องไว้ทุกข์เป็นเวลานานถึง 27 เดือน แต่ก่อนที่จักรพรรดิเต้ากวงจะสวรรคตมีพระมเหสีองค์แรกแล้ว คือ พระชายาสะโกตา ซึ่งสิ้นพระชนม์ก่อนที่จักรพรรดิเต้ากวงจะสวรรคต เมื่อจักรพรรดิเสียนเฟิงครองราชย์แล้วทรงสถาปนานางสะโกตะเป็น สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี่ยวเต๋อเซียน เมื่อผ่านช่วงไว้ทุกข์ไปแล้ว จึงมีการเลือกพระสนม โดยองค์ประธาน คือ พระนางคังฉินไท่เฟย(康慈皇贵太妃) พระมเหสีองค์หนึ่งของสมเด็จพระจักรพรรดิเต้ากวง ที่ทรงดูพระราชวังหลัง ซึ่งพระอัครมเหสีองค์แรกของสมเด็จพระจักรพรรดิเสียงเฟิง คือ พระอัครมเหสีหนิวฮู่ลู่ หรือ ซูอันไทเฮา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก พระนางคังฉินไท่เฟย ในสมัยพระองค์เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ซึ่งส่งผลให้เกาะฮ่องกงตกเป็นของจักรวรรดิอังกฤษโดยสมบูรณ์ และมาเก๊าตกเป็นของโปรตุเกส และกบฏไท่ผิง โดย หง ซิ่วฉวน ซึ่งล้วนแต่ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศและราชวงศ์ จักรพรรดิเสียนเฟิง มีพระมเหสีองค์รองอีกหนึ่งพระองค์ ที่ต่อมามีบทบาทอย่างมากในประวัติศาสตร์ภายหลัง คือ พระมเหสีเย่เฮ่อนาลา หรือ ซูสีไทเฮา พระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1861) ด้วยพระชนมายุเพียง 30 พรรษา ด้วยพระโรคที่รุมเร้าจากทรงกลัดกลุ้มในปัญหาของบ้านเมือง และจักรพรรดิองค์ใหม่ คือ องค์ชายไจ้ฉุน หรือพระนามตอนขึ้นครองราชย์ คือ จักรพรรดิถงจื้อ.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวเต๋อเสี่ยนและจักรพรรดิเสียนเฟิง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเต้ากวัง

ักรพรรดิเต้ากวัง พงศาวดารไทยเรียก สมเด็จพระเจ้าเตากวาง เป็นองค์ชายรองในจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง เดิมมีพระนามว่า เหมียนหนิง (綿寧) (แปลว่า อาทิตย์อัสดง) แต่ได้เปลี่ยนพระนามใหม่ภายหลังขึ้นครองราชย์ว่า หมิ่นหนิง (旻宁) (แปลว่า ท้องฟ้า หรือ จักรวาล) จักรพรรดิเต้ากวัง ประสูติจากมเหสีที่มีชื่อว่า จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย(孝淑皇后) แต่พระมารดาได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ยังเยาว์วัย จักรพรรดิเจี่ยชิงพระราชบิดาจึงได้สถาปนาพระมเหสีองค์ใหม่ขึ้นเป็นจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย (孝和皇后) ซึ่งเป็นบุตรสาวของอูนาลา ขุนนางพวกเดียวกับเหอเซิน ที่ทรงไม่ไว้วางพระทัย แต่ทรงทำไปด้วยด้วยเหตุผลทางการเมือง นั่นทำให้จักรพรรดิเต้ากวังเมื่อยังทรงพระเยาว์ก็ไม่โปรดในตัวพระนางด้วยเช่นกัน แม้จะมีศักดิ์เป็นพระมารดาเลี้ยงก็ตาม แต่ได้ทรงเปลี่ยนทัศนะที่มีต่อพระนางใหม่ เมื่อครั้งหนึ่งที่ได้เสด็จไปไหว้บรรพกษัตริย์ที่สุสานราชวงศ์ชิงด้วยกัน และได้มีโจรกบฏกลุ่มหนึ่งมาจับตัวพระองค์และพระนางไปพร้อมกับสามัญชนกลุ่มหนึ่ง พวกกบฏบังคับให้พระองค์และพระนางบอกว่าใครเป็นใคร หากเงียบ ก็จะให้จ้วงแทงพระนางด้วยมีด พระนางก็ปิดปากเงียบไม่ยอมบอก นั่นจึงทำให้พระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระนางเสี้ยวเหอมากและยอมรับพระนางในที่สุด จักรพรรดิเต้ากวัง ขึ้นครองราชย์ภายหลังการสวรรคตอย่างกะทันหันของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานหลบร้อนไปยังเมืองเฉิงเต๋อ ซึ่งได้มีพระราชโองการแต่งตั้งไว้ในพินัยกรรม แต่เนื่องจากการที่สวรรคตในที่ห่างไกลเมืองหลวง จึงทำให้ องค์ชายสี่ เหมี่ยนซิน พระโอรสองค์เล็กพระนางเสี้ยวเหอของคัดค้านว่า เป็นพินัยกรรมปลอม และเตรียมการจะก่อกบฏ พระองค์จึงทรงวางแผนโยนไปให้พระนางเสี้ยวเหอตัดสินและได้ขอกำลังทหารส่วนหนึ่งมาคุ้มกัน ซึ่งพระนางเสี้ยวเหอได้ยอมรับว่า พินัยกรรมนั้นเป็นของจริง และได้พระราชทานอภัยโทษประหารองค์ชายเหมี่ยนซินไว้ ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวัง ได้ทรงหาทางกำจัดขุนนางกังฉินและบรรดาขุนนางที่ไม่เอาการเอางาน จึงทำให้เหล่าขุนนางลับหลังจะนินทาพระองค์อยู่เสมอ ๆ และทำให้ขุนนางแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายต่างก็สนับสนุนพระโอรสอันเกิดจากพระมารดาที่เป็นชนเผ่าเดียวกับตน แต่พระองค์ก็ได้หาทางบริหารประเทศอย่างเต็มที่ ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเป็นปึกแผ่น ดูเหมือนเข้มแข็ง แต่ภายในอ่อนแออันเกิดจากการฉ้อราฎร์บังหลวงที่เป็นระบบกันมานานแต่สมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ออกนโยบายให้ทุกคนในวังประหยัด โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ สงครามฝิ่นกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) และ พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ยุคล่าอาณานิคม ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และนำมาสู่การสูญเสียเกาะฮ่องกงและการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในภายหลัง จักรพรรดิเต้ากวังมีอุปนิสัยส่วนพระองค์คือ โปรดปรานปืนเป็นพิเศษ ได้สวรรคตในปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) และผู้ครองราชย์สืบไปคือ องค์ชายอี้จู่ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า จักรพรรดิเสียนเฟิง.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวเต๋อเสี่ยนและจักรพรรดิเต้ากวัง · ดูเพิ่มเติม »

12 เมษายน

วันที่ 12 เมษายน เป็นวันที่ 102 ของปี (วันที่ 103 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 263 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวเต๋อเสี่ยนและ12 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

24 มกราคม

วันที่ 24 มกราคม เป็นวันที่ 24 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 341 วันในปีนั้น (342 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: จักรพรรดินีเซี่ยวเต๋อเสี่ยนและ24 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี่ยวเต๋อจักรพรรดินีเสี้ยวเต๋อเสี่ยน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »