โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กระหม่อม

ดัชนี กระหม่อม

มุมมองทางด้านบนของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้าและกระหม่อมหลัง มุมมองทางด้านข้างของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้า กระหม่อมข้าง และกระหม่อมกกหู กระหม่อม หรือ ขม่อม (fontanelle) เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ในกะโหลกศีรษะของทารก กระหม่อมเป็นโครงสร้างนิ่มๆ ของศีรษะทารกซึ่งแผ่นกระดูกหุ้มสมองสามารถหดชิดเข้ามาหากันได้ทำให้ศีรษะทารกผ่านช่องคลอดได้ในระหว่างคลอด การกลายเป็นกระดูก (ossification) ของกะโหลกศีรษะทำให้กระหม่อมปิดในระหว่าง 2 ขวบปีแรกของทารก การปิดของกระหม่อมทำให้กระดูกหุ้มสมองเชื่อมต่อกันเป็นข้อต่อแบบซูเจอร์ (suture) กระหม่อมที่เห็นได้ในทารกได้แก่ กระหม่อมหน้า (anterior fontanelle) และกระหม่อมหลัง (posterior fontanelle) และยังมีกระหม่อมที่น่าสนใจอีก 2 คู่ได้แก่ กระหม่อมกกหู (mastoid fontanelle) และกระหม่อมสฟีนอยด์ (sphenoidal fontanelle) รวมมีทั้งหมด 6 กระหม่อม กะโหลกศีรษะของทารกแรกเกิดประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้นหลักๆ ได้แก่ กระดูกหน้าผาก 2 ชิ้น, กระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้น, และกระดูกท้ายทอย 1 ชิ้น กระดูกทั้งหมดเชื่อมกันด้วยข้อต่อแบบซูเจอร์ ซึ่งช่วยในการเคลื่อนที่ของกระดูกระหว่างการคลอดและการเจริญเติบโต กระหม่อมหลังเป็นโครงสร้างบนกะโหลกศีรษะที่เป็นรอยเปิดระหว่างกระดูกที่ถูกปกคลุมด้วยเยื่อแผ่นหนา เป็นรอยเชื่อมระหว่างกระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้นและกระดูกท้ายทอย (บริเวณที่เรียกว่า แลมบ์ดา (lambda)) กระหม่อมนี้มักจะปิดระหว่าง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด กระหม่อมหน้าเป็นกระหม่อมที่มีขนาดใหญ่กว่า มีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมระหว่างกระดูกหน้าผาก 2 ชิ้นและกระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้น กระหม่อมนี้จะเปิดจนกระทั่งทารกมีอายุประมาณ 2 ปี แต่ทารกที่มีความผิดปกติเช่น โรค cleidocranial dysostosis อาจทำให้กระหม่อมนี้ปิดช้าหรือไม่ปิดเลย กระหม่อมหน้าเป็นบริเวณที่มีความสำคัญทางคลินิก การตรวจร่างกายทารกจำเป็นต้องมีการคลำกระหม่อมหน้าด้วย หากกระหม่อมหน้ายุบลงแสดงถึงภาวะขาดน้ำ (dehydration) ในขณะที่หากกระหม่อมหน้าตึงหรือปูดโปนออกมามากแสดงถึงการเพิ่มของความดันในกะโหลกศีรษะ (intracranial pressure) พ่อแม่มักจะมีความกังวลว่าทารกอาจมีแนวโน้มได้รับบาดเจ็บที่กระหม่อม แต่ในความเป็นจริงแล้วแม้ว่ากระหม่อมจะนับว่าเป็นบริเวณที่บอบบางของกะโหลกศีรษะ แต่เยื่อแผ่นที่คลุมกระหม่อมอยู่ก็มีความหนามากและทะลุผ่านได้ยากในระดับหนึ่ง กระหม่อมเป็นบริเวณที่ใช้ในการตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อดูภาพสมองของทารก แต่เมื่อกระหม่อมปิดแล้วจะไม่สามารถใช้การอัลตร้าซาวด์ในการสังเกตสมองได้เพราะกระหม่อมจะกลายเป็นกระดูกซึ่งเป็นบริเวณกั้นเสียง.

18 ความสัมพันธ์: ช่องคลอดกระหม่อมหลังกระหม่อมหน้ากระดูกกระดูกหุ้มสมองกระดูกหน้าผากกระดูกท้ายทอยกระดูกข้างขม่อมกะโหลกศีรษะกายวิภาคศาสตร์การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์การกลายเป็นกระดูกภาวะขาดน้ำรอยประสาน (กายวิภาคศาสตร์)ทัดดอกไม้ข้อต่อแลมดาแอสเทอเรียน

ช่องคลอด

องคลอด (Vagina) รากศัพท์มาจากภาษาละติน หมายถึง สิ่งหุ้ม หรือ ฝัก โดยทั่วไปในภาษาปาก คำว่า "ช่องคลอด" มักใช้เรียกแทน "ช่องสังวาส" หรือ "อวัยวะเพศหญิง" หรือ "แคม" ในภาษาทางการ "ช่องคลอด" หมายถึง โครงสร้างภายใน ส่วน "ช่องสังวาส" และคำอื่น ๆ หมายถึง "อวัยวะเพศหญิงภายนอก" เท่านั้น ในภาษาสแลง มีคำหยาบและคำต้องห้ามหลายคำใช้เรียกแทน ช่องคลอด หรือ ช่องสังวาส ในภาษาไทย เช่น หี, หอย ฯลฯ หรือในภาษาอังกฤษ เช่น cunt, pussy ฯลฯ.

ใหม่!!: กระหม่อมและช่องคลอด · ดูเพิ่มเติม »

กระหม่อมหลัง

กระหม่อมหลัง หรือ ขม่อมหลัง (posterior fontanelle หรือ occipital fontanelle) เป็นกระหม่อมบนกะโหลกศีรษะ มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมและอยู่ที่จุดบรรจบของรอยประสานหว่างขม่อม (sagittal suture) และรอยประสาทแลมบ์ดอยด์ (lambdoidal suture) กระหม่อมนี้จะปิดภายใน 6-8 สัปดาห์หลังคลอดและเมื่อปิดแล้วจะเป็นรอยประสานที่เรียกว่า แลมบ์ดา (lambda).

ใหม่!!: กระหม่อมและกระหม่อมหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กระหม่อมหน้า

กระหม่อมหน้า (anterior fontanelle, bregmatic fontanelle หรือ frontal fontanelle) เป็นกระหม่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ที่จุดร่วมของรอยประสานหว่างขม่อม (sagittal suture), รอยประสานคร่อมขม่อมหน้า (coronal suture), และรอยประสานหน้าผาก (frontal suture) มีรูปร่างเหมือนเพชรหรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ในแนวหน้าหลังยาวประมาณ 4 เซนติเมตร และในแนวขวางประมาณ 2.5 เซนติเมตร กระหม่อมช่วยทำให้กะโหลกศีรษะเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เล็กน้อยขณะคลอดเพื่อช่วยในการผ่านช่องคลอดและช่วยให้กะโหลกขยายได้เมื่อมีการขยายขนาดของสมองหลังคลอด ในขณะที่กระหม่อมหลังและกระหม่อมด้านข้างจะปิดประมาณ 6 เดือนหลังคลอด กระหม่อมหน้าจะยังไม่ปิดจนกระทั่งถึงประมาณกลางขวบปีที่ 2 การกลายเป็นกระดูก (ossification) จะเริ่มเต็มที่เมื่อปลายอายุ 20 และสิ้นสุดก่อนอายุ 50 ปี.

ใหม่!!: กระหม่อมและกระหม่อมหน้า · ดูเพิ่มเติม »

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: กระหม่อมและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกหุ้มสมอง

กระดูกหุ้มสมอง เป็นกระดูกส่วนบนของกะโหลกศีรษะ แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่จัดให้กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกหุ้มสมอง.

ใหม่!!: กระหม่อมและกระดูกหุ้มสมอง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกหน้าผาก

กระดูกหน้าผาก (frontal bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในกะโหลกศีรษะของมนุษย์ มีรูปร่างเหมือนเปลือกหอยแครง ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก.

ใหม่!!: กระหม่อมและกระดูกหน้าผาก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกท้ายทอย

กระดูกท้ายทอย (Occipital bone) เป็นกระดูกรูปจานรองแก้วที่อยู่ด้านหลังและด้านล่างของกะโหลกศีรษะ มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูและโค้ง มีช่องขนาดใหญ่รูปวงรีเรียกว่า ฟอราเมน แมกนัม (foramen magnum) ซึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่างโพรงกะโหลก (cranial cavity) และคลองกระดูกสันหลัง (vertebral canal) แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: กระหม่อมและกระดูกท้ายทอย · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกข้างขม่อม

กระดูกข้างขม่อม (parietal bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในกะโหลกศีรษะของมนุษย์ ซึ่งประกอบกันอยู่ด้านข้างและเป็นหลังคาด้านบนของกะโหลกศีรษะ กระดูกข้างขม่อมมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ มีพื้นผิว 2 ด้าน ขอบกระดูก 4 ขอบ และมุมกระดูก 4 มุม.

ใหม่!!: กระหม่อมและกระดูกข้างขม่อม · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: กระหม่อมและกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: กระหม่อมและกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์

การบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ อัลตราซาวด์ (ultrasonography) หมายถึง คลื่นเสียงความถี่สูงที่มากกว่า 20,000 Hz ในทางการแพทย์หลักการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือ Ultrasounographyคือ การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงออกไป จากหัวตรวจ (Transdneer) คลื่นเสียงจะกระทบกับเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งมีความสามารถในการผ่านและสะท้อนกลับไม่เท่ากัน หัวตรวจจะทำหน้าที่รับสัญญาณคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับระดับต่างๆ ซึ่งบ่งถึงความหนาแน่น และระดับความลึกของเนื้อเยื่อนั้นนำสัญญาณที่ได้รับมาประมวลผลและสร้างเป็นภาพขึ้นม.

ใหม่!!: กระหม่อมและการบันทึกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางการแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

การกลายเป็นกระดูก

การกลายเป็นกระดูก หรือ การสร้างกระดูก เป็นกระบวนการสร้างเนื้อกระดูก โดยที่เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่นกระดูกอ่อนเปลี่ยนแปลงไปเป็นกระดูกหรือเนื้อเยื่อที่คล้ายกระดูก เนื้อเยื่อที่เกิดกระบวนการกลายเป็นกระดูกจะมีหลอดเลือดยื่นเข้าไปข้างใน หลอดเลือดเหล่านี้จะนำแร่ธาตุ เช่นแคลเซียม และเข้ามาในเนื้อเยื่อเพื่อให้เกิดการสร้างเนื้อกระดูกแข็ง การสร้างกระดูกเป็นกระบวนการที่เป็นพลวัต คือมีกระบวนการสร้างและสลายทดแทนกันอยู่ตลอด โดยมีเซลล์ออสติโอบลาสต์ (osteoblast) ทำหน้าที่พาเอาแร่ธาตุเข้ามา และมีออสติโอคลาสต์ (osteoclast) ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูก กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่า กระบวนการก่อรูปกระดูก (bone remodeling) ซึ่งจะเกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต.

ใหม่!!: กระหม่อมและการกลายเป็นกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะขาดน้ำ

วะขาดน้ำ (dehydration) คือการที่ร่างกายมีปริมาตรน้ำในร่างกายทั้งหมดน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดความผิดปกติของกระบวนการเมตาบอลิซึมต่างๆ ของร่างกาย เกิดขึ้นเมื่ออัตราการสูญเสียน้ำออกจากร่างกายมากกว่าอัตราการได้รับน้ำเข้าสู่ร่างกาย อาจเกิดจากการออกกำลังกาย ความเจ็บป่วย หรืออุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่สูง ร่างกายของคนปกติสามารถทนรับการขาดน้ำในร่างกายได้จนถึง 3-4% โดยไม่เกิดผลเสียร้ายแรงใดๆ ต่อร่างกาย หากขาดน้ำ 5-8% อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียหรือมึนงง หากมากกว่า 10% อาจทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจอย่างมาก รวมไปถึงความกระหายน้ำอย่างรุนแรงได้.

ใหม่!!: กระหม่อมและภาวะขาดน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

รอยประสาน (กายวิภาคศาสตร์)

รอยประสาน (suture ซูเจอร์) เป็นข้อต่อชนิดหนึ่ง จัดเป็นชนิดย่อยของข้อต่อชนิดเนื้อเส้นใยคั่น (fibrous joint หรือ synarthrosis) ซึ่งพบอยู่ในกะโหลกศีรษะ (หรือกระดูกหุ้มสมอง) โดยที่กระดูกทั้งสองชิ้นจะยึดกันด้วยเส้นใยที่เรียกว่า Sharpey's fibres ข้อต่อชนิดนี้สามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย ทำให้กะโหลกศีรษะมีความยืดหยุ่นเล็กน้อย เมื่อแรกเกิด กระดูกกะโหลกศีรษะหลายชิ้นอาจยังไม่เชื่อมเป็นแผ่นกระดูกที่ชิดติดกัน บริเวณที่อยู่ระหว่างชิ้นกระดูกนั้นจะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อคลุมที่เรียกว่า กระหม่อม (fontanelle) บริเวณบนกะโหลกศีรษะสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดช่วงวัยผู้ใหญ่ (แม้จะไม่รวดเร็วนัก) ซึ่งมีประโยชน์ในการให้ข้อมูลทางนิติวิทยาศาสตร์และโบราณคดี.

ใหม่!!: กระหม่อมและรอยประสาน (กายวิภาคศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ทัดดอกไม้

ทัดดอกไม้ (Pterion) เป็นบริเวณของกะโหลกศีรษะที่บอบบางที่สุด อยู่ขอบหลังของข้อต่อสฟีโนพาไรทัลซูเจอร์ (sphenoparietal suture) ในระยะทารกบริเวณนี้จะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อที่กระดูกยังไม่เจริญมาประสานกันเรียกว่า กระหม่อมสฟีนอยด์ หรือ กระหม่อมข้าง (sphenoidal fontanelle) และจะเกิดการสร้างกระดูกจนเป็นข้อต่อเมื่ออายุได้ 6-8 เดือนหลังคลอ.

ใหม่!!: กระหม่อมและทัดดอกไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อ

้อ หรือ ข้อต่อ (Joints) ในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกัน ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีหลายแบบ และสามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะโครงสร้าง และคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: กระหม่อมและข้อต่อ · ดูเพิ่มเติม »

แลมดา

แลมบ์ดา (lambda) หรือ ลัมดา (λάμδα, ตัวใหญ่ Λ, ตัวเล็ก λ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 11 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 30 λ ในสมการต่างๆ -ฟิสิกส์ แทนความยาวคลื่น.

ใหม่!!: กระหม่อมและแลมดา · ดูเพิ่มเติม »

แอสเทอเรียน

แอสเทอเรียน (asterion) ในทางกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ หมายถึงจุดบนกะโหลกศีรษะมนุษย์ที่อยู่ด้านหลังหู เป็นจุดบรรจบกันของซูเจอร์หรือรอยประสานบนกะโหลกศีรษะ อัน ได้แก่ รอยประสานท้ายทอย (lambdoid suture), รอยประสานสความัส (squamosal suture), ออกซิปิโตมาสตอยด์ ซูเจอร์ (occipitomastoid suture) ในผู้ใหญ่ แอสเทอเรียนจะอยู่ด้านหลัง 4 เซนติเมตร และด้านบน 12 เซนติเมตรต่อรูหู ในการผ่าตัด ในระยะทารกบริเวณนี้จะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อที่กระดูกยังไม่เจริญมาประสานกันเรียกว่า กระหม่อมกกหู หรือ กระหม่อมมาสตอยด์ (mastoid fontanelle) และจะเกิดการสร้างกระดูกจนเป็นข้อต่อเมื่ออายุได้ 6-8 เดือนหลังคลอ.

ใหม่!!: กระหม่อมและแอสเทอเรียน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

FontanelFontanelleขม่อม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »