โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

ดัชนี คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

ณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ กบว. เป็นหน่วยงานของไทย ที่ตั้งขึ้นตามระเบียบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน..

19 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2535พฤษภาทมิฬการตรวจพิจารณาในประเทศไทยยืนยง โอภากุลสัจจะ ๑๐ ประการสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)สถานีวิทยุกระจายเสียงสถานีโทรทัศน์หากหัวใจยังรักควายอานันท์ ปันยารชุนอเมริโกยท.ทหารอดทนทับหลัง (อัลบั้มเพลง)คาราบาวประชาธิปไตย (อัลบั้ม)ประเทศพม่านายกรัฐมนตรีไทยโนพลอมแพลมเมด อิน ไทยแลนด์ (อัลบั้ม)

พ.ศ. 2535

ทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และพ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาทมิฬ

หตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนเคลื่อนไหวประท้วงรัฐบาลครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองที่มีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็น นายกรัฐมนตรี และต่อต้านการสืบทอดอำนาจของ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ระหว่างวันที่ 17-24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นการรัฐประหาร รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 นำไปสู่เหตุการณ์ปราบปรามและปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารกับประชาชนผู้ชุมนุม มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก (พลเอกสุจินดาแถลงว่ามีผู้เสียชีวิต 40 คน บาดเจ็บ 600 คน) และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เหตุการณ์ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยมีหัวหน้าคณะคือ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในขณะนั้นภายหลังการรัฐประหารได้เลือกนาย อานันท์ ปันยารชุน เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีและได้ร่างรัฐธรรมนูญจนมีการเลือกตั้งผลปรากฏว่านายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมที่ตั้งขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากบุคคลในคณะ ร. ได้คะแนนมากที่สุด แต่สุดท้ายไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เนื่องจากถูกรัฐบาลสหรัฐขึ้นบัญชีดำจากความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด ทำให้ พล.อ.สุจินดา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเป็นการตระบัดสัตย์ที่เคยกล่าวไว้ว่าจะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายา "เสียสัตย์เพื่อชาติ" จากสื่อมวลชนในเวลาต่อมา จากผลดังกล่าว ทำให้ประชาชนหลายส่วนไม่พอใจการขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของพล.อ.สุจินดา ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตย จนนำไปสู่การประท้วงทั้งการอดอาหาร การเดินขบวน และการชุมนุมในสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ ทำให้รัฐบาลพล.อ.สุจินดาใช้คำสั่งสลายการชุมนุม เกิดการปะทะขึ้น มีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงรับสั่งให้พลเอกสุจินดา คราประยูรและพลตรีจำลอง ศรีเมืองเข้าเฝ้า โดยทรงพระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ซึ่งได้มีการเผยแพร่ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นอีก 4 วัน พล.อ.สุจินดา จึงได้ประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุน ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก่อนการเลือกตั้งในเวลาต่อมา การชุมนุมในครั้งนี้ยังเป็นการชุมนุมที่ผู้ประท้วงมีโทรศัพท์มือถือใช้สื่อสารจนถูกเรียกว่าเป็น "ม็อบมือถือ" และรวมถึงการเรียกชื่อฝั่งพรรคซึ่งแตกออกเป็น 2 ฝั่งจากผู้สื่อข่าว โดยเรียกฝั่งพรรคที่เข้าไปทางรัฐบาลของพล.อ.สุจินดา ว่า "พรรคมาร" ส่วนฝั่งพรรคที่คัดค้านการมีอำนาจของพล.อ.สุจินดา เรียกว่า "พรรคเทพ".

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และพฤษภาทมิฬ · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจพิจารณาในประเทศไทย

การตรวจพิจารณาในประเทศไทยมีประวัติอย่างยาวนาน การก่อกวน การชักใยและการควบคุมข่าวการเมืองอย่างเข้มงวดเป็นเรื่องปกติในรัฐบาลทุกสมัย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประกันเสรีภาพในการพูด และการประกันเสรีภาพดังกล่าวดำเนินต่อมาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กลไกในการตรวจพิจารณารวมถึงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่เข้มงวด การควบคุมโดยตรงของรัฐบาลหรือทหารต่อสื่อแพร่สัญญาณ และการใช้แรงกดดันทางเศรษฐกิจและการเมือง การวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ถูกห้ามตามรัฐธรรมนูญ แม้คดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยส่วนใหญ่มุ่งไปยังคนต่างด้าว หรือคู่แข่งของผู้นำการเมือง สังคมและพาณิชย์ที่เป็นชาวไทย ในการสำรวจดัชนีเสรีภาพสื่อทั่วโลก จัดโดยผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 59 จาก 167 ประเทศในปี 2547 แล้วร่วงลงเป็นอันดับที่ 107 ในปี 2548 และไปอยู่อันดับที่ 153 จาก 178 ประเทศในปี 2554 แล้วค่อยขึ้นมาอยู่อันดับที่ 137 จาก 179 ประเทศในปี 2555.

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และการตรวจพิจารณาในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ยืนยง โอภากุล

ืนยง โอภากุล หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ แอ๊ด คาราบาว เป็นศิลปินเพลงเพื่อชีวิตชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นหัวหน้าวงคาราบาว วงดนตรีเพื่อชีวิตและเป็นตำนานเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้รับยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้อง-นักประพันธ์เพลงไทยสากล) ประจำปี พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และยืนยง โอภากุล · ดูเพิ่มเติม »

สัจจะ ๑๐ ประการ

ัจจะ ๑๐ ประการเป็นอัลบั้มชุดที่ 12 ของวงคาราบาว วางจำหน่ายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2535 จัดจำหน่ายโดย Musica และโปรโมตโดย ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ (ปัจจุบันคือ วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์) โดยมีเพลงในอัลบั้มนี้ทั้งหมด 10 เพลง และมีเพลงฮิตคือ สัจจะ ๑๐ ประการ, ชนะภัย, ช้าก่อน และ "สามช่าจงเจริญ".

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และสัจจะ ๑๐ ประการ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย)

ำนักนายกรัฐมนตรี เป็นส่วนราชการของรัฐบาลไทย มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่ไม่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี รับผิดชอบการบริหารราชการทั่วไป เสนอแนะนโยบายและการวางแผนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และความมั่นคง และราชการเกี่ยวกับการงบประมาณ ระบบราชการ การบริหารงานบุคคล กฎหมายและการพัฒนากฎหมาย การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การส่งเสริมการลงทุน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การปฏิบัติภารกิจพิเศษและราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือที่มิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดโดยเฉ.

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และสำนักนายกรัฐมนตรี (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

สถานีวิทยุกระจายเสียง

งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุกระจายเสียง เป็นสถานที่ของหน่วยงาน ซึ่งทำหน้าที่สื่อสารมวลชน ด้วยการใช้เครื่องส่งกระจายเสียงผ่านคลื่นวิทยุ โดยใช้เสากระจายสัญญาณ ออกไปยังผู้ฟังผ่านเครื่องรับวิท.

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และสถานีวิทยุกระจายเสียง · ดูเพิ่มเติม »

สถานีโทรทัศน์

นีโทรทัศน์ เป็นหน่วยงาน ที่เป็นเจ้าของคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ หรือเป็นผู้รับสัมปทานคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ รวมถึงเป็นผู้จัดสรรเวลาในการออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ ผ่านคลื่นความถี่ดังกล่าว และยังเป็นบริการส่งสัญญาณออกอากาศวิทยุโทรทัศน์ ไปสู่เครื่องรับโทรทัศน์ โดยผ่านคลื่นความถี่ทางอากาศ โดยมากจะอยู่ในรูปของนิติบุคคล บริษัทจำกั.

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

หากหัวใจยังรักควาย

หากหัวใจยังรักควาย คืออัลบั้มสตูดิโอชุดที่ 16 ของคาราบาว เป็นอัลบั้มที่เป็นการกลับมาร่วมงานกันของสมาชิกวงในยุคคลาสสิกทั้ง 7 คน โดยออกจำหน่ายเป็น 2 ชุด รวมทั้งสิ้น 20 เพลง เพลงที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มชุดนี้ ได้แก่ หลงวัฒน์ เต้าหู้ยี้ และ สามช่าคาราบาว.

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และหากหัวใจยังรักควาย · ดูเพิ่มเติม »

อานันท์ ปันยารชุน

อานันท์ ปันยารชุน (เกิด 9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 —) นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 18 และปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา และประเทศเยอรมนี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 และพฤษภาทมิฬ เขายังได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการรัฐกิจ ประจำปี..

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และอานันท์ ปันยารชุน · ดูเพิ่มเติม »

อเมริโกย

อเมริโกย เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 6 ของวงคาราบาว วางจำหน่ายวันที่ 1 ธันวาคม..

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และอเมริโกย · ดูเพิ่มเติม »

ท.ทหารอดทน

ท.ทหารอดทน เป็นสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 ของวงคาราบาว ออกวางจำหน่ายในปลายปี พ.ศ. 2526 ในรูปแบบแผ่นเสียง และ เทปคาสเซ็ท โดยเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายที่ออกภายใต้สังกัดอโซน่า และ เป็นอัลบั้มแรกที่ได้ เป้า - อำนาจ ลูกจันทร์ และ รัช - ไพรัช เพิ่มฉลาด เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในวง ในตำแหน่งมือกลอง และ มือเบสตามลำดับ หลังวงคาราบาวประสบความสำเร็จกับอัลบั้มวณิพก เมื่อช่วงต้นปี ทางวงก็เริ่มมีปัญหากับอโซน่าต้นสังกัด เรื่องห้องอัด ที่อโซน่าไม่ยอมให้คาราบาวไปบันทึกเสียงที่ห้องบันทึกเสียงศรีสยาม อัลบั้มชุดนี้จึงเป็นชุดสุดท้ายที่ออกกับค่ายอโซน่า โดยทางวงได้พบกับนักดนตรีฝีมือดีหลายคนในห้องบันทึกเสียงอโซน่า อัลบั้มนี้จึงมีสมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามาอีก 2 คน คือ อำนาจ ลูกจันทร์ - มือกลอง และ ไพรัช เพิ่มฉลาด - มือเบส นอกจากนี้ยังได้ เทียรี่ เมฆวัฒนา ดารานายแบบซึ่งมีผลงานเพลงร่วมกับ ไพจิตร อักษรณรงค์ มาร่วมร้องประสานเสียง, ร่วมเล่นกีตาร์ และ อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี มาเล่นแซ็กโซโฟนและคลาริเน็ตเป็นแบ็คอัพ และ ร่วมทัวร์คอนเสิร์ตกับทางวงด้วย โดยเฉพาะเทียรี่ที่ต้องเป็นมือกีตาร์แทน เล็ก - ปรีชา ชนะภัย ที่ต้องไปทัวร์คอนเสิร์ตกับวงเพรสซิเดนท์ ที่ สหรัฐอเมริกา ก่อนที่ทั้งสองคนจะกลายเป็นสมาชิกของคาราบาวในอัลบั้มชุดต่อมา อัลบั้มนี้มีบทเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างมาก คือเพลง คือเพลง ท.ทหารอดทน แต่กลับถูก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (กบว.) สั่งห้ามออกอากาศตามสื่อต่าง ๆ ในเวลาต่อมา เพราะมีเนื้อหาพาดพิงเกี่ยวกับทหารในท่อนที่ร้องว่า ดาวเดือนลอยเกลื่อนท้องฟ้ายิงให้ตกลงมาติดบ่าได้สบาย โดย พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ผบท.

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และท.ทหารอดทน · ดูเพิ่มเติม »

ทับหลัง (อัลบั้มเพลง)

ทับหลัง เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 9 ของ คาราบาว ภายใต้สังกัดแว่วหวาน กำหนดเดิมออกจำหน่ายวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 แต่เมื่อทางสถาบันศิลปะนครชิคาโก สหรัฐอเมริกา ยินยอมให้นำทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์กลับคืนสู่ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ภายในวันที่ 10 พฤศจิกายน อัลบั้มก็ได้เลื่อนวันจำหน่ายเป็นวันที่ 9 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันเกิดของหัวหน้าวงคาราบาว เนื่องจากเนื้อหาของบทเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้มเป็นเพียงการเรียกร้องให้กลับคืนมาซึ่งไม่กำหนดวันที่แน่นอน พอเมื่อสถานการณ์พลิกกลับจึงนำเพลง "แม่สาย" ขึ้นมาเป็นเพลงนำร่องอีกเพลงหนึ่ง สมาชิกวงในชุดนี้ยังคงเป็นชุดคลาสสิก แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาจากชุดที่แล้วก็คือ มีความคืบหน้าทางดนตรีที่เด่นชัดยิ่งขึ้น ด้วยรูปแบบการนำเสนอที่หลากหลาย เช่น มีการเริ่มใช้คอรัสหญิงมาสอดใส่เสียงประสาน มีการใช้เสียงพูดกับดนตรีตลอดเพลง ในภาคการโปรโมทนั้นได้มีการผลิตมิวสิกฟิล์มเป็นครั้งแรกในเพลง "ทับหลัง" และมิวสิกแอนิเมชั่นครั้งแรกในเพลง "แม่สาย" จากฝีมือของกลุ่มอัศเจรีย์ และเพลง "รักทรหด" ที่ได้นำดาวตลกชื่อดังอย่าง อรุณ ภาวิไล และ ปู โลกเบี้ยว มาเล่นมิวสิกวิดีโอให้กับคาราบาวเป็นครั้งแรก ซึ่งเพลงรักทรหดได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวต่อเป็นภาคสองในอัลบั้มถัดไป เพลงดังในอัลบั้มชุดนี้ ได้แก่ "ทับหลัง", "รักทรหด"(ภาค 1) และเพลงสะท้อนสังคมที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจอย่าง "แม่สาย" ซึ่งเพลงดังกล่าวยังคงถูกเผยแพร่และมีศิลปินคนอื่นๆ ในแนวเดียวกันและต่างแนวนำขับร้องใหม่จนถึงปัจจุบัน ส่วนเพลงที่ถูกทาง กบว. ห้ามออกอากาศได้แก่เพลง "พระอภัยมุณี" และถือเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายของสมาชิกยุคคลาสสิกเมื่อเกิดข่าวการแยกวง จนมีการออกอัลบั้มในลักษณะเดี่ยวและส่วนหนึ่งของวงในภายหลัง.

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และทับหลัง (อัลบั้มเพลง) · ดูเพิ่มเติม »

คาราบาว

ราบาว (Carabao) เป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตและยังเป็นตำนานเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงโด่งดังและยังเป็นวงที่อมตะตลอดกาลของประเทศไทย โดยมี ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) เป็นหัวหน้าวง.

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และคาราบาว · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย (อัลบั้ม)

ประชาธิปไตย เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 7 ของ คาราบาว ออกจำหน่ายในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2529 โดยทำขึ้นมาตามกระแสการเรียกร้องประชาธิปไตย โดยมีเพลงที่สะท้อนปัญหาประชาธิปไตยไว้ในชุด คือ ประชาธิปไตย และ ผู้ทน และยังมีบทเพลงอื่น ๆ ซึ่งล้วนเป็นบทเพลงที่มีคุณค่าต่อสังคมไทย โดยอัลบั้มชุดนี้เป็นชุดแรกที่ทางวงได้ทำมิวสิกวิดีโออย่างเป็นทางการขึ้น และมีเพลงดังที่มีการร้องต่ออยู่บ่อยครั้ง คือ เจ้าตาก ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศสาขามิวสิกวิดีโอดีเด่นจากงานประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 1 และถือเป็นอัลบั้มชุดแรกของวงที่ได้รับรางวัลประเภทมิวสิกวิดีโออีกด้วย รายชื่อเพลงในชุดนี้ตามลำดับ ได้แก่ ตาตี๋, ประชาธิปไตย, ผู้ทน, เจ้าตาก, พ่อ, ถึกควายทุย ภาค 7, วันเด็ก, มหาจำลอง รุ่น 7, มรดกเฮงซวย แล.คว.คน โดยเพลง ผู้ทน, วันเด็ก แล.คว.คน ถูก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ กบว.

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และประชาธิปไตย (อัลบั้ม) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีไทย

นายกรัฐมนตรีไทย เป็นประธานแห่งคณะรัฐมนตรีไทย และทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย โดยมีจุดกำเนิดมาจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา โดยปกติแล้วนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยจะมีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งโดยหลักแล้วถือว่านายกรัฐมนตรีมีต้องมาจากการแต่งตั้งทางอ้อมโดยประชาชน แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สภาที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง) ซึ่งผลการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีปรากฏว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และนายกรัฐมนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

โนพลอมแพลม

นพลอมแพลม เป็นคำล้อเลียน "โนพร็อบเบลม" (No Problem, ไม่มีปัญหา) คำพูดติดปาก พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เมื่อให้สัมภาษณ์นักข่าว เป็นสตูดิโออัลบั้มเดี่ยวชุดที่ 4 ของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว แต่เป็นชุดแรกที่ใช้ชื่อจริงคือ ยืนยง โอภากุล ปรากฏบนปกเทป เดิมแอ๊ดกำหนดวางจำหน่ายอัลบั้มในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2533 แต่ติดเงื่อนไขที่มีเพลงซึ่งไม่ผ่านการเห็นชอบจาก คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ หรือ กบว.

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และโนพลอมแพลม · ดูเพิ่มเติม »

เมด อิน ไทยแลนด์ (อัลบั้ม)

มด อิน ไทยแลนด์ (Made in Thailand) คือสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 5 ของ คาราบาว วางจำหน่ายเมื่อเดือน ธันวาคม..

ใหม่!!: คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และเมด อิน ไทยแลนด์ (อัลบั้ม) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กบว.

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »