โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก

ดัชนี ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก

ทความนี้กล่าวถึงช่วงก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้าศตวรรษที่ยี่สิบ มันจะไม่สมบูรณ์; ข้อมูลเกี่ยวกับช่วงก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นมีเป็นช่วง ๆ ต้องอาศัยการสังเกตของนักท่องเที่ยวและนักเรือ ไม่มีการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมโดยหน่วยงานกลางในช่วงต้นนี้ พายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่มักจะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน เหล่านี้จะอยู่ภายในอัตภาพขอบเขตระยะเวลาของแต่ละปี ขณะที่พายุหมุนเขตร้อนส่วนใหญ่จะก่อตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ขอบเขตของบทความนี้จะถูกจำกัดอยู่ภายในมหาสมุทรแปซิฟิก, ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร และทางตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากล โดยพายุที่ก่อตัวทางตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากลและทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรจะถูกเรียกว่า "เฮอร์ริเคน" ส่วนพายุที่ก่อตัวทางใต้ของเส้นศูนย์สูตรจะเรียกว่า "ไซโคลน".

12 ความสัมพันธ์: บารอมิเตอร์พายุหมุนเขตร้อนกุบไล ข่านมหาสมุทรแปซิฟิกริวกิวศตวรรษที่ 20ทะเลอะริอะเกะนางาซากิแม่น้ำแยงซีโอกินาวะโตเกียวเส้นแบ่งเขตวันสากล

บารอมิเตอร์

แอนิรอยด์บารอมิเตอร์ แบบใหม่บารอมิเตอร์แบบปรอทจาก Musée des Arts et Métiers, ปารีส บารอมิเตอร์ เป็นเครื่องมือตรวจวัดความดันบรรยากาศ สำหรับวัดค่าความกดดันที่เกิดจากแรงดันของอากาศ โดยใช้ของเหลวหรือวัสดุแข็งที่สัมผัสโดยตรงกับอากาศ การเปลี่ยนแปลงความกดดัน สามารถนำไปพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในช่วงเวลาสั้น ๆ การวัดความกดดันอากาศหลายจุดนำมาประมวลผลภายในการวิเคราะห์อากาศพื้นผิว (surface weather analysis) เพื่อช่วยค้นหาร่องความกดอากาศ (surface troughs), ระบบความกดอากาศสูง (high pressure systems) และเส้นความกดอากาศเท่า (frontal boundaries) ค้นพบหลักการและประดิษฐ์โดย เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี.

ใหม่!!: ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกและบารอมิเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พายุหมุนเขตร้อน

รนแบนด์โดยรอบ, และลักษณะของพายุหมุนเขตร้อน ที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจากอวกาศ พายุหมุนเขตร้อน คือ ระบบพายุที่พัฒนามาจากศูนย์กลางของหย่อมความกดอากาศต่ำ, ลมแรง และการจัดเกลียวของพายุฝนฟ้าคะนอง ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่และความรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเขตร้อนของโลก ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น พายุเฮอร์ริเคน, พายุโซนร้อน, พายุไซโคลน, พายุดีเปรสชันเขตร้อน และพายุไซโคลนอย่างง่าย โดยทั่วไปรูปแบบพายุหมุนเขตร้อนจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกับความสัมพันธ์กับน้ำอุ่น โดยพายุจะได้รับพลังงานผ่านการระเหยของน้ำบริเวณพื้นผิวมหาสมุทร ซึ่งในที่สุดน้ำเหล่านั้นจะควบแน่นอีกครั้งและเข้าไปอยู่ในกลุ่มเมฆและฝน เมื่ออากาศชื้นและความเย็นอิ่มตัว ซึ่งแหล่งพลังงานนี้จะแตกต่างกับพายุหมุนละติจูดกลาง ตัวอย่างเช่น นอร์อิสเทิร์น และพายุลมยุโรป ซึ่งได้รับพลังพลักดันหลักจากความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวนอน โดยลมหมุนวนรอบอย่างรุนแรงของพายุหมุนเขตร้อนนั้นเป็นผลมาจากการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเกิดจากสภาวะการหมุนรอบตัวเองของโลก ขณะที่อากาศไหลเข้ามาสู่แกนกลางของการหมุน ผลที่ตามมา คือ พายุมักไม่ค่อยเกิดขึ้นภายใน 5° จากศูนย์สูตร พายุหมุนเขตร้อนโดยทั่วไปเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 100 - 4,000 กิโลเมตร คำว่า พายุหมุน (หรือไซโคลน) หมายถึง พายุหมุนตามธรรมชาติ ซึ่งลมจะพัดหมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และจะพัดหมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ ซึ่งทิศทางตรงข้ามการของการไหลเวียนลม เป็นผลมาจากคอริโอลิส ส่วนคำว่า เขตร้อน หมายถึง แหล่งกำเนิดของพายุทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นรูปแบบพิเศษของทะเลในเขตร้อน นอกจากลมแรงและฝนตก พายุหมุนเขตร้อนมีความสามารถในการสร้างคลื่นสูง และก่อให้เกิดความเสียหายจากน้ำขึ้นจากพายุ และทอร์นาโด ซึ่งมักจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงที่พายุอยู่บนแผ่นดิน เนื่องจากถูกตัดขาดจากแหล่งพลังงานหลักของมัน จากเหตุผลนี้ ทำให้บริเวณชายฝั่งทะเล มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายจากพายุหมุนเขตร้อนมากกว่า เมื่อเทียบกับในแผ่นดิน อย่างไรก็ตามในแผ่นดินเองก็เกิดความเสียหายได้จากน้ำท่วมบนแผ่นดิน จากฝนตกหนัก และน้ำขึ้นจากพายุสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมบนแผ่นดินได้กว้างถึง 40 กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนจะส่งผลกระทบต่อประชากรมนุษย์มหาศาล แต่พายุยังสามารถช่วยบรรเทาภาวะภัยแล้งได้ พวกมันยังพาพลังงานความร้อนออกไปจากเขตร้อน ข้ามผ่านไปยังละติจูดในเขตอบอุ่น ซึ่งอาจมีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนสภาวะภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระดับโลก.

ใหม่!!: ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกและพายุหมุนเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

กุบไล ข่าน

มเด็จพระจักรพรรดิกุบไล ข่าน หรือ จักรพรรดิซื่อจูหวางตี้ หรือ จักรพรรดิซีโจ๊วฮ่องเต้ (23 กันยายน พ.ศ. 1758-1837 (ค.ศ. 1215-1294)) เป็นข่านหรือจักรพรรดิของมองโกล และยังเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หยวนแห่งประเทศจีน กุบไลข่านเป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิเจงกีส ข่าน พระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิมองโกลเมื่อ พ.ศ. 1803 (ค.ศ. 1260) และสถาปนาราชวงศ์หยวนเมื่อ พ.ศ. 1822 (ค.ศ. 1279) จักรวรรดิมองโกลที่เจงกีสข่านสร้างไว้ขึ้นถึงจุดสูงสุดในสมัยของกุบไล ข่าน เมื่อกุบไล ข่านสามารถเอาชนะราชวงศ์ซ่งของจีน และยึดครองกรุงปักกิ่ง ปกครองประเทศจีน กุบไลข่านยังตีได้ดินแดนต้าหลี่ (Dali - ในมณฑลยูนนานในปัจจุบัน) และเกาหลี นอกจากนี้ยังได้พยายามยึดครองดินแดนนิฮง (ญี่ปุ่น ในปัจจุบัน) และดินแดนหนานหยาง (ดินแดนแหลมสุวรรณภูมิ) ประกอบด้วย พม่า, เวียดนาม และอินโดนีเซีย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ในยุคสมัยของกุบไล ข่าน มีนักเดินทางชาวตะวันตกมากมายเดินทางมาถึงดินแดนจีนของกุบไล ข่าน นักเดินทางที่มีชื่อเสียงคือ มาร์โคโปโล.

ใหม่!!: ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกและกุบไล ข่าน · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

ริวกิว

ริวกิว อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกและริวกิว · ดูเพิ่มเติม »

ศตวรรษที่ 20

ตวรรษที่ 20 อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกและศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอะริอะเกะ

วเทียมของทะเลอะริอะเกะ พ.ศ. 2550 ทะเลอะริอะเกะ เป็นส่วนของทะเลน้ำเค็ม ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างจังหวัดฟุกุโอะกะ จังหวัดซะงะ จังหวัดนะงะซะกิและจังหวัดคุมะโมะโตะ ถือได้ว่าเป็นอ่าวที่ใหญ่ที่สุดของภาคคีวชู จุดที่ลึกที่สุดมีความลึก 50 เมตร พิสัยการขึ้นลงของกระแสน้ำ 4 เมตร ทะเลแห่งนี้เป็นแหล่งเกษตรกรรมใต้น้ำที่สำคัญ โดยปลูกสาหร่ายเป็นผลิตภัณฑ์หลัก นอกจากนี้ยังเป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำหลากชนิดอาทิปลาตีน, หอยปากกาและปูก้ามดาบ ตลอดชายฝั่งของทะเลอะริอะเกะยังมีท่าเรือมากมาย อาทิ มิซุมิ, ชิมบะระ, ไทระ, นะงะซุ, คุมะโมะโตะ, มีเกะ, คุชิโนะสึ เป็นต้น.

ใหม่!!: ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกและทะเลอะริอะเกะ · ดูเพิ่มเติม »

นางาซากิ

มืองนางาซากิ เป็นเมืองเอกและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนางาซากิ บนเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น นางาซากิถูกก่อตั้งขึ้นโดยชาวโปรตุเกสในปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหมู่บ้านเล็กๆเพื่อการประมง ซึ่งทำให้นางาซากิกลายเป็นศูนย์กลางอิทธิพลของชาวโปรตุเกสและชาวยุโรป ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 มีโบสถ์และศาสนสถานของศาสนาคริสต์มากมายในนางาซากิ ซึ่งศาสนสถานเหล่านี้ ได้ถูกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก นอกเหนือไปจากนี้ ท่าเรือในนางาซากิ ยังเคยเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น ระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง และ สงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น นามของเมืองว่า "นางาซากิ" (長崎) มีความหมายว่า "แหลมที่ทอดยาว" ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง 9 สิงหาคม..

ใหม่!!: ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกและนางาซากิ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแยงซี

้นทางแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน แม่น้ำแยงซี, แยงซีเกียง (Yangtze river) หรือแม่น้ำฉางเจียง เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในทวีปเอเชีย และเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำไนล์ในทวีปแอฟริกาและแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ แม่น้ำแยงซียาว 6,300 กิโลเมตร ต้นน้ำอยู่ที่มณฑลชิงไห่และทิเบต ในทิศตะวันตกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และไหลมาทางทิศตะวันออก ออกสู่ทะเลจีนตะวันออก.

ใหม่!!: ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกและแม่น้ำแยงซี · ดูเพิ่มเติม »

โอกินาวะ

อกินาวะ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกและโอกินาวะ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เส้นแบ่งเขตวันสากล

รูปแสดงเส้นแบ่งเขตวันสากล (สีดำกลางภาพ) เส้นแบ่งเขตวันสากล (International Date Line: IDL) เป็นเส้นสมมติที่ลากในแนวเหนือ-ใต้บนพื้นผิวของโลก ผ่านใจกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งกำหนดสถานที่ซึ่งวันตามปฏิทินเริ่มต้น เส้นดังกล่าวอยู่ที่ประมาณลองติจูด 180 องศา ตรงข้ามกับเส้นเมริเดียนแรก แต่ลากอ้อมบางดินแดนและกลุ่มเกาะบางกลุ่ม เวลาทางตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากลช้ากว่าทางตะวันตกอยู่ 1 วัน เมื่อข้ามเส้นดังกล่าวไปทางตะวันออกจึงต้องหักวันออกหนึ่งวัน และเมื่อข้ามเส้นดังกล่าวไปทางตะวันตกต้องเพิ่มวันเข้าหนึ่งวัน.

ใหม่!!: ก่อนฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกและเส้นแบ่งเขตวันสากล · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »