โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สมมุติฐานเฉพาะกิจ

ดัชนี สมมุติฐานเฉพาะกิจ

้าใครสักคนต้องการที่จะเชื่อเรื่อง leprechaun ซึ่งเป็นเทพตามตำนานของชาวไอริช เขาสามารถห้ามไม่ให้คนอื่นคัดค้านเขาได้ด้วยการใช้สมมุติฐานเฉพาะกิจ เช่น โดยอธิบายว่า "เป็นพวกเทพที่ไม่สามารถมองเห็นได้" หรือว่า "เป็นพวกเทพที่มีเจตนาความจงใจที่รู้ได้ยาก" หรือคำอธิบายอื่น ๆ ในแนวเดียวกันStanovich, Keith E. (2007). How to Think Straight About Psychology. Boston: Pearson Education. Pages 19-33 ในการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญา สมมุติฐานเฉพาะกิจ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (ad hoc hypothesis) หรือ คำอธิบายเฉพาะกิจ หมายถึงสมมุติฐานที่ใส่เพิ่มเข้าไปให้กับทฤษฎี เพื่อป้องกันไม่ให้ทฤษฎีนั้นพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ นั่นก็คือ เป็นการเพิ่มคำแก้เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่ทฤษฎีนั้นไม่สามารถคาดหมายหรือไม่สามารถทำนายได้โดยไม่ต้องแก้.

14 ความสัมพันธ์: ชาวไอริชพลังงานมืดวิทยาศาสตร์สมมุติฐานเฉพาะกิจสมมติฐานอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ทฤษฎีทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปคำให้การพิเศษค่าคงตัวปรัชญานักวิทยาศาสตร์เอกภพNo true Scotsman

ชาวไอริช

วไอริช (Muintir na hÉireann หรือ na hÉireannaigh หรือ na Gaeil, Irish people) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชาวยุโรปตะวันตกที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรป จากหลักฐานทางโบราณคดีไอร์แลนด์เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษยชนมาราว 9,000 ปีโดยมีบรรพบุรุษของชาวไอริช ที่เป็นชนเนเมเดียน (Nemedians), ชนโฟโมเรียน (Fomorians), Fir Bolgs, Tuatha Dé Danann และ ชนมิเลเซียน (Milesians) (ตามตำนาน - ไม่มีหลักฐานบันทึกเป็นอักษรก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6)—กลุ่มสุดท้ายกล่าวกันว่าเป็นกลุ่มที่เป็นบรรพบุรุษเกลลิคที่แท้จริง และยังคงใช้เป็นคำที่เรียกชนไอริชจนกระทั่งปัจจุบันนี้ กลุ่มชาติพันธุ์หลักที่มีการติดต่อกับชาวไอริชในยุคกลางก็ได้แก่ชาวสกอต และ ไวกิง และ ชาวไอซ์แลนด์โดยเฉพาะที่มีเชื้อสายไอริช การรุกรานของแองโกล-นอร์มันในยุคกลางตอนกลาง, การก่อตั้งดินแดนของอังกฤษ และต่อมาการปกครองโดยอังกฤษเป็นการนำกลุ่มชนนอร์มัน, เวลช์, เฟลมมิช, แองโกล-แซ็กซอน และ เบรทอน เข้ามาในไอร์แลนด์ ชาวไอริชที่มีชื่อเสียงก็มีมาตลอดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เมื่อนักบวชไอริชและนักเผยแพร่ศาสนาโคลัมบานัสผู้ถือกันว่าเป็น “บิดาแห่งยุโรป” คนหนึ่ง ตามด้วยนักบุญคิลเลียน และ เวอร์กิลเลียสแห่งซอลซบวร์ก นักวิทยาศาสตร์โรเบิร์ต บอยล์ผู้ถือกันว่าเป็น “บิดาแห่งวิชาเคมี” นักสำรวจผู้มีชื่อเสียงที่เป็นชาวไอริชก็ได้แก่เบรนดันนักเดินเรือ (Brendan the Navigator), เอิร์นเนสต์ แช็คเคิลตัน (Ernest Shackleton) และ ทอม ครีน (Tom Crean) ในด้านวรรณกรรมชาวไอริชก็เป็นผู้มีชื่อเสียงหลายคนที่รวมทั้งโจนาธาน สวิฟท์, จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์, ออสคาร์ ไวล์ด และ เจมส์ จอยซ.

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและชาวไอริช · ดูเพิ่มเติม »

พลังงานมืด

ในการศึกษาจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ ดาราศาสตร์ และกลศาสตร์ท้องฟ้า พลังงานมืด (Dark energy) คือพลังงานในสมมุติฐานที่แผ่อยู่ทั่วไปในอวกาศและมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการขยายตัวของเอกภพ พลังงานมืดเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุดในการใช้อธิบายถึงผลสังเกตการณ์และการทดลองมากมายอันแสดงถึงลักษณะที่เอกภพปรากฏตัวอยู่ในลักษณะการขยายตัวออกอย่างมีอัตราเร่ง ในแบบจำลองมาตรฐานของจักรวาลวิทยา มีพลังงานมืดอยู่ในเอกภพปัจจุบันเป็นจำนวน 74%ของมวล-พลังงานรวมทั้งหมดในเอกภพ รูปแบบของพลังงานมืดที่นำเสนอกันมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ค่าคงที่จักรวาลวิทยา (cosmological constant) อันเป็นค่าความหนาแน่นพลังงาน "คงที่" ที่แผ่อยู่ในอวกาศอย่างสม่ำเสมอ.

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและพลังงานมืด · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมมุติฐานเฉพาะกิจ

้าใครสักคนต้องการที่จะเชื่อเรื่อง leprechaun ซึ่งเป็นเทพตามตำนานของชาวไอริช เขาสามารถห้ามไม่ให้คนอื่นคัดค้านเขาได้ด้วยการใช้สมมุติฐานเฉพาะกิจ เช่น โดยอธิบายว่า "เป็นพวกเทพที่ไม่สามารถมองเห็นได้" หรือว่า "เป็นพวกเทพที่มีเจตนาความจงใจที่รู้ได้ยาก" หรือคำอธิบายอื่น ๆ ในแนวเดียวกันStanovich, Keith E. (2007). How to Think Straight About Psychology. Boston: Pearson Education. Pages 19-33 ในการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญา สมมุติฐานเฉพาะกิจ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (ad hoc hypothesis) หรือ คำอธิบายเฉพาะกิจ หมายถึงสมมุติฐานที่ใส่เพิ่มเข้าไปให้กับทฤษฎี เพื่อป้องกันไม่ให้ทฤษฎีนั้นพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ นั่นก็คือ เป็นการเพิ่มคำแก้เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่ทฤษฎีนั้นไม่สามารถคาดหมายหรือไม่สามารถทำนายได้โดยไม่ต้องแก้.

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและสมมุติฐานเฉพาะกิจ · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐาน

มมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร😔.

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและสมมติฐาน · ดูเพิ่มเติม »

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์; 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน..

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎี

ทฤษฎี (theory) คือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้งหลายหนจนสามารถอธิบายข้อเท็จจริงสามารถคาดคะเนทำนายเหตุการณ์ทั่วๆไป ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป จึงเป็นผลให้สมมติฐานกลายเป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎีเซลล์ (Cell theory) ทฤษฏีวิวัฒนาการ (the evolution theory) เป็นต้น หรือ คือกลุ่มความสัมพันธ์ของแนวคิดคำนิยาม และองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง และชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะอธิบายหรือคาดเดาปรากฏการณ์นั้น.

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและทฤษฎี · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

การทดสอบสัมพัทธภาพทั่วไปความเที่ยงสูงโดยยานอวกาศแคสซินี สัญญาณวิทยุที่ส่งระหว่างโลกและยาน (คลื่นสีเขียว) ถูกหน่วงโดยการบิดของปริภูมิ-เวลา (เส้นสีน้ำเงิน) เนื่องจากมวลของดวงอาทิตย์ สัมพัทธภาพทั่วไปหรือทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (general relativity หรือ general theory of relativity) เป็นทฤษฎีความโน้มถ่วงแบบเรขาคณิตซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์จัดพิมพ์ใน..

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป · ดูเพิ่มเติม »

คำให้การพิเศษ

ำให้การพิเศษ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ pleading ว่า "คำให้การ" (Special pleading, stacking the deck, ignoring the counterevidence, slanting, หรือ one-sided assessment) หรือ การไม่สนใจหลักฐานค้าน หรือ การประเมินผลข้างเดียว เป็นวิธีการให้เหตุผลเทียมแบบหนึ่ง ที่แสดงแต่หลักฐานรายละเอียดที่สนับสนุนสิ่งที่เสนอ และไม่ให้รายละเอียดที่คัดค้าน โดยอ้างว่า ต้องมีการพิจารณาบางกรณีเป็นพิเศษ แต่ไม่มีการวิเคราะห์ให้เหตุผลที่สมควรกับการพิจารณาพิเศษเช่นนั้น กล่าวอย่างย่อ ๆ ก็คือ เป็นการที่บุคคลหนึ่งพยายามยกว่าเหตุการณ์หลักฐานบางอย่างที่เกิดขึ้น เป็นข้อยกเว้นพิเศษจากเหตุการณ์ปกติหรือจากหลักการเป็นต้น โดยที่ไม่แสดงเหตุผลที่สมควรต่อข้อยกเว้นนั้น การไม่ได้ให้การวิเคราะห์หรือไม่ได้ให้เหตุผลอาจจะเป็นความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจ (เช่นอาจคิดว่า เป็นเรื่องสามัญสำนึก) หรือเป็นการกระทำที่มีอคติโดยใช้มาตรฐานการประเมินหลักฐานที่ไม่เหมือนกัน.

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและคำให้การพิเศษ · ดูเพิ่มเติม »

ค่าคงตัว

งตัว หรือ ค่าคงที่ ในทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หมายถึง ค่าค่าหนึ่งของตัวเลขซึ่งกำหนดตายตัวไว้ หรืออาจเป็นค่าที่ไม่ระบุตัวเลข ค่าคงตัวมีความหมายตรงข้ามกับตัวแปรซึ่งสามารถแปรผันค่าได้.

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและค่าคงตัว · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

นักวิทยาศาสตร์

นีล ดะแกรส ไทซัน นักวิทยาศาสตร์ คือบุคคลผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อย่างน้อยหนึ่งสาขา และใช้หลักวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้าวิจัย คำนี้บัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2376 โดย วิลเลียม วีเวลล์ โดยก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์ถูกเรียกว่า "นักปรัชญาธรรมชาติ" หรือ "บุคคลแห่งวิทยาศาสตร์".

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและนักวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เอกภพ

อวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิล ที่ประกอบด้วยกาแล็กซีที่มีอายุ ขนาด รูปร่าง และสีแตกต่างกัน เอกภพ หรือ จักรวาล โดยทั่วไปนิยามว่าเป็นผลรวมของการดำรงอยู่ รวมทั้งดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ ดาราจักร สิ่งที่บรรจุอยู่ในอวกาศระหว่างดาราจักร และสสารและพลังงานทั้งหมด การสังเกตเอกภพทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อกันว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 9,999 ล้านปีแสง นำไปสู่อนุมานขั้นแรกเริ่มของเอกภพ การสังเกตเหล่านี้แนะว่า เอกภพถูกควบคุมด้วยกฎทางฟิสิกส์และค่าคงที่เดียวกันตลอดขนาดและประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ทฤษฎีบิกแบงเป็นแบบจำลองจักรวาลวิทยาทั่วไปซึ่งอธิบายพัฒนาการแรกเริ่มของเอกภพ ซึ่งในจักรวาลวิทยากายภาพเชื่อว่าเกิดขึ้นเมื่อราว 13,700 ล้านปีก่อน มีนักฟิสิกส์มากมายเชื่อสมมุติฐานเกี่ยวกับพหุภพ ซึ่งกล่าวไว้ว่าเอกภพอาจเป็นหนึ่งในภพจำนวนมากที่มีอยู่เช่นกัน ระยะทางไกลสุดที่เป็นไปได้ทางทฤษฎีแก่มนุษย์ที่จะมองเห็นอธิบายว่าเป็น เอกภพที่สังเกตได้ การสังเกตได้แสดงว่า เอกภพดูจะขยายตัวในอัตราเร่ง และมีหลายแบบจำลองเกิดขึ้นเพื่อพยากรณ์ชะตาสุดท้ายของเอกภพ แผนภาพตำแหน่งของโลกในสถามที่ต่างๆของเอก.

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและเอกภพ · ดูเพิ่มเติม »

No true Scotsman

No true Scotsman (แปลว่า ไม่มีชาวสกอตแท้) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัย (informal fallacy คือไม่ใช่วิบัติตามวิธีทางตรรกศาสตร์) เป็นวิธีการ "เฉพาะกิจ" ที่ทำให้สิ่งที่ตนกล่าวยืนยันไม่เป็นเท็จ คือ เมื่อมีการแสดงให้เจ้าของคำเห็นตัวอย่างที่ไม่ตรงกับคำกล่าวของตน (เช่นคำของเจ้าของว่า "ไม่มีชาวสกอตที่ไหนทำแบบนี้หรอก ") แทนที่จะปฏิเสธว่าตัวอย่างนั้นไม่เป็นจริง หรือยอมว่าคำกล่าวของตนนั้นอาจไม่เป็นจริง เจ้าของก็จะเปลี่ยนคำกล่าวเพื่อยกเว้นกรณีนั้นหรือกรณีต่าง ๆ ที่คล้ายกับกรณีนั้นเป็นพิเศษโดยใช้วาทศิลป์ โดยไม่ได้อ้างอิงหลักการอะไร ๆ เลย (เช่นแก้ว่า "ไม่มีชาวสกอตแท้ที่ไหนทำแบบนี้หรอก ") วิธีการนี้ยังเป็นเทคนิคที่สามารถใช้ตั้งข้อแม้ต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นอีกด้ว.

ใหม่!!: สมมุติฐานเฉพาะกิจและNo true Scotsman · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ad hoc hypothesisสมมติฐานเฉพาะกิจคำอธิบายเฉพาะกิจ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »