โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประทุษวาจา

ดัชนี ประทุษวาจา

ประทุษวาจา (hate speech) คือ ถ้อยคำโจมตีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือรสนิยมทางเพศ เป็นต้น กฎหมายในบางประเทศระบุว่า ประทุษวาจา หมายถึง ถ้อยคำ ท่วงทีหรือพฤติกรรม ลายลักษณ์อักษร หรือการแสดงออกอย่างใด ๆ ซึ่งต้องห้าม เพราะอาจยั่วยุให้เกิดความรุนแรง การต่อต้าน หรือการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่กฎหมายคุ้มครองไว้ ในบางประเทศ ผู้เสียหายจากประทุษวาจาสามารถร้องขอการเยียวยาตามกฎหมายได้ เว็บไซต์ที่ใช้ประทุษวาจานั้นเรียก "เฮตไซต์" (hate site) ส่วนใหญ่มีลานประชาคมอินเทอร์เน็ต (internet forum) และย่อข่าวซึ่งนำเสนอแนวคิดบางแนวโดยเฉพาะ นอกจากนี้ ยังมีการถกเถียงกันว่า บนโลกอินเทอร์เน็ตควรมีเสรีภาพในการพูดด้วยหรือไม่ การประชุมอภิปรายข้อถกเถียงดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees) อย่างต่อเนื่อง อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination) ข้อ 4 ประณามและให้รัฐภาคีตรากฎหมายลงโทษ "ความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเหนือกว่าทางเชื้อชาติ หรือความเกลียดชังอันเกิดจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ การช่วยกระตุ้นให้เกิดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และการกระทำรุนแรงหรือกระตุ้นให้เกิดการกระทำรุนแรงนั้นต่อชนเชื้อชาติหนึ่งเชื้อชาติใด หรือกลุ่มบุคคลที่มีสีผิวอื่นหรือเผ่าพันธุ์กำเนิดอื่น ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเงินต่อกิจกรรมชาตินิยม" ขณะที่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ข้อ 20 ว่า "การสนับสนุนให้เกิดความเกลียดชังในชาติ เผ่าพันธุ์ หรือศาสนา ซึ่งยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การเป็นปฏิปักษ์ หรือการใช้ความรุนแรง เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย" อย่างไรก็ดี วันที่ 3 พฤษภาคม..

5 ความสัมพันธ์: กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560สำนักงานราชบัณฑิตยสภาข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเสรีภาพในการพูด

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ม่ได้ลงนามและไม่ได้ให้สัตยาบัน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) หรือ ICCPR เป็นสนธิสัญญาพหุภาคี ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม..

ใหม่!!: ประทุษวาจาและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 ซึ่งจัดร่างโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ในระหว่าง..

ใหม่!!: ประทุษวาจาและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: ประทุษวาจาและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (United Nations High Commissioner for Refugees, คำย่อ UNHCR) เป็นองค์การที่รับภารกิจหน้าที่จาก UNRRA: United Nations Relief and Rehabilitation Administration ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2486 โดยแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์ ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ช่วยเหลือการกลับถิ่นฐานเดิมของผู้ลี้ภัยจำนวนกว่า 8 ล้านคน ซึ่งเกิดจากการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่ 2 สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2493 โดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ภารกิจหลัก คือ การปกป้องและสนับสนุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้ลี้ภัยทั่วโลก ตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลในแต่ละประเทศหรือข้อเรียกร้องของสหประชาชาติ นอกจากนี้ สำนักงานฯ ยังมีหน้าที่สำคัญในการส่งผู้ลี้ภัยกลับประเทศต้นทาง หรือ ประเทศที่สามเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ สำนักงานฯ มีภารกิจหลักคือ เป็นผู้นำและประสานงานในการรวบรวมความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เพื่อปกป้องและแก้ปัญหาของผู้ลี้ภัยทั่วโลก และการปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ลี้ภัย โดยเฉพาะสิทธิที่จะอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยในรัฐอื่น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทางออกที่ยั่งยืน ซึ่งได้แก่การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมโดยสมัครใจ (voluntary repatriation) การตั้งถิ่นฐานในรัฐผู้รับ (local integration) หรือการไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม (third country resettlement) และภารกิจที่ตามมาคือ การปกป้องและให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมแก่บุคคลในความห่วงใย (person of concern, POC) กลุ่มอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ผู้แสวงหาที่พักพิง (asylum seeker) ผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (internally displaced person) บุคคลไร้รัฐ (stateless person) และผู้ที่เดินทางกลับประเทศต้นทาง (returnee) ภารกิจของสำนักงานฯ ในขณะนี้ มักจะอยู่ในประเทศที่ยังคงมีสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่ปกติและประเทศใกล้เคียง เช่น เลบานอน ซูดาน ชาด อิรัก อัฟกานิสถาน เคนยา อย่างไรก็ตาม สำนักงานฯ ยังมีภารกิจครอบคลุมไปถึงผู้ที่หนีภัยจากการประหัตประหาร และผู้ที่พลัดถิ่นอันเนื่องมาจากภัยพิบัติอีกด้วย ทั้งนี้ สำนักงานฯ มีสำนักงานระดับภูมิภาคในประเทศไทยที่อาคารสำนักงานสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก สำนักงานฯ ได้รับรางวัลโนเบลสันติภาพในปี พ.ศ. 2497 และ พ.ศ. 2524 ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ นายฟีลิปโป กรันดี (Filippo Grandi) นักการทูตชาวอิตาลี และประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานฯ คนปัจจุบันได้แก่ นาย Carsten Staur เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเดนมาร์กประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีว.

ใหม่!!: ประทุษวาจาและข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีภาพในการพูด

รีภาพในการพูด (freedom of speech) หรือเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) เป็นสิทธิการเมืองในการสื่อสารความคิดของบุคคลผ่านการพูด คำวา เสรีภาพในการแสดงออก บางครั้งใช้เป็นคำไวพจน์ แต่ยังรวมไปถึงพฤติการณ์ใด ๆ ในการแสวงหา ทั้งด้วยการพูด การแสดงท่าทาง หรือการสื่อสารด้วยตัวหนังสือ ไม่ว่าจะบนหน้ากระดาษหรือในโลกออนไลน์ ตลอดจนในรูปแบบอื่นๆ เช่น เสียงเพลง ภาพถ่าย ภาพกราฟิกหรือภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงสิทธิในการค้นคว้า หา เข้าถึงหรือได้รับข้อมูล ความรู้สึกนึกคิด ความเห็นที่มีการสื่อสารและเผยแพร่และนำข้อสนเทศหรือความคิดโดยไม่คำนึงถึงสื่อที่ใช้ ในทางปฏิบัติ สิทธิในเสรีภาพการพูดมิได้มีสมบูรณ์ในทุกประเทศ และสิทธินี้โดยทั่วไปมักถูกจำกัด เช่นเดียวกับการหมิ่นประมาท การดูหมิ่นซึ่งหน้า ความลามก และการยุยงให้ก่ออาชญากรรม สิทธิในเสรีภาพการพูดได้รับการยอมรับเป็นสิทธิมนุษยชนภายใต้ข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และได้รับการยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 19 แห่งกติกาฯ บัญญัติว่า "ทุกคนจักมีสิทธิออกความเห็นโดยไม่ถูกแทรกแซง" และ "ทุกคนจักมีสิทธิในเสรีภาพการพูด สิทธินี้จักรวมไปถึงเสรีภาพในการแสวงหา ได้รับและส่งต่อข้อสนเทศและความคิดในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงขอบเขต ไม่ว่าจะโดยการพูด การเขียนหรือการพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือผ่านสื่ออื่นใดที่เป็นทางเลือกของเขา" หากข้อ 19 ยังบัญญัติต่อไปว่าการใช้สิทธิเหล่านี้มี "หน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษ" และอาจ "ดังนั้น ต้องถูกจำกัดบ้าง" เมื่อจำเป็น "เพื่อความเคารพถึงสิทธิหรือชื่อเสียงของคนอื่น" หรือ "เพื่อคุ้มครองความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรม" สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกถูกตีความรวมถึงสิทธิในการถ่ายรูปและเผยแพร่ภาพถ่ายบุคคลแปลกหน้าในพื้นที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการรับรู้จากพวกเขา อย่างไรก็ตามในคดีตามกฎหมายในประเทศเนเธอร์แลนด์สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกไม่รวมถึงสิทธิในการใช้รูปถ่ายในลักษณะเหยียดสีผิวเพื่อปลุกระดมความเกลียดชังทางเชื้อชาติหรือการเลือกปฏิบัติชาติพัน.

ใหม่!!: ประทุษวาจาและเสรีภาพในการพูด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hate speechคำด่า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »