โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การลอบสังหาร

ดัชนี การลอบสังหาร

การลอบสังหาร (Assassination) การฆาตกรรมบุคคคลที่มีชื่อเสียงด้วยการวางแผนล่วงหน้า การลอบสังหารอาจจะเกิดขึ้นเนื่องด้วยเหตุผลทางอุดมคติ การเมือง หรือการทหารเป็นมูลเหตุชี้นำก็เป็นได้ และนอกจากนี้ ผู้ลอบสังหาร (Assassin) เองก็อาจจะได้รับแรงจูงใจจากค่าจ้าง ความแค้น ความมีชื่อเสียง หรือความพิการทางจิตด้ว.

7 ความสัมพันธ์: พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาการทหารการเมืองอเล็กซานเดอร์มหาราชจิงเคอจิ๋นซีฮ่องเต้แรงจูงใจ

พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา

ประติมากรรมเศียรของพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา (กรีก: Φίλιππος Β' ὁ Μακεδών-มีความหมายว่า- φίλος (phílos) "เพื่อน" + ἵππος (híppos) "ม้า") กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอา มีรัชสมัยอยู่ระหว่าง 359– 336 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นพระบิดาของอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา หรือที่รู้จักดีในนาม อเล็กซานเดอร์มหาราช พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา มีพระเนตรที่ใช้การได้เพียงข้างเดียว เป็นกษัตริย์นักรบแห่งมาเกโดนีอา ที่ทำการรบเอาชนะนครรัฐต่าง ๆ ของกรีซโบราณได้หลายแห่ง ทั้ง ธีบส์, เอเธนส์ หรือสปาร์ตา เมื่อพระองค์ทำการยึดครองนครรัฐเอเธนส์ซึ่งเสมือนเป็นศูนย์กลางของกรีซโบราณได้แล้ว ทำให้ชาวกรีกในนครรัฐต่าง ๆ ต้องเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อชาวมาเกโดนีอาใหม่ จากที่เคยมองว่าเป็นเพียงชนเผ่าที่เหมือนเป็นเผ่าป่าเถื่อน ไร้อารยธรรมทางเหนือของอาณาจักรเท่านั้น เมื่อพระองค์ไม่ได้ทำลายสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ หรือทำลายอารยธรรมของชาวเอเธนส์ หากแต่พระองค์ได้พยายามเรียนรู้และผสมรวมกันกับอารยธรรมของมาเกโดนีอา และพระองค์ยังได้ส่งเสริมนักวิชาการ นักปราชญ์ชาวเอเธนส์ต่าง ๆ ด้วยว่าจ้างให้ไปเผยแพร่ความรู้ยังมาเกโดนีอา และเป็นอาจารย์สอนวิทยาการต่าง ๆ ให้แก่ชาวมาเกโดนีอา เช่น อริสโตเติล ซึ่งอเล็กซานเดอร์ เมื่อครั้งยังเยาว์วัย ก็เป็นลูกศิษย์ของอริสโตเติลด้วยเช่นกัน ในการสงคราม พระองค์ได้ปรับปรุงยุทธวิธีการรบแบบใหม่ ทรงพัฒนากองทัพมาเกโดเนียโบราณขึ้นจนถึงจุดสมบูรณ์แบบ โดยใช้การผสมระหว่างกองทหารราบและกองทหารม้าเข้าไว้ด้วยกัน ใช้อาวุธแบบใหม่ คือ ทวนที่มีความยาวกว่า 5 เมตร โดยการใช้กองทหารตั้งแถวหน้ากระดานเดินบุกขึ้นหน้า และใช้ทวนยาวนี้พุ่งทะลุแทงข้าศึก ซึ่งรูปแบบการรบที่ใช้กันต่อมาอย่างยาวนานของกรีซโบราณ อีกทั้งยังประดิษฐ์หน้าไม้ที่มีอานุภาพยิงได้ระยะไกล และทะลวงเข้าถึงเกราะหรือโล่ของข้าศึกได้อีกด้วย พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา มีประสงค์ที่จะทำสงครามกับอาณาจักรเปอร์เซีย ที่เสมือนเป็นคู่สงครามกับชาวกรีกมาตลอด แต่ประสงค์ของพระองค์มิทันได้เริ่มขึ้น เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลงก่อนเมื่อเดือนตุลาคม 336 ปีก่อนคริสต์ศักราช ขณะที่มีพระชนมายุได้ 46 ปี จากการลอบสังหารด้วยมีดปักเข้าที่พระอุระของมือสังหารที่เดินตามหลังพระองค์ ขณะที่พระองค์อยู่ในงานเฉลิมฉลอง ซึ่งไม่มีใครทราบถึงสาเหตุของการลอบสังหารครั้งนี้ เพราะมือสังหารได้ถูกสังหารโดยทหารองครักษ์ลงก่อนที่จะไต่สวนใด ๆ ได้มีการสันนิษฐานต่าง ๆ เช่น อาจเป็นการว่าจ้างของกษัตริย์เปอร์เซียด้วยทองคำ เป็นต้น.

ใหม่!!: การลอบสังหารและพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

การทหาร

การทหาร เป็นองค์การที่สังคมอนุญาตให้ใช้อำนาจสำหรับสังหาร (lethal force) ซึ่งโดยปกติรวมการใช้อาวุธ ในการป้องกันประเทศ โดยต่อสู้กับภัยคุกคามที่แท้จริงหรือที่รับรู้เช่นนั้น การทหารอาจมีการทำหน้าที่อื่นต่อสังคม เช่น การเดินหน้าวาระทางการเมือง (ในกรณีคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง) สนับสนุนหรือส่งเสริมการขยายทางเศรษฐกิจผ่านจักรวรรดินิยม และเป็นการควบคุมทางสังคมภายในรูปแบบหนึ่ง คำว่า "การทหาร" หรือ "ทางทหาร" ที่เป็นคำคุณศัพท์ ยังใช้หมายถึง ทรัพย์สินหรือมุมมองของทหาร การทหารทำหน้าที่เป็นสังคมภายในสังคม โดยมีชุมชนทหารเป็นของตนเอง.

ใหม่!!: การลอบสังหารและการทหาร · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: การลอบสังหารและการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: การลอบสังหารและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จิงเคอ

ตรกรรมฝาผนังแสดงถึงการลอบสังหารฉินอ๋องของจิงเคอ (ฉินอ๋อง-ซ้าย), (จิงเคอ-ขวาและถูกจับตัวไว้ได้), (ฉินอู่หยาง หมอบกราบอยู่ตรงกลาง)劉煒/著. 2002 (2002) Chinese civilization in a new light 中華文明傳真#3 春秋戰國. Publishing Company. ISBN 9620753119 pg 28-29. จิงเคอ (荊軻, Jing Ke, เวด-ไจลส์: Ching K'o) เป็นมือสังหารที่ลอบสังหารฉินอ๋อง หรือฉินซีฮ่องเต้ ที่ปรากฏนามในประวัติศาสตร์จีนในยุคจ้านกว๋อ.

ใหม่!!: การลอบสังหารและจิงเคอ · ดูเพิ่มเติม »

จิ๋นซีฮ่องเต้

ฉินฉื่อหฺวังตี้ ตามสำเนียงกลาง หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ตามสำเนียงอื่น (260–210 ก่อนคริสตกาลWood, Frances. (2008). China's First Emperor and His Terracotta Warriors, pp. 2-33. Macmillan Publishing, 2008. ISBN 0-312-38112-3.) เป็นชื่อที่ปัจจุบันใช้เรียกพระเจ้าเจิ้ง (Zhèng) แห่งเมืองฉิน มีความหมายตรงตัวว่า "ปฐมจักรพรรดิฉิน" พระองค์ทรงสถาปนาราชวงศ์ฉินเมื่อปีที่ 220 ก่อนคริสตกาล และทรงผนวกดินแดนจีนสำเร็จในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล เป็นอันสิ้นสุดยุครณรัฐDuiker, William J. & al.

ใหม่!!: การลอบสังหารและจิ๋นซีฮ่องเต้ · ดูเพิ่มเติม »

แรงจูงใจ

แรงจูงใจ (อังกฤษ: motive) เป็นคำที่ได้ความหมายมาจากคำภาษาละตินที่ว่า movere ซึ่งหมายถึง "เคลื่อนไหว".

ใหม่!!: การลอบสังหารและแรงจูงใจ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Assassinลอบสังหาร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »