โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กะโหลกศีรษะมนุษย์

ดัชนี กะโหลกศีรษะมนุษย์

กะโหลกศีรษะมนุษย์ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ เมื่อแรกเกิดกะโหลกศีรษะจะประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้นซึ่งเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกเหล่านี้จะเกิดการสร้างเนื้อกระดูกและเชื่อมรวมกัน แม้ว่ากะโหลกศีรษะจะเป็นโครงสร้างที่มีความแข็งแรงก็ตาม การกระทบกระเทือนที่ศีรษะอย่างแรงก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตและพิการได้ ทั้งจากการบาดเจ็บจากเนื้อสมองโดยตรง การตกเลือดในสมอง และการติดเชื้อ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะของมนุษย์มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านมานุษยวิทยาและโบราณคดี ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญทางบรรพชีวินวิทยา และยังช่วยให้เข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้ในทางนิติเวชศาสตร์ กะโหลกศีรษะยังมีความสำคัญในการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและการแยกความแตกต่างระหว่างเพศชายและหญิง ซึ่งมีประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนคดีอีกด้ว.

69 ความสัมพันธ์: บรรพชีวินวิทยาชีพจรฟอราเมน แมกนัมกระหม่อมกระหม่อมหลังกระหม่อมหน้ากระดูกกระดูกสฟีนอยด์กระดูกหุ้มสมองกระดูกหูกระดูกหน้าผากกระดูกอ่อนกระดูกทั่งกระดูกท้ายทอยกระดูกขมับกระดูกข้างขม่อมกระดูกค้อนกระดูกใบหน้ากระดูกโกลนกระดูกไฮออยด์กระดูกเอทมอยด์กล่องเสียงกะโหลกศีรษะการตรวจพิสูจน์บุคคลก้านสมองมานุษยวิทยายุคหินใหม่รอยประสาน (กายวิภาคศาสตร์)รอยประสานหว่างขม่อมรอยประสานหน้าผากรอยประสานท้ายทอยรอยประสานคร่อมขม่อมหน้าระบบประสาทระบบประสาทกลางลิ้นวิวัฒนาการศีรษะสมองสมองน้อยสควาโมซัล ซูเจอร์หลอดเลือดหลอดเลือดดำหูหูชั้นในรูปหอยโข่งจมูกทัดดอกไม้ทางเดินอาหารข้อต่อความพิการความตาย...ตาประชากรปุ่มกกหูปุ่มกระดูกท้ายทอยนิติวิทยาศาสตร์นิติเวชศาสตร์แสกหน้าแอสเทอเรียนใบหน้าโบราณคดีโพรงกะโหลกเยื่อหุ้มสมองเยื่ออะแร็กนอยด์เยื่อดูราเยื่อเพียเส้นขมับเส้นประสาทเนื้อเยื่อบุผิวเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ขยายดัชนี (19 มากกว่า) »

บรรพชีวินวิทยา

นักบรรพชีวินวิทยา บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะรูปร่าง ลักษณะความเป็นอยู่ และประวัติการวิวัฒนการของสิ่งมีชีวิต ได้แก่สัตว์และพืชในธรณีกาล โดยอาศัยข้อมูลหรือร่องรอยต่างๆ ของสัตว์และพืชนั้นๆที่ถูกเก็บบันทึกและรักษาไว้ในชั้นหิน จัดเป็นแขนงหนึ่งของวิชาธรณีวิทยา ที่อาศัยความรู้ทางชีววิทยาปัจจุบันไปเปรียบเทียบกับหลักฐานที่ได้สภาพซากดึกดำบรรพ์ เพื่อให้เข้าใจสภาพแวดล้อมในอดีตในช่วงที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ ผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับซากดึกดำบรรพ์ เรียกว่า นักบรรพชีวินวิท.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และบรรพชีวินวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ชีพจร

thumb การประเมินชีพจรที่หลอดเลือดแดงเรเดียล ในวิชาแพทยศาสตร์ ชีพจรของบุคคลแทนการคลำตรวจการเต้นของหัวใจทางหลอดเลือดแดงด้วยนิ้วมือ อาจคลำตรวจชีพจรได้ทุกที่ซึ่งจะกดหลอดเลือดแดงกับกระดูก เช่น ที่คอ (หลอดเลือดแดงแคโรติด) ด้านในข้อศอก (หลอดเลือดแดงแขน) ที่ข้อมือ (หลอดเลือดแดงเรเดียล) ที่ขาหนีบ (หลอดเลือดแดงต้นขา) หลังเข่า (หลอดเลือดแดงขาพับ) ใกล้ข้อตาตุ่ม (หลอดเลือดแดงแข้งหลัง) และบนเท้า (หลอดเลือดแดงเท้าบน) ชีพจร หรือการนับชีพจรหลอดเลือดแดงต่อนาที เท่ากับการวัดอัตราหัวใจเต้น อัตราหัวใจเต้นยังสามารถวัดได้โดยการฟังหัวใจเต้นโดยตรง ซึ่งปกติใช้เครื่องตรวจหูฟังแล้วนับไปหนึ่งนาที หมวดหมู่:สรีรวิทยาระบบหัวใจหลอดเลือด.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และชีพจร · ดูเพิ่มเติม »

ฟอราเมน แมกนัม

ฟอราเมน แมกนัม(Foramen Magnum, มาจากภาษาละติน แปลว่า รูขนาดใหญ่) ในทางกายวิภาคศาสตร์ เป็นช่องเปิดขนาดใหญ่รูปวงรีที่อยู่ที่ฐานของกะโหลกศีรษะ บนกระดูกท้ายทอย (Occipital Bone) ซึ่งเป็นทางผ่านของเมดัลลา ออบลองกาตา (Medulla Oblongata) ซึ่งติดต่อกับไขสันหลัง นอกจากช่องนี้จะเป็นทางผ่านของเมดัลลา ออบลองกาตาแล้ว ยังเป็นทางผ่านของหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรัล (Vertebral Arteries), หลอดเลือดแดงแอนทีเรียร์สไปนัล (Anterior Spinal Artery), และหลอดเลือดแดงโพสทีเรียร์สไปนัล (Posterior Spinal Artery), เยื่อคลุม (Membrana Tectoria) และเอ็นเอลาร์ (Alar Ligaments).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และฟอราเมน แมกนัม · ดูเพิ่มเติม »

กระหม่อม

มุมมองทางด้านบนของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้าและกระหม่อมหลัง มุมมองทางด้านข้างของกะโหลกศีรษะของเด็กแรกเกิด แสดงกระหม่อมหน้า กระหม่อมข้าง และกระหม่อมกกหู กระหม่อม หรือ ขม่อม (fontanelle) เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคศาสตร์ในกะโหลกศีรษะของทารก กระหม่อมเป็นโครงสร้างนิ่มๆ ของศีรษะทารกซึ่งแผ่นกระดูกหุ้มสมองสามารถหดชิดเข้ามาหากันได้ทำให้ศีรษะทารกผ่านช่องคลอดได้ในระหว่างคลอด การกลายเป็นกระดูก (ossification) ของกะโหลกศีรษะทำให้กระหม่อมปิดในระหว่าง 2 ขวบปีแรกของทารก การปิดของกระหม่อมทำให้กระดูกหุ้มสมองเชื่อมต่อกันเป็นข้อต่อแบบซูเจอร์ (suture) กระหม่อมที่เห็นได้ในทารกได้แก่ กระหม่อมหน้า (anterior fontanelle) และกระหม่อมหลัง (posterior fontanelle) และยังมีกระหม่อมที่น่าสนใจอีก 2 คู่ได้แก่ กระหม่อมกกหู (mastoid fontanelle) และกระหม่อมสฟีนอยด์ (sphenoidal fontanelle) รวมมีทั้งหมด 6 กระหม่อม กะโหลกศีรษะของทารกแรกเกิดประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้นหลักๆ ได้แก่ กระดูกหน้าผาก 2 ชิ้น, กระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้น, และกระดูกท้ายทอย 1 ชิ้น กระดูกทั้งหมดเชื่อมกันด้วยข้อต่อแบบซูเจอร์ ซึ่งช่วยในการเคลื่อนที่ของกระดูกระหว่างการคลอดและการเจริญเติบโต กระหม่อมหลังเป็นโครงสร้างบนกะโหลกศีรษะที่เป็นรอยเปิดระหว่างกระดูกที่ถูกปกคลุมด้วยเยื่อแผ่นหนา เป็นรอยเชื่อมระหว่างกระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้นและกระดูกท้ายทอย (บริเวณที่เรียกว่า แลมบ์ดา (lambda)) กระหม่อมนี้มักจะปิดระหว่าง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด กระหม่อมหน้าเป็นกระหม่อมที่มีขนาดใหญ่กว่า มีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมระหว่างกระดูกหน้าผาก 2 ชิ้นและกระดูกข้างขม่อม 2 ชิ้น กระหม่อมนี้จะเปิดจนกระทั่งทารกมีอายุประมาณ 2 ปี แต่ทารกที่มีความผิดปกติเช่น โรค cleidocranial dysostosis อาจทำให้กระหม่อมนี้ปิดช้าหรือไม่ปิดเลย กระหม่อมหน้าเป็นบริเวณที่มีความสำคัญทางคลินิก การตรวจร่างกายทารกจำเป็นต้องมีการคลำกระหม่อมหน้าด้วย หากกระหม่อมหน้ายุบลงแสดงถึงภาวะขาดน้ำ (dehydration) ในขณะที่หากกระหม่อมหน้าตึงหรือปูดโปนออกมามากแสดงถึงการเพิ่มของความดันในกะโหลกศีรษะ (intracranial pressure) พ่อแม่มักจะมีความกังวลว่าทารกอาจมีแนวโน้มได้รับบาดเจ็บที่กระหม่อม แต่ในความเป็นจริงแล้วแม้ว่ากระหม่อมจะนับว่าเป็นบริเวณที่บอบบางของกะโหลกศีรษะ แต่เยื่อแผ่นที่คลุมกระหม่อมอยู่ก็มีความหนามากและทะลุผ่านได้ยากในระดับหนึ่ง กระหม่อมเป็นบริเวณที่ใช้ในการตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อดูภาพสมองของทารก แต่เมื่อกระหม่อมปิดแล้วจะไม่สามารถใช้การอัลตร้าซาวด์ในการสังเกตสมองได้เพราะกระหม่อมจะกลายเป็นกระดูกซึ่งเป็นบริเวณกั้นเสียง.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระหม่อม · ดูเพิ่มเติม »

กระหม่อมหลัง

กระหม่อมหลัง หรือ ขม่อมหลัง (posterior fontanelle หรือ occipital fontanelle) เป็นกระหม่อมบนกะโหลกศีรษะ มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมและอยู่ที่จุดบรรจบของรอยประสานหว่างขม่อม (sagittal suture) และรอยประสาทแลมบ์ดอยด์ (lambdoidal suture) กระหม่อมนี้จะปิดภายใน 6-8 สัปดาห์หลังคลอดและเมื่อปิดแล้วจะเป็นรอยประสานที่เรียกว่า แลมบ์ดา (lambda).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระหม่อมหลัง · ดูเพิ่มเติม »

กระหม่อมหน้า

กระหม่อมหน้า (anterior fontanelle, bregmatic fontanelle หรือ frontal fontanelle) เป็นกระหม่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ที่จุดร่วมของรอยประสานหว่างขม่อม (sagittal suture), รอยประสานคร่อมขม่อมหน้า (coronal suture), และรอยประสานหน้าผาก (frontal suture) มีรูปร่างเหมือนเพชรหรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ในแนวหน้าหลังยาวประมาณ 4 เซนติเมตร และในแนวขวางประมาณ 2.5 เซนติเมตร กระหม่อมช่วยทำให้กะโหลกศีรษะเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้เล็กน้อยขณะคลอดเพื่อช่วยในการผ่านช่องคลอดและช่วยให้กะโหลกขยายได้เมื่อมีการขยายขนาดของสมองหลังคลอด ในขณะที่กระหม่อมหลังและกระหม่อมด้านข้างจะปิดประมาณ 6 เดือนหลังคลอด กระหม่อมหน้าจะยังไม่ปิดจนกระทั่งถึงประมาณกลางขวบปีที่ 2 การกลายเป็นกระดูก (ossification) จะเริ่มเต็มที่เมื่อปลายอายุ 20 และสิ้นสุดก่อนอายุ 50 ปี.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระหม่อมหน้า · ดูเพิ่มเติม »

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกสฟีนอยด์

กระดูกสฟีนอยด์ (Sphenoid bone; sphenoeides แปลว่า รูปร่างคล้ายลิ่ม) เป็นกระดูกชิ้นหนึ่งของฐานกะโหลกศีรษะด้านหน้าของกระดูกขมับ (temporal) และส่วนเบซิลาร์ของกระดูกท้ายทอย (occipital bone) กระดูกชิ้นนี้มีรูปร่างคล้ายปีกผีเสื้อหรือค้างคาว.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกสฟีนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกหุ้มสมอง

กระดูกหุ้มสมอง เป็นกระดูกส่วนบนของกะโหลกศีรษะ แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่จัดให้กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกหุ้มสมอง.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกหุ้มสมอง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกหู

กระดูกหู (ossicles หรือ auditory ossicles) เป็นกระดูกขนาดเล็ก 3 ชิ้นในร่างกายมนุษย์ ซึ่งอยู่ภายในช่องว่างในหูชั้นกลาง ทำหน้าที่ในการส่งผ่านเสียงจากอากาศไปยังห้องหูชั้นใน (labyrinth) ที่บรรจุไปด้วยของเหลว (อวัยวะรูปหอยโข่ง (cochlea)) หากไม่มีกระดูกหูจะทำให้เกิดภาวะสูญเสียการได้ยินระดับกลางหรือระดับรุนแรง.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกหู · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกหน้าผาก

กระดูกหน้าผาก (frontal bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในกะโหลกศีรษะของมนุษย์ มีรูปร่างเหมือนเปลือกหอยแครง ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกหน้าผาก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอ่อน

กระดูกอ่อนเมื่อดูใต้กล้องจุลทรรศน์ กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งพบได้ทั่วร่างกายมนุษย์และสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อต่างๆ ซี่โครง หู จมูก หลอดลม และ กระดูกข้อต่อสันหลังประกอบไปด้วย เยื่อใยคอลลาเจน และ/ หรือ เยื่อใยอีลาสติน และเซลล์ที่เรียกว่า คอนโดรไซต์ซึ่งจะหลั่งสารออกมาห่อหุ้มเซลล์ที่มีคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่อยู่ภายในจะมีลักษณะ คล้ายเจล เรียกว่า แมททริกซ์ กระดูกอ่อนจะไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง คอนโดรไซต์จะแลกเปลี่ยนสารอาหารโดยแพร่ผ่านคอลลาเจนมาสู่เส้นเลือดด้านนอก เมตาบอลิซึมของเซลล์เหล่านี้ต่ำ ถ้าถูกทำลายจะซ่อมแซมตัวเองได้แต่ช้า กระดูกอ่อนมีหน้าที่หลายอย่าง ประกอบไปด้วย การเตรียมโครงร่างของการสะสมการสร้างกระดูก และช่วยสร้างพื้นที่หน้าเรียบสำหรับรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อ เป็นกระดูกที่เกิดขึ้นก่อนในระยะเอ็มบริโอก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยกระดูกแข็ง เป็นโครงสร้างของกล่องเสียง หลอดลมในระบบหายใจ เป็นองค์ประกอบของข้อต่อตามหัวเข่าและข้อศอก กระดูกอ่อนแบ่งตามองค์ประกอบได้ 3 ชนิด ดังนี้ ไฮยาลินคาร์ทีเลจ (hyaline cartilage) อีลาสติกคาร์ทีเลจ (elastic cartilage) ไฟโบรคาร์ทีเลจ (fibrocartilage).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกทั่ง

กระดูกทั่ง (Incus or anvil) เป็นกระดูกหูขนาดเล็กที่อยู่ในหูชั้นกลาง มีรูปร่างเหมือนทั่ง เชื่อมต่อกับกระดูกค้อน (malleus) และกระดูกโกลน (stapes) กระดูกชิ้นนี้ค้นพบครั้งแรกโดย Alessandro Achillin of Bologna กระดูกทั่งทำหน้าที่ส่งผ่านการสั่นสะเทือนจากกระดูกค้อนไปยังกระดูกโกลน กระดูกนี้พบเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และวิวัฒนาการมาจากกระดูกขากรรไกรบนของสัตว์เลื้อยคลานเรียกว่า กระดูกควอเดรต (quadrate bone).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกทั่ง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกท้ายทอย

กระดูกท้ายทอย (Occipital bone) เป็นกระดูกรูปจานรองแก้วที่อยู่ด้านหลังและด้านล่างของกะโหลกศีรษะ มีรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูและโค้ง มีช่องขนาดใหญ่รูปวงรีเรียกว่า ฟอราเมน แมกนัม (foramen magnum) ซึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่างโพรงกะโหลก (cranial cavity) และคลองกระดูกสันหลัง (vertebral canal) แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกท้ายทอย · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกขมับ

กระดูกขมับ (temporal bone) เป็นกระดูกที่อยู่ด้านข้างและด้านฐานของกะโหลกศีรษะ กระดูกนี้ทำหน้าที่ค้ำจุนส่วนของใบหน้าที่เรียกว่า ขมับ (temple).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกขมับ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกข้างขม่อม

กระดูกข้างขม่อม (parietal bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในกะโหลกศีรษะของมนุษย์ ซึ่งประกอบกันอยู่ด้านข้างและเป็นหลังคาด้านบนของกะโหลกศีรษะ กระดูกข้างขม่อมมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่สม่ำเสมอ มีพื้นผิว 2 ด้าน ขอบกระดูก 4 ขอบ และมุมกระดูก 4 มุม.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกข้างขม่อม · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกค้อน

กระดูกค้อน (malleus or hammer) เป็นกระดูกหูขนาดเล็กรูปร่างเหมือนค้อน อยู่ภายในหูชั้นกลางซึ่งติดต่อกับกระดูกทั่งและยึดเกาะกับพื้นผิวด้านในของเยื่อแก้วหู (eardrum) ทำหน้าที่ส่งผ่านความสั่นสะเทือนของเสียงจากเยื่อแก้วหูไปยังกระดูกทั่ง กระดูกค้อนเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม วิวัฒนาการมาจากกระดูกขากรรไกรล่างในสัตว์มีถุงน้ำคร่ำ เรียกว่า กระดูกอาร์ติคิวลาร์ (articular) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อขากรรไกรของสัตว์เลื้อยคลาน.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกค้อน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกใบหน้า

กระดูกใบหน้า (facial bones) หรือ สแปลงคโนเครเนียม (splanchnocranium) หรือ วิสเซอโรเครเนียม (viscerocranium) เป็นกระดูกที่อยู่ทางด้านหน้าและด้านล่างของกะโหลกศีรษะมนุษย์ เจริญมาจาก branchial arch ประกอบด้วยกระดูกต่างๆ ดังนี้.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกใบหน้า · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกโกลน

กระดูกโกลน (stapes or stirrup) เป็นกระดูกหูขนาดเล็กรูปร่างเหมือนโกลน อยู่ภายในหูชั้นกลางซึ่งติดต่อกับกระดูกทั่ง (incus) และช่องรูปไข่ (fenestra ovalis) ซึ่งอยู่ชิดกับเวสทิบูลของหูชั้นใน กระดูกชิ้นนี้เป็นกระดูกที่เล็กและเบาที่สุดในร่างกายมนุษย์ กระดูกโกลนทำหน้าที่ส่งผ่านความสั่นสะเทือนของเสียงจากกระดูกทั่งไปยังเยื่อแผ่นในหูชั้นในภายในช่องรูปไข่ กระดูกโกลนมีกล้ามเนื้อที่ช่วยให้เสถียรชื่อว่า กล้ามเนื้อสเตปีเดียส (stapedius) ซึ่งเลี้ยงโดยเส้นประสาทเฟเชียล (facial nerve) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม กระดูกที่มีต้นกำเนิดเดียว (homologous) กับกระดูกโกลนมักเรียกว่า คอลัมเมลลา (columella) อย่างไรก็ตาม ในสัตว์เลื้อยคลานจะใช้คำเรียกได้ทั้งสองคำ.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกโกลน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกไฮออยด์

กระดูกไฮออยด์ เป็นกระดูกที่อยู่ในคอ และเป็นกระดูกเพียงชิ้นเดียวในร่างกายมนุษย์ที่ไม่เกิดข้อต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆ เลย กระดูกนี้ค้ำจุนโดยกล้ามเนื้อของคอและทำหน้าที่ช่วยค้ำจุนโคนลิ้น กระดูกไฮออยด์มีรูปร่างคล้ายเกือกม้า และแขวนจากยอดของสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกขมับโดยเอ็นสไตโลไฮออยด์ (stylohyoid ligaments).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกไฮออยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกเอทมอยด์

กระดูกเอทมอยด์ (ethmoid bone; ethmos แปลว่า ตะแกรง) เป็นกระดูกที่ประกอบเป็นกะโหลกศีรษะซึ่งกั้นระหว่างโพรงจมูก (nasal cavity) และสมอง (brain) ตั้งอยู่ที่เพดานของจมูก ระหว่างเบ้าตาทั้งสองข้าง กระดูกชิ้นนี้มีน้ำหนักเบาเนื่องจากมีโครงสร้างเป็นกระดูกเนื้อโปร่ง.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกระดูกเอทมอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

กล่องเสียง

กล่องเสียง หรือ ลาริงซ์ (larynx) เป็นอวัยวะในคอของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่ทำหน้าที่ในการป้องกันท่อลม (trachea) และการทำให้เกิดเสียง ในกล่องเสียงมีสายเสียงแท้หรือเส้นเสียงแท้ (vocal fold) ซึ่งอยู่ใต้บริเวณที่คอหอย (pharynx) แยกออกเป็นท่อลมและหลอดอาหาร (esophagus).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกล่องเสียง · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจพิสูจน์บุคคล

การตรวจพิสูจน์บุคคล (biometrics) คือการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และวิทยาศาสตร์แขนงต่าง ๆ ในการตรวจพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล ว่าบุคคลมีชีวิต ศพ เศษชิ้นส่วนของศพ โครงกระดูก เศษชิ้นส่วนกระดูก เลือดหรือเนื้อเยื่อ ตลอดจนคราบต่าง ๆ ที่เกิดจากเนื้อเยื่อหรือสารคัดหลั่งจากมนุษย์ เป็นใครหรือเป็นของใคร ความรู้ทางด้านการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในการระบุตัวของศพหรือบุคคลวิกลจริตหรือหมดสติ และยังนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากในกระบวนการสืบสวนสอบสวนเพื่อยืนยันตัวบุคคลผู้กระทำผิดกฎหมาย ปัจจุบันมีวิธีการตรวจพิสูจน์บุคคลหลายวิธีเช่น การใช้ความจำของมนุษย์ จำได้ว่าบุคคลหรือศพที่พบเห็นเป็นใคร โดยใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเครื่องประดับและรูปพรรณสัณฐานสูงต่ำดำขาว เชื้อชาติ รอยสัก ร่องรอยแผลเป็นและความพิการของร่างกาย ในการยืนยันตัวบุคคล ตลอดจนการใช้วิทยาการภาพเชิงซ้อนมาช่วยในการตรวจพิสูจน์บุคคล แต่ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากล ได้แก่ การตรวจพิสูจน์ยืนยันด้วยเอกลักษณ์ลายพิมพ์นิ้วมือ เอกลักษณ์ฟัน หรือเอกลักษณ์ดีเอ็นเอ อย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวโดยสรุปคือ เราสามารถใช้วิธีการอื่น ๆ เป็นแนวทาง แล้วใช้ลายพิมพ์นิ้วมือหรือลักษณะฟันหรือดีเอ็นเอเป็นสิ่งยืนยันในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล การจำแนกบางส่วนของการตรวจพิสูจน์บุคคล หมวดหมู่:นิติวิทยาศาสตร์ หมวดหมู่:การระบุ.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และการตรวจพิสูจน์บุคคล · ดูเพิ่มเติม »

ก้านสมอง

ก้านสมอง (Brainstem) เป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังและล่างของสมอง เชื่อมระหว่าง สมองใหญ่ กับ ไขสันหลัง ประกอบด้วย เมดดูล่าออปลองกาต้า พอนส์ และมิดเบรน ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์นิวเคลียสของเส้นประสาทสมอง หมวดหมู่:ประสาทสรีรวิทยา หมวดหมู่:ก้านสมอง หมวดหมู่:สมอง.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และก้านสมอง · ดูเพิ่มเติม »

มานุษยวิทยา

มานุษยวิทยา (anthropology) คือ วิชาที่เกี่ยวกับมนุษย์ มานุษยวิทยา เกิดจาก วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และมานุษยวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคหินใหม่

หมู่บ้านในสมัยยุคหินใหม่ ในสกอตแลนด์ที่สมบูรณ์ที่สุดในทวีปยุโรป ยุคหินใหม่ (Neolithic หรือ New Stone Age) อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 10200-4500/2000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นช่วงเวลาระหว่างยุคหินกลางกับยุคโลหะซึ่งมนุษย์ในยุคนี้อาศัยรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน เริ่มรู้จักทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ สามารถเพาะปลูกพืชและเก็บไว้เป็นอาหาร รู้จักทอผ้าและทำเครื่องปั้นดินเผา และเลี้ยงสัตว์ การเพาะปลูกได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์จากสังคมล่าสัตว์มาเป็นสังคมเกษตรกรรม ที่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง มีการสร้างที่พักอาศัยถาวรเป็นกระท่อมดินเหนียวและตั้งหลักแหล่งตามบริเวณลุ่มน้ำ ยุคหินใหม่เป็นยุคเกษตรกรรม พืชเพาะปลูกที่สำคัญ คือ ข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ และพืชอื่นๆ รู้จักใช้เครื่องมือล่าสัตว์และทำภาชนะจากดินเหนียว สำหรับเก็บข้าวเปลือกและใส่อาหาร สัตว์เลี้ยง ได้แก่ สุนัข แพะ แกะ และยังคงล่าสัตว์ เช่น กวาง กระต่าย หมูป่า สภาพชีวิตมนุษย์ในยุคหินใหม่ เปลี่ยนแปลงชีวิตตามความเป็นอยู่จากที่สูงมาอยู่ที่ราบใกล้แหล่งน้ำ โดยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้านบนเนิน และดำรงชีวิตตามเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ เกษตรกรรม และพบว่ามีผลิตผลมากกว่าที่จะบริโภค ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการค้าขาย สมัยหินใหม่จัดเป็นการปฏิวัติครั้งแรกของมนุษย์ ที่ประสบความสำเร็จขั้นต้นในการปรับตัวให้เข้ากับข้อจำกัดของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องร่อนเร่ย้ายถิ่น และเป็นช่วงเวลา เริ่มต้นการรวมกลุ่มเป็นหลักแหล่ง ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ยุคหลังจากยุคหินใหม่คือ ยุคทองแดง (Chalcolithic) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุคสำริด (Bronze Age).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และยุคหินใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

รอยประสาน (กายวิภาคศาสตร์)

รอยประสาน (suture ซูเจอร์) เป็นข้อต่อชนิดหนึ่ง จัดเป็นชนิดย่อยของข้อต่อชนิดเนื้อเส้นใยคั่น (fibrous joint หรือ synarthrosis) ซึ่งพบอยู่ในกะโหลกศีรษะ (หรือกระดูกหุ้มสมอง) โดยที่กระดูกทั้งสองชิ้นจะยึดกันด้วยเส้นใยที่เรียกว่า Sharpey's fibres ข้อต่อชนิดนี้สามารถเคลื่อนไหวได้เล็กน้อย ทำให้กะโหลกศีรษะมีความยืดหยุ่นเล็กน้อย เมื่อแรกเกิด กระดูกกะโหลกศีรษะหลายชิ้นอาจยังไม่เชื่อมเป็นแผ่นกระดูกที่ชิดติดกัน บริเวณที่อยู่ระหว่างชิ้นกระดูกนั้นจะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อคลุมที่เรียกว่า กระหม่อม (fontanelle) บริเวณบนกะโหลกศีรษะสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดช่วงวัยผู้ใหญ่ (แม้จะไม่รวดเร็วนัก) ซึ่งมีประโยชน์ในการให้ข้อมูลทางนิติวิทยาศาสตร์และโบราณคดี.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และรอยประสาน (กายวิภาคศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

รอยประสานหว่างขม่อม

รอยประสานหว่างขม่อม (sagittal suture) เป็นข้อต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบเส้นใยระหว่างกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) 2 ชิ้นของกะโหลกศีรษะ เมื่อแรกคลอดกระดูกของกะโหลกศีรษะจะไม่มาบรรจบกันสนิท หากกระดูกชิ้นใดชิ้นหนึ่งของกะโหลกศีรษะเจริญเร็วกว่าปกติทำให้เกิดการปิดของซูเจอร์ก่อนกำหนด (premature closure of the suture) ซึ่งทำให้กะโหลกผิดรูป เช่น หากรอยประสานหว่างขม่อมปิดก่อนกำหนดจะทำให้กะโหลกศีรษะยาว แคบ รูปร่างคล้ายลิ่ม ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า กะโหลกเป็นสันหว่างขม่อม (scaphocephaly) จุดหลักทางกายวิภาคที่พบบนรอยประสานหว่างขม่อม ได้แก่ เบรกมา (bregma) และส่วนยอดกะโหลก (vertex of the skull) เบรกมาเกิดจากจุดเชื่อมของรอยประสานระหว่างขม่อมและรอยประสานคร่อมขม่อมหน้า (coronal suture) และส่วนยอดกะโหลกเป็นจุดบนสุดของกะโหลกศีรษะ ซึ่งมักจะอยู่ใกล้กับตรงกลางของรอยประสานหว่างขม่อม.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และรอยประสานหว่างขม่อม · ดูเพิ่มเติม »

รอยประสานหน้าผาก

รอยประสานหน้าผาก (frontal suture) คือโครงสร้างที่เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนาแน่นที่แบ่งระหว่างครึ่งซ้ายและขวาของกระดูกหน้าผาก (frontal bone) ของกะโหลกศีรษะในทารกและเด็ก เมื่ออายุประมาณ 6 ปีรอยประสานนี้มักจะหายไป และครึ่งซีกซ้ายและขวาของกระดูกหน้าผากจะรวมเป็นกระดูกชิ้นเดียวกัน แต่ในผู้ใหญ่บางคนอาจยังคงอยู่ เรียกว่า "metopic suture" หากซูเจอร์นี้ไม่มีในเด็กแรกเกิดอาจทำให้กะโหลกศีรษะผิดรูป มีรูปร่างแหลมเหมือนกระดูกงูเรือ เรียกว่า "trigonocephaly" รอยประสานนี้มีประโยชน์เมื่อทารกคลอด กะโหลกศีรษะจะสามารถงอและยืดหยุ่นได้เล็กเล็กน้อย ทำให้ศีรษะทารกโค้งเข้าเมื่อผ่านช่องคลอ.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และรอยประสานหน้าผาก · ดูเพิ่มเติม »

รอยประสานท้ายทอย

รอยประสานท้ายทอย (lambdoid suture) เป็นข้อต่อชนิดเนื้อเส้นใยคั่น ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเส้นใยหนาที่แบ่งระหว่างกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) และกระดูกขมับ (temporal bone) ออกจากกระดูกท้ายทอย (occipital bone) บนกะโหลกศีรษะ ชื่อของซูเจอร์นี้มาจากลักษณะของรอยประสานนี้มีรูปร่างเหมือนอักษรแลมบ์ดาของภาษากรีก.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และรอยประสานท้ายทอย · ดูเพิ่มเติม »

รอยประสานคร่อมขม่อมหน้า

รอยประสานคร่อมขม่อมหน้า (coronal suture) เป็นข้อต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบเส้นใยระหว่างกระดูกหน้าผาก (frontal bone) และกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) ของกะโหลกศีรษะ เมื่อแรกเกิดกระดูกของกะโหลกศีรษะจะไม่มาบรรจบกันสนิท.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และรอยประสานคร่อมขม่อมหน้า · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาท

ระบบประสาทของมนุษย์ ระบบประสาทของสัตว์ มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และสร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน (ดูเพิ่มเติมที่ ระบบประสาทกลาง) ระบบประสาทของสัตว์ที่มีสมองจะมีความคิดและอารมณ์ ระบบประสาทจึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหว (ยกเว้นสัตว์ชั้นต่ำที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เช่น ฟองน้ำ) สารเคมีที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทหรือเส้นประสาท (nerve) เรียกว่า สารที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) ซึ่งมักจะมีผลทำให้เป็นอัมพาต หรือตายได้.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และระบบประสาท · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ลิ้น

ลิ้น เป็นมัดของกล้ามเนื้อโครงร่างขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณฐานของช่องปากเพื่อรองรับอาหาร และช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เป็นอวัยวะที่สำคัญในการรับรส บริเวณพื้นผิวของลิ้นปกคลุมไปด้วยปุ่มรับรส (taste bud) ลิ้นสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง จึงช่วยในการออกเสียง ลิ้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำลายให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และเลี้ยงโดยเส้นประสาทและหลอดเลือดเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยในการทำงานและการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และลิ้น · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

ศีรษะ

ีรษะของมนุษย์ภาคตัดตามแนวขวาง (Sagittal plane) ในทางกายวิภาคศาสตร์ ศีรษะ (caput, มักสะกดผิดเป็น "ศรีษะ") หรือ หัวของสัตว์ ถือว่าเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากแกนกลางของร่างกาย ในมนุษย์มีส่วนประกอบที่ทำให้เป็นศีรษะเช่น กะโหลกศีรษะ ใบหน้า สมอง เส้นประสาทสมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ฟัน อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ และโครงสร้างอื่นๆ เช่นหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และไขมัน สัตว์ชั้นต่ำหลายชนิดมีศีรษะมากกว่า 1 ศีรษะ สัตว์หลายชนิดไม่ถือว่ามีส่วนศีรษะ แต่สัตว์ที่มีรูปแบบสมมาตร 2 ด้าน (bilaterally symmetric forms) จะต้องมีศีรษ.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สมองน้อย

ซีรีเบลลัม หรือ สมองน้อย (Cerebellum) เป็นบริเวณของสมองที่ทำหน้าที่สำคัญในการประมวลการรับรู้และการควบคุมการสั่งการ เนื่องจากซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประสานการควบคุมการสั่งการ จึงมีวิถีประสาทเชื่อมระหว่างซีรีเบลลัมและคอร์เท็กซ์สั่งการของซีรีบรัม (ซึ่งจะส่งข้อมูลไปยังกล้ามเนื้อเพื่อเคลื่อนไหว) และลำเส้นใยประสาทสไปโนซีรีเบลลาร์ (spinocerebellar tract) (ซึ่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลการรับรู้อากัปกิริยาจากไขสันหลังกลับมายังซีรีเบลลัม) ซีรีเบลลัมทำหน้าที่ประมวลวิถีประสาทต่างๆ โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของร่างกายและการเคลื่อนไหวละเอียดที่ส่งกลับเข้ามา รอยโรคที่เกิดในซีรีเบลลัมไม่ก่อให้เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือทำให้เกิดอัมพาต แต่จะเกิดความผิดปกติในการส่งข้อมูลกลับซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวละเอียด, การรักษาสมดุล, ท่าทางและตำแหน่งของร่างกาย, และการเรียนรู้การสั่งการ การสังเกตของนักสรีรวิทยาในช่วงศตวรรษที่ 18 บ่งชี้ว่าผู้ป่วยที่เกิดความเสียหายที่ซีรีเบลลัมจะมีปัญหาในการประสานการสั่งการ (motor coordination) และการเคลื่อนไหว การวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่ของซีรีเบลลัมในช่วงต้นถึงกลางศตวรรษที่ 19 จะศึกษาจากรอยโรคและการลองตัดซีรีเบลลัมในสมองของสัตว์ทดลอง นักวิจัยทางสรีรวิทยาได้บันทึกว่ารอยโรคดังกล่าวทำให้สัตว์มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ, ท่าเดินเงอะงะ, และกล้ามเนื้ออ่อนแรง จากการสังเกตในช่วงเวลานั้นทำให้เกิดข้อสรุปว่าซีรีเบลลัมเป็นโครงสร้างเกี่ยวกับการควบคุมการสั่งการ อย่างไรก็ตามในการวิจัยสมัยใหม่แสดงว่าซีรีเบลลัมมีหน้าที่ที่หลากหลายกว่าไม่ว่าจะเป็นหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการคิด (ประชาน; cognition), เช่น ความใส่ใจ, และกระบวนการทางภาษา, ดนตรี, และสิ่งกระตุ้นชั่วคราวอื่น.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และสมองน้อย · ดูเพิ่มเติม »

สควาโมซัล ซูเจอร์

วาโมซัล ซูเจอร์ (squamosal suture) เป็นซูเจอร์ที่โค้งอยู่ด้านหลังบริเวณทัดดอกไม้ (pterion) เชื่อมระหว่างสความา เทมพอราลิส (Squama temporalis) และขอบล่างของกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) ซูเจอร์นี้มีลักษณะสั้น วางตัวในแนวราบ และต่อเนื่องมาจากพาไรโทมาสตอยด์ ซูเจอร์ (parietomastoid suture) ซึ่งเป็นซูเจอร์ที่เชื่อมปุ่มกกหู (mastoid process) ของกระดูกขมับและบริเวณมุมกกหูของกระดูกข้างขม่อม (mastoid angle of the parietal).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และสควาโมซัล ซูเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือดดำ

ในระบบไหลเวียนโลหิต หลอดเลือดดำ (vein) เป็นหลอดเลือดที่นำพาเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ หน้าที่หลักของหลอดเลือดดำคือการขนส่งเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจากเนื้อเยื่อกลับเข้าสู่หัวใจ ยกเว้นหลอดเลือดดำจากปอด (pulmonary vein) และหลอดเลือดดำอัมบิลิคัล (umbilical vein) ที่ขนส่งเลือดที่มีออกซิเจนสูง.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และหลอดเลือดดำ · ดูเพิ่มเติม »

หู

หู เป็นอวัยวะของสัตว์ที่ใช้การดักคลื่นเสียง เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทการได้ยิน สัตว์แต่ละประเภทจะมีตำแหน่งหูที่แตกต่างกันออกไป.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และหู · ดูเพิ่มเติม »

หูชั้นในรูปหอยโข่ง

หูชั้นในรูปหอยโข่ง หรือ อวัยวะรูปหอยโข่ง หรือ คอเคลีย (cochlea,, จาก κοχλίας, kōhlias, แปลว่า หมุนเป็นวงก้นหอย หรือเปลือกหอยทาก) เป็นอวัยวะรับเสียงในหูชั้นใน เป็นช่องกลวงมีรูปร่างเป็นก้นหอยโข่งอยู่ในกระดูกห้องหูชั้นใน (bony labyrinth) โดยในมนุษย์จะหมุน 2.5 ครั้งรอบ ๆ แกนที่เรียกว่า modiolus และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 มม.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และหูชั้นในรูปหอยโข่ง · ดูเพิ่มเติม »

จมูก

มูก (Nose) เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากตรงกึ่งกลางของใบหน้า รูปร่างของจมูกมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ฐานของรูปสามเหลี่ยมวางปะ ติดกับหน้าผากระหว่างตาสองข้าง สันจมูกหรือดั้งจมูก มีรูปร่างและขนาดต่างๆกัน ยื่นตั้งแต่ฐานออกมาข้างนอกและลงข้างล่างมาสุดที่ปลายจมูก อีกด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมห้อยติดกับริมฝีปากบนรู จมูกเปิดออกสู่ภายนอกทางด้านนี้ รูจมูกทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอากาศที่หายใจเข้าไปยังช่องจมูกและกรองฝุ่นละอองด้วย จมูกเป็นอวัยวะรับสัมผัสที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย โดยทำหน้าที่รับกลิ่นของสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่นกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ยีงเป็นทางผ่านของอากาศที่เราหายใจอยู่ตลอดเวลา โดยทำหน้าที่กรองอากาศ ปรับอุณหภูมิ และความชื้นของ อากาศก่อนที่จะเข้าสู่ปอด คือ ถ้าอากาศเย็น จมูกจะปรับให้อุ่นขึ้น ถ้าอากาศแห้งมาก จมูกจะให้อากาศ ซุ่มชื้น นอกจากนี้จมูกยังช่วยในการปรับเฟัยงที่เราพูด ให้กังวานน่าฟังอีกด้ว.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และจมูก · ดูเพิ่มเติม »

ทัดดอกไม้

ทัดดอกไม้ (Pterion) เป็นบริเวณของกะโหลกศีรษะที่บอบบางที่สุด อยู่ขอบหลังของข้อต่อสฟีโนพาไรทัลซูเจอร์ (sphenoparietal suture) ในระยะทารกบริเวณนี้จะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อที่กระดูกยังไม่เจริญมาประสานกันเรียกว่า กระหม่อมสฟีนอยด์ หรือ กระหม่อมข้าง (sphenoidal fontanelle) และจะเกิดการสร้างกระดูกจนเป็นข้อต่อเมื่ออายุได้ 6-8 เดือนหลังคลอ.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และทัดดอกไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินอาหาร

PAGENAME ทางเดินอาหาร (gut, alimentary canal หรือ alimentary tract) ในทางสัตววิทยา เป็นท่อซึ่งสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง (bilateria) ส่งอาหารไปยังอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ทางเดินอาหารในสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดใหญ่มักมีทางออกด้วย คือ ทวารหนัก ซึ่งเป็นช่องทางที่สัตว์ถ่ายของเสียออกมาเป็นของแข็ง ส่วนสัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้างขนาดเล็กมักไม่มีทวารหนักและขับของเสียออกด้วยวิธีการอื่น เช่น ทางปาก สัตว์ที่มีทางเดินอาหารถูกจัดเข้าเป็นพวกโปรโตสโตม (protostome) หรือดิวเทอโรสโตม (deuterostome) เพราะทางเดินอาหารวิวัฒนาการสองครั้ง เป็นตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการเบนเข้า (convergent evolution) การจำแนกดังกล่าวดูจากพัฒนาการของเอ็มบริโอ สัตว์พวกโปรโตสโตมจะวิวัฒนาปากก่อน ขณะที่ดิวเทอโรสโตมจะวิวัฒนาปากเป็นลำดับที่สอง โปรโตสโตม ได้แก่ พวกสัตว์ขาปล้อง (arthropod) สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกา (mollusca) และแอนเนลิดา (annelida) ขณะที่พวกดิวเทอโรสโตม ได้แก่ สัตว์ในไฟลัมเอไคโนดอร์มาทา (echinodermata) และคอร์ดาตา (chordata).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และทางเดินอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อ

้อ หรือ ข้อต่อ (Joints) ในทางกายวิภาคศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมีการติดต่อกัน ทำให้กระดูกมีการทำงานร่วมกันเป็นระบบเพื่อการค้ำจุนปกป้องร่างกายและการเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆที่เหมาะสม ข้อต่อในร่างกายมนุษย์มีหลายแบบ และสามารถจัดจำแนกได้ตามลักษณะโครงสร้าง และคุณสมบัติในการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และข้อต่อ · ดูเพิ่มเติม »

ความพิการ

ัญลักษณ์สากลของคนพิการ คนพิการ หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญาและการเรียนรู้หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประกาศกำหน.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และความพิการ · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และความตาย · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และตา · ดูเพิ่มเติม »

ประชากร

ประชากร หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งมีชีวิตสปีชีส์หนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน วิชาพลศาสตร์ประชากร ศึกษาโครงสร้างประชากรทั้งในแง่ของขนาด อายุ และเพศ รวมถึงภาวะการตาย พฤติกรรมการสืบพันธุ์ และการเพิ่มของประชากร ประชากรศาสตร์ ศึกษาพลศาสตร์ประชากรของมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาประชากรในด้านสังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ประชากรนั้นต้องถือสัญชาติในรัฐที่ตนอยู่ แตกต่างจากบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐ เช่น คนที่มาเปลี่ยนเที่ยวบินที่ประเทศไทย และ ต้องมีสิทธิพิเศษเหนือประชากรที่มาจากรัฐอื่น หากอยู่ในดินแดนของรัฐนั้น ตามสายโลหิต หรือตามสิทธิที่จะได้รับตามรัฐธรรมนูญ ความหนาแน่นประชากร คือ จำนวนคนหรือสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยพื้นที่ พื้นที่ใดมีความหนาแน่นประชากรสูง แสดงว่ามีจำนวนประชากรมาก หมวดหมู่:สังคม * หมวดหมู่:ประชากร id:Penduduk#Penduduk dunia.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และประชากร · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มกกหู

ปุ่มกกหู (mastoid process) เป็นส่วนยื่นรูปกรวยซึ่งยื่นออกมาจากพื้นผิวด้านล่างของส่วนกกหูของกระดูกขมับ (mastoid portion of the temporal bone) ตั้งอยู่ทางด้านหลังของปากรูหู (external acoustic meatus) และทางด้านข้างของสไตลอยด์ โพรเซสของกระดูกขมับ (styloid process) ขนาดและรูปร่างของปุ่มกกหูมีความแปรผัน ซึ่งในผู้ชายมักจะมีขนาดใหญ่กว่าผู้หญิง ปุ่มนี้เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อไดแกสทริก (Digastric muscle) กล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ (Sternocleidomastoid) กล้ามเนื้อสปลีเนียส แคปิติส (Splenius capitis) และกล้ามเนื้อลองจิสสิมุส แคปิติส (Longissimus capitis).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และปุ่มกกหู · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มกระดูกท้ายทอย

ปุ่มกระดูกท้ายทอย (occipital condyles) เป็นปุ่มกระดูกที่อยู่ด้านล่างของส่วนข้างของกระดูกท้ายทอย (occipital bone) ซึ่งเป็นส่วนของกระดูกที่อยู่ด้านข้างของฟอราเมน แมกนัม (foramen magnum) ปุ่มกระดูกนี้เกิดข้อต่อกับหน้าประกบบนของกระดูกคอชิ้นที่หนึ่ง (atlas) ปุ่มกระดูกนี้มีรูปร่างเป็นวงรี ส่วนหน้าของปุ่มซึ่งชี้ไปด้านหน้าและด้านใกล้กลางอยู่ใกล้กับส่วนหน้าของปุ่มอีกข้างมากกว่าส่วนหลังของปุ่ม และชี้เข้าไปในส่วนฐาน (basilar portion) ของกระดูกท้ายทอย ส่วนหลังของปุ่มนี้ยื่นไปทางด้านหลังไปยังตรงกลางของฟอราเมน แมกนัม พื้นผิวข้อต่อของปุ่มกระดูกนี้มีลักาณะนูนในแนวหน้าหลัง และในแนวข้าง และชี้ลงด้านล่างและด้านข้าง ขอบของปุ่มกระดูกนี้เป็นจุดเกาะของแคปซูลข้อต่อระหว่างกระดูกท้ายทอยและกระดูกคอชิ้นที่หนึ่ง และด้านใกล้กลางของปุ่มกระดูกแต่ละอันเป็นรอยประทับขรุขระซึ่งเป็นจุดเกาะของเอ็นเอลาร์ (alar ligament) ที่ฐานของปุ่มกระดูกเป็นช่องเล็ก ๆ ซึ่งเป็นทางผ่านของเส้นประสาทกล้ามเนื้อลิ้น (hypoglossal nerve).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และปุ่มกระดูกท้ายทอย · ดูเพิ่มเติม »

นิติวิทยาศาสตร์

นิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Science) เป็นการนำเอาวิชาความรู้ในทางด้านวิทยาศาสตร์ ในการเก็บและพิสูจน์หลักฐาน ตรวจร่างกายและวัตถุพยานเพื่อช่วยในการค้นหาความจริง มักเป็นการใช้วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หรือวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ กายภาพ เคมี คอมพิวเตอร์ และกีฏวิทยา เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการสืบสวน และดำเนินคดีทางกฎหมายเพื่อช่วยกระบวนการยุติธรรมในการพิสูจน์หลักฐานและชี้นำไปสู่ผู้กระทำความผิดอาญา ปัจจุบันมีการนำนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นในต่างประเทศ เพื่อลดการโต้แย้งความหวาดระแวงระหว่างผู้ควบคุมกฎหมายกับผู้ถูกกล่าวหา เนื่องเพราะวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องหลักการและเหตุผลที่เป็นจริงสามารถพิสูจน์ได้ โดยนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมีความเกี่ยวเนื่องกับนิติเวชศาสตร์หรือการชันสูตรศพ สามารถแบ่งออกเป็นสาขาต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และนิติวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นิติเวชศาสตร์

นิติเวชศาสตร์ (Forensic Medicine) มาจากคำว่า "Forensic" ซึ่งเป็นภาษาละติน หมายความถึงข้อตกลงที่มีการพิพาทกันทางกฎหมาย และคำว่า "Medicine" หมายถึงวิชาทางด้านการแพทย์ ซึ่งหมายความรวมถึงแพทย์ศาสตร์หรือเวชศาสตร์อีกด้วย นิติเวชศาสตร์เริ่มมีการเรียนการสอนครั้งแรกในประเทศไทย ปี..

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และนิติเวชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แสกหน้า

แสกหน้า (glabella) เป็นชื่อเรียกบริเวณระหว่างคิ้วและเหนือจมูก ส่วนนี้จะเป็นสันนูนเล็กน้อยเชื่อมระหว่างสันคิ้ว (superciliary ridges) รากศัพท์ภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน "glabellus" แปลว่า เรียบ เพราะบริเวณนี้ไม่มีขนคิ้ว สำหรับภาษาไทย แสกหน้า เป็นคำประสมระหว่าง แสก ซึ่งแปลว่า แนวที่อยู่ระหว่างกลางราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และแสกหน้า · ดูเพิ่มเติม »

แอสเทอเรียน

แอสเทอเรียน (asterion) ในทางกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ หมายถึงจุดบนกะโหลกศีรษะมนุษย์ที่อยู่ด้านหลังหู เป็นจุดบรรจบกันของซูเจอร์หรือรอยประสานบนกะโหลกศีรษะ อัน ได้แก่ รอยประสานท้ายทอย (lambdoid suture), รอยประสานสความัส (squamosal suture), ออกซิปิโตมาสตอยด์ ซูเจอร์ (occipitomastoid suture) ในผู้ใหญ่ แอสเทอเรียนจะอยู่ด้านหลัง 4 เซนติเมตร และด้านบน 12 เซนติเมตรต่อรูหู ในการผ่าตัด ในระยะทารกบริเวณนี้จะเป็นแผ่นเนื้อเยื่อที่กระดูกยังไม่เจริญมาประสานกันเรียกว่า กระหม่อมกกหู หรือ กระหม่อมมาสตอยด์ (mastoid fontanelle) และจะเกิดการสร้างกระดูกจนเป็นข้อต่อเมื่ออายุได้ 6-8 เดือนหลังคลอ.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และแอสเทอเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ใบหน้า

ใบหน้า เป็นส่วนสำคัญของศีรษะในสัตว์ ในกรณีใบหน้ามนุษย์ ประกอบด้วย ผม หน้าผาก คิ้ว ขนตา จมูก หู แก้ม ปาก ริมฝีปาก ร่องริมฝีปาก ขมับ ฟัน ผิวหนัง และคาง.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และใบหน้า · ดูเพิ่มเติม »

โบราณคดี

การขุดค้นซากโบราณ โบราณคดี (Archaeology) คือ วิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการสำรวจ การขุดค้น (โบราณวัตถุ) การขุดแต่ง (โบราณสถาน) และการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ (ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร) โดยทั่วไป จะต้องใช้ศาสตร์ด้านอื่นๆ ประกอบในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากกระบวนการข้างต้น เพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์เหล่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เรณูวิทยา การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ที่ประเทศไทย มีการเปิดสอนคณะโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นเพียงที่เดียวในประเทศไท.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และโบราณคดี · ดูเพิ่มเติม »

โพรงกะโหลก

รงกะโหลก (cranial cavity or intracranial space) เป็นช่องว่างที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ เป็นที่อยู่ของสมอง โพรงกะโหลกดาดด้วยเยื่อหุ้มสมอง และมีของเหลวที่ช่วยลดการกระแทก โพรงกะโหลกเกิดจากกระดูกหุ้มสมอง 8 ชิ้น ได้แก่ กระดูกหน้าผาก (frontal), กระดูกท้ายทอย (occipital), กระดูกสฟีนอยด์ (sphenoid), กระดูกเอทมอยด์ (ethmoid), กระดูกข้างขม่อม (parietal) 2 ชิ้นและกระดูกขมับ (temporal) 2 ชิ้น (temporal) Martini R, Ober W, Garrison C, Welch K, and Hutchings RT.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และโพรงกะโหลก · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อหุ้มสมอง

ื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) เป็นระบบของเยื่อหุ้มที่ปกคลุมระบบประสาทกลาง เยื่อหุ้มสมองประกอบด้วยชั้น 3 ชั้นได้แก่ เยื่อดูรา หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (dura mater), เยื่ออะแร็กนอยด์ หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (arachnoid mater), และเยื่อเพีย หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นใน (pia mater) หน้าที่หลักของเยื่อหุ้มสมองและน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) คือเพื่อปกป้องระบบประสาทกลาง.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และเยื่อหุ้มสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เยื่ออะแร็กนอยด์

ื่อหุ้มสมองชั้นกลาง หรือ เยื่ออะแร็กนอยด์ (Arachnoid mater) เป็นหนึ่งในชั้นของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง อยู่ระหว่างชั้นเยื่อดูรา (dura mater) ที่อยู่ด้านบนและเยื่อเพีย (pia mater) ที่อยู่ด้านล่างลึกลงไป โดยมีช่องว่างระหว่างเยื่อเพียและเยื่ออะแร็กนอยด์เรียกว่า ช่องว่างใต้เยื่ออะแร็กนอยด์ (subarachnoid space) เยื่ออะแร็กนอยด์มีลักษณะบาง คล้ายกับใยแมงมุม ยึดติดกับด้านในของเยื่อดูรา หุ้มรอบสมองและไขสันหลังแต่ไม่ได้แนบไปกับร่องหรือรอยพับของสมอง ข้างใต้เยื่อนี้ลงไปจะมีน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) อยู่ภายในช่องว่างใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (subarachnoid space) ซึ่งเต็มไปด้วยเส้นใยละเอียดของเยื่ออะแร็กนอยด์ยื่นลงไปยึดกับเยื่อเพีย ส่วนของเยื่ออะแร็กนอยด์ที่คลุมรอบสมองและไขสันหลังเรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า arachnoidea encephali และ arachnoidea spinalis ตามลำดับ ในบางครั้งเราอาจเรียกเยื่ออะแร็กนอยด์และเยื่อเพียรวมเป็นโครงสร้างเดียวกัน เรียกว่า "เลปโตเมนิงซ์" (leptomeninges; มาจากรากศัพท์ภาษากรีก Lepto- แปลว่า บาง) และเรียกชั้นเยื่อดูราว่า "แพคีเมนิงซ์" (pachymeninx).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และเยื่ออะแร็กนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อดูรา

ื่อหุ้มสมองชั้นนอก หรือ เยื่อดูรา (Dura mater; มาจากภาษาละติน แปลว่า "hard mother") เป็นเยื่อหุ้มสมองชั้นนอกสุดที่แข็ง หยาบ และไม่ยืดหยุ่นที่หุ้มสมองและไขสันหลัง โดยมีเยื่อหุ้มสมองชั้นอื่นๆ คือเยื่อเพีย (pia mater) และเยื่ออะแร็กนอยด์ (arachnoid mater) อยู่ด้านใต้ลึงลงไป เยื่อดูราจะไม่แนบสนิทกับไขสันหลัง โดยยื่นเลยผ่านไขสันหลังที่ระดับกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอวชิ้นที่ 2 ถึงประมาณกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บชิ้นที่ 2 Shepherd S. 2004.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และเยื่อดูรา · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อเพีย

ื่อหุ้มสมองชั้นใน หรือ เยื่อเพีย (pia mater; มาจากภาษาละตินซึ่งแปลมาจากภาษาอาหรับอีกที แปลว่า "มารดาที่อ่อนโยน") เป็นชั้นเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังที่อยู่ในสุด เยื่อเพียมีลักษณะบาง คล้ายกับตาข่าย หุ้มอยู่บนผิวทั้งหมดของสมอง และคลุมแนบไปบนร่องของคอร์เท็กซ์ของสมอง และมีส่วนเชื่อมกับอีเพนไดมา (ependyma) ซึ่งบุรอบโพรงสมองเพื่อสร้างเป็นคอรอยด์ เพล็กซัส (choroid plexus) ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) ในไขสันหลัง เยื่อเพียจะติดกับเยื่อดูรา (dura mater) โดยโครงสร้างที่เรียกว่า เดนติคูลาร์ ลิกาเมนท์ (denticular ligaments) ผ่านเยื่ออะแร็กนอยด์ (arachnoid membrane) เยื่อเพียเจริญมาจากเซลล์นิวรัล เครสท์ (neural crest).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และเยื่อเพีย · ดูเพิ่มเติม »

เส้นขมับ

้นขมับ (temporal lines) เป็นเส้นโค้ง 2 เส้นที่ทอดผ่านข้ามตรงกลางของกระดูกข้างขม่อม (parietal bone) แบ่งออกเป็นเส้นบน (superior temporal line) และเส้นล่าง (inferior temporal lines) เส้นขมับเส้นบนเป็นจุดเกาะของพังผืดขมับ (temporal fascia) ส่วนเส้นล่างเป็นขอบเขตบนสุดของจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อเทมพอราลิส (Temporalis).

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และเส้นขมับ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นประสาท

'''เส้นประสาท'''ของรยางค์บน แทนด้วยสีเหลือง เส้นประสาท หรือ ประสาท เป็นโครงสร้างในร่างกายที่มีลักษณะเป็นมัดของเส้นใยของเนื้อเยื่อประสาทที่เชื่อมระหว่างอวัยวะในระบบประสาทกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ทำหน้าที่ในการนำกระแสประสาท เส้นประสาทประกอบด้วยกลุ่มของแอกซอนจำนวนมาก ซึ่งเป็นโครงสร้างยาวที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท อย่างไรก็ตามเส้นประสาทไม่ได้ประกอบขึ้นจากตัวเซลล์ประสาท แต่ประกอบขึ้นจากแอกซอนที่ยื่นออกมาจากเซลล์ประสาท และในเส้นประสาทก็มีเซลล์เกลียซึ่งทำหน้าที่สร้างเยื่อไมอีลินห่อหุ้มอะเมซอน.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และเส้นประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อบุผิว

นื้อเยื่อบุผิว (Epithelium) เป็นเนื้อเยื่อพื้นฐานหนึ่งในสี่ชนิดของสัตว์ ร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อประสาท เนื้อเยื่อบุผิวบุโพรงและพื้นผิวของโครงสร้างทั่วร่างกาย และยังเกิดเป็นต่อมจำนวนมาก หน้าที่ของเซลล์บุผิวรวมไปถึงการหลั่ง การเลือกดูดซึม การป้องกัน การขนส่งระหว่างเซลล์และการตรวจจับการรู้สึก ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวนั้นไร้หลอดเลือด ฉะนั้น เนื้อเยื่อบุผิวจึงได้รับอาหารผ่านการแพร่ของสสารจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่ข้างใต้ ผ่านเยื่อฐาน เนื้อเยื่อบุผิวสามารถจัดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อได้.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และเนื้อเยื่อบุผิว · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

นื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) เป็นหนึ่งในสี่เนื้อเยื่อสัตว์พื้นฐาน (อันได้แก่ เนื้อเยื่อบุผิว, เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน, เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ, และ เนื้อเยื่อประสาท) เนื้อเยื่อนี้มีลักษณะสำคัญร่วมกันคือ.

ใหม่!!: กะโหลกศีรษะมนุษย์และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Human skullกะโหลกศีรษะ (มนุษย์)กะโหลกศีรษะของมนุษย์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »