โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คิวปิดและไซคี

ดัชนี คิวปิดและไซคี

ประติมากรรมรูปคิวปิดและไซคี ''ไซคีและอมอร์'' หรืออีกชื่อ ไซคีขณะรับจูบแรกจากคิวปิด (''Psyche Receiving Cupid's First Kiss; ค.ศ.'' 1798) โดย François Gérard ผีเสื้อเหนือศีรษะของไซคีเป็นสัญลักษณ์ของความความบริสุทธิ์ก่อนการปลุกเร้าทางเพศDorothy Johnson, ''David to Delacroix: The Rise of Romantic Mythology'' (University of North Carolina Press, 2011), pp. 81–87. คิวปิดและไซคี (Cupid and Psyche) เป็นเรื่องจากนวนิยายละติน Metamorphoses หรืออีกชื่อหนึ่งว่า The Golden Ass เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 2 โดย แอพยูเลียส เนื้อหาว่าด้วยการเอาชนะอุปสรรคต่อความรักระหว่างไซคี (Ψυχή, "วิญญาณ" หรือ "ลมหายใจแห่งชีวิต") และคิวปิด (Cupido, "ความปรารถนา") หรืออมอร์ ("ความรัก", ตรงกับอีรอสของกรีก) และอยู่กินร่วมกันหลังสมรสในที่สุด แม้เรื่องเล่าโดยละเอียดของแอพยูเลียสจะเป็นชิ้นเดียวที่เหลือรอดจากยุคโบราณก็ตาม แต่อีรอสและไซคีปรากฏในศิลปะกรีกตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล องค์ประกอบทางลัทธิเพลได้ใหม่ของเนื้อเรื่องและการอ้างอิงถึงศาสนามิสเตอรีส์นำไปสู่การตีความอันหลากหลาย และถูกวิเคราะห์ว่าเป็นอุปมานิทัศน์ในรูปของนิทานพื้นบ้าน เทพนิยาย และตำนาน ตั้งแต่นวนิยายของแอพยูเลียสถูกค้นพบอีกครั้งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เรื่องราวของคิวปิดและไซคี ถูกเล่าใหม่ในรูปแบบของกวีนิพนธ์ นาฏกรรม และอุปรากร และยังถูกแสดงในภาพวาด ประติมากรรม และแม้แต่กระดาษปิดฝาผนัง.

8 ความสัมพันธ์: กวีนิพนธ์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอุปมานิทัศน์อุปรากรนาฏกรรมนิทานพื้นบ้านเอียรอสเทพนิยาย

กวีนิพนธ์

กวีนิพนธ์ (Poetry, Poem, Poesy) คือรูปแบบทางศิลปะที่มนุษย์ใช้ภาษา เพื่อคุณประโยชน์ด้านสุนทรียะ ซึ่งเพิ่มเติมจากเนื้อหาทางความหมาย นับเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรม โดยเป็นคำประพันธ์ที่กวีแต่ง เป็นงานเขียนที่มีวรรณศิลป์ เร้าให้สะเทือนอารมณ์ได้ คำที่มีความหมายทำนองเดียวกันได้แก่ ร้อยกรอง ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกับ กวีนิพนธ์ และร้อยกรอง ได้แก่ บทกวี บทประพันธ์ คำประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานท์ กานท์ รวมทั้งคำว่า ฉันท์ กาพย์ และกลอน ซึ่งในปัจจุบันหมายถึงคำประพันธ์ที่มีรูปแบบต่างกัน ก็เคยใช้ในความหมายเดียวกันกับ กวีนิพนธ์ และ ร้อยกรอง มาในยุคสมัยหนึ่ง ผลงานที่จัดเป็นกวีนิพนธ์เรียกว่า บทกวี ส่วนผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว เรียกว่า กวี หรือ นักกวี บทกวี คือ ภาษาของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คือเครื่องมือที่จะนำสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นข่าวสารออกมาแสดงให้ประจักษ์ ตระหนัก ตระหนก สะทก สะท้อน กวีอาจไม่มีหน้าที่สรุปหรือฟันธงความจริง แต่กวีอาจหมุนแปรคำและความให้เห็นความจริงใหม่ ๆ ของชีวิตหลายด้าน ทั้งเรื่องที่บางทีคนทั่วไปคิดไม่ถึง และแม้แต่ตัวกวีเองก็เพิ่งจะคิดถึง.

ใหม่!!: คิวปิดและไซคีและกวีนิพนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: คิวปิดและไซคีและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

อุปมานิทัศน์

''อุปมานิทัศน์ของดนตรี'' โดยฟีลิปปีโน ลิปปี “อุปมานิทัศน์ของดนตรี” เป็นหัวเรื่องที่นิยมกันในจิตรกรรมในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เช่นการที่ลิบปีใช้ในภาพเขียนภาพนี้ซึ่งใช้ตำนานกรีกเป็นสัญลักษณ์ อุปมานิทัศน์ (Allegory) มาจากภาษากรีก “αλλος” หรือ “allos” ที่แปลว่า “อื่น” และคำว่า “αγορευειν” หรือ “agoreuein” ที่แปลว่า “การพูดในที่สาธารณะ” ซึ่งหมายถึงศิลปะที่ใช้สัญลักษณ์แทนความหมายโดยตรงในภาษาเขียน อุปมานิทัศน์มิได้ใช้แต่ในงานวรรณกรรม แต่อาจจะใช้ทางจักษุศิลป์ซึ่งมักจะพบในจิตรกรรมหรือประติมากรรม หรือ การแสดงสัญลักษณ์ทางศิลปะอื่นๆ ความหมายทางภาษาศาสตร์จะกว้างกว่าที่ใช้กันโดยทั่วไป ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” จะมีน้ำหนักกว่ามากกว่าการใช้ “อุปลักษณ์” (metaphor) และเมื่อใช้ก็จะทำให้ผู้รับเกิดแรงบันดาลใจทางจินตนาการมากกว่า ขณะที่ “แนวเทียบ” (analogy) จะคำนึงถึงเหตุผลและตรรกศาสตร์มากกว่า เช่น “นิทานคติสอนใจ” (parable) จะเป็น “แนวเทียบ” ที่มีคำสอนทางจริยธรรมเพียงหัวข้อเดียว ความหมายของ “อุปมานิทัศน์” มักจะเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายของหัวข้อที่กว้างกว่าการใช้ “แนวเทียบ” ฉะนั้นในงาน “อุปมานิทัศน์” ชิ้นหนึ่งก็อาจจะมี “แนวเทียบ” หลายประเด็น จึงทำให้ตีความหมายกันไปได้หลายอย่าง ซึ่งบางครั้งก็อาจจะบิดเบือนไปจากความหมายที่ศิลปินตั้งใจเอาไว้ เช่นบางคนให้ความเห็นว่า “อุปมานิทัศน์” ของ “เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์” คือสงครามโลกเป็นต้น แต่วรรณกรรมชิ้นนี้เขียนก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สอง จะเกิดขึ้น และถึงแม้ว่า เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้ประพันธ์จะกล่าวไว้ในคำนำในฉบับพิมพ์อเมริกันว่า “(หนังสือเล่มนี้) ไม่ใช่อุปมานิทัศน์หรือหัวข้อ....กระผมไม่ชอบอุปมานิทัศน์ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใหน...”.

ใหม่!!: คิวปิดและไซคีและอุปมานิทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

อุปรากร

รงอุปรากรซิดนีย์ในประเทศออสเตรเลีย เป็นโรงอุปรากรที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อุปรากร (opera) เป็นศิลปะการแสดงบนเวทีชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแบบละครที่ดำเนินเรื่องโดยใช้ดนตรีเป็นหลักหรือทั้งหมด อุปรากรถือเป็นส่วนหนึ่งของดนตรีคลาสสิก ตะวันตก มีความใกล้เคียงกับละครเวทีในเรื่องฉาก การแสดง และเครื่องแต่งกาย แต่สิ่งสำคัญที่แยกอุปรากรออกจากละครเวทีทั่วไป คือ ความสำคัญของเพลง ดนตรีที่ประกอบการร้อง ซึ่งอาจมีตั้งแต่วงดนตรีขนาดเล็กจนไปถึงวงออร์เคสตราขนาดใหญ.

ใหม่!!: คิวปิดและไซคีและอุปรากร · ดูเพิ่มเติม »

นาฏกรรม

นาฏกรรม (drama) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่เน้นในด้านการแสดง คำว่า "drama" มาจากคำในภาษากรีกว่า "δράμα" แปลว่า "การกระทำ".

ใหม่!!: คิวปิดและไซคีและนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

นิทานพื้นบ้าน

นิทานพื้นบ้าน (folktale) เป็นนิทานประเภทหนึ่ง เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาซึ่งอาจไม่มีบันทึกเป็นหลักฐาน เนื่องจากสมัยโบราณไม่มีความบันเทิงในรูปแบบอื่นในสังคมหลายวัฒนธรรมใช้การเล่าเรื่องสู่กันฟังซึ่งมักเป็นเรื่องราวจากจินตนาการแสดงความเชื่อของชาวบ้าน นิทานพื้นบ้านมักได้รับการบันทึกหรือตีพิมพ์ภายหลังและมักหาต้นกำเนิดไม่ได้ และมีการแต่งแต้มเรื่องราวเพิ่มเติมตามจินตนาการของผู้เล่า นิทานพื้นบ้านที่โด่งดัง อย่างเช่น ซินเดอเรลลา เจ้าชายกบ แจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ เจ้าหญิงนิทร.

ใหม่!!: คิวปิดและไซคีและนิทานพื้นบ้าน · ดูเพิ่มเติม »

เอียรอส

เอียรอส หรือ เอรอส (Eros /ˈɪərɒs/ หรือ /ˈɛrɒs/; Ἔρως, "ความปรารถนา") ในเทพปกรณัมกรีก เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ภาคโรมัน คือ คิวปิด บางตำนานถือว่าพระองค์เป็นปฐมเทพ ขณะที่บางตำนานว่าพระองค์เป็นพระโอรสของแอโฟรไดที หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก.

ใหม่!!: คิวปิดและไซคีและเอียรอส · ดูเพิ่มเติม »

เทพนิยาย

วาดของกุสตาฟ ดอเร เกี่ยวกับเทพนิยายเรื่อง หนูน้อยหมวกแดง เทพนิยาย (Fairy tale) หมายถึงงานประพันธ์ที่มีตัวละครจากความเชื่อพื้นบ้าน (เช่น ภูต ยักษ์ คนแคระ แม่มด สัตว์พูดได้) กับเรื่องของเวทมนตร์ และเหตุการณ์ที่ดำเนินไปเกินคาดคิด ในยุคสมัยใหม่มักใช้คำนี้ในความหมายถึงเรื่องราวที่มีมนต์เสน่ห์กับความสุขอย่างพิเศษ เช่นในคำว่า "จบแบบเทพนิยาย" (หมายถึง "จบอย่างมีความสุข") แม้ว่าในความจริงแล้ว เทพนิยายไม่ได้จบอย่างมีความสุขเสมอไปทุกเรื่อง นอกจากนี้ คำว่า "เทพนิยาย" ยังอาจใช้ในความหมายว่า เรื่องเหลือเชื่อที่เกินจะเป็นความจริงได้ ในวัฒนธรรมที่เชื่อกันว่าปีศาจกับเหล่าแม่มดมีตัวตนจริง ผู้เล่าเรื่องจะเอ่ยถึงเรื่องราวเหมือนกับว่าเป็นประวัติศาสตร์จริงๆ ที่เคยเกิดขึ้นนานมาแล้ว บางครั้ง เทพนิยาย ก็หมายรวมถึง ตำนาน ด้วย อย่างไรก็ดี ส่วนที่ไม่เหมือน ตำนาน หรือ มหากาพย์ ก็คือ เทพนิยายจะไม่อ้างอิงถึงสิ่งที่มีจริงในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนา สถานที่ บุคคล หรือเหตุการณ์ใดๆ เหตุการณ์ในเทพนิยายเกิดขึ้นเมื่อ "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว" ที่ไม่สามารถระบุเวลาอย่างแน่ชัดได้ เป็นการยากที่จะสืบหาประวัติความเป็นมาของเทพนิยาย เพราะสิ่งที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบันมีแต่เพียงงานเขียนที่เป็นเอกสารเท่านั้น แต่นักเล่านิทานได้สืบทอดเรื่องราวกันมานานหลายศตวรรษแล้ว ซึ่งเทพนิยายอาจเกิดขึ้นมานานพอๆ กัน แม้ในช่วงนั้นยังไม่สามารถแยกประเภทได้ชัดเจน คำว่า "เทพนิยาย" บัญญัติขึ้นใช้สำหรับวรรณกรรมประเภทนี้เป็นครั้งแรกโดยมาดามดัลนอย (Madame d'Aulnoy) ปัจจุบันยังคงมีการประพันธ์เทพนิยายและเรื่องราวที่สืบเนื่องจากเทพนิยายอยู่เสมอ เทพนิยายในยุคก่อนประพันธ์ขึ้นสำหรับผู้อ่านที่เป็นผู้ใหญ่พอๆ กับเด็ก มีลักษณะใกล้เคียงกับงานประพันธ์แบบ précieuses ในวรรณกรรมฝรั่งเศส พี่น้องตระกูลกริมม์เรียกผลงานของพวกเขาว่าเป็น นิทานสำหรับเด็กและครอบครัว เมื่อเวลาผ่านไป เทพนิยายก็มีความเกี่ยวพันกับเด็กมากขึ้นเรื่อยๆ ในการศึกษาวรรณกรรมประเภทนิทานพื้นบ้าน มีการแบ่งประเภทเทพนิยายหลายวิธี ระบบที่น่าสนใจได้แก่ระบบการจัดประเภทของอาร์นี-ทอมป์สัน (Aarne-Thompson) และการวิเคราะห์ของ วลาดิเมียร์ พร็อพพ์ การศึกษาเทพนิยายในแบบอื่นนิยมการแปลความหมายของจุดสำคัญในนิยาย แต่ไม่มีโรงเรียนแห่งไหนตีความเทพนิยายแบบนั้น.

ใหม่!!: คิวปิดและไซคีและเทพนิยาย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Psyche (mortal)Psyche (mythology)ไซคี (เทพปกรณัมกรีก)เอียรอสและไซคี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »