โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด

ดัชนี รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด

ต่อไปนี้เป็น รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด เรียงลำดับตามตัวอักษรของ คำที่เขียนถูก ตามที่ปรากฏในพจนานุกรมภาษาไทยหรือตามประกาศของหน่วยงานราชการไทย หมายเหตุ: การเขียนสะกดคำในนี้เป็นกรณีทั่วไป แต่ในกรณีเฉพาะ เช่น เป็นวิสามานยนาม อาทิ เป็นชื่อบุคคล ชื่อสถานที่ หรือในทางร้อยกรอง สามารถเขียนสะกดคำแตกต่างได้.

360 ความสัมพันธ์: ชมพู่บรรยากาศของโลกบรั่นดีบล็อกบอระเพ็ดชะมดชะนีบัญญัติไตรยางศ์บังสุกุลบันไดบาทหลวงบาดทะยักบางลำพูบาตรบิณฑบาตชิน โสภณพนิชบุษราคัมบุคคล (แก้ความกำกวม)ชีวประวัติบ่วงบาศช็อกโกแลตฟังก์ชันฟันคุดฟาทอมฟิล์มฟิวส์ฟุตบอลพยานบุคคลพระองคุลิมาลเถระพราหมณ์พฤศจิกายนพฤษภาคมพลศึกษาพลาสติกพหูสูตพะยอมพะยูนพะแนงพันธกิจพิพิธภัณฑสถานพุทธชาดพุดตานพู่กันพจนานุกรมพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานฎีกากบฏกฎกฐินกระเพาะ...กรีฑากลยุทธ์กล้องโทรทรรศน์กวีนิพนธ์กสิณกอล์ฟกะละแมกะลาสีกะโหลกศีรษะกะเพรากะเทยการบันเทิงการร่วมเพศการสร้างสรรค์การสัมภาษณ์การจลาจลการคำนวณการฆ่าคนการตราสังการแผ่รังสีกินรีกุฏิกงสุลญัตติญาณฐานภัณฑารักษ์ภาพยนตร์ภาคใต้ (ประเทศไทย)ภูมิลำเนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาหิงคุ์มหาปวารณามัณฑนศิลป์มัคคุเทศก์มัคนายกมานุษยวิทยามาเลศมณฑลไหหลำมณฑปมงกุฎมนุษย์มเหสักข์มเหสียานัตถุ์ยีราฟ (สกุล)รสระบบนิเวศรัชดาภิเษกรัฐวิสาหกิจรัศมีราชวงศ์ราชาศัพท์ (ภาษาไทย)รายชื่อคณะศึกษาศาสตร์ในประเทศไทยราดหน้ารำพันพิลาปริบบิ้นรถยนต์รถโดยสารประจำทางฤๅษีละครลายมือชื่อลำไยลำไส้ลิฟต์ลิงก์ลิงค์ลิปสติกลิปดาลูกผสมลูกเกดวัณโรควัคซีนวิญญาณวิศวกรวิศวกรรมศาสตร์วิสามานยนามวิหารคดวิจารณ์ พานิชวิดีโอวิตามินวินาทีวิ่งเปี้ยววงศัพท์วงศ์นกโพระดกศรัทธาในศาสนาพุทธศาสนาคริสต์ศิลปกรรมศิลปะศุภชัย พานิชภักดิ์ศีรษะสบู่สบงสกัดสมดุลสะพานสับปะรดสัญลักษณ์สัมมนาสังคายนาในศาสนาพุทธสังฆทานสันโดษสายสิญจน์สารภีสาธารณสมบัติสาธารณสุขสาทรสำนวนภาษาปากสำนักงานสิทธิสิงโตสุกียากี้สุญญากาศสีชมพูสีสันหมามุ้ยหมาในหมูหย็องหม้อห้อมหอยแครงหงส์หน้าไพ่อสงไขยอหิวาตกโรคออโรรา (ดาราศาสตร์)อักษรอักขรวิธีอัญชันอัญมณีอัมพาตอัลบั้มอัฒจันทร์อัตราร้อยละอารมณ์อานิสงส์อาเจียนอำเภอกันทรลักษ์อินฟราเรดอุกกาบาตอุสุภราชอุดมการณ์อุปสงค์และอุปทานอุปัชฌาย์อุปาทานอุปาทานหมู่อุโมงค์อธิษฐานอีสานอีเมลองคชาตอนุรักษนิยมอนุสรณ์สถานผักกาดหัวผัดไทยฌานผู้เยาว์ผีผีพุ่งไต้จระเข้จะละเม็ดจักรจักรพรรดิจักรยานยนต์จักรราศีจักรวรรดิจักจั่นจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดศรีสะเกษจัตุรัสจาระบีจิตวิทยาบุคลิกภาพจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยธัญพืชธุรกิจธนบัตรธนาณัติถั่วพูถนนพาหุรัดถนนลาดยางทรงลูกบาศก์ทศกัณฐ์ทองหลางลายทะเลสาบทัณฑฆาตทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302ทิศใต้ทุกรกิริยาทูตขวานขัณฑสกรขึ้นฉ่ายดอกจันดัตช์ดาดฟ้าคริสตจักรคริสต์มาสคริสต์ศักราชคริสต์ศาสนิกชนคริสต์ศตวรรษคริสต์ทศวรรษคริโซเบริลครุฑความสุขความตายความเครียด (ชีววิทยา)ความเป็นญาติคำกริยาคำสมาสคุกกี้คทาคณบดีค้อนฆราวาสงบดุลงูสวัดตรรกศาสตร์ตักบาตรเทโวตาตารางตานขโมยซาลาเปาซีเกมส์ซีเมนต์ปฏิทินปรมาณูปรวิสัยปรอทประสบการณ์ประเทศฝรั่งเศสประเทศสเปนประเทศไต้หวันประเทศเยอรมนีประเทศเวียดนามปรัศนีปลาไนปลาเหล็กในปั๊มปาติโมกข์นกพิราบนกปรอดนวัตกรรมนอตนักบวชนาฏกรรมนาทีนิมิตนิตยสารนิเวศวิทยาแฟชั่นแพทยศาสตร์แกงมัสมั่นแก๊งแมลงภู่แมลงวันแมลงสาบแมลงดาแมงมุมแสตมป์แท็กซี่แคบหมูโพชฌงค์ 7โพสพโพทะเลโยธวาทิตโรมันคาทอลิกโรคฝีดาษโรคใหลตายโรคเกาต์โลกาภิวัตน์โล่โศกนาฏกรรมโสฬสโหระพาโจรกรรมโทรศัพท์โทรทัศน์โครงการโต๊ะโน้ตไฟแช็กไฝเมลาโนไซต์ไมยราบไมล์ไวยากรณ์ไอศกรีมไข่มุกไตรยางศ์ไต้ฝุ่นเบรกเบนซินเฟิร์นเพชรเพชฌฆาตเพนียดคล้องช้างเกมเกล็ดเลือดเมษายนเมตรเวทเวทมนตร์เสมหะเสรีภาพเสือเส้นทแยงมุมเห็ดแครงเอนก นาวิกมูลเอนก เหล่าธรรมทัศน์เครื่องรางเครื่องสำอางเค้ก ขยายดัชนี (310 มากกว่า) »

ชมพู่

มพู่ (Syzygium) เป็นสกุลพืชดอกชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำผลมารับประทานได้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 1,100 สปีชี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและชมพู่ · ดูเพิ่มเติม »

บรรยากาศของโลก

ลักษณะบรรยากาศของโลก บรรยากาศของโลก คือ อากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่โดยรอบ วันที่สืบค้น 6 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบรรยากาศของโลก · ดูเพิ่มเติม »

บรั่นดี

รั่นดี (brandy ย่อมาจาก บรั่นดีไวน์ (brandywine) จากภาษาดัตช์ว่า brandewijn) บรั่นดีเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้จากการกลั่นของการหมักน้ำผลไม้ต่างๆ หรือไวน์ต่างๆ เช่นองุ่น แอปเปิ้ล แต่เมื่อผลิตจากผลไม้อื่นก็จะเรียกชื่อตามผลไม้นั้นๆ แต่ถ้าผลิตจากองุ่นก็จะเรียกบรั่นดี กรรมวิธีการผลิตโดยการหมักน้ำองุ่นแล้วนำมาต้มกลั่น แล้วนำไปบ่มต่อในถังโอ๊คซึ่งจะทำให้แอลกอฮอล์ที่มีอยู่เดิมลดลง และเมื่อยิ่งบ่มไว้นานแอลกอฮอล์ก็จะลดต่ำลงไปเรื่อยๆ บรั่นดีบางตัวเมื่อบ่มเกิน 50 ปีขึ้นไปจะมีแอลกอฮอล์ลดลงต่ำกว่า 40 ดีกรี และเมื่อบรรจุขวดก็จะมีแอลกอฮอล์เพียง 36 ดีกรี อันจะทำให้บรั่นดีนั้นมีความพิเศษเฉพาะ และมีความสุขุม นุ่มนวลจากการเก็บบ่มอันยาวนานนั่นเอง ชื่อบรั่นดีนั้นจะใช้เรียกสำหรับเหล้าที่ผลิตจากองุ่น บรั่นดีอาจจะผลิตจากผลไม้อื่นๆก็ได้ซึ่งก็จะใช้ชื่อผลไม้นั้นเรียกแตกต่างกันไป บรั่นดีหลายๆ ตัว ไม่ได้มีการหมักบ่มในถังโอ๊ค อันเนื่องจากลักษณะเฉพาะตัว เช่นสีใส รวมถึงบรั่นดีบางชนิดที่ไม่ได้ผลิตจากองุ่นที่ต้องการคงไว้ซึ่งรสชาติ กลิ่น อโรมาของตัวเอง ในบางประเทศ เช่นประเทศฝรั่งเศส ในแคว้นคอนญัก (Cognac) อมายัค (Armagnac) และ ควาลวาดอส (Calvados) ที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญในการผลิตบรั่นดีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ซึ่งบรั่นดีสามารถผลิตที่ไหนในโลกตราบใดเท่าที่ใช้องุ่นเป็นวัตถุดิบ เช่นที่ Douro valley ในประเทศโปรตุเกส Jerez de la Frontera ในประเทศสเปน คอนญัก (Cognac) ซึ่งเป็นบรั่นดีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ซึ่งหลายๆคนไม่เข้าใจความแตกต่างของชื่อคอนญัก (Cognac) และบรั่นดี (Brandy) ให้เข้าง่ายๆ คอนญักก็คือบรั่นดี ซึ่งต้องผลิตจากองุ่นที่ปลูกในแคว้นคอนญัก ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งรวมถึงกระบวนการผลิตก็จะต้องผลิตในคอนญักเช่นเดียวกัน คอนญักโดยส่วนหลักผลิตจากองุ่นพันธุ์แซง เอมีลียง (Saint-Émilion) คอนญักจะบ่มทั้งในถังไม้โอ๊คเก่าและใหม่ โดยจะเปลี่ยนถ่ายจากถังใหม่สู่ถังเก่าเพื่อหมักบ่มต่อซึ่งจะได้กลิ่นและรสอันขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ของถังที่นำมาใช้บ่ม ระยะเวลาบ่มในขั้นตอนนี้ก็จะทำให้ได้คอนญักชนิดต่างๆดังนี้ ชนิดธรรมดาที่มีชื่อเรียกว่า VS (very superior) เป็นคอนญักสามดาว และเป็นคอนญักในระดับธรรมดา มีอายุการบ่มไม่มากประมาณ 3-5 ปี ชนิดดีที่มีชื่อเรียกว่า VSOP (very special old pale) จะมีสีที่เข้มกว่า ซึ่งอาจจะมีการเพิ่มสัญลักษณ์ตัวอักษรเพิ่มเข้าไปอีกเช่น F (fine) X (extra) คอนญักนี้จะมีอายุการหมักบ่มจากที่ประมาณ 7-10 ปี ซึ่งจะมีรสชาติที่สุขุม นุ่มนวล กลิ่นจรุง มากกว่าระดับสามดาว ชนิดพิเศษที่ผ่านการหมักบ่มอันยาวนาน ที่มีน้อยและราคาแพง ซึ่งจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น Napoleon ของ Courvoisier หรือ Cordon Bleu ของ Martell หรือ Bras d’Or ของ Hennessy เป็นต้น คอนญักชนิดนี้จะผ่านการบ่มอันยาวนานถึง 15-25 ปีเลยทีเดียว และจากการบ่มอันยาวนานนี้จะทำให้คอนญักชนิดนี้มีความจรุงทั้งกลิ่นและรส รวมถึงมีแทนนิน (tannin) สูงที่ได้ไม้โอ๊ค คอนญักชนิดนี้ยังมีชื่ออื่นๆ อีกเช่น XO (extra old) Extra Vielle Grand Reserve เป็นต้น อมายัค (Armagnac) เป็นบรั่นดีอีกชนิดหนึงที่มีชื่อเสียงเป็นที่ชื่นชชอบไปทั่วโลก ผลิตจากองุ่นและผลิตอยู่ในแคว้นอมายัค ประเทศฝรั่งเศสเฉกเดียวกับคอนญัก มีสถานที่ผลิตสำคัญๆอยู่สามที่คือ Haut Armagnac Tènarèze และ Bas Armagnac โดยใช้พันธุ์คล้ายกันกับคอนญักดือ Folle Blanche และ Baco 22A ซึ่งปลูกกันมากใน Saint-Émilion อมายัคจะบ่มในถังไม้โอ๊คดำ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องดื่มที่ได้จากกลั่นตัวอื่น แม้กระทั่งคอนญักเองก็จะบ่มจากถังไม้โอ๊คขาว อมายัคจะมีการบ่มที่ยาวนานกว่าคอนญัก และสิ่งที่ไม่เหมือนคอนญักอีกอย่างคืออมายัคจะมีการระบุปี (Vintage) อมายัคเองก็มีการแบ่งชนิดออกเป็น 3 ชนิดตามอายุการบ่มเช่นกัน อมายัคที่มีอายุบ่มน้อยที่สุดคือประมาณ 3 ปี และในระดับ VSOP จะบ่มนานประมาณ5-10 ปี และในระดับที่มีอายุการบ่ม 15-25 ปี จะเรียกว่า Hors d’Age หรือ Vieille Réserve นอกจากนี้ยังมีบรั่นดีอื่นๆ อีกเช่น Apple brandy ที่ผลิตจากแอปเปิ้ล รวมถึงCalvados จากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีหลายชนิด เช่น Calvados du Pays d’Auge และ Eau-de-vie de Cidre ฟรุตอูเดอวี (Fruit Eaux-de-Vie) ก็เป็นบรั่นดีที่ผลิตจากผลไม้ต่างๆ ซึ่งไม่ได้มีการบ่มในถังโอ๊ค เพราะฉะนั้นบรั่นดีชนิดนี้จึงมีสีใสและมีกลิ่น รสเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละตัวนั้นไป ฟรุตอูเดอวีจะผลิตกันมากในแถบยุโรป และอเมริกาเหนือ กรรมวิธีการผลิตทั่วไปก็จะมี 2 แบบ แบบแรกจากการหมักผลไม้ให้เกิดเป็นไวน์แล้วจึงนำไปกลั่น คล้ายกับกรรมวิธีของคอนญัก โดยหลักจะใช้เชอร์รี่ (cherry) พลัม (plum) และแพร์ (pear) และอีกกรรมวิธีซึ่งจะใช้ผลไม้ที่มีเปลือกอ่อนเช่นราสเบอร์รี่ (Raspberries) โดยจะนำผลไม้ไปแช่ในเหล้าที่มีแอลกอฮอล์สูง แล้วจึงนำไปกลั่น ฟรุตอูเดอวีที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยม จะได้จากผลไม้ต่างดังนี้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบรั่นดี · ดูเพิ่มเติม »

บล็อก

ล็อก (blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอ ในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์" บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ เว็บค้นหาบล็อกเทคโนราที ได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบล็อก · ดูเพิ่มเติม »

บอระเพ็ด

รเพรช เป็นไม้เถาเลื้อยที่จัดอยู่ในประเภทไม้เนื้ออ่อนซึ่งมีคุณค่าทางสมุนไพรชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบอระเพ็ด · ดูเพิ่มเติม »

ชะมด

ัตว์จำพวกชะมดและอีเห็นหลายชนิด (จากซ้ายไปขวา คือ สกุล ''Paradoxurus'', ''Genetta'', ''Paguma'' และ ''Arctictis'') ชะมด หรือ เห็นอ้ม ในภาษาอีสาน (civet) เป็นชื่อสามัญที่ใช้เรียกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Viverridae (ในอดีตเคยจัดให้พังพอนอยู่ในวงศ์นี้ด้วย) โดยคำว่า "ชะมด" ในภาษาไทย สันนิษฐานว่ามาจากคำในภาษาอาหรับว่า "อัซซะบาด" (الزباد) ชะมดมีรูปร่างโดยรวม คือ ใบหน้าแหลม รูปร่างเพรียว ตัวมีสีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง สามารถยืดหดเล็บได้เหมือนแมว มักออกหากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้หลากหลายทั้งพืชและสัตว์ เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศได้หลากหลาย โดยสามารถอาศัยอยู่ในชายป่าใกล้ชุมชนหรือแหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำคล้ายนากด้วยในบางชนิดVeron, G., Gaubert, P., Franklin, N., Jennings, A. P. and Grassman Jr., L. I. (2006).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและชะมด · ดูเพิ่มเติม »

ชะนี

นี (วงศ์: Hylobatidae; Gibbons; ภาษาเหนือ: อี่ฮุย, อี่วุย) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับวานร (Primates) เป็นลิงไม่มีหาง ซึ่งชะนีถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Hylobatidae และถูกจัดให้เป็น 1 ใน 4 ลิงที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด (ประกอบไปด้วย ชะนี, ชิมแปนซี, อุรังอุตัง, กอริลลา ซึ่งชะนีมีความใกล้เคียงมนุษย์น้อยที่สุดในบรรดาทั้ง 4 นี้ เนื่องจากมีแขนขาเรียวยาว มีฟันเขี้ยวที่แหลมคม และใช้ชีวิตหากินอยู่บนต้นไม้มากกว่าพื้นดิน) ซึ่งนับว่าชะนีมีแขนที่ยาวที่สุดในบรรดาสัตว์อันดับวานรทั้งหมด และมีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า Myers, P. 2000.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและชะนี · ดูเพิ่มเติม »

บัญญัติไตรยางศ์

ในวิชาคณิตศาสตร์ บัญญัติไตรยางศ์ คือวิธีการหาค่าที่สี่ในการแก้โจทย์ เมื่อมีค่าที่ทราบอยู่แล้วสามค่า โดยอาศัยหลักที่ว่า ผลลัพธ์ของค่าแรกและค่าที่สี่ (เรียกว่า ค่าสุดขีด) เท่ากับผลลัพธ์ของค่าที่สองและค่าที่สาม (เรียกว่า ค่ามัชฌิม) การแก้โจทย์ เช่น หากรถคันหนึ่งแล่นด้วยความเร็วคงที่ ในเวลา 3 ชั่วโมง ขับได้ระยะ 300 กิโลเมตร ในเวลา 6 ชั่วโมงจะขับได้ระยะทางเท่าใด นั้น จะต้องตั้งสมการเป็น "3 เท่ากับ 300 เมื่อ 6 เท่ากับ 'X'" หรือ สมมติ a, b และ c เป็นค่าที่กำหนดมา ในกรณีนี้ คือ 3, 300 และ 6 ตามลำดับ ส่วน x คือค่าที่ต้องคำนวณหา ข้อสำคัญคือค่าผลหารจะอยู่ในระบบหน่วยวัดเดียวกัน ตอนนี้เราจะต้องคำนวณทแยง นั่นคือคูณ c และ b เข้าด้วยกัน จากนั้นก็หารด้วย a ซึ่งผลลัพธ์ก็คือ x จากตัวอย่างที่ยกมานี้ รถจะแล่นได้ระยะทาง 600 กิโลเมตร ในเวลา 6 ชั่วโมง ความเร็วของรถนั้นต้องพิจารณาด้วย นั่นคือ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อีกวิธีหนึ่ง อาจใช้เพื่อคำนวณสัดส่วน และใช้ นั่นคือ b \over a และจากนั้นคูณด้วย c เพื่อหาค่า x ซึ่งจะมีค่าทางคณิตศาสตร์เท่ากับ x.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบัญญัติไตรยางศ์ · ดูเพิ่มเติม »

บังสุกุล

ังสุกุล แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น เป็นคำใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล โดยเรียกกริยาที่พระชักผ้าหรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือ พิจารณาผ้าบังสุกุล คำว่า "บังสุกุล" นั้น มาจากคำภาษาบาลีว่า ปํสุ (อ่านว่า ปัง-สุ) แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กูล (อ่านว่า กู-ละ) แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปํสุกูล (อ่านว่า ปัง-สุ-กู-ละ) แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" รัสสะ "สระ อู" ให้สั้นลง เป็น "อุ" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า บังสุกุล เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็น บังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์ ในสมัยพุทธกาลภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งแล้วจากกองขยะหรือจากป่าช้ามาทำจีวรใช้ ผ้าเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเปื้อนฝุ่นหรือสกปรก จึงเรียกว่าบังสุกุล.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบังสุกุล · ดูเพิ่มเติม »

บันได

บันไดพื้นปูกระเบื้อง ที่มีราวจับสองด้าน บันได เป็นชื่อเรียกของสิ่งก่อสร้างที่ออกแบบมาเชื่อมต่อระหว่างจุดยืนที่ระดับความสูงแตกต่างกัน บันไดโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นเส้นตรง โดย หรืออาจจะมีวางตันเป็นเกลียว เรียกว่า บันไดวน บันไดที่มีการติดตั้งเครื่องจักรให้มีการเลื่อนอัตโนมัติจะเรียก บันไดเลื่อน บันไดอันแรกของโลกถูกสร้างขึ้นในสมัยยุคหินเก่า โดยมนุษย์ยุคหินชนเผ่าวัยชรา เป็นผู้สร้างเพื่อใช้ขึ้นไปยังภูเขาและใช้ลงไปสู่แหล่งน้ำ หมวดหมู่:ส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้าง หมวดหมู่:งานวิศวกรรมอาคาร.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบันได · ดูเพิ่มเติม »

บาทหลวง

ทหลวงดนัย วรรณะ (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) และ ขวา-บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (โรมันคาทอลิก) บาทหลวง (priest)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8 หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบาทหลวง · ดูเพิ่มเติม »

บาดทะยัก

ทะยักเป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการเด่นคืออาการกล้ามเนื้อเกร็ง ส่วนใหญ่การเกร็งจะเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อกราม จากนั้นจึงลุกลามไปยังกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ การเกร็งแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่นาที และเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ การเกร็งอาจมีความรุนแรงมากจนทำให้กระดูกหักได้ อาการอื่นที่อาจพบร่วมได้แก่ ไข้ เหงื่อออก ปวดศีรษะ กลืนลำบาก ความดันเลือดสูง และหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการหลังจากติดเชื้อเป็นเวลา 3-21 วัน การรักษาอาจใช้เวลาหลายเดือน ผู้ป่วยประมาณ 10% จะเสียชีวิต บาดทะยักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani ซึ่งพบได้ในดิน น้ำลาย ฝุ่น และปุ๋ยมูลสัตว์ เชื้อมักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลเช่นแผลบาดหรือแผลตำที่เกิดจากวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อเหล่านี้ผลิตสารพิษที่รบกวนกระบวนการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการดังกล่าวข้างต้น การวินิจฉัยทำได้โดยการดูจากอาการและอาการแสดง โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน การป้องกันการติดเชื้อทำได้โดยการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการให้วัคซีนบาดทะยัก ผู้ที่มีบาดแผลที่เข้าข่ายจะติดเชื้อและได้รับวัคซีนมาไม่ถึง 3 ครั้ง ควรได้รับทั้งวัคซีนบาดทะยักและภูมิคุ้มกันบาดทะยักในรูปแบบของอิมมูโนกลอบูลิน ควรได้รับการล้างแผลและนำเอาเนื้อตายออก ผู้ป่วยที่มีอาการควรได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบาดทะยักแบบอิมมูโนกลอบูลิน หรืออาจรักษาด้วยอิมมูโนกลอบูลินแบบรวมได้ ยาคลายกล้ามเนื้ออาจช่วยควบคุมอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และหากผู้ป่วยมีปัญหาของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจร่วมด้วยอาจต้องใช้การช่วยหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจ บาดทะยักเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลกแต่มักพบบ่อยในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นซึ่งมีดินและสารอินทรีย์อยู่มาก ในปี..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบาดทะยัก · ดูเพิ่มเติม »

บางลำพู

ซอยชนะสงคราม แหล่งที่พักนักท่องเที่ยวอีกแห่งในย่านบางลำพู ต้นลำพู ต้นสุดท้ายของกรุงเทพมหานครในสวนสันติชัยปราการ อันเป็นที่มาของชื่อบางลำพู บางลำพู (มักสะกดผิดเป็น บางลำภู) เป็นย่านหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บางลำพู ได้ชื่อมาจากในอดีตมีต้นลำพูอยู่เป็นจำนวนมาก ริมคลอง เดิมเป็นชุมนุมและตลาดเล็ก ๆ ริมน้ำก่อนการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดเก่าแก่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ วัดสังเวชวิศยาราม (วัดบางลำพู, วัดกลางนา) และวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ก่อนจะพัฒนาเป็นแหล่งพำนักของบรรดาเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชบริพาร และประชาชนพลเมืองหลายหลากชาติพันธุ์ ทั้งไทย, จีน, มอญ และมุสลิม ที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยคละเคล้ากัน จนทำให้เป็นแหล่งเกิดอาชีพที่หลากหลาย ต่อมาเมื่อมีการตัดคลองรอบกรุง ทำให้ย่านบางลำพูกลายเป็นท่าน้ำใช้สำหรับขนถ่ายและแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น พืชผักผลไม้จากฝั่งธนบุรี ก่อนจะพัฒนากลายเป็นตลาดบกที่สำคัญในเวลาต่อมา ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการสร้างพระราชวังดุสิตขึ้น ได้มีการตัดถนนหลายสายขึ้นมาจากถนนสามเสน เช่น ถนนจักรพงษ์, ถนนพระอาทิตย์, ถนนพระสุเมรุ, ถนนข้าวสาร, ถนนรามบุตรี, ถนนตะนาว และถนนสิบสามห้าง จึงให้บางลำพูมีความคึกคักมากขึ้นด้วย ปัจจุบัน บางลำพูเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นแหล่งของการค้าขายเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุดนักเรียน มีห้างร้านสำหรับจัดจำหน่ายโดยเฉพาะเคยเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง และยังเป็นแหล่งที่พักชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันตก และได้มีร้านอาหาร, ร้านกาแฟ ตลอดจนร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไว้ให้บริการด้วย โดยเฉพาะที่ถนนข้าวสาร หรือถนนรามบุตรี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบางลำพู · ดูเพิ่มเติม »

บาตร

ตรพระ บาตรเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร เป็นของที่พระภิกษุและสามเณรใช้ในการบิณฑบาต.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบาตร · ดูเพิ่มเติม »

บิณฑบาต

ระพุทธรูปคันธาระ ปางทรงบาตร บิณฑบาต (อ่านว่า บิน-ทะ-บาด) เป็นภาษาบาลี มาจากคำว่า ปิณฺฑ + ปาต แปลว่า การตกลงแห่งก้อนข้าว โดยทั่วไปคำนี้หมายถึงกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรในพระพุทธศาสนา ในการออกเดินถือบาตรรับการถวายภัตตาหารหรือสิ่งของจากชาวบ้านในเวลาเช้า เรียกว่าการออกบิณฑบาต การออกบิณฑบาตของพระภิกษุเป็นกิจวัตรที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญการบิณฑบาตว่าเป็นกิจอันประเสริฐ หรือในสามัญเรียกว่าการโปรดสัตว์ เพราะการออกบิณฑบาตนั้นนับว่าเป็นการเผยแผ่พระศาสนาทางหนึ่งด้วย ดังในสมัยพุทธกาลที่พระภิกษุสงฆ์จะเทศนาโปรดแก่บรรดาชาวบ้านซึ่งมาร่วมทำบุญ อันเป็นต้นเหตุแห่งการสวดให้พรหลังภัตตกิจในปัจจุบันนี้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบิณฑบาต · ดูเพิ่มเติม »

ชิน โสภณพนิช

นายชิน โสภณพนิช (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 - 4 มกราคม พ.ศ. 2531) นักธุรกิจ, นักการเงิน-การธนาคารชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีชื่อเสียง เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเท.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและชิน โสภณพนิช · ดูเพิ่มเติม »

บุษราคัม

บุษราคัม บุษราคัม (Yellow sapphire) เป็นอัญมณีประเภทคอรันดัมที่มีสีเหลือง พบได้ในธรรมชาติเป็นแร่เดียวกับทับทิม ไพลิน เขียวส่อง พัดพารัดช่า และพวก Fancy sapphire แต่ส่วนใหญ่ที่ขายในท้องตลาดจะได้จากการเผาพลอยคอรันดัมที่มีสีเหลืองจาง มีตำหนิสีอื่นปนบ้าง(เหลือง,เขียว,นำเงินมาปนกัน) และสีเขียว(เขียวส่อง) ทำให้มีสีสวยงาม เข้มขึ้นขายได้ราคาสูง พลอยบุษราคัมสีจะมีตั้งแต่เหลืองอ่อนเรียกบุษย์น้ำเพชร, สีอมเขียวเรียกว่าบุษย์น้ำแตง, สีเหลืองทองเรียกบุษย์น้ำทอง, สีคล้ายเหล้าเรียกบุษย์น้ำแม่โขง, สีเหลืองเข้มมากเรียกบุษย์น้ำขมิ้นเน่า, สีเหลืองออกส้มเรียกว่าบุษย์น้ำจำปา, บุษย์น้ำแม่โขงและน้ำทองเป็นที่นิยมจะมีราคาแพง โดยน้ำโขงจะแพงกว่า ลักษณะที่ดีควรเลือกพลอยที่เจียระไนได้สัดส่วน ก้นไม่บางจนเกินไป ใสไม่มีตำหนิที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พลอยจึงจะมีประกายงดงาม แหล่งบุษราคัมที่สำคัญคือ ประเทศไทย อาทิเช่น จันทบุรี และ กาญจนบุรี รวมถึง ประเทศศรีลังกา ทวีปแอฟริกา ออสเตรเลียและอื่นๆ en:Quartz#Citrine หมวดหมู่:อัญมณี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบุษราคัม · ดูเพิ่มเติม »

บุคคล (แก้ความกำกวม)

ล อาจหมายถึง บุคคลธรรม1.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบุคคล (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ชีวประวัติ

ีวประวัติ (biography) คืองานเขียนชนิดหนึ่งที่เป็นการกล่าวถึงเรื่องราวของบุคคลในช่วงชีวิต ชีวประวัติของบุคคลหนึ่งๆ ไม่เพียงแต่กล่าวถึง วันเกิด อาชีพ การศึกษา แต่จะมีการถึงเรื่องราวของแต่ละช่วงชีวิต และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้งนี้หากเป็นประวัติของผู้เขียนเอง จะนิยมเรียกว่า อัตชีวประวัติ ชีวประวัติ เป็นคำนาม มาจากคำว่า ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตบุคคล ส่วนคำว่า biography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า bíos (βίος) ที่หมายถึง ชีวิต (life) และ gráphein (γράφειν) ที่มีความหมายว่าการเขียน (to write) ชีวประวัติ เป็นงานเขียนประเภทหนึ่งที่เป็นการนำเสนอข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล โดยปกติจะนำเสนอในรูปแบบของหนังสือหรือบทความ บางครั้งอาจนำเสนอในรูปแบบของภาพยนตร์ก็ได้ ซึ่งองค์ประกอบของชีวประวัตินั้น อาจนอกเหนือไปจากข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ การศึกษา การทำงาน ความสัมพันธ์ หรือ การเสียชีวิต ก็ได้ โดยลักษณะของชีวประวัติจะไม่เหมือนกับประวัติโดยย่อ (Profile) หรือประวัติส่วนตัวโดยสังเขป (Resume) ทั้งนี้อาจเป็นการนำเสนอเรื่องราวประสบการณ์ มุมมองของบุคคล รวมทั้ง เกร็ดต่างๆ ในชีวิต และการวิเคราะห์บุคลิกลักษณะของบุคคล ส่วน อัตชีวประวัติ นั้น เป็นคำนาม มาจากคำว่า อัต ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตที่เจ้าของเขียนหรือเล่าด้วยตนเอง ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Autobiography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า auto ที่หมายถึง ตนเอง ดังนั้น autobiography จึงหมายถึง การบอกเล่าชีวประวัติของตนเอง การทำงานก็เป็นชีวประวัติได้หากครอบคลุมช่วงชีวิตของบุคคลนั้น เช่น ชีวประวัติการทำงาน โดยปกติจะเป็นงานเขียนที่ได้จากเรื่องจริง แต่บางครั้งก็สามารถใช้บันเทิงคดีในการนำเสนอชีวิตของบุคคลได้ หนึ่งในรูปแบบการเขียนจะชีวประวัติจะครอบคลุมไปถึงการเขียนที่สืบทอดมาจากคนรุ่นก่อน รวมทั้งชีวประวัติในวรรณกรรม ภาพยนตร์ และสื่อรูปแบบอื่น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและชีวประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

บ่วงบาศ

วัวกระทิงขณะกำลังจะถูกคล้องด้วยบ่วงบาศ บ่วงบาศ (lasso) คือบ่วงเชือกที่ใช้สำหรับขว้างออกไปคล้องวัตถุเป้าหมาย และจะรัดวัตถุแน่นเมื่อถูกดึง โดยปกติจะทำจากเชือกที่มีความแข็ง เพื่อให้บ่วงไม่หดตัวขณะถูกขว้างออกไป บ่วงบาศในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้จับหรือลากจูงสัตว์ (เช่น วัว) จากหลังม้า, ในฟาร์ม หรือใช้ในการเล่นกีฬา หมวดหมู่:ปศุสัตว์.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและบ่วงบาศ · ดูเพิ่มเติม »

ช็อกโกแลต

็อกโกแลต ช็อกโกแลต (chocolate; ช็อก(กะ)เล็ต) คือผลิตผลที่ได้มาจากเมล็ดของต้นโกโก้เขตร้อน ช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมของของหวานหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม ลูกอม คุกกี้ เค้ก หรือว่าพาย ช็อกโกแลตถือได้ว่าเป็นของหวานอย่างหนึ่งที่ถูกใจคนทั่วโลก ช็อกโกแลตทำจากการหมัก คั่ว และบดอย่างละเอียดของเมล็ดโกโก้ซึ่งได้มาจากต้นโกโก้เขตร้อน (tropical cacao tree) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากอเมริกากลางและเม็กซิโก ต้นโกโก้นั้นค้นพบโดยชาวอินเดียนแดงและชาวอัซเตก (Aztecs) แต่ในปัจจุบันได้แพร่กระจายและปลูกไปทั่วเขตร้อน เมล็ดของต้นโกโก้นั้นมีรสฝาดที่เข้มข้นมาก ผลผลิตของเมล็ดโกโก้รู้จักกันในนาม "ช็อกโกแลต" หรือบางส่วนของโลกในนาม "โกโก้" ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดโกโก้รู้จักภายใต้หลายชื่อที่แตกต่างกันไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ในอเมริกา อุตสาหกรรมช็อกโกแลตได้จำกัดความไว้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและช็อกโกแลต · ดูเพิ่มเติม »

ฟังก์ชัน

ฟังก์ชัน เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ function สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและฟังก์ชัน · ดูเพิ่มเติม »

ฟันคุด

ฟันคุด (tooth Impaction) คือฟันที่งอกออกมาจากกรามไม่ได้ เพราะไม่มีที่จะให้งอกออกมา สาเหตุที่ฟันงอกออกมาไม่ได้นั้น มีการตั้งข้อสันนิษฐานจากทฤษฎีที่ว่าด้วยการใช้และไม่ใช้ กล่าวคือ มนุษย์มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง กรามและฟันที่มีขนาดใหญ่และเคยใช้งานเพื่อกัดและฉีกอาหารที่เหนียว เช่น เนื้อดิบ รากไม้ นั้น ปัจจุบันมนุษย์ได้ลดการใช้ฟันในลักษณะดังกล่าวลง จึงทำให้ฟันและกรามมีขนาดเล็กลง ไม่มีพื้นที่พอจะให้ฟันกรามซี่สุดท้ายงอกออกมาได้ จึงเป็นสาเหตุให้เกิดฟันคุดขึ้น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและฟันคุด · ดูเพิ่มเติม »

ฟาทอม

ฟาทอม (fathom ย่อว่า ftm) คือหน่วยวัดความยาวชนิดหนึ่งในระบบอังกฤษและระบบประเพณีสหรัฐอเมริกา มักนิยมใช้วัดความลึกของทะเล หนึ่งฟาทอมยาว (ลึก) เท่ากับ 2 หลา (6 ฟุต หรือ 1.8288 เมตร) Encyclopædia Britannica eleventh edition 1911.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและฟาทอม · ดูเพิ่มเติม »

ฟิล์ม

ฟิล์มถ่ายภาพ เป็นแถบวัสดุทำจากพลาสติก (โพลีเอสเตอร์, เซลลูลอยด์ หรือเซลลูโลสอะซิเตด) เคลือบด้วยสารเคมีที่มีส่วนผสมของเกลือเงินไวแสง ที่มีขนาดของผลึกแตกต่างกันตามค่าความไวแสงหรือความละเอียดของเนื้อฟิล์ม เมื่อสารเคมีที่เคลือบไว้ถูกกับแสง (หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบางชนิด เช่น รังสีเอกซ์) จะทำให้เกิดภาพปรากฏขึ้นบนแผ่นฟิล์ม โดยจะเป็นภาพที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม เพื่อให้ภาพที่ได้ปรากฏให้เห็น ฟิล์มขาวดำจะมีสารเคมีเคลือบไว้ชั้นเดียว เมื่อผ่านการล้างฟิล์มแล้วเกลือเงินจะเปลี่ยนรูปเป็นโลหะเงินทึบแสง ซึ่งจะปรากฏเป็นส่วนสีดำของเนกาทีฟ ฟิล์มสีจะมีชั้นของสารเคมีอย่างน้อยสามชั้น โดยแต่ละชั้นจะไวต่อแสงต่างสีกัน ชั้นบนสุดเป็นชั้นที่ไวต่อแสงสีน้ำเงิน ชั้นต่ำต่อมาไวต่อแสงสีเขียวและแดงตามลำดับ ฟิล์มที่ยังไม่ได้ล้าง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและฟิล์ม · ดูเพิ่มเติม »

ฟิวส์

ฟิวส์ชนิดหลอด ฟิวส์ (fuse) เป็นอุปกรณ์นิรภัยชนิดหนึ่งที่อยู่ในเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยจะป้องกันการลัดวงจร และการใช้กระแสเกินในวงจรไฟฟ้า โดยจะหลอมละลาย และตัดกระแสไฟออกจากวงจรเพื่อป้องการอุปกรณ์เสียหาย โดยฟิวล์จะเป็นเส้นลวดเล็ก ๆ ทำจากตะกั่วผสมดีบุก มีจุดหลอมเหลวที่ต่ำ มีหลายชนิดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและฟิวส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุตบอล

ฟุตบอล หรือ ซอกเกอร์ เป็นกีฬาประเภททีมที่เล่นระหว่างสองทีมโดยแต่ละทีมมีผู้เล่น11คน โดยใช้ลูกบอล เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก โดยจะเล่นในสนามหญ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือ สนามหญ้าเทียม โดยมีประตูอยู่กึ่งกลางที่ปลายสนามทั้งสองฝั่ง เป้าหมายคือทำคะแนนโดยพาลูกฟุตบอลให้เข้าไปยังประตูของฝ่ายตรงข้าม ในการเล่นทั่วไปผู้รักษาประตูจะเป็นผู้เล่นเพียงคนเดียวที่สามารถใช้มือหรือแขนกับลูกฟุตบอลได้ ส่วนผู้เล่นอื่นๆจะใช้เท้าในการเตะลูกฟุตบอลไปยังตำแหน่งที่ต้องการ บางครั้งอาจใช้ลำตัว หรือ ศีรษะ เพื่อสกัดลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่กลางอากาศ โดยทีมที่พาลูกฟุตบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้ามได้มากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนเท่ากันให้ถือว่าเสมอ แต่ในบางเกมที่เสมอกันในช่วงเวลาปกติแล้วต้องการหาผู้ชนะจึงต้องมีการต่อเวลาพิเศษ และ/หรือยิงลูกโทษขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของรายการแข่งขันนั้นๆ โดยกฎกติกาการเล่นสมัยใหม่จะถูกรวบรวมขึ้นในประเทศอังกฤษ โดย สมาคมฟุตบอลอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2406 ได้กำเนิดกติกาฟุตบอลขึ้นเพื่อเป็นแนวทางกติกาการเล่นในปัจจุบัน ฟุตบอลในระดับนานาชาติจะถูกวางระเบียบโดยฟีฟ่า ซึ่งรายการแข่งขันที่มีเกียรติสูงสุดในระดับนานาชาติคือการแข่งขันฟุตบอลโลกซึ่งจะจัดขึ้นทุกๆ 4 ปี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและฟุตบอล · ดูเพิ่มเติม »

พยานบุคคล

พยานบุคคล หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า พยาน (witness) หมายถึง ผู้รู้เห็นด้วยประสาทสัมผัสของตนซึ่งการกระทำความผิดอาญาหรือเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ เช่น ได้เห็นด้วยตา ได้ฟังด้วยหู ได้ดมด้วยจมูก หรือได้สัมผัสด้วยมือ ของตนเอง และเพราะฉะนั้น จึงสามารถให้รายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์เช่นว่านั้นได้ อันพยานบุคคลที่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารมาด้วยตนเองนั้น เรียกว่า "ประจักษ์พยาน" (eyewitness) พยานทั้งหลายมักได้รับเบิกตัวขึ้นศาลเพื่อให้การในการพิจารณาคดี การเรียกพยานให้ปรากฏตัวต่อศาลนั้น ศาลจะใช้ "หมายเรียกพยาน" (subpoena) หรือหากคู่ความนำพยานมาเบิกความต่อศาลเอง จะเรียกว่า "พยานนำ" ในต่างประเทศ คดีบางประเภท โจทก์หรือจำเลย หรือผู้แทน เช่น ทนายความ ก็มีอำนาจออกหมายเรียกพยานได้ พยานที่เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่าง ๆ หากศาลเป็นผู้แต่งตั้ง เรียกว่า "พยานผู้เชี่ยวชาญ" (expert witness) แต่หากคู่ความเป็นฝ่ายนำมาเอง เรียกว่า "ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ" การสืบพยานบุคคลตามกฎหมายไทย การสืบพยานบุคคลตามกฎหมายไทยนั้น ไม่ได้จำกัดอายุขั้นต่ำของพยานบุคคลไว้ แต่ผู้ที่จะเป็นพยานบุคคลจะต้องสามารถเข้าใจและตอบคำถามได้ แม้แต่ผู้หูหนวก เป็นใบ้ ก็สามารถเป็นพยานได้ และจะต้องเป็นประจักษ์พยาน ได้รู้เห็นเรื่องนั้นมาโดยตรง ส่วนพยานบอกเล่านั้นโดยหลักแล้วห้ามรับฟัง เว้นแต่ ตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มา และข้อเท็จจริงแวดล้อมของพยานบอกเล่านั้น น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ หรือ มีเหตุจำเป็นเนื่องจากไม่สามารถนำประจักษ์พยานมาเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น ในคดีแพ่ง คู่ความสามารถอ้างคู่ความอีกฝ่ายเป็นพยานได้ แต่ในคดีอาญา กฎหมายห้ามไม่ให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน ก่อนเบิกความ พยานจะต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามความสัตย์จริงเสียก่อน เว้นแต่มีเอกสิทธิไม่ต้องสาบาน หากพยานเบิกความโดยไม่ได้สาบานตน และไม่ใช่ผู้มีเอกสิทธิแล้ว ศาลก็รับฟังพยานนั้นไม่ได้ ในการสอบถามพยาน ศาลจะเป็นผู้ถามรายละเอียดก่อน จากนั้นจะให้ฝ่ายอ้างพยานซักถาม และให้อีกฝ่ายถามค้านเพื่อทำลายน้ำหนักพยาน และฝ่ายที่อ้างพยานถามอีกครั้งหนึ่งเพื่อปิดช่องโหว่จากการถามค้าน เรียกว่าถามติง ทั้งนี้ การซักถามและถามติงห้ามใช้คำถามนำ และการถามติงจะต้องเป็นการถามที่เกี่ยวกับเรื่องที่ถูกถามค้าน เมื่อถามติงแล้วหากจะถามพยานเพิ่มเติม จะต้องได้รับอนุญาตจากศาล การเบิกความจะต้องเบิกความด้วยวาจา และห้ามอ่านข้อความที่เขียนมา ยกเว้นศาลอนุญาตหรือเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแต่งตั้งสามารถทำความเห็นเป็นหนังสือต่อศาลได้ แต่ในคดีอาญา พยานผู้เชี่ยวชาญที่ทำความเห็นเป็นหนังสือต่อศาลก็ต้องมาศาลเพื่อเบิกความประกอบด้วย ทั้งนี้ การสืบพยานบุคคล สามารถใช้วิธียื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นแทนการซักถามได้ แต่จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลและมาศาลเพื่อให้อีกฝ่ายถามค้าน หรือจะใช้วิธีประชุมทางจอภาพก็ได้ แต่ในคดีอาญา การส่งบันทึกถ้อยคำสามารถทำได้เฉพาะกรณีพยานอยู่ต่างประเทศ และการประชุมทางจอภาพสามารถทำได้ภายในประเทศไทยเท่านั้น อนึ่ง การที่ศาลไปสืบพยานนอกศาล (โดยศาลนั้นเอง หรือหากเป็นคดีแพ่งก็สามารถมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการได้) เรียกว่า การเดินเผชิญสืบ ส่วนการที่ศาลให้ศาลอื่นสืบพยานให้ เรียกว่า การส่งประเด็นไปสืบ หมวดหมู่:วิธีพิจารณาความ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพยานบุคคล · ดูเพิ่มเติม »

พระองคุลิมาลเถระ

องคุลิมาล หรือ พระองคุลิมาลเถระ เป็นบุคคลสำคัญในยุคต้นแห่งพุทธศาสนา โดยเฉพาะตามพุทธประวัติพุทธฝ่ายเถรวาท เดิมนั้นเป็นโจรปล้นฆ่าคน แต่ภายหลังมีศรัทธาในพุทธศาสนา ได้กลับใจบวชเป็นพระภิกษุ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ อีกทั้งมียังบทสวดของท่านอีกด้วย ชื่อ อังคุลิมาลปริตร คำว่า องคุลิมาล นั้นมาจากคำว่า อังคุลี (นิ้วมือ) + มาลา (มาลัย สร้อยคอ สาย แถว) แปลว่า ผู้มีนิ้วมือเป็นมาลัย แต่เดิมนั้นองคุลิมาลชื่อว่า อหิงสกะ เป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล เมืองสาวัตถี มารดาของชื่อ นางมันตานี อหิงสกะได้ไปเรียนวิชาที่เมืองตักกสิลา และสามารถเรียนได้รวดเร็วอีกทั้งยังปรนนิบัติอาจารย์อย่างดี จนเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์อย่างมาก เป็นเหตุให้ศิษย์อื่นริษยา จึงยุยงอาจารย์ว่าองคุลิมาลคิดจะทำร้าย อาจารย์จึงคิดจะกำจัดองคุลิมาลเสีย โดยบอกกองคุลิมาลว่า ถ้าจะสำเร็จวิชาต้องฆ่าคนให้ได้ 1,000 คนเสียก่อน องคุลิมาลจึงออกเดินทางฆ่าคน แล้วตัดนิ้วหัวแม่มือมาคล้องที่คอเพื่อให้จำได้ว่าฆ่าไปกี่คนแล้ว เหตุนี้เอง อหิงสกะจึงได้รับสมญานามว่า องคุลิมาล เมื่อฆ่าจนครบ 999 คน ก็มาพบพระพุทธเจ้า และได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ออกบวชเป็นพุทธสาวก เรื่องราวขององคุลิมาลมีการเล่าขยายความเอาไว้ในเรื่อง กามนิต ของคาร์ล อดอล์ฟ เจลเลอร์รุป กวีชาวเดนมาร์ก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพระองคุลิมาลเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พราหมณ์

ราหมณ์ (อักษรเทวนาครี: ब्राह्मण) เป็นวรรณะหนึ่งในแนวคิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น วิปฺระ, ทฺวิช, ทฺวิโชตฺตมะ หรือ ภูสร เป็นต้น พราหมณนั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก แบ่งแยกเป็นนิกายคือ พวกไศวนิกาย จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน อีกนิกายหนึ่งคือ ไวษณวะนิกาย จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน ในการบวชเป็นพราหมณ์หลวง จะต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบพราหมณ์หลวง โดยผู้บวชจะนำของมาถวายพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์รับพราหมณ์ใหม่ หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระ โดยถือศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ สามารถแต่งกายสุภาพเหมือนผู้ชายทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้ กระนั้นก็ยังมีข้อห้ามบางประการที่พราหมณ์ไม่สามารถทำได้ อาทิ ห้ามรับประทานเนื้อวัว ปลาไหล และงูต่างๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริวารของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเทวดา สำหรับกิจประจำวันที่พราหมณ์ต้องทำ คือนมัสการพระอาทิตย์ตามเวลาเช้า กลางวัน เย็น เพื่อเป็นการนำจิตวิญญาณกลับไปสู่พรหม กล่าวคือ การไหว้พระอาทิตย์จะนำแสงสว่างให้เกิดในปัญญานำไปสู่การหลุดพ้น และจะมีการสาธยายพระเวท ซึ่งถือเป็นคัมภีร์หลักในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วย ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ ปฏิบัติต่อเทพด้วยความศรัทธา ปัจจุบันพราหมณ์หลวงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ พระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง โดยงานพระราชพิธีจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ งานประจำปี ได้แก่ งานเฉลิมพระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น และงานตามวาระ อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีที่แล้ว เป็นต้น หน้าที่ของพราหมณ์หลวงคือการรักษาวัฒนธรรมในการประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่างๆ แต่ก็สามารถรับประกอบพิธีอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานพระราชพิธีได้ เรียกว่า รัฐพิธี เป็นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานวันเกิด งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะมีเงินทักษิณามอบให้พราหมณ์ตามศรัทธา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตระกูลพราหมณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานพระราชพิธี หรือที่เรียกกันว่า พราหมณ์หลวง ซึ่งสืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น 7 ตระกูล ได้แก่ สยมภพ โกมลเวทิน นาคะเวทิน วุฒิพราหมณ์ ภวังคนันท์ รัตนพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พฤศจิกายน

กายน เป็นเดือนที่ 11 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนพฤศจิกายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพิจิก และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีธนู แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนพฤศจิกายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวตาชั่ง ผ่านกลุ่มดาวแมงป่องระหว่างวันที่ 24-29 พฤศจิกายน โดยประมาณ และไปอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงูในปลายเดือน เดือนพฤศจิกายนในภาษาอังกฤษ November มาจากภาษาละติน novem เนื่องจากเป็นเดือนที่ 9 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาคม

ษภาคม เป็นเดือนที่ 5 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนพฤษภาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพฤษภ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีเมถุน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนพฤษภาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแกะและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาววัว ชื่อในภาษาอังกฤษ "May" อาจมีที่มาจากเทพเจ้ากรีกนามว่า ไมอา (Maia) ซึ่งโรมันถือเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนพฤษภาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

พลศึกษา

อุปกรณ์พลศึกษาในรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา พลศึกษา (physical education) เป็นวิชาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาซึ่งมุ่งหมายให้เกิดการเรียนรู้เชิงทักษพิสัย (psychomotor learning) ในสมัยหลังนี้ มีแนวโน้มว่า พลศึกษาพัฒนาเป็นกิจกรรมหลายรูปแบบมากขึ้น การสอนให้นักเรียนทำกิจกรรมทางพลศึกษาตั้งแต่อายุยังน้อยช่วยให้นักเรียนมีอุปนิสัยที่ดีต่อการทำกิจกรรมซึ่งจะมีผลสืบเนื่องต่อไปในวัยผู้ใหญ่ด้วย เช่น ครูบางคนสอนเทคนิคที่ช่วยลดความกดดัน เป็นต้นว่า โยคะ และการฝึกหายใจ ที่เป็นประโยชน์ไม่เพียงต่อกิจกรรมพลศึกษา การสอนให้นักเรียนเล่นกีฬาซึ่งมิใช่ของท้องถิ่นนั้นยังช่วยให้นักเรียนมีแรงจูงใจเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ มากขึ้น ทั้งยังช่วยนักเรียนเรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วย เช่น เมื่อสอนบทเรียนเกี่ยวกับกีฬาลาครอส (lacrosse) นักเรียนจะได้เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นเมืองอเมริกันทางแคนาตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดลาครอสด้ว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพลศึกษา · ดูเพิ่มเติม »

พลาสติก

ลาสติก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบของยานพาหน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพลาสติก · ดูเพิ่มเติม »

พหูสูต

หูสูต แปลว่า ผู้ได้สดับตรับฟัง (คือผู้มีความรู้มาก ผู้คงแก่เรียน) หมายถึง ผู้มีปัญญารอบรู้ ผู้รู้รอบด้าน ผู้ศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาการมามาก ได้ยินได้ฟังเรื่องต่างๆ มามาก และสามารถทรงจำไว้ได้เป็นอย่างดี จนนับได้ว่าเป็นผู้รู้ เป็นปราชญ์ ในคำวัดหมายถึงผู้ได้เล่าเรียนหรือได้ฟังพระพุทธพจน์และศิลปะภายนอกแล้วทรงจำไว้ได้มาก เป็นผู้ฉลาดรู้นวังคสัตถุศาสน์ โดยวิธี "เรียนจากครู ดูจากตำรับ สดับเทศนา" เรียกความเป็นพหูสูตนั้นว่า พาหุสัจจะ ซึ่งเป็นมงคลอย่างหนึ่งที่นำความเจริญก้าวหน้ามาให้แก่ผู้เป็นพหูสูต.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพหูสูต · ดูเพิ่มเติม »

พะยอม

อม เป็นไม้ยืนต้นประเภทพืชใบเลี้ยงคู่ชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae พบได้ในกัมพูชา, อินเดีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ไทย และเวียดนาม มีลักษณะใบที่เรียงสลับกัน ดอกมีสีขาว กลิ่นหอม นิยมนำเนื้อไม้ไปใช้ในการก่อสร้าง ลักษณะคล้ายกับต้นตะเคียน พะยอมมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีก คือ กะยอม (เชียงใหม่) ชะยอม (ลาว) กะยอม (อีสาน) ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ) แคน (ร้อยเอ็ด) เชียง เชี่ยว (กะเหรี่ยง - เชียงใหม่) พะยอม (ภาคกลาง) พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี ปราจีนบุรี) ยางหยวก (น่าน).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพะยอม · ดูเพิ่มเติม »

พะยูน

ูน เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดเดียวที่เป็นสัตว์น้ำ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูน (Sirenia).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพะยูน · ดูเพิ่มเติม »

พะแนง

แนง เป็นอาหารไทยประเภทแกง โดยมีส่วนผสมหลักของเครื่องแกง คือ พริก ข่า ตะไคร้ รากผักชี เม็ดผักชี เม็ดยี่หร่า กระเทียม อบเชย และเกลือ พะแนงเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย และอาจมีวัฒนธรรมการกินแบบเขมรผสมด้วยหรือไม่ ไม่อาจยืนยันได้แต่มีการใช้ภาษาเขมร ที่เดิมใช้สำหรับการอธิบายท่าเอาขาไขว้ หรือขัดกัน ที่เรียกว่านั่งขัดสมาธิ หรือขัดตะหมาด ที่คนไทยใช้ในภาษาพูดจริงๆ แล้ว พะแนง แปลว่าท่านั่งแบบขัดสมาธิ ใช้อธิบายคำในภาษาไทยตั้งแต่ต้น หรือก่อนอยุธยา คือ พระพะแนงเชิง คือ นั่งขัดสมาธิซ้อนกัน มีทั้งพะแนง และเชิง ซึ่งมีที่มาจากภาษาเขมร และกร่อนเสียงเป็นพระพนัญเชิง ในเวลาต่อมา ไก่พะแนง จึงเป็นการนำไก่ทั้งตัว มาขัดขากัน และทำในหม้อใบใหญ่ ใช้เครื่องแกงแขก แบบแกงมุสลิม และเรียกว่าไก่พะแนง คั่วไปจนน้ำขลุกขลิก เหมือนอาหารอินเดียมุสลิมอื่นๆ ใช้เครื่องเทศเฉ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพะแนง · ดูเพิ่มเติม »

พันธกิจ

ันธกิจ (บ้างก็ใช้ว่า ภารกิจ) หมายถึงคำแถลงความมุ่งประสงค์ของบริษัทหรือองค์การ พันธกิจควรชี้นำการกระทำขององค์การ ขยายความเป้าหมายโดยรวมทั้งหมด จัดเตรียมหนทางและชี้นำการตัดสินใจ พันธกิจเป็นการจัดเตรียม "ข่ายงานหรือบริบทภายในแผนกลยุทธ์ของบริษัทที่ได้กำหนดไว้" พันธกิจมักเป็นประโยคสั้น ๆ ประมาณหนึ่งถึงสองบรรทัด ถ้ามีพันธกิจหลายอย่างก็อาจแบ่งเป็นหลายข้อได้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพันธกิจ · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถาน

ท้องฟ้าจำลอง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ พิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้แห่งแรกของโลก ตั้งอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส หอศิลป์อุฟฟีซี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในอิตาลี เกาะพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่เบอร์ลิน พิพิธภัณฑ์บริติช ตั้งอยู่ที่ลอนดอน พิพิธภัณฑ์อินเดีย ตั้งอยู่ที่โกลกาตา ประเทศอินเดีย เป็นพิพิธภัณฑเก่าและใหญ่ที่สุดในอินเดีย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์ ตั้งอยู่ที่เฮลซิงกิ พิพิธภัณฑสถาน หรือ พิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารหรือสถาบัน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพิพิธภัณฑสถาน · ดูเพิ่มเติม »

พุทธชาด

ทธชาด หรือ บุหงาประหงัน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum auriculatum Vahl.) อยู่ในสกุลมะลิ (Jasminum).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพุทธชาด · ดูเพิ่มเติม »

พุดตาน

ตาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus mutabilis L.) เป็นไม้พุ่มเตี้ย ตามต้นและกิ่งมีขน ใบมีลักษณะคล้ายใบฝ้าย ขนาดใหญ่ ขอบใบหยัก ดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายดอกชบาซ้อน บานในตอนเช้า เมื่อแรกบานจะมีสีขาว เมื่อสายจะเปลี่ยนสีเป็นสีชมพู และเป็นสีชมพูเข้มในตอนบ่าย ออกดอกดกตลอดทั้งปี ต้นพุดตาน ชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ไม่ชอบที่แฉะหรือมีน้ำขัง ปลูกได้ดีในที่ดอน ดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง การเปลี่ยนสีระหว่างวันของดอกพุดตาน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพุดตาน · ดูเพิ่มเติม »

พู่กัน

ู่กัน(Paintbrush)หรือแปรงคือเครื่องมือสำหรับทาสีและระบายสี พู่กันนั้นผลิตโดยใช้เหล็กหนีบขนแปลงให้มีขนาดต่างๆโดยจะมีเกณฑ์แบ่งเป็นเบอร์ๆไป.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพู่กัน · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม

นานุกรม พจนานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่ง โดยทั่วไป หมายถึง หนังสือที่รวบรวบคำศัพท์ในวงศัพท์ที่กำหนด และนิยามความหมายเอาไว้ เพื่อใช้เป็นที่ค้นหาความหมายของคำ โดยมีการเรียงลำดับคำศัพท์ตามตัวอักษร ตามเสียง หรือตามลำดับอื่นๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้พจนานุกรมนั้นๆ พจนานุกรมยังมีนัยถึงหนังสือที่ให้รายละเอียด ครอบคลุมวงศัพท์ที่กว้าง ขณะที่หนังสือรวบรวมและอธิบายคำศัพท์ในวงแคบและมีจำนวนจำกัด มักจะเรียกว่า ปทานุกรม อย่างไรก็ตาม คำว่าปทานุกรมและพจนานุกรมอาจใช้สลับกันได้ คำว่า พจนานุกรม เป็นการคิดคำขึ้น จาก พจน (คำพูด) และ อนุกรม (ลำดับ ระเบียบ ชั้น) รวมกันด้วยวิธีสมาส เป็น “พจนานุกรม” หมายถึง หนังสือที่รวบรวมและเรียงลำดับคำ(พูด) เอาไว้ อย่างไรก็ตาม คำว่า “พจนานุกรม” เป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อแปลศัพท์ dictionary ในภาษาอังกฤษนั่นเอง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพจนานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ห้องประชุมภายในราชบัณฑิตยสถาน (ที่ทำการเดิม) หลังการประชุมชำระพจนานุกรม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นพจนานุกรมอธิบายศัพท์ภาษาไทยที่ราชบัณฑิตยสภา (หรือราชบัณฑิตยสถานเดิม) จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนหนังสือไทยให้เป็นระเบียบเดียวกัน ไม่ลักลั่น โดยมีการปรับปรุงแก้ไขตามลำดับเรื่อยมา เมื่อราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์พจนานุกรมรุ่นหนึ่ง ๆ แล้วเสร็จ จะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ออก ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด ให้หนังสือราชการและการศึกษาเล่าเรียนใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรมรุ่นนั้น ๆ เสมอไป.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ฎีกา

ีกา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและฎีกา · ดูเพิ่มเติม »

กบฏ

กบฏ, ขบถ หรือ กระบถ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกบฏ · ดูเพิ่มเติม »

กฎ

กฎ (rule, law) คือ ข้อบังคับ ที่อยู่ในความเป็นจริง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและ ชีวิต แต่อย่างไรก็ตามกฎในบางแขนงวิชาเช่นชีววิทยามีโอกาสถูกล้มล้างได้ โดยมีความจริงในตัวของมันเองสามารถทดสอบได้ และได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้งโดยไม่มีข้อโต้แย้ง เช่น กฎการถ่ายทอดพันธุกรรมของเมนเดล (mendel's law) หมวดหมู่:สังคมวิทยา.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกฎ · ดูเพิ่มเติม »

กฐิน

กฐินเป็นประเพณีที่อยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นจัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ กฐิน (บาลี: กน) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกฐิน · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะ

กระเพาะ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกระเพาะ · ดูเพิ่มเติม »

กรีฑา

กรีฑา (athletics) หมายถึง มีการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อราว 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยทำการแข่งขัน ณ ลาน เชิงเขาโอลิมเปีย ในแคว้นอีลิส ประเทศกรีซ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในสมัยโบราณ เมื่อกรีกเสื่อมอำนาจลง โรมันได้เข้ามาปกครองกรีกและห้ามชาวกรีกแข่งขันกีฬา ทำให้การแข่งขันกรีฑาต้องล้มเลิกไปด้วย ต่อมาใน..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกรีฑา · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์

กลยุทธ์ (strategy) หรือ ยุทธศาสตร์ เป็นศัพท์ที่มีกำเนิดในทางทหาร หมายถึง แผนการปฏิบัติซึ่งวางเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์จำเพาะ กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ในทางทหารนั้นแตกต่างจากยุทธวิธี ซึ่งว่าด้วยการดำเนินการรบปะทะ (engagement) ขณะที่ยุทธศาสตร์นั้น ว่าด้วยวิธีการเชื่อมโยงการรบปะทะต่าง ๆ เข้าด้วยกัน คำถามที่ว่า "จะสู้รบอย่างไร" เป็นปัญหาทางยุทธวิธี แต่ข้อกำหนดและเงื่อนไขซึ่งมีการสู้รบกันและความเหมาะสมในการสู้รบกันนั้นเป็นปัญหาทางยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสงคราม (warfare) สี่ระดับ ได้แก่ วัตถุประสงค์ทางการเมืองหรือยุทธศาสตร์หลัก, ยุทธศาสตร์, ปฏิบัติการและยุทธวิธี นักคิดคนหนึ่งนิยามยุทธศาสตร์ไว้ว่าเป็น "วิถีอย่างครอบคลุมในอันที่จะพยายามปฏิบัติเพื่อผลเบื้องปลายทางการเมือง รวมทั้งการข่มขู่หรือการใช้กำลังอย่างแท้จริง ในวิภาษวิธีแห่งเจตจำนง ซึ่งจำต้องมีอย่างน้อยสองฝ่ายในความขัดแย้งหนึ่ง ๆ ฝ่ายเหล่านี้มีปฏิสัมพันธ์กัน และดังนั้น ยุทธศาสตร์จะประสบความสำเร็จน้อยครั้งหากไม่แสดงความสามารถในการดัดแปลง"Beatrice Heuser, The Evolution of Strategy: Thinking War from Antiquity to the Present (Cambridge University Press, 2010), ISBN 978-0-521-19968-1, p.27f.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกลยุทธ์ · ดูเพิ่มเติม »

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1608 โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำเลนส์มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา กาลิเลโอ กาลิเลอิ ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกล้องโทรทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

กวีนิพนธ์

กวีนิพนธ์ (Poetry, Poem, Poesy) คือรูปแบบทางศิลปะที่มนุษย์ใช้ภาษา เพื่อคุณประโยชน์ด้านสุนทรียะ ซึ่งเพิ่มเติมจากเนื้อหาทางความหมาย นับเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรม โดยเป็นคำประพันธ์ที่กวีแต่ง เป็นงานเขียนที่มีวรรณศิลป์ เร้าให้สะเทือนอารมณ์ได้ คำที่มีความหมายทำนองเดียวกันได้แก่ ร้อยกรอง ซึ่งหมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์ นอกจากนี้ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่มีความหมายทำนองเดียวกับ กวีนิพนธ์ และร้อยกรอง ได้แก่ บทกวี บทประพันธ์ คำประพันธ์ กวีวัจนะ ลำนำ บทกลอน กาพย์กลอน กลอนกานท์ กานท์ รวมทั้งคำว่า ฉันท์ กาพย์ และกลอน ซึ่งในปัจจุบันหมายถึงคำประพันธ์ที่มีรูปแบบต่างกัน ก็เคยใช้ในความหมายเดียวกันกับ กวีนิพนธ์ และ ร้อยกรอง มาในยุคสมัยหนึ่ง ผลงานที่จัดเป็นกวีนิพนธ์เรียกว่า บทกวี ส่วนผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว เรียกว่า กวี หรือ นักกวี บทกวี คือ ภาษาของอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด คือเครื่องมือที่จะนำสิ่งที่เรารู้สึกว่าเป็นข่าวสารออกมาแสดงให้ประจักษ์ ตระหนัก ตระหนก สะทก สะท้อน กวีอาจไม่มีหน้าที่สรุปหรือฟันธงความจริง แต่กวีอาจหมุนแปรคำและความให้เห็นความจริงใหม่ ๆ ของชีวิตหลายด้าน ทั้งเรื่องที่บางทีคนทั่วไปคิดไม่ถึง และแม้แต่ตัวกวีเองก็เพิ่งจะคิดถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกวีนิพนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

กสิณ

กสิณ คือวิธีการปฏิบัติสมาธิแบบหนึ่งในพระพุทธศาสนา มีความหมายว่า เพ่งอารมณ์ เป็นสภาพหยาบ สำหรับให้ผู้ฝึกจับให้ติดตาติดใจ ให้จิตใจจับอยู่ในกสิณใดกสิณหนึ่งใน 10 อย่าง ให้มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว จิตจะได้อยู่นิ่งไม่ฟุ้งซ่าน มีสภาวะให้จิตจับง่ายมีการทรงฌานถึงฌาน 4 ได้ทั้งหมด กสิณทั้ง 10 เป็นพื้นฐานของอภิญญาสมาบัติ การเพ่งกสิณนับว่าเป็นอุบายกรรมฐานกองต้น ๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ ว่าด้วยการปฏิบัติสมาธิภาวนาเพื่ออบรมจิต (อันเป็นแนวทางแห่งการบรรลุสำเร็จมรรคผลนิพพาน หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารนี้ออกไปได้) ซึ่งอุบายกรรมฐานมีอยู่ด้วยกันทั้งหมดสี่สิบกอง ภายใต้กรรมฐานทั้งสี่สิบกองนั้น จะประกอบไปด้วยกรรมฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการเพ่งกสิณอยู่ถึงสิบกองด้วยกัน การเพ่งกสิณ คือ อาการที่เราเพ่ง (อารมณ์) ไม่ได้หมายถึงเพ่งมอง หรือจ้องมอง ไปยังวัตถุหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาทิเช่น พระพุทธรูป เทียน สีต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งอากาศ ฯลฯ แล้วเรียนรู้ รับรู้/บันทึก สภาพหรือคุณสมบัติเฉพาะ ของวัตถุ (ธาตุ) หรือสิ่ง ๆ นั้นไว้เช่น เนื้อ สี สภาพผิว ความหนาแน่น ความ เย็นในจิตจนกระทั่งเมื่อหลับตาลงจะปรากฏภาพนิมิต (นิมิตกสิณ) ของวัตถุหรือสิ่ง ๆ นั้นขึ้นมาให้เห็นในจิต หรือแม้กระทั่งยามลืมตาก็ยังสามารถมองเห็นภาพนิมิตกสิณดังกล่าวเป็นภาพติดตา การเพ่งกสิณจัดเป็นอุบายวิธีในการทำสมาธิที่มีดีอยู่ในตัว กล่าวคือ การเพ่งกสิณเป็นเสมือนทางลัดที่จิตใช้ในการเข้าสู่สมาธิได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายกว่าการเลือกใช้อุบายกรรมฐานกองอื่น ๆ มากมายนัก ทั้งนี้เนื่องจากแนวทางในการปฏิบัติสมาธิภาวนาด้วยการใช้อุบายวิธีการเพ่งกสิณนั้น จิตจะยึดเอาภาพนิมิตกสิณที่เกิดขึ้นมาเป็นเครื่องรู้ของจิต แทนอารมณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในจิต และเมื่อภาพนิมิตกสิณเริ่มรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิต จิตก็จะรับเอาภาพนิมิตกสิณนั้นมาเป็นหนึ่งเดียวกันกับจิต จากนั้นภาพนิมิตกสิณดังกล่าวจะค่อย ๆ พัฒนาไปเองตามความละเอียดของจิต ซึ่งจะส่งผลให้เกิดมีความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับภาพนิมิตกสิณนั้น เริ่มตั้งแต่ความคมชัดในการมองเห็นภาพนิมิตกสิณที่ปรากฏขึ้นภายในจิต และสามารถมองเห็นภาพนิมิตกสิณนั้นได้อย่างชัดเจน ราวกับมองเห็นด้วยตาจริง ๆ ไปจนกระทั่งการที่จิตสามารถบังคับภาพนิมิตกสิณนั้นให้เลื่อนเข้า-เลื่อนออก หรือหมุนไปทางซ้าย-ทางขวา หรือยืด-หดภาพนิมิตกสิณดังกล่าวได้ อันเป็นพลังจิตที่เกิดขึ้นจากการเพ่งนิมิตกสิณ แต่ในที่สุดแล้วภาพนิมิตกสิณทั้งหลายก็จะมาถึงจุดแห่งความเป็นอนัตตา อันได้แก่ ความว่างและแสงสว่าง กล่าวคือ ภาพนิมิตทั้งหลายจะหมดไปจากจิต แม้กระทั่งอาการและสัญญาในดวงจิตก็จะจางหายไปด้วย จากนั้นจิตจึงเข้าสู่กระบวนการของสมาธิในขั้นฌานต่อไปตามลำดั.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกสิณ · ดูเพิ่มเติม »

กอล์ฟ

ลูกกอล์ฟและหลุมกอล์ฟ กอล์ฟ คือกีฬาหรือเกมประเภทบอลชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้เล่นใช้ไม้หลายชนิดตีลูกบอลให้ลงหลุม จากกฎของกอล์ฟ ระบุว่า "กีฬากอล์ฟประกอบด้วยการเล่นลูกใดลูกหนึ่งด้วยไม้กอล์ฟจากแท่นตั้งทีไปลงหลุมโดยการสโตรคหนึ่งครั้งหรือหลายครั้งต่อเนื่องกันตามกฎข้อบังคับ" กอล์ฟเป็นหนึ่งในกีฬาประเภทบอลเพียงไม่กี่ชนิดที่ไม่มีอาณาเขตการเล่นที่แน่นอน (สนามกอล์ฟแต่ละแห่งสามารถมีรูปร่างและขนาดต่างกัน) ต้นกำเนิดของกอล์ฟนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ระหว่างเนเธอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และจีน โดยมีการเล่นกอล์ฟมาแล้วอย่างน้อยห้าศตวรรษในหมู่เกาะบริเตน กอล์ฟในรูปแบบปัจจุบันได้มีการเล่นในสกอตแลนด์ตั้งแต่พ.ศ. 2215.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกอล์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

กะละแม

กะละแม เป็นขนมไทยลักษณะเป็นแป้งเหนียวสีดำ เป็นขนมหนึ่งในสามชนิดที่นิยมทำขึ้นในวันปีใหม่ของคนไทยในสมัยก่อน ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ คือ ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และกะละแม ยังไม่ทราบว่ากะละแมมีที่มาจากขนมหวานของชาติใด บางท่านกล่าวว่ามาจากขนมกาลาเม็กของฝรั่งเศส หรือคาราเมลของอังกฤษ หรือเกละไมของชาวมลายู พุทธทาสภิกขุตั้งข้อเสนอว่าน่าจะมาจากขนมฮูละวะของอินเดียที่มีส่วนผสมเป็นนม แป้ง และน้ำตาลเส้นทางขนมไท.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกะละแม · ดูเพิ่มเติม »

กะลาสี

กะลาสี หรือ กะลาสีเรือ มีความหมายกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง ลูกเรือ หรือสมาชิกที่มีหน้าที่ในเรือเดินสมุทร หรือเรือขนาดใหญ่ตามลำน้ำ ตั้งแต่ผู้บังคับเรือ จนถึงเจ้าหน้าที่ระดับล่างสุด ไม่ว่าจะเป็นเรือสินค้า เรือรบ หรือเรือโดยสาร โดยไม่รวมถึงผู้โดยสารหรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานในเรือนั้น อย่างไรก็ตาม ความหมายระดับแคบ กะลาสีอาจหมายถึงทหารเรือหรือลูกเรือระดับล่างเท่านั้น ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ระดับสูง เช่น กัปตัน ต้นหน ต้นกล เป็นต้น กะลาสี ยังเป็นตำแหน่งในหน่วยงานราชการ เช่น กรมศุลกากร มีตำแหน่ง "กะลาสี" ซึ่งมีอัตราเงินเดือนเทียบเท่ากับยาม และพนักงานประจำเรือ คือ 4,100 บาท (พ.ศ. 2548) คำว่า "กะลาสี" ในภาษาไทย มีที่มาจากศัพท์ในภาษามลายู ว่า "kelasi" ซึ่งภาษามลายูรับจากคำศัพท์ "ขะลาสิ" ในภาษาเปอร์เซียอีกทอดหนึ่ง หมวดหมู่:การขนส่งทางน้ำ หมวดหมู่:อาชีพ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกะลาสี · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

กะเพรา

กะเพรา เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30-60 เซนติเมตร นิยมนำใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกะเพรา · ดูเพิ่มเติม »

กะเทย

กะเทย ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายว่า "คนที่มีอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง, คนที่มีจิตใจและกิริยาอาการตรงข้ามกับเพศของตน; ผลไม้ที่เมล็ดลีบ เช่น ลำไยกะเทย" ส่วนความหมายทางแพทยศาสตร์ หมายถึง คนที่มีอวัยวะของทั้งผู้หญิงและผู้ชายอยู่ในคน ๆ เดียวกัน ส่วนกะเทยที่มีจิตใจตรงข้ามกับเพศของตน ทางการแพทย์เรียกกลุ่มนี้ว่า "ลักเพศ".

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกะเทย · ดูเพิ่มเติม »

การบันเทิง

การบันเทิง คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน อาท.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและการบันเทิง · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมเพศ

'''Coition of a Hemisected Man and Woman''' (ประมาณ ค.ศ. 1492) วาดโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายในการร่วมเพศระหว่างชาย-หญิง quote.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและการร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างสรรค์

การสร้างสรรค์ (creativity) หมายถึงการสร้างสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่า โดยสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นอาจมีการอ้างถึงบุคคลผู้สร้างสรรค์ หรือสังคมหรือขอบเขตภายในที่ได้สร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ขึ้นมา ซึ่งการวัดคุณค่าดังกล่าวอาจใช้ได้หลายวิธี สำหรับด้านวิชาการนั้น ต่างให้ความสนใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์กันอย่างแพร่หลาย: ทั้งทางจิตและกระบวนการทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมสร้างสรรค์, ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางบุคลิกภาพและความสามารถในการสร้างสรรค์, ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญา, การเรียนรู้และสุขภาพจิต ตลอดจนวิธีการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ผ่านการฝึกอบรมและเทคโนโลยีเข้าช่วย ความคิดสร้างสรรค์และการกระทำเชิงสร้างสรรค์จึงมีการศึกษาในหลายสาขาการเรียนรู้ ทั้งทางด้านจิตวิทยา, วิทยาการการรู้, การศึกษา, ปรัชญา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรัชญาทางวิทยาศาสตร์), เทววิทยา, สังคมวิทยา, ภาษาศาสตร์, ธุรกิจศึกษา และเศรษฐศาสตร์ อันเป็นผลให้เกิดความหลากหลายของคำจำกัดความและวิธีการ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและการสร้างสรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

การสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์รายการโทรทัศน์ การสัมภาษณ์ เป็นรูปแบบของการสนทนาระหว่างบุคคลสองคนหรือมากกว่า โดยผู้สัมภาษณ์จะถามคำถามเพื่อให้ข้อมูลจากผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์จะมีจุดมุ่งหมายหลายแบบเช่น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและการสัมภาษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจลาจล

การจุดไฟเผารถยนต์ระหว่างการจลาจล การจลาจล เป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อความไม่สงบต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทรัพย์สินหรือประชาชน ซึ่งมีลักษณะเป็นการปรากฏตัวออกมาทันใดของกลุ่มคนที่ไม่มีการจัดระเบียบและหุนหันพลันแล่นที่จะใช้ความรุนแรง ถึงแม้ว่าอาจมีคนหรือกลุ่มคนพยายามที่จะนำหรือควบคุมการจลาจล แต่ส่วนใหญ่แล้วการจลาจลมักไร้ระเบียบเป็นธรรมดาและแสดงพฤติกรรมฝูง การจลาจลมักเกิดขึ้นเป็นปฏิกิรยาจากการได้รับความเดือดร้อนหรือการแสดงความไม่เห็นด้วย ในประวัติศาสตร์ การจลาจลเกิดขึ้นเนื่องจากได้รับค่าแรงต่ำหรือคุณภาพชีวิต รัฐบาล การกดขี่ ภาษีหรือการเกณฑ์ทหาร ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเชื้อชาติ การขาดแคลนอาหารหรือความขัดแย้งทางศาสนา ผลจากการแข่งขันกีฬาหรือความไม่พอใจกับช่องทางของกฎหมายผ่านการแสดงความคับข้องใจ การจลาจลมักเกี่ยวข้องกับการทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือเอกชน ทรัพย์สินที่ตกเป็นเป้าหมายโดยเฉพาะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุของการจลาจลและการโน้มเอียงทางความคิด เป้าหมายสามารถรวมไปถึงร้านค้า รถยนต์ ร้านอาหาร สถาบันของรัฐหรือสิ่งก่อสร้างทางศาสนา ผู้ก่อการจลาจลจำนวนหนึ่งค่อนข้างมีความชำนาญในการทำความเข้าใจและการสกัดยุทธวิธีที่ตำรวจใช้ในสถานการณ์จลาจล คู่มือสำหรับการจลาจลให้ประสบความสำเร็จสามารถเข้าถึงได้บนอินเทอร์เน็ต คู่มือเหล่านี้ยังกระตุ้นให้ผู้ก่อการจลาจลนำสื่อเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากพบว่าการมีกล้องไปด้วยจะมีความปลอดภัยและได้รับความสนใจมากกว่า พลเมืองที่มีกล้องวิดีโอยังสามารถมีผลกระทบต่อทั้งผู้ก่อการจลาจลและตำรวจได้ เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนสวมเกราะลำตัวและโล่ การรับมือกับการจลาจลมักจะเป็นงานยากของกรมตำรวจบ่อยครั้ง และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ถูกส่งตัวไปรับมือกับการจลาจลมักจะถือโล่ยุทธวิธีและลูกซองปราบจลาจล ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการกระจายที่กว้างกว่าของล้ากล้องสั้น ตำรวจยังอาจใช้แก๊สน้ำตาหรือแก๊สซีเอสเพื่อหยุดผู้ก่อการจลาจล ตำรวจปราบจลาจลส่วนใหญ่ใช้วิธีอาวุธไม่ร้ายแรงในการควบคุมฝูงชน อย่างเช่น ปืนลูกซองที่ยิงกระสุนยางและกระสุนถุงตะกั่วเพื่อทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือทำให้ผู้ก่อการจลาจลง่ายต่อการจับกุม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและการจลาจล · ดูเพิ่มเติม »

การคำนวณ

การคำนวณ หรือ การคณนา สามารถนิยามได้ว่าเป็นการหาคำตอบของปัญหาจากข้อมูลป้อนเข้าโดยการใช้ขั้นตอนวิธี ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ทฤษฎีการคำนวณ ซึ่งเป็นสาขาย่อยของวิทยาการคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ เป็นเวลากว่าพันปีที่การคำนวณนั้นกระทำด้วยปากกาและกระดาษ หรือชอล์กและกระดานชนวน หรือด้วยการใช้สมอง โดยบางครั้งมีการใช้ตารางประกอบด้วย หมวดหมู่:วิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี หมวดหมู่:ทฤษฎีการคำนวณได้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและการคำนวณ · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าคน

การฆ่าคน (murder) เป็นการกระทำให้มนุษย์ถึงแก่ความตาย จัดเป็นอาชญากรรมประเภทหนึ่ง ทางนิติศาสตร์แบ่งเป็นสองประเภท คือ การทำให้คนตายโดยเจตนา (homicide) และการทำให้คนตายโดยไม่เจตนา (manslaughter) การฆ่าคนทั้งสองประเภท ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักหรือเบาตามกฎหมายแล้วแต่กรณี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและการฆ่าคน · ดูเพิ่มเติม »

การตราสัง

การตราสังศพผู้ประสบภัยคลื่นสึนามิ พ.ศ. 2547 การตราสัง หมายความว่า การมัดศพ หรือการผูกศพให้เป็นเปลาะ ๆ ด้วยด้ายดิบเป็นต้น "ดอยใน" ก็เรียก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและการตราสัง · ดูเพิ่มเติม »

การแผ่รังสี

ในทางฟิสิกส์ การแผ่รังสี (อังกฤษ: radiation) หมายถึงกระบวนการที่อนุภาคพลังงานหรือคลื่นเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางหรืออวกาศ รังสีสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ รังสีที่แตกตัวได้และรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกตัวของประจุ อย่างไรก็ตาม คำว่า "รังสี" มักหมายถึงกัมมันตภาพรังสีเพียงอย่างเดียว (คือ รังสีที่มีพลังงานเพียงพอที่จะทำให้อะตอมเปลี่ยนเป็นไอออน) แต่ความเป็นจริงแล้วก็สามารถหมายถึงรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดการแตกตัวของประจุด้วยเช่นกัน (เช่น คลื่นวิทยุหรือแสงที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า รูปแบบเรขาคณิตของการแผ่รังสีออกจากตัวกลาร่รร่คียยเมวังนำไปสู่ระบบของหน่วยวัดและหน่วยทางฟิสิกส์ที่สามารถใช้ได้กับรังสีทุกประเภท รังสีทั้งสองประเภทล้วนสามารถเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ) การแผ่รังสี สามารถนำไปใช้งานในงานทางด้านความร้อนต่าง ๆ เช่น แผ่นรองหัวเตาแก๊สอินฟาเรด การถ่ายเทความร้อนในอุปกรณ์ แลกเปลี่ยนความร้อน การแผ่รังสี หมวดหมู่:ฟิสิกส์ หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและการแผ่รังสี · ดูเพิ่มเติม »

กินรี

รูปหล่อโลหะของ กินร และ กินรี ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กินรี (ตัวเมีย) และ กินนร (ตัวผู้) เป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ ร่างกายท่อนบนเป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก มีปีกบินได้ ตามตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ เชิงเขาไกรลาศ นับเป็นสัตว์ที่มีปรากฏในงานศิลปะของไทยมาก ส่วนในวรรณคดีไทยก็มีการอ้างถึงกินรีด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกินรี · ดูเพิ่มเติม »

กุฏิ

กุฏิ หรือ กุฎี (อ่านว่า กุด หรือ กุดติ) แปลว่า กระต๊อบ, กระท่อม, โรงนา ใช้ว่า กุฏี ก็ได้ เรียกเพี้ยนไปว่ากฎิ ก็มี (กฎิ แปลว่า สะเอว) หมายถึงอาคารที่เป็นโรงเรือนหรือตึกอันเป็นที่อยู่พำนักอาศัยของภิกษุสามเณร ใช้เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา กุฏิ สมัยก่อนจะแยกกันเป็นหลัง ๆ อยู่รวมกันหลาย ๆ หลัง เช่น กุฏิเรือนไทย เรียกว่า กุฏิหมู่ หรือ หมู่กุฏิ บางแห่งสร้างเป็นหลายชั้นและหลายห้อง เรียกว่า กุฏิแถว สำหรับกุฏิที่ประทับของพระพุทธเจ้ามีชื่อเรียกเป็นพิเศษว่า พระคันธกุฎี เพราะมีกลิ่นหอมอยู่ตลอดเวลา กุฏิที่อยู่อาศัย พุทธบัญญัติเดิมกําหนดขนาดของ กุฏิให้พอดีที่พระภิกษุรูปเดียวจะอาศัยอยู่ได้สะดวก มีเนื้อที่กําหนดความยาว ๑๒ คืบพระสุคต และกว้าง ๗ คืบพระสุคต คือ ประมาณ ๓.๐๐ เมตร x ๑.๗๕ เมตร ตามมาตราส่วนปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ขนาดตามที่กําหนดไว้นี้กําหนดเพื่อการอยู่อาศัย โดยแท้จริงมิใช่เพื่อสะสมสิ่งใดๆด้วยเลยตัวอย่างเช่นกุฏิที่ใช้ ในการปฏิบัติวิปัสสนาโดยทั่วไปในปัจจุบัน การที่พระภิกษุแต่ละรูปจะมีกุฏิอยู่อาศัยเองได้นั้น จะต้องประกาศต่อสาธารณะว่าจะทํากุฏิอยู่อาศัยอยู่ถึง ๓ ครั้ง หากไม่มีผู้ใดคัดค้านกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงจะทํากุฏิอยู่ได้ ที่มีพุทธบัญญัติให้กระทํา ดังนี้ก็เพื่อมิให้พระภิกษุล่วงละเมิด ที่ดินที่เป็นทรัพย์สินกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น หรือพระภิกษุ อาจเข้าอยู่อาศัยในที่ที่มีผู้สละแบ่งให้ก็ได้ เช่นในเรือนที่พระภิกษุจะต้องอยู่รวมกันหลายๆ รูป แต่การอยู่อาศัยรวมกันนั้น ก็จะต้องมีการกำหนด แบ่งเขตให้เป็นสัดส่วนเฉพาะของภิกษุแต่ละรูป เขตเฉพาะตนดังกล่าวนี้เรียกว่า เขตของการครองผ้าไตรจีวร เขตนี้มีเครื่องล้อมบังเป็นที่หมายกำหนด แต่ถ้าไม่มีเครื่องล้อมบัง จะถือเอากำหนดหัตถบาสที่มีระยะหนึ่งศอกโดยรอบตัวเป็นเขตกำหนด หรือเป็นป่าก็อนุญาตให้อย่างมาก ๗ อัพภันดรโดยประมาณ คือในวงรอบ ๙๘ เมตร เป็นเขตครองผ้าไตรจีวร เขตครองผ้าไตรจีวร หมายถึง เขตที่พระภิกษุ จะต้องรักษาเครื่องนุ่งห่มที่เรียกว่าไตรจีวร (ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และผ้าพาดไหล่) ไว้กับตัวเฉพาะในเวลากลางคืน จนกว่าจะถึงเวลาเช้า แม้ในเวลานอนก็จะต้องรักษาไตรจีวรไว้ใกล้ตัว หากพระภิกษุละทิ้งให้ไตรจีวรอยู่ห่างจากตัว แม้ระยะห่างเกินกว่าหัตถบาสรอบตัว ก็ถือว่าขาดจากความเป็นเจ้าของ จะต้องประกาศความเป็นเจ้าของกับพระภิกษุรูปอื่นใหม่ เพื่อให้เป็นพยานจึงนำมานุ่งห่มได้อีก การที่มีบัญญัติเช่นนี้ ก็เพื่อให้มีการรู้จักระมัดระวังข้าวของของตน ไม่ให้ถูกลักขโมยได้ง่าย ลักษณะอาคารที่ใช้สอยในเขตสังฆวาสนี้ ไม่มีข้อกำหนดว่า จะต้องเป็นรูปหรือทรวดทรงอย่างไร ตามที่ปฏิบัติกันมานั้น กุฏิส่วนมากก็มีลักษณะดังเรือนราษฎรอยู่อาศัย เพราะพระภิกษุก็คือราษฎรที่มาบวชนั่นเอง แต่ถ้าจะมีการกำหนดจำแนกแล้ว กุฏิที่พระสงฆ์อยู่อาศัยอาจมีได้ดังนี้ ๑.ภิกษุสร้างขึ้นเองโดยวิธีประกาศหาที่ที่ไม่มีผู้คัดค้าน และอยู่ในขนาดที่มีพุทธานุญาต.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกุฏิ · ดูเพิ่มเติม »

กงสุล

กงสุล (Consul) เป็นตำแหน่งทางการเมือง ใช้กับผู้แทนอย่างเป็นทางการของรัฐบาลของรัฐหนึ่งในดินแดนของอีกรัฐหนึ่ง ตามปกติมีหน้าที่ช่วยเหลือและคุ้มครองพลเมืองของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุล และเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและไมตรีระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ กงสุลแตกต่างจากเอกอัครราชทูตตรงที่เอกอัครราชทูตเป็นผู้แทนจากประมุขแห่งรัฐหนึ่งกับประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เอกอัครราชทูตจากประเทศหนึ่งไปประจำอีกประเทศหนึ่งสามารถมีได้เพียงคนเดียว ขณะที่กงสุลอาจมีได้หลายคน ประจำอยู่นหัวเมืองหลักต่าง ๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเด็นทางราชการแก่ทั้งพลเมืองของประเทศผู้แต่งตั้งหรือที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ และพลเมืองของประเทศที่กงสุลประจำอยู่ซึ่งต้องการท่องเที่ยวในหรือค้าขายกับประเทศผู้แต่งตั้ง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและกงสุล · ดูเพิ่มเติม »

ญัตติ

ำสำคัญ "ญัตติ" สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและญัตติ · ดูเพิ่มเติม »

ญาณ

ญาณ (ñāṇa; jñāna ชญาน) แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา บ้าง ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา แต่มักใช้ในความหมายที่จำเพาะกว่า คือเป็นปัญญาที่ทำงานออกผลมาเป็นเรื่อง ๆ มองเห็นสิ่งนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ ตามสภาวะจริง มีการกล่าวถึงญาณในหลายลักษณะ หรืออาจจัดแบ่งญาณได้เป็น ญาณ 3 (3 หมวด) และ ญาณ 16 (ในวิปัสสนาญาณ) ดังนี้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและญาณ · ดูเพิ่มเติม »

ฐาน

น อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ภัณฑารักษ์

ัณฑารักษ์ คือ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดูแลพิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการ ความหมายความตัวอักษร ก็คือ ผู้ดูแลรักษาคลังเก็บสิ่งของ มาจากคำศัพท์ภาษาสันสกฤต ภาณฺฑารกฺษ (ภาณฺฑ + อารกฺษ) ความหมายโดยทั่วไป คือ "ผู้ดูแลสถานที่จัดแสดงและสิ่งจัดแสดง"Carly Chynoweth, 22 December 2006, Times OnlineValarie Kinkade, American Association of Museums ภัณฑารักษ์นับเป็นตำแหน่งที่สำคัญและรับผิดชอบสูง ทั้งในแง่บริหารและปฏิบัติการ หน้าที่หลักของภัณฑารักษ์ คือการจัดหา จัดหมวดหมู่ และจัดแสดงวัตถุในที่จัดแสดง รวมถึงการดูแล ซ่อมแซม และวางแผนจัดการและแผนการให้บริการ และยังมีส่วนอย่างมากในการประเมินราคาของศิลปวัตถุด้วย ด้วยเหตุนี้ ภัณฑารักษ์จึงต้องมีความชำนาญเฉพาะด้านเป็นอย่างดี นอกเหนือจากความรู้ด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์ทั่วไป เช่น หากต้องดูแลพิพิธภัณฑ์อัญมณี ก็จะต้องมีความรู้ด้านอัญมณีศาสตร์ หากต้องดูแลนิทรรศการศิลปะ ก็ต้องมีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลป์หรือแนวความคิดร่วมสมัยที่เกี่ยวข้อง หรือหากต้องดูแลเทศกาลภาพยนตร์ ก็ต้องมีความรู้ด้านภาพยนตร์หรือทัศนศิลป์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของภัณฑารักษ์แตกต่างกันไป ตามลักษณะเฉพาะของสถานที่จัดแสดง ในพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่จะมีภัณฑารักษ์จำนวนมาก โดยมีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะด้านตามความเชี่ยวชาญ และอาจมีผู้ช่วยภัณฑารักษ์อีกทอดหนึ่งก็ได้ ขณะที่นิทรรศการหรือพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กอาจมีภัณฑารักษ์เพียงไม่กี่คนหรือมีเพียงคนเดียว ทำหน้าที่ดูแลจัดการทุกสิ่งทุกอย่าง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและภัณฑารักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพยนตร์

กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวของฟ็อกซ์ในยุคแรก ๆ ภาพยนตร์ หรือ หนัง คือ กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม แล้วนำออกฉายให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์หลังจากผ่านกระบวนการถ่ายทำแล้วเป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมาก ที่มีอิริยาบถหรือแสดงอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยต่อเนื่องกันเป็นช่วงๆ ตามเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทำและตัดต่อมา ซึ่งอาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรืออาจเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการของผู้สร้างก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นชนิดฟิล์มเนกาทีฟ (negative) หรือฟิล์มโพซิทีฟ (positive) ซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือกระทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏรูปหรือเสียงหรือทั้งรูปและเสียง เป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ หรือข้อความอันจักถ่ายทอดรูปหรือเสียง หรือทั้งรูปและเสียงได้ด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์หรือเครื่องอย่างอื่นทำนองเดียวกัน และหมายความตลอดถึงฟิล์มซึ่งได้ถูกถ่าย อัด หรือทำด้วยวิธีใด ๆ ให้ปรากฏสี เพื่ออัดลงในฟิลม์ชนิดดังกล่าว เป็นสาขาที่สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปของภาพเคลื่อนไหว และเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมบันเทิง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและภาพยนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

ใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและภาคใต้ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิลำเนา

ูมิลำเนา (domicile (แบบบริเตน), domicil (แบบอเมริกา)) หมายถึง แหล่งสำคัญอันเป็นที่อยู่ของบุคคล ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นถิ่นที่อยู่ตามทะเบียนบ้านหรือทะเบียนสำมะโนครัว และไม่ได้มีความหมายอย่างเดียวกับ "มาตุภูมิ" ดังที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ ตามกฎหมายไทยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและภูมิลำเนา · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยราชภัฏ

มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่พัฒนามาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของประเทศ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยครู หลังจากนั้น ได้รับพระราชทานนาม "ราชภัฏ" จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้เป็นชื่อประจำสถาบัน พร้อมทั้ง พระราชทาน พระราชลัญจกรเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย โดยในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏ มีอยู่ทั้งสิ้น 38 แห่ง ทั่วประเท.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมหาวิทยาลัยราชภัฏ · ดูเพิ่มเติม »

มหาหิงคุ์

ลักษณะขวดมหาหิงคุ์ที่ใช้ประกอบอาหาร มหาหิงคุ์ (हींग. ถอดรูปได้เป็น หีค หรือ หีงคะ ชื่อภาษาอังกฤษคือ asafoetida หรือเรียกสั้น ๆ ว่า hing) เป็นยางที่หลั่งจากพืชหลายชนิดในสกุลมหาหิงคุ์ (Ferula) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน และนิยมเพาะปลูกใกล้กับประเทศอินเดีย มหาหิงคุ์มีกลิ่นเหม็นฉุน รสเผ็ดร้อน นิยมใช้ทำยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อในเด็ก นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาระบาย ยาแก้ไข้หวัด และใช้ผสมอาหารได้อีกด้ว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมหาหิงคุ์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาปวารณา

วันมหาปวารณา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนา ตรงกับวันสุดท้ายของการอยู่จำพรรษา 3 เดือน คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำการปวารณา คือ ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน หมายถึงยอมมอบตนให้สงฆ์กล่าวตักเตือน ในข้อบกพร่องที่ภิกษุทั้งหลายได้เห็นได้ยิน หรือมีข้อสงสัย ด้วยจิตเมตตา เพื่อจักได้สำรวมระวังปรับปรุงแก้ไขตนเอง เพื่อความเจริญของพระธรรมวินัยและความผาสุกในการอยู่ร่วมกัน วันที่พระสงฆ์ทำมหาปวารณานี้ เรียก "ตามที่เข้าใจกันทั่วไป" ว่า วันออกพรรษ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมหาปวารณา · ดูเพิ่มเติม »

มัณฑนศิลป์

มัณฑนศิลป์ หรือ การออกแบบภายใน (interior design) เป็นการออกแบบการตกแต่งพื้นที่ภายในอาคาร โดยใช้ความสำคัญของ จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม สถาปัตยกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ เข้าด้วยกัน สถาบันแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนก็คือ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า ศิลปะตกแต่ง เปิดตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2499 ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนเกี่ยวกับด้านนี้ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.เกษมบัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์ ม.รังสิต ม.อัสสัมชัญ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ม.เทคโนโลยีพระจอบเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ม.เทคโนโลยีราชมงคล.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมัณฑนศิลป์ · ดูเพิ่มเติม »

มัคคุเทศก์

มัคคุเทศก์ หรือไกด์ เป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ ข้อมูล ความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ร่วมสมัยต่างๆแก่บุคคที่อยู่ในกลุ่มท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเอกเทศ หรือนักท่องเที่ยวในกรณีทัศนศึกษาที่สถานีทางศาสนาหรือประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ และสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจอื่นๆ มัคคุเทศก์ส่วนใหญ่จะได้รับการรับรองจากองค์กรที่เกี่ยวข้องก่อนเข้าทำงาน ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศและภูมิภาค ตามสมาคมมาตรฐานยุโรป คำจำกัดความของคำว่า "มัคคุเทศก์" คือ: การรองรับคุณวุฒิการนำเที่ยวถือเป็นสิ่งจำเพาะของแต่ละประเทศและในแต่ละเหตุการณ์ ในบางกรณี การรับรองนี้อยู่ในระดับประเทศ ในบางกรณี อยู่ในระดับภูมิภาค ในทุกกรณี การนำเที่ยวมักขึ้นอยู่กับหลักจริยธรรมและศีลธรรมในการศึกษาและการฝึกงานของประเทศนั้นๆ ศิลปะการนำเที่ยวถือเป็นงานฝีมือ ต้องมีความสามารถในการรับรู้และเลือกบอกข้อมูลให้แต่ละกลุ่มผู้ฟัง ความสามารถในการส่งต่อข้อมูลโดยใช้วิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมา ความสามารถที่จะให้ผู้มาเที่ยวเห็นและรับรู้ด้วยตัวเองในเวลาเดียวกัน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมัคคุเทศก์ · ดูเพิ่มเติม »

มัคนายก

มัคนายก (บาลี) หรือ มรรคนายก (สันสกฤต) แปลว่า ผู้นำทาง คือผู้นำบุญ ผู้แนะนำทางบุญ ผู้ชี้ทางบุญ ใช้เรียกคฤหัสถ์ผู้ประสานติดต่อระหว่างวัดกับชาวบ้านในกิจการต่างๆ ของวัดหรือผู้เป็นหัวหน้าในพิธีทำบุญในวัด เช่นนำอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร นำถวายทาน ตลอดจนจัดแจงดูแลศาสนพิธีอื่นให้ถูกต้องเรียบร้อย อาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้ และแต่ละวัดอาจมีหลายคนก็ได้ มัคนายกที่ดีและเก่งจะทำให้งานบุญต่างๆ ในวัดสำเร็จเรียบร้อยโดยเป็นระเบียบสวยงาม และราบรื่นไม่ติดขั.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมัคนายก · ดูเพิ่มเติม »

มานุษยวิทยา

มานุษยวิทยา (anthropology) คือ วิชาที่เกี่ยวกับมนุษย์ มานุษยวิทยา เกิดจาก วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมานุษยวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

มาเลศ

มาเลศ แมวโคราช หรือ แมวมาเลศ ต้นกำเนิดพบที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา หรือที่รู้จักกันในนามว่าโคราช มีหลักฐานบันทึกเกี่ยวกับแมวโคราชในสมุดข่อยที่เขียนขึ้นในระหว่างปี..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมาเลศ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลไหหลำ

มณฑลไหหลำ หรือ ไห่หนาน (ภาษาจีน: 海南, พินอิน: Hǎinán) คือมณฑลของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีขนาดเล็กที่สุด ตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศ ประกอบด้วยเกาะหลายเกาะ โดยที่เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะไหหลำ เมื่อชาวจีนพูดเกี่ยวกับ "ไห่หนาน" ในภาษาจีน มักจะหมายถึงเฉพาะเกาะไหหลำ เมื่อพูดถึงมณฑลไหหลำจะใช้คำว่า "ไห่หนานเฉิ่ง" เมืองหลวงคือ เมืองไหโข่ว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมณฑลไหหลำ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑป

พระมณฑปภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มณฑป คือ เรือนยอดหรือเครื่องยอดหลังคาขนาดใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเป็นรูปตัด มุม หรือย่อไม้แปด ย่อไม้สิบสอง ยอดหลังคาเป็นทรงจอมแห หมวดหมู่:สถาปัตยกรรมไทย.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมณฑป · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎ

มงกุฎของพระเจ้าคริสเตียนที่ 4 แห่งเดนมาร์กปัจจุบันตั้งอยู่ที่ปราสาทโรเซ็นบอร์กในกรุงโคเปนเฮเกน '''มงกุฎ'''ของจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวีที่ทรงสวมในวันราชาภิเษกของพระสวามี มงกุฎ (crown; สะกดด้วยตัว ฎ ชฎา) คือเครื่องสวมศีรษะที่เป็นสัญลักษณ์ที่สวมโดยพระมหากษัตริย์ หรือผู้นำทางศาสนาที่เป็นเครื่องหมายของความมีอำนาจทางการเมือง, ความมีสิทธิ, ความเป็นอมตะ, ความชอบธรรมในการเป็นกษัตริย์, ชัยชนะ, การฟื้นฟู, เกียรติยศ และความรุ่งโรจน์ของผู้สวม ทางด้านศิลปะมงกุฎอาจจะแสดงในภาพที่มีเทวดาประทานมงกุฎให้แก่มนุษย์ นอกจากมงกุฎที่สร้างกันตามปกติแล้ว อาจจะทำจากดอกไม้, ดาว, ใบไม้, หรือหนาม แต่มงกุฎประจำตำแหน่งแล้วส่วนใหญ่จะทำจากโลหะและอัญมณี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

มเหสักข์

มเหสักข์ ตามความหมายแปลว่า เทวดาผู้ใหญ่ แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีความเชื่อว่า ผีมเหสักข์ คือวิญญาณของบรรพบุรุษที่คอยปกปักรักษาดินแดนถิ่นนั้น (คล้ายกับพระภูมิเจ้าที่) ประเพณีการไหว้ผีมเหสักข์จะจัดตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ไปจนสิ้นเดือน 7 อันปรากฏในฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ มีการฉลองฟ้อนรำและการเข้าทรงด้วย บางท้องถิ่นเช่นอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร จัดการไหว้ผีมเหสักข์ในช่วงมีนาคมถึงเมษายน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมเหสักข์ · ดูเพิ่มเติม »

มเหสี

มเหสี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและมเหสี · ดูเพิ่มเติม »

ยานัตถุ์

ยานัตถุ์ของอังกฤษ ปฏิทินจากยานัตถุ์หมอชิต พ.ศ. 2499 ยานัตถุ์ (อังกฤษ: snuff, dry nasal tobacco) คือ ยาผงที่ใช้สำหรับเป่าเข้าทางจมูก อาจใช้เพื่อรักษาโรคหรือไม่ก็ได้ ตัวยาอาจประกอบด้วยส่วนผสมหลายอย่างอาทิ ยาสูบ สเปียร์มินต์ อบเชย เมนทอล การบูร การใช้ยานัตถุ์อาจจัดเป็นการสูบยาชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ควันไฟ วิธีใช้ใช้โดยนำผงยานัตถุ์บรรจุลงไปในท่อเหล็กรูปตัวยู ใส่ปลายท่อด้านหนึ่งเข้ารูจมูกแล้วใช้ปากเป่าปลายท่ออีกด้านหนึ่ง เพื่อให้ตัวยาฟุ้งกระจายเข้าไปในโพรงจมูก (เรียกว่า การนัตถุ์) ผู้ที่ใช้ยานัตถุ์จะรู้สึกเคลิบเคลิ้มเหมือนได้สูบบุหรี่ ในประเทศไทย ยานัตถุ์ใช้กันมากในกลุ่มผู้สูงอายุ และยี่ห้อของยานัตถุ์ที่เป็นที่รู้จัก คือ ยานัตถุ์หมอชิต ยานัตถุ์หมอมี เป็นต้น หมวดหมู่:ยาเสพติด.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและยานัตถุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยีราฟ (สกุล)

thumb ยีราฟ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Giraffa) เป็นสกุลหนึ่งของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์ที่ตัวสูง ขายาว ลำคอยาว มีเขา 1 คู่ ตัวมีสีเหลืองและสีน้ำตาลเข้มเป็นลาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ตัวผู้มีความสูง 4.8 ถึง 5.5 เมตร (16-18 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม (2,000 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดและความสูงน้อยกว่าเล็กน้อย จัดเป็นสัตว์บกที่มีความสูงที่สุดในโลก ยีราฟ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา ที่เขามีขนปกคลุมอยู่ เขาของยีราฟเป็นสิ่งแสดงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ เขาของยีราฟตัวผู้ด้านบนมีลักษณะตัดราบเรียบและมีความใหญ่อวบกว่า ขณะที่ของตัวเมียจะมีขนสีดำปกคลุมเห็นเป็นพุ่มชัดเจน มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงราว 15-20 ตัว หรือมากกว่านั้น ในทุ่งโล่งร่วมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ เช่น แอนทิโลป, ม้าลาย หรือนกกระจอกเทศ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420-461 วัน ลูกยีราฟหย่านมเมื่ออายุได้ 10 เดือน เมื่อคลอดออกมาแล้วจะสามารถยืนและเดินได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนสัตว์กีบคู่ทั่วไป และวิ่งได้ภายในเวลา 2-3 วัน ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 เต้า ยีราฟจะเป็นสัดทุก ๆ 14 วัน แต่ละครั้งเป็นอยู่ราว 24 ชั่วโมง มีอายุขัยเฉลี่ย 20-30 ปี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและยีราฟ (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

รส

รสหรือรสชาติ เป็นความประทับรับความรู้สึกของอาหารหรือสารอื่น และส่วนใหญ่ตัดสินจากสัมผัสเคมีของการรับรู้รสและกลิ่น "ประสาทไทรเจมินัล" ซึ่งตรวจจับยาระคายเคมีในปากและลำคอ ตลอดจนอุณหภูมิและเนื้อ (texture) ยังสำคัญต่อเกสทัลท์การรับรู้รสโดยรวม รสของอาหารดังกล่าวสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยสารปรุงรส (flavorant) ธรรมชาติหรือสังเคราะห์ ซึ่งมีผลต่อสัมผัสเหล่านี้ ในสามสัมผัสเคมีเหล่านี้ กลิ่นเป็นตัวกำหนดหลักของรสอาหารหนึ่ง ๆ ขณะที่การรับรู้รสอาหารจำกัดอยู่เพียงหวาน เปรี้ยว ขม เค็ม และอุมะมิ อันเป็นห้าการรับรู้รสพื้นฐาน หมวดหมู่:การรับรู้รส หมวดหมู่:ระบบรู้รส.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและรส · ดูเพิ่มเติม »

ระบบนิเวศ

ืดหินปะการังเป็นระบบนิเวศทะเลอย่างหนึ่ง ระบบนิเวศ คือกลุ่มอินทรีย์ (พืช สัตว์และจุลินทรีย์) ร่วมกับองค์ประกอบอชีวนะของสิ่งแวดล้อมของพวกมัน (เช่น อากาศ น้ำและดินอนินทรีย์) ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นร.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและระบบนิเวศ · ดูเพิ่มเติม »

รัชดาภิเษก

รัชดาภิเษก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและรัชดาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐวิสาหกิจ

รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์การที่เป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อาจมีโครงสร้างเช่นเดียวกับหน่วยธุรกิจเอกชนหรือมีโครงสร้างอย่างหน่วยงานของราชการ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาผลกำไร.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและรัฐวิสาหกิจ · ดูเพิ่มเติม »

รัศมี

รูปวงกลมที่แสดงถึงรัศมี เส้นผ่านศูนย์กลาง จุดศูนย์กลาง และเส้นรอบวง รัศมี (อังกฤษ: radius พหูพจน์: radii) ของรูปวงกลมหรือทรงกลม คือส่วนของเส้นตรงใดๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างจุดศูนย์กลาง ไปยังเส้นรอบวงหรือพื้นผิวของทรงกลม อีกนัยหนึ่งหมายถึงความยาวของส่วนของเส้นตรงนั้น รัศมีเป็นส่วนครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์กลาง ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มีการใช้คำว่า รัศมีความโค้ง (radius of curvature) แทนความหมายที่คล้ายกับรัศมี ในกรณีทั่วไปที่ไม่ใช่สำหรับรูปวงกลมหรือทรงกลม อาทิ ทรงกระบอก รูปหลายเหลี่ยม กราฟ หรือชิ้นส่วนจักรกลต่างๆ รัศมีสามารถหมายถึงระยะทางที่วัดจากจุดกึ่งกลางหรือแกนสมมาตรไปยังจุดอื่นที่อยู่ภายนอก ซึ่งในกรณีนี้รัศมีอาจมีความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์กลางก็ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัศมี r กับเส้นรอบวง c ของรูปวงกลมคือ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและรัศมี · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์

ราชวงศ์ (Dynasty) คือ ลำดับของผู้ปกครองจากตระกูลเดียวกันOxford English Dictionary, "dynasty, n." Oxford University Press (Oxford), 1897.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและราชวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชาศัพท์ (ภาษาไทย)

ราชาศัพท์ เป็นระเบียบการใช้ภาษาไทยให้สุภาพตามชั้นของบุคคลซึ่งแบ่งเป็นห้าชั้น ได้แก่ 1) พระราชา 2) เจ้านาย หรือพระราชวงศ์ 3) พระสงฆ์ของศาสนาพุทธ 4) ข้าราชการ และ 5) สุภาพชนทั่วไป.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและราชาศัพท์ (ภาษาไทย) · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อคณะศึกษาศาสตร์ในประเทศไทย

รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชาด้านศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ (ยกเว้นวิชาด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมในประเทศไทย).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและรายชื่อคณะศึกษาศาสตร์ในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ราดหน้า

ราดหน้าหมู ราดหน้า เป็นก๋วยเตี๋ยวชนิดหนึ่ง ที่ทำโดยการใช้เส้นลงไปผัดกับน้ำมันอ่อน ๆ ก่อน แล้วพักไว้ น้ำที่ใช้ราด เป็นน้ำต้มกระดูกผสมกับแป้งมันมีความข้นเหนียว เนื้อสัตว์นิยมใช้ เนื้อหมู และ กุ้ง หรือเนื้อสัตว์อื่น ๆ ซึ่งถ้าเป็นเนื้อหมูจะนิยมหมักกับกระเทียมก่อน เพื่อให้เหนียวนุ่ม ผักนิยมใช้ ผักคะน้า หรือจะใช้ผักอย่างอื่น เช่น ผักกวางตุ้ง หรือ ผักกาดขาว ก็ได้ เส้นที่ใช้ทำราดหน้า มีหลายเส้น โดยมาก หากเป็นเส้นใหญ่ จะผัดกับน้ำมันและซีอิ๊วดำก่อน นอกจากนี้ยังมีหมี่ขาว หมี่เหลือง ซึ่งโดยมากจะเป็นเส้นทอดกรอบ นอกจากนี้แล้ว ราดหน้าบางครั้งยังสามารถใส่ไข่ลงไปได้ด้วย อาจจะผสมลงไปในน้ำราดหน้า หรือทอดแยกออกมาโปะหน้าต่างหากแบบไข่เจียวหรือไข่ดาว ก็ได้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและราดหน้า · ดูเพิ่มเติม »

รำพันพิลาป

รำพันพิลาป เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ เป็นนิราศเชิงกำสรวลที่พรรณนาถึงชีวิตของตัวเอง สุนทรภู่ระบุไว้ในงานประพันธ์ว่าได้เขียนงานชิ้นนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2385 ขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม เนื่องจากเกิดนิมิตเป็นฝันร้ายว่าจะต้องสิ้นชีวิต สุนทรภู่ตกใจตื่นจึงแต่งนิราศบรรยายความฝัน และเล่าเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของตนไว้ หลังจากนั้นก็ลาสิกขาบท เนื้อหาในนิราศทำให้ผู้อ่านได้ทราบเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของสุนทรภู่ซึ่งไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อน ทำให้ทราบด้วยว่าสุนทรภู่เคยธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่างๆ มากมาย เช่น พิษณุโลก และได้แต่งนิราศเอาไว้ด้วย แต่งานเขียนของท่านถูกปลวกขึ้นกุฏิ จึงสูญสลายไปหมด สุนทรภู่รำพันความเสียดายหนังสือของตนไว้ในเนื้อเรื่องด้วยว่า "เสียดายสุดแสนรักเรื่องอักษร".

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและรำพันพิลาป · ดูเพิ่มเติม »

ริบบิ้น

ริบบิ้น ริบบิ้น เป็นอุปกรณ์ใช้รัดเพื่อเสริมความงามและจัดระเบียบสิ่งต่าง ทั้งเกี่ยวกับเสื้อผ้า เรือนร่าง อุปกรณ์และสิ่งอื่น โดยมากเข้าใจว่าเป็นคำเรียกที่มาจากการเรียกแถบผ้าที่ใช้รัดผม ทั้งนี้คำเรียกดังกล่าวเป็นคำเรียกมาจากภาษาอังกฤษ ว่า Ribbon ใช้ในความหมายทั่วไป หมายถึงผ้าแถบหลากสีสัน เมื่อนำมาขดแถบริ้วเป็นทรวดทรงต่างๆ เรียกว่าโบ หรือการผูกโบว์ ซึ่งการใช้งานริ้วหรือแถบผ้า หมายถึงการใช้ริ้วหรือแถบในงานตัดเย็บด้วย ในการเปิดร้าน ออกนิทรรศการ มีวิธีการสำคัญเรียกว่า “ ตัดริบบิ้น ” ซึ่งหมายถึงวิธีการที่ประธานรับรองงานจะเป็นผู้ใช้กรรไกรตัดแถบผ้าที่ผูกเป็นโบว์ไว้ในส่วนของทางเข้าให้ขาดจากกัน หมวดหมู่:อุปกรณ์.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและริบบิ้น · ดูเพิ่มเติม »

รถยนต์

องรถยนต์และรถบรรทุกยุคใหม่กำลังขับอยู่บนทางด่วนสายหนึ่ง รถสปอร์ตยุคใหม่ รถยนต์หมายถึง ยานพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนที่ด้วยพลังงานอย่างใดอย่างหนึ่งและถ่ายทอดลงสู่ล้อ เพื่อพาผู้ขับ ผู้โดยสาร หรือสิ่งของ ไปยังจุดหมายปลายทาง ปัจจุบัน รถยนต์โดยส่วนมากได้รับการออกแบบอย่างซับซ้อนในทางวิศวกรรม และหลากหลายประเภท ตามความเหมาะสมของการใช้งาน หรือใช้สำหรับงานเฉพาะกิจ ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและรถยนต์ · ดูเพิ่มเติม »

รถโดยสารประจำทาง

รถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร Benz-Omnibus, 1896 รถโดยสารประจำทาง หรือที่นิยมเรียกกันว่า รถเมล์ เป็นระบบขนส่งมวลชนระบบหนึ่งที่ให้บริการบนถนน โดยมีลักษณะเป็นรถขนาดใหญ่ที่บรรทุกผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก โดยกำหนดเส้นทาง และส่วนใหญ่เรียกชื่อเส้นทางเป็นตัวเลข เช่น สาย1 สาย 2 และมีเก็บค่าโดยสารโดยวิธีต่างๆกันไป จำนวนผู้โดยสารบนรถเมล์จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของรถ ตัวอย่างเช่นในประเทศเยอรมันมีรถเมล์ที่ยาวที่สุดในโลกบรรจุผู้โดยสารได้กว่า 200 คน รถโดยสารประจำทางมีเรียกกันหลายชื่อในประเทศไทยเช่น รถเมล์ รถทัวร์ รถสองแถว รถสองแถวใหญ่ หรือ รถสองแถวเล็ก หรือเรียกชื่อเฉพาะตามพื้นที่ เช่น รถสี่ล้อแดง เป็นชื่อเรียกทั้งรถโดยสารและรถรับจ้างในจังหวัดเชียงใหม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและรถโดยสารประจำทาง · ดูเพิ่มเติม »

ฤๅษี

วนฤๅษีผู้เลื่องชื่อในเทพปกรณัมฮินดู ฤๅษี หรือ ฤษี (สันสกฤต: ṛṣi; เทวนาครี: ऋषि) ภาษาสันสกฤตอ่านว่า ฤษิ หมายความว่า ผู้แต่งพระเวท หรือผู้เห็น ฤๅษีเป็นนักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ ตามสถานที่สงัดต่างๆ ในป่าเขาหรือถ้ำ และเดิมมักเป็นหญิง ซึ่งเรียก "ฤษิก" (rishika) ตามความในคัมภีร์สารวานุกรมนี (Sarvanukramani) ในบรรดาผู้แต่งฤคเวทนั้น เป็นฤษีหญิงถึงยี่สิบคน ฤษี อาจหมายถึงมุนี (muni) ฤษี อีกความหมายหนึ่งคือ ฤษีเพศชาย ส่วน "ฤษิณี" หมายถึง ฤษีเพศหญิง ฤษีที่มีชื่อเสียงชื่อ ฤษี วยาส ผู้สร้างโศลกเรื่องมหากาพย์ภารตะ ซึ่งเป็นมหากาพย์ที่มีจำนวนโศลกมากจำนวนประมาณถึง 1 แสนโศลก ตำนานเล่าว่า ฤๅษีเวทวฺยาส หรือ กฤษฺณ ไทฺวปายน เป็นปู่ของสองพี่น้องตระกูลเการพและปาณฑพ และเป็นเหลนใหญ่ของท้าวภรต คัมภีร์โบราณของฮินดูระบุไว้ว่า ท้าวภรต (ภะ-ระ-ตะ) ผู้นี้เป็นโอรสท้าวทุษยันต์ อันเกิดจากนางศกุนตล.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและฤๅษี · ดูเพิ่มเติม »

ละคร

ละคร หมายถึงการแสดงรำที่เป็นเรื่องเป็นราว ดำเนินเรื่องไปโดยลำดับ มีตัวเอกของเรื่อง ฝ่ายชายเรียกว่าตัวพระ เพราะสมัยโบราณแสดงแต่เรื่องจักรๆวงศ์ๆ เป็นเรื่องของกษัตริย์ มีชื่อว่าพระต่างๆ เช่น พระอนิรุทธิ์ พระไชยเชษฐ์ พระอภัยมณี ฝ่ายหญิงเรียกว่า ตัวนาง เพราะในเรื่องที่แสดงมักชื่อว่านางต่างๆ เช่น นางสีดา นางบุษบา นางทิพย์เกสร ยังไม่มีการแบ่งเป็นนางสาวและนางที่มีสามีแล้ว และตัวประกอบอื่นๆแล้วแต่ในเรื่องจะมีละครมีหลายแบบ แต่ละวฝฝใมีการแสดงและความมุ่งหมายแตกต่างกัน เช่น ละครโนรา ละครนอก ละครใน ละครถาม😴😴😴😴😴 และละครดึกดำบรรพ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการจดบันทึกโดย ซิมง เดอ ลาลูแบร์ ราชฑูตแห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส ใน ปี..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและละคร · ดูเพิ่มเติม »

ลายมือชื่อ

right ลายมือชื่อ หรือ ลายเซ็น คือ การเขียนชื่อ ชื่อเล่น นามแฝง หรือสัญลักษณ์ใดๆ โดยตัวผู้เขียนเอง เพื่อแสดงถึงตัวตนผู้เขียนนั้น โดยการอ้างอิงลายมือชื่อนิยมใช้ในการทำนิติกรรม ธุรกรรมทางกฎหมาย เช่น การทำสัญญา การฝากถอนเงิน หรือ ในการบันเทิงที่ ศิลปิน ดารา จะลงชื่อไว้บนผลงานภาพวาด หรือ อัลบั้มเพลง เพื่อให้มีการยืนยันที่มาของผลงาน หมวดหมู่:การสื่อสาร.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและลายมือชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ลำไย

ลำไย (มักเขียนผิดเป็น ลำใย) มีชื่อเรียกทางพื้นบ้านภาคเหนือว่า "บ่าลำไย" ชื่อภาษาอังกฤษว่า Longan อยู่ในวงศ์ Sapindaceae เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสีน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อ สีขาวครีม ผลทรงกลมเป็นช่อ ผลดิบเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว ผลสุกสีน้ำตาลล้วน เนื้อลำไยสีขาวหรือชมพูอ่อน เมล็ดสีดำเป็นมัน เนื้อล่อนเม็.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและลำไย · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้

thumb ในกายวิภาคศาสตร์, ลำไส้ เป็นส่วนหนึงในทางเดินอาหารต่อจากกระเพาะอาหารไปสู่ทวารหนัก ในมนุษย์และสัตว์ส่วนใหญ่ ลำไส้แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่ ในมนษุย์สามารถแบ่งลำไส้เล็กเป็นส่วนๆ ได้แก่ ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum), ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum), ลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) ส่วนลำไส้ใหญ่แบ่งได้เป็น ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (Cecum) และ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Colon).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและลำไส้ · ดูเพิ่มเติม »

ลิฟต์

ลิฟต์แก้ว ลิฟต์เป็นพาหนะเคลื่อนที่ในแนวดิ่งชนิดหนึ่ง มีประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายคนหรือสิ่งของระหว่างชั้นในอาคาร ลิฟต์ในปัจจุบันใช้พลังงานมอเตอร์ไฟฟ้าในการทำงาน หมวดหมู่:อุปกรณ์การขนส่งในแนวตั้ง หมวดหมู่:การขนส่ง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและลิฟต์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงก์

ลิงก์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและลิงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิงค์

ลิงค์ หรือ ลึงค์ (लिङ्गं แปลว่า เครื่องหมาย สัญลักษณ์ เพศ องคชาติ การอนุมาน คัพภะที่ก่อเกิดลูกหลานชั่วนิรันดร์) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและลิงค์ · ดูเพิ่มเติม »

ลิปสติก

ลิปสติกหนึ่งแท่ง ลิปสติก (lipstick) เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ประกอบด้วยรงควัตถุ น้ำมัน ขี้ผึ้ง และสารให้ความชุ่มชื้น ใช้สำหรับทาสี ลวดลาย และเกราะป้องกันไว้บนริมฝีปาก มีลิปสติกหลากหลายสีและรูปแบบ เช่นเดียวกับเครื่องสำอางทั่วไป ลิปสติกมักนิยมใช้ในผู้หญิง แต่ผู้ชายก็ใช้ได้ การใช้ลิปสติกมีประวัติย้อนไปถึงยุคกลาง คนไทยรุ่นเก่า ๆ ตามต่างจังหวัดมีกเรียกว่า รุท หมวดหมู่:เครื่องสำอาง หมวดหมู่:เครื่องแป้ง หมวดหมู่:ริมฝีปาก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและลิปสติก · ดูเพิ่มเติม »

ลิปดา

ลิปดา (minute of arc, arcminute หรือ MOA) เป็นหน่วยหนึ่งในการวัดมุม มีค่าเท่ากับ ของหนึ่งองศา เนื่องจากหนึ่งองศาเท่ากับ ของวงกลม ดังนั้น 1 ลิปดาจึงเท่ากับ ของวงกลม หน่วยวัดขนาดเล็กเช่นนี้มักใช้ในการวัดค่าที่ละเอียดมากๆ เช่นในวิชาดาราศาสตร์หรือการกำหนดพิกัดการยิงอาวุธ ส่วน พิลิปดา (second of arc, arcsecond) (บ้างก็เขียนว่า วิลิปดา) เป็นหน่วยที่มีขนาดเป็น ของหนึ่งลิปดาอีกต่อหนึ่ง หรือเท่ากับ องศา หรือเท่ากับ ของวงกลม ลิปดาและพิลิปดาเป็นคำไทย การเขียน "ฟิลิปดา" ไม่ถูกต้องและมาจากความเข้าใจที่ผิดว่าคำนี้มาจากภาษาต่างประเทศ ตารางแสดงสัดส่วนและความสัมพันธ์ระหว่าง องศา ลิปดา พิลิปดา และมิลลิพิลิปดา แสดงได้ดังนี้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและลิปดา · ดูเพิ่มเติม »

ลูกผสม

ลูกผสม เป็นลูกของสัตว์หรือพืชต่างพันธุ์ ผสมกันจะได้เป็นอีกพันธุ์เช่น เสือ+สิงโตคือไลเก้อ หมวดหมู่:ชีววิทยาวิวัฒนาการ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและลูกผสม · ดูเพิ่มเติม »

ลูกเกด

ลูกเกด คือองุ่นแห้ง ที่มีการผลิดในหลายพื้นที่ทั่วโลก และสามารถรับประทานเปล่าๆ หรือจะใช้ในการทำอาหาร การอบขนม และการหมักบ่มก็ได้ ทั้งยังเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้อีกด้วย ใน สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และแคนาดา คำว่า "raisin" จะเอาไว้ใช้เรียกองุ่นแห้งเม็ดใหญ่สีเข้ม และ "sultana" จะใช้เรียกองุ่นแห้งที่มีสีเหลือทอง และคำว่า "currant" ใช้เรียกองุ่นไข่ปลาเม็ดแห้งพันธุ์ Black Corinth.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและลูกเกด · ดูเพิ่มเติม »

วัณโรค

วัณโรค (Tuberculosis) หรือ MTB หรือ TB (ย่อจาก tubercle bacillus) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อย และถึงแก่ชีวิตของผู้ป่วยในหลายกรณี ที่เกิดจากไมโคแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ ตามปกติคือ Mycobacterium tuberculosis วัณโรคโดยปกติก่อให้เกิดอาการป่วยที่ปอด แต่ยังสามารถส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของร่างกายได้ วัณโรคแพร่ผ่านอากาศเมื่อผู้ที่มีการติดเชื้อ MTB มีฤทธิ์ไอ จาม หรือส่งผ่านน้ำลายผ่านอากาศ การติดเชื้อในมนุษย์ส่วนมากส่งผลให้เกิดไร้อาการโรค การติดเชื้อแฝง และราวหนึ่งในสิบของการติดเชื้อแฝงท้ายที่สุดพัฒนาไปเป็นโรคมีฤทธิ์ ซึ่ง หากไม่ได้รับการรักษา ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตมากกว่า 50% อาการตรงต้นแบบมีไอเรื้อรังร่วมกับเสมหะมีเลือดปน ไข้ เหงื่อออกกลางคืน และน้ำหนักลด การติดเชื้อในอวัยวะอื่นก่อให้เกิดอาการอีกมากมาย การวินิจฉัยต้องอาศัยรังสีวิทยา (โดยมากคือ การเอ็กซ์เรย์อก) การทดสอบโรคบนผิวหนัง การตรวจเลือด เช่นเดียวกับการตรวจโดยทางกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อจุลชีววิทยาต่อของเหลวในร่างกาย การรักษานั้นยากและต้องอาศัยการปฏิชีวนะยาวหลายคอร์ส คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M. tuberculosis และมีการติดเชื้อใหม่เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที ใน..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวัณโรค · ดูเพิ่มเติม »

วัคซีน

็กกำลังรับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด วัคซีน (Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวัคซีน · ดูเพิ่มเติม »

วิญญาณ

วิญญาณ (soul; जीव) ในทางปรัชญาหมายถึงสิ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารัตถะของชีวิตมนุษย์ อาจรวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ ด้วย วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย เป็นอมตะ ศาสนาอับราฮัมเชื่อว่าเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่ไม่ตาย (ในส่วนวิญญาณ) และอาจไปรวมกับพระเป็นเจ้าได้ ขณะที่ศาสนาอื่น ๆ บางศาสนา เช่น ศาสนาเชนเชื่อว่าไม่เฉพาะมนุษย์แต่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตมีวิญญาณ ส่วนลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต (เช่น แม่น้ำ ภูเขา) ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น บางลัทธิเชื่อว่าโลกก็มีวิญญาณเรียกว่าวิญญาณโลก หรืออาตมันในศาสนาฮินดู คำว่าวิญญาณ มักมีความหมายแนวเดียวกับจิต สปิริต และตัวตน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวิญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกร

วิศวกรกำลังดูแบบเครื่องจักร วิศวกร คือผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ ศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบ ตรวจสอบแก้ไขปัญหาและควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง การออกแบบและผลิตรถยนต์ การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานต่าง ๆ โดยวิศวกรยังแบ่งออกได้เป็นหลายสาขา เช่น วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมอากาศยาน วิศวกรรมการขนถ่ายวัสดุ วิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเซรามิก วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมธรณี ฯลฯ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวิศวกร · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมศาสตร์

การจะออกแบบสร้างกังหันลมในทะเลต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในหลายๆสาขาประกอบเข้าด้วยกัน วิศวกรรมอาจจะหมายถึงพระวิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ประยุกตวิทยา (เทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด, เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ใช้ วัสดุ, โครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, ระบบ และ กระบวนการ เพื่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่งต่อมาคือ ABET) ได้ให้นิยามเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้ดังนี้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวิศวกรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิสามานยนาม

วิสามานยนาม (proper noun) เป็นคำนามที่การใช้หลักหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเจาะจง เช่น กรุงลอนดอน, ดาวพฤหัสบดี, ซาราห์ หรือ ไมโครซอฟท์ ซึ่งแตกต่างจากสามานยนาม (common noun) ซึ่งปกติหมายถึงกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ เช่น นคร ดาวเคราะห์ บุคคล บริษัท หรือกรณีตัวอย่างไม่จำเพาะของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น นครหนึ่ง ดาวเคราะห์ดวงอื่น บุคคลเหล่านี้ หรือบริษัทของเรา วิสามานยนามบางคำอยู่ในรูปพหูพจน์ แล้วหมายถึงสิ่งที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ เช่น ครอบครัวเฮนเดอร์สัน หรืออะโซร์ส (กลุ่มเกาะ) วิสามานยนามบางคำสามารถพบในการใช้ชุดรองเช่นกัน ตัวอย่างเช่น การขยายนาม (ประสบการณ์โมซาร์ต; การผจญภัยอะโซร์สของเขา) หรือแทนสามานยนามบางคำ บทนิยามในรายละเอียดของคำนี้เป็นปัญหาและมีแบบแผนอยู่ในระดับหนึ่ง หมวดหมู่:คำนาม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวิสามานยนาม · ดูเพิ่มเติม »

วิหารคด

วิหารคดที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วิหารคด คือส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมพุทธศาสนสถาน มีลักษณะเป็นวิหารล้อมรอบลานด้านในของวิหารหลักและคดเป็นข้อศอกตรงมุม มีลักษณะเทียบได้กับ ระเบียงฉันนบถ ในสถาปัตยกรรมตะวันตก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวิหารคด · ดูเพิ่มเติม »

วิจารณ์ พานิช

ตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช (27 พฤศจิกายน 2485 -) ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และก่อตั้งสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม ปัจจุบันทำหน้าที่รักษาการนายกสภาสถาบันอาศรมศิลป์ วิจารณ์ พานิช เป็นผู้มีบทบาทสำคัญของประเทศในการสร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย และการจัดการความรู้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวิจารณ์ พานิช · ดูเพิ่มเติม »

วิดีโอ

ระบบวิดีโอแบบที่นิยมทั่วโลก สีเขียวแสดงถึงประเทศที่ใช้ระบบ NTSC สีเหลือง PAL และสีส้ม SECAM วิดีโอ (video) หรือ วีดิทัศน์ หรือมักสะกดผิดว่า วีดีโอ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความบันเทิงในบ้าน ใช้ต่อพ่วงกับโทรทัศน์ มีระบบหลักๆ คือ NTSC PAL และ SECAM.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวิดีโอ · ดูเพิ่มเติม »

วิตามิน

วิตามิน หรือ ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่สิ่งมีชีวิตต้องการในปริมาณเล็กน้อยLieberman, S and Bruning, N (1990).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวิตามิน · ดูเพิ่มเติม »

วินาที

วินาที (Second) เป็นหน่วยฐานของเวลาในระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (เอสไอ) และยังเป็นหน่วยเวลาในระบบการวัดอื่น เท่ากับ 1 ส่วน 60 ของนาที ระหว่าง..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวินาที · ดูเพิ่มเติม »

วิ่งเปี้ยว

วิ่งเปรี้ยว เป็นการละเล่นไทยเดิม ซึ่งมีทั้งความสนุกสนาน และ ช่วยพัฒนาความแข็งแรงและว่องไวของร่างกาย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทำให้สุขภาพแข็งแรง นับเป็นการเล่นที่ดีอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวิ่งเปี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

วงศัพท์

ำศัพท์ ของบุคคล หมายถึงกลุ่มของคำในภาษาหนึ่ง ๆ อันเป็นที่คุ้นเคยต่อบุคคลนั้น วงศัพท์โดยปกติจะพัฒนาเพิ่มขึ้นตามอายุ และทำหน้าที่เป็นเครื่องมือพื้นฐานและมีประโยชน์ เพื่อการสื่อสารตและการเรียนรู้ การได้วงศัพท์ที่กว้างขวางเป็นความท้าทายยิ่งใหญ่ที่สุดในการเรียนรู้ภาษาที่สอง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวงศัพท์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์นกโพระดก

นกโพระดก เป็นนกขนาดกลาง อยู่ในวงศ์ Megalaimidae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ Ramphastidae หรือนกทูแคน ที่พบในอเมริกาใต้ โดยจัดให้เป็นวงศ์ย่อย Megalaiminae) จัดอยู่ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) มีลักษณะจะงอยปากหนาใหญ่ และมีขนที่โคนปาก ร้องเสียงดัง ได้ยินไปไกล ลำตัวอ้วนป้อม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ มีสีสันสวยงาม มีทั้งหมด 26 ชนิด พบทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่ทิเบต จนถึงอินโดนีเซีย พบมากในคาบสมุทรมลายู และเกาะสุมาตรา ทำรังในโพรงไม้ ด้วยการเจาะไม้ให้เป็นรูเหมือนกับนกหัวขวาน ซึ่งเป็นนกในอันดับเดียวกัน แต่โพรงของนกโพระดกจะมีขนาดพอดีตัวทำให้การเข้าออกรังบางทีทำได้ไม่คล่องเท่านกหัวขวาน วางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 13-15 วัน เป็นนกที่กินผลไม้เช่น ลูกโพ, ลูกมะเดื่อฝรั่ง และแมลง เป็นอาหาร สำหรับนกในวงศ์นี้ที่พบในประเทศไทยมีทั้งหมด 15 ชนิด ได้แก่Short, L. L. Horne J. F. M. (2002) "วงศ์ Capitonidae (barbets)" in del Hoyo J., Elliott A. & Christie D.A. (2004) Handbook of the Birds of the World.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและวงศ์นกโพระดก · ดูเพิ่มเติม »

ศรัทธาในศาสนาพุทธ

ตามหลักพระพุทธศาสนา ศรัทธา (ศฺรทฺธา) หรือสัทธา (สทฺธา) หมายถึงความเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและศรัทธาในศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปกรรม

ลปกรรม (อ่านว่า สิน-ละ-ปะ-กัม) มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า สิ่งที่เป็นศิลปะ, สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ ศิลปกรรม มีความหมายตรงกับวลีภาษาอังกฤษว่า "work of art" และคำภาษาอังกฤษว่า "art".

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและศิลปกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะ

ลปะ (शिल्प ศิลฺป) ทั่ว ๆ ไปแล้วจะหมายถึงการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างชิ้นงานศิลปะโดยมนุษย์ คำแปลในภาษาอังกฤษที่ตรงที่สุดคือ Art ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์, สุนทรียภาพ, หรือการสร้างอารมณ์ต่าง ๆ งานศิลปะ จะรวมถึงชิ้นงานหลาย ๆ ชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสาร, สื่ออารมณ์, หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมชิ้นงานตีความ ผู้สร้างงานศิลปะ มักเรียกรวม ๆ ว่า ศิลปิน ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานปฏิมากรรม ภาพวาด-ภาพเขียน despacito หรือ อื่น ๆ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่แล้วศิลปะจะหมายถึงงานทางทัศนศิลปะพวก ภาพวาด-ภาพเขียน งานประติมากรรม งานแกะสลัก รวมถึง conceptual art และ installation art ศิลปะนับว่าเป็นศาสตร์ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ตั้งแต่มีมนุษดขึ้น และนับว่าเป็นศาสตร์ของนักปราชญ์ที่เป็นที่ชื่นชม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและศิลปะ · ดูเพิ่มเติม »

ศุภชัย พานิชภักดิ์

ัย พานิชภักดิ์ ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กรรมการที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ อดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังก์ถัด (UNCTAD) ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 ก่อนหน้านั้นเคยรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการใหญ่องค์การการค้าโลก (WTO) ศุภชัยมีชื่อเรียกย่อ ๆ ที่รู้จักกันทั่วไปว่า ดร.ซุป.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและศุภชัย พานิชภักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศีรษะ

ีรษะของมนุษย์ภาคตัดตามแนวขวาง (Sagittal plane) ในทางกายวิภาคศาสตร์ ศีรษะ (caput, มักสะกดผิดเป็น "ศรีษะ") หรือ หัวของสัตว์ ถือว่าเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากแกนกลางของร่างกาย ในมนุษย์มีส่วนประกอบที่ทำให้เป็นศีรษะเช่น กะโหลกศีรษะ ใบหน้า สมอง เส้นประสาทสมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ฟัน อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ และโครงสร้างอื่นๆ เช่นหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และไขมัน สัตว์ชั้นต่ำหลายชนิดมีศีรษะมากกว่า 1 ศีรษะ สัตว์หลายชนิดไม่ถือว่ามีส่วนศีรษะ แต่สัตว์ที่มีรูปแบบสมมาตร 2 ด้าน (bilaterally symmetric forms) จะต้องมีศีรษ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

สบู่

ู่ของโรงแรม โครงสร้างของโซเดียมสเตียเรตหรือสบู่ ในทางเคมี สบู่คือเกลือของกรดไขมัน สบู่ในบ้านเรือนใช้ชะล้าง อาบ และใช้ในการทำความสะอาดบ้าน โดยสบู่ทำหน้าที่เป็นสารลดแรงตึงผิว และน้ำมันอิมัลซิไฟเออร์เพื่อให้สบู่ไหลไปกับน้ำได้ ในอุตสาหกรรม สบู่ยังใช้กับการปั่นผ้า และเป็นส่วนประกอบสำคัญของสารหล่อลื่นบางชนิด สบู่สำหรับการชะล้างได้มาจากน้ำมันพืชหรือสัตว์ และไขมันที่มีค่าเบสสูง เช่น โซดาไฟ หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ในสารละลายในน้ำ ไขมันและน้ำมันเป็นส่วนประกอบของไตรกลีเซอไรด์ กล่าวคือ โมเลกุลของกรดไขมันสามโมเลกุลติดกับโมเลกุลของกลีเซอรอลหนึ่งโมเลกุลCavitch, Susan Miller.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสบู่ · ดูเพิ่มเติม »

สบง

ง คือผ้านุ่งของภิกษุสามเณร คำวัดเรียกว่า อันตรวาสก สบง เป็นผ้าผืนหนึ่งในจำนวน 3 ผืนหรือ ไตรจีวรของพระสงฆ์ ซึ่งได้แก่ จีวร (ผ้าห่ม) สบง (ผ้านุ่ง) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อน) สบง เป็นผ้าสี่เหลี่ยมเหมือนผ้าขาวม้า ขนาดกลางกว้าง 91.44 เซนติเมตร ยาว 283.84 เซนติเมตรโดยประมาณ เล็กใหญ่กว่านั้นบ้าง ในพระวินัยกำหนดการนุ่งไว้คือ ด้านบนนุ่งปิดสะดือ แต่ไม่ถึงกระโจมอก ด้านล่างปิดหัวเข่าทั้งสองลงมาเพียงครึ่งแข้ง ไม่ถึงกรอมข้อเท้า นุ่งอย่างนี้เรียกว่า นุ่งเป็นปริมลฑล.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสบง · ดูเพิ่มเติม »

สกัด

กัด เพชรยินดี หรือสกัด พรทวี นักมวยต้นแบบของ สกัด สกัด หรือ สงัด (Sagat; サガット) เป็นนักมวยไทยจากเกมสตรีทไฟท์เตอร์ และในภาพยนตร์ โดยในเกมภาคแรก ๆ สกัดได้รับบทบาทเป็นบอสหลักของเกม และมีบทบาทอีกครั้งในสตรีทไฟท์เตอร์ X เทคเคน สกัดมีท่าไม้ตายคือ ไทเกอร์ช็อต, ไทเกอร์อัปเปอร์คัท และไทเกอร์นีครัช มีท่าซูเปอร์คอมโบคือ ไทเกอร์เจโนไซต์ และมีอุลตร้าคอมโบคือไทเกอร์ดิสทรัคชัน กับไทเกอร์แคนนอน ให้เสียงพากย์ในเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นโดยไดสุเกะ เอนโด และให้เสียงพากย์ในเวอร์ชันภาษาอังกฤษโดยไอแซค ซี.ซิงเกิลตัน จูเนียร์ สกัด มีศิษย์เอกคนหนึ่งนามว่า อาดอน ซึ่งเป็นนักมวยไทยเช่นกัน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสกัด · ดูเพิ่มเติม »

สมดุล

"สมดุล" เป็นซิงเกิลของวงดนตรีโปเตโต้ ประพันธ์เนื้อร้องและแต่งทำนองโดยเหมือนเพชร อำมะระ และพัฒน์ชัย ภักดีสู่สุข และเรียบเรียงโดย โปเตโต้ & เกียรติยศ มาลาทอง ออกจำหน่ายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 สังกัดจีนี่เรคอร์ดส ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยเป็นการกลับมาร่วมงานอีกครั้งกับค่ายจีนี่เรคอร์ดส หลังจากที่ห่างหายไปถึง 2 ปีของวง เพลงนี้ได้ถ่ายทอดมุมมองที่ดีในด้านบวก การยอมรับข้อดีข้อเสียของกันและกันย่อมทำให้เกิด “สมดุล” ที่ดีในการใช้ชีวิตด้วยกันอย่างมีความสุข เพลงนี้มีความพิเศษคือได้ TED JENSEN เจ้าของรางวัลแกรมมี่อวอร์ด มาช่วยทำ Mastering ให้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสมดุล · ดูเพิ่มเติม »

สะพาน

น Akashi-Kaikyō ในญี่ปุ่นเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก สะพานจากท่อนซุง เชื่อมต่อเพื่อใช้ข้ามแม่น้ำ สะพาน คือโครงสร้างที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งสำหรับข้ามหุบเขา แม่น้ำ ถนน ทางรถไฟ หรือพื้นน้ำต่างๆ การออกแบบความสูงของสะพาน จะขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางด้านล่าง รวมถึงการจราจรด้านล่าง (เช่น รถ เรือ สามารถผ่านได้) การก่อสร้างสะพานมีจุดประสงค์เพื่อให้การสัญจรมีการต่อเนื่องระหว่างทางที่มีการสร้างไว้แล้ว555.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสะพาน · ดูเพิ่มเติม »

สับปะรด

ับปะรด (ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Ananas comosus) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากบริเวณทวีปอเมริกาใต้ ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร การปลูกสามารถปลูกได้ง่ายโดยการฝังกลบหน่อหรือส่วนยอดของผลที่เรียกว่า จุก เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล แต่ละท้องถิ่นเรียกสับปะรดแตกต่างกันออกไปเช่น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสับปะรด · ดูเพิ่มเติม »

สัญลักษณ์

ัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย (Symbol) โดยพื้นฐานหมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุ อักษร รูปร่าง หรือสีสัน ซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกัน อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ในทางปรัชญามักมีคำนิยามว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในธรรมชาติ หรือแม้ในจักรวาล สามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น สัญลักษณ์นั้นช่วยในการสื่อสาร อาจจะเป็นรูปภาพ การเขียนอักษร การออกเสียง หรือการทำท่าทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกันแม้จะพูดกันคนละภาษา แต่ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของทั้งสองฝ่ายว่า ผู้ส่งสารมีความสามารถใช้สัญลักษณ์ให้สื่อความหมายมากเพียงใด และผู้รับสารมีความเข้าใจในสัญลักษณ์ที่ใช้มากเพียงใด ดังนั้นภาษามือจึงจัดว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเช่นกัน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสัญลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สัมมนา

ัมมนา (seminar) ปรกติหมายถึง รูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาหรือบริษัทต่าง ๆ โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็กเพื่ออภิปรายเรื่องราวเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของบทเรียนด้วยบทบาทที่สูง ปรัชญาเบื้องหลังการเรียนการสอนแบบสัมมนา ได้แก่ การสอนผู้เรียนให้เผชิญและคุ้นเคยกับวิธีการ (methodology) ในการค้นคว้าสาขาวิชาการที่ตนเลือก สัมมนาประกอบด้วยการการยกปัญหา การถาม-ตอบแล้วอภิปรายหาข้อสรุปหรือคำตอบ ปกติเอกสารที่เตรียมมาสัมมนาจะต้องเป็นเอกสารที่มีรูปแบบวิชาการและจะต้องมีการวิจารณ์ซึ่งกันและกัน สัมมนาใช้มากในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา คำว่า seminar มาจากภาษาลาตินว่า "seminarium" แปลว่า แปลงเพาะเมล็ดพันธุ์ ส่วนคำ "สัมมนา" มาจากคำภาษาบาลีสมาสกัน คือ สํ (รวม) + มนา (ใจ).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสัมมนา · ดูเพิ่มเติม »

สังคายนาในศาสนาพุทธ

ในศาสนาพุทธ สังคายนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 487-8 (สํคายนา) คือการประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามศัพท์ "สังคายนา" หมายถึง สวดพร้อมกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สังคีติ” แปลว่า สวดพร้อมกัน มาจากคำว่า คายนา หรือ คีติ แปลว่า การสวด สํ แปลว่า พร้อมกัน คำนี้มีมูลเหตุมาจากวิธีการสังคายนาพระธรรมวินัย ที่เรียกว่าวิธีการร้อยกรองหรือรวบรวมพระธรรมวินัย หรือประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีวิธีการคือนำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงจำไว้มาแสดงในที่ประชุมพระสงฆ์ จากนั้นให้มีการซักถามกัน จนกระทั่งที่ประชุมลงมติว่าเป็นอย่างนั้นแน่นอน เมื่อได้มติร่วมกันแล้วในเรื่องใด ก็ให้สวดขึ้นพร้อมกัน การสวดพร้อมกันแสดงถึงการลงมติร่วมกันเป็นเอกฉันท์ และเป็นการทรงจำกันไว้เป็นแบบแผนต่อไป.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสังคายนาในศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สังฆทาน

ังฆทาน (สงฺฆทาน) เป็นศัพท์ในพระสูตร เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า แม้ยังทรงพระชนม์อยู่ การถวายสังฆทานนั้น เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใด ๆ ก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม เช่นการถวายกุฏิวิหาร หนังสือ ปากกา จาน หรือ แม้กระทั่งไม้กวาด แม้จะกล่าวคำถวายหรือไม่กล่าว หรือกล่าวคำถวายเป็นอย่างอื่น แต่อาการแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานได้ ทานพิธีที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ที่เข้าลักษณะของสังฆทาน ก็จัดว่าเป็นสังฆทานได้ เช่น การตักบาตร การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าป่า เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสังฆทาน · ดูเพิ่มเติม »

สันโดษ

ันโดษ คือ ความยินดี ความพอใจ คือความรู้จักพอดี ความรู้จักพอเพียง มีลักษณะ 3 อย่าง คือ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสันโดษ · ดูเพิ่มเติม »

สายสิญจน์

300px สายสิญจน์ เป็นคำใช้เรียกเส้นด้ายสีขาวยาวๆ ที่พระถือขณะประนมมือเจริญพระพุทธมนต์หรือที่วงรอบบ้านเรือนเพื่อให้เป็นสิริมงคลเวลาทำบุญที่บ้าน ในเวลาทำบุญที่บ้านนิยมใช้สายสิญจน์วงรอบบ้านโดยเวียนขวา คือวนให้อยู่ทางขวามือแล้วโยงมาวนขวาที่ฐานพระพุทธรูปอีกรอบหนึ่งหรือ 3 รอบ แล้วคลี่มาวางไว้บนพานอยู่ด้านขวามือของภิกษุรูปที่ประธานเจริญพระพุทธมนต์ ด้ายสายสิญจน์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ด้ายปริตร คือด้ายศักดิ์สิทธ์ที่เกิดจากพระพุทธมนต์ที่พระท่านสวดสาธยายหรือเสกเป่าไว้ ถือกันว่าสามารถป้องกันอันตรายเช่นภูติผีปีศาจได้ และถือว่าเป็นด้ายมงคล เช่น ด้ายที่จับเป็นวงกลมสองวงสำหรับสวมศีรษะคู่บ่าวสาวซึ่งเรียกว่า มงคลแฝ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสายสิญจน์ · ดูเพิ่มเติม »

สารภี

รภี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสารภี · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณสมบัติ

ัญลักษณ์อย่างไม่เป็นทางการ สำหรับ สาธารณสมบัติ สาธารณสมบัติ หรือ สมบัติสาธารณะ (public domain) หมายถึง องค์ความรู้หรือนวัตกรรม (เช่น งานเขียน ศิลปะ ดนตรี สิ่งประดิษฐ์) ที่ไม่มีใครสามารถถือตัวเป็นเจ้าของได้ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้าง และถนนหนทาง ในทางคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สาธารณสมบัติ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นแล้วผู้สร้างหรือเจ้าของยินยอมให้ใคร ๆ สามารถคัดลอกนำไปใช้ได้ โดยไม่ผิดลิขสิท.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสาธารณสมบัติ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณสุข

รณสุข คือศาสตร์และศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและจัดการสุขภาพทั้งปวงของชุมชนโดยอิงตามการวิเคราะห์ด้านสุขภาพของประชากร คำว่าสุขภาพนั้นมีนิยามและจัดการในลักษณะต่างๆ กันจากหน่วยงานต่างๆ สำหรับองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานและเฝ้าระวังโรคทั่วโลก ได้นิยามคำว่า สุขภาพ ไว้ว่า "สภาพของการมีชีวิตทางกายภาพ ทางจิตใจ และทางสังคมที่สมบูรณ์ ไม่ใช้เพียงไม่มีโรคภัยหรือความแข็งแรงทางกายเท่านั้น" ประชากรที่กล่าวไว้ข้างต้นอาจมีเพียงน้อยนิด หรือปริมาณมหาศาลในระดับทวีปก็ได้ สาธารณสุขมีด้วยกันหลายสาขาย่อย แต่โดยทั่วไปจะแบ่งเป็นหมวดต่างๆ ได้แก่ ระบาดวิทยา (epidemiology), ชีวสถิติ (biostatistics) และบริการสุขภาพ (health services) นอกจากนี้แล้ว สุขภาพเชิงสิ่งแวดล้อม เชิงสังคม และเชิงพฤติกรรม รวมทั้งสุขภาพเชิงอาชีพ ก็เป็นสาขาที่สำคัญของสาธารณสุขด้ว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสาธารณสุข · ดูเพิ่มเติม »

สาทร

ทร (หรือ สาธร) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสาทร · ดูเพิ่มเติม »

สำนวนภาษาปาก

ำนวนภาษาปาก (colloquialism) คือ ภาษาประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากการพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า ทั้งนี้ ภาษาประเภทนี้อาจปรากฏได้ทั้งในภาษาเขียนและภาษาพูด ในพจนานุกรมไทยจะย่อชื่อภาษานี้ว่า "(ปาก)" เช่น "ทาน (ปาก) ก. กิน, กร่อนมาจาก รับประทาน" การใช้ภาษาปากที่แตกต่างจากภาษาแบบแผนหรือภาษามาตรฐานของภาษาหลักนั้น ๆ เมื่อใช้นานไป อาจกลายเป็นมาตรฐานย่อยอย่างหนึ่ง หรืออาจพัฒนาขึ้นเป็นมาตรฐานในภาษานั้นกระทั่งไม่เรียกว่าภาษาปากอีกต่อไปก็ได้หากลักษณะการใช้ภาษาเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับและใช้โดยทั่วไป ภาษาปากนั้น แม้จะไม่ใช่ภาษาแบบแผน แต่ไม่จำเป็นว่าจะเป็นภาษาที่ไม่สุภาพเสมอไป หากเป็นลักษณะการใช้ภาษาที่สะดวก ง่าย กะทัดรัด และเป็นกันเอง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสำนวนภาษาปาก · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงาน

ำนักงานแห่งหนึ่ง สำนักงาน, ที่ทำการ หรือ ออฟฟิศ โดยทั่วไปหมายถึงห้องหรือพื้นที่อื่นที่ผู้คนทำงาน (ซึ่งเรียกว่าพนักงาน เจ้าพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่) และอาจแสดงถึงตำแหน่งภายในองค์การอันมีกิจเฉพาะที่ต้องทำในสำนักงาน บรรษัทหรือองค์การต่าง ๆ มักมีสำนักงานเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดอยู่ในสถานที่ตั้งทางการ สำนักงานอาจมีขนาดตั้งแต่โต๊ะเก้าอี้ตัวเล็ก ๆ ภายในบ้าน ห้องสำนักงานห้องหนึ่ง ไปจนถึงทั้งชั้นของอาคาร หรือแม้แต่อาคารทั้งหมดอุทิศให้กับองค์การเดียว สำนักงานหนึ่งอาจแบ่งด้วยผนังกั้นเป็นพื้นที่ทำงานสำหรับแต่ละแผนก ทีมงาน หรือปัจเจกบุคคล.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสำนักงาน · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิ

ทธิ คือ หลักเสรีภาพหรือการให้สิทธิ์ทางกฎหมาย สังคมหรือจริยศาสตร์ นั่นคือ สิทธิเป็นกฎเชิงบรรทัดฐานพื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งที่ประชาชนมีหรือเป็นของประชาชนตามบางระบบกฎหมาย ขนบธรรมเนียมทางสังคม หรือทฤษฎีจริยศาสตร์ สิทธิมีความสำคัญยิ่งในสาขาวิชาดังกล่าว เช่น กฎหมายและจริยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีความยุติธรรมและกรณียกรรม มักถือว่าสิทธิเป็นพื้นฐานของอารยธรรม ถือว่าเป็นเสาหลักซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคมและวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางสังคมพบได้ในประวัติศาสตร์ของสิทธิแต่ละอย่างและพัฒนาการของมัน ตามสารานุกรมปรัชญาสแตนฟอร์ด "สิทธิให้โครงสร้างแก่ระบอบการปกครอง เนื้อหากฎหมาย และลักษณะของศีลธรรมซึ่งรับรู้ในปัจจุบัน".

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสิทธิ · ดูเพิ่มเติม »

สิงโต

งโต (Lion) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว สิงโตมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera leo มีขนาดลำตัวใหญ่ ขนาดไล่เลี่ยกับเสือโคร่งทั่วไป (P. tigris) ซึ่งเป็นสัตว์ในสกุล Panthera เหมือนกัน จัดเป็นสัตว์ในวงศ์ Felidae ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรองมาจากเสือโคร่งไซบีเรีย (P. t. altaica) พื้นลำตัวสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ ชอบอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง มีน้ำหนักประมาณ 250 กิโลกรัม (550 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่า มักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีน้ำหนักประมาณ 180 กิโลกรัม (400 ปอนด์) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย ในป่าธรรมชาติ สิงโตมีอายุขัยประมาณ 10-14 ปี ส่วนสิงโตที่อยู่ในกรงเลี้ยงมีอายุยืนถึง 20 ปี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

สุกียากี้

กียากี้ หรือมักจะเรียกโดยย่อว่า สุกี้ เป็นอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ เต้าหู้ ผัก วุ้นเส้น ไข่ กินกับน้ำจิ้ม เป็นอาหารยอดนิยมในเอเชียมีหลายแบบ ที่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในเมืองไทยเป็นสุกี้แบบจีนและแบบญี่ปุ่น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสุกียากี้ · ดูเพิ่มเติม »

สุญญากาศ

ห้องสุญญากาศขนาดใหญ่ สุญญากาศ (vacuum มาจากภาษาละตินแปลว่า ว่างเปล่า) คือปริมาตรของช่องว่างซึ่งไม่มีสสารอยู่ภายใน เหมือนกับความดันแก๊สที่น้อยกว่าความดันบรรยากาศมาก ๆ ในความเป็นจริงเราไม่สามารถทำให้ปริมาตรของช่องว่างว่างเปล่าได้อย่างสมบูรณ์ที่เรียกว่า สุญญากาศสมบูรณ์ (perfect vacuum) ซึ่งมีความดันแก๊สเป็นศูนย์ สุญญากาศสมบูรณ์จึงเป็นแนวความคิดที่ไม่สามารถสังเกตการณ์ได้ในทางปฏิบัติ นักฟิสิกส์มักจะถกเถียงเกี่ยวกับผลการทดลองในอุดมคติว่าจะเกิดอะไรขึ้นในสุญญากาศสมบูรณ์ โดยใช้คำว่าสุญญากาศแทนสุญญากาศสมบูรณ์ และใช้คำว่า สุญญากาศบางส่วน (partial vacuum) แทนความหมายของสุญญากาศที่เกิดขึ้นได้จริง คุณภาพของสุญญากาศ หมายถึงระดับของสภาวะที่เข้าใกล้สุญญากาศสมบูรณ์ ความดันของแก๊สที่เหลืออยู่จะถูกใช้เป็นตัววัดคุณภาพของสุญญากาศเป็นหลัก โดยการวัดในหน่วยทอรร์ (Torr) หรือหน่วยเอสไออื่น ๆ ความดันแก๊สที่ยิ่งเหลือน้อยจะหมายถึงคุณภาพที่ยิ่งมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีตัวแปรอื่นที่ต้องตัดออกในภายหลัง ทฤษฎีควอนตัมได้กำหนดขอบเขตสำหรับคุณภาพของสุญญากาศที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ จึงทำให้คาดเดาได้ว่าไม่มีปริมาตรของช่องว่างใดที่จะทำให้เป็นสุญญากาศได้อย่างสมบูรณ์ อวกาศเป็นสภาพสุญญากาศที่มีคุณภาพสูงโดยธรรมชาติ และสุญญากาศที่มีคุณภาพสูงกว่านั้นสามารถสร้างขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน สำหรับสุญญากาศคุณภาพต่ำได้ถูกใช้เพื่อการดูดและการสูบมากว่าหลายพันปีแล้ว สุญญากาศเป็นหัวข้อทางปรัชญาที่พบได้บ่อยตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ แต่ก็ไม่ได้ทำการศึกษาอย่างจริงจังจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 17 เอวันเจลิสตา ตอร์รีเชลลี (Evangelista Torricelli) นักฟิสิกส์ชาวอิตาลีได้สร้างสุญญากาศขึ้นในห้องทดลองเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1643 และเทคนิคการทดลองอื่น ๆ ก็เป็นผลการพัฒนามาจากทฤษฎีเกี่ยวกับความดันบรรยากาศของเขา ต่อมาสุญญากาศกลายเป็นเครื่องมือที่มีค่าในอุตสาหกรรมการผลิตหลอดไฟและหลอดสุญญากาศในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเทคโนโลยีการสร้างสุญญากาศก็เริ่มแผ่ขยายไปในวงกว้าง คำว่า สุญญากาศ ในภาษาไทยมาจากคำสนธิ สุญญ + อากาศ รวมกันแปลว่า ไม่มีอากาศ หมวดหมู่:กระบวนการทางอุตสาหกรรม หมวดหมู่:แก๊ส หมวดหมู่:ความไม่มี หมวดหมู่:หลักการสำคัญของฟิสิกส์.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสุญญากาศ · ดูเพิ่มเติม »

สีชมพู

ีชมพู เป็นสีที่เกิดจากการผสมสีแดงและสีขาว ในบางครั้งจะถูกกล่าวถึงในลักษณะสีแดงอ่อน สีชมพูมักจะถูกใช้ในการกล่าวถึงลักษณะของเด็กหญิง ซึ่งนิยมใช้ควบคู่กับ สีน้ำเงินหรือสีฟ้า ที่จะแสดงถึงเด็กชาย ในภาษาเหนือ เรียกสีชมพูว่า "จมออน" (จม-ออน).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสีชมพู · ดูเพิ่มเติม »

สีสัน

ียวกัน แต่มี'''สีสัน'''ที่เปลี่ยนไป สีสัน หมายถึง ระดับสีภายในช่วงสเปคตรัมแสง หรือ ช่วงแสงที่มองเห็น เป็นการเพิ่มคุณลักษณะเฉพาะของที่ทำให้สีแดงแตกต่างจากสีเหลืองจากสีน้ำเงิน สีสันเหล่านี้ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นเป็นใหญ่ (dominant wavelength) ของแสงที่เปล่งออก หรือสะท้อนจากวัตถุ ตัวอย่างเช่น ในแสงที่มองเห็น ปกติจะอยู่ระหว่างแสงอินฟราเรด (ความยาวคลื่นประมาณ 700 นาโนเมตร) และแสงอัลตราไวโอเลต (ความยาวคลื่นประมาณ 400 นาโนเมตร) คำว่า "สีสัน" อาจหมายถึง สีพิเศษชนิดใดชนิดหนึ่งในสเปคตรัมนั้นก็ได้ ซึ่งกำหนดได้จากความยาวคลื่นหลัก หรือแนวโน้มกลางของความยาวคลื่นรวม ตัวอย่างเช่น คลื่นแสงที่มีแนวโน้มกลางภายใน 565-590 นาโนเมตร จะเป็นสีเหลือง ในทฤษฎีการระบายสี คำว่า "สีสัน" หมายถึง สีบริสุทธิ์ คือสีที่ไม่มีการเติมสีขาว หรือสีดำ เข้ามา สำหรับในปริภูมิสีแบบ RGB นั้น คำว่า "สีสัน" อาจถือได้ว่าเป็นมุมพไซ (φ) ในตำแหน่งมาตรฐาน การคำนวณ φ นั้น ให้ R, G และ B เป็นโคออร์ดิเนตสีในพื้นที่สี RGB ซึ่งกำหนดสเกลจาก 0 ถึง 1 จากนั้น เมื่อได้ค่าความสว่าง (brightness) μ และค่าความอิ่มตัว (saturation) σ แล้ว ก็จะได้สีสัน จากสูตร (เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน) การใช้สูตรนี้ φ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและสีสัน · ดูเพิ่มเติม »

หมามุ้ย

หมามุ้ย หรือ หมามุ่ย ชื่อวิทยาศาสตร์ Mucuna pruriens DC.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและหมามุ้ย · ดูเพิ่มเติม »

หมาใน

หมาใน, หมาป่าเอเชีย หรือ หมาแดง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cuon alpinus ในวงศ์สุนัข (Canidae) เป็นหมาป่าที่มีขนาดใหญ่กว่าหมาจิ้งจอก จมูกสั้น ใบหูกลมมีขนาดใหญ่ ขนตามลำตัวค่อนข้างสั้นมีสีน้ำตาลแดง สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่าบริเวณหลัง หางยาวเป็นพวง ปลายหางมีสีเทาเข้มหรือดำ จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยูในสกุล Cuon มีความยาวลำตัวและหัว 80–90 เซนติเมตร ความยาวหาง 30.5–34.5 เซนติเมตร น้ำหนักในเพศผู้ 10–21 กิโลกรัม เพศเมีย 10–13 กิโลกรัม หมาในมีฟันที่แข็งแรงแต่มีฟันกรามล่างเพียงข้างละ 2 ซี่เท่านั้น ซึ่งต่างจากสัตว์ในวงศ์สุนัขชนิดอื่น ๆ มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง ทำให้มีชนิดย่อย ถึง 11 ชนิด พบตั้งแต่ภาคใต้ของไซบีเรีย เรื่อยมาจนถึงคาบสมุทรเกาหลี, เนปาล, อินเดีย, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม และเกาะชวาในอินโดนีเซีย มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ โดยฝูงหนึ่ง ๆ มีสมาชิกตั้งแต่ 6–12 ตัว โดยสมาชิกแต่ละตัวจะมีหน้าที่ช่วยกันล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ เช่น กระทิง ควายป่า หรือ กวางป่า มีความเชื่อว่า ก่อนล่าเหยื่อจะปัสสาวะรดพื้นหรือใบไม้เมื่อเหยื่อดมถูกจะเกิดความหวาดกลัวจนยืนแข็งทำอะไรไม่ถูก จึงเชื่อว่า สามารถทำให้เหยื่อตาบอดได้ด้วยวิธีนี้ ฝูงหมาในมีความใกล้ชิดกันทางสายเลือด ภายในกลุ่มมีสมาชิกตั้งแต่ 2–3 ครอบครัว ออกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน แต่ในบางครั้งอาจล่าในเวลากลางคืนหรือพลบค่ำหรือเช้าตรู่ได้ อาหารโดยปกติ ได้แก่ สัตว์กินพืชขนาดใหญ่ เช่น กวางป่า, เก้ง และกระต่ายป่า แต่ในบางสถานการณ์ที่อาหารขาดแคลน อาจกินลูกตัวเองเป็นอาหารได้ หมาในระบบประสาทหู ตา และการดมกลิ่นที่ดีเยี่ยม สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 9 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 8–10 ตัว ตามโพรงดินหรือในถ้ำที่ปลอดภัย แม่หมาในมีเต้านม 8 คู่ ลูกที่เกิดใหม่จะมีสีขนสีน้ำตาลเทา มีอายุในที่เลี้ยงประมาณ 16 ปี ในธรรมชาติราว 10 ปี ฝูงหมาในล่ากวางป่า ที่อุทยานแห่งชาติบันดิเปอร์ ประเทศเนปาล สถานภาพในประเทศไทย เป็นหมาป่า 1 ใน 2 ชนิดที่สามารถพบได้ในประเทศไทย (อีกหนึ่งชนิด คือ หมาจิ้งจอก) จากเดิมที่เคยพบในป่าทั่วประเทศ ปัจจุบันเชื่อว่าเหลือเพียงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เท่านั้น และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและหมาใน · ดูเพิ่มเติม »

หมูหย็อง

หมูหย็อง (มักสะกดผิดว่า หมูหยอง) เป็นของกินทำด้วยหมูเนื้อแดงปรุงรส ต้มเคี่ยวให้เปื่อยจนงวด นำไปผัดจนแห้ง ขยี้ให้เป็นฝอย มักใช้รับประทานด้วยอาหารอื่น เช่น โรยข้าวต้มหรือโจ๊ก หรือเป็นเครื่องปรุงอาหารอื่น เช่น เป็นไส้ซาลาเปาหรือเป็นหน้าข้าวตัง หมูหย็องกำเนิดในมณฑลฮกเกี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน และพบเห็นบ่อยในอาหารของชนชาตินี้ ผู้ไม่ชอบใจรับประทานสุกร เปลี่ยนไปใช้เนื้อสัตว์อื่นหย็องแทนก็มี เช่น ชาวมุสลิมนิยมรับประทานไก่หรือเนื้อหย็อง โดยเฉพาะในหน้าเราะมะฎอนและฮารีรายออีดุลฟิฏริ และจีนบางพวกนิยมปลาหย็อง จีนเรียกหมูหย็องว่า "โร่วซง" และปลาหย็องว่า "ยฺหวีซง" ส่วนอังกฤษเรียกหมูหย็องว่า "meat wool", "meat floss", "pork floss", หรือ "pork sung".

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและหมูหย็อง · ดูเพิ่มเติม »

หม้อห้อม

หม้อห้อม เป็นชื่อเรียกเสื้อคอกลม แขนสั้น ผ่าอกตลอด มักย้อมสีน้ำเงินเข้มหรือดำ เขียนเป็น "ม่อห้อม" หรือ "ม่อฮ่อม" ก็มี หม้อห้อมเป็นเครื่องแต่งกายพื้นบ้านของไท ตั้งแต่ไทลื้อในสิบสองปันนา ลาวในประเทศลาว และไทล้านนาทางภาคเหนือของไท.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและหม้อห้อม · ดูเพิ่มเติม »

หอยแครง

หอยแครง เป็นหอยจำพวกกาบคู่ ความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและหอยแครง · ดูเพิ่มเติม »

หงส์

หงส์ (มักเขียนผิดเป็น หงษ์) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในสกุล Cygnus ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ดและนกเป็ดน้ำ มีลักษณะทั่วไป มีขนสีขาวทั้งตัว จะงอยปากสีเหลืองส้มและมีปุ่มสีดำที่ฐานของปาก มักรวมฝูงในบึงน้ำเพื่อกินพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในทวีปเอเชียทางตอนเหนือ, ยุโรปทางตอนเหนือ, อเมริกา และออสเตรเลีย หงส์ สามารถร่อนลงบนพื้นน้ำแข็งหรือผิวน้ำที่เยือกตัวเป็นน้ำแข็งได้ เพราะมีอุ้งตีนที่ใหญ่คล้ายใบพายซึ่งช่วยกระจายน้ำหนักได้เมื่อร่อนลง แต่จะควบคุมการร่อนได้ดีกว่าในบริเวณที่น้ำแข็งละลาย หงส์มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและหงส์ · ดูเพิ่มเติม »

หน้าไพ่

♦) และดอกจิก (♣) ในการเล่นไพ่ หน้าไพ่ (suit) เป็นหมวดหมู่อย่างหนึ่งที่ใช้แบ่งไพ่ในสำรับ ไพ่แต่ละใบมักมีสัญลักษณ์แสดงว่าไพ่ใบนั้นอยู่ในหน้าไพ่ใด หน้าไพ่อาจระบุด้วยสีที่พิมพ์บนไพ่แทน หรือหน้าไพ่จะต้องระบุด้วยสีที่พิมพ์บนไพ่ร่วมด้วยก็ได้ สำรับไพ่ส่วนใหญ่ยังมีอันดับ (rank) ของไพ่แต่ละใบ และอาจรวมไพ่พิเศษในสำรับที่ไม่จัดอยู่ในหน้าไพ่ใด ๆ ซึ่งมักเรียกว่า ไพ่ชนชั้นต่ำ หมวดหมู่:การเล่นไพ่.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและหน้าไพ่ · ดูเพิ่มเติม »

อสงไขย

อสงไขย (असंख्येय อสํเขฺยย) หมายถึง นับไม่ถ้วน, ไม่ง่ายที่จะนับ, หรือเป็นจำนวนธรรมชาติเท่ากับหนึ่งโกฏิยกกำลัง 20 (10,000,00020) หรือ 10140 (เลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 ต่อท้ายทั้งหมด 140 ตัว) บางตำรากล่าวว่าหมายถึงเลข 10^ ซึ่งมีหลายความหมาย พระพุทธภัทระตีความว่า a.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอสงไขย · ดูเพิ่มเติม »

อหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ ความรุนแรงของอาการท้องร่วงและอาเจียนสามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในบางราย การรักษาหลักคือการชดเชยสารน้ำโดยการกิน ซึ่งมักทำโดยให้ดื่มสารละลายชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือดื่มไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นรุนแรงอาจใช้ยาปฏิชีวนะช่วยเพื่อลดระยะเวลาและความรุนแรงของการป่ว..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอหิวาตกโรค · ดูเพิ่มเติม »

ออโรรา (ดาราศาสตร์)

แสงออโรราบนท้องฟ้า ออโรรา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด ปรากฏการออโรราเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 300 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและออโรรา (ดาราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

อักษร

แผนที่โลกแบ่งตามอักษรที่ใช้ อักษร คือสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายสำหรับใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาหนึ่ง ๆ โดยเรียกรวมทั้งชุดหรือทั้งระบบ โดยทั่วไป อักษรแต่ละตัว มักจะใช้แทนหน่วยเสียงหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นเสียงสระ พยัญชนะ หรือหน่วยเสียงปลีกย่อยอื่นๆ เช่น อักษรโรมัน อักษรไทย อักษรมอญ โดยทั่วไปเรียกกันว่า "ตัวหนังสือ" อย่างไรก็ตาม สัญลักษณ์แทนเสียงในบางภาษาอาจใช้แทนเสียงของพยางค์หรือคำ ก็ได้ เช่น อักษรจีน หรือตัวหนังสือจีน (นักวิชาการบางสำนักไม่ถือว่าตัวหนังสือจีน เป็น "อักษร" ตามนิยามของคำว่า alphabet ในภาษาอังกฤษ แต่เรียกว่า ideogram คือสัญลักษณ์แทนคำ หรือหน่วยคำ) แบบแผนว่าด้วยตัวหนังสือนั้น ในตำราภาษาไทย เรียกว่า อักขรวิธี ซึ่งว่าด้วยการเขียน การอ่าน การประสมอักษร และการใช้อักษรอย่างถูกต้อง อักษรอาจใช้สำหรับภาษาหนึ่ง ๆ หรือใช้กับหลายภาษาก็ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมักจะมีความเข้าใจสับสน ระหว่าง คำว่า อักษร และภาษา อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น อักษรโรมัน ใช้เขียนภาษาต่างๆ หลายภาษาในยุโรป โดยมีการดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้สามารถแทนเสียงในภาษาของตนได้ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน เป็นต้น รวมทั้งภาษาในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ภาษามลายู ภาษาจีน และภาษาเวียดนาม (ดัดแปลงตัวอักษร) เป็นต้น มีหลายประเทศใช้อักษรที่แตกต่างกันตามเวลาเช่น อักษรในสมัยโบราณ เมื่อเวลาผ่านไป ก็เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นอักษรปัจจุบัน หรือเปลี่ยนไปใช้อักษรชนิดอื่นโดยสิ้นเชิง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอักษร · ดูเพิ่มเติม »

อักขรวิธี

อักขรวิธี หมายถึงวิธีการเขียนและการใช้ระบบการเขียนของภาษาหนึ่งๆ ให้ถูกต้อง (ซึ่งภาษาหนึ่งๆ อาจมีระบบการเขียนมากกว่าหนึ่งแบบก็ได้ เช่นภาษาเคิร์ด) อักขรวิธีเป็นสิ่งที่นิยามหรืออธิบายถึงกลุ่มของสัญลักษณ์ที่ใช้ (คืออักษรหรือเครื่องหมายเสริมอักษรเป็นต้น) และกฎเกณฑ์ที่ว่าจะเรียบเรียงสัญลักษณ์เหล่านั้นอย่างไร กฎเกณฑ์เหล่านั้นอาจมีเรื่องของเครื่องหมายวรรคตอน การสะกดคำ และการขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่เข้ามาประกอบด้วย ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละภาษา บุคคลทั่วไปมักเข้าใจว่าอักขรวิธีเป็นเรื่องของการสะกดคำเพียงอย่างเดียว ความจริงคือการสะกดคำเป็นส่วนหนึ่งของอักขรวิธีเท่านั้น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอักขรวิธี · ดูเพิ่มเติม »

อัญชัน

อัญชัน (L.) เป็นไม้เถา ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่) และเอื้องชัน,เองชัญ (เหนือ)เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช,..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอัญชัน · ดูเพิ่มเติม »

อัญมณี

อัญมณี และ หินสีแบบต่างๆ อัญมณี คือ มวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ โดยจะประกอบขึ้นจาก สาร อินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ก็ได้ เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลิเกต นอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่าง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอัญมณี · ดูเพิ่มเติม »

อัมพาต

อัมพาต คือ อาการที่อวัยวะบางส่วนเช่นแขนขาเป็นต้นตายไปกระดิกไม่ได้ ตรงกันข้ามกับอัมพฤกษ์ที่อวัยวะร่างกายเพียงอ่อนแรง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอัมพาต · ดูเพิ่มเติม »

อัลบั้ม

Nutcracker Suite โดย Tchaikovsky อัลบั้ม (Album) คือ การรวมเพลงหรือเสียงที่เกี่ยวกับดนตรี ออกสู่สาธารณชน โดยมากจะทำเป็นธุรกิจ มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ขาย ถึงแม้ว่าศิลปินเล็กๆ มักจะขายเองโดยตรง โดยอาจขายในงานคอนเสิร์ตหรือบนเว็บไซต์ เพลงในอัลบั้มอาจเนื้อหา อารมณ์ เสียง ที่ตั้งใจที่จะเล่าเรื่องราว หรือมีแนวความคิด หรือต้องการแสดงการบันทึกเสียงที่ใดที่หนึ่ง เวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบันทึกเสียงเพื่อการค้าโดยค่ายเพลง เพลงต่างๆในอัลบั้มมักมีรายชื่อเพลง ในบางอัลบั้ม อาจมีเพลงเพิ่มเติมขึ้นมาหรือที่เรียกว่า โบนัสแทร็ค (บางทีอาจมีซ่อนชื่อเพลง หรือที่เรียกว่า Hidden Track) ในบางอัลบั้มอาจวางขายในรูปแบบเดียว เช่น ซีดี, ดีวีดี ออดิโอ, คาสเซ็ตต์, ไวนีล, เอ็มพี3 เป็นต้น อัลบั้มในยุคแรกจะเป็นแผ่นเสียง 78 RPM ที่รวมอัลบั้มภาพไว้ด้วย โดยแผ่นแรกที่เรียกว่า อัลบั้มคือ Nutcracker Suite โดย Tchaikovsky ในปี ค.ศ. 1909 วางจำหน่ายโดย Odeon Records ในปี 1948 โคลัมเบียได้ผลิตแผ่น 12", 33⅓ RPM เป็นครั้งแรกทำจากแผ่นไวนีล โดยมีความยาวประมาณ 23 นาทีต่อ 1 หน้า ความยาวของอัลบั้มมักมีช่วงระหว่าง ครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง ปัจจุบันรูปแบบแผ่นไวนีลไม่ได้รับความนิยมเหมือนแต่เคย โดยในปัจจุบันมักอยู่ในรูปแบบของซีดี คาสเซ็ทท์และเอ็มพี 3 ในปกอัลบั้มมีการออกแบบกราฟิกต่างๆ และมีคำบรรยาย รวมถึงเนื้อเพลง ภาพของศิลปิน หรือ อาร์ทเวิร์คและตัวหนังสือต่างๆ ซีดีบางแผ่นมีเป็นบุ๊คเล็ท (หนังสือเล่มเล็กๆ) แผ่นซีดีเริ่มทีมีความยาว 74 นาที ต่อมายาวเพิ่มเป็น 80 นาที ปัจจุบันความยาวของอัลบั้มต่อหนึ่งอัลบั้มมักมีความยาวตั้งแต่ 40 นาทีถึง 55 นาที จากกฎของชาร์ทในอังกฤษ อัลบั้มต้องมีเพลงมากกว่า 4 เพลงและมีความยาวมากกว่า 25 นาที บางครั้งอัลบั้มที่สั้นกว่านี้จะเรียกว่า อีพี (EP ย่อมาจาก extended play) และอาจมีความหมายเดียวกับคำว่า มินิอัลบั้ม ในบางอัลบั้มที่มีความยาวเกินกว่า 1 แผ่น ศิลปินมักตัดสินใจที่จะออกเป็นอัลบั้มคู่ โดยมีรูปแบบของ แผ่นซีดี หรือ แผ่นไวนีล รวมกันในหีบห่อเดียวกัน หรือในบางครั้งก็มีถึง 3 แผ่น (triple album) หมวดหมู่:เพลง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอัลบั้ม · ดูเพิ่มเติม »

อัฒจันทร์

thumb อัฒจันทร์ หรือ อรรธจันทร์ มีความหมายตรงตัวว่า ดวงจันทร์ครึ่งซีก ทั้งนี้ หมายถึง ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สำหรับดูการแสดงมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม หมวดหมู่:สนามกีฬา หมวดหมู่:อัฒจันทร์.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอัฒจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัตราร้อยละ

รื่องหมายเปอร์เซ็นต์ อัตราร้อยละ หรือ เปอร์เซ็นต์ (percentage/percent) คือแนวทางในการนำเสนอจำนวนโดยใช้เศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็น 100 มักใช้สัญลักษณ์เป็น เครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ "%" เช่น ร้อยละ 45 หรือ 45% มีค่าเทียบเท่ากับ อัตราร้อยละมักใช้สำหรับการเปรียบเทียบว่าปริมาณหนึ่ง ๆ มีขนาดเท่าไรโดยประมาณเมื่อเทียบกับอีกปริมาณหนึ่ง ซึ่งปริมาณอย่างแรกมักเป็นส่วนย่อยหรือเป็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาณอย่างหลัง ตัวอย่างเช่น ราคาของสินค้าชนิดหนึ่งเท่ากับ $2.50 และผู้ขายต้องการเพิ่มราคาอีก $0.15 ดังนั้นอัตราการเพิ่มราคาคือ 0.15 ÷ 2.50.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอัตราร้อยละ · ดูเพิ่มเติม »

อารมณ์

ตัวอย่างอารมณ์พื้นฐาน ในทางจิตวิทยา ปรัชญา และสาขาย่อยอื่น ๆ อารมณ์ หมายถึงประสบการณ์ในความรู้สำนึกและอัตวิสัยที่ถูกกำหนดลักษณะเฉพาะโดยการแสดงออกทางจิตสรีรวิทยา ปฏิกิริยาทางชีววิทยา และสภาพจิตใจ อารมณ์มักจะเกี่ยวข้องและถูกจัดว่ามีอิทธิพลซึ่งกันและกันกับพื้นอารมณ์ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด บุคลิกภาพ นิสัย และแรงจูงใจ เช่นเดียวกับที่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนและสารสื่อประสาท อาทิ โดพามีน นอราดรีนาลีน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และคอร์ซิทอล อารมณ์มักเป็นพลังขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ Gaulin, Steven J. C. and Donald H. McBurney.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อานิสงส์

อานิสงส์ แปลว่า คุณเป็นเนื่องไหลไหลออกเนืองๆ แห่งผล คือ ให้ผลที่น่าชื่นใจโดยยิ่ง อานิสงส์ หมายถึงผลแห่งกุศลกรรม, ผลบุญ, ประโยชน์ที่เกิดจากการทำบุญ ใช้ว่า ผลานิสงส์ หรือผลอานิสงส์ ก็มี อานิสงส์ เป็นผลผลิตจากการประกอบความดีต่างๆ ตามคติที่ว่า ทำดีได้ดี หมายความว่าเมื่อทำความดี ความดีย่อมให้อานิสงส์เป็นคุณความดีก่อน ลำดับต่อมาคุณงามความดีนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจไหลออกมาสนองผู้ทำในรูปแบบต่างๆ ตามเหตุปัจจัยที่ทำ เปรียบเหมือนปลูกต้นมะม่วงย่อมจะได้ผลเป็นลูกมะม่วงก่อน ต่อมาลูกมะม่วงนั้นจึงให้ผลที่น่าชื่นใจต่อไปเมื่อนำไปเป็นอาหาร นำไปแลกเป็นของหรือนำไปขายเป็นเงิน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอานิสงส์ · ดูเพิ่มเติม »

อาเจียน

อาเจียน เป็นอาการขับออกซึ่งสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในท้องอย่างเฉียบพลันออกทางปาก และบางครั้งทางจมูกด้วย การอาเจียนที่ไม่พึงประสงค์เกิดมาจากหลายสาเหตุตั้งแต่เยื่อบุกระเพาะอักเสบ หรือ ได้รับสารพิษ จนไปถึงเนื้องอกในสมอง เมารถเมาเรือ หรือแม้กระทั่งมาจากความดันในกะโหลกสูง อาการที่อยากจะอาเจียนเรียกว่าอาการคลื่นไส้ อาการนี้มักจะเกิดก่อนการอาเจียน แต่ไม่ได้แปลว่ามีอาการนี้แล้วจะต้องอาเจียนเสมอไป ยาแก้อาเจียนอาจจะต้องใช้ระงับการอาเจียนในรายที่มีอาการหนักมาก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอาเจียน · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอกันทรลักษ์

กันทรลักษ์ อำเภอน่าอยู่อันดับที่ 9 ของประเทศไทย เป็นอำเภอขนาดใหญ่ มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัดศรีสะเกษและมีประชากรมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ไม่รวมอำเภอเมือง) มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอยู่มากมาย พร้อมทั้งมีดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งเกษตรกรรมผลิตพืชผลออกจำหน่ายอยู่หลายประเภท เช่น เงาะ ทุเรียน ลำไย สะตอ ลิ้นจี่ ยางพารา และผักสวนครัว คำแปลของชื่ออำเภอ มาจากภาษาบาลี กนฺทร: ส่วนแห่งภูเขา อันน้ำเซาะ, ซอก, ซอกเขา, ถ้ำ, ลำธาร + ลกฺข: จำนวนแสน (สันสฤต ลกฺษ) มีที่มาจากชื่อเดิมบ้านห้วยลำแสนไพรอาบาล.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอำเภอกันทรลักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

อินฟราเรด

มนุษย์ในย่าน mid-infrared เป็นภาพที่เกิดจากรังสีความร้อนที่แผ่ออกมาจากคน รังสีอินฟราเรด (Infrared (IR)) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า รังสีใต้แดง หรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างคลื่นวิทยุและแสงมีความถี่ในช่วง 1011 – 1014 เฮิร์ตซ์หรือความยาวคลื่นตั้งแต่ 1-1000 ไมโครเมตร มีความถี่ในช่วงเดียวกับไมโครเวฟ มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างแสงสีแดงกับคลื่นวิทยุสสารทุกชนิดที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -200 องศาเซลเซียสถึง 4,000 องศาเซลเซียส จะปล่อยรังสีอินฟราเรดออกมา คุณสมบัติเฉพาะตัวของรังสีอินฟราเรด เช่น ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แตกต่างกันก็คือ คุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับความถี่ คือยิ่งความถี่สูงมากขึ้น พลังงานก็สูงขึ้นด้วย  ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ Sir William Herschel ซึ่งได้ค้นพบ รังสีอินฟราเรดสเปกตรัมในปี.. 1800จากการทดลองโดยทดสอบว่าในเลนส์แต่ละสี จะเปลี่ยนค่าแสดงความร้อนของดวงอาทิตย์หรือไม่ จึงประดิษฐ์อุปกรณ์การทดลองเพื่อหาคำตอบใช้ปริซึมแยกแสง แล้วให้แสงต่างๆมาตกที่เทอร์โมมิเตอร์ก็ตั้งเทอร์โมมิเตอร์ตัวหนึ่งนอกเหนือจากแสงสีต่าง ๆ นั้น เพื่อเป็นตัวควบคุมการทดลอง ปรากฏว่า แสงสีต่าง มีอุณหภูมิสูงกว่าแสงสีขาว และอุณหภูมิสูงขึ้นจาก สีม่วง ไปหาสีแดง ปรากฏว่า เทอร์โมมิเตอร์ ตัวที่อยู่นอกเหนือจากแสงสีแดงนั้น กลับวัดได้อุณหภูมิสูงกว่าทุกตัว พบว่า ส่วนของแสงที่มองไม่เห็นแต่ร้อนกว่าสีแดงนี้ มีคุณสมบัติทางกายภาพเช่นเดียวกับคลื่นแสงที่มองเห็นได้ทุกประการ เช่น การหักเห ดูดซับ ส่องผ่านหรือไม่ผ่านตัวกลาง รังสีที่ถูกค้นพบใหม่นี้ตั้งชื่อว่า " รังสีอินฟราเรด " (ขอบเขตที่ต่ำกว่าแถบสีแดงหรือรังสีใต้แดง)  ในการใช้ประโยชน์ ใช้ในการควบคุมเครื่องใช้ระบบไกล (remote control) สร้างกล้องอินฟราเรดที่สามารถมองเห็นวัตถุในความมืดได้ เช่น อเมริกาสามารถใช้กล้องอินฟราเรดมองเห็นเวียตกงได้ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม และสัตว์หลายชนิดมีนัยน์ตารับรู้รังสีชนิดนี้ได้ ทำให้มองเห็นหรือล่าเหยื่อได้ในเวลากลางคืน เรามองไม่เห็นรังสีอินฟราเรด แต่เราก็รู้สึกถึงความร้อนได้ สัตว์บางชนิด เช่น งู มีประสาทสัมผัสรังสีอินฟราเรด มันสามารถทราบตำแหน่งของเหยื่อได้ โดยการสัมผัสรังสีอินฟราเรดซึ่งแผ่ออกมาจากร่างกายของเหยื่อ รังสีที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าแสงสีม่วงเรียกว่า “รังสีอุลตราไวโอเล็ต” โลกและสิ่งชีวิตแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ในบรรยากาศดูดซับรังสีนี้ไว้ ทำให้โลกมีความอบอุ่น เหมาะกับการดำรงชีวิต .

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอินฟราเรด · ดูเพิ่มเติม »

อุกกาบาต

อุกกาบาตที่ถูกพบในสหรัฐอเมริกา อุกกาบาต คือ วัตถุในอวกาศ ที่ผ่านชั้นบรรยากาศลงมาสู่โลก ตอนอยู่ในอวกาศจะเรียกว่า สะเก็ดดาวตก พอเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก จะเรียกว่า ดาวตก เราสามารถพบหรือเจออุกกาบาตได้บนดาวเคราะห์ดวงอื่น เช่น ดาวอังคาร เป็นต้น อุกกาบาตเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงประมาณ 40-70 กิโลเมตร/วินาที และเกิดการ compression กับอากาศในชั้นบรรยากาศโลก ทำให้อากาศรอบๆอุกกาบาตมีความดันสูงขึ้นจึงเกิดความร้อนสูงจนลุกไหม้ สะเก็ดอุกกาบาตเล็กจะถูกเผาไหม้จนหมดแต่สำหรับก้อนที่มีขนาดใหญ่นั้นจะไม่ถูกเผาไหม้จนหมดทำให้ตกมายันบนพื้นโลก และเกิดหลุมอุกกาบาต ชนิดของอุกกาบาต ชนิดของอุกกาบาต มีดังนี้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอุกกาบาต · ดูเพิ่มเติม »

อุสุภราช

ทวรูปโคนนทิที่ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ อุสุภราช หรือ นนทิ (Nandi; สันสกฤต: नंदी) เป็นชื่อโคเผือกที่เป็นพาหนะของพระศิวะ กำเนิดมาจากเมื่อครั้งกวนเกษียณสมุทร พระกัศยปะต้องการให้นางโคสุรภีเป็นพาหนะประจำพระองค์ แต่ติดว่านางโคสุรภีเป็นโคเพศเมีย หากจะเป็นโคพาหนะจึงควรเป็นโคเพศผู้มากกว่า พระกัศยปะจึงได้เนรมิตรโคเพศผู้ขึ้นมาให้สมสู่กับนางโคสุรภี ลูกโคที่เกิดมาเป็นโคสีขาวปลอดเพศผู้ลักษณะดีคือ โคอุสุภราช พระกัศยปะจึงได้ประทานชื่อให้ว่า นนทิ หรือ นันทิ และได้ถวายให้เป็นพระพาหนะแด่พระศิวะ อีกตำนานหนึ่งของการกำเนิดโคอุสุภราช กล่าวว่า เดิมทีเป็นเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ นนทิ เป็นเทพที่ดูแลบรรดาสัตว์ 4 ขาต่าง ๆ ที่เชิงเขาไกรลาส และมักเนรมิตรตนให้เป็นโคเผือกสีขาวเพื่อเป็นพาหนะของพระศิวะเมื่อเสด็จไปยังที่ต่าง ๆ โคอุสุภราชในความเชื่อของชาวฮินดูไม่เพียงแต่เป็นสัตว์พาหนะตัวหนึ่งเท่านั้น แต่ยังได้รับการบูชาดุจดั่งเทพเจ้าองค์หนึ่ง ดังนั้น โคหรือวัวสำหรับชาวฮินดูจึงถือเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ชาวฮินดูจึงไม่ฆ่าโคและกินเนื้อวัว ในพิธีการมงคลแบบฮินดู พราหมณ์จะนำมูลโคมาเจิมหน้าผาก ถือว่าเป็นมงคลประการที่ 7 และในวิหารบูชาพระศิวะมักมีรูปปั้นโคอุสุภราชนี้ประดิษฐานที่กลางวิหารด้วย ด้วยถือว่าเป็นสัญลักษณ์หนึ่งขององค์พระศิว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอุสุภราช · ดูเพิ่มเติม »

อุดมการณ์

อุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง แนวความคิดทางการเมืองที่นำไปปฏิบัติจริง มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางการเมือง ตลอดจนการใช้อำนาจรัฐ และการให้ความชอบธรรมแก่รัฐบาล นอกจากนี้ยังสะท้อนสภาพของสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองของแต่ละชุมชน อุดมการณ์ทางการเมืองจะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอุดมการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อุปสงค์และอุปทาน

อุปสงค์และอุปทานแผนภูมิเส้นแสดงอุปสงค์และอุปทานที่พบเห็นทั่วไป ให้แกนตั้งแสดงราคาและแกนนอนแสดงปริมาณสินค้า เส้นอุปสงค์ (สีแดง) มีลักษณะลาดลง ในขณะที่เส้นอุปทาน (สีน้ำเงิน) ชันขึ้น จุดตัดของเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทาน เป็นจุดดุลยภาพของตลาด ที่ราคาดุลยภาพ P* และปริมาณดุลยภาพ Q* ความหมายในทางเศรษฐศาสตร์ อุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) เป็นแบบจำลองพื้นฐานที่อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในตลาดที่มีการแข่งขัน โดยถือว่าอุปสงค์และอุปทาน เป็นตัวแปรที่กำหนดปริมาณและราคาของสินค้าแต่ละชนิดในตลาด โดยทั่วไป อุปสงค์ หมายถึง ความต้องการซื้อสินค้าและบริการ ในขณะที่อุปทาน (supply) หมายถึง ความต้องการขายสินค้าและบริการ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอุปสงค์และอุปทาน · ดูเพิ่มเติม »

อุปัชฌาย์

อุปัชฌาย์ (/อุ-ปัด-ชา/) ความหมายโดยพยัญชนะว่าผู้เข้าไปเพ่ง กล่าวคือ ได้แก่ผู้คอยดูแลเอาใจใส่ คอยแนะนำพรำเตือนสัทธิวิหาริก (ลูกศิษย์) ของตน ซึ่งก็คือพระเถระผู้ทำหน้าที่เป็นประธานในการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา เรียกทั่วไปว่า พระอุปัชฌาย์ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า "Preceptor" พระอุปัชฌาย์มีหน้าที่หลัก 2 อย่างคือเป็นผู้รับผิดชอบและรับรองผู้บวชในพิธีบรรพชาอุปสมบทและเป็นผู้รับปกครองดูแล แนะนำ ตักเตือนและติดตามความเป็นอยู่ของผู้ที่ตนบวชให้ เหมือนบิดาปกครองดูแลบุตร ตามกฎมหาเถรสมาคมนั้นได้กำหนดให้เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลหนึ่ง ให้มีพระอุปัชฌาย์เพียงหนึ่งรูป เว้นแต่ มีกรณีพิเศษ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอุปัชฌาย์ · ดูเพิ่มเติม »

อุปาทาน

อุปาทาน คือ การยึดมั่นถือมั่นทางจิตใจ เช่น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอุปาทาน · ดูเพิ่มเติม »

อุปาทานหมู่

อุปาทานหมู่ /อุปา- หรือ อุบปา-/ (collective hysteria, collective obsessional behavior, mass hysteria หรือ mass psychogenic illness) เป็นปรากฏการณ์ทางจิตสังคมอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นการแสดงออกอย่างเดียวกับโรคฮิสเตอเรีย หรือโรคผีเข้า (hysteria) แต่อุปาทานหมู่นั้นเป็นอาการสมดังชื่อ คือ เกิดขึ้นในคนหมู่ โดยมักมีสาเหตุจากการที่คนกลุ่มหนึ่งเชื่อว่าตนกำลังประสบภาวะเจ็บป่วยหรืออาการอื่นอย่างเดียวกัน คำ "อุปาทานหมู่" นั้นอาจเขียนผิดเป็น "อุปทานหมู่" ซึ่งคำ "อุปทาน" นั้นเป็นศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "supply" คู่กับ "demand" หรือ "อุปสงค์".

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอุปาทานหมู่ · ดูเพิ่มเติม »

อุโมงค์

อุโมงค์ในเบลเยี่ยม เดิมเป็นทางรถไฟแต่ปัจจุบันเป็นทางเดินเท้าและจักรยาน ทางเข้าอุโมงค์ถนนในกวานาวาโต, เม็กซิโก อุโมงค์สาธารณูปโภคสำหรับท่อความร้อนระหว่าง Rigshospitalet และ Amagerværket ในโคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก อุโมงค์รถไฟใต้ดินไทเปในไต้หวัน ทางเข้าด้านใต้ยาว 421 เมตร (1,381 ฟุต) อุโมงค์คลอง Chirk อุโมงค์ คือ ทางสัญจรใต้ดิน ใต้น้ำ ที่ขุดลงไปใต้ดินหรือในภูเขา โดยทั่วไปแล้วจะมีความยาวอย่างน้อยมากกว่าความกว้าง 2 เท่า และมีผนังโอบล้อมทุกด้าน โดยมีปลายเปิดในส่วนหัวและส่วนท้าย อุโมงค์อาจเป็นทางเดินเท้าหรือจักรยานลอดใต้ถนนหรือเชื่อมต่ออาคาร แต่โดยทั่วไปเป็นทางสัญจรสำหรับรถยนต์ รถไฟ หรือคลอง บางที่อาจเป็นทางระบายน้ำ ทางส่งน้ำโดยเฉพาะที่ใช้สำหรับไฟฟ้าพลังน้ำหรือท่อระบายน้ำ หรือในวัตถุประสงค์อื่น เช่นงานสาธารณูปโภคได้แก่ท่อประปา ไฟฟ้า เคเบิลสำหรับโทรคมนาคม หรือแม้กระทั่งอุโมงค์ที่ออกแบบสำหรับเป็นทางเดินสัตว์ป่าสำหรับสัตว์ในยุโรป ที่อาจเป็นอันตราย บางอุโมงค์ลับก็ใช้สำหรับเป็นทางออกสำหรับหนีภัย อุโมงค์บางแห่งไม่ได้เป็นทางสัญจรแต่เป็นป้อมปราการก็มี อย่างไรก็ตามท่อที่ใช้ในการขนส่ง (transport pipeline) ไม่เรียกว่าเป็นอุโมงค์เนื่องจากบางอุโมงค์สมัยใหม่ได้ใช้เทคนิคการก่อสร้างแบบ immersed tube (ทำท่อสำเร็จเป็นช่วง ๆ บนดินแล้วนำไปจมที่ไซท์งาน) แทนที่จะใช้วิธีขุดเจาะแบบเดิม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอุโมงค์ · ดูเพิ่มเติม »

อธิษฐาน

อธิษฐาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอธิษฐาน · ดูเพิ่มเติม »

อีสาน

อีสาน หรือ อิสาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

อีเมล

อีเมล (e-mail, email) หมายถึง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอีเมล · ดูเพิ่มเติม »

องคชาต

องคชาต (penis) เป็นอวัยวะเพศของเพศชายที่ใช้สืบพันธ์ุ และทำหน้าที่เป็นท่อปัสสาวะ มีลักษณะเป็นท่อนยาว อยู่ภายนอกร่างกายของเพศชาย ตรงบริเวณหัวหน่าวทำหน้าที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะและน้ำกาม ประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อฟองน้ำ (corpus cavernosum) 1 คู่ และท่อปัสสาวะบางส่วน กล้ามเนื้อลักษณะฟองน้ำ ทำหน้าที่ในการกักเก็บเลือด เมื่อมีอารมณ์ทางเพศทำให้เกิดการแข็งตัวขององคชาต เพื่อให้สามารถสอดใส่องคชาตเข้าไปภายในช่องคลอดของเพศหญิง ที่ปลายองคชาติเป็นจุดรวมของเส้นประสาท ซึ่งไวต่อการกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ซึ่งส่วนนี้เปรียบเทียบได้กับคลิตอริสของเพศหญิง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและองคชาต · ดูเพิ่มเติม »

อนุรักษนิยม

อนุรักษนิยม หรือ คติอนุรักษ์ (conservatism), โดยทั่วไปหมายถึงปรัชญาทางการเมืองที่ยึดถือเอาสิ่งดีงามในอดีตมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยนิยมการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และส่วนใหญ่จะอยู่ตรงข้ามกับแนวคิดเสรีนิยม แนวอนุรักษนิยมทางการเมืองสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสและการปฏิวัติอุตสาหกรรม อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง พรรคการเมืองที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมจัดเป็นพรรคอนุรักษนิยม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอนุรักษนิยม · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์สถาน

อนุสรณ์สถาน อนุสรณ์สถานหรืออนุสาวรีย์ คือสถานที่ หรืออาคาร ซึ่งก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ ระลึกถึงเหตุการณ์ หรือคุณความดีของบุคคล ในอดีต อนุสรณ์สถาน มักจะก่อสร้าง เป็น อาคารซึ่งมักใช้เป็นอาคารอเนกประสงค์ เช่นอาจมี พิพิธภัณฑ์ ห้องประชุม ลานอเนกประสงค์ ห้องจัดนิทรรศการ ส่วนประกอบพิธี หรือบริเวณบรรจุอัฐิ เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและอนุสรณ์สถาน · ดูเพิ่มเติม »

ผักกาดหัว

ผักกาดหัว (subsp. longipinnatus) หรือชื่ออื่น ๆ เช่น หัวผักกาด, หัวไช้เท้า หรือ หัวไชเท้า เป็นสปีชีส์ย่อยของ ผักกาดหัวสีแดง (R. sativus) ในอาหารญี่ปุ่นหัวไช้เท้าดิบมาขูดฝอยลงในซีอิ๊วและซอสต่างๆ ใช้เป็นน้ำจิ้ม ใส่ในต้มเค็ม และนิยมต้มปลาหมึกสดกับผักกาดหัวเพื่อช่วยให้เนื้อปลาหมึกนุ่มน่ารับประทานหน้า 22 เกษตร, ผักกาดหัว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและผักกาดหัว · ดูเพิ่มเติม »

ผัดไทย

ผัดไทย (ผัดไท เป็นตัวสะกดผิดที่พบได้บ่อย) เป็นอาหารไทยที่สามารถหารับประทานได้ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคกลาง และอาจพบได้ในร้านอาหารไทยในต่างประเทศบางแห่ง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและผัดไทย · ดูเพิ่มเติม »

ฌาน

น (บาลี) หรือ ธยาน (สันสกฤต) หมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและฌาน · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เยาว์

ผู้เยาว์ (minor) หมายถึง บุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หลายประเทศมักไม่นิยามคำว่า "ผู้เยาว์" ไว้อย่างเด็ดขาด อายุสำหรับความรับผิดทางอาญา อายุอย่างต่ำที่จะให้ความยินยอมในการมีเพศสัมพันธ์ อายุที่จะต้องผ่านการศึกษาภาคบังคับ อายุที่สามารถทำนิติกรรมด้วยตนเองได้ เป็นต้น อาจแตกต่างกันไป ในหลายประเทศรวมถึงออสเตรเลีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ บราซิล โครเอเชียและโคลัมเบีย ผู้เยาว์หมายถึงบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ส่วนในสหรัฐอเมริกาซึ่งกำหนดอายุบรรลุนิติภาวะไว้แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ผู้เยาว์มักหมายถึงผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี แต่ในบางรัฐอาจหมายถึงผู้มีอายุต่ำกว่า 21 ปีในบางกรณี (เช่นการพนัน การเป็นเจ้าของปืน และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ในทางอาญาคำว่าผู้เยาว์มักกำหนดไว้แตกต่างกันไป ผู้เยาว์อาจถูกดำเนินคดีและได้รับโทษในฐานะเป็นเยาวชน หรืออาจได้รับโทษเหมือนผู้ใหญ่ในความผิดร้ายแรงอย่างยิ่งเช่นฆาตกรรม ในญี่ปุ่น ไต้หวัน ไทย และเกาหลีใต้ ผู้เยาว์หมายถึงบุคคลผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี กฎหมายนิวซีแลนด์ก็กำหนดอายุของผู้บรรลุนิติภาวะไว้ 20 ปีเช่นกันแต่ผู้เยาว์ในนิวซีแลนด์สามารถใช้สิทธิส่วนใหญ่ได้ก่อนหน้าที่จะบรรลุนิติภาวะ เช่นเข้าทำสัญญาและทำพินัยกรรมได้ตั้งแต่อายุ 15 ปี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและผู้เยาว์ · ดูเพิ่มเติม »

ผี

ตรีสีน้ำตาลแห่งไรน์แฮมฮอลล์ ถ่ายโดยกัปตัน ฮูเบิร์ต ซี.โปรแวนด์ ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารคันทรี่ไลฟ์ ค.ศ. 1936 ตามความเชื่อและบันเทิงคดีแต่โบราณ ผี (ghost) เป็นวิญญาณ (soul) หรือสปิริต (spirit) ของคนหรือสัตว์ที่ตาย ซึ่งสามารถปรากฏให้คนเป็นเห็นได้ ไม่ว่าจะในรูปที่มองเห็นได้หรือสำแดงออกมาในรูปอื่น รายละเอียดการปรากฏตัวของผีมีหลากหลายมากตั้งแต่การแสดงตนแบบมองไม่เห็น ปรากฏเป็นรูปร่างบอบบางที่โปร่งแสงหรือแทบมองไม่เห็น ไปจนถึงการเห็นภาพสมจริงดุจมีชีวิต ความเชื่อในการแสดงตนของวิญญาณผู้ตายนั้นมีแพร่หลาย ย้อนไปตั้งแต่วิญญาณนิยมหรือการบูชาบรรพบุรุษในวัฒนธรรมก่อนรู้หนังสือ หลักในบางศาสนา เช่น พิธีกรรมงานศพ พิธีไล่ผี หลักเจตนิยมบางประการและเวทมนตร์ ได้รับการออกแบบมาเพื่อปลอบวิญญาณของผู้ตายให้สงบโดยเฉพาะ ผีมักได้รับการอธิบายว่า เป็นสิ่งที่อยู่โดดเดี่ยวซึ่งสิงสู่ในสถานที่ วัตถุหรือบุคคลหนึ่ง ๆ ที่ผีผูกพันยามมีชีวิตอยู.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและผี · ดูเพิ่มเติม »

ผีพุ่งไต้

ผีพุ่งไต้ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและผีพุ่งไต้ · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้

ระเข้ (Crocodile, อีสาน: แข้) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ใช้ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Crocodylidae อยู่ในอันดับจระเข้ (Crocodilia) มีลักษณะโดยรวมคือ ส่วนปลายของหัวแผ่กว้างหรือเรียวยาว ขากรรไกรยาวและกว้าง เมื่อหุบปากแล้วจะเห็นฟันซี่ที่ 4 ของขากรรไกรล่างเนื่องจากขอบปากบนตรงตำแหน่งนี้เป็นรอยหยักเว้า ส่วนปลายของขากรรไกรล่างข้างซ้ายและข้างขวาเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่แคบ กระดูกเอนโทพเทอรีกอยด์อยู่ชัดกับแถวของฟันที่กระดูกแมคซิลลา กระดูกพาลามีนมีก้านชิ้นสั้นอยู่ทางด้านหน้าและไม่ถึงช่องในเบ้าตา พื้นผิวด้านบนของลิ้นไม่มีสารเคอราติน ต่อมขจัดเกลือบนลิ้นมีขนาดใหญ่ มีก้อนเนื้อที่ปลายปากนูนสูงที่ช่องเปิดรูจมูกเรียกว่า "ก้อนขี้หมา" หรือ "หัวขี้หมา" ซึ่งจะแตกต่างออกไปตามชนิดและเพศหรือขนาด โคนหางเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่และแข็งแรงเรียกว่า "บ้องตัน" ใช้ในการฟาดเพื่อป้องกันตัว หางแบนยาวใช้โบกว่ายน้ำ จระเข้ ถือเป็นสัตว์ที่อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาาหร เนื่องจากเป็นสัตว์ผู้ล่ากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่ไม่มีศัตรูตามธรรมชาติ ยกเว้นจระเข้ในวัยอ่อน ที่ตกเป็นอาหารของสัตว์ขนาดใหญ่กว่าชนิดต่าง ๆ ได้ จระเข้ตัวโตเต็มวัยจะมีพฤติกรรมกินอาหารแบบหมุนตัว กล่าว คือ เมื่อจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ขณะอยู่ใต้น้ำและต้องการกินเหยื่อจะใช้ปากงับไว้และหมุนตัวเองเพื่อฉีกเนื้อเหยื่อออกเป็นชิ้น ส่วนเหยื่อที่มีขนาดเล็กถูกบดให้แหลกด้วยลิ้นขนาดใหญ่โดยใช้ลิ้นดันเหยื่ออัดแน่นกับเพดานของอุ้งปาก นอกจากนี้แล้วจระเข้ยังกลืนก้อนกรวดหรือก้อนหินเข้าไปในกระเพาะเพื่อช่วยในการบดอาหารด้วย แบ่งออกได้เป็น 3 สกุล 14 ชนิด พบได้ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนของทุกทวีปทั่วโลก นับว่ามีจำนวนสมาชิกมากและหลากหลายที่สุดของอันดับจระเข้ที่ยังพบคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ มักอาศัยบริเวณป่าริมน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ เพราะหากินในน้ำเป็นหลัก บางชนิดหรือบางพื้นที่อาจพบได้ในแหล่งน้ำกร่อยหรือป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำใกล้ทะเล ในประเทศไทยพบ 3 ชนิด คือ จระเข้บึง หรือ จระเข้น้ำจืด (Crocodylus siamensis), อ้ายเคี่ยม หรือ จระเข้น้ำเค็ม (C. porosus) และ จระเข้ปากกระทุงเหว หรือ ตะโขง (Tomistoma schlegelii) ซึ่งมิได้ถูกจัดอยู่ในวงศ์นี้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

จะละเม็ด

ละเม็ด อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจะละเม็ด · ดูเพิ่มเติม »

จักร

ักร (อักษรเทวนาครี: चक्र, ภาษาปัญจาบ: chakkar, ภาษามลายู: cakera), เป็นอาวุธที่มีต้นกำเนิดในประเทศอินเดีย รูปร่างเป็นโลหะแบน เป็นรูปวงกลม ‌ จักรในภาษาไทยมาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงล้อ หรือวงกลม ตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ และเป็นอาวุธของพระนารายณ์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นรูปคดเคี้ยว 8 แฉก และมีลวดลายอยู่ในเส้นวงกลม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจักร · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิ

ักรพรรดิ หรือ พระราชาธิราช หมายถึง ประมุขของจักรวรรดิ หากเป็นสตรีเรียกว่า จักรพรรดินี (Empress) แต่คำว่า “จักรพรรดินี” ก็ใช้เรียกพระมเหสีของจักรพรรดิด้วย ในภาษาอังกฤษจะมีคำต่อท้ายให้เป็นที่เข้าใจคือ “Empress Consort” โดยทั่วไปถือกันว่า “จักรพรรดิ” มีฐานันดรสูงกว่า “พระราชา”.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจักรพรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรยานยนต์

Crocker ปี 1941 จักรยานยนต์ยามาฮ่า จักรยานยนต์ หรือ มอเตอร์ไซค์ (motorcycle หรือ motorbike) คือยานพาหนะสองล้อที่ใช้เครื่องยนต์หรือมอเตอร์ในการขับเคลื่อน ประเภทของจักรยานยนต์ขึ้นอยู่กับลักษณะการออกแบบใช้งาน เช่น ระยะทาง สภาพจราจร การท่องเที่ยว กีฬา และ การแข่งขัน เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจักรยานยนต์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรราศี

รื่องหมายจักรราศีของโหราศาสตร์สากลราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 แกะจากแม่พิมพ์ไม้ ภาพสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในจอร์เจียเป็นรูปจักรราศีที่มีพระเยซูอยู่ตรงกลาง เครื่องหมายจักรราศีที่ใช้ในโหราศาสตร์สากลในปัจจุบัน จักรราศี (zodiac มาจากภาษากรีก ζῳδιακός หมายถึง "สัตว์") เป็นแถบสมมติบนท้องฟ้าที่มีขอบเขตประมาณ 8 องศา ค่อนไปทางเหนือและใต้ของแนวเส้นทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนผ่าน (สุริยวิถี) ซึ่งครอบคลุมแนวเส้นทางปรากฏของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาลอีก 7 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ส่วนดาวพลูโตนั้น ความเอียงของวงโคจรมีค่ามาก ดาวพลูโตจึงมีเส้นทางปรากฏห่างจากสุริยวิถี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจักรราศี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิ

ักรวรรดิ (อ่านว่า จัก-กฺระ-หฺวัด, อังกฤษ: empire) ถูกนิยามว่าหมายถึง "กลุ่มชาติรัฐหรือชาติพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิหรืออธิปไตยของรัฐอื่นๆที่ทรงอิทธิพล โดยทั่วไปมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชอาณาจักร" นักวิชาการได้ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับคำว่า “Empire” ในภาษาอังกฤษหรือ “จักรวรรดิ” ในภาษาไทย (จากคำภาษาละติน “imperium” ที่หมายถึงสายการบังคับบัญชาทางการทหารของรัฐบาลโรมันโบราณ) โดยทั่วไปมักนิยามให้เป็นรัฐที่มีอาณาจักรอื่นที่มีประชากรและวัฒนธรรมที่แตกต่างชัดเจนอยู่ภายใต้อิทธิพลอำนาจการปกครองหรืออยู่ในเครือจักรภพ เช่นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษในปัจจุบัน นิยามอีกรูปแบบหนึ่งอาจเน้นปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือการเมือง แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงการครอบงำทางอำนาจการทหาร เช่นเดียวกับรัฐทั่วไป จักรวรรดิจะมีโครงสร้างทางการเมืองของตนเอง หรืออย่างน้อยก็โดยวิธีกดขี่บังคับให้อยู่ใต้อำนาจ จักรวรรดิบนแผ่นดินใหญ่ (เช่นจักรวรรดิมองโกล หรือจักรวรรดิอาคีเมนิดเปอร์เชีย – Achaemenid Persia) มักจะขยายไปตามอาณาเขตที่ประชิดต่อเนื่องกัน ส่วนจักรวรรดิทางทะเล (เช่น จักรวรรดิเอเธนีเนียน จักรวรรดิโปรตุเกสและจักรวรรดิอังกฤษ) อาจมีอาณาเขตกระจัดกระจายหลวมๆ แต่อยู่ในอำนาจการควบคุมทางกองทัพเรือเป็นต้น จักรวรรดิที่มีมาก่อนจักรวรรดิโรมันหลายร้อยปี ได้แก่จักรวรรดิอียิปต์ซึ่งได้ก่อตั้งจักรวรรดิเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อน..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

จักจั่น

ักจั่น เป็นแมลงที่มีตาขนาดใหญ่ อยู่ด้านข้างของหัว มีประสาทการรับรู้ที่ดีอยู่บนปีก ค้นพบประมาณ 1,300 ชนิดแล้วบนโลก จักจั่นอาศัยอยู่ในบริเวณเขตร้อน เป็นแมลงที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะมีขนาดที่ใหญ่และสามารถส่งเสียงที่ไพเราะได้ บางครั้งจะถูกสับสนกับ ตั๊กแตนหนวดสั้น (locust) ไม่มีเหล็กในไว้ต่อย และไม่กัดมนุษย์ บางพื้นที่ จักจั่นถือว่าเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมและยังจัดเป็นอาหารที่ใช้เป็นยาอีกด้ว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจักจั่น · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกาฬสินธุ์

ังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางหรือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 510 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ให้ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า “เมืองกาฬสินธุ์” หรือ “เมืองน้ำดำ” ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล “กาฬ” แปลว่า “ดำ” “สินธุ์” แปลว่า “น้ำ” กาฬสินธุ์จึงแปลว่า “น้ำดำ” และยังมีแหล่งซากไดโนเสาร์หลายแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงด้านโปงลาง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจังหวัดกาฬสินธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดศรีสะเกษ

รีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศทางตอนใต้เป็นที่สูง และค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางเหนือลงสู่ลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด ปัจจุบันมีเนื้อที่ 8,840 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอ 22 อำเภอ มีประชากรราว 1.47 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งพูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กัน อาทิ ภาษาลาว (สำเนียงลาวใต้ซึ้งใช้ครอบคลุมทั้งฝั่งอุบลราชธานีและจำปาศักดิ์), ภาษากูย, ภาษาเยอ และภาษาเขมรถิ่นไทย ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนและนับถือผีมาแต่เดิมกรมศิลปากร.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจังหวัดศรีสะเกษ · ดูเพิ่มเติม »

จัตุรัส

ัตุรัส อาจหมายถึง; คณิตศาสตร.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจัตุรัส · ดูเพิ่มเติม »

จาระบี

จาระบี (grease) เป็นสารหล่อลื่นลักษณะกึ่งของแข็ง ทำจากน้ำมันปิโตรเลียมหรือน้ำมันพืชผ่านปฏิกิริยากับด่างในลักษณะเดียวกับสบู่ มีจุดเด่นที่จะเหนียวข้นเมื่ออยู่ในสภาพปกติ แต่จะไหลสะดวกเหมือนน้ำมันหล่อลื่นเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเสียดสี, จึงนิยมใช้หล่อลื่นเครื่องจักรที่ไม่สามารถหยอดน้ำมันได้บ่อย หรือใช้ในจุดที่ลักษณะกลไกไม่เอื้อต่อการขังน้ำมันหล่อลื่น หมวดหมู่:สารหล่อลื่น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจาระบี · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาบุคลิกภาพ

ตวิทยาบุคลิกภาพ (personality psychology) เป็นสาขาหนึ่งของจิตวิทยาที่ศึกษาเรื่องบุคลิกภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล คำว่า "บุคลิกภาพ" (personality) สามารถนิยามได้ว่าเป็นรูปแบบลักษณะนิสัยเฉพาะของบุคคลซึ่งมีอิทธิพลแตกต่างกันต่อกระบวนการรับรู้ แรงจูงใจและพฤติกรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในหลายสถานการณ์ คำว่า "บุคลิกภาพ" มีต้นกำเนิดมาจากภาษาละติน persona หมายถึง หน้ากาก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจิตวิทยาบุคลิกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครราชกิจจานุเบกษ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ธัญพืช

้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ และผลิตภัณฑ์ต่างๆจากธัญพืช ธัญพืช คือพืชที่มนุษย์เพาะปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวเมล็ด นั่นคือ แมงลัก ลูกเดือย ข้าวโพด ถั่วต่างๆ เม็ดขนุน สะตอ มะม่วงหิมพานต์ ข้าวประเภทต่างๆ มีการเพาะปลูกธัญพืชทั่วโลกมากกว่าผลผลิตทางเกษตรชนิดใดๆ และเป็นแหล่งอาหารที่ให้พลังงานแก่มนุษย์มากที่สุด ในประเทศกำลังพัฒนาบางประเทศ ธัญพืชจะเป็นอาหารหลักของประชากรทั้งประเทศ ขณะที่ในประเทศพัฒนาแล้ว การบริโภคธัญพืชจะน้อยลง ส่วนใหญ่ประเทศพัฒนาแล้วจะบริโภคธัญพืชแปลงรูป คือ ขนมปังนั่นเอง ประโยชน์ของธัญพืช การที่เราควรใช้ ธัญพืชหรือเมล็ดพืชเต็มรูป เพื่อให้ได้พลังชีวิตทั้งหมด ของเมล็ดพืช หากธัญพืชถูกขัดสี บี้ หรือบด มันจะสูญเสียพลังในการงอก แป้งที่แตกออกมา ไม่เพียงแต่เสียพลังชีวิตของมัน แต่จะทำให้ธัญพืชถูกทำลายโดยการอ๊อกซิเดชั่นไขมันที่ดีที่เป็นส่วนประกอบ ย้อนกลับไปเมื่อยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ได้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ทำให้เนื้อ นม เนย ไข่ กลายเป็นของหายาก และมีราคาแพง ประชาชนส่วนใหญ่จึงต้องรับประทานข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เล่ย์เป็นหลัก ปรากฏว่าช่วงนั้นชาวยุโรปเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งน้อยมาก ทั้งนี้ เนื่องจาก ข้าวเมืองหนาวทั้ง 2 ชนิดนี้มีสารแอนติออกซิเดนต์สูง จึงช่วยป้องกันความเสื่อมและการถูกทำลายของเซลล์ทั่วร่างกายอันเป็นสาเหตุของมะเร็งได้ - See more at: http://travel.truelife.com/detail/95385#sthash.0Vmuo8rJ.dpuf.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและธัญพืช · ดูเพิ่มเติม »

ธุรกิจ

รกิจ หรือ กิจการ เป็นองค์การที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการหรือทั้งสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภค ธุรกิจนั้นโดดเด่นในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งธุรกิจส่วนมากมีเอกชนเป็นเจ้าของ และบริหารจัดการเพื่อให้ได้กำไร และเพิ่มความมั่งคั่งแก่เจ้าของธุรกิจ ธุรกิจยังอาจเป็นประเภทไม่แสวงหาผลกำไรหรือมีรัฐเป็นเจ้าของก็ได้ ธุรกิจที่มีหลายปัจเจกบุคคลเป็นเจ้าของอาจเรียกว่า บริษัท แม้คำว่า "บริษัท" จะมีความหมายที่เจาะจงกว่านั้น คำว่า "ธุรกิจ" มีความหมายครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการค้าอย่างน้อย 3 เรื่อง คือ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและธุรกิจ · ดูเพิ่มเติม »

ธนบัตร

นบัตรสกุลต่าง ๆ ธนบัตร เป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยน ซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรจะใช้ควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์ แต่โดยทั่วไปแล้วธนบัตรมักใช้สำหรับเงินจำนวนมาก ส่วนเหรียญกษาปณ์ใช้กับเงินจำนวนน้อย หรือเศษสตางค์ ในสมัยก่อน ค่าของเงินจะวัดโดยวัตถุที่นำมาใช้เป็นเงิน เช่น เบี้ย, เงิน หรือ ทอง แต่การถือวัตถุมีค่าเหล่านี้ออกไปจำนวนมากย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สะดวกและเป็นอันตราย จึงใช้ธนบัตรเพื่อเป็นสื่อแลกเปลี่ยนแทน ธนบัตรเป็นเหมือนสัญญาว่าจะให้เงินไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งภายหลังสามารถนำไปแลกคืนเป็นเงินหรือทองได้ ภายหลังจึงเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อสิ่งของและบริการ ไม่ต้องแลกเป็นเงินหรือทองอีก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและธนบัตร · ดูเพิ่มเติม »

ธนาณัติ

นาณัติ (postal order, money order) เป็นเอกสารหรือตราสารซึ่งที่ทำการไปรษณีย์ต้นทาง หรือธนาคารในบางประเทศ ออกเป็นสำคัญว่าได้รับเงินพร้อมค่าธรรมเนียมแล้ว ผู้ขอออกสามารถส่งให้ผู้รับนำไปขึ้นเงิน ณ ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางหรือธนาคารได้ การส่งธนาณัติจะกระทำด้วยวิธีไปรษณีย์ภาคพื้น วิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีอื่นที่ปลอดภัยก็ได้ ธนาณัติมีลักษณะคล้ายตั๋วสัญญาใช้เงิน เว้นแต่แทนที่สัญญาจะจ่ายเงิน ก็จะเป็นบังคับให้ที่ทำการไปรษณีย์ปลายทางจ่ายเงินตามจำนวนที่กำหนดตราบที่ธนาณัตินั้นยังไม่สิ้นสภาพ ธนาณัติมีความคล้ายคลึงกับเช็คที่ออกโดยธนาคารหรือแคชเชียร์เช็ค ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร รูปแบบของธนาณัติที่ออกโดยไปรษณีย์จะคล้ายคลึงกับเช็ค คือสามารถจ่ายให้แก่ผู้รับที่มีชื่ออยู่ หรือตัวผู้ฝากเองก็ได้หากต้องการไถ่ถอน นอกจากนี้สามารถสั่งมิให้จ่ายเป็นเงินสดโดยการขีดเส้นขนานไว้บนธนาณัตินั้น ธนาณัติฉบับใดมีเส้นขนานขีดไว้ ต้องโอนเงินเข้าสู่บัญชีเงินฝากของผู้รับหรือใช้ชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภคที่ไปรษณีย์ก็ได้ อย่างไรก็ตามไม่มีตัวเลือกนี้ในประเทศไทยเนื่องจากความซับซ้อนของการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ ธนาณัติมักจำกัดจำนวนเงินฝากส่งอย่างสูงไว้เพื่อความปลอดภัย ตามไปรษณียนิเทศ จำนวนนี้เป็นไปตามที่บริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด (ปณท.) กำหนดไว้ คือ 50,000 บาท ในขณะที่บริษัทไปรษณีย์อังกฤษกำหนดไว้ที่ 250 ปอนด์สเตอร์ลิง ส่วนบริษัทไปรษณีย์สหรัฐกำหนดไว้ที่ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ธนาณัติไทยมีข้อกำหนดในเรื่องอายุของธนาณัติที่จะนำไปขึ้นเงินได้ คือ ธนาณัติที่มีอายุไม่เกิน 4 เดือน นับถัดจากเดือนที่ออก สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ทันที หากเกินกว่านั้น ปณท.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและธนาณัติ · ดูเพิ่มเติม »

ถั่วพู

ั่วพู เป็นพืชล้มลุก ดอกสีขาวอมม่วง ผลเป็นฝักแบนยาวมี 4 ปีก ความยาวของฝักประมาณ 3-4 นิ้ว ภายในมีเมล็ดกลมเรียบ นิยมนำถั่วพูมาประกอบอาหารประเภทยำหรือกินสด ถั่วพูเป็นผักที่เสียเร็ว เหี่ยวง่ายและเกิดสีน้ำตาลเร็ว เก็บได้ไม่นาน คุณค่าทางอาหาร ถั่วพูมีคาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน ไขมัน แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินเอ ซี อี บี1 บี2 ไนอะซิน สรรพคุณทางยาบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ตัวร้อน ลดไข้ ในอาหารไทยนำฝักอ่อนมาลวก กินกับน้ำพริก ยำ หั่นใส่ในแกงส้ม แกงป่าหรือกินกับขนมจีน หั่นผสมในทอดมัน ยอดอ่อนและดอกใช้จิ้มน้ำพริก ใบอ่อนทำสลัดหรือใส่ในแกงจืด เมล็ดแก่คั่วให้สุกรับประทานได้ หัวแก่ใช้เชื่อมเป็นของหวานหรือเผารับประทานเช่นเดียวกับมันเทศหรือมันสำปะหลัง ในพม่า นำหัวถั่วพูไปต้มจิ้มน้ำจิ้ม กินเป็นอาหารว่าง ใบอ่อนกินเป็นสลัด ในปาปัวนิวกินีนำหัวถั่วพูไปห่อใบตองหรือใบไผ่แล้วย่างรับประทาน ในอินโดนีเซียนำเมล็ดถั่วพูไปทำเทมเป้เช่นเดียวกับถั่วเหลือง หัวถั่วพูนำมาสับ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่มต่างน้ำ เป็นยาบำรุงกำลัง ในทางสิ่งแวดล้อม ถั่วพูสามารถส่งเสริมการย่อยสลายแอนทราซีนและฟลูออรีนในไรโซสเฟียร์ได้ดี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและถั่วพู · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพาหุรัด

นนพาหุรัด คุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา ถนนพาหุรัด (Thanon Phahurat) เป็นถนนในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนบ้านหม้อ (สี่แยกบ้านหม้อ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนตรีเพชร (สี่แยกพาหุรัด) จนถึงถนนจักรเพชร ถนนพาหุรัดเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยทรงใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระราชธิดาซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสิ้นพระชนม์ขณะพระชันษา 10 ปี จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลพระราชทานและพระราชทานนามถนนว่า "ถนนพาหุรัด" ทุกวันนี้ถนนพาหุรัด เป็นย่านที่มีสินค้าที่มีให้เลือกสรรอย่างมากมายและหลากหลายทั้งผ้าตัด อุปกรณ์ตัดเย็บ รวมไปถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปสารพัดชาติ ทั้งชุดไทย-การแสดงนาฏศิลป์ ชุดจีน โดยเฉพาะส่าหรี นอกจากนี้พาหุรัดยังมีชุมชนเล็กๆที่ยังคงดำเนินวิถีแบบภารตะอยู่ จนทำให้หลายๆคน ขนานนามย่านพาหุรัด ว่าเป็น “ลิตเติ้ล อินเดีย”เมืองไทย สถานที่สำคัญในบริเวณนั้น มีวัดคุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา(วัดซิกข์) เป็นวัดซิกข์แห่งแรกของไทย และยังมีห้างดิโอลด์สยามพลาซ่า ห้างไชน่า เวิลด์ (เดิมชื่อห้างเซ็นทรัลวังบูรพา)และ ห้างอินเดีย เอ็มโพเรียม (เดิมชือห้างเอทีเอ็ม).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและถนนพาหุรัด · ดูเพิ่มเติม »

ถนนลาดยาง

การก่อสร้างถนนลาดยาง เครื่องจักรเทผิวหน้ายางมะตอย ที่ส่งมาจากรถดัมป์ ถนนลาดยาง (Pavement) เป็นถนนที่สร้างขึ้นมาจากยางมะตอยชนิดแอสฟัลต์คอนกรีต พื้นผิวลาดยางนิยมใช้ในถนนทั่วไปรวมถึงลานที่จอดรถและสนามบินเนื่องจาก ค่าก่อสร้างที่ถูกกว่าถนนคอนกรีตหลายเท่าตัว ในขณะเดียวกันอายุการใช้งานก็น้อยกว่าเช่นกัน โดยเมื่อใช้ไประยะหนึ่งจำเป็นต้องมีการปรับปรุงผิวหน้าถนน โดยทำการเทยางมะตอยเพิ่มเพื่อให้ผิวหน้าถนนได้ระดับ ในขณะเดียวกันถนนคอนกรีตหลายแห่งได้มีการปรับปรุงผิวถนน โดยการเปลี่ยนเป็นถนนลาดยางแทนที่เนื่องจาก ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงน้อยกว่า ลักษณะของถนนลาดยางแตกต่างกับถนนคอนกรีต จะมีสีเข้มเนื่องจากสีของยางมะตอย และบริเวณตลอดความยาวถนน จะไม่มีรอยต่อระหว่างช่วงซึ่งถนนคอนกรีตใช้ในการรับการขยายและหดตัวของผิวหน้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและถนนลาดยาง · ดูเพิ่มเติม »

ทรงลูกบาศก์

ทรงลูกบาศก์ ทรงลูกบาศก์ (cube) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) เป็นรูปทรง 3 มิติ ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้ง 6 หน้า โดยแต่ละจุดยอด (vertex) จะล้อมรอบด้วยหน้ารูปสี่เหลี่ยมเป็นจำนวน 3 หน้าทุกจุด ทรงนี้มี 8 จุดยอด 12 ขอบ และเป็นหนึ่งในทรงตันเพลโต (Platonic solid) ทรงลูกบาศก์เป็นทรงหลายหน้าที่คู่กันกับทรงแปดหน้า มีสมมาตรแบบทรงลูกบาศก์ (หรือเรียกว่าสมมาตรแบบทรงแปดหน้า Oh) ทรงลูกบาศก์คือรูปทรงไฮเพอร์คิวบ์ (hypercube) ที่อยู่บนสามมิติ ทรงลูกบาศก์สามารถเรียกได้ในชื่ออื่นๆ เช่น ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส, ปริซึมสี่เหลี่ยมจัตุรัส, ทรงหกหน้าปรกติ (regular hexahedron), เทรปโซฮีดรอนสามเหลี่ยม (trigonal trapezohedron) เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและทรงลูกบาศก์ · ดูเพิ่มเติม »

ทศกัณฐ์

ระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) ทศกัณฐ์ทรงศร ทศกัณฐ์ทรงหอกกบิลพัท ทศกัณฐ์ (ผู้มีสิบคอ คือ มีสิบหัว) เป็นตัวละครเอกตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ ดัดแปลงมาจากตัวละคร ราวณะ ในมหากาพย์ฮินดูเรื่อง รามายณ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและทศกัณฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทองหลางลาย

ทองหลางลาย, ทองหลางด่าง หรือ ทองเผือก (ภาคเหนือ) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5-10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30–40 เซนติเมตร รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม–กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักยาว 15–30 เซนติเมตร ทองหลางลายกระจายพันธุ์ในเอเชียทั้งเขตร้อนและเขตอบอุ่น เจริญได้ในสภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและปักชำ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและทองหลางลาย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบ

ทะเลสาบกลางสวนเบญจกิตติ ขนาด 200x800 เมตร เมืองชิคาโก และทะเลสาบมิชิแกน 1 ในทะเลสาบทั้ง 5 ทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ทะเลสาบ หรือ บึง เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่ล้อมรอบด้วยผืนดิน โดยทั่วไปทะเลสาบจะไม่มีทางไหลออกสู่ทะเล และมีน้ำจืด เรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำจืด" แต่ทะเลสาบบางแห่งอาจไหลออกสู่ทะเลได้ และมีน้ำเค็ม จึงเรียกกันว่า "ทะเลสาบน้ำเค็ม" คำว่า "ทะเลสาบ" ยังครอบคลุมถึงแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ทะเลสาบขนาดเล็กในสนามกอล์ฟ หรือ ทะเลสาบขนาดเล็กในสวนสาธารณะขนาดใหญ่ หรือ แอ่งเก็บน้ำเหนือเขื่อน และ อ่างเก็บน้ำ ซึ่งนับเป็นทะเลสาบขนาดใหญ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและทะเลสาบ · ดูเพิ่มเติม »

ทัณฑฆาต

ทัณฑฆาต (-์) บ้างเรียก หางกระแต หรือ วัญฌการ มีสัณฐานเหมือนหางกระรอก ใช้เติมเหนือพยัญชนะ พร้อมด้วยสระบนและสระล่าง ที่ไม่ต้องการให้ออกเสียง แต่ต้องการคงรูปแบบตัวอักษรไว้ หรือไม่สามารถออกเสียงได้ในภาษาไทย ตัวอักษรที่เติมไม้ทัณฑฆาตเรียกว่าการันต์ แปลว่า "อักษรตัวสุดท้าย" ส่วนใหญ่คำที่ปรากฏทัณฑฆาตจะเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศหรือคำทับศัพท์ บางคนเขียนทัณฑฆาตคล้ายเลขไทย (๙) สำหรับสะกดคำสำหรับภาษาบาลี-สันสกฤต ก็ใช้ทัณฑฆาตในการสะกดคำ เช่นคำว่า สิน์ธู (อ่านว่า สิน-ทู) เพื่อให้ทราบว่า น เป็นตัวสะกด แต่การสะกดคำบาลี-สันสกฤตส่วนใหญ่จะใช้พินทุ (-ฺ) แทน คำที่ปรากฏทัณฑฆาตแต่ยังคงออกเสียงพยัญชนะอยู่โดยมากเป็นคำเก่า เช่น สิริกิติ์ (อ่านว่า สิ-หฺริ-กิด), โลกนิติ์ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) และ สุรเกียรติ์ (อ่านว่า สุ-ระ-เกียด).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและทัณฑฆาต · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302 สายแยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์–ต่างระดับบางใหญ่ เป็นทางหลวงแผ่นดินในกรุงเทพมหานครและจังหวัดนนทบุรี ครอบคลุมถนนสองสายต่อเนื่องกัน ได้แก่ ถนนรัตนาธิเบศร์ และถนนงามวงศ์วาน ทางหลวงสายนี้ช่วงที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครจะอยู่ในเขตควบคุมของกรุงเทพมหานครและแขวงทางหลวงกรุงเทพ ส่วนช่วงที่อยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรีจะอยู่ในเขตควบคุมของแขวงทางหลวงนนทบุรี โดยสองหน่วยงานหลังเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานทางหลวงที่ 13 กรุงเท.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 302 · ดูเพิ่มเติม »

ทิศใต้

วงกลมแสดงทิศ (compass rose) ระบุทิศหลักและทิศรองไว้มากมาย โดยทิศใต้ (S) อยู่ด้านล่าง ทิศใต้ หรือ ทิศทักษิณ เป็นหนึ่งในทิศหลักทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศเหนือ ขวามือของทิศตะวันออก และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากทิศใต้จะกำหนดให้อยู่ด้านล่างของแผนที่ อาจเขียนย่อด้วยอักษร ต หรืออักษร S ทิศใต้จริงเป็นทิศทางที่แกนหมุนของโลกชี้ไป ตรงกับขั้วโลกใต้ซึ่งอยู่ในทวีปแอนตาร์กติกา หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ หมวดหมู่:การกำหนดทิศทาง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและทิศใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทุกรกิริยา

การเฆี่ยนตนเองเป็นการบำเพ็ญ “ทุกรกิริยา” วิธีหนึ่งที่เริ่มทำกันในช่วงที่เกิดแบล็กเดท ทุกรกิริยา (ทุกฺกรกิริยา; self-mortification/ mortification of the flesh) แปลว่า “การกระทำกิจที่ทำได้โดยยาก” ใช้ในบริบททางศาสนาและจิตวิญญาณ เพื่อหมายถึงการทรมานร่างกายตนเอง เพื่อชำระตนให้บริสุทธิ์จากบาป “ทุกรกิริยา” อย่างง่ายที่สุดคือการละเว้นจากกิเลสบางอย่าง เช่น การงดดื่มสุรา หรือการเลือกใช้ชีวิตอันสมถะ เช่น ใช้ชีวิตอารามวาสี หรือถ้าเป็น “ทุกรกิริยา” ขั้นรุนแรงอาจจะเป็นการทำร้ายตนเองเช่นโดยการเฆี่ยน แทง หรือกรีดเนื้อหนังเป็นต้น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและทุกรกิริยา · ดูเพิ่มเติม »

ทูต

ทูต มีความหมายว่า ตัวแทน, ผู้รับเจรจาแทน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและทูต · ดูเพิ่มเติม »

ขวาน

ขวานตัดไม้ ขวาน เป็นเครื่องมือที่มีมาแต่อดีต ใช้ในการตัดไม้ หรือหั่นไม้ รวมไปถึงการใช้เป็นอาวุธ โดยทั่วไปขวานจะประกอบด้วยสองส่วนหลักคือ ส่วนหัว และส่วนด้ามจับ โดยจะเห็นได้ว่าขวานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับลิ่ม ที่ใช้ในการผ่อนแรง ขวานในสมัยโบราณ ส่วนหัวทำจากหิน และผูกเข้ากันกับด้ามไม้ ในขณะที่ขวานในยุคปัจจุบันส่วนหัว จะสร้างจากเหล็กและด้ามจับไม้ โดยขวานจะมีทั้งแบบที่ด้ามยาว และแบบด้ามสั้นขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานของขวานนั้น ๆ หมวดหมู่:เครื่องมือตัด หมวดหมู่:อาวุธมีคม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและขวาน · ดูเพิ่มเติม »

ขัณฑสกร

ัณฑสกร (ขัน-ทะ-สะ-กอน) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและขัณฑสกร · ดูเพิ่มเติม »

ขึ้นฉ่าย

ึ้นฉ่าย (芹菜) เป็นผักและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม นิยมใช้ในการปรุงอาหารที่ต้องการดับกลิ่นคาว หรือเพิ่มความหอมของน้ำซุป หรือ นำไปผัดเพื่อดับคาวปล.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและขึ้นฉ่าย · ดูเพิ่มเติม »

ดอกจัน

อกจัน (*) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายดอกของต้นจัน อาจมีห้าแฉก หกแฉก แปดแฉก หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับไทป์เฟซและยูนิโคด โดยปกติการเขียนดอกจันจะเขียนให้สูงขึ้นกว่าข้อความเล็กน้อย ใช้สำหรับเน้นส่วนสำคัญหรือใช้อธิบายเชิงอรรถ เครื่องหมายนี้มีการเรียกอีกชื่อว่า สตาร์ (star) เพราะมีรูปร่างคล้ายรูปดาว สำหรับดอกจันสามตัวที่วางเรียงกันแบบสามเหลี่ยม (⁂) เรียกว่า แอสเทอริซึม (asterism).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและดอกจัน · ดูเพิ่มเติม »

ดัตช์

ัตช์ (Dutch) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาดฟ้า

“ดาดฟ้า” หรือ “ด่านฟ้า” (ใช้ได้ทั้งสองคำ) (deck) เป็นคำที่ใช้เรียกพื้นที่กว้างโล่ง ไม่มีหลังคาปกคลุม ที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณชั้นบนสุดของอาคาร หมวดหมู่:ส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้าง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและดาดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักร

ริสตจักร (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ พระศาสนจักร (ศัพท์คาทอลิก) (Christian Church; The Church) คือประชาคมของผู้เชื่อและยอมรับว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์ มาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยไถ่มนุษย์จากบาปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 152 ประชาคมนี้ถือเป็นหนึ่งเดียวกัน หากเปรียบเป็นร่างกาย พระเยซูคือศีรษะ และคริสตจักรคือร่างกายส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด หรืออีกนัยหนึ่งคือคริสตชนทุกคนเปรียบเหมือนอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายเดียวกัน โดยมีพระเยซูทรงเป็นหลัก และคริสตชนทุกคนจะร่วมกันปฏิบัติพันธกิจคือการประกาศข่าวดีว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาป มนุษย์ทุกคนที่เชื่อจะพ้นจากบาป และเชื่อว่าจะได้รับความรอดและบำเหน็จจากพระเป็นเจ้าในการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์มาส

ริสต์มาส (Christmas; Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระสมภพ (Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู, The Catholic Encyclopedia, 1913.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและคริสต์มาส · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศักราช

ริสต์ศักราช (Anno Domini Nostri Iesu Christi Anno Domini: AD หรือ A.D. ส: คฺฤสฺตศกฺราช ป: คิตฺถสกฺกาช) เขียนย่อว.. หมายถึง ปีของพระเยซูคริสต์ โดยเริ่มนับจากปีที่เชื่อว่าพระเยซูทรงประสูติ เป็น..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและคริสต์ศักราช · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศาสนิกชน

ัญลักษณ์กางเขนและอิกธัส (Ichthys) ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนมักใช้แทนศาสนาของตน คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย, BBC คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ คือ เชื่อว่าพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวได้ปรากฏเป็น 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามมีคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องพระตรีเอกภาพ จึงเรียกว่า "อตรีเอกภาพนิยม" เช่น พยานพระยะโฮวา ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนชาวโรมันคาทอลิกว่าคริสตัง และชาวโปรเตสแตนต์ว่าคริสเตียน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษ

หน้านี้แสดงช่วงเวลาเป็นสหัสวรรษและศตวรรษตามปีคริสต์ศักร.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและคริสต์ศตวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ

ริสต์ทศวรรษ เป็นช่วงสิบปีของ คริสต์ศักราช ในการกล่าวถึงประวัติศาสตร์บางครั้งนิยมกล่าวถึงในลักษณะช่วงของทศวรรษซึ่งเป็นการเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาหลายปี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและคริสต์ทศวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

คริโซเบริล

ผลึกคริโซเบริล คริโซเบริล (Chrysoberyl) อยู่ในกลุ่มแร่ออกไซด์ มีโลหะอลูมีเนียมและเบริลเลี่ยมเป็นส่วนประกอบ มักพบในรูปผลึกแบบแปดเหลี่ยม เป็นแท่งแบนรุปหเหลี่ยม มีความแข็งเป็น 8.5 โมลส์ มีความวาวแบบแก้ว คริโซเบริลปกติมีสีเหลืองอมเขียว อมเทา และอมน้ำตาล คริโซเบริลสีเหลืองทอง (Golden chrysoberyl) พลอยชนิดนี้ถือว่าเป็นคริโซเบริลอย่างแท้จริง มีลักษณะตรงตามความหมายของคริโซเบริล ซึ่งหลายถึงพลอยที่มีสีเหลืองทอง พลอยมักมีความดปร่งใส่ มีคุณภาพและราคาสูง พบที่บราซิล ซีลอน และมาดากัสก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและคริโซเบริล · ดูเพิ่มเติม »

ครุฑ

รุฑยุดนาคปูนปั้นปิดทอง ประดับรอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครุฑ (गरुड) เป็นสัตว์กึ่งเทพในปกรณัมอินเดียและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์ มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคและทะเลาะกันจนเป็นศัตรู นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์ปุราณะที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าพญาครุฑ ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ" ครุฑเป็นสัตว์ใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ ครุฑพอจะแบ่งได้ 5 ประเภทคือ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและครุฑ · ดูเพิ่มเติม »

ความสุข

วามสุขมักแสดงออกผ่านรอยยิ้ม ความสุข หรือ สุข พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและความสุข · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

ความเครียด (ชีววิทยา)

วามเครียด ในความหมายทางจิตวิทยาและชีววิทยา เป็นคำยืมจากวิชาฟิสิกส์และวิศวกรรม ใช้ในบริบททางชีววิทยาครั้งแรกในคริสต์ทศวรรษ 1930 ซึ่งในทศวรรษหลังได้กลายมาเป็นคำใช้ทั่วไปในการสนทนา ความเครียดหมายความถึงผลสืบเนื่องจากการที่สิ่งมีชีวิต (ทั้งมนุษย์และสัตว์อื่น) ไม่สามารถตอบสนองอย่างพอเหมาะกับความต้องการทางจิต อารมณ์หรือกายได้อย่างพอเหมาะ ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือสมมติขึ้น สัญญาณของความเครียดอาจเกี่ยวเนื่องกับการรู้ทางอารมณ์ ทางกาย หรือทางพฤติกรรม สัญญาณอื่นมีตั้งแต่การตัดสินใจที่เลว ทัศนคติแง่ลบทั่วไป การวิตกกังวลเกินไป อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย ภาวะกายใจไม่สงบ การไม่สามารถพักผ่อนได้ ความรู้สึกโดดเดี่ยว การปลีกตัวหรือภาวะซึมเศร้า การปวดและความเจ็บปวด ท้องร่วงหรือท้องผูก อาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ เจ็บที่หน้าอก หัวใจเต้นเร็ว กินมากเกินหรือไม่พอ นอนมากเกินหรือไม่พอ การหลีกหนีสังคม การผลัดวันประกันพรุ่งหรือปฏิเสธความรับผิดชอบ การเพิ่มปริมาณบริโภคแอลกอฮอล์ นิโคตินหรือยาเสพติด และพฤติกรรมทางประสาท อย่างการกัดเล็บและการเจ็บที่คอ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและความเครียด (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

ความเป็นญาติ

ตารางแสดงลำดับความสัมพันธ์ของญาติ ญาติ เป็นความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างบุคคลที่มีบรรพบุรุษเดียวกัน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและความเป็นญาติ · ดูเพิ่มเติม »

คำกริยา

ำกริยา คือคำที่ใช้บ่งบอกถึงการกระทำ การปรากฏ หรือสถานะของสิ่งที่กล่าวถึง คำกริยาอาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาษา อันมีองค์ประกอบจากกาล การณ์ลักษณะ มาลา วาจก หรือรวมทั้งบุรุษ เพศ และพจน์ของสิ่งที่กล่าวถึงด้ว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและคำกริยา · ดูเพิ่มเติม »

คำสมาส

ำสมาส เป็นคำที่เกิดจากการรวมคำสองคำซึ่งต่างก็เป็นคำบาลีหรือสันสกฤตเข้าเป็นคำเดียวกัน โดยการนำมาเรียงต่อกัน ไม่ได้มีการดัดแปลงรูปอักษร มีการออกเสียง อะ อิ อุ ระหว่างคำ เช่น ประวัติ+ศาสตร์ → ประวัติศาสตร์ ฆาตกรรม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและคำสมาส · ดูเพิ่มเติม »

คุกกี้

กกี้อีกประเภท คุกกี้ คือขนมอบชิ้นเล็ก ๆ รูปร่างแบน ซึ่งทำจากแป้งสาลี คำว่าคุกกี้มีที่มาจากคำในภาษาดัตช์ koekje ซึ่งหมายถึง "เค้กชิ้นเล็ก ๆ" แรกเริ่มเดิมทีนั้น คุกกี้ทำโดยการแบ่งแป้งขนมเค้กที่ผสมแล้วออกมาส่วนหนึ่ง จากนั้นแบ่งออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำเข้าเตาอบ เพื่อทดสอบอุณหภูมิที่จะใช้อบขนมเค้ก คำว่า "คุกกี้" (cookie) ใช้กันในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ในขณะที่ในสหราชอาณาจักรจะเรียกขนมแบบเดียวกันนี้ว่า "บิสกิต" (biscuit).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและคุกกี้ · ดูเพิ่มเติม »

คทา

thumb คทา (แบบบริติช: Sceptre, แบบอเมริกัน: Scepter) คือกระบองที่ทำมาจากไม้หรือโลหะ เช่น เงิน หรือ ทอง มักประดับประดาด้วยเพชรพลอย มีลักษณะสั้นบ้างยาวบ้างแล้วแต่การออกแบบและใช้งาน มีที่มาจากกระบองที่ใช้เป็นอาวุธในสงคราม จากตำนานเทพปกรณัมของกรีก แต่เดิมคทาเป็นของเทพอพอลโล คทาถูกใช้โดยกษัตริย์มาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ ในยุคกลางคทาถูกใช้โดยกษัตริย์สื่อถึงอำนาจ เป็นหนึ่งในเครื่องทรงอันประกอบด้วย มงกุฎ คทา กระบี่ สายสะพาย เหรียญตรา เสื้อคลุมหรือผ้าคลุมนิยมปักเป็นลวดลาย คทาเป็นเครื่อประดับยศของทหารยศจอมพลด้วย และบางครั้งก็ถูกใช้โดยนักบว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและคทา · ดูเพิ่มเติม »

คณบดี

ณบดี หมายถึง หัวหน้าคณะวิชาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันอื่นที่มีสถานะเทียบเท่ากัน มีความหมายตามตัวอักษรว่าผู้เป็นใหญ่ในคณะ โดยปรกติแล้ว กฎหมายไทยจะบัญญัติให้มีคณบดีคนหนึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของคณะวิชาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือสถาบันอื่นที่มีสถานะเทียบเท่ากัน โดยจะให้มีรองคณบดีเป็นผู้ช่วยปฏิบัติการด้วยก็ได้ อนึ่ง คณบดีย่อมเป็นผู้แทนในกิจการทั่วไปของคณะ และรองคณบดีมีอำนาจหน้าที่ตามที่คณบดีมอบหมาย คุณสมบัติทั่วไปของคณบดี ได้แก่ (1) ต้องได้รับปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่งหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง และ (2) ได้ทำการสอนมาแล้วรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง ส่วนของรองคณบดีนั้น ได้แก่ (1) ต้องได้ทำการสอนมาแล้วรวมเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปีในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาชั้นสูงอื่นที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง หรือ (2) เป็นข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี คณบดี โดยปรกติมาจากการเลือกตั้งโดยคณาจารย์ในคณะนั้น ๆ จากผู้สมัครเข้ารับคัดเลือกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภามหาวิทยาลัยนั้นกำหนด เมื่อผ่านการเลือกตั้งแล้วจะได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัย ส่วนการถอดถอนคณบดีเป็นอำนาจของสภามหาวิทยาลัย การแต่งตั้งและถอนถอนรองคณบดีนั้นเป็นอำนาจของอธิการบดีซึ่งกระทำตามคำแนะนำของคณบดี กฎหมายมักกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หัวหน้าแผนกอิสระ ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการศูนย์ หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มเวลา และจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวเกินหนึ่งตำแหน่งในขณะเดียวกันไม่ได้ แต่สามารถรักษาการแทนกันโดยไม่เกินเวลาตามที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ อนึ่ง คณบดียังเป็นชื่อหนึ่งของพระพิฆเนศอีกด้ว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและคณบดี · ดูเพิ่มเติม »

ค้อน

้อน คือเครื่องมือสำหรับตอกหรือทุบบนวัตถุอื่น สำหรับการใช้งานเช่น การตอกตะปู การจัดชิ้นส่วนให้เข้ารูป และการทุบทลายวัตถุ ค้อนอาจได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะทาง และมีรูปร่างกับโครงสร้างที่หลากหลาย แต่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมือนกันคือด้ามจับและหัวค้อน ซึ่งน้ำหนักจะค่อนไปทางหัวค้อนมากกว่า แรงที่กระทบเป้าหมายจะมากเท่าใด ขึ้นอยู่กับมวลของค้อนและความเร่งของการตอก ดังนั้นเมื่อค้อนยิ่งหนักมากและหวดด้วยความเร่งมาก แรงที่ได้จากค้อนยิ่งมากตามไปด้ว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและค้อน · ดูเพิ่มเติม »

ฆราวาส

ราวาส (อ่านว่า คะราวาด) นัยแรกแปลว่า การอยู่ครองเรือน, การอยู่ในเรือน, การเป็นอยู่แบบชาวบ้าน เช่น "ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง...." ฆราวาส นัยที่สองแปลว่า ผู้ครองเรือน, ผู้อยู่ในเรือน ได้แก่ชาวบ้านทั่วไปที่มิใช่นักบวช เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า คฤหัสถ์ เช่น "ฆราวาสธรรมเป็นธรรมสำหรับผู้ครองเรือนจะพึงประพฤติปฏิบัติ" "เมื่อเรายังเป็นฆราวาสอยู่ ได้ตกแต่งร่างกายนุ่งห่มเสื้อผ้าอันงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยจุรณจันทน....." ฆราวาส มักพูดหรืออ่านเพี้ยนไปว่า ฆราวาส (คาระวาด).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและฆราวาส · ดูเพิ่มเติม »

งบดุล

งบดุล เป็นงบการเงินแสดงฐานะของกิจการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี (วันสิ้นงวดบัญชี) โดยจัดทำขึ้นทุกๆ รอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น 3 เดือน, 6 เดือน, 1 ปี งบดุลแสดงความสัมพันธ์ของทรัพย์สิน หนี้สินและส่วนของเจ้าของ สมการบัญชี (Accounting Equation) สินทรั.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและงบดุล · ดูเพิ่มเติม »

งูสวัด

รคงูสวัด เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus) เป็นคนละโรคกับ โรคเริม คนที่เป็นโรคงูสวัดจะต้องเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน เมื่อภูมิต้านทานอ่อนแอลงจึงกลายเป็นโรคงูสวัด มักจะเป็นผื่นตามแนว dermatome (แนวเส้นประสาทของผิวหนัง) และมักจะปวดมาก โรคนี้ไม่ติดต่อระหว่างคนสู่คน แต่การได้รับไวรัสที่พบในตุ่มสามารถก่อโรคสุกใสในผู้ที่ไม่เคยเป็นได้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและงูสวัด · ดูเพิ่มเติม »

ตรรกศาสตร์

ตรรกศาสตร์ (logic - มีรากศัพท์จากภาษากรีกคือ λόγος, logos) โดยทั่วไปประกอบด้วยการศึกษารูปแบบของข้อโต้แย้งอย่างเป็นระบบ ข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผลคือข้อโต้แย้งที่มีความสัมพันธ์ของการสนับสนุนเชิงตรรกะที่เฉพาะเจาะจงระหว่างข้อสมมุติพื้นฐานของข้อโต้แย้งและข้อสรุป ตรรกศาสตร์เป็นการศึกษาเชิงปรัชญาว่าด้วยการให้เหตุผล โดยมักจะเป็นส่วนสำคัญของวิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ รวมถึงภาษาศาสตร์ ตรรกศาสตร์เป็นการตรวจสอบข้อโต้แย้งที่สมเหตุสมผล (valid argument) หรือการให้เหตุผลแบบผิดๆ (fallacies) ตรรกศาสตร์ เป็นการศึกษาที่มีมานานโดยมนุษยชาติที่เจริญแล้ว เช่น กรีก จีน หรืออินเดีย และถูกยกขึ้นเป็นสาขาวิชาหนึ่งโดย อริสโตเติล.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและตรรกศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ตักบาตรเทโว

ตักบาตรเทโว ตักบาตรเทโว หมายถึงการทำบุญตักบาตร ปรารภเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ในวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) คำว่า เทโว เรียกกร่อนมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก ความเดิมมีว่า ในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้ พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา ที่ได้กำเนิดเป็นเทพบุตรอยู่ในชั้นดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ 4) โดยลงมาฟังธรรมที่ชั้นดาวดึงส์ (สวรรค์ชั้นที่ 2) จนบรรลุโสดาปัตติผล (สาเหตุที่พระศาสดาไม่เสด็จไปแสดงธรรมในชั้นดุสิต  เพราะเทวดาที่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ไม่สามารถขึ้นไปในชั้นดุสิตได้ ด้วยศักดานุภาพที่น้อยกว่า เพื่อให้โอกาสฟังธรรมแก่เทวดาเหล่านั้น)  ครั้นถึงวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) จึงเสด็จลงจากเทวโลกที่เมืองสังกัสสนครอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ 14 เรื่องยมกปาฏิหาริย์ เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จากhttp://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและตักบาตรเทโว · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและตา · ดูเพิ่มเติม »

ตาราง

ตัวอย่างตารางแสดงผลข้อมูล ตาราง เป็นทั้งรูปแบบการแสดงข้อมูลเพื่อใช้ในการสื่อสาร และการจัดเรียงข้อมูล มีปรากฏการใช้งานทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์ การเขียนด้วยมือ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ และในสื่อหลายแห่ง รูปแบบของตารางมีความหลากหลายทั้งทางด้านโครงสร้าง โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญของตารางคือ "แถว" (มีการเรียกว่า สดมภ์) และ "หลัก" หมวดหมู่:อินโฟกราฟิกส์.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและตาราง · ดูเพิ่มเติม »

ตานขโมย

ตานขโมย เป็นกล้วยไม้ในสกุลตานขโมย ดอกสีเหลือง ดอกช่อแบบแยกแขนงที่ปลายยอด ก้านช่อดอกสีเขียว ตัดกับสีของกลีบดอกชัดเจน ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ในประเทศไทย พบที่ นครราชสีมา ชัยภูมิและพิษณุโลก หมวดหมู่:สกุลตานขโมย.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและตานขโมย · ดูเพิ่มเติม »

ซาลาเปา

ซาลาเปา ซาลาเปา (包子, เปาจื่อ; 燒包 ความหมาย "ห่อเผา") พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีปั้นเป็นลูกกลม ข้างในใส่ไส้ มีทั้งไส้หวานและไส้เค็ม" ซาลาเปาเป็นอาหารจีนชนิดหนึ่งทำมาจากแป้งสาลีและยีสต์ และนำมาผ่านขบวนการนึ่ง ซาลาเปาจะมีไส้อยู่ภายในโดยอาจจะเป็นเนื้อหรือผัก ซาลาเปาที่นิยมนำมารับประทานได้แก่ ซาลาเปาไส้หมู และ ซาลาเปาไส้ครีม สำหรับอาหารที่มีลักษณะคล้ายซาลาเปา ที่ไม่มีไส้จะเรียกว่า หมั่นโถว ซาลาเปาเชื่อว่าถือกำเนิดขึ้นมาในยุคราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960–1279) ซาลาเปาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในชุดอาหารติ่มซำในวัฒนธรรมจีน ซาลาเปาสามารถนำมารับประทานได้ในทุกมื้ออาหาร ที่ฟิลิปปินส์ก็นิยมรับประทานซาลาเปาเช่นเดียวกัน โดยเรียกว่า "ซัวเปา" (Siopao).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและซาลาเปา · ดูเพิ่มเติม »

ซีเกมส์

ซีเกมส์ (South-East Asian Games; ชื่อย่อ: SEA Games) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุกสองปี (ปีเว้นปี) ดำเนินการแข่งขันโดยสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South-East Asian Games Federation; SEAGF) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee; IOC) และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia; OCA).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและซีเกมส์ · ดูเพิ่มเติม »

ซีเมนต์

ซีเมนต์ ซีเมนต์ หรือ ปูนซีเมนต์ (cement) เป็นวัสดุผสานสำหรับผลิตคอนกรีต มีส่วนผสมหลักคือ หินปูนและดินเหนียว และมีผสมอื่นเช่น ซิลิก้า อลูมิน่า สินแร่เหล็ก ยิปซั่ม และสารเพิ่มพิเศษอื่น ๆ ปูนซีเมนต์ มีการค้นพบว่ามีการใช้งานในสมัยมาซิโดเนียและโรมัน และได้หายไปจนกระทั่งในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมได้มีการคิดค้นขึ้นมาจากหลายคน จนกระทั่งผลงานของแอสป์ดินได้มีการจดสิทธิบัตรของซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เกิดจากการค้นคว้า ของ โยเซฟ แอสป์ดิน ชาวอังกฤษ ช่วงเวลากว่า 13 ปี พ.ศ. 2354 ถึง พ.ศ. 2367 โดยทดลองเอาหินปูนผสมกับดินเหนียวแล้วไปเผาก่อนนำมาบด เมื่อจะใช้งานก็นำมาผสมทราย กรวดและน้ำ โดยเขาตั้งชื่อว่า ปอตแลนด์ซีเมนต์ เพราะว่าสีเหมือนกับหินที่เกาะปอร์ตแลนด์ ประเทศอังกฤษ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและซีเมนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทิน

ปฏิทินโบราณของฮินดู ปฏิทิน คือระบบที่ใช้ในการเรียกชื่อช่วงระยะเวลา เช่น วัน เป็นต้น วันจะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่วัตถุทางดาราศาสตร์ เราสามารถแสดงปฏิทินได้ในหลายรูปแบบ ส่วนมากมักเป็นกระดาษ เช่น แบบฉีก แบบแขวน แบบตั้งโต๊ะ เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและปฏิทิน · ดูเพิ่มเติม »

ปรมาณู

ปรมาณูเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ที่สอนกันในพระพุทธศาสนา ในพระพุทธศาสนาอธิบายด้วยการแยกจากเม็ดข้าวเปลือกให้เล็กลงๆ ไปเรื่อยๆ จนถึงปรมาณู ซึ่งปรมาณูในทางพระพุทธศาสนามีองค์ประกอบ ๒ อย่างคือ วิชชุรูป ที่หมุนรอบ มูลรูปด้วยกำลังแห่งอว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและปรมาณู · ดูเพิ่มเติม »

ปรวิสัย

ปรวิสัย, ปรนัย, วัตถุวิสัย หรือ ภววิสัย (objectivity) คือสิ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง เงื่อนไขที่เป็นความจริง โดยไม่ขึ้นอยู่กับจิตใจ นั่นคือผลของการตัดสินใด ๆ จะไม่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นและความรู้สึก ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามปรวิสัยมักจะถูกค้นพบมากกว่าที่จะถูกสร้างขึ้นมา ในทางปรัชญา สิ่งที่เป็นปรวิสัยจะเป็นจริงเสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในเวลาใด หรือกับบุคคลใด มีความหมายตรงข้ามกับอัตวิสัย ข้อเท็จจริงที่เป็นอัตวิสัยจะเป็นปรวิสัยก็ต่อเมื่อ สิ่งนั้นเป็นข้อเท็จจริงบนเงื่อนไขเฉพาะอย่าง ในเวลาเฉพาะ ในสถานที่เฉพาะ หรือกับบุคคลเฉ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและปรวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

ปรอท

ปรอท (Mercury; Hydragyrum) เป็นธาตุเคมีสัญลักษณ์ Hg และเลขอะตอมเท่ากับ 80 รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ควิกซิลเวอร์ (quicksilver) และมีชื่อเดิมคือ ไฮดราเจอรัม (hydrargyrum) ปรอทเป็นโลหะหนักสีเงินในบล็อก-d เป็นธาตุโลหะชนิดเดียวที่เป็นของเหลวในที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน ธาตุอื่นอีกธาตุหนึ่งที่เป็นของเหลวภายใต้สภาวะเช่นนี้คือ โบรมีน แม้ว่าโลหะอย่างซีเซียม แกลเลียม และรูบิเดียมจะละลายที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ปรอทพบได้ทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในรูปซินนาบาร์ (เมอร์คิวริกซัลไฟด์) เมอร์คิวริกซัลไฟด์บริสุทธิ์เป็นผงสีแดงชาด ได้จากปฏิกิริยาของปรอท (เกิดจากรีดักชันจากซินนาบาร์) กับกำมะถัน หากสัมผัส สูดดมไอ หรือทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อนปรอทที่ละลายน้ำ (เช่น เมอร์คิวริกคลอไรด์ หรือเมธิลเมอร์คิวรี) อาจเกิดเป็นพิษได้ ปรอทมักใช้ประโยชน์ในเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ มาโนมิเตอร์ สฟิกโมมาโนมิเตอร์ โฟลตวาล์ว สวิตช์ปรอท ปรอทรีเลย์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ และอุปกรณ์อื่น ๆ แม้ว่ายังมีประเด็นเรื่องพิษที่อาจทำให้เทอร์โมมิเตอร์และสฟิกโมมาโนมิเตอร์ไม่ถูกนำมาใช้อีก แต่จะใช้แอลกอฮอล์ หรือแก้วที่เติมกาลินสแตน หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเทอร์มิสเตอร์ หรืออินฟราเรดแทน เช่นเดียวกัน สฟิกโมมาโนมิเตอร์ถูกแทนด้วยเกจความดันเชิงกลและเกจรับความตึงอิเล็กทรอนิกส์ ปรอทยังคงมีใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และสารอะมัลกัมสำหรับอุดฟันในบางท้องที่ ปรอทนำมาใช้ผลิตแสงสว่าง กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านไอปรอทในหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์จะสร้างแสงอัลตราไวโอเลตคลื่นสั้น ก่อให้เกิดฟอสเฟอร์ ทำให้หลอดเรืองแสง และเกิดเป็นแสงสว่างขึ้นม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและปรอท · ดูเพิ่มเติม »

ประสบการณ์

ประสบการณ์ หมายถึง ประสบการณ์ หมายถึง ความจัดเจนที่เกิดจากการกระทำหรือได้พบเห็นมา และประสบการณ์ก็เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในการเรียนรู้ทุก ๆ ด้าน ประสบการณ์ที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ศิลปะมีอยู่ 2 ลักษณะ ดังนี้ 1) ประสบการณ์ตรง เป็นประสบการณ์ที่เราได้ปะทะหรือสัมผัสด้วยตัวเองได้พบเอง กระทำเอง ได้ยินได้ฟังเอง 2) ประสบการณ์รอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ประสบการณ์ทางอ้อม" เป็นประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดหรือรับรู้มาอีกทอดหนึ่ง หมวดหมู่:ปรัชญา.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและประสบการณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ปรัศนี

ปรัศนี หรือ เครื่องหมายคำถาม หรือ เครื่องหมายสงสัย (question mark) เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะตล้ายตะขอหันทางซ้ายและมีจุดอยู่ข้างล่าง มีการใช้ดังนี้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและปรัศนี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไน

ปลาไน หรือ ปลาคาร์ปธรรมดา (carp, common carp) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyprinus carpio อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่เชื่อว่าเป็นปลาที่มนุษย์เลี้ยงเป็นชนิดแรกของโลกเพื่อเป็นอาหาร โดยเลี้ยงในประเทศจีนเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว โดยเริ่มพร้อมกับปลาทอง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและปลาไน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเหล็กใน

ทความนี้หมายถึงปลาน้ำจืดขนาดเล็ก สำหรับเหล็กในของแมลงหรือแมง ดูที่: เหล็กใน ปลาเหล็กใน หรือ ปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาเหล็กใน (Indostomidae) มีรูปร่างคล้ายปลาจิ้มฟันจระเข้แคระ ซึ่งอดีตเคยรวมเป็นอันดับเดียวกัน แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก หัวและปากสั้นกว่า ตาโต หางเรียวเล็ก ครีบหลังเป็นก้านแข็งสั้น ๆ ที่ตอนหน้าของลำตัว และเป็นครีบอ่อนที่ตอนกลาง ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้นเล็ก ครีบหางเป็นรูปพัด ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงคล้ำ และมีลายประสีคล้ำ มีขนาดลำตัวเพียง 2-3 เซนติเมตร เท่านั้นเอง พบในป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส และมีรายงานว่าพบที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ด้วย กินแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร วางไข่ติดกับพืชน้ำ โดยตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่ เป็นปลาที่พบน้อยในธรรมชาติ พบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเลี้ยงให้รอดได้ในตู้ไม้น้ำ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและปลาเหล็กใน · ดูเพิ่มเติม »

ปั๊ม

ปั๊ม (pump) เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษที่ไม่ถูกต้องตามหลัก แต่นิยมใช้กันมานานแล้ว สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและปั๊ม · ดูเพิ่มเติม »

ปาติโมกข์

ระสงฆ์สวดปาติโมกข์ในอุโบสถ ปาติโมกข์ หมายถึง คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ 227 ข้อ คัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา มีพุทธานุญาต ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า สงฆ์ทำอุโบสถ บทปาติโมกข์เหล่านี้ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก หมวดสุตตวิภังค์ มีพุทธานุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและปาติโมกข์ · ดูเพิ่มเติม »

นกพิราบ

thumb นกพิราบ เป็นนกในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) โดยปกติคำว่า "นกพิราบ" จะหมายถึงนกพิราบเลี้ยง (รวมถึงนกพิราบแฟนซีด้วย) ส่วนนกพิราบนอกเหนือจากนี้จะเรียกว่า "นกพิราบป่า" นกพิราบป่ามีขนสีเทาอ่อน มีแถบสีดำสองแถบบนปีกแต่ละข้าง แต่ทั้งนกป่าและนกเลี้ยงนั้นมีความหลากหลายของสีและรูปแบบของขนเป็นอย่างมาก มีความแตกต่างระหว่างเพศเล็กน้อย นกชนิดนี้มักมีคู่ครองตัวเดียว มีลูกครั้งละ 2 ตัว พ่อและแม่ช่วยกันเลี้ยงดู โดยที่เมื่อจับคู่กันแล้วจะไม่แยกจากกันเลยตลอดชีวิต แม้ว่าคู่จะตายไปแล้ว ซึ่งนกพิราบป่านั้นเป็นที่รวมของเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ที่ติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ อาทิ โรคสมองอักเสบจากเชื้อรา, ปอดอักเสบ, ท้องเสีย, เครียด หรือแม้กระทั่งหมัดจากตัวนก นกพิราบมีถิ่นอาศัยในสิ่งแวดล้อมเปิดและกึ่งเปิดในพื้นที่เกษตรกรรมและในเมือง หน้าผาและขอบหินถูกใช้เป็นที่ทำรังวางไข่ของนกในป่า นกพิราบมีถิ่นกำเนิดในยุโรป แอฟริกาเหนือ และทางตะวันตกของเอเชีย ก่อนที่จะแพร่กระจายไปตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เพราะเป็นนกที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะในเมืองได้ดีมาก คาดว่ามีประชากรนกในธรรมชาติประมาณ 17 - 28 ล้านตัวในยุโรป ปัจจุบันนกพิราบเป็นนกที่พบได้ในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา นกพิราบ เป็นนกที่มนุษย์คุ้นเคยเป็นอย่างดี ในสมัยโบราณจะใช้ในการสื่อสาร เนื่องจากเป็นนกที่มีประสาทสัมผัสเป็นอย่างดีในการที่จะหาทางกลับมาสู่ถิ่นฐานที่จากมา แม้ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหนก็ตามด้วยการใช้สนามแม่เหล็กโลกแบบเดียวกับเต่าทะเล อีกทั้งยังใช้แสงแดดและจมูกในการดมกลิ่นอีกด้วย อีกทั้ง ยังนิยมเลี้ยงกันเพื่อการบินแข่งขันกันด้วย และเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อบริโภคเนื้อ และมีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีลักษณะสวยจากธรรมชาติเพื่อการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม นอกจากนี้แล้ว นกพิราบยังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในทางสากลหมายถึง "สันติภาพ" โดยมักใช้รูปนกพิราบคาบช่อมะกอก คำว่า "พิราบ" ในภาษาไทยนั้น มาจากคำว่า "วิราว", "พิราว" หรือ "พิราพ" ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า "เสียงร้อง".

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและนกพิราบ · ดูเพิ่มเติม »

นกปรอด

นกปรอด เป็นวงศ์ของนกจับคอนขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มนกร้องเพลง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pycnonotidae เป็นนกขนาดเล็ก มีสีสันต่าง ๆ กันไปตามแต่ละชนิด และสกุล เป็นนกที่ร้องได้เพราะมาก กินผลไม้และแมลงเป็นอาหาร พบได้ในหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นพัน ๆ เมตร จนถึงที่ราบลุ่ม หรือในชุมชนเมืองและตามสวนสาธารณะหรือสวนหลังบ้าน เหตุที่ได้ชื่อว่า "ปรอด" นั้นมาจากเสียงร้อง ที่มักเป็นเสียง "กรอด-กรอด" ซึ่งบางครั้งอาจเรียกเพี้ยนเป็น "นกกรอด", "นกกระหรอด" หรือ "นกกะหรอด" ก็ได้ ขณะในชื่อภาษาอังกฤษที่ว่า "ฺBulbul" นั้นมาจากคำว่า بلبل (bolbol) ในภาษาเปอร์เซีย และคำว่า بُلْبُل ในภาษาอาหรับ หมายถึง "นกไนติ้งเกล" ซึ่งทั่วโลกมี 137 ชนิด ใน 21 สกุล (ดูในตาราง ขณะที่บางสกุลอาจจะซ้ำซ้อนกับอีกสกุล) ในประเทศไทย พบอยู่ 36 ชนิด 8 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและนกปรอด · ดูเพิ่มเติม »

นวัตกรรม

รูปปั้น เดอะ สปิริต ออฟ อินโนเวชัน เป็นรูปปั้นเชิงสัญลักษณ์ สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของนวัตกรรม ตั้งอยู่ที่ ดิ อเมริกัน แอดเวนเจอร์ นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและนวัตกรรม · ดูเพิ่มเติม »

นอต

นอต (knot) เป็นหน่วยวัดความเร็วภาคพื้นดิน ที่ใช้ในวงการเดินเรือและการบินทั่วโลก มีค่าเท่ากับ 1 ไมล์ทะเล/ชม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและนอต · ดูเพิ่มเติม »

นักบวช

นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้สละชีวิตฆราวาสเข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

นาฏกรรม

นาฏกรรม (drama) เป็นงานวรรณศิลป์ประเภทหนึ่งที่เน้นในด้านการแสดง คำว่า "drama" มาจากคำในภาษากรีกว่า "δράμα" แปลว่า "การกระทำ".

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

นาที

นาที อักษรย่อ น. (Minute) สมัยก่อนใช้คำว่า นาที เป็นหน่วยวัดเวลา โดยหนึ่งหน่วยเท่ากับ ของชั่วโมง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและนาที · ดูเพิ่มเติม »

นิมิต

ำสำคัญ "นิมิต" แปลว่า เครื่องหม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและนิมิต · ดูเพิ่มเติม »

นิตยสาร

นิตยสาร (magazine) คือสิ่งพิมพ์รายคาบที่ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มีเนื้อหาหลากหลาย มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ มีการหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไป ผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้ คำว่า "นิตยสาร" มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร (เนื้อหา) คำว่า "นิตยสาร" โดยทั่วไปอาจมีความหมายคาบเกี่ยวกับคำว่า วารสาร ซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอนเช่นกัน แต่ในทางบรรณารักษศาสตร์ ปัจจุบัน เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้มีนิตยสารในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์ แต่ก็ยังเรียกกันว่า "นิตยสาร" เป็นที่น่าสังเกตว่า นิตยสารบางชื่อ ไม่ได้ใช้คำว่า นิตยสาร แต่ก็น่าจะจัดเป็นนิตยสารได้ เช่น "อนุสาร อ..ท." ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขณะที่สิ่งพิมพ์บางชนิด มีความก่ำกึ่ง ระหว่างหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และนิตยสารรายสัปดาห์ เช่น มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ เนชั่นรายสัปดาห์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหาในเล่ม มีทั้งข่าว วิเคราะห์ข่าว และบันเทิง ในสัดส่วนที่พอๆ กัน โดยทั่วไปนิตยสารมักจะมีลักษณะผ่อนคลาย เล่าเรื่อง ไม่นิยมเขียนในลักษณะตำรา เว้นแต่ละแทรกอยู่เป็นบางส่วนของเล่ม นิตยสารสำหรับคนอ่านเฉพาะกลุ่มฉบับแรกของโลกตีพิมพ์ในกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2274 (สมัยพระเจ้าท้ายสระ) ชื่อ "นิตยสารสุภาพบุรุษ" (The Gentleman's Magazine) เลิกกิจการไปเมื่อ พ.ศ. 2450 นิตยสารสำหรับผู้บริโภคฉบับแรกของโลกคือ "นิตยสารสกอต" (The Scots Magazine) ตีพิมพ์ในสกอตแลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2282 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และยังคงตีพิมพ์อยู่จนถึงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและนิตยสาร · ดูเพิ่มเติม »

นิเวศวิทยา

นิเวศวิทยา (ecology) (มาจากภาษากรีก: οἶκος "บ้าน"; -λογία, "การศึกษาของ") คือ การวิเคราะห์และการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีต่อกันและกัน และปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่มีกับสิ่งแวดล้อมแบบ'อชีวนะ' (abiotic) ของสิ่งมีชีวิตนั้น หัวข้อนักนิเวศวิทยามักสนใจจะรวมถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยา การกระจาย ปริมาณ (ชีวมวล) จำนวน (ประชากร) ของสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับการแข่งขันระหว่างพวกมันภายในและระหว่างระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ที่เป็นองค์ประกอบของระบบนิเวศมีลักษณะเป็นไดนามิค ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ ชุมชนของสิ่งมีชีวิตที่พวกมันสร้างขึ้น และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตของสภาพแวดล้อมของสิ่งมีชีวิต กระบวนการในระบบนิเวศ (ecosystem process) เช่น การผลิตโดยผู้ผลิต (เช่น พืช สาหร่าย) การเกิดขึ้นของดิน (pedogenesis) วัฏจักรสารอาหาร และกิจกรรมการสร้างสภาวะที่เหมาะสม (niche construction) จะเป็นตัวกำหนดการไหลของพลังงานและสสารจากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่งในระบบนิเวศ กระบวนการเหล่านี้จะทำงานอย่างเป็นปกติโดยสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทที่เฉพาะเจาะจงและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้น โดยความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ที่หมายถึงความหลากหลายของสายพันธุ์ ของยีน และของระบบนิเวศ จะช่วยเพิ่มการบริการในระบบนิเวศ (ecosystem services) นิเวศวิทยาเป็นสาขาการศึกษาแบบสหวิทยาการที่รวมชีววิทยาและวิทยาศาสตร์โลก โดยคำว่า "ระบบนิเวศ" ("Ökologie") เกิดขึ้นในปี 1866 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน แอรนส์ แฮกเกล (Ernst Haeckel) (1834-1919) ความคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความคิดในเชิงปรัชญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจริยธรรมและการเมือง นักปรัชญากรีกโบราณเช่น Hippocrates และ อริสโตเติล ได้วางรากฐานของนิเวศวิทยาในการศึกษาเรื่อง 'ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ' (natural history) ของพวกเขา นิเวศวิทยาสมัยใหม่ถูกแปลงให้เป็น 'วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ' ที่เข้มงวดมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดวิวัฒนาการในการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตและ 'การคัดเลือกโดยธรรมชาติ' กลายเป็นเสาหลักของ 'ทฤษฎีทางนิเวศวิทยาสมัยใหม่' คำว่านิเวศวิทยาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับ 'ชีววิทยาวิวัฒนาการ' พันธุศาสตร์ และ พฤฒิกรรมของสัตว์ที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติ (ethology) ความเข้าใจถึงกระบวนการที่ความหลากหลายทางชีวภาพจะสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบนิเวศเป็นหัวข้อที่สำคัญในการศึกษาระบบนิเวศ โดยนักนิเวศวิทยาพยายามที่จะอธิบายดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและนิเวศวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

แฟชั่น

นางแบบบนเวทีเดินแบบในปี ค.ศ. 2014 ภาพ ''ฟอลโลว์อิงเดอะแฟชั่น'' ในปี ค.ศ. 1794 แสดงการแต่งกายผู้หญิงยุคสมัยนั้น รสนิยมการแต่งกายในอดีต แฟชั่นหรือสมัยนิยม (fashion) ราชบัณฑิตยสถาน นิยามว่า "สมัยนิยม, แบบหรือวิธีการที่นิยมกันทั่วไปในชั่วระยะเวลาหนึ่ง." เป็นการยอมรับจนเกิดเป็นค่านิยม มีกระบวนการเกิดภาษาใหม่ ซึ่งเป็นช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและแฟชั่น · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แกงมัสมั่น

แกงมัสมั่น เป็นอาหารประเภทแกงที่ได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู ชาวไทยมุสลิมเรียกแกงชนิดนี้ว่า ซาละหมั่น แกงมัสมั่นแบบมุสลิมไทยออกรสหวานในขณะที่ตำรับดั้งเดิมของชาวมุสลิมออกรสเค็มมันในไทยมีวิธีการทำสองแบบคือ แบบไทย น้ำพริกแกงมี พริกแห้ง ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ลูกผักชี ยี่หร่า ดอกจันทน์ กานพลู ปรุงรสให้หวานนำ เค็มและอมเปรี้ยว เป็นแกงมีน้ำมากเพื่อรับประทานกับข้าว อีกแบบเป็นแบบมุสลิม น้ำขลุกขลิก ใช้จิ้มขนมปังหรือโรตี ในน้ำพริกแกงไม่ใส่ข่า ตะไคร้ ส่วนผสมที่เป็นพริกแห้ง หอม กระเทียม ถั่วลิสงจะทอดก่อน ใส่ผงลูกผักชี ยี่หร่า ใส่มันฝรั่ง บางสูตรใส่มะเขือยาว ก่อนจะมีมันฝรั่งมาปลูกแพร่หลายในไทย จะนิยมใส่มันเทศ สันนิษฐานว่าคำว่า "มัสมั่น" มาจากภาษาเปอร์เซียคำว่า مسلمان (มุสลิมมาน) ซึ่งหมายถึง ชาวมุสลิมในรูปพหูพจน์ จัดเป็นอาหารชนิดแรกที่ปรากฏในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ความว่า แกงมัสมั่นแบบชาวมุสลิมปักษ์ใต้ ต่างจากการปรุงแกงมัสมั่นของชาวไทยภาคกลางคือ จะไม่ทำเป็นน้ำพริกแกงมัสมั่น แต่จะผสมลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น พริกป่นอินเดียและพริกไทยป่นไว้เป็นผงเครื่องแกง จากนั้นจึงนำลงไปผัดกับน้ำมันที่เจียวหัวหอมแล้ว ส่วนแกงมัสมั่นแบบมลายู-ชวา จะใส่กานพลู อบเชย ลงไปผัดกับน้ำมันและหอมแดงจนหอม แล้วจึงใส่พริกป่นอินเดีย ลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น พริกไทยป่นลงไปผัดให้เข้ากัน นอกจากนั้นยังใส่มะพร้าวคั่ว ผงขมิ้น ดอกไม้จีนและหน่อไม้จีนด้วย เว็บไซต์ CNNGO ได้จัดอันดับ 50 เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลกโดยการลงคะแนนเสียงทางเฟซบุ๊ก ปรากฏว่า แกงมัสมั่นได้รับเลือกให้เป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและแกงมัสมั่น · ดูเพิ่มเติม »

แก๊ง

แก๊ง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและแก๊ง · ดูเพิ่มเติม »

แมลงภู่

''แมลงภู่'' เกาะอยู่บนสภาพแวดล้อมในเมืองเขตร้อน เอลเดอร์ แมลงภู่เจาะรูทำรัง แมลงภู่ เป็นสายพันธ์ุผึ้งไม้ซึ่งแพร่หลายในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผึ้งชนิดนี้อาศัยอยู่ในป่าเขตร้อนอบอุ่น และสร้างรังโดยการเจาะเข้าไปในเนื้อไม้ แมลงภู่มักจะสร้างโพรงยาวลึกในไม้ผุ ต้นไม้ที่โค่นล้ม โทรศัพท์ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่คล้าย ๆ กัน แต่ไม่พบว่าสร้างรังอยู่ในต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่ แมลงภู่ถูกบรรยายในทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกโดยนักกีฏวิทยาชาวอังกฤษ ใน..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและแมลงภู่ · ดูเพิ่มเติม »

แมลงวัน

แมลงวัน (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงงุน) เป็น แมลง ใน อันดับ Diptera (di.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและแมลงวัน · ดูเพิ่มเติม »

แมลงสาบ

แมลงสาบ (Cockroachs) เป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Blattodea หรือ Blattaria จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตไม่สมบูรณ์ คือ ไม่เป็นตัวหนอนและดักแด้ ปัจจุบันเป็นแมลงที่พบกระจายไปแล้วทั่วโลก โดยติดไปกับยานพาหนะต่าง ๆ พบได้ถึงขนาดบนเครื่องบินโดยสาร ถือเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะนำโร.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและแมลงสาบ · ดูเพิ่มเติม »

แมลงดา

แมลงดา,ราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและแมลงดา · ดูเพิ่มเติม »

แมงมุม

แมงมุม จัดเป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ขาปล้อง หรืออาร์โธพอด เช่นเดียวกับแมลง, กิ้งกือ, ปู เป็นต้น จัดอยู่ในอันดับ Araneae (/อา-รัค-เน/) มีรูปทรง ลักษณะ และขนาดแตกต่างหลากหลายกันออกไป บางชนิดมีลำตัวที่กว้างมาก บางชนิดมีรูปร่างที่เพรียวยาว ขณะที่บางชนิดกลับมีรูปร่างที่คล้ายกับสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น เช่น มด หรือปู เพื่อใช้ในการพรางตัว โดยแมงมุมนั้นถูกค้นพบแล้วกว่า 40,000 ชนิด และก็ยังมีชนิดใหม่ ๆ ถูกค้นพบเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าจำนวนที่ถูกค้นพบนี้เป็นเพียงแค่ครึ่งเดียวของทั้งหมดที่มีเท่านั้น โดยแมงมุมขนาดเล็กที่สุด พบที่โคลัมเบีย ในทวีปอเมริกาใต้ มีความยาวเพียง 0.4 มิลลิเมตรเท่านั้น และที่ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ แมงมุมกินนกโกไลแอท มีความยาวลำตัว 12–13 เซนติเมตร หรือขนาด 25–33 เซนติเมตรเลยทีเดียว แมงมุมพบได้ในแทบทุกภูมิภาคของโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งในทะเลทรายที่แห้งแล้งและร้อนอบอ้าว หรือในถ้ำลึก หรือภูเขาสูง หรือในน้ำ แต่ทั้งหมดเป็นสัตว์กินเนื้อ แมงมุมกินอาหารจำพวก เพลี้ยอ่อน, ตัวหนอน, ผีเสื้อ, แมลงวัน, ยุง, ปลวก, ด้วง, มด เป็นตัน จึงมีความสำคัญในระบบนิเวศทางการเกษตร และระบบนิเวศทั่วไป โดยส่วนใหญ่เมื่อจะล่าเหยื่อจะสร้างใยเพื่อเป็นรังอาศัย และดักเหยื่อ ในขณะที่บางชนิดไม่สร้างใยก็มี ซึ่งก็จะมีการใช้เส้นใยที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบการอยู่อาศัยของแมงมุมในแต่ละชนิดในพื้นที่นั้น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและแมงมุม · ดูเพิ่มเติม »

แสตมป์

แสตมป์ฝรั่งเศส ที่ใช้ในจักรวรรดิออตโตมัน ช่วงปี พ.ศ. 2445-2463 แสตมป์ หรือ ตราไปรษณียากร (Postage stamp หรือ Stamp) เป็นหลักฐานการชำระค่าบริการไปรษณีย์ มักเป็นกระดาษรูปสี่เหลี่ยมเพื่อติดบนซองจดหมาย แสตมป์ที่มีรูปร่างหรือทำจากวัสดุอื่นก็มีปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง แสตมป์มักพิมพ์ออกเป็นแผ่น ประกอบด้วยแสตมป์หลายดวง ปกติอยู่ระหว่าง 20 ถึง 120 ดวง มีการปรุรู รอบดวงแสตมป์เพื่อเพิ่มความสะดวกในการฉีก รอยฉีกที่ได้เรียกว่า ฟันแสตมป์ ด้านหลังแสตมป์มีกาวเคลือบอยู่ กระดาษที่ใช้พิมพ์มักมีสิ่งพิเศษไว้เพื่อป้องกันการปลอมแปลง เช่น ลายน้ำ (watermark) หรือ ด้ายสี หากติดแสตมป์เพื่อใช้งานบนซองแล้ว ต้องมีการประทับตราทุกครั้ง เพื่อป้องกันการนำกลับมาใช้อีก การสะสมแสตมป์เป็นงานอดิเรกอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและแสตมป์ · ดูเพิ่มเติม »

แท็กซี่

รถแท็กซี่ในซานฟรานซิสโก แท็กซี่ เป็นการโดยสารสาธารณะประเภทหนึ่งสำหรับผู้โดยสารคนเดียว หรือกลุ่มเล็ก ๆ รถแท็กซี่เป็นยานพาหนะไว้สำหรับว่าจ้างโดยผู้ขับจะส่งผู้โดยสารระหว่างที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งตามที่ผู้โดยสารอยากจะไป แท็กซี่ เป็นคำย่อมาจาก แท็กซี่ แค็บ คิดค้นโดยแฮร์รี่ เอ็น อัลเลน นักธุรกิจชาวนิวยอร์กที่นำเข้ารถแท็กซี่มาจากฝรั่งเศส โดยย่อมาจากคำว่า แท็กซี่มิเตอร์ แค็บ อีกที ส่วนคำว่า cab มาจากคำว่า cabriolet คือรถม้าลากจูง และคำว่า taxi เป็นรากศัพท์ภาษาละตินในยุคกลาง ซึ่งมาจาก คำว่า taxa ที่หมายถึง ภาษีหรือการคิดเงิน และคำว่า meter มาจากภาษากรีกคำว่า metron แปลว่า วัดระยะทาง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและแท็กซี่ · ดูเพิ่มเติม »

แคบหมู

ซอสโมเล (Mole) ซึ่งทำจากพริกผสมช็อกโกแลต แคบหมูที่จังหวัดเชียงใหม่ อยู่เคียงกับน้ำพริกหนุ่ม แคบหมูซึ่งขายในสหราชอาณาจักร แคบหมู คือ หนังหมูหรือหนังหมูติดมันทอดให้พองและกรอบ เป็นอาหารที่ปรากฏในทุกภูมิภาคของโลก ในภาษาอังกฤษเรียก pork snack, pork rind, pork scratching หรือ pork crackling ในประเทศไทย แคบหมูมักใช้รับประทานเป็นเครื่องเคียงอาหารอื่น ๆ เช่น น้ำพริก ก๋วยเตี๋ยว น้ำเงี้ยว ฯลฯ หรือเป็นส่วนผสมประกอบอาหารอื่น ๆ เช่น พวกน้ำพริกหรือแกง ถ้าใช้หนังสัตว์อื่น จะเปลี่ยนไปเรียกชื่อตามสัตว์นั้น ๆ เช่น แคบควาย ทำจากหนังกระบือ แต่ถ้าทำจากหนังโค จะเรียก หนังพอง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและแคบหมู · ดูเพิ่มเติม »

โพชฌงค์ 7

งค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโพชฌงค์ 7 · ดูเพิ่มเติม »

โพสพ

ระแม่โพสพ thumb โพสพ บ้างเรียก โพสี ภาษาถิ่นพายัพและอีสานว่า โคสก หรือ เสื้อนา เสื้อไร่ ภาษาไทลื้อว่า ย่าขวัญข้าว ภาษากะเหรี่ยงว่า ภี่บือโหย่ หรือ ผีบือโย ภาษามลายูปัตตานีว่า มะฮียัง (Mak Hiang) เป็นเทพเจ้าแห่งข้าวตามคติความเชื่อของไทย โพสพตามความเชื่อแต่เดิมเป็นเทวสตรี แต่ภายหลังได้มีคติปรากฏเป็นบุรุษเพศคู่กัน มีปลาเป็นพาหนะ นอกจากนี้ยังปรากฎใน โคลงทวาทศมาส ออกนามว่า "พระไพศภ" "พระไพศพ" หรือ "พระไพสพ" และปรากฎอยู่ในพระอายการเบ็ดเสร็จ ในกฎหมายตราสามดวง ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้ชำร.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโพสพ · ดูเพิ่มเติม »

โพทะเล

''Thespesia populnea'' สำหรับอำเภอที่จังหวัดพิจิตร ดูที่: อำเภอโพทะเล โพทะเล (ชื่อสามัญ: Portia Tree) เป็นชนิดของไม้ดอกในตระกูล Malvaceae เป็นต้นไม้ขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม โพทะเล เป็นพืชในสกุลเดียวกับปอทะเลและมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แหล่งอาศัยเป็นแบบเดียวกัน ดอกสีเหลือง บานตอนเช้า แก่แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเช่นกัน แต่ดอกโพทะเลไม่มีวงกลมสีแดงภายในดอกแบบเดียวกับปอทะเล ใบเป็นรูปหัวใจคล้ายใบโพธิ์ ใต้ใบมีขนอ่อนปกคลุมทำให้น้ำระเหยออกจากใบได้ช้า ผลกลม เมื่อแก่เต็มที่เป็นผลแห้ง กลีบเลี้ยงรูปถ้วยติดอยู่ที่ขั้วผล ชื่อสามัญของโพทะเลในภาษาต่างๆ ได้แก่ Indian Tulip Tree, Pacific Rosewood, Seaside Mahoe (ใน ฟลอริดา), เบิฮ์สมุทร (បើស​សមុទ្រ) หรือ เจฺรยสมุทร (ជ្រៃ​សមុទ្រ) (ภาษาเขมร), Surina Suriya (ภาษาสิงหล), เบอบารู หรือ บารู บารู (ภาษามลายู), Milo หรือ Miro (ภาษาในกลุ่มโพลีเนเซียหลายภาษา), Makoi (ภาษาราปานุย), Gangaraavi (ภาษาเตลูกู), ปูวรสุ: பூவரசு (ภาษาทมิฬ), ปูวรสุ: പൂവരശ്‌ (ภาษามาลายาลัม), PakuR (ภาษาเบงกาลี) และ Plaksa (ภาษาสันสกฤต).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโพทะเล · ดูเพิ่มเติม »

โยธวาทิต

วาทิต (military band) หมายถึง กลุ่มผู้เล่นเครื่องดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องเป่าลมไม้ เครื่องเป่าทองเหลือง และเครื่องกระทบ โยธวาทิตแต่เดิมนั้นตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ทางทหารที่เรียกว่า "วงดุริยางค์ทหาร" ปัจจุบัน โยธวาทิตได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนสามารถบรรเลงในงานต่างๆ ได้นอกเหนือจากการบรรเลงในกองทัพ คำว่า "โยธวาทิต" ในภาษาไทยนั้นบัญญัติขึ้นโดยมนตรี ตราโมท.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโยธวาทิต · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โรคฝีดาษ

ฝีดาษตามลำตัวของผู้ป่วย การระบาดของฝีดาษในยุโรป การติดเชื้อฝีดาษของชาวอเมริกันอินเดียนจากชาวยุโรป ฝีดาษ, ไข้ทรพิษ หรือ ไข้หัว (Smallpox) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจาก small poxvirus (Variolar) มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว และมีอาการทั่วไปรุนแรง โรคนี้ระบาดในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถานและเอธิโอเปียเมื่อปี พ.ศ. 2519 สำหรับประเทศไทยมีการบันทึกไว้ว่าระบาดครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2504 องค์การอนามัยโลกได้เลิกฉีดวัคซีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโรคฝีดาษ · ดูเพิ่มเติม »

โรคใหลตาย

รคใหลตาย (sudden unexpected death syndrome (ย่อ: SUDS) หรือ sudden unexpected nocturnal death syndrome (ย่อ: SUNDS)), มักสะกดผิดว่า โรคไหลตาย (ดู ศัพทมูล), เป็น ความตายที่เกิดแก่บุคคล ไม่ว่าวัยรุ่น (adolescent) หรือ ผู้ใหญ่ (adult) อย่างปัจจุบันทันด่วนขณะนอนหลับ และไม่อาจอธิบายสาเหตุแห่งความตายนั้นได้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโรคใหลตาย · ดูเพิ่มเติม »

โรคเกาต์

รคเกาต์ (หรือที่รู้จักกันในนาม โพดากรา เมื่อเกิดกับนิ้วหัวแม่เท้า) เป็นภาวะความเจ็บป่วยที่มักสังเกตได้จากอาการไขข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันซ้ำ ๆ—มีอาการแดง ตึง แสบร้อน บวมที่ข้อต่อ ข้อต่อกระดูกฝ่าเท้า-นิ้วเท้าที่โคนนิ้วหัวแม่เท้ามักได้รับผลกระทบบ่อยที่สุด (ประมาณ 50% ของผู้ป่วย) นอกจากนี้ ยังอาจพบได้ในรูปแบบของก้อนโทไฟ นิ่วในไต หรือ โรคไตจากกรดยูริก โรคนี้เกิดจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง กรดยูริกตกผลึกแล้วมาจับที่ข้อต่อ เส้นเอ็น และ เนื้อเยื่อโดยรอบ การวินิจฉัยทางคลินิกทำได้โดยการตรวจผลึกที่มีลักษณะเฉพาะในน้ำไขข้อ รักษาได้โดยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) สเตอรอยด์ หรือ โคลชิซีน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ หลังจากอาการข้ออักเสบกำเริบเฉียบพลันผ่านไปแล้ว ระดับของกรดยูริกในเลือดมักจะลดลงได้โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และในผู้ที่มีอาการกำเริบบ่อยอาจใช้อัลโลพูรินอลหรือโพรเบเนซิดเพื่อให้การป้องกันในระยะยาว จำนวนผู้ป่วยโรคเกาต์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายสิบปีนี้ โดยมีผลกระทบกับ 1-2% ของชาวตะวันตกในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต จำนวนที่เพิ่มขึ้นนี้เชื่อว่าเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงที่พบมากขึ้นในประชากร ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการเมตาบอลิก อายุขัยที่ยืนยาวขึ้น และ พฤติกรรมการกินอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เดิมนั้นโรคเกาต์เคยได้ชื่อว่าเป็น "โรคของราชา" หรือ "โรคของคนรวย".

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโรคเกาต์ · ดูเพิ่มเติม »

โลกาภิวัตน์

ลกาภิวัตน์ (มักเขียนผิดเป็น โลกาภิวัฒน์) หรือ โลกานุวัตร (globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น" โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆของโลก โลกาภิวัตน์ หมายถึงกระบวนการที่ประชากรของโลกถูกหลอมรวมกลายเป็นสังคมเดี่ยว กระบวนการนี้เกิดจากแรงของอิทธิพลร่วมทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและสังคม-วัฒนธรรมและการเมือง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโลกาภิวัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

โล่

ล่ อาจหมายถึง โล่ และอาวุธปืน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโล่ · ดูเพิ่มเติม »

โศกนาฏกรรม

กนาฏกรรม (Tragedy) คือ วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละคร (drama) ที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น ลิลิตพระลอ, สาวเครือฟ้า, โรเมโอจูเลียต, คู่กรรม โดยความหมายดั้งเดิมของโศกนาฏกรรมในภาษาอังกฤษ คือ Tragedy (/ทรา-จิ-ดี/) มีความหมายถึง วรรณกรรมหรือวรรณคดีสำหรับชนชั้นสูง โดยจะเป็นวรรณกรรมที่ใช้ภาษาชั้นสูงหรือภาษาที่มีความสละสลวย ซึ่งจะตรงกันข้ามกับสุขนาฏกรรม หรือ Comedy ที่หมายถึง วรรณกรรมสำหรับชนชั้นล่างหรือระดับชาวบ้านทั่วไป.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโศกนาฏกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โสฬส

กะแปะโสฬส โสฬส (โส-ลด) เป็นหน่วยเงินของประเทศไทยในสมัยโบราณตั้งแต่กรุงสุโขทัย มีค่าเท่ากับ บาท หรือ เฟื้อง หรือ สลึง คำว่า โสฬส แปลว่า สิบหก เนื่องจากเงินจำนวน 16 โสฬส จะเท่ากับ 1 เฟื้อง จึงทำให้เรียกเช่นนั้น (บาลี: โสฬส sōlasa).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโสฬส · ดูเพิ่มเติม »

โหระพา

หระพา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum basilicum Linn.; วงศ์: LABIATAE; ชื่ออื่น: อิ่มคิมขาว, ฉาน - แม่ฮ่องสอน) เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 - 1 เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยมมีกิ่งอ่อนสีม่วงแดง ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรีกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 6 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจะเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งยาว 7 - 12 เซนติเมตร ใบประดับสีเขียวอมม่วงจะคงอยู่เมื่อเป็นผล กลีบดอกโคยเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 2 ส่วน มีเกสรตัวผู้ 4 อัน มีผลขนาดเล็ก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโหระพา · ดูเพิ่มเติม »

โจรกรรม

รกรรม (ศัพท์ทางศาสนาเรียกว่า ไถยกรรม) หมายถึงการกระทำที่นำเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยเจตนา เพื่อยึดทรัพย์สินนั้นมาเป็นของตน ซึ่งเจ้าของทรัพย์สินไม่ได้อนุญาตหรือยินยอม คำนี้สามารถเรียกแทนอาชญากรรมบางประเภทที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินอาทิ การลักทรัพย์ (ขโมย) การลักทรัพย์ในเคหสถาน (ย่องเบา/ยกเค้า) การลักทรัพย์ในร้านค้า การยักยอก การชิงทรัพย์ (ปล้น) การฉกชิงทรัพย์ (ปล้นสะดม) และการฉ้อโกง ในบางเขตอำนาจศาล "โจรกรรม" (theft) มีความหมายเหมือนกับ "การลักทรัพย์" (larceny) โจร หมายถึงผู้ที่กระทำโจรกรรมดังกล่าว ภาษาพูดอาจเรียกว่า ผู้ร้าย โบราณเรียก ฎางการ ก็มี ราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโจรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โทรศัพท์

ทรศัพท์ เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารทางไกลด้วยเสียง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโทรศัพท์ · ดูเพิ่มเติม »

โทรทัศน์

อรมนี สมัยปี พ.ศ. 2501 โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) เครื่องรับโทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1925 โดยเป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น โลจี เบร์ด ชาวสกอตแลน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโทรทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

โครงการ

รงการ หมายถึง กระบวนการทำงานที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลายๆกิจกรรม ซึ่งมีการทำโครงการเป็นไปตามลำดับ โดยการทำงานจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่นการผลิตสินค้า หรือ ทำงานบริการ โดยจะมีการกำหนดระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด ในการดำเนินงานโครงการจะต้องมีผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อโครงการ มีหน้าที่ทำการบริหารงาน กิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน เหมาะสมกับเวลา และงบประมาณที่ตั้งไว้ โครงการที่เกี่ยวกับกระบวนการศึกษาค้นคว้า มักจะเรียกว่า โครงงาน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโครงการ · ดูเพิ่มเติม »

โต๊ะ

โต๊ะกินข้าวทำจากไม้ และเก้าอี้ โต๊ะ เป็นเครื่องเรือนที่มีพื้นผิวด้านบนเรียบขนานกับพื้น รองรับน้ำหนักโดยขาโต๊ะ โดยอาจใช้สำหรับวางสิ่งของอย่างเช่นอาหาร โดยความสูงมีความพอเหมาะสำหรับการนั่ง และโดยมากจะใช้คู่กับเก้าอี้ โต๊ะในยุคก่อนหน้านี้ จะแตกต่างจากปัจจุบันซึ่งโต๊ะสมัยใหม่มักไม่มีลิ้นชัก โต๊ะสำหรับมีไว้เขียนและทำงานในออฟฟิสจะเรียก โต๊ะทำงาน (desk) ซึ่งจะมีลิ้นชักอย่างน้อย 1 อันหรือมากกว่านั้นข้างใต้ บางชิ้นส่วนของโต๊ะอาจขยับปรับเปลี่ยนได้ หมวดหมู่:เครื่องเรือน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

โน้ต

น้ต (note) อาจหมายถึง; ดนตรี.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและโน้ต · ดูเพิ่มเติม »

ไฟแช็ก

ฟแช็กขณะกำลังจุดไฟ ไฟแช็ก คืออุปกรณ์จุดไฟแบบพกพาสะดวกชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยช่องบรรจุที่ทำจากพลาสติกหรือโลหะ ใช้บรรจุเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว (มักจะเป็นแนฟทาหรือบิวเทนเหลวภายใต้แรงดัน) เมื่อจุดไฟจะมีกลไกที่ทำให้เกิดประกายไฟ (เสียงดัง แช็ก จึงเรียกว่าไฟแช็ก) และปล่อยเชื้อเพลิงในรูปแบบแก๊สออกมา ทำให้ไฟติดอยู่บนไฟแช็กและยังคงติดอยู่จนกระทั่งดับไฟ ไฟแช็กเป็นอุปกรณ์ที่ให้ความสะดวกต่อผู้ที่นิยมสูบบุหรี่ เนื่องจากสามารถพกพาง่าย จุดได้ง่ายกว่า และใช้ได้มากครั้งกว่าไม้ขีดไฟ แต่อาจทำให้เกิดอันตรายถ้าหากช่องบรรจุเชื้อเพลิงแตกหัก และอาจระเบิดได้ถ้าวางในที่ที่มีความร้อนสูงหรือนำไปเผ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและไฟแช็ก · ดูเพิ่มเติม »

ไฝเมลาโนไซต์

ฝเมลาโนไซต์ หรือ ไฝมีสี เป็นรอยโรคบนผิวหนังมีลักษณะเป็นจุดหรือตุ่มนูน มักมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ประกอบด้วยเซลล์ไฝ (nevus cell) ไฝโดยมากแล้วมักปรากฏขึ้นในอายุช่วง 20 ปีแรก ในขณะที่ทารก 1 ใน 100 คนมีไฝแต่กำเนิด ไฝที่เป็นภายหลังนั้นเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายรูปแบบหนึ่ง ในขณะที่ไฝที่มีมาแต่กำเนิดจัดเป็นรูปพิการชนิดเล็กน้อยหรือเป็นก้อนเนื้อวิรูปและอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งไฝ (melanoma) ไฝอาจเกิดใต้ชั้นหนังแท้หรือเป็นเม็ดสีที่อยู่บนผิวหนังก็ได้ซึ่งเกิดจากเซลล์ชื่อว่า เมลาโนไซต์ (melanocyte) ยิ่งร่างกายมีความเข้มข้นของเม็ดสีผิวที่เรียกว่าเมลานิน (melanin) มากยิ่งทำให้สีผิวคล้ำมากขึ้น ไฝจัดเป็นรอยโรคผิวหนังกลุ่มที่เรียกว่า ปาน (nevi).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและไฝเมลาโนไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมยราบ

ฝักและเมล็ดของไมยราบ ไมยราบ (อ่านว่า "ไม-ยะ-ราบ") (มาจากภาษาละติน: pudica แปลว่า "อาย ชมดชม้อย เหนียมอาย หรือหดลง") ภาษาอังกฤษ: sensitive plant, sleepy plant หรือ the touch-me-not ก็เรียก เป็นพืชล้มลุก ต้นสีน้ำตาลแดง แผ่ไปตามพื้น ชูยอดขึ้นข้างบน ต้นมีหนามขนาดสั้น ใบประกอบ ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ก้านดอกยาว ฝักยาวเรียวแบน มีขนเหนียวติดมือ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ไมยราบมักถูกปลูกขึ้นตามความอยากรู้อยากเห็นของผู้ปลูก โดยที่ใบประกอบสามารถพับเข้าหากันด้านใน หรือหุบได้ เมื่อถูกสัมผัส หรือเขย่า เพื่อป้องกันตนเองจากภัยคุกคามต่าง ๆ และจะบานออกอีกครั้งเมื่อผ่านไปราวหนึ่งนาที พืชในตระกูลใกล้เคียงกันและมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันได้แก่ ผักกระเฉด ในทางสมุนไพร ไมยราบมีรสจืดเฝื่อน มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ระดูขาว แก้ไตพิการ ต้นแห้งต้มกับน้ำกินแก้อ่อนเพลีย ตานขโมย โรคกระเพาะอาหาร ใช้ทาแก้ผื่นคันและหัด ใบสดตำผสมกับเกลือและพิมเสน ใช้พอกแผลพุพอง รากแห้ง ต้มน้ำแก้ปวดประจำเดือน ปวดศีรษ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและไมยราบ · ดูเพิ่มเติม »

ไมล์

มล์ คือหน่วยมาตรฐานอังกฤษที่ใช้วัดระยะทาง มักย่อว่า mi จากภาษาอังกฤษ mile 1 ไมล์มีค่าเท่ากั.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและไมล์ · ดูเพิ่มเติม »

ไวยากรณ์

วยากรณ์ (Grammar) คือ การศึกษากฎเกณฑ์ของภาษา ซึ่งรวมถึง เสียง คำศัพท์ ประโยค และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น การประสมคำ และการตีความ คำว่าไวยากรณ์ยังหมายถึงคุณลักษณะเชิงนามธรรมของตำราที่นำเสนอกฎเหล่านี้ด้วย สำหรับคำว่า หลักภาษา แม้จะมีความหมายเดียวกันกับคำวำไวยากรณ์ แต่จะใช้เรียกกับภาษาไทยและภาษาไทยใต้เท่านั้น การศึกษาทฤษฎีทางไวยากรณ์เป็นที่สนใจของนักปรัชญา, นักมานุษยวิทยา นักจิตวิทยา และนักวิเคราะห์ทางวรรณกรรมมาหลายศตวรรษ ทุกวันนี้ ไวยากรณ์เป็นสาขาหนึ่งในวิชาภาษาศาสตร์ แต่ยังคงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสาขาอื่นๆ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว พัฒนาการของทฤษฎีไวยากรณ์นั้นมีผลเพียงเล็กน้อยแต่ตัวเนื้อหาของไวยากรณ์ในสถานศึกษาทั่วไป สำหรับคนส่วนใหญ่ มักจะเข้าใจว่าไวยากรณ์หมายถึงกฎที่เราจะต้องทราบ เพื่อจะพูด หรือ เขียนได้อย่างถูกต้อง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและไวยากรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอศกรีม

อศกรีมแบล็กวอลนัต ไอศกรีม (ice cream) หรือภาษาปากว่า ไอติม เป็นของหวานแช่แข็งชนิดหนึ่ง ได้จากการผสมส่วนผสม นำไปผ่านการฆ่าเชื้อ แล้วนั้นนำไปปั่นในที่เย็นจัด เพื่อเติมอากาศเข้าไปพร้อม ๆ กับการลดอุณหภูมิ โดยอาศัยเครื่องปั่นไอศกรีม ไอศกรีมตักโดยทั่วไปจะต้องผ่านขั้นตอนการแช่เยือกแข็งอีกครั้งก่อนนำมาขายหรือรับประทาน ไอศกรีม (อ่านว่า ไอ-สะ-กฺรีม) มาจากคำภาษาอังกฤษว่า ice-cream   พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้เขียนเป็นภาษาไทยว่า ไอศกรีม ซึ่งเป็นคำที่เขียนกันมาแต่เดิม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและไอศกรีม · ดูเพิ่มเติม »

ไข่มุก

มุก เป็นอัญมณี มีสีขาว เงินยวง ชมพูและสีทอง โดยนำมาจากสัตว์จำพวกหอยนางรม อาจจะนับได้ว่าเป็นอัญมณีชนิดเดียวในโลกที่เกิดมาจากสัตว์ ไข่มุกสามารถนำมาทำเป็นเครื่องประดับ หรือนำมาบดในการใช้เป็นเครื่องสำอาง ความเชื่อของไข่มุก เป็นอัญมณีแห่งสายน้ำ เสริมสง่าราศีให้กับเพศหญิงก่อให้เกิดความนุ่มนวล อ่อนหวาน แก้ปัญหาทางด้านอารมณ์ ในปัจจุบันนี้ ประเทศจีน ถือได้ว่าเป็นประเทศที่ติดอันดับต้น ๆ ของการส่งไข่มุกออกสู่ตลาดโลก ไข่มุกที่คุณภาพดีนั้น ควรมีอายุการเลี้ยงอยู่ที่ 8 เดือน ถึง 2 ปี ยิ่งเลี้ยงไว้ได้นาน ความสวยงามแวววาวยิ่งมีมากขึ้น แต่ส่วนมากที่พบในตลาดไข่มุกนั้น จะมีอายุการเลี้ยงอยู่ที่ 2-5 ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย เช่น มลภาวะทางน้ำ อุณหภูมิ และความอุดมสมบูรณ์ของทะเล.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและไข่มุก · ดูเพิ่มเติม »

ไตรยางศ์

ตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและไตรยางศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไต้ฝุ่น

ต้ฝุ่นสามลูกขณะหมุนอยู่เหนือมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตกเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2549 พายุไต้ฝุ่น เป็นพายุหมุนเขตร้อนความเร็วลมสูงสุด ซึ่งก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่าง 180° กับ 100° ตะวันออก ซึ่งภูมิภาคนี้ถูกตั้งชื่อว่า "แอ่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ" สำหรับจุดประสงค์เกี่ยวกับองค์กร มหาสมุทรแปซฟิกตอนเหนือถูกแบ่งออกเป็นสามเขต ได้แก่ ทางตะวันออก (ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงลองติจูด 140° ตะวันตก) ตอนกลาง (140° ตะวันตกถึง 180°) และทางตะวันตก (180° ถึง 100° ตะวันออก) ปรากฏการณ์พายุแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางตะวันออกจะถูกเรียกว่า เฮอร์ริเคน และพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกจะถูกเรียกว่า ไต้ฝุ่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ซึ่งมีหน้าที่พยากรณ์การเกิดพายุหมุนเขตร้อนตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนอื่น ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งอยู่ในโฮโนลูลู (ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น) ฟิลิปปินส์และฮ่องกง ขณะที่ RSMC ตั้งชื่อในแต่ละระบบ ตัวรายชื่อหลักนั้นเป็นความร่วมมือกันระหว่าง 18 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นทุกปี ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ พายุไต้ฝุ่นไม่มีการกำหนดฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เพราะพายุไต้ฝุ่นก่อตัวขึ้นตลอดทั้งปี เช่นเดียวกับพายุหมุนเขตร้อนทั่วไป ปัจจัยที่ทำให้พายุไต้ฝุ่นก่อตัวและมีความเร็วเพิ่มขึ้นนั้นมีหกประการ ได้แก่ อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อุ่นเพียงพอ ความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ระดับความชื้นสัมพัทธ์สูงในชั้นโทรโพสเฟียร์ระดับล่างถึงกลาง แรงโคริโอลิสที่มากพอที่จะสร้างศูนย์ความดันอากาศต่ำ การรบกวนหรือจุดรวมระดับต่ำที่มีอยู่แล้ว และวินเชียร์แนวดิ่งต่ำ พายุไต้ฝุ่นส่วนมากก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายนและเดือนพฤศจิกายน ขณะที่พายุหมุ่นเขตร้อนก่อตัวขึ้นอย่างน้อยก็ระหว่างเดือนธันวาคมและพฤษภาคม โดยเฉลี่ยแล้ว มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้งที่สุดและรุนแรงที่สุดในโลก เช่นเดียวกับแอ่งอื่น ๆ พายุจะถูกนำทางโดยลิ่มความกดอากาศสูงเหนือเขตร้อนไปทางตะวันตกหรือตะวันตกเฉยงเหนือ โดยมีบางลูกที่ย้อนกลับมาใกล้ทางตะวันออกของญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการขึ้นฝั่ง จีนและญี่ปุ่นได้รับผลกระทบน้อยกว่าบ้าง พายุไต้ฝุ่นที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ได้พัดเข้าถล่มจีน ทางตอนใต้ของจีนมีบันทึกผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นที่ยาวนานที่สุด ซึ่งสามารถย้อนหลังไปได้นับพันปีผ่านเอกสารในหอจดหมายเหตุ ไต้หวันเคยประสบกับพายุไต้ฝุ่นที่เปียกที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาในแอ่งพายุหมุนเขตร้อนแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและไต้ฝุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เบรก

นเบรกในมอเตอร์ไซค์ เบรก เป็นอุปกรณ์ที่ยับยั้งการเคลื่อนไหว ตรงกันข้ามกับคลัตช์ ส่วนใหญ่เบรกใช้แรงเสียดทานในการแปลงพลังงานเป็นความร้อน แต่วิธีการอื่น ๆ ของการแปลงพลังงานอาจจะมีการทำงานอย่างอื่น เช่น เบรกใหม่เพื่อแปลงพลังงานจลน์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าซึ่งอาจจะถูกเก็บไว้สำหรับใช้งานในภายหลัง วิธีการอื่นที่แปลงพลังงานจลน์ให้เป็นพลังงานที่อาจจะเกิดขึ้นในรูปแบบที่เก็บไว้เช่นแรงดันอากาศหรือน้ำมันที่มีแรงดัน วิธีการอื่น ๆ การเบรก ถึงแม้ว่าจะมีการแปลงพลังงานจลน์ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่นการถ่ายโอนพลังงานไปตรงมู่เล่ (ล้อหนักสำหรับหมุนถ่วงให้เครื่องยนต์เดินเรียบ).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเบรก · ดูเพิ่มเติม »

เบนซิน

นซิน สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเบนซิน · ดูเพิ่มเติม »

เฟิร์น

ฟิร์น หรือ เฟิน (fern) เป็นหนึ่งในกลุ่มของพืชที่มีราว ๆ 20,000 สปีชีส์ ที่ถูกจำแนกในไฟลัม Pteridophyta หรือ Filicophyta พืชกลุ่มนี้ยังเป็น Polypodiophyta หรือ Polypodiopsida ด้วย เมื่อถือตามส่วนย่อยของพืชมีท่อลำเลียง คำว่า เทอริโดไฟต์ (pteridophyte) ใช้เพื่อกล่าวถึงพืชมีท่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ดทั้งหมด ทำให้มันหมายถึง "เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น" ซึ่งสามารถสร้างความสับสนเมื่อสมาชิกของเฟิร์นในส่วน Pteridophyta บางครั้งอ้างเป็นเทอริโดไฟต์ได้ด้วยเหมือนกัน การศึกษาในเรื่องของเฟิร์นและเทอริโดไฟต์อื่น ๆ เรียกว่า วิทยาเฟิร์น (Pteridology).

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเฟิร์น · ดูเพิ่มเติม »

เพชร

รดิบ เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ (Moh's scale) มีค่าความแข็งเท่ากับ 10 เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียก "แฟนซีไดมอนด์" มีราคาสูงมาก การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเพชร · ดูเพิ่มเติม »

เพชฌฆาต

ต (judicial executioner) คือ ผู้บังคับตามคำพิพากษาของรัฐให้ประหารชีวิตผู้หนึ่งผู้ใ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเพชฌฆาต · ดูเพิ่มเติม »

เพนียดคล้องช้าง

การคล้องช้างเป็นงานพระราชพิธีใหญ่ในรัชกาลที่ 5 (ด้านหลังเป็นพระที่นั่งคชประเวศมหาปราสาท) เพนียดคล้องช้าง คือสถานที่สำหรับการจับช้างหน้าพระที่นั่ง แต่เดิมเคยใช้พื้นที่ข้างพระราชวังจันทรเกษม จนถึงสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงย้ายมาที่ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช้าง เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญสูงมาก เป็นพาหนะของชนชั้นสูงสำหรับพระราชดำเนินทางบก และเป็นเหมือนรถถังหรือ เครื่องมือสำคัญในการนำลี้พลเข้าต่อสู้กับข้าสึก ยิ่งถ้าเป็นช้างเผือก สิ่งมงคลคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ด้วยแล้ว พระองค์ก็จะโปรดเกล้าฯให้นำมาเลี้ยง และประดับยศศักดิ์ให้ด้วย พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา น่าจะเสด็จมาทอดพระเนตรการคล้องช้างด้วยเสมอ เพราะนอกจากจะเป็นขั้นตอนในการคัดเลือกช้างแล้ว ยังเป็นมหรสพชนิดหนึ่งอีกด้ว.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเพนียดคล้องช้าง · ดูเพิ่มเติม »

เกม

การเล่นชักเย่อ เกมไพ่ เป็นเกมอีกประเภทหนึ่งที่นิยมเล่นทั่วโลก เกม เป็นลักษณะของกิจกรรมของมนุษย์เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เพื่อฝึกทักษะ และเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น และในบางครั้งอาจใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาได้ เกมประกอบด้วยเป้าหมาย กฎเกณฑ์ การแข่งขันและปฏิสัมพันธ์ เกมมักจะเป็นการแข่งขันทางจิตใจหรือด้านร่างกาย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดพัฒนาการของทักษะ ใช้เป็นรูปแบบของการออกกำลังกาย หรือการศึกษา บทบาทสมมุติและจิตศาสตร์ เป็นต้น เกมเป็นกิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน Royal Game of Ur, Senet และ Mancala เป็นเกมที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยสามารถย้อนไปได้ถึง 2,600 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเกม · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดเลือด

กล็ดเลือด (platelet หรือ thrombocyte, เซลล์ลิ่มเลือด) เป็นส่วนประกอบของเลือดซึ่งมีหน้าที่ทำให้เลือดหยุดร่วมกับปัจจัยเลือดจับลิ่ม (coagulation factors) โดยเกาะกลุ่มและจับลิ่มการบาดเจ็บของหลอดเลือด เกล็ดเลือดไม่มีนิวเคลียสของเซลล์ เป็นส่วนหนึ่งของไซโทพลาซึมที่มาจากเมกาคาริโอไซต์ (megakaryocyte) ของไขกระดูก แล้วเข้าสู่ระบบไหลเวียน เกล็ดเลือดที่ยังไม่ปลุกฤทธิ์มีโครงสร้างคล้ายจานนูนสองข้าง (ทรงเลนส์) เส้นผ่านศูนย์กลางมากสุด 2–3 ไมโครเมตร เกล็ดเลือดพบเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนสัตว์อื่น เกล็ดเลือดไหลเวียนเป็นเซลล์นิวเคลียสเดี่ยวMichelson, Platelets, 2013, p. 3 ในสเมียร์เลือดที่ย้อมแล้ว เกล็ดเลือดปรากฏเป็นจุดสีม่วงเข้ม ประมาณ 20% ของเส้นผ่านศูนย์กลางเม็ดเลือดแดง สเมียร์ใช้พิจารณาขนาด รูปทรง จำนวนและการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด สัดส่วนของเกล็โเลือดต่อเม็ดเลือดแดงในผู้ใหญ่สุขภาพดีอยู่ระหว่าง 1:10 ถึง 1:20 หน้าที่หลักของเกล็ดเลือด คือ การมีส่วนในการห้ามเลือด ซึ่งเป็นกระบวนการหยุดการตกเลือด ณ จุดที่เนื้อเยื่อบุโพรงฉีกขาด พวกมันจะมารวมกันตรงนั้นและจะอุดรูรั่วถ้ารอยฉีกขาดนั้นไม่ใหญ่เกินไป ขั้นแรก เกล็ดเลือดจะยึดกับสสารนอกเยื่อบุโพรงที่ฉีกขาด เรียก "การยึดติด" (adhesion) ขั้นที่สอง พวกมันเปลี่ยนรูปทรง เปิดตัวรับและหลั่งสารเคมีนำรหัส เรียก การปลุกฤทธิ์ (activation) ขั้นที่สาม พวกมันเชื่อมต่อกันโดยสะพานตัวรับ เรียก การรวมกลุ่ม (aggregation) การก่อก้อน (clot) เกล็ดเลือด (การห้ามเลือดปฐมภูมิ) นี้สัมพันธ์กับการปลุกฤทธิ์การจับลิ่มของเลือดเป็นลำดับ (coagulation cascade) โดยมีผลลัพธ์ทำให้เกิดการพอกพูน (deposition) และการเชื่อมกันของไฟบริน (การห้ามเลือดทุติยภูมิ) กระบวนการเหล่านี้อาจซ้อนทับกันได้ สเปกตรัมมีตั้งแต่มีก้อนเกล็ดเลือดเป็นหลัก หรือ "ลิ่มขาว" ไปจนถึงมีก้อนไฟบรินเป็นหลัก หรือ "ลิ่มแดง" หรือแบบผสมที่ตรงแบบกว่า ผลลัพธ์คือ ก้อน บางคนอาจเพิ่มการหดตัวของก้อนและการยับยั้งเกล็ดเลือดในเวลาต่อมาเป็นขั้นที่สี่และห้าเพื่อทำให้กระบวนการสมบูรณ์ และบ้างว่าขั้นที่หกเป็นการซ่อมบาดแผล ภาวะเกล็ดเลือดน้อยเกิดจากมีการผลิตเกล็ดเลือดลดลงหรือมีการทำลายมากขึ้น ภาวะเกล็ดเลือดมากอาจเป็นแต่กำเนิด แบบปฏิกิริยา (ต่อไซโทไคน์) หรือเนื่องจากการผลิตที่ไม่มีการควบคุม อาจเป็นโรคเนื้องอกไมอิโลโปรลิเฟอเรตีฟ (myeloprolerative neoplasm) อย่างหนึ่งหรือเนื้องอกของมัยอีลอยด์อื่นบางอย่าง นอกจากนี้ ยังมีภาวะเกล็ดเลือดทำหน้าที่ผิดปกติ (thrombocytopathy) เกล็ดเลือดปกติสามารถสนองต่อความปกติบนผนังหลอดเลือดมากกว่าการตกเลือด ทำให้มีการยึดเกาะ/การปลุกฤทธิ์ที่ไม่เหมาะสมและภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือดในภาวะที่หลอดเลือดมิได้ฉีกขาด ภาวะนี้มีกลไกแตกต่างจากก้อนปกติ ตัวอย่าง คือ การขยายก้อนไฟบรินจากภาวะหลอดเลือดดำมีลิ่มเลือด การขยายของพลาก (plaque) หลอดเลือดแดงที่ไม่เสถียรหรือแตก ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงมีลิ่มเลือด และภาวะหลอดเลือดระบบไหลเวียนขนาดเล็กมีลิ่มเลือด (microcirculatory thrombosis) ลิ่มหลอดเลือดแดงอาจอุดกั้นการไหลของเลือดบางส่วน ทำให้มีการขาดเลือดเฉพาะที่ใต้ต่อจุดอุดตัน หรืออุดกั้นสมบูรณ์ ทำให้มีการตายของเนื้อเยื่อใต้ต่อจุดอุดตัน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเกล็ดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เมษายน

มษายน เป็นเดือนที่ 4 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน (เขียนย่อ เม.ย. ภาษาปากเรียก เมษา หรือเดือนเมษา) ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนเมษายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีพฤษภ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนเมษายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวปลาและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวแกะ ชื่อในภาษาอังกฤษ "April" มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน แอปปรีริส ("aprilis") และ แอปเปรีเร ("aperire") หมายถึง "กางออก" ซึ่งอาจหมายถึงการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ หรืออาจมาจาก Apru ชื่อเทพีแห่งความรักในภาษาของชาวอิทรูเรีย ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนเมษายนใน พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน ตามปฏิทินโรมันดั้งเดิม กำหนดให้เดือนเมษายนเป็นเดือนที่ 2 ของปี และมี 29 วัน จากนั้นจูเลียส ซีซาร์ได้ปฏิรูประบบปฏิทินใหม่ เมื่อ 45 ปีก่อนคริสตกาล กำหนดให้เดือนมกราคมเป็นเดือนแรก ทำให้เดือนเมษายนขยับไปเป็นเดือนที่ 4 ของปี และมี 30 วัน.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เวท

วท อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเวท · ดูเพิ่มเติม »

เวทมนตร์

วทมนตร์ หมายถึง ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้บริกรรมเพื่อให้ความประสงค์ของตนสำเร็จพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเวทมนตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เสมหะ

มหะ เสลดหรือสิ่งขาก (Phlegm) เป็นของไหลเหนียวที่ผลิตโดยเยื่อเมือกของมนุษย์และสัตว์อื่นๆ คำจำกัดความของเสหะคือเมือกที่ผลิตโดยระบบการหายใจนอกจากเมือกที่ออกมาทางช่องจมูกโดยเฉพาะที่ออกมาจากร่างกายโดยการจาม ส่วนผสมของเสหะอาจไม่เหมือนกันในแต่ละคนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ สถานะของระบบภูมิต้านทาน หรือพันธุกรรมของคน ทั้งนี้ เสมหะยังเป็นเจลที่มีส่วนผสมของน้ำเป็นหลักและมีสารประกอบโปรตีน โปรตีนที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันโรค ลิพิดและอื่นๆอีกมากมาย เสมหะอาจจะมีหลายสีแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเสมหะ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีภาพ

รีภาพ, อิสรภาพ หรือเสรีธรรม ในทางปรัชญา หมายถึง เจตจำนงเสรี ซึ่งตรงข้ามกับนิยัตินิยม ในทางการเมือง เสรีภาพประกอบด้วยเสรีภาพทางสังคมและการเมืองที่รับประกันแก่พลเมืองทุกคน ในทางเทววิทยา เสรีภาพ คือ อิสรภาพจากพันธะบาป.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเสรีภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เสือ

ือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ฟิลิดีซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมวโดยชนิดที่เรียกว่าเสือมักมีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าและอาศัยอยู่ภายในป่า ขนาดของลำตัวประมาณ 168 - 227 เซนติเมตรและหนักประมาณ 180 - 245 กิโลกรัม รูม่านตากลม เป็นสัตว์กินเนื้อกลุ่มหนึ่ง มีลักษณะและรูปร่างรวมทั้งพฤติกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากสัตว์ในกลุ่มอื่น หากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในป่า เสือส่วนใหญ่ยังคงมีความสามารถในการปีนป่ายต้นไม้ ซึ่งยกเว้นเสือชีต้า เสือทุกชนิดมีกรามที่สั้นและแข็งแรง มีเขี้ยว 2 คู่สำหรับกัดเหยื่อ ทั่วทั้งโลกมีสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เสือและแมวประมาณ 37 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแมวบ้านด้วย เสือจัดเป็นสัตว์นักล่าที่มีความสง่างามในตัวเอง โดยเฉพาะเสือขนาดใหญ่ที่แลดูน่าเกรงขราม ไม่ว่าจะเป็นเสือโคร่งหรือเสือดาว ผู้ที่พบเห็นเสือในครั้งแรกย่อมเกิดความประทับใจในความสง่างาม แต่ในขณะเดียวกันก็เกิดความหวาดหวั่นเกรงขามในพละกำลังและอำนาจภายในตัวของพวกมัน เสือจึงได้รับการยกย่องให้เป็นราชาแห่งสัตว์ปา และเป็นจ้าวแห่งนักล่าอย่างแท้จริง เสือ จ้าวแห่งนักล่า, ศลิษา สถาปรวัฒน์, ดร.อลัน ราบิโนวิทซ์, สำนักพิมพ์สารคดี, 2538, หน้า 14 ปัจจุบันจำนวนของเสือในประเทศไทยลดจำนวนลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปี เสือกลับถูกล่า ป่าภายในประเทศถูกทำลายเป็นอย่างมาก สภาพธรรมชาติในพื้นที่ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ทุกวันนี้ปริมาณของเสือที่จัดอยู่ในลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหารถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะการสูญสิ้นหรือลดจำนวนลงอย่างมากของเสือซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและระบบนิเวศทั้งหมด การลดจำนวนอย่างรวดเร็วของเสือเพียงหนึ่งหรือสองชนิดในประเทศไทย ทำให้ปริมาณของสัตว์กินพืชเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ธรรมชาติเสียความสมดุลในที.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเสือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นทแยงมุม

้นทแยงมุมในทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก เส้นทแยงมุม หมายถึงเส้นตรงที่ลากผ่านจุดยอดสองจุดที่ไม่อยู่ติดกันบนรูปหลายเหลี่ยมหรือทรงหลายหน้า หรือในบริบทอื่นจะหมายถึงเส้นตรงที่เฉียงขึ้นหรือเฉียงลง คำว่า diagonal ในภาษาอังกฤษ มีที่มาจากภาษากรีก διαγωνιος (diagonios) ประกอบด้วย dia- แปลว่า "ทะลุหรือข้าม" และ gonia แปลว่า "มุม" จากนั้นจึงมีการยืมไปใช้ไปเป็นภาษาละติน diagonus แปลว่า "เส้นเอียง" ในทางคณิตศาสตร์ คำว่าเส้นทแยงมุมมีการใช้ในเมทริกซ์ แทนกลุ่มของสมาชิกที่อยู่บนเส้นทแยงมุมสมมติของเมทริกซ์ และเพื่อให้ความหมายของเมทริกซ์ทแยงมุม.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเส้นทแยงมุม · ดูเพิ่มเติม »

เห็ดแครง

ห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแก เป็นเห็ดที่ขึ้นได้ทั่วทุกภูมิภาคทั่วโลกและเจริญเติบโตได้ตลอดปี เป็นเห็ดขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-4 เซนติเมตร รูปทรงคล้ายพัด ไม่มีก้านดอก ในด้านคุณค่าทางโภชนาการ เห็ดแครงมีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนสูง นิยมนำมาแกงคั่วกับปลาย่าง หรือนำมาย่างโดยโขลกพริกขี้หนู ข่า ตะไคร้ ขมิ้น พริกไทย แล้วนำเห็ดแครงผสมลงไป พร้อมด้วยมะพร้าวขูดและไข่ไก่ แล้วห่อด้วยใบตองนำไปปิ้งกับเตาถ่าน เห็ดชนิดนี้ยังเป็นที่รู้จักมากในแถบภาคใต้ พบมากบนท่อนไม้ยางพาราที่ตัดทิ้งไว้ โดยนิยมนำมาทำแกงสมรมซึ่งเป็นแกงที่ขาดไม่ได้สำหรับงานบุญสารทเดือนสิบ ส่วนในประเทศญี่ปุ่นใช้ทำเป็นยาเนื่องจากมีสารที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อไวรัสและยับยั้งเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยซึ่งใช้สารสกัดจากเห็ดแครงในกระบวนการขุดเจาะน้ำมันดิบ โดยสารสกัดจากเห็ดแครงที่เป็นสารไบโอพอลิเมอร์นี้จะถูกนำมาผสมกับน้ำ และสูบเข้าไปในบ่อน้ำมันดิบเพื่อชะล้างและพาน้ำมันดิบที่ยังคงเหลืออยู่ภายในบ่อน้ำมันให้ออกมาได้มากที.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเห็ดแครง · ดูเพิ่มเติม »

เอนก นาวิกมูล

อนก นาวิกมูล (14 มีนาคม พ.ศ. 2496 - ปัจจุบัน) เป็นนักวิชาการ นักเขียนสารคดี นักสะสมของเก่า และ ยังเป็นผู้ก่อตั้ง บ้านพิพิธภัณฑ์ เอนก เกิดวันเสาร์ที่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ครอบครัวทำกิจการร้านขายหนังสือแบบเรียน บิดาเป็นนักประดิษฐ์ นักสะสมหนังสือ ปฏิทิน ส.ค.ส. ภาพถ่าย ส่วนตัวจึงชอบถ่ายภาพ ชอบศึกษาค้นคว้า เขียนหนังสือ และเป็นนักสะสมมาตั้งแต่เด็ก.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเอนก นาวิกมูล · ดูเพิ่มเติม »

เอนก เหล่าธรรมทัศน์

.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บนหน้าปกหนังสือ ''สองนครา ประชาธิปไตย'' ของตัวเอง ศาสตราจารย์พิเศษ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ปรึกษาและกรรมการคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ประธานกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 7/2560 ประธานคณะกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 อธิการ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต นักวิชาการและนักการเมือง อดีตหัวหน้าพรรคมหาชน และอดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2497 ที.ลำปาง เป็นเจ้าของทฤษฎี "สองนคราประชาธิปไตย" ที่สรุปว่า "คนต่างจังหวัดตั้งรัฐบาล คนกรุงเทพฯล้มรัฐบาล" เคยได้รับสมญานามจาก.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า "ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง".

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเอนก เหล่าธรรมทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องราง

รื่องราง หมายถึง ของที่นับถือว่าป้องกันอันตราย ยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า เช่น ตระกรุด ผ้ายันต์ เหล็กไหล เครื่องรางถือเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่ง ของขลัง คือของที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ มีพลังหรืออำนาจที่อาจบันดาลให้เป็นไป หรืออาจบันดาลสิ่งที่ต้องประสงค์สำเร็จได้ สองคำนี้มักนิยมใช้คู่กันเป็น เครื่องรางของขลัง เครื่องรางของขลัง ปกติเป็นเรื่องนอกคำสอนของศาสนาพุทธ ถูกจัดอยู่ในประเภทไสยศาสตร์มากว่า แต่เป็นที่นิยมกันมาแต่โบราณ ด้วยเห็นว่าพลังหรืออำนาจนัน้มาจากพุทธคุณ.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเครื่องราง · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสำอาง

อุปกรณ์แต่งหน้า เครื่องสำอาง (อังกฤษ: cosmetics) เป็นสารที่ใช้เพิ่มเติมความสวยงามให้กับร่างกายมนุษย์ นอกเหนือจากอุปกรณ์รักษาความสะอาดโดยทั่วไป การใช้งานเครื่องสำอางมีใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก จำนวนบริษัทผลิตเครื่องสำอางในปัจจุบันมีเป็นจำนวนน้อยเปรียบเทียบกับธุรกิจชนิดอื่น โดยบริษัทส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ในระดับนานาชาติ มากกว่าระดับท้องถิ่น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเครื่องสำอาง · ดูเพิ่มเติม »

เค้ก

้ก (cake) เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มักจะมีลักษณะหวานและผ่านกระบวนการอบ ซึ่งจะทำมาจากแป้งสาลี, น้ำตาลเทียม และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ไข่, แป้งสาลี, ผัก, ผลไม้ที่ให้รสหวานหรือเปรี้ยว เป็นต้น หรือส่วนประกอบที่มีไขมัน เช่น เนย, ชีส, ยีสต์, นม, เนยเทียม เป็นต้น และนิยมรับประทานเป็นของหวาน และฉลองในเทศกาลต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเกิดและวันแต่งงาน ซึ่งในโลกมีตำรับหรือสูตรการทำเค้กเป็นจำนวนมาก อีกทั้งตำรับการทำเค้กบางสูตรก็มีการสืบทอดการทำเป็นเวลาหลายศตวรรษ และเค้กนั้นยังเป็นอาหารหวานที่นิยมไปทั่วโลกอีกด้วย ปัจจุบันมีผู้สนใจที่อยากจะเรียนทำเค้กเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ มากมาย อย่างเช่น เรียนเพื่อที่จะนำมาประกอบอาชีพเปิดร้านเค้ก เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดและเค้ก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิดคำภาษาไทยที่มักสะกดผิดคำที่มักเขียนผิด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »