โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระหม่อมหน้า

ดัชนี กระหม่อมหน้า

กระหม่อมหน้า (anterior fontanelle, bregmatic fontanelle หรือ frontal fontanelle) เป็นกระหม่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ที่จุดร่วมของรอยประสานหว่างขม่อม (sagittal suture), รอยประสานคร่อมขม่อมหน้า (coronal suture), และรอยประสานหน้าผาก (frontal suture) มีรูปร่างเหมือนเพชรหรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ในแนวหน้าหลังยาวประมาณ 4 เซนติเมตร และในแนวขวางประมาณ 2.5 เซนติเมตร กระหม่อมช่วยทำให้กะโหลกศีรษะเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เล็กน้อยขณะคลอดเพื่อช่วยในการผ่านช่องคลอดและช่วยให้กะโหลกขยายได้เมื่อมีการขยายขนาดของสมองหลังคลอด ในขณะที่กระหม่อมหลังและกระหม่อมด้านข้างจะปิดประมาณ 6 เดือนหลังคลอด กระหม่อมหน้าจะยังไม่ปิดจนกระทั่งถึงประมาณกลางขวบปีที่ 2 การกลายเป็นกระดูก (ossification) จะเริ่มเต็มที่เมื่อปลายอายุ 20 และสิ้นสุดก่อนอายุ 50 ปี.

11 ความสัมพันธ์: ช่องคลอดกระหม่อมกระหม่อมหลังกะโหลกศีรษะการกลายเป็นกระดูกภาวะขาดน้ำรอยประสานหว่างขม่อมรอยประสานหน้าผากรอยประสานคร่อมขม่อมหน้าสมองเบรกมา

ช่องคลอด

องคลอด (Vagina) รากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึง สิ่งหุ้ม หรือ ฝัก โดยทั่วไปในภาษาปาก คำว่า "ช่องคลอด" มักใช้เรียกแทน "ช่องสังวาส" หรือ "อวัยวะเพศหญิง" หรือ "แคม" ในภาษาทางการ "ช่องคลอด" หมายถึง โครงสร้างภายใน ส่วน "ช่องสังวาส" และคำอื่น ๆ หมายถึง "อวัยวะเพศหญิงภายนอก" เท่านั้น ในภาษาสแลง มีคำหยาบและคำต้องห้ามหลายคำใช้เรียกแทน ช่องคลอด หรือ ช่องสังวาส ในภาษาไทย เช่น หี, หอย ฯลฯ หรือในภาษาอังกฤษ เช่น cunt, pussy ฯลฯ.

ใหม่!!: กระหม่อมหน้าและช่องคลอด · ดูเพิ่มเติม »

กระหม่อม

มุมมองทางด้านบนของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้าและกระหม่อมหลัง มุมมองทางด้านข้างของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้า กระหม่อมข้าง และกระหม่อมกกหู กระหม่อม หรือ ขม่อม (fontanelle) เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ในกะโหลกศีรษะของทารก กระหม่อมเป็นโครงสร้างนิ่มๆ ของศีรษะทารกซึ่งแผ่นกระดูกหุ้มสมองสามารถหดชิดเข้ามาหากันได้ทำให้ศีรษะทารกผ่านช่องคลอดได้ในระหว่างคลอด การกลายเป็นกระดูก (ossification) ของกะโหลกศีรษะทำให้กระหม่อมปิดในระหว่าง 2 ขวบปีแรกของทารก การปิดของกระหม่อมทำให้กระดูกหุ้มสมองเชื่อมต่อกันเป็นข้อต่อแบบซูเจอร์ (suture) กระหม่อมที่เห็นได้ในทารกได้แก่ กระหม่อมหน้า (anterior fontanelle) และกระหม่อมหลัง (posterior fontanelle) และยังมีกระหม่อมที่น่าสนใจอีก 2 คู่ได้แก่ กระหม่อมกกหู (mastoid fontanelle) และกระหม่อมสฟีนอยด์ (sphenoidal fontanelle) รวมมีทั้งหมด 6 กระหม่อม กะโหลกศีรษะของทารกแรกเกิดประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้นหลักๆ ได้แก่ กระดูกหน้าผาก 2 ชิ้น, กระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้น, และกระดูกท้ายทอย 1 ชิ้น กระดูกทั้งหมดเชื่อมกันด้วยข้อต่อแบบซูเจอร์ ซึ่งช่วยในการเคลื่อนที่ของกระดูกระหว่างการคลอดและการเจริญเติบโต กระหม่อมหลังเป็นโครงสร้างบนกะโหลกศีรษะที่เป็นรอยเปิดระหว่างกระดูกที่ถูกปกคลุมด้วยเยื่อแผ่นหนา เป็นรอยเชื่อมระหว่างกระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้นและกระดูกท้ายทอย (บริเวณที่เรียกว่า แลมบ์ดา (lambda)) กระหม่อมนี้มักจะปิดระหว่าง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด กระหม่อมหน้าเป็นกระหม่อมที่มีขนาดใหญ่กว่า มีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมระหว่างกระดูกหน้าผาก 2 ชิ้นและกระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้น กระหม่อมนี้จะเปิดจนกระทั่งทารกมีอายุประมาณ 2 ปี แต่ทารกที่มีความผิดปกติเช่น โรค cleidocranial dysostosis อาจทำให้กระหม่อมนี้ปิดช้าหรือไม่ปิดเลย กระหม่อมหน้าเป็นบริเวณที่มีความสำคัญทางคลินิก การตรวจร่างกายทารกจำเป็นต้องมีการคลำกระหม่อมหน้าด้วย หากกระหม่อมหน้ายุบลงแสดงถึงภาวะขาดน้ำ (dehydration) ในขณะที่หากกระหม่อมหน้าตึงหรือปูดโปนออกมามากแสดงถึงการเพิ่มของความดันในกะโหลกศีรษะ (intracranial pressure) พ่อแม่มักจะมีความกังวลว่าทารกอาจมีแนวโน้มได้รับบาดเจ็บที่กระหม่อม แต่ในความเป็นจริงแล้วแม้ว่ากระหม่อมจะนับว่าเป็นบริเวณที่บอบบางของกะโหลกศีรษะ แต่เยื่อแผ่นที่คลุมกระหม่อมอยู่ก็มีความหนามากและทะลุผ่านได้ยากในระดับหนึ่ง กระหม่อมเป็นบริเวณที่ใช้ในการตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อดูภาพสมองของทารก แต่เมื่อกระหม่อมปิดแล้วจะไม่สามารถใช้การอัลตร้าซาวด์ในการสังเกตสมองได้เพราะกระหม่อมจะกลายเป็นกระดูกซึ่งเป็นบริเวณกั้นเสียง.

ใหม่!!: กระหม่อมหน้าและกระหม่อม · ดูเพิ่มเติม »

กระหม่อมหลัง

กระหม่อมหลัง หรือ ขม่อมหลัง (posterior fontanelle หรือ occipital fontanelle) เป็นกระหม่อมบนกะโหลกศีรษะ มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมและอยู่ที่จุดบรรจบของรอยประสานหว่างขม่อม (sagittal suture) และรอยประสาทแลมบ์ดอยด์ (lambdoidal suture) กระหม่อมนี้จะปิดภายใน 6-8 สัปดาห์หลังคลอดและเมื่อปิดแล้วจะเป็นรอยประสานที่เรียกว่า แลมบ์ดา (lambda).

ใหม่!!: กระหม่อมหน้าและกระหม่อมหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: กระหม่อมหน้าและกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

การกลายเป็นกระดูก

การกลายเป็นกระดูก หรือ การสร้างกระดูก เป็นกระบวนการสร้างเนื้อกระดูก โดยที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่นกระดูกอ่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นกระดูกหรือเนื้อเยื่อที่คล้ายกระดูก เนื้อเยื่อที่เกิดกระบวนการกลายเป็นกระดูกจะมีหลอดเลือดยื่นเข้าไปข้างใน หลอดเลือดเหล่านี้จะนำแร่ธาตุ เช่นแคลเซียม และเข้ามาในเนื้อเยื่อเพื่อให้เกิดการสร้างเนื้อกระดูกแข็ง การสร้างกระดูกเป็นกระบวนการที่เป็นพลวัต คือมีกระบวนการสร้างและสลายทดแทนกันอยู่ตลอด โดยมีเซลล์ออสติโอบลาสต์ (osteoblast) ทำหน้าที่พาเอาแร่ธาตุเข้ามา และมีออสติโอคลาสต์ (osteoclast) ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูก กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า กระบวนการก่อรูปกระดูก (bone remodeling) ซึ่งจะเกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต.

ใหม่!!: กระหม่อมหน้าและการกลายเป็นกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะขาดน้ำ

วะขาดน้ำ (dehydration) คือการที่ร่างกายมีปริมาตรน้ำในร่างกายทั้งหมดน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดความผิดปกติของกระบวนการเมตาบอลิซึมต่างๆ ของร่างกาย เกิดขึ้นเมื่ออัตราการสูญเสียน้ำออกจากร่างกายมากกว่าอัตราการได้รับน้ำเข้าสู่ร่างกาย อาจเกิดจากการออกกำลังกาย ความเจ็บป่วย หรืออุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่สูง ร่างกายของคนปกติสามารถทนรับการขาดน้ำในร่างกายได้จนถึง 3-4% โดยไม่เกิดผลเสียร้ายแรงใดๆ ต่อร่างกาย หากขาดน้ำ 5-8% อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียหรือมึนงง หากมากกว่า 10% อาจทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจอย่างมาก รวมไปถึงความกระหายน้ำอย่างรุนแรงได้.

ใหม่!!: กระหม่อมหน้าและภาวะขาดน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

รอยประสานหว่างขม่อม

รอยประสานหว่างขม่อม (sagittal suture) เป็นข้อต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบเส้นใยระหว่างกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) 2 ชิ้นของกะโหลกศีรษะ เมื่อแรกคลอดกระดูกของกะโหลกศีรษะจะไม่มาบรรจบกันสนิท หากกระดูกชิ้นใดชิ้นหนึ่งของกะโหลกศีรษะเจริญเร็วกว่าปกติทำให้เกิดการปิดของซูเจอร์ก่อนกำหนด (premature closure of the suture) ซึ่งทำให้กะโหลกผิดรูป เช่น หากรอยประสานหว่างขม่อมปิดก่อนกำหนดจะทำให้กะโหลกศีรษะยาว แคบ รูปร่างคล้ายลิ่ม ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า กะโหลกเป็นสันหว่างขม่อม (scaphocephaly) จุดหลักทางกายวิภาคที่พบบนรอยประสานหว่างขม่อม ได้แก่ เบรกมา (bregma) และส่วนยอดกะโหลก (vertex of the skull) เบรกมาเกิดจากจุดเชื่อมของรอยประสานระหว่างขม่อมและรอยประสานคร่อมขม่อมหน้า (coronal suture) และส่วนยอดกะโหลกเป็นจุดบนสุดของกะโหลกศีรษะ ซึ่งมักจะอยู่ใกล้กับตรงกลางของรอยประสานหว่างขม่อม.

ใหม่!!: กระหม่อมหน้าและรอยประสานหว่างขม่อม · ดูเพิ่มเติม »

รอยประสานหน้าผาก

รอยประสานหน้าผาก (frontal suture) คือโครงสร้างที่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนาแน่นที่แบ่งระหว่างครึ่งซ้ายและขวาของกระดูกหน้าผาก (frontal bone) ของกะโหลกศีรษะในทารกและเด็ก เมื่ออายุประมาณ 6 ปีรอยประสานนี้มักจะหายไป และครึ่งซีกซ้ายและขวาของกระดูกหน้าผากจะรวมเป็นกระดูกชิ้นเดียวกัน แต่ในผู้ใหญ่บางคนอาจยังคงอยู่ เรียกว่า "metopic suture" หากซูเจอร์นี้ไม่มีในเด็กแรกเกิดอาจทำให้กะโหลกศีรษะผิดรูป มีรูปร่างแหลมเหมือนกระดูกงูเรือ เรียกว่า "trigonocephaly" รอยประสานนี้มีประโยชน์เมื่อทารกคลอด กะโหลกศีรษะจะสามารถงอและยืดหยุ่นได้เล็กเล็กน้อย ทำให้ศีรษะทารกโค้งเข้าเมื่อผ่านช่องคลอ.

ใหม่!!: กระหม่อมหน้าและรอยประสานหน้าผาก · ดูเพิ่มเติม »

รอยประสานคร่อมขม่อมหน้า

รอยประสานคร่อมขม่อมหน้า (coronal suture) เป็นข้อต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบเส้นใยระหว่างกระดูกหน้าผาก (frontal bone) และกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) ของกะโหลกศีรษะ เมื่อแรกเกิดกระดูกของกะโหลกศีรษะจะไม่มาบรรจบกันสนิท.

ใหม่!!: กระหม่อมหน้าและรอยประสานคร่อมขม่อมหน้า · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: กระหม่อมหน้าและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เบรกมา

รกมา (bregma) เป็นมุมด้านหน้าของกะโหลกศีรษะซึ่งเกิดจากการบรรจบของรอยประสานหว่างขม่อม (sagittal suture) และรอยประสานคร่อมขม่อมหน้า (coronal suture) มักมีลักษณะเป็นมุมฉาก ในกะโหลกศีรษะของทารกอายุราว 1 ขวบครึ่งจุดนี้จะเป็นเยื่อแผ่นซึ่งเรียกว่ากระหม่อมหน้า (anterior fontanelle).

ใหม่!!: กระหม่อมหน้าและเบรกมา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Anterior fontanelleBregmatic fontanelleFrontal fontanelleขม่อมหน้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »