โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กัลมาษบาท

ดัชนี กัลมาษบาท

ในเทพปกรณัมฮินดู กัลมาษบาท (कल्माषपाद กลฺมาษปาท), เสาทาส (सौदास), มิตรสหะ (मित्रसह), หรือ อมิตรสหะ เป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์อิกษวากุ ซึ่งถูกฤษีวสิษฐะสาปให้กลายเป็นรากษส พระเจ้ากัลมาษบาทเป็นต้นวงศ์ของพระรามซึ่งถือกันว่าเป็นอวตารของเทพวิษณุและเป็นวีรบุรุษในมหากาพย์ฮินดูเรื่อง รามายณะ เอกสารหลายฉบับพรรณนาว่า พระเจ้ากัลมาษบาททรงถูกสาปให้สิ้นพระชนม์ถ้าร่วมประเวณีกับพระมเหสี พระองค์จึงขอให้ฤษีวสิษฐะประทานบุตรให้ด้วยวิธีนิโยคอันเป็นวิธีตามประเพณีโบราณที่ชายสามารถขอให้ภริยามีสัมพันธ์กับชายอื่นเพื่อให้เกิดบุตรได้ พระเจ้ากัลมาษบาทยังปรากฏในร้อยกรองเรื่องสำคัญอย่าง ปุราณะ, มหาภารตะ, และ รามายณะMani, p. 377.

15 ความสัมพันธ์: ชนกพระรามพระวิษณุพระนางกุนตีมหาภารตะยักษ์ราชวงศ์อิกษวากุรามายณะอวตารอโยธยาทมยันตีท้าวทศรถท้าวปาณฑุปุราณะนักบวช

ชนก

นก (जनक) เป็นกษัตริย์แห่งรัฐวิเทหะซึ่งตั้งอยู่ระหว่างฝั่งตะวันออกของแม่น้ำคัณฑกี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำมหานันทา และฝั่งเหนือของแม่น้ำคงคา พระองค์ทรงได้รับยกย่องว่า เป็นแบบอย่างของกษัตริย์ที่ไม่ยึดติดกับลาภยศศฤงคาร แม้จะทรงครองความมั่งคั่งและสุขสบายมากยิ่งก็ตาม พระองค์ยังสนพระทัยในปรัชญาทางจิตวิญญาณ และไม่ผูกพันพระองค์กับมายาคติทางโลก เอกสารโบราณระบุว่า พระองค์ทรงมีปฏิสัมพันธ์กับนักพรตนักบวชมากมาย เช่น อัษฏาวกระ และสุลาภะ วรรณกรรมระบุว่า พระองค์มีพระธิดาบุญธรรมนามว่า สีดา นอกจากนี้ เมืองชนกปุระในประเทศเนปาลปัจจุบันตั้งชื่อตามพระนามของพระอง.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและชนก · ดูเพิ่มเติม »

พระราม

ระราม (राम รามะ) เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นร่างอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถและนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์ พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตร.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและพระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระวิษณุ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. ศิลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย. พระวิษณุ (विष्णु วิษฺณุ) หรือที่รู้จักกันในพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า พระนารายณ์ (नारायण นารายณ) เป็นหนึ่งในสามตรีมูรติ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาวฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มีมงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักรสุทรรศน์ คทาเกาโมทกี แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วนอีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง (โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร") โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะบรรทมอยู่บนหลังพญาอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือพระแม่ลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนิบัติอยู่ข้าง ๆ เสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ พระวิษณุ มีอีกพระนามอีกอย่างหนึ่งว่า "หริ" แปลว่าผู้ดูแลแห่งจักรวาลถือเป็นเทพสูงสุด เพราะทุกอย่างเกิดจาก "หริ" โดย"หริ"ได้แบ่งตนเองออกเป็น 3 คือ.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและพระวิษณุ · ดูเพิ่มเติม »

พระนางกุนตี

พระนางกุนตี มีชื่อเดิมว่า "ปฤถา" เป็นธิดาในท้าวศูระเสน กษัตริย์แห่งกรุงมถุรา มีพี่ชายนามว่า "วาสุเทพ" ซึ่งเป็นบิดาของ"พระกฤษณะ" ดังนั้นพระกฤษณะจึงมีศักดิ์เป็นหลานชายของพระนางนั่นเอง กาลต่อมาท้าวกุนติโภช ซึ่งเป็นพระญาติสนิทกับท้าวศูระเสนได้ขอพระนางไปเลี้ยงเป็นพระธิดาบุญธรรม เนื่องจากไม่มีโอรสธิดา ท้าวศูระเสนจึงมอบให้ด้วยความยินดี เมื่อมาอยู่กับท้าวกุนติโภชจึงได้นามใหม่ว่า "กุนตี" อยู่มาวันหนึ่งมหาฤๅษีทุรวาสได้เดินทางมายังเมืองของท้าวกุนติโภช ซึ่งท้าวกุนติโภชได้มอบหมายให้พระธิดากุนตีคอยปรนนิบัติรับใช้จนมหาฤๅษีพอใจ จึงให้พรเป็นมนต์สำหรับเชิญเทพเจ้าลงมาประทานบุตรให้ เพราะมหาฤๅษีทุรวาสทราบด้วยญาณว่า ในอนาคตพระธิดากุนตีต้องเชิญเทพเจ้าลงมาประทานบุตรให้ เพราะไม่อาจมีบุตรกับสวามีของนางได้นั่นเอง แต่ด้วยความคึกคะนองของนางที่อยากทดสอบมนต์ของมหาฤๅษีว่าจะศักดิ์สิทธิ์เพียงใด จึงลองเชิญพระสุริยเทพดู พระสุริยะเทพก็ปรากฏกายต่อหน้านาง แต่ด้วยความที่นางไร้เดียงสาจึงไม่ต้องการมีบุตร แต่ด้วยมนต์นั้นพระสุริยะเทพไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ จึงประทานบุตรให้แก่นางโดยที่นางไม่เสียพรหมจรรย์ เมื่อนางคลอดลูกแล้ว ด้วยความอายกลัวคนอื่นจะครหาว่ามีบุตรก่อนจะแต่งงาน นางจึงนำบุตรน้อยใส่กล่องแล้วลอยไปในแม่น้ำคงคา ซึ่งต่อมาบุตรคนนี้ก็คือ "กรรณะ" พี่ชายคนโตของเหล่าปาณฑพ แต่อยู่ฝ่ายเการพและมีบทบาทอย่างมากในสงครามมหาภารตะนั่นเอง ต่อมาท้าวกุนติโภชได้จัดพิธีสยุมพรให้แก่พระธิดากุนตีกับท้าวปาณฑุแห่งกรุงหัสตินาปุระ และต่อมาไม่นานท้าวปาณฑุก็มีชายาอีกองค์หนึ่ง นามว่า "พระนางมาทรี" ในตอนแรกพระนางกุนตียังไม่ยอมรับในพระนางมาทรีเท่าไหร่ แต่เมื่อได้สนทนากันเห็นว่านางเป็นคนดีจึงยอมรับและรักนางเหมือนน้องสาวคนหนึ่ง ครั้งหนึ่งท้าวปาณฑุได้ออกไปล่าสัตว์ เห็นกวางสองตัวกำลังเสพสังวาสกัน จึงแผลงศรไปโดนกวางทั้งสองตัวเข้า ซึ่งกวางทั้งสองเป็นพราหมณ์และพราหมณีแปลงร่างมา ก่อนทั้งสองจะสิ้นใจได้สาปว่า หากท้าวปาณฑุเกิดอารมณ์ที่จะอภิรมย์สมสู่กับชายาตนเมื่อใด จงสิ้นชีวิตเมื่อนั้น ท้าวปาณฑุเกรงในคำสาปนี้จึงสละราชสมบัติให้ท้าวธฤตราษฎร์ขึ้นครองแทน แล้วไปบำเพ็ญศีลในป่า ซึ่งพระนางกุนตีและพระนางมาทรีได้ติดตามไปด้วย และในวันหนึ่งท้าวปาณฑุปรารถนาจะมีโอรส พระนางกุนตีจึงบอกเรื่องมนต์เชิญเทพเจ้ามาประทานบุตร ท้าวปาณฑุจึงขอให้พระนางกุนตีเชิญ "พระธรรมราช" (พระยม) "พระวายุ" และ"พระอินทร์" มาประทานบุตรให้ ซึ่งก็ได้บุตรชายคือ "ยุธิษฐิระ""ภีมะหรือภีมเสน" และ"อรชุน" ตามลำดับ ฝ่ายพระนางมาทรีปรารถนาจะมีโอรสบ้างจึงอ้อนวอนให้พระนางกุนตีสอนมนต์ให้แก่นาง พระนางกุนตีก็ไม่ขัดข้อง พระนางมาทรีจึงเชิญ "พระอัศวิน" โอรสฝาแฝดของพระสุริยะเทพมาประทานโอรสให้ ก็ได้โอรสแฝดนามว่า "นกุล" กับ "สหเทพ" รวมกันเป็นพี่น้อง "ปาณฑพ" นั่นเอง วันหนึ่งท้าวปาณฑุกับพระนางมาทรีไปหาฟืนและอาหารในป่า ท้าวปาณฑุเกิดอารมณ์รักเข้าจึงจะสมสู่กับพระนางมาทรี แต่ในขณะกำลังซบบนพระถันของพระนางมาทรี ท้าวปาณฑุก็สิ้นใจตายในทันทีตามคำสาป พระนางมาทรีทำใจไม่ได้จึงตามท้าวปาณฑุไปในกองไฟเผาศพ แต่ก่อนไปพระนางได้ฝากฝังนกุลกับสหเทพให้กับพระนางกุนตีคอยดูแลด้วย ซึ่งต่อมาพระนางกุนตีกับโอรสทั้ง 5 ได้กลับไปยังกรุงหัสตินาปุระอีกครั้ง มีอยู่คราวหนึ่งพระนางกุนตีกับพี่น้องปาณฑพได้รับคำเชิญให้ไปประทับยังเมืองวาราณาวัต ซึ่งทุรโยธน์กับลุงนามศกุนิ ได้วางแผนให้ ปุโรจัน ไปสร้างพระราชวังที่ประทับให้กับพี่น้องปาณฑพซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อเพลิงอย่างดี เมื่อเหล่าปาณฑพกับพระนางกุนตีนอนหลับ ปุโรจันก็วางเพลิง แต่โชคดีที่มหามนตรีวิฑูรทราบเรื่องก่อน จึงเตรียมทางหนีไว้ให้ ทั้งพระนางกุนตีและพี่น้องปาณฑพจึงรอดจากการวางเพลิงไปได้ ส่วนปุโรจันนั้นตายในกองเพลิงนั้นเอง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและพระนางกุนตี · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและมหาภารตะ · ดูเพิ่มเติม »

ยักษ์

รูปปั้นยักษ์ '''ทศกัณฐ์''' ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นยักษ์จากเรื่องรามเกียรติ์ ยักษ์ เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งที่มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี ยักษ์ในความเชื่อของไทยมักได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ในขณะที่ความเชื่อในบริเวณอื่นๆของโลกก็มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอมนุษย์ที่มีร่างกายใหญ่โต ชอบของสดคาว ซึ่งเทียบได้กับยักษ์ในความเชื่อของคนไทยเช่นกัน.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์อิกษวากุ

อิกษวากุ ในภาษาสันสกฤต (इक्ष्वाकु Ikṣvāku) หรือ โอกกากะ ในภาษาบาลี (Okkāka) แปลว่า ต้นขี้กาเทศ เป็นชื่อราชวงศ์ในวรรณกรรมปุราณะ ซึ่งมีผู้สถาปนา คือ พระเจ้าอิกษวากุ แต่เอกสารจากศาสนาพุทธว่า ผู้สถาปนา คือ พระเจ้ามหาสมมติ บรรพบุรุษพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอิกษวากุ ซึ่งมหาชนสมมุติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งปัจจุบันสมัย ราชวงศ์นี้ยังเป็นที่รู้จักด้วยชื่อ สุริยวงศ์ และถือกันว่า พระรามเป็นสมาชิกราชวงศ์ดังกล่าว ส่วนศาสนาเชนถือว่า ตีรถังกร 22 องค์ จากทั้งหมด 24 องค์ เป็นสมาชิกราชวงศ์นี้ ราชวงศ์อิกษาวกุมีสมาชิกสำคัญอีกหลายพระองค์ เช่น พระเจ้าทิลีป, พระเจ้าปเสนทิโกศล, พระเจ้ารัคหุ, พระเจ้าสัคระ, พระเจ้าหริศจันทร์, และพระพรต เอกสารฮินดูอย่าง ปุราณะ และเอกสารพุทธอีกหลายฉบับ นับพระเจ้าสุทโธทนะ, พระพุทธเจ้า, และพระราหุล เข้าในราชวงศ์นี้เช่นกัน.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและราชวงศ์อิกษวากุ · ดูเพิ่มเติม »

รามายณะ

พระรามประทับบนไหล่หนุมาน เข้าต่อรบกับพญายักษ์ราวณะ (ทศกัณฐ์), ภาพวาดบนกระดาษ, ศิลปะอินเดีย, ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1820 (สมบัติของบริติชมิวเซียม) รามายณะ (रामायण) เป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ของอินเดีย เชื่อว่าเป็นนิทานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนานในหลากหลายพื้นที่ของชมพูทวีป แต่ผู้ได้รวบรวมแต่งให้เป็นระเบียบครั้งแรกคือฤๅษีวาลมีกิ เมื่อกว่า 2,400 ปีมาแล้ว โดยประพันธ์ไว้เป็นบทร้อยกรองประเภทฉันท์ภาษาสันสกฤต เรียกว่า โศลก จำนวน 24,000 โศลกด้วยกัน โดยแบ่งเป็น 7 ภาค (กาณฑ์ หรือ กัณฑ์) ดังนี้.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและรามายณะ · ดูเพิ่มเติม »

อวตาร

กัลกยาวตาร (อัศวินม้าขาว) อวตาร (अवतार, avatāra) คือการที่เทพเจ้าองค์ต่าง ๆ ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูแบ่งภาคมาเกิดบนโลกมนุษย์ โดยเทพแบ่งพลังงานส่วนหนึ่งลงมาเกิดเป็นมนุษย์หรือสัตว์ เพื่อทำหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด ในลัทธิไวษณพถือว่าเมื่อศีลธรรมของมนุษย์เสื่อมลง จนเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว พระวิษณุจะอวตารลงมาปราบยุคเข็ญ การอวตารส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ แต่ก็ยังมีที่เชื่อมโยงกับเทวดาอื่น ๆ รายชื่อของพระนารายณ์อวตารปรากฏในคัมภีร์ฮินดูจำนวนมากรวมทั้งอวตารทั้งสิบในครุฑ ปุราณะ และอวตาร 22 ปางในภควัตปุราณะ รวมทั้งที่เพิ่มอีกภายหลังจนนับไม่ถ้วน พระวิษณุอวตารเป็นความเชื่อหลักของลัทธิไวษณพ หลักฐานเกี่ยวกับอวตารยุคแรก ๆ อยู่ในภควัทคีตา มีเรื่องราวเกี่ยวกับอวตารของพระศิวะและพระพิฆเนศ และเทพีต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่ผู้นับถือลัทธิศักติ อย่างไรก็ตาม อวตารของพระนารายณ์เป็นที่รู้จักมากที.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและอวตาร · ดูเพิ่มเติม »

อโยธยา

อโยธยา (เทวนาครี: अयोध्या, อูรดู: ایودھیا) เป็นเมืองเก่าแก่ในประเทศอินเดีย อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ชาวฮินดูเชื่อว่าพระรามเคยครองราชย์ที่เมืองนี้ อโยธยาตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสรยุ ทุกปีในเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นเดือนประสูติของพระรามและเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนที่พระรามอภิเษกกับนางสีดาจะมีชาวฮินดูมาแสวงบุญที่อโยธยา ตามความเชื่อของชาวฮินดู อโยธยาเป็นสถานที่ประสูติของพระราม ในปีพ.ศ. 2535 เกิดเหตุจลาจลขึ้น โดยชาวฮินดูได้บุกเข้าทำลายมัสยิดในเมืองอโยธยา ซึ่งตั้งอยู่บนสถานที่ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระราม.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและอโยธยา · ดูเพิ่มเติม »

ทมยันตี

ทมยันตี (Damayantī, दमयन्ती) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและทมยันตี · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวทศรถ

ท้าวทศรถ เป็นพระราชโอรสของท้าวอัชบาล กับพระนางเทพอัปสร ครองกรุงอโยธยาต่อจากพระราชบิดา ท้าวทศรถได้กำหราบยักษ์หลายตน เช่น ปทูตทันต์ ในการศึกนั้นท้าวทศรถต่อสู้ด้วยศร จนปทูตทันต์กระเด็นไป ปทูตทันต์โมโหก็ขว้างกระบองแก้ว ทำให้เกิดเสียงดังกัมปนาท และบังเกิดเปลวไฟ ท้าวทศรถเห็นเพลิงจึงขว้างพระขรรค์ เกิดเป็นฝนตกลงมาดับไฟ ทำให้เพลารถหัก พระนางไกษเกษีเห็นดังนั้น จังนำแขนมาเทียมรถ ได้รับความเจ็บปวดอย่างมาก ปทูตทันต์โมโหโทโส กระโดดเข้ามาใหม่ ท้าวทศรถจึงขว้างพระขรรค์ไปใหม่ ด้วยอำนาจอันเรืองฤทธิ์ของพระขรรค์ ปทูตทันต์จึงกระเด็นตกยังพื้นพสุธาคอหักตายคาที และท้าวทศรถจึงได้ให้รางวัลแก่พระนางไกษเกษี ว่าในวันข้างหน้า หากนางขออะไร ก็จะให้ตามที่นางขอ ท้าวทศรถอยู่ในราชสมบัติได้หกหมื่นปี ก็มาคิดเรื่องโอรสทั้งสี่ที่จะแบ่งสมบัติให้ โดยพระพรตและพระสัตรุตจะได้ครองกรุงไกยเกษ ส่วนพระรามและพระลักษมณ์จะให้ครองเมืองอโยธยาแต่การนี้พระนางไกยเกษีมเหสีองค์รองขัดขวาง โดยยกเรื่องของรางวัลในอดีตมาเป็นข้อต่อรอง ให้พระรามไปอยู่ในป่าสิบสี่ปี และให้พระพรตขึ้นครองราชย์แทน ท้าวทศรถเสียใจมากจึงสวรรคตด้วยความตรอมพระทั.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและท้าวทศรถ · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวปาณฑุ

ท้าวปาณฑุ เป็นพระโอรสของเจ้าหญิงอัมพาลิกากับฤๅษีวยาส ซึ่งเกิดจากพิธีที่เรียกว่า นิโยค มีสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง มีผิวกายที่ขาวซีด เป็นน้องชายของท้าวธฤตราษฎร์และเป็นบิดาของปาณฑพทั้ง 5 มีพระชายา 2 พระองค์คือพระนางกุนตีและพระนางมาทรี ครั้งหนึ่งเมื่อขึ้นครองราชย์แล้วเสด็จประพาสป่า ได้ยิงธนูใส่กวางคู่หนึ่งที่กำลังสมสู่กันอยู่ แต่ปรากฏว่ากวางคู่นั้นเป็นฤๅษีกินทมะจำแลงกายเป็นกวาง ก่อนตายฤๅษีได้สาปแช่งท้าวปาณฑุว่า เมื่อใดที่ท่านสมสู่กับหญิงผู้ใดก็ตามขอให้ท่านได้ประสบถึงแก่ความตาย ทำให้ท้าวปาณฑุเสียใจมากจึงสละราชสมบัติแล้วเข้าป่าออกบวช ซึ่งชายาทั้ง 2 ก็ขอติดตามไปด้วย วันหนึ่งท้าวปาณฑุได้เข้าไปในป่ากับพระนางมาทรีเพื่อไปเก็บผลไม้และดอกไม้ ระหว่างนั้นได้เกิดความใคร่อยากสมสู่กับพระนางมาทรีขึ้น จึงทำให้ท้าวปาณฑุสิ้นใจในเวลาต่อมาตามคำสาปของฤๅษีที่ได้สาปแช่งไว้ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและท้าวปาณฑุ · ดูเพิ่มเติม »

ปุราณะ

ระนางอัมพิกะ หรือทุรคา นำ'''มาตฤกา'''ทั้งแปด ไปรบกับอสูรชื่อ '''รักตพีช''' จากเรื่อง "เทวีมาหาตมยัม" ในคัมภีร์'''มารกัณเฑยปุราณะ''' ปุราณะ (पुराण, purāṇa, เก่าแก่, โบราณ) เป็นชื่อคัมภีร์ที่สำคัญประเภทหนึ่งในศาสนาฮินดู (หรือศาสนาเชน และพุทธศาสนา) โดยมากจะเป็นเรื่องเล่าว่าด้วยประวัติของจักรวาล นับตั้งแต่การสร้าง จนถึงการทำลาย (ประลัย) ลำดับพงศ์กษัตริย์ วีรบุรุษ ฤษี ทวยเทพ ตลอดจนจักรวาลวิทยา ปรัชญา และภูมิศาสตร์ของฮินดูด้วย เนื้อหาในปุราณะมักจะเน้นเทพเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งโดยเฉพาะ เด่นด้วยแนวคิดเชิงศาสนาและปรัชญา ดำเนินเรื่องให้มีบุคคล (มักจะเป็นฤษี) เป็นผู้เล่าเรื่องให้อีกคนหนึ่งฟัง คัมภีร์ปุราณะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ มหาปุราณะ และอุปปุราณ.

ใหม่!!: กัลมาษบาทและปุราณะ · ดูเพิ่มเติม »

นักบวช

นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้สละชีวิตฆราวาสเข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: กัลมาษบาทและนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kalmashapadaพระเจ้ากัลมาษบาท

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »