โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ล

ดัชนี จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ล

อร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ล (George Monck, 1st Duke of Albemarle; 6 ธันวาคม ค.ศ. 1608 – 3 มกราคม ค.ศ. 1670) เป็นนักการทหารและนักการเมืองชาวอังกฤษที่มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษกลับคืนให้แก่สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2.

4 ความสัมพันธ์: พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษกาดิซลารอแชล

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ (Charles II of England; 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685) พระมหากษัตริย์อังกฤษ พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์ และพระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์ ในราชวงศ์สจวต ระหว่างปี ค.ศ. 1660 ถึงปี ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 พระราชสมภพเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1630 ที่พระราชวังเซนต์เจมส์ในกรุงลอนดอน เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษและพระนางเฮนเรียตตา มาเรีย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางแคเธอริน และครองสกอตแลนด์ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 ถึงวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 และ อังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 ถึงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ที่พระราชวังไวท์ฮอลในกรุงลอนดอน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์ตามกฎหมายหลังจากพระราชบิดาพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ถูกประหารชีวิตที่พระราชวังไวต์ฮอลเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1649 แต่รัฐสภาอังกฤษมิได้ประกาศแต่งตั้งให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์และผ่านบัญญัติว่าเป็นการดำรงตำแหน่งของพระองค์เป็นการผิดกฎหมาย จึงเกิดช่วงว่างระหว่างรัชกาลในอังกฤษ แต่ทางรัฐสภาสกอตแลนด์ประกาศให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ของชาวสกอตเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1649 ที่เอดินบะระ และรับพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1651 หลังจากที่พ่ายแพ้ยุทธการวูสเตอร์เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1651 พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็เสด็จหนีไปยุโรปภาคพื้นทวีปและไปประทับลี้ภัยเป็นเวลา 9 ปีในประเทศฝรั่งเศสและเนเธอร์แลนด์ของสเปน หลังจากที่รัฐบาลสาธารณรัฐภายใต้การนำของริชาร์ด ครอมเวลล์ล่มในปี ค.ศ. 1659 นายพลจอร์จ มองค์ก็อัญเชิญชาลส์ให้กลับมาเป็นสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษในสมัยที่เรียกกันว่า “การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ” พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จกลับถึงอังกฤษเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และเสด็จเข้าลอนดอนในวันประสูติครบ 30 พรรษาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1660 และทรงได้รับการราชาภิเศกเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษและ ไอร์แลนด์เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1660 รัฐสภาภายใต้การนำของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ออกพระราชบัญญัติต่อต้านพิวริตันที่รู้จักกันในชื่อ “ประมวลกฎหมายแคลเรนดัน” (Clarendon code) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหนุนสถานะของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แม้ว่าในทางส่วนพระองค์แล้วพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะทรงสนับสนุนนโยบายความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาก็ตาม ส่วนปัญหาใหญ่ในด้านการต่างประเทศในต้นรัชสมัยก็คือการสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1670 พระเจ้าชาลส์ทรงไปทำสัญญาลับกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสที่ระบุว่าฝรั่งเศสจะช่วยอังกฤษในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สาม และจะถวายเงินบำนาญแก่พระองค์โดยมีข้อแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ต้องสัญญาว่าจะเปลื่ยนจากการนับถือนิกายแองกลิคันไปเป็นการนับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่พระเจ้าชาลส์มิได้ทรงระบุเวลาที่แน่นอนในเรื่องการเปลี่ยนนิกาย แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงพยายามเพิ่มสิทธิและเสรีภาพให้แก่ผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ต่าง ๆ มากขึ้นโดยการออกพระราชปฏิญญาพระคุณการุญในปี ค.ศ. 1672 แต่รัฐสภาบังคับให้ทรงถอนในปี ค.ศ. 1679 ในปี ค.ศ. 1679 ไททัส โอตส์สร้างข่าวลือเรื่อง “การลอบวางแผนโพพิช” ที่เป็นผลให้เกิดวิกฤตกาลการกีดกัดต่อมา เมื่อเป็นที่ทราบกันว่าดยุกแห่งยอร์กพระอนุชาของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 และรัชทายาทผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 2เปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้บ้านเมืองแบ่งเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายวิกสนับสนุนการยกเว้นไม่ให้ดยุกแห่งยอร์กขึ้นครองราชย์และฝ่ายทอรีต่อต้านการยกเว้น พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเข้าข้างฝ่ายหลัง หลังจากที่ผู้ก่อการโปรเตสแตนต์วางแผน “การลอบวางแผนไรย์เฮาส์” ที่จะปลงพระองค์เองและดยุกแห่งยอร์กในปี ค.ศ. 1683 ที่ทำให้ผู้นำพรรควิกหลายคนถูกประหารชีวิตหรือถูกเนรเทศ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 จึงทรงยุบสภาในปี ค.ศ. 1679 และทรงราชย์โดยไม่มีรัฐสภาจนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1685 ก่อนจะเสด็จสวรรคตพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ก็ทรงเปลี่ยนไปนับถือโรมันคาทอลิกบนพระแท่นที่ประชวร พระเจ้าชาลส์ไม่มีพระราชโอรสธิดากับพระนางแคเธอรินแห่งบราแกนซา เพราะพระนางทรงเป็นหมัน แต่ทรงยอมรับว่ามีพระราชโอรสธิดานอกสมรส 12 องค์กับพระสนมหลายคน พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ทรงเป็นที่รู้จักกันในพระนาม “ราชาเจ้าสำราญ” (Merrie Monarch) ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตในราชสำนักของพระองค์ที่เต็มไปด้วยความสนุกสำราญซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่ถูกเก็บกดมาเป็นเวลานานภายใต้การปกครองของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์และกลุ่มพิวริตัน.

ใหม่!!: จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ

ระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ผู้ฟื้นฟูราชวงศ์ขึ้นใหม่หลังจากสงครามกลางเมือง การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ หรือ ยุคฟื้นฟู (English Restoration หรือ The Restoration) เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1660 เมื่อราชวงศ์อังกฤษ สก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์ ได้ก่อตั้งขึ้นใหม่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 หลังจากช่วงสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1642 - ค.ศ. 1651.

ใหม่!!: จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

กาดิซ

กาดิซ (Cádiz) เป็นเมืองและเมืองท่าทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสเปนและเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นปกครองตนเองอันดาลูซีอา กาดิซเป็น "ศูนย์กลางบริหารทางทะเลในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ของกองทัพเรือสเปน" ตั้งแต่การเข้ามาของราชวงศ์บูร์บงในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมืองนี้เป็นเมืองหลวงของจังหวัดกาดิซและเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยกาดิซ ตามการสำรวจสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2547 จำนวนประชากรเฉพาะในเขตเมืองกาดิซมี 133,242 คน ขณะที่ประชากรของเขตเมือง (urban area) ทั้งหมดมีประมาณ 629,054 คน ตัวเมืองตั้งอยู่บนแหลมที่ยื่นลงไปในอ่าวกาดิซ กำแพงสูงและหนาที่ล้อมรอบเมืองทำให้ปรากฏภาพที่สวยงามเมื่อมองจากทะเล กาดิซมีลักษณะเฉพาะของอันดาลูซีอา ย่านเก่าแก่ของเมือง เช่น เอลโปปูโล (El Populo), ลาบีญา (La Viña) หรือซานตามารีอา (Santa María) สร้างความตรงกันข้ามกับพื้นที่สมัยใหม่กว่าของเมือง ขณะที่ภาพของเมืองเก่ามีตรอกซอยแคบ ๆ มุ่งไปสู่จัตุรัสจำนวนหนึ่ง พื้นที่เมืองใหม่กลับประกอบไปด้วยถนนกว้างและอาคารสมัยใหม่ นอกจากนี้ ในเมืองยังมีต้นไม้ในสวนสาธารณะอยู่เป็นหย่อม ๆ รวมทั้งต้นไม้ใหญ่หลายต้นที่เชื่อกันว่าโคลัมบัสเป็นผู้นำไปไว้ที่นั่น.

ใหม่!!: จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและกาดิซ · ดูเพิ่มเติม »

ลารอแชล

ลารอแชล (La Rochelle) เป็นเมืองทางตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองท่าทางทะเลบริเวณอ่าวบิสเคย์ ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นเมืองหลักของจังหวัดชาร็องต์-มารีตีม เมืองเชื่อมต่อกับเกาะอีลเดอเร ด้วยสะพานยาว 2.9 กิโลเมตรที่สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม..

ใหม่!!: จอร์จ มองก์ ดยุกที่ 1 แห่งอัลเบมาร์ลและลารอแชล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

George MonckGeorge Monck, 1st Duke of Albemarleจอร์จ มองก์จอร์จ มองค์ ดยุกแห่งอัลเบมาร์ลจอร์จ มองค์ ดยุคแห่งอาลเบอมาร์ลที่ 1

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »