โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฆ่าก่อน รายงานทีหลัง

ดัชนี ฆ่าก่อน รายงานทีหลัง

รื่องประหารของเปาบุ้นจิ้น รัฐบาลจีนได้จำลองขึ้นและจัดแสดงไว้ที่ศาลไคฟงในปัจจุบัน "ฆ่าก่อน รายงานทีหลัง" หรือ "ประหารก่อน รายงานทีหลัง" (kill first, report later) เป็นสำนวนจีน ใช้อุปมาอุปไมยถึงการที่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่ใดให้ลุล่วงไปก่อนแล้วจึงค่อยรายงานผลต่อผู้บังคับบัญชาทีหลัง ที่มาของสำนวนนี้ ว่ากันไว้สองทาง ทางแรกว่าในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ในวันที่ขุนนางตงซวน ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการนครลั่วหยาง เมืองหลวงของประเทศจีนในสมัยนั้น เขาพบว่ามีคดีหนึ่งค้างอยู่ในศาลซึ่งที่ผ่านมาไม่มีทางจะลุล่วงได้ โดยคดีมีว่าข้าราชบริพารคนหนึ่งของพระราชธิดาหูหยาง เป็นคนหยาบช้าและได้กระทำฆาตกรรมขึ้น แต่ไม่มีผู้ได้กล้าลงโทษเพราะเกรงพระราชหฤทัยและอิทธิพลของพระราชธิดา ขุนนางตงซวนนั้นเป็นคนใจซื่อมือสะอาด ไม่เกรงกลัวอิทธิพลของผู้ใด จึงสั่งให้ตำรวจไปจับกุมข้าราชบริพารผู้นั้นขณะที่โดยเสด็จพระราชธิดา และสั่งลงโทษประหารชีวิตทันที พระราชธิดาทรงพระพิโรธ เสด็จไปกราบบังคมทูลพระกรุณาขอให้มีรับสั่งประหารขุนนางตงซวน ขุนนางตงซวนได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและกราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับคดี ซึ่งเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิได้ทรงสดับแล้วเห็นว่าการกระทำของขุนนางตงซวนมิได้เป็นผิดเป็นโทษแต่อย่างใด ก็มิได้ทรงเอาโทษ เป็นที่มาของสำนวนว่า "ฆ่าก่อน รายงานทีหลัง" อีกทางหนึ่งเกี่ยวข้องกับเปาบุ้นจิ้นในสมัยราชวงศ์ซ่ง ซึ่งมีที่มาจากวรรณกรรมจีนเกี่ยวกับเปาบุ้นจิ้นเรื่อง "เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม" โดยกล่าวว่าเปาบุ้นจิ้นได้รับพระราชทานชุดเครื่องประหารจากสมเด็จพระจักรพรรดิ ประกอบด้ว.

9 ความสัมพันธ์: กระบี่อาญาสิทธิ์การฆ่าคนราชวงศ์ฮั่นตะวันออกราชวงศ์ซ่งลั่วหยางจักรพรรดิจีนประเทศจีนเจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรมเปาบุ้นจิ้น

กระบี่อาญาสิทธิ์

อาญาสิทธิ์ หรือ อาชญาสิทธิ์ หมายความว่า อำนาจเด็ดขาด คือ สิทธิที่แม่ทัพได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงคราม หรือที่ข้าราชการชั้นสูงได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินให้กระทำการบางอย่างเป็นต้น โดยมีสิ่งสำคัญคือพระแสงดาบเป็นเครื่องหมาย เรียกว่า พระแสงอาญาสิทธิ์ พระแสงอาชญาสิทธิ์ พระแสงกระบี่อาญาสิทธิ์ หรือ กระบี่อาญาสิทธิ์ ก็มี.

ใหม่!!: ฆ่าก่อน รายงานทีหลังและกระบี่อาญาสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าคน

การฆ่าคน (murder) เป็นการกระทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย จัดเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง ทางนิติศาสตร์แบ่งเป็นสองประเภท คือ การทำให้คนตายโดยเจตนา (homicide) และการทำให้คนตายโดยไม่เจตนา (manslaughter) การฆ่าคนทั้งสองประเภท ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักหรือเบาตามกฎหมายแล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: ฆ่าก่อน รายงานทีหลังและการฆ่าคน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

มื่อพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ขึ้นครองราชย์แล้ว อำมาตย์หยวนเซ่า (อ้วนเสี้ยว) เริ่มกำจัดขันทีกว่า 2000 คน อันเป็นการกวาดล้างอิทธิพลของขันทีทั้งหมด ต่อมาต่งจัว (ตั๋งโต๊ะ) นำกองทหารบุกโจมตีลั่วหยางและปลงพระชนม์พระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ แล้วยก พระเจ้าฮั่นเซี่ยนตี้ (เหี้ยนเต้) ขึ้นครองราชย์แทน พร้อมกับบีบให้หยวนเซ่าออกจากเมืองหลวง ไม่นานหยวนเซ่ากับพันธมิตรยกทัพมาตีต่งจัว เขาจึงพาจักรพรรดิลี้ภัยไปฉางอาน (เตียงอัน) ต่อมา หลี่ปู้ (ลิโป้) กับพวก วางแผนลอบสังหารต่งจัวสำเร็จ จักรพรรดิจึงเดินทางกลับลั่วหยัง (ลกเอี๋ยง) แต่ถูกนายทัพเฉาเชา (โจโฉ) ย้ายพระองค์ไปอยู่ที่เมืองสี่ชาง (ฮูโต๋) ตั้งแต่บัดนั้นมาเฉาเชาจึงควบคุมและใช้อำนาจบริหารบ้านเมืองในนามจักรพรรดิ ถือเป็นผู้ครองอำนาจสูงสุดแท้จริง ปี..

ใหม่!!: ฆ่าก่อน รายงานทีหลังและราชวงศ์ฮั่นตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822 รัฐบาลซ่งเป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ เจ้า ควงอิ้น ได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคในสมัยของจักรพรรดิซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู (ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชายเสีย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง) บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แต่ต่อมา ในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน.

ใหม่!!: ฆ่าก่อน รายงานทีหลังและราชวงศ์ซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ลั่วหยาง

thumb ลั่วหยาง หรือสำเนียงฮกเกี้ยนว่า ลกเอี๋ยง เป็นเมืองหนึ่งในประเทศจีน ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์เช่น ราชวงศ์โจวตะวันออก ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และราชวงศ์ถัง.

ใหม่!!: ฆ่าก่อน รายงานทีหลังและลั่วหยาง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิจีน

มเด็จพระเจ้ากรุงจีน หรือ จักรพรรดิจีน (หวงตี้; ฮกเกี้ยน:ฮ่องเต้; แต้จิ๋ว:อ้วงตี่) คือประมุขจักรวรรดิจีน โดยมีจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นฮ่องเต้พระองค์แรก ก่อนสมัยราชวงศ์ฉิน ประเทศจีนได้ถูกแบ่งเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆ มากมาย และแต่ละแคว้นจะมีผู้ปกครอง เรียกว่า อ๋อง (王; พินอิน:wáng) ซึ่งแปลว่า พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาหลังจากอ๋องแห่งแคว้นฉินได้รวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นหนึ่งเดียวจึงสถาปนาแผ่นดินเป็นจักรวรรดิจีน และประกาศใช้เป็นพระนามคำนำหน้าว่าจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ คือฉินซือหวงตี้ หรือจิ๋นซีฮ่องเต้ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉิน ฮ่องเต้ได้รับการเคารพในฐานะโอรสแห่งสวรรค์ คือเปรียบเสมือนได้รับอำนาจจากสวรรค์มาให้ปกครองประชาชน ตามหลักการ "สูงสุดโอรสสวรรค์ ล่างสุดนั้นประชาราษฎร" (最高的是天子,最低的是人民) การสืบทอดตำแหน่งฮ่องเต้มักอยู่ในรูปแบบจากบิดาไปยังบุตร โดยคำว่า ฮ่องเต้ หรือ หวงตี้ ถ้าแปลตรงตัวจะสามารถแปลได้ว่า "ผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่" (หวง 皇 - ผู้ทรงศักดิ์/Imperial, ตี้ 帝 - องค์อธิปัตย์/Sovereign) โดยนำมาจากพระนามฮ่องเต้องค์แรก คือ ฉินซือหวงตี้ (秦始皇帝) หลังจากนั้นตำแหน่งฮ่องเต้ก็ดำรงอยู่มานับพันปีซึ่งตั้งแต่ราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์จิ้น ราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง โดยมาสิ้นสุดที่ราชวงศ์ชิง เนื่องจากบริหารบ้านเมืองล้มเหลว และยังถูกประเทศต่างชาติรุกราน เป็นเหตุให้ประเทศจีนเกิดการปฏิรูปการปกครองจากระบอบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ตำแหน่งฮ่องเต้จึงสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของประเทศจีนคือ จักรพรรดิฮงเซี่ยนหรือหยวน ซื่อไข่ แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน โดยฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนคือ สมเด็จพระจักรพรรดิผู่อี๋แห่งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: ฆ่าก่อน รายงานทีหลังและจักรพรรดิจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ฆ่าก่อน รายงานทีหลังและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม

มผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม (The Three Heroes and Five Gallants) เป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์จีนแนวสืบสวนสอบสวนและกำลังภายใน ฉือ ยฺวี่คุน (Shí Yùkūn) แต่งขึ้น และได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเผยแพร่เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 นิยายเรื่องนี้ได้รับความนิยมมาก ต่อมา หยู เยฺว่ (Yú Yuè) ปรับปรุงจนเป็นวรรณกรรมชั้นสูง เรียกชื่อเสียใหม่ว่า เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม (Qī Xiá Wǔ Yì; The Seven Heroes and Five Gallants) เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี 1889.

ใหม่!!: ฆ่าก่อน รายงานทีหลังและเจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม · ดูเพิ่มเติม »

เปาบุ้นจิ้น

ปา เจิ่ง ในภาษาจีนมาตรฐาน หรือ เปาจิ้น ในภาษาจีนฮกเกี้ยน (11 เมษายน ค.ศ. 999 — 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1062) วรรณกรรมเรียก เปา เหวินเจิ่ง ในภาษาจีนมาตรฐาน หรือ เปาบุ้นจิ้น ในภาษาจีนฮกเกี้ยน (包文拯) เป็นข้าราชการชาวจีนในรัชสมัยจักรพรรดิเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งของจักรวรรดิจีน ตลอดเวลา 25 ปีที่รับราชการนั้น เปา เจิ่ง แสดงออกซึ่งความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นกลางอย่างเสมอหน้า ในระหว่าง..

ใหม่!!: ฆ่าก่อน รายงานทีหลังและเปาบุ้นจิ้น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ฆ่าก่อนรายงานทีหลังประหารก่อน รายงานทีหลังประหารก่อนรายงานทีหลังเซียนฉ่านโฮ้วโจ้ว先斬後奏

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »