โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การขอประชามติโดยบังคับ

ดัชนี การขอประชามติโดยบังคับ

ปสเตอร์สนับสนุนให้สวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมสันนิบาตชาติในปี 2463 สวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมกับสหประชาชาติในปี 2545 การขอประชามติโดยบังคับ หรือ การลงประชามติโดยบังคับ หรือ การลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือ การลงประชามติแก้ไขกฎบัตร (mandatory referendum, obligatorisches Referendum, référendum obligatoire, referendum obligatoric) เป็นกลไกทางประชาธิปไตยโดยตรงในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่บังคับให้มีการลงประชามติในเรื่องที่รัฐบาลระดับสหพันธรัฐ ระดับรัฐ หรือระดับเทศบาล ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร ต้องการตัดสิน เช่นการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ การเข้าร่วมเป็นภาคีกับหน่วยการปกครองอื่น ๆ ไม่ว่าจะในระดับสหพันธรัฐหรือรัฐ การตัดสินใจเรื่องงบประมาณของฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารของรัฐบาลระดับรัฐหรือระดับเทศบาล การเปลี่ยนรัฐธรรมมนูญของสหพันธรัฐจำต้องได้เสียงข้างมากจากทั้งประชาชนและจากรัฐ (double majority).

13 ความสัมพันธ์: การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์การออกเสียงประชามติการขอประชามติโดยเลือกรัฐธรรมนูญสภานิติบัญญัติสหพันธรัฐสหประชาชาติสันนิบาตชาติสนธิสัญญาอำนาจบริหารประชาธิปไตยโดยตรงประเทศสวิตเซอร์แลนด์เทศบาล

การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์

การลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์ (Voting in Switzerland, votation) เป็นกระบวนการที่ประชาชนชาวสวิสตัดสินใจในเรื่องการปกครองและเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ โดยหน่วยเลือกตั้งจะเปิดตอนเช้าวันเสาร์และวันอาทิตย์ แต่คนโดยมากจะลงคะแนนล่วงหน้าทางไปรษณีย์ (Abstimmungssonntag) การลงคะแนนจะยุติที่เที่ยงวันอาทิตย์ และโดยปกติจะรู้ผลในเย็นวันเดียวกัน ระบอบการปกครองของสวิตเซอร์แลนด์พิเศษกว่าประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ ในปัจจุบัน เพราะมีการดำเนินงานแบบประชาธิปไตยโดยตรงขนานกับประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงมีการเรียกระบอบนี้ว่า ระบอบประชาธิปไตยกึ่งโดยตรง ซึ่งให้อำนาจประชาชนเพื่อค้านกฎหมายที่ผ่านรัฐสภา และเพื่อเสนอการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญได้ทุกเมื่อ ในระดับสหพันธรัฐ อาจมีการลงคะแนนเสียงด้วยเหตุดังต่อไปนี้คือ.

ใหม่!!: การขอประชามติโดยบังคับและการลงคะแนนเสียงในสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

การออกเสียงประชามติ

การออกเสียงประชามติ (referendum) คือ การนำร่างกฎหมาย ร่างรัฐธรรมนูญ และนโยบายที่สำคัญของประเทศ ไปผ่านการตัดสินเพื่อแสดงความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบโดยประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่อแนวทางการปกครองประเทศ และถือเป็นประชาธิปไตยทางตรงแบบหนึ่งซึ่งประชาชนมีส่วนมีเสียงโดยตรงในการบริหารราชการแผ่นดิน.

ใหม่!!: การขอประชามติโดยบังคับและการออกเสียงประชามติ · ดูเพิ่มเติม »

การขอประชามติโดยเลือก

ัตรลงคะแนนกระดาษวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เพื่อการไม่เช็คหนังสือเดินทางสำหรับประเทศบัลแกเรียและโรมาเนีย โดยเป็นส่วนของความตกลงเชงเกน การขอประชามติโดยเลือก หรือ การลงประชามติโดยเลือก (optional referendum, fakultatives Referendum, référendum facultatif, referendum facoltativo, referendum facultativ) เป็นกลไกทางประชาธิปไตยโดยตรงในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่ให้ประชาชนสามารถค้านกฎหมายที่ผ่านโดยรัฐสภาของสหพันธรัฐ (Federal Assembly) หรือกฤษฎีกาของทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารในระดับรัฐหรือเทศบาล ในระดับสหพันธรัฐ จะมีการจัดให้ลงคะแนนเสียงสำหรับกฎหมายทุกฉบับ ที่ได้รวบรวมลายเซ็น 50,000 รายของผู้คัดค้านโดยทำภายใน 100 วันหลังจากประกาศโดยรัฐสภา นี่ต่างจากการขอประชามติโดยบังคับเพราะต้องรวบรวมลายเซ็น อนึ่ง การขอประชามติสำหรับกฎหมายระดับสหพันธรัฐก็ยังสามารถเสนอทำได้โดยรัฐอย่างน้อย 8 รัฐ (cantonal referendum) ซึ่งต่างจากการขอประชามติโดยเลือกและการขอประชามติโดยบังคับในระดับรัฐเอง.

ใหม่!!: การขอประชามติโดยบังคับและการขอประชามติโดยเลือก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญ

มหากฎบัตร (Magna Carta) รัฐธรรมนูญ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบั..2525 ให้ความหมายว่า "รัฐธรรมนูญ" คือกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้ รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเท.

ใหม่!!: การขอประชามติโดยบังคับและรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติ

นิติบัญญัติเป็นสภาปรึกษาหารือชนิดหนึ่งซึ่งมีอำนาจผ่าน แก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกกฎหมาย กฎหมายที่เกิดจากสภานิติบัญญัติเรียก กฎหมายลายลักษณ์อักษร นอกเหนือไปจากการตรากฎหมายแล้ว สภานิติบัญญัติยังมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการเพิ่มหรือลดภาษีและมีมติเห็นชอบงบประมาณและร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินอื่น สภานิติบัญญัติมีหลายชื่อ ที่พบมากที่สุด คือ รัฐสภาและคองเกรส (congress) โดยสองคำนี้มีความหมายจำเพาะกว่า ในการปกครองระบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติซึ่งอาจถอดถอนฝ่ายบริหารได้ด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในระบบประธานาธิบดี ตามลัทธิการแยกใช้อำนาจ สภานิติบัญญัติถูกมองว่าเป็นอิสระและเป็นการปกครองแขนงหนึ่งซึ่งเสมอกับฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร องค์ประกอบหลักของสภานิติบัญญัติ คือ มีตั้งแต่หนึ่งสภา (chamber/house) เป็นต้นไป สภา คือ การประชุมซึ่งสามารถอภิปรายและลงมติในร่างกฎหมายได้ สภานิติบัญญัติซึ่งมีสภาเดียว เรียก สภาเดียว ส่วนสภานิติบัญญัติที่มีสองสภา เรียก ระบบสองสภา ซึ่งปกติอธิบายเป็นสภาสูงและสภาล่าง โดยมักมีหน้าที่อำนาจและวิธีการเลือกสมาชิกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีสภานิติบัญญัติที่มีมากกว่าสองสภา แต่ไม่ค่อยพบ ในระบบรัฐสภาส่วนมาก สภาล่างเป็นสภาที่มีอำนาจกว่า ขณะที่สภาสูงเป็นเพียงสภาให้คำปรึกษาหรือทบทวน อย่างไรก็ดี ในระบบประธานาธิบดี อำนาจของสองสภามักคล้ายหรือเท่ากัน ในสหพันธรัฐ สภาสูงมักเป็นตัวแทนของรัฐที่มารวมกัน (component state) ซึ่งรวมถึงสภานิติบัญญัติเหนือชาติของสหภาพยุโรปด้วย ด้วยจุดประสงค์นี้ สภาสูงอาจมีผู้แทนจากรัฐบาลของรัฐ ดังเช่นในกรณีสหภาพยุโรปและเยอรมนี หรือมาจากการเลือกตั้งตามสูตรซึ่งให้การมีผู้แทนเท่าเทียมกันแก่รัฐซึ่งมีประชากรน้อยกว่า เช่นในกรณีออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน.

ใหม่!!: การขอประชามติโดยบังคับและสภานิติบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธรัฐ

แผนที่ประเทศสหพันธรัฐอย่างเป็นทางการ รัฐเดี่ยว สหพันธรัฐ (federation) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า รัฐสหพันธ์ เป็นรัฐอธิปไตยประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะของสหภาพรัฐหรือภูมิภาคที่ปกครองตนเองบางส่วน ที่รวมเข้าด้วยกันโดยรัฐบาลกลาง หรือรัฐบาลสหพันธ์ ในสหพันธรัฐ สถานะการปกครองตนเองของรัฐองค์ประกอบนั้นตามแบบได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยการตัดสินใจฝ่ายเดียวของรัฐบาลกลาง ระบอบการปกครองหรือโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญที่พบในสหพันธรัฐนั้นทราบกันในชื่อ ระบอบสหพันธรัฐ เป็นระบอบการปกครองที่ตรงข้ามกับรูปแบบรัฐอีกประเภทหนึ่ง คือ รัฐเดี่ยว ตัวอย่างสหพันธรัฐ เช่น ประเทศเยอรมนี ซึ่งประกอบด้วยสิบหกรัฐ (Länder) ที่รวมเข้ากันเป็นสหพันธ์ สหพันธรัฐนั้นอาจประกอบไปด้วยประชาชนที่หลากหลายทางเชื้อชาติ และมีพื้นที่กว้างใหญ่ (ดังเช่น ความหลากหลายอย่างที่สุดในอินเดีย) แม้สหพันธรัฐจะไม่จำเป็นต้องประกอบด้วยทั้งสองประการที่กล่าวมาก็ตาม สหพันธรัฐนั้นส่วนมากก่อตั้งขึ้นจากความตกลงแต่เดิมระหว่างรัฐอธิปไตยจำนวนหนึ่งโดยตั้งอยู่บนความกังวลหรือผลประโยชน์ร่วมกัน ความตกลงแรกเริ่มได้สร้างเสถียรภาพซึ่งเกื้อหนุนผลประโยชน์ร่วมกันข้ออื่น นำดินแดนที่แตกต่างกันสิ้นเชิงมาใกล้ชิดกัน และให้ดินแดนทั้งหมดมีหลักความเห็น (common ground) กว่าแต่ก่อน ในขณะเดียวกัน ความตกลงนี้ได้รับการรับรองและมีการจัดขบวนการเพื่อผสานรวมกันให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น แต่ก็มีบางช่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปัจจัยวัฒนธรรมร่วมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น เชื้อชาติหรือภาษา บางขั้นตอนในแบบนี้ถูกเร่งให้เร็วขึ้นหรือบีบอัด องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ คือ องค์ประชุมกลุ่มประเทศสหพันธรัฐ (Forum of Federations) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงออตตาวา รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ซึ่งมีจุดประสงค์ในการแบ่งปันแนวคิดและแนวปฏิบัติในการจัดการระบบการปกครองแบบสหพันธ์ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 9 ประเท.

ใหม่!!: การขอประชามติโดยบังคับและสหพันธรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: การขอประชามติโดยบังคับและสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สันนิบาตชาติ

ันนิบาตชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: การขอประชามติโดยบังคับและสันนิบาตชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญา

นธิสัญญา (treaty) เป็นข้อตกลงเฉพาะหน้าภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศซึ่งเข้าทำสัญญาโดยตัวแสดงในกฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ รัฐเอกราชและองค์การระหว่างประเทศ สนธิสัญญาอาจเรียกชื่อต่าง ๆ เช่น กติกา (covenant), กติกาสัญญา (pact), กรรมสาร (act), ข้อตกลง (accord), ความตกลง (agreement), แถลงการณ์ (communiqué), ปฏิญญา (declaration), พิธีสาร (protocol) และ อนุสัญญา (convention) แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร รูปแบบความตกลงทั้งหมดเหล่านี้ถือว่าเป็นสนธิสัญญาเท่าเทียมกันและมีหลักเกณฑ์เดียวกันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ สนธิสัญญาสามารถเปรียบได้หลวม ๆ กับสัญญา ทั้งสองต่างเป็นวิธีการที่ภาคีที่สมัครใจยอมรับพันธกรณีต่อกัน และภาคีซึ่งไม่สามารถยึดพันธกรณีสามารถรับผิดได้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเท.

ใหม่!!: การขอประชามติโดยบังคับและสนธิสัญญา · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจบริหาร

อำนาจบริหาร (Executive) เป็นการปกครองส่วนที่มีอำนาจและความรับผิดชอบเฉพาะการบริหารประเทศประจำวัน ระบบการแยกใช้อำนาจออกแบบมาเพื่อกระจายอำนาจในบรรดาหลายฝ่าย เป็นความพยายามที่จะรักษาเสรีภาพปัจเจกบุคคลเพื่อเป็นการสนองตอบผู้นำทรราชตลอดประวัติศาสตร์ บทบาทของฝ่ายบริหาร คือ บังคับใช้กฎหมายตามที่สภานิติบัญญัติบัญญัติขึ้นและระบบตุลาการตีความ ฝ่ายบริหารสามารถเป็นบ่อเกิดของกฎหมายบางประเภทได้ เช่น กฤษฎีกาหรือคำสั่งของฝ่ายบริหาร ระบบข้าราชการประจำบริหารมักเป็นที่มาของระเบี.

ใหม่!!: การขอประชามติโดยบังคับและอำนาจบริหาร · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยโดยตรง

การชุมนุมตามกระบวนการประชาธิปไตยโดยตรงที่เรียกว่า Landsgemeinde ในแคนทอนกลารุสปี พ.ศ. 2549 ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประชาธิปไตยโดยตรง (direct democracy) หรือ ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ (pure democracy.) เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่ประชาชนตัดสินการริเริ่มออกกฎหมาย/นโยบายต่าง ๆ โดยตรง ไม่ว่าจะโดยออกเสียงลงคะแนนหรือลงประชามติเป็นต้น ซึ่งต่างจากรัฐประชาธิปไตยปัจจุบันโดยมากอันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ที่ประชาชนออกเสียงเลือกผู้แทนเพื่อทำหน้าที่ริเริ่มแล้วออกเสียงตัดสินนโยบายอีกทอดหนึ่ง ในระบอบนี้ ประชาชนอาจมีอำนาจการตัดสินใจทางฝ่ายบริหาร ริเริ่มแล้วตัดสินการออกกฎหมายทางฝ่ายนิติบัญญัติ เลือกตั้งและถอดถอนเจ้าหน้าที่ และดำเนินการทางฝ่ายตุลาการ ประชาธิปไตยโดยตรงมีรูปแบบหลัก ๆ สองอย่างคือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ.

ใหม่!!: การขอประชามติโดยบังคับและประชาธิปไตยโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: การขอประชามติโดยบังคับและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาล

ำนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เทศบาล เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในประเทศไทยปัจจุบัน การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร..116 (พ.ศ. 2440) โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ในส่วนภูมิภาค มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลท่าฉลอม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ขึ้นมีวิวัฒนาการเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการกระจายอำนาจการปกครองที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น โดยมีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2476 โดยมีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล..

ใหม่!!: การขอประชามติโดยบังคับและเทศบาล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Mandatory referendumObligatorisches ReferendumReferendum obligatoricRéférendum obligatoireการลงประชามติที่กฎหมายบังคับการลงประชามติที่บังคับการลงประชามติที่บังคับให้กระทำการการลงประชามติแก้ไขกฎบัตรการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญการลงประชามติโดยบังคับการออกเสียงประชามติบังคับการขอประชามติที่กฎหมายบังคับการขอประชามติที่บังคับการขอประชามติที่บังคับให้กระทำการ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »