โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัค

ดัชนี กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัค

กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัค (Gustav Krupp von Bohlen und Halbach) เป็นผู้ดำเนินการกลุ่มอุตสาหกรรมหนักเยอรมัน เอจี ครุพพ์ ฟรีดริซ ตั้งแต่ปี..

7 ความสัมพันธ์: สงครามโลกครั้งที่สองซาลซ์บูร์กประเทศออสเตรียประเทศเนเธอร์แลนด์ไทเกอร์ 1เรืออูเดอะเฮก

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัคและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ซาลซ์บูร์ก

ซาลซ์บูร์ก (Salzburg) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดลำดับที่ 4 ในประเทศออสเตรีย และเป็นเมืองหลวงของรัฐซาลซ์บูร์ก เมืองเก่าของซาลซ์บูร์กและสถาปัตยกรรมบาโรกเป็นหนึ่งในใจกลางเมืองที่ถูกดูแลรักษาอย่างดีที่สุดในกลุ่มประเทศที่พูดภาษาเยอรมันด้วยกัน และได้รับการยูเนสโกขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ในปี พ.ศ. 2540 ซาลซ์บูร์กเป็นที่จดจำกันในฐานะที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอลป์ ซาลซ์บูร์กเป็นบ้านเกิดของโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท และเป็นฉากของภาพยนตร์เพลง มนต์รักเพลงสวรรค์ (The Sound of Music) หมวดหมู่:เมืองในประเทศออสเตรีย หมวดหมู่:มรดกโลกในประเทศออสเตรีย หมวดหมู่:มรดกโลกทางวัฒนธรรม หมวดหมู่:ซาลซ์บูร์ก.

ใหม่!!: กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัคและซาลซ์บูร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศออสเตรีย

ออสเตรีย (Austria; Österreich เออสฺตะไรฌ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria; Republik Österreich) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและเช็กเกีย ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรั.

ใหม่!!: กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัคและประเทศออสเตรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัคและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทเกอร์ 1

ทเกอร์ I เป็นยานเกราะขนาดหนักที่ถูกใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยถูกสร้างในช่วงปลายปี ค.ศ. 1942 เพื่อที่จะใช้ตอบโต้ความแข็งแกร่งยานเกราะที-34 และรถถังคลีเมนต์ โวโรชีลอฟ ของ สหภาพโซเวียต ในช่วงเริ่มต้นของ ปฏิบัติการบาร์บารอสซา ลักษณะการออกแบบของไทเกอร์ I ทำให้ไทเกอร์ I เป็นยานเกราะของ เวร์มัคท์ คันแรกที่ติดปากกระบอกปืนขนาด 88 มิลลิเมตร โดยปากกระบอกปืนนี้ได้ถูกทดสอบมาก่อนว่ามีประสิทธิภาพสูงในการยิงต่อต้าน รถถัง และ เครื่องบิน ในช่วงระหว่างสงคราม ไทเกอร์ 1 ได้ถูกนำไปใช้ในในการรบแนวหน้าของเยอรมัน โดยปกติแล้วไทเกอร์ I ถูกนำมาแยกเป็นหน่วยยานเกราะอิสระ ซึ่งทำให้หน่วยไทเกอร์ I สามารถปฏิบัติการได้อย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าไทเกอร์ I เป็นที่น่าเกรงขามต่อศัตรูเป็นอย่างมากก็ตาม ทว่า ในขณะเดียวกัน ไทเกอร์ I เป็นยานเกราะที่มีลักษณะซับซ้อนในการสร้าง ต้นทุนสูง และใช้เวลาในการผลิตยาวนานอีกทั้งไทเกอร์ I มักจะประสบปัญหาเครื่องจักรกลล่มบ่อยครั้งจึงทำให้ยานเกราะชนิดนี้ถูกยกเลิกการผลิตไป มีเพียงจำนวน 1347 คันเท่านั้นที่ถูกผลิตขึ้นมา ในช่วงระยะเวลา สิงหาคม ค.ศ. 1942 ถึง สิงหาคม ค.ศ. 1944 และไทเกอร์II ได้ถูกผลิตขึ้นมาแทนที่ ยานเกราะนี้ถูกตั้งชื่อเล่นโดย Ferdinand Porche และตัวเลขโรมันได้ถูกเพิ่มเติมหลังจากที่ยานเกราะไทเกอร์ II ได้ถูกนำมาผลิต โดยแท้จริงแล้ว ยานเกราะชนิดนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการ คือ Panzerkampfwagen VI Ausführung H (ยานเกราะ Panzer VI รุ่น H หรือมีชื่อย่อว่า PzKpfw VI Ausf. H) แต่อย่างไรก็ตาม ยานเกราะนี้ได้ถูกนำมาออกแบบใหม่อีกครั้งเป็น PzKpfw VI Ausf.

ใหม่!!: กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัคและไทเกอร์ 1 · ดูเพิ่มเติม »

เรืออู

เรืออู 995 เรืออู (AU-boat; AU-Boot, อู๋โบท, คำเต็ม: Unterseeboot, อุนเทอร์เซโบท หมายถึง "เรือใต้ทะเล") คำนี้ในภาษาเยอรมันหมายถึงเรือดำน้ำใด ๆ แต่ในภาษาอังกฤษ (ร่วมกับอีกหลายภาษา) หมายความเฉพาะถึงเรือดำน้ำเยอรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง เรืออู๋นั้นมีเป็นอาวุธกองเรือที่มีประสิทธิภาพต่อเรือรบข้าศึก ทว่าถูกใช้มีประสิทธิภาพสูงสุดในบทบาทการสงครามเศรษฐกิจ (การตีโฉบฉวยเรือพาณิชย์) การปิดล้อมทางทะเลต่อการขนส่งสินค้าทางเรือข้าศึก เป้าหมายหลักของการทัพเรืออูในสงครามโลกทั้งสองครั้งคือกองเรือพาณิชย์ที่นำเสบียงจากประเทศแคนาดา จักรวรรดิอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ไปส่งยังหมู่เกาะสหราชอาณาจักร และรวมถึงสหภาพโซเวียตและประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในสงครามโลกครั้งที่สอง เรือดำน้ำจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (และก่อนหน้านั้น) ก็เรียกว่าเรืออู๋ว่า เอิท ชอบ เดีย หมวดหมู่:เรือดำน้ำ หมวดหมู่:เรือในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หมวดหมู่:เรือในสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัคและเรืออู · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเฮก

อะเฮก หรือ กรุงเฮก (The Hague, Den Haag แด็นฮาค) หรือชื่อทางการภาษาดัตช์คือ สคราเฟินฮาเคอ ('s-Gravenhage) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมืองมีประชากร 500,000 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 2011) เดอะเฮกเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากกรุงอัมสเตอร์ดัมและรอตเทอร์ดาม ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ มีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและการพิมพ์ เป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกซึ่งตั้งอยู่ที่วังสันติสร้างบริจาคโดยมหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ชื่อ แอนดรูว์ คาร์เนกี.

ใหม่!!: กุสทัฟ ครุพพ์ ฟอน โบเลิน อุนด์ ฮัลบัคและเดอะเฮก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »