โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การค้นหาแบบดีสตาร์

ดัชนี การค้นหาแบบดีสตาร์

ั้นตอนวิธีดีสตาร์ (D* algorithm) เป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการหาเส้นทางการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ จัดเป็นขั้นตอนวิธีการค้นหาแบบฮิวริสติกแบบหนึ่งเพราะมีการนำเทคนิคฮิวริสติกมาใช้ ขั้นตอนวิธีดีสตาร์นี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายซึ่งขั้นตอนวิธีดีสตาร์จะทำการสร้างเส้นทางการเคลื่อนที่ที่เหมาะสมที่สุดให้การวางแผนการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้นิยามและนำเสนอขั้นตอนวิธีนี้คือ แอนโทนี สเตนซ์ ซึ่งได้สร้างและพัฒนาไว้ในปี ค.ศ. 1994 ที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน.

6 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2537การค้นหาแบบเอสตาร์มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอนรหัสเทียมวิทยาการศึกษาสำนึกขั้นตอนวิธี

พ.ศ. 2537

ทธศักราช 2537 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1994 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: การค้นหาแบบดีสตาร์และพ.ศ. 2537 · ดูเพิ่มเติม »

การค้นหาแบบเอสตาร์

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนวิธีเอสตาร์ (A* algorithm) เป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้ในการหาเส้นทางและการท่องในกราฟซึ่งเป็นกระบวนการในการหาเส้นทางระหว่างจุด (เรียกจุดดังกล่าวว่า "โนด" (node)) ขั้นตอนวิธีนี้มีประสิทธิภาพและความแม่นยำสูงจึงมีการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย ผู้นิยามขั้นตอนวิธีนี้คือ ปีเตอร์ ฮาท์, นิล นีลสัน และเบิร์ดแรม เรฟเซด ซึ่งนิยามไว้ในปี ค.ศ. 1968 ขั้นตอนวิธีนี้เป็นส่วนขยายของขั้นตอนวิธีของไดค์สตราซึ่งสร้างใน..

ใหม่!!: การค้นหาแบบดีสตาร์และการค้นหาแบบเอสตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน

อาคารเรียนคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ แอนดรูว์ คาร์เนกี ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยเทคนิคคาร์เนกี มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ในเมืองพิตซ์เบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 โดยสถาบันเทคโนโลยีคาร์เนกี และสถาบันวิจัยอุตสาหกรรมเมลลอน คาร์เนกีเมลลอนรู้จักในชื่อมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งหนึ่งในโลกในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และการแสดง บุคลากรจากคาร์เนกีเมลลอนได้รับรางวัลโนเบล 13 รางวัล รางวัลทัวริง 8 รางวัล รางวัลเอมมี 7 รางวัล รางวัลออสการ์ 3 รางวัล และ รางวัลโทนี 4 รางวัล.

ใหม่!!: การค้นหาแบบดีสตาร์และมหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน · ดูเพิ่มเติม »

รหัสเทียม

รหัสเทียม (pseudocode) ใช้เป็นภาษากลางในการอธิบายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมและขั้นตอนวิธี การเขียนรหัสเทียมไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว สำคัญเพียงแต่เขียนให้ผู้อ่านเข้าใจ โดยปกติแล้วจะประยุกต์รูปแบบการเขียนและโครงสร้างมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ แต่การเขียนรหัสเทียมจะเป็นลักษณะการเขียนคำอธิบายมากกว่าการเขียนเป็นคำสั่งต่างๆ และการเขียนรหัสเทียมนั้นมักจะไม่ใส่ใจในรายละเอียดการเขียนมากนัก เช่น อาจไม่มีขั้นตอนการประกาศตัวแปร เป้าหมายสำคัญของการเขียนรหัสเทียมคือทำลายกำแพงของภาษาลงไป การเขียนรหัสเทียมจึงไม่ใส่ใจในการเขียนไวยากรณ์ให้ถูกต้องตามหลักภาษา แต่จะเป็นไปตามใจของผู้เขียนมากกว่า รหัสเทียมในอีกนัยหนึ่ง ก็คือ ผังงาน (flowchart) ซึ่งนำเสนอการทำงานของโปรแกรม และขั้นตอนวิธีในรูปแบบของแผนภาพ หมวดหมู่:รหัสต้นฉบับ.

ใหม่!!: การค้นหาแบบดีสตาร์และรหัสเทียม · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการศึกษาสำนึก

วริสติก เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ของการค้นหาและการประดิษฐ์ มาจากภาษากรีกเช่นเดียวกับคำว่า ยูเรก้า (eureka, εὑρισκ&omega) ซึ่งหมายถึง ข้าพเจ้าพบแล้ว ("I find") การค้นพบฮิวริสติกเป็นผลมาจากความพยายามไตร่ตรองอย่างถึงที่สุด นักคณิตศาสตร์ชื่อ จอร์จ โพลยา (George Polya) ทำให้ฮิวริสติกได้รับความนิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในหนังสือของเขาที่ชื่อ แก้ปัญหาอย่างไร (How to Solve It) ปกติแล้วเมื่อนักเรียนได้เรียนบทพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์แล้ว พวกเขามักไม่ทราบว่าจะหาบทพิสูจน์ดังกล่าวได้อย่างไรเพราะเป็นเรื่องที่ยากมาก หนังสือ แก้ปัญหาอย่างไร ได้เก็บรวบรวมไอเดียเกี่ยวกับฮิวริสติกที่เขาใช้สอนนักศึกษา ซึ่งหนังสือนี้เป็นสิ่งที่ช่วยแนะแนวทางที่มองปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาได้;ฮิวริสติกที่ใช้ทั่วไป.

ใหม่!!: การค้นหาแบบดีสตาร์และวิทยาการศึกษาสำนึก · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธี

ั้นตอนวิธี หรือ อัลกอริทึม (algorithm) หมายถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้ มีลำดับหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร ซึ่งแตกต่างจากการแก้ปัญหาแบบสามัญสำนึก หรือฮิวริสติก (heuristic) โดยทั่วไป ขั้นตอนวิธี จะประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้นๆ และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซ้ำ (iterate) หรือ เวียนเกิด (recursive) โดยใช้ตรรกะ (logic) และ/หรือ ในการเปรียบเทียบ (comparison) ในขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน ในการทำงานอย่างเดียวกัน เราอาจจะเลือกขั้นตอนวิธีที่ต่างกันเพื่อแก้ปัญหาได้ โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้ในขั้นสุดท้ายจะออกมาเหมือนกันหรือไม่ก็ได้ และจะมีความแตกต่าง ที่จำนวนและชุดคำสั่งที่ใช้ต่างกันซึ่งส่งผลให้ เวลา (time), และขนาดหน่วยความจำ (space) ที่ต้องการต่างกัน หรือเรียกได้อีกอย่างว่ามีความซับซ้อน (complexity) ต่างกัน การนำขั้นตอนวิธีไปใช้ ไม่จำกัดเฉพาะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถใช้กับปัญหาอื่น ๆ ได้เช่น การออกแบบวงจรไฟฟ้า, การทำงานเครื่องจักรกล, หรือแม้กระทั่งปัญหาในธรรมชาติ เช่น วิธีของสมองมนุษย์ในการคิดเลข หรือวิธีการขนอาหารของแมลง หนึ่งในขั้นตอนวิธีอย่างง่าย คือ ขั้นตอนวิธีที่ใช้หาจำนวนที่มีค่ามากที่สุดในรายการ (ซึ่งไม่ได้เรียงลำดับไว้) ในการแก้ปัญหานี้ เราจะต้องดูจำนวนทุกจำนวนในรายการ ซึ่งมีขั้นตอนวิธีดังนี้.

ใหม่!!: การค้นหาแบบดีสตาร์และขั้นตอนวิธี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ขั้นตอนวิธีดีสตาร์ดีสตาร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »