โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คลองโยง

ดัชนี คลองโยง

ลองโยง เป็นคลองที่อยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน ไหลผ่านท้องที่อำเภอนครชัยศรีและอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เชื่อมต่อกับคลองนราภิรมย์ คลองบางใหญ่ และคลองมหาสวั.

11 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระสุนทรโวหาร (ภู่)พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิทอำเภอพุทธมณฑลอำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐมคลองมหาสวัสดิ์คลองทวีวัฒนานิราศพระประธมนิราศสุพรรณแม่น้ำท่าจีน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: คลองโยงและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระสุนทรโวหาร (ภู่)

ระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงเชิงกวี ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลาย ๆ เรื่อง ปี..

ใหม่!!: คลองโยงและพระสุนทรโวหาร (ภู่) · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2351 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2414) พระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต้นราชสกุลสนิทวงศ์ และเป็นพระปัยกาในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีน.

ใหม่!!: คลองโยงและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพุทธมณฑล

อำเภอพุทธมณฑล เป็นอำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่ที่สุดและมีพื้นที่น้อยที่สุดในจังหวัดนครปฐม.

ใหม่!!: คลองโยงและอำเภอพุทธมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอนครชัยศรี

วามหมายอื่น ดูที่ มณฑลนครชัยศรี นครชัยศรี เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครปฐม เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ มีเรื่องราวบันทึกไว้ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี นอกจากนี้ยังมีการค้นพบโบราณวัตถุจำนวนหนึ่งในบริเวณอำเภอนครชัยศรี ปัจจุบันนครชัยศรีนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครปฐม และอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: คลองโยงและอำเภอนครชัยศรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครปฐม

ังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: คลองโยงและจังหวัดนครปฐม · ดูเพิ่มเติม »

คลองมหาสวัสดิ์

ลองมหาสวัสดิ์ คลองมหาสวัสดิ์ หรือ คลองชัยพฤกษ์ เป็นคลองที่เริ่มต้นจากคลองลัดบางกรวยหรือคลองบางกอกน้อย ใกล้วัดชัยพฤกษมาลา ไหลผ่านเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กับเขตตลิ่งชันและเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ผ่านอำเภอพุทธมณฑล ไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม รวมความยาว 28 กิโลเมตร คลองสายนี้เริ่มขุดตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน..

ใหม่!!: คลองโยงและคลองมหาสวัสดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

คลองทวีวัฒนา

ลองทวีวัฒนา คลองทวีวัฒนา เป็นคลองที่ขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต่อจากคลองเปรมประชากร เริ่มขุดในปี..

ใหม่!!: คลองโยงและคลองทวีวัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

นิราศพระประธม

นิราศพระประธม เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ สันนิษฐานว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 หลังจากลาสิกขาบทแล้วและอยู่ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ สุนทรภู่น่าจะเดินทางในช่วงฤดูหนาว ปี พ.ศ. 2385 ด้วยปรากฏในบทนิราศว่าเดินทางไปโดยการพายเรือ ซึ่งควรต้องไปในฤดูน้ำขึ้น นิราสของสุนทรภู่ผิดกับนิราสของผู้อื่น ทั้งกลอนที่แต่งดีกว่าผู้อื่นโดยมากแลกระบวรความ นิราสของผู้อื่นมักจะกล่าวถึงแต่ชื่อตำบลในระยะทางที่ไป ประกอบกับพรรณาว่าด้วยเรื่องสังวาส แต่นิราสของสุนทรภู่มักเล่าเรื่องราวต่างๆ แลกล่าวถึงประวัติของตนเองไว้ด้วยทุกเรื่อง อาจจะรู้ได้ว่าเรื่องไหนแต่งก่อนแลแต่งทีหลัง แลในเวลาที่แต่งนั้นฐานะของสุนทรภู่เปนอยู่อย่างไร สุนทรภู่นั้น เดิมเปนมหาดเล็กกรมพระราชวังหลัง เป็นเจ้าบทเจ้ากลอนแลเป็นคนมองมาแต่หนุ่ม เมื่อในรัชกาลที่ ๑ ลงไปเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลง ได้แต่งนิราสเรื่องเมืองแกลงเปนนิราสเรื่องแรก ซึ่งพิมพ์ในสมุดเล่มนี้ ต่อมาเมื่อกรมพระราชวังหลังทิวงคต สุนทรภู่ไปเปนมหาดเล็กอยู่กับพระองค์เจ้าปฐมวงศ พระโอรสในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งทรงผนวชอยู่วัดระฆังฯ ตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศไปพระพุทธบาท ได้แต่งนิราสพระบาทอิกเรื่อง ๑ ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๒ สุนทรภู่เข้าทำราชการ ได้เปนที่ขุนสุนทรโวหารอยู่ในกรมพระอาลักษณ พระบาทสมเด็จฯ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระเมตตาชุบเลี้ยงมาตลอดรัชกาล สุนทรภู่ติดรับราชการ จึงหาได้แต่งนิราสเรื่องใดในรัชกาลที่ ๒ ไม่ ถึงรัชกาลที่ ๓ สุนทรภู่มีความผิดถูกถอด ไม่มีที่พึ่งจึงออกบวช เมื่อบวชอยู่นั้นขึ้นไปกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก แต่งนิราสภูเขาทองเรื่อง ๑ ต่อมาขึ้นไปกรุงศรีอยุธยาอิกครั้ง ๑ แต่งนิราสวัดเจ้าฟ้า (แต่งเปนสำนวนเณรพัฒน์บุตรที่ไปด้วย) เรื่อง ๑ ได้ยินว่าเมื่อสุนทรภู่บวชอยู่ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทฯ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดทรงสักรวา หาสุนทรภู่ไปบอกสักรวาแต่ยังเปนพระ แล้วทรงพระเมตตาอุดหนุนต่อมา สุนทรภู่ได้แต่งนิราสอิเหนาถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณเรื่อง ๑ แล้วสึกออกมาเปนข้าอยู่ในกรม แต่อยู่ได้ไม่ช้า พระองค์เจ้าลักขณานุคุณสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่สิ้นที่พึ่งตกยากอิกครั้ง ๑ เวลาตกยากครั้งนี้ อาศรัยเพื่อนไปเที่ยวพระแท่นดงรัง จึงแต่งนิราสพระแท่นดงรังเรื่อง ๑ ต่อมากรมหมื่นอับสรสุดาเทพ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงหนังสือพระอภัยมณีที่สุนทรภู่แต่งไว้โปรด สั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อถวายอิก แลทรงเกื้อหนุนสุนทรภู่ต่อมา ในตอนนี้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระยศเปนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ก็ทรงเกื้อหนุนสุนทรภู่มาด้วยอิกพระองค์ ๑ ในสมัยเมื่อสุนทรภู่ได้พึ่งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แลกรมหมื่นอับสรสุดาเทพอยู่นั้นไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ จึงแต่งนิราสพระประธม (ที่ถูกควรจะเรียกว่า นิราสพระปฐมเจดีย์) ซึ่งพิมพ์ในสมุดเล่มนี้เรื่อง ๑ ครั้นกรมหมื่นอับสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์ สุนทรภู่ได้พึ่งแต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์เดียว ได้ยินว่าทรงรับไปเลี้ยงไว้ที่พระราชวังเดิม อยู่มามีรับสั่งให้สุนทรภู่ไปหาสิ่งของที่เมืองเพ็ชรบุรี สุนทรภู่จึงแต่งนิราสเมืองเพ็ชรบุรีเรื่อง ๑ เปนนิราสเรื่องที่สุดของสุนทรภู่ เพราะต่อมาอิกไม่ช้า ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งสุนทรภู่เปนที่พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมพระอาลักษณฝ่ายพระบวรราชวัง ได้ความสุขมาจนสิ้นชีพ เมื่อปี..

ใหม่!!: คลองโยงและนิราศพระประธม · ดูเพิ่มเติม »

นิราศสุพรรณ

นิราศสุพรรณ เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบโคลงประพันธ์โดยสุนทรภู่ เป็นนิราศเรื่องแรกและเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่ประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์โคลงสี่สุภาพ เข้าใจว่าต้องการลบคำสบประมาทว่าตนแต่งได้แต่เพียงกลอน เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งนิราศสุพรรณในปี พ.ศ. 2374 ระหว่างที่จำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศ แล้วออกเดินทางไปยังเมืองสุพรรณเพื่อค้นหายาอายุวัฒนะ การเดินทางของสุนทรภู่ครั้งนี้หนักหนาแทบเอาชีวิตไม่รอด สุดท้ายก็ไม่ได้อะไรกลับมา สุนทรภู่เขียนบทสรุปของการเดินทางครั้งนี้ไว้ในโคลงบทก่อนบทสุดท้าย คือบทที่ 461 ความว.

ใหม่!!: คลองโยงและนิราศสุพรรณ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำท่าจีน

แม่น้ำท่าจีน เป็นแม่น้ำที่แยกตัวออกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ตำบลท่าซุงบริเวณปากคลองมะขามเฒ่า จึงเรียกแม่น้ำนั้นว่า คลองมะขามเฒ่า และมาหักเลี้ยวเป็นแยกแม่น้ำที่ไหลไปเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาได้อีกที ตรงที่เป็นพื้นที่ปากคลอง ตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท กับ ฝั่งตะวันตกที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ไหลผ่านจังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะไหลออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 325 กิโลเมตร แม่น้ำท่าจีนมีชื่อเรียกหลายชื่อ ตอนที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า "แม่น้ำมะขามเฒ่า" ตอนที่ผ่านจังหวัดสุพรรณบุรี เรียกว่า "แม่น้ำสุพรรณบุรี" ตอนที่ผ่านจังหวัดนครปฐมเรียกว่า "แม่น้ำนครชัยศรี" ส่วนตอนที่ไหลผ่านจังหวัดสมุทรสาครและไหลลงสู่อ่าวไทยเรียกว่า "แม่น้ำท่าจีน".

ใหม่!!: คลองโยงและแม่น้ำท่าจีน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »