โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

ดัชนี คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น

ัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น วิชานี้พบได้ในนิยายกำลังภายในหลายเรื่องโดยเฉพาะนิยายกำลังภายในยุคเก่า รวมทั้งนิยายกำลังภายในของกิมย้งด้วยเช่นเดียวกัน ที่ปรากฏเห็นเด่นชัดที่สุด คือ นิยายเรื่อง มังกรหยก, มังกรหยก ภาค 2, ดาบมังกรหยก, แปดเทพอสูรมังกรฟ้า,สำนักพยัคฆ์มังกร และ กระบี่เย้ยยุทธจักร.

9 ความสัมพันธ์: พระโพธิธรรมกระบี่เย้ยยุทธจักรมังกรหยกสำนักพยัคฆ์มังกรดาบมังกรหยกแปดเทพอสูรมังกรฟ้าโพธิจิตเอี้ยก้วยเจ้าอินทรีเซน

พระโพธิธรรม

'''"พระโพธิธรรม"''' โดยโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) พระโพธิธรรม (โพธิธรฺม, เทวนาครี बोधिधर्म; อักษรโรมัน (NLAC): bōdhidharma; 菩提達摩, พินอิน: Pútídámó, Dámó) แต่ในนิยายกำลังภายในในประเทศไทยมักเรียก ตักม้อ หรือ ตั๊กม้อ (สำเนียงแต้จิ๋ว ตรงกับจีนกลางว่า ต๋าหมอ) เป็นพระภิกษุในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานนิกายเซน มีประวัติไม่ชัดเจนนัก แต่เชื่อกันว่ามีตัวตนอยู่จริง และเป็นผู้สถาปนาวัดเส้าหลิน ในจีน ทั้งยังได้เผยแพร่วิชามวยจีนในหมู่พระเณรของวัดเส้าหลิน จนมีชื่อเสียงมาจวบจนทุกวันนี้ ตามตำนานระบุว่า ท่านเกิดเมื่อราว..

ใหม่!!: คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นและพระโพธิธรรม · ดูเพิ่มเติม »

กระบี่เย้ยยุทธจักร

กระบี่เย้ยยุทธจักร เฉี่ยเหงากังโอ๊ว หรือ เซี่ยวเอ้าเจียงหู ผลงานของกิมย้ง (金庸) เรื่องนี้ น.นพรัตน์ แปลครั้งแรกชื่อเรื่อง ผู้กล้าหาญคะนอง ในปี..

ใหม่!!: คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นและกระบี่เย้ยยุทธจักร · ดูเพิ่มเติม »

มังกรหยก

มังกรหยก (อักษรจีนตัวเต็ม: 射鵰英雄傳; อักษรจีนตัวย่อ: 射雕英雄传; พินอิน: shè diāo yīng xióng zhuàn) เป็นนิยายกำลังภายใน แต่งโดยกิมย้ง มีภาคต่อในชุดเดียวกันอีกสองภาค คือ มังกรหยก ภาค 2 และดาบมังกรหยก แต่ชื่อเรื่องภาษาจีนและภาษาอังกฤษนั้นแยกกันเป็นคนละเรื่อง (ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ คือ The Legend of the Condor Heroes หรือ The Eagle-Shooting Heroes) ฉบับแปลภาษาไทยมีหลายสำนวน ยึดตามฉบับที่ลิขสิทธิ์ถูกต้องแปลโดย น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า ก๊วยเจ๋งยอดวีรบุรุษ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ ความยาว 4 เล่มจบ และได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง รวมถึงวิดีโอเกม ด้วย ประกอบด้วยกัน 3 ภาค ได้แก่ ก๊วยเจ๋ง เอี๊ยก้วย และเตียบ่อกี้ ก๊วยเจ๋งและเอี๊ยก้วยเป็นภาคต่อกัน แต่ภาคเตียบ่อกี้ เป็นอีกหลายๆปีข้างหน้าต่อจากเอี๊ยก้ว.

ใหม่!!: คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นและมังกรหยก · ดูเพิ่มเติม »

สำนักพยัคฆ์มังกร

ำนักพยัคฆ์มังกร (龍虎門; Dragon Tiger Gate) เป็นการ์ตูนจีนกำลังภายใน อีกหนึ่งผลงานของหวงยี่หลาง ในส่วนแต่งเรื่องและเขียนภาพโดย ซิวฝูหลง เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นและสำนักพยัคฆ์มังกร · ดูเพิ่มเติม »

ดาบมังกรหยก

มังกรหยก (หรือ มังกรหยกภาค 3 หรือ กระบี่อิงฟ้า ดาบฆ่ามังกร) เป็นนิยายกำลังภายในภาคต่อของ มังกรหยก แต่งโดยกิมย้ง (ชื่อในภาษาจีน อักษรจีนตัวเต็ม: 倚天屠龍記; อักษรจีนตัวย่อ: 倚天屠龙记; พินอิน: yǐ tiān tú lóng jì) และชื่อในภาษาอังกฤษ คือ The Heavenly Sword and the Dragon Saber หรือ The Heaven Sword and Dragon Saber).

ใหม่!!: คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นและดาบมังกรหยก · ดูเพิ่มเติม »

แปดเทพอสูรมังกรฟ้า

แปดเทพอสูรมังกรฟ้า (จีนแต้จิ๋ว: เทียนเล้งโป๊ยโป๋ว; จีนกลาง: 天龍八部เทียนหลงปาปู้; อังกฤษ: Demi-Gods and Semi-Devils) เป็นนิยายกำลังภายในของกิมย้ง จำลอง พิศนาคะ แปลเรื่องนี้ในชื่อ มังกรหยก ภาคพิเศษ เพื่อให้เข้าชุดกับมังกรหยก แต่ชื่อที่เป็นที่รู้จักมากกว่าคือ แปดเทพอสูรมังกรฟ้า ซึ่งเป็นฉบับแปลของ น. นพรัตน์ ซึ่งเรื่องนี้ความจริงน่าจะเรียกว่ามังกรหยกภาค 1 มากกว่าเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องราวก่อนยุคของก้วยเจ๋งซึ่งเป็นตัวเอกในมังกรหยกภาค 1 "แปดเทพอสูรมังกรฟ้า" เป็นผลงานลำดับที่ 11 ของกิมย้ง นับตั้งแต่ชื่อเรื่อง และที่มาของแรงบันดาลใจ แสดงความใฝ่ใจในพุทธศาสนาของเขา ชื่อภาษาจีน "เทียนหลงปาปู้" หมายถึง เทพและอมนุษย์ 8 จำพวก ในตำนานของพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์เฉพาะตนแตกต่างกันไป ประกอบด้ว.

ใหม่!!: คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นและแปดเทพอสูรมังกรฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

โพธิจิต

ต (बोधिचित्त; 菩提心 ผูถีซิน) หมายถึง จิตที่มุ่งต่อการตรัสรู้เพื่อประโยชน์แก่สัตวโลก คำว่า โพธิจิต เป็นคำสมาส จากคำว่า โพธิ (การตรัสรู้) + จิต ดังนั้น โพธิจิต จึงแปลว่า จิตแห่งการตรัสรู้ แนวคิดเรื่องโพธิจิตปรากฏในหลายคัมภีร์ของฝ่ายมหายาน เช่น วิมลกีรตินิรเทศสูตร มหาปรัชญาปารมิตาศาสตร์ มหาไวโรจนสูตร เป็นต้น โดยแต่ละคัมภีร์แสดงนัยของโพธิจิตแตกต่างกันไป เมื่อนิกายมหายานแพร่ไปถึงประเทศจีน พระเถราจารย์ชาวจีนหลายรูปได้แต่งคัมภีร์ขยายความแนวคิดโพธิจิตต่อไปอีกจนแพร่หลาย จนกลายเป็นแนวคิดสำคัญอย่างหนึ่งของนิกายมหายานจวบจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นและโพธิจิต · ดูเพิ่มเติม »

เอี้ยก้วยเจ้าอินทรี

อี้ยก้วยเจ้าอินทรี เป็นนิยายกำลังภายในภาคต่อของเรื่อง มังกรหยก เป็นผลงานการประพันธ์ของกิมย้ง มีภาคต่อในชุดเดียวกันคือเรื่อง ดาบมังกรหยก (The Return of the Condor Heroes) บางสำนวนแปลใช้ชื่อเรื่องว่า ลูกมังกรหยก ฉบับแปลภาษาไทยมีหลายสำนวน ยึดตามฉบับที่ลิขสิทธิ์ถูกต้องแปลโดย น.นพรัตน์ ใช้ชื่อว่า เอี้ยก้วยเจ้าอินทรี จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ ความยาว 4 เล่มจบ ได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง รวมถึงวิดีโอเกมด้ว.

ใหม่!!: คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นและเอี้ยก้วยเจ้าอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

เซน

ระโพธิธรรม ฝีมือของโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877) เซน (禅, ぜん; Zen) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น.

ใหม่!!: คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็นและเซน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »