โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ขุนแผน

ดัชนี ขุนแผน

อนุสาวรีย์ขุนแผน ขุนแผน หรือชื่อเดิม พลายแก้ว เป็นตัวเอกของวรรณคดีไทย เรื่อง ขุนช้างขุนแผน.

26 ความสัมพันธ์: บัวคลี่พ.ศ. 2560การบวชกุมารทองวรรณกรรมไทยวัชระ ตังคะประเสริฐวัดป่าเลไลยก์วัดป่าเลไลยก์วรวิหารวัดแควิชาสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2สามเณรสายทองหลวงพระบางอาณาจักรอยุธยาจอมทองจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีทองประศรีขุนช้างขุนช้างขุนแผนขุนศรีวิชัยขุนแผนขุนไกรพลพ่ายคาถานางศรีประจัน

บัวคลี่

นางบัวคลี่ เป็นตัวละครในเรื่องขุนช้างชุนแผน เป็นลูกสาวของหมื่นหาญกับนางสีจันทร์ นางมีรูปโฉมงดงามราวกับสาวชาววัง เจ้าเมืองกรมการแห่งกาญจนบุรีรู้กิตติศัพท์ความงามของนางก็ส่งคนมาสู่ขอ แต่พ่อของนางไม่ยอมยกให้ เมื่อครั้งที่ขุนแผนเดินทางไปเสาะหาของวิเศษ ๓ อย่าง คือ กุมารทอง ดาบฟ้าฟื้น และม้าสีหมอก ก็ได้มาพบนางบัวคลี่เข้าก็มีความพอใจ จึงฝากตัวเข้าเป็นสมุนกับพ่อของนาง และได้นางเป็นภรรยา จนนางตั้งท้อง ต่อมาพ่อของนางเห็นว่าขุนแผนมีวิชาอาคมเหนือกว่า ก็เกรงว่าจะถูกยึดอำนาจ(บางก็บังคับให้ออกปล้นแต่ขุนแผนไม่ยอม) จึงสั่งให้นางบัวคลี่วางยาพิษฆ่าขุนแผนเสีย นางก็เชื่อฟังพ่อยอมกระทำตาม แต่ขุนแผนรู้ตัวเสียก่อนก็แค้นเคืองที่นางคิดไม่ซื่อ จึงแกล้งทำเป็นถูกพิษและไม่สบาย ครั้นนางนอนหลับก็ใช้มีดผ่าท้องของนางควักเอาลูกในท้องออกมาทำพิธีปลุกเสกเป็นกุมารทอง ส่วนนางก็เสียชีวิตลง.

ใหม่!!: ขุนแผนและบัวคลี่ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2560

ทธศักราช 2560 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2017 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ขุนแผนและพ.ศ. 2560 · ดูเพิ่มเติม »

การบวช

การบวช เป็นศัพท์ที่ใช้ในทางศาสนาโดยมีขั้นตอนที่จะทำให้บุคคลธรรมดาผู้นับถือศาสนาต่างๆ กลายเป็นนักบวชของศาสนาที่ตนนับถือนั้น การบวชมักประกอบไปด้วยพิธีกรรมและแบบพิธีต่าง ๆ ซึ่งขั้นตอนการบวชเองนั้นก็มีความแตกต่างกันไปตามศาสนาและชื่อเรียกขาน ผู้ที่กำลังเตรียมเข้าสู่การบวชเรียกว่า ผู้เตรียมบวช (ordinand).

ใหม่!!: ขุนแผนและการบวช · ดูเพิ่มเติม »

กุมารทอง

ตุ๊กตากุมารทองที่ศาลเจ้าจังหวัดราชบุรี กุมารทอง เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์ของไทยเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ที่มาของกุมารทองมาจากการเลี้ยงภูตผีปีศาจไว้ใช้งาน โดยกุมารทองจะเป็นวิญญาณของเด็กผู้ชาย หากเป็นวิญญาณผู้หญิงที่คนเลี้ยงไว้จะเรียกว่า "โหงพราย" กุมารทองนั้นแรกเริ่มเดิมทีมาจากวิญญาณของเด็กที่ตายในท้องแม่หรือที่เรียกว่าตายทั้งกลม ผู้มีวิชาอาคมจะไปนำพาวิญญาณเด็กนั้นมาเลี้ยงไว้เป็นลูก จากหลักฐานที่พบในเอกสารโบราณระบุถึงการทำกุมารทองสรุปว่า ต้องหาศพที่ตายทั้งกลม แล้วประกอบพิธีกรรมผ่าเอาศพทารกในท้องนั้นมาย่างไฟให้แห้งสนิทก่อนรุ่งอรุณ แล้วจึงลงรักปิดทองให้ทั่ว ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่ากุมารทอง ต่อมาสภาพสังคมและวัฒนธรรมพัฒนาไปมากขึ้น ทำให้ไม่สามารถสร้างกุมารทองจากศพทารกจริง ๆ ได้ จึงได้มีการดัดแปลงกรรมวิธีการสร้างกุมารทองขึ้น โดยใช้ดินเจ็ดป่าช้าบ้าง ไม้รักซ้อนหรือไม้มะยมบ้าง ไปจนถึงโลหะ มาสร้างเป็นรูปกุมาร แล้วปลุกเสกตั้งจิต ตั้งธาตุทั้ง 4 และเรียกอาการสามสิบสองให้บังเกิดเป็นจิตวิญญาณของเด็กขึ้นมา กุมารทองปัจจุบันนิยมสร้างเป็นรูปเด็ก ลักษณะเป็นเด็กไว้จุก นุ่งโจงกระเบนอย่างโบราณ กลายเป็นเครื่องรางของขลัง เชื่อกันว่าเสมือนมีวิญญาณเด็กอยู่ในรูปกุมารนั้น ผู้บูชาต้องเลี้ยงดูเหมือนลูกของตน ต้องให้ข้าวน้ำเซ่นสรวงและต้องเรียกให้กินข้าวด้วย กล่าวกันว่าหากปฏิบัติดูแลดีกุมารทองก็จะช่วยค้ำคูณ อาทิ ช่วยคุ้มครองป้องกันเจ้าของและครอบครัวจากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย ช่วยให้ทำมาค้าขึ้น ไปจนถึงเตือนภัยล่วงหน้าอีกด้วย และจะคอยติดตามเฝ้าระวังบ้านเรือนจากโจรผู้ร้ายและศัตรูไม่ให้มากล้ำกราย ปัจจุบันผู้บูชานิยมไหว้ด้วยน้ำแดง เรื่องราวของกุมารทองถูกกล่าวถึงใน วรรณคดีไทย เช่น ขุนช้างขุนแผน บ้างก็นับลูกกรอก เป็นกุมารทองด้วย เครื่องรางอีกประเภทหนึ่งที่คล้ายกันคือรักยม ทั้งกุมารทองและรักยมปัจจุบันยังมีผู้นิยมบูชากันอยู่ไม่น้อยในสังคมไท.

ใหม่!!: ขุนแผนและกุมารทอง · ดูเพิ่มเติม »

วรรณกรรมไทย

วรรณคดีไทย คือ วรรณกรรมทุกประเภทไม่ว่าในลักษณะร้อยแก้ว หรือร้อยกรองที่ประพันธ์ขึ้นเป็นภาษาไทย โดยมีเอกลักษณ์ของการใช้ภาษาแบบไทย เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการประดิษฐ์สร้างสรรค์วรรณคดี และเป็นสาเหตุประการสำคัญที่ทำให้ลักษณะวรรณคดีของชาติในแต่ละยุคแตกต่างกัน วรรณคดีไทยที่ปรากฎขึ้นในสมัยสุโขทัยเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 มีลักษณะที่สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นตอนที่ชาวไทย หรือชาวสยาม ได้เริ่มพัฒนาภาษาของตนขึ้นอย่างมีเอกลักษณ์ แตกต่างไปจากภาษาของชนที่พูดภาษาไท-กะไดเผ่าอื่น โดยเริ่มมีหลักฐานปรากฎชัดราวสมัยที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และเริ่มการปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง คนไทยกำลังแสวงหาลักษณะเฉพาะของชาติ วรรณคดีสุโขทัยก็ได้สะท้อนความจริงนี้ และได้บันทึกถึงสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นต้นเค้าของลักษณะไทย เช่น การบันทึกในศิลาจารึกเรื่องการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย โดยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช กษัตริย์องค์ที่สาม เมื่อ..

ใหม่!!: ขุนแผนและวรรณกรรมไทย · ดูเพิ่มเติม »

วัชระ ตังคะประเสริฐ

วัชระ ตังคะประเสริฐ เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม..

ใหม่!!: ขุนแผนและวัชระ ตังคะประเสริฐ · ดูเพิ่มเติม »

วัดป่าเลไลยก์

วัดป่าเลไลยก์ สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: ขุนแผนและวัดป่าเลไลยก์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

ระพุทธรูปภายในโบสถ์วัดป่าเลไลย์ฯ (ภาพถ่ายปี 2558) วัดป่าเลไลยก์ “หลวงพ่อโต” วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่ ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรีชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดป่า ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตปางป่าเลไลยก์เดิมหลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปางประทานปฐมเทศนา เช่นเดียวกับพระพุทธรูปศิลาขาว หรือหลวงพ่อประทานพร วัดพระปฐมเจดีย์ ต่อมาได้มีการบูรณะและทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน วัดป่าเลไลยก์วรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ระดับวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่หน้าบันของวิหารวัดป่าเลไลยก์มีเครื่องหมายพระมหามกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จธุดงค์มาพบสมัยยังผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วจึงทรงมาปฏิสังขรณ.

ใหม่!!: ขุนแผนและวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดแค

วัดแค ตั้งอยู่บริเวณ ตำบลวัดแค อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม “วัดแค” มีชื่อเดิมว่า “วัดกัมพูชาราม” ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามเชื้อชาติของผู้อยู่อาศัยในบริเวณนี้ ซึ่งเป็นชาวกัมพูชาเป็นส่วนมาก โดยไม่ปรากฏหลักฐาน ว่าสร้างขึ้นในยุคสมัยใด และใครเป็นผู้สร้าง ตามประวัติแล้วเชื่อว่าน่าจะมีอายุประมาณ 200 ปี ซึ่งเมื่อพิจารณาจากหลักฐานทางศิลปะ และลักษณะความโดดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมของแต่ละยุคสมัย สิ่งที่วัดแค มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากวัดอื่นโดยทั่วไป ก็คือ เครื่องยอดของหลังคาโบสถ์เป็นรูปมังกรแทนที่เครื่องยอดทั่วไปตามสถาปัตยกรมแบบพุทธศาสนาซึ่งมีช่อฟ้า ใบระกา หางหงษ์ มังกรแบบจีนนี้เลื้อยขดอยู่ที่ปลายสุดของสันหลังคาทั้งสองด้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ศิลปกรรมแบบจีน นอกจากนั้นบริเวณหน้าบันของวิหาร ยังมีเครื่องถ้วยชามทั้งที่เป็นชามลายครามและชาม ซึ่งการใช้ถ้วยชามประดับสถาปัตยกรรม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ลักษณะทางศิลปะ สถาปัตยกรรม และข้อสังเกตต่างๆ จึงสันนิษฐานได้ว่า วัดแค น่าจะสร้างขึ้นในสมัย รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมกันในสมัยนั้น ซึ่งมักเรียกว่าแบบจีนนี้นิยม ดังเช่นพระอุโบสถวัดเทพธิดาราม พระปรางค์วัดอรุณฯ พระอุโบสถวัดเขายี่สาน อำเภออัมพวา สมุทรสงคราม เป็นต้น โดยจากการศึกษาประวัติศาสตร์และการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณในอดีต พบว่านับตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ - ๓ ไทยยังมีสงครามกับเพื่อนบ้านอยู่เป็นระยะ ๆ ทำให้มีการอพยพเชลยศึกจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเป็นกำลังพัฒนาประเทศ เชลยศึกเหล่านั้นถูกกำหนดให้นำมาไว้ที่ริมแม่น้ำนครชัยศรี โดยเฉพาะเขตอำเภอนครชัยศรี เช่น ชุมชนชาวลาวที่ใกล้วัดกลางคูเวียง ชุมชนชาวเขมรที่ใกล้วัดแคและวัดสัมปทวน ส่วนแขกฮินดูจากเขมรไว้ที่วัดโคกแขก และ มอญไว้ที่ทางราชบุรี แต่เดินทางผ่านแม่น้ำนครชัยศรีช่วงวัดท่ามอญวัดตรงนั้นจึงชื่อวัดท่ามอญ ซึ่งในช่วงรัชกาลที่ ๓ ได้มีการอพยพย้ายถิ่นของคนจีนจากหลายจังหวัดและมณฑลของจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อหลีกหนีความยากลำบากจากการดำรงชีพในจีน เพื่อหาแหล่งดำรงชีพที่ดีกว่า จึงมุ่งตั้งหลักปักฐานในประเทศไทย โดยรอนแรมมาทางเรือเข้ามายังอ่าวไทยเพื่อที่จะมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งคนจีนเหล่านั้นก็ได้รับการต้อนรับด้วยดี ทำให้คนจีนแทรกตัวอยู่ในชุมชนไทยทุกหนทุกแห่งที่อยู่ริมแม่น้ำลำคลองในภาคกลางรวมถึงที่มณฑลนครชัยศรีแห่งนี้ด้วย และเมื่อศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนบริเวณนครชัยศรี พบว่า หลักฐานจากตอนหนึ่งของหนังสือ “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวกับโบราณคดี ในเมืองนครชัยศรี” ซึ่งอาจารย์ชูสิริ จามรมาน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร เรียบเรียงเมื่อ..

ใหม่!!: ขุนแผนและวัดแค · ดูเพิ่มเติม »

วิชา

วิชา มาจากภาษาบาลี วิชฺช หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการเล่าเรียนหรือฝึกฝน บางครั้งอาจหมายถึง ความรู้ความสามารถของบุคคลหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดไปให้ผู้อื่นได้ โดยไม่จำเป็นต้องสอนในห้องเรียน ผู้เรียนจะต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในวิชานั้นๆ ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ แล้วสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เราจะพบเห็นวิชาได้บ่อยในโรงเรียนหรือสถานศึกษา โดยใช้วิชาเป็นสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างเรื่องที่สอน เช่น วิชาภาษาไทย วิชาสังคมศึกษา วิชาคณิตศาสตร์ เป็นต้น อนึ่ง คำว่า วิทยา, พิทยา มาจากภาษาสันสกฤต วิทฺย, พิทฺย ซึ่งมีรากศัพท์มาจาก วิชฺช เช่นกัน แต่ปัจจุบันได้ใช้ในความหมายว่า ความรู้ความสามารถที่ถูกต้องตรงตามแบบแผน ดังที่เคยมีบุคคลหนึ่งได้ทดลองและพิสูจน์มาแล้ว เหมือนแนวคิดของวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ในทางพระพุทธศาสนา วิชชา หมายถึง การรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง รู้ว่าสิ่งใดเป็นทุกข์ เหตุและหนทางแห่งความดับทุกข์ ตรงข้ามกับคำว่า อวิชชา ซึ่งหมายถึงความไม่รู้แจ้ง วิชชา มี 3 ประการ คือ.

ใหม่!!: ขุนแผนและวิชา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

มเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่งอาณาจักรอยุธยา มีพระนามเดิมว่า พระเชษฐา เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชสมภพที่เมืองพิษณุโลกเมื่อปีมะโรง..

ใหม่!!: ขุนแผนและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

สามเณร

ผู้ที่จะบรรพชาเป็นสามเณรได้ต้องมีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และจะบวชอยู่เป็นสามเณรตลอดชีวิตก็ได้ สามเณร และ สามเณรี แปลว่า เหล่ากอของสมณะ, หน่อเนื้อของสมณะ หมายถึงนักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ถ้าเป็นนักบวชหญิงอายุน้อยเรียกว่า สามเณรี คำว่า สามเณร สามเณรี เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไป ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรสามเณรีได้นั้นทางพระวินัยกำหนดอายุอย่างต่ำไว้ประมาณ 7 ขวบซึ่งพอช่วยเหลือตัวเองได้ พระวินัยระบุว่าพอจะไล่กาไล่ไก่ได้ ส่วนสูงไม่มีกำหนดไว้ ผู้มีอายุไม่เกิน 20 ปีจะบวชเป็นสามเณรตลอดไป ไม่บวชเป็นภิกษุก็ได้.

ใหม่!!: ขุนแผนและสามเณร · ดูเพิ่มเติม »

สายทอง

นางสายทองเป็นชื่อตัวละครในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน โดยเป็นทาสของนางศรีประจันมีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงนางพิมพิลาไลยบุตรสาวของนางศรีประจัน และยังเป็นภรรยาของขุนแผนด้ว.

ใหม่!!: ขุนแผนและสายทอง · ดูเพิ่มเติม »

หลวงพระบาง

หลวงพระบาง (ຫຼວງພຣະບາງ) เป็นเมืองเอกของแขวงหลวงพระบาง ประเทศลาว อยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงและแม่น้ำคาน ซึ่งไหลมาบรรจบกันบริเวณนั้นเรียกว่า ปากคาน เป็นเมืองที่องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เป็นมรดกโลกด้ว.

ใหม่!!: ขุนแผนและหลวงพระบาง · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ขุนแผนและอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

จอมทอง

อมทอง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ขุนแผนและจอมทอง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกาญจนบุรี

ังหวัดกาญจนบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดเชียงใหม่ และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จรดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จรดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จรดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จรดประเทศพม.

ใหม่!!: ขุนแผนและจังหวัดกาญจนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุพรรณบุรี

รรณบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานคร 107 กิโลเมตร จังหวัดที่อยู่ติดกัน (จากทิศเหนือ วนตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และกาญจนบุรี.

ใหม่!!: ขุนแผนและจังหวัดสุพรรณบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ทองประศรี

นางทองประศรีเป็นชื่อตัวละครหญิงตัวสำคัญซึ่งมีบทบาทตั้งแต่ต้นจนจบในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน โดยเป็นภริยาของข้าราชการทหารชื่อขุนไกรพลพ่ายและเป็นมารดาของพลายแก้ว นางทองประศรีนั้นเป็นตัวอย่างของหญิงไทยแต่โบราณซึ่งมีความรู้ความสามารถและช่วยเหลือส่งเสริมผู้อื่นให้เป็นคนดี ซึ่งตรงกันข้ามกับนางศรีประจันมารดาของนางวันทอง.

ใหม่!!: ขุนแผนและทองประศรี · ดูเพิ่มเติม »

ขุนช้าง

นช้าง เป็นตัวร้ายของวรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน.

ใหม่!!: ขุนแผนและขุนช้าง · ดูเพิ่มเติม »

ขุนช้างขุนแผน

รื่องขุนช้างขุนแผน เป็นนิทานมหากาพย์พื้นบ้านของไทย เค้าเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้สันนิษฐานว่าเคยเกิดขึ้นจริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วมีผู้จดจำเล่าสืบต่อกันมา เนื่องจากเรื่องราวของขุนช้างขุนแผนมีปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า แต่มีการดัดแปลงเพิ่มเติมจนมีลักษณะคล้ายนิทานเพื่อให้เนื้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตามยิ่งขึ้น รายละเอียดในการดำเนินเรื่องยังสะท้อนภาพการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวสยามในครั้งอดีตได้อย่างชัดเจนยิ่ง จนนักภาษาศาสตร์วิลเลียม เกดนีย์ กล่าวว่า "ข้าพเจ้ามักคิดบ่อยๆว่า หากความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยเกิดสูญหายไปหมด ทุกอย่างอาจจะถูกสร้างขึ้นมาได้ใหม่ จากข้อเขียนที่อัศจรรย์นี้" เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ ถูกสันนิษฐานว่าเป็นการแต่งขึ้นร้องแบบมุขปาถะ (ปากต่อปาก) เพื่อความบันเทิง ในลักษณะเดียวกับมหากาพย์ของยุโรป อย่างเช่นของโฮเมอร์ โดยคงจะเริ่มแต่งตั้งแต่ราวอยุธยาตอนกลาง (ราว พ.ศ. 2143) และมีการเพิ่มเติม หรือตัดทอนเรื่อยมา จนมีรายละเอียดและความยาวอย่างที่สืบทอดกันอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ไม่ได้ถูกบันทึกลงไว้เป็นกิจลักษณะ เนื่องจากบุคคลชั้นสูงสมัยนั้นเห็นว่าเป็นกลอนชาวบ้าน ที่มีเนื้อหาบางตอนหยาบโลน และไม่มีการใช้ฉันทลักษณ์อย่างวิจิตร ดังนั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกเผาทำลายในปี..

ใหม่!!: ขุนแผนและขุนช้างขุนแผน · ดูเพิ่มเติม »

ขุนศรีวิชัย

นศรีวิชัยเป็นชื่อบรรดาศักดิ์ของตัวละครตัวหนึ่งในเสภาขุนช้างขุนแผน โดยเป็นบิดาของขุนช้าง นอกจากจะเป็นคนรุ่นเดียวกับขุนไกรพลพ่ายบิดาของขุนแผนแล้วยังถึงแก่กรรมในโอกาสไล่เลี่ยกันอีกด้ว.

ใหม่!!: ขุนแผนและขุนศรีวิชัย · ดูเพิ่มเติม »

ขุนแผน

อนุสาวรีย์ขุนแผน ขุนแผน หรือชื่อเดิม พลายแก้ว เป็นตัวเอกของวรรณคดีไทย เรื่อง ขุนช้างขุนแผน.

ใหม่!!: ขุนแผนและขุนแผน · ดูเพิ่มเติม »

ขุนไกรพลพ่าย

นไกรพลพ่าย (/ขุน-ไกรฺ-พน-ละ-พ่าย/) หรือเรียกโดยย่อว่าขุนไกร เป็นชื่อบรรดาศักดิ์ฝ่ายทหารของตัวละครตัวหนึ่งในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ขุนไกรเป็นบิดาของพลายแก้วผู้ต่อมามีบรรดาศักดิ์ว่า "ขุนแผน" และเป็นสามีของนางทองประศรี ขุนไกรต้องโทษประหารชีวิตตั้งแต่บุตรยังเล็ก.

ใหม่!!: ขุนแผนและขุนไกรพลพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

คาถา

แปลว่า ถ้อยคำที่ร้อยกรอง ถ้อยคำที่ผูกไว้ ถ้อยคำที่ขับร้อง ท่อง สวด ในคำวัดหมายถึงคำประพันธ์ภาษาบาลีประเภทฉันทลักษณ์ที่แต่งครบ ๔ บาทหรือ ๔ วรรค ๑ คาถามี ๔ บาท แต่ละบาทมีจำนวนคำต่างกันไปตามชื่อฉันท์ เช่น อินทรวิเชียรฉันท์ แต่ละบาทมี ๑๑ คำ ๔ บาทก็มี ๔๔ คำ ๑ คาถาของอินทรวิเชียรฉันท์จึงมี ๔๔ คำ ในเวสสันดรชาดก มี ๑,๐๐๐ คาถา จึงเรียกว่าคาถาพัน ในภาษาไทยหมายถึงคำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ "คาถาอาคม" ก็เรียก.

ใหม่!!: ขุนแผนและคาถา · ดูเพิ่มเติม »

นางศรีประจัน

นางศรีประจันเป็นตัวละครในเรื่องขุนช้างขุนแผน เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรีนางศรีประจันเป็นแม่ของนางพิมพิลาไลยและเป็นภรรยาคนเดียวของพันศรโยธา ตั้งบ้านเรือนที่ บ้านท่าพี่เลี้ยงสุพรรณบุรี นางศรีประจันเป็นคนปากจัด ด่าเก่ง และเอาแต่ใจตนเอง.

ใหม่!!: ขุนแผนและนางศรีประจัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ม้าสีหมอกพลายแก้ว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »