โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กบฏสามเจ้าศักดินา

ดัชนี กบฏสามเจ้าศักดินา

กบฏสามเจ้าศักดินา (三藩之乱) เกิดขึ้นในสมัยฮ่องเต้คังซี เจ้าพิชิตภาคตะวันตกอู๋ซานกุ้ย (平西王) เจ้าพิชิตภาคใต้ซ่างจือซิ่น (平南王) และ เจ้าสถาปนาสันติสุขแห่งภาคใต้เกิ่งจิงจง (靖南王) ก่อการจลาจลในภาคใต้และปลุกระดมต่อต้านราชวงศ์ชิงปี 1673-1681 กบฏสามเจ้าศักดินาจึงสิ้นสุดลง สามเจ้าศักดินาคือขุนนางหมิงที่ยอมแพ้ต่อราชวงศ์ชิงและช่วยราชสำนักปราบปรามกบฏทางใต้ เป็นผู้ที่มีความดีความชอบถูกตั้งบรรดาศักดิ์รักษามลฑลทางใต้ดังนี้.

19 ความสัมพันธ์: กวางตุ้งกุ้ยหลินมณฑลกานซู่มณฑลกุ้ยโจวมณฑลยูนนานมณฑลส่านซีมณฑลเสฉวนมณฑลเจียงซีมณฑลเจ้อเจียงราชวงศ์ชิงหนานจิงอู๋ ซานกุ้ยฮกเกี้ยนฮั่นจงจักรพรรดิคังซีคุนหมิงฉงชิ่งเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงเฉิงตู

กวางตุ้ง

กวางตุ้ง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและกวางตุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

กุ้ยหลิน

กุ้ยหลิน (จ้วง: Gveilinz "ป่าหอมหมื่นลี้") เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงว่ามีทัศนียภาพที่สวยงามมายาวนาน ทั้งยังเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่งของจีน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจ้วง กุ้ยหลินถือเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงเป็นสถานที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน คนจีนยกให้เป็นดัง “เมืองสวรรค์บนพิภพ” หรือ “ซื่อไหว้เถาหยวน” มีคำกล่าวว่าจิตรกรใดที่ยังไม่เคยมาเมืองกุ้ยหลิน จะไม่สามารถวาดรูปขุนเขาให้สวยงามได้เล.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและกุ้ยหลิน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกานซู่

มณฑลกานซู่ หรือ มณฑลกังซก (จีนตัวย่อ: 甘肃省, จีนตัวเต็ม: 甘粛省) ชื่อย่อ กาน หรือ หล่ง (甘, 陇) ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ตอนบนของแม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง) มีเมืองหลวงชื่อ หลานโจว.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและมณฑลกานซู่ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลกุ้ยโจว

มณฑลกุ้ยโจว หรือเดิมไทยเรียกว่า กุยจิว (จีนตัวย่อ: 贵州省 จีนตัวเต็ม: 貴州省 Guizhou) ชื่อย่อ เฉียน (黔) หรือ กุ้ย (贵) ตั้งอยู่บนที่ราบสูงหยุนกุ้ยส่วนตะวันออก ระหว่างเส้นลองจิจูด 103.36 - 109.31 องศาตะวันออก และ ละติจูด 24.37 - 29.13 องศาเหนือ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน มีเมืองหลวงชื่อ กุ้ยหยาง มีเนื้อที่ 176,100 ก.ม. มีประชากร 39,040,000 คน ความหนาแน่น 222 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 159.2 พันล้านเหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและมณฑลกุ้ยโจว · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลยูนนาน

มณฑลยูนนาน หรือ หยุนหนาน มีชื่อย่อว่า หยุน(云)หรือ เตียน(滇)มีชื่อในภาษาไทยถิ่นเหนือว่า วิเทหราช ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีเมืองหลวงชื่อ คุนหมิง มีเนื้อที่ 394,100 ก.ม. มีประชากร ประมาณ 45,966,000 คน (2010) จีดีพี 10309.47 พันล้านหยวน (2012) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น นอกจากนั้นยังมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆอีก 25 กลุ่มชาติพัน.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและมณฑลยูนนาน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลส่านซี

นซี ตามสำเนียงกลาง หรือ เจียบไซ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ชื่อย่อ: "ส่าน" (陕) หรือ "ฉิน" (秦)) เป็นมณฑลในสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ในเขตใจกลางประเทศแถบลุ่มแม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) มีเมืองหลวงชื่อ ซีอาน มีเนื้อที่ 205,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 37,050,000 คน จีดีพี 288.4 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 7,780 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น มณฑลส่านซีโดยมากมีลักษณะภูมิประเทศคล้ายแอ่งอยู่ระหว่างภูเขาหลายแห่ง.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและมณฑลส่านซี · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเสฉวน

มณฑลเสฉวน หรือ ซื่อชวน หรือชื่อย่อว่า ชวน(川)หรือ สู่(蜀)เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศจีน มีเมืองเอกชื่อเฉิงตู มณฑลเสฉวนอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีนตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง มีพื้นที่ 485,000 ตาราง ก.ม. มีประชากรประมาณ 87,250,000 คน นับเป็นมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากร ความหนาแน่น 180/ก.ม. จีดีพี 655.6 พันล้านเหรินหมินปี้ ต่อประชากร 7,510 ชื่อ "เสฉวน" มีความหมายว่า "แม่น้ำสี่สาย" เพราะมณฑลเสฉวนตั้งอยู่บนพื้นที่ของแม่น้ำ 3 สายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำแยงซีเกียง, แม่น้ำหลินเจียง, แม่น้ำจินซางเจียง สภาพอากาศเป็นแบบกึ่งร้อนชื้น สภาพโดยทั่วไปจะมีความชื้นในอากาศสูง สภาพอากาศจึงค่อนข้างครึ้มไม่ค่อยมีแสงแดด โดยในรอบสัปดาห์จะมีแสงแดดหรือเห็นพระอาทิตย์เพียงไม่กี่วัน แต่จะมีหมอกปกคลุมเป็นปกติ จนได้รับฉายาว่า "เมืองในหมอก" หรือ "หมาเห่าพระอาทิตย์" และได้รับการกล่าวขานว่า เพราะสภาพอากาศเป็นเช่นนี้ ผู้หญิงในมณฑลเสฉวนมีผิวสวยที่สุดในประเทศจีน ในทางประวัติศาสตร์เคยเป็นราชธานีก๊กสู่ฮั่นของเล่าปี่และขงเบ้งในสมัยสามก๊ก ปลายราชวงศ์ฮั่น ขงเบ้งได้เลือกเอาเสฉวนเป็นราชธานีของก๊กสู่ เพื่อหมายฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและมณฑลเสฉวน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจียงซี

มณฑลเจียงซี หรือเดิมไทยเรียกว่า เกียงซี ชื่อย่อ กั้น(赣)ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก เฉียงใต้ของประเทศจีน บนชายฝั่งตอนใต้ของลุ่มน้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) ตอนล่าง โดยด้านตะวันออกติดกับมณฑลเจ้อเจียง และฝูเจี้ยน ด้านใต้ติดกับกว่างตง ด้านตะวันตกติดกับหูหนัน ด้านเหนือติดกับหูเป่ย และอันฮุย มีเมืองหลวงชื่อ หนันชาง มีเนื้อที่ 166,900 ก.ม.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและมณฑลเจียงซี · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเจ้อเจียง

มณฑลเจ้อเจียง (จีน: 浙江省 เจ้อเจียงเฉิง Zhejiang) ชื่อย่อ ‘เจ้อ’ (浙)ในหลักฐานไทยแต่เดิมเรียก มณฑลเจ๊เกี๋ยง มีเมืองหลวงชื่อเมืองหางโจว.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและมณฑลเจ้อเจียง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

หนานจิง

หนานจิง หรือรู้จักกันอีกชื่อว่า นานกิง เป็นเมืองหลวงของมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่าของจีน ปัจจุบันหนานจิงเป็นเมืองใหญ่อันดับสองในภาคตะวันออกของจีน รองจากช่างไห่ และหนานจิงเป็นเมืองหลวงของจีนคณะชาติสมัยปฏิวัติล้มล้างจักรพรรดิจีน ราชวงศ์ชิงหรือแมนจู หนานจิง ที่แปลว่านครหลวงใต้ เคยเป็นเมืองหลวงของหลายราชวงศ์ จนได้รับสมญานามว่า เมืองหลวงสิบแผ่นดิน และยังเป็น 1 ใน 6 นครโบราณ อันได้แก่ ปักกิ่ง หนานจิง ซีอาน ลั่วหยาง หางโจว และ ไคเฟิง เป็นเมืองหลวงครั้งสุดท้ายระหว่างปี พ.ศ. 2470 ถึง พ.ศ. 2492 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีน ซึ่งมีผู้นำขณะนั้น คือ นายพลเจียงไคเช็ค หลังสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี พ.ศ. 2492 รัฐบาลใหม่จึงได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังปักกิ่งดังเดิม บรรพบุรุษชาวหนานจิง จำนวนมากอพยพมาจากปักกิ่งตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง จึงมีส่วนทำให้ภาษาหนานจิงมีสำเนียงคล้ายภาษาจีนกลางที่ฟังเข้าใจได้ทั่วไป จนทำให้ปัจจุบันหนานจิงเป็นหนึ่งในเมืองที่มีนักศึกษาต่างชาติมากที่สุดในประเทศจีน แต่เนิ่นๆการพัฒนา ตั้งแต่ 3 ราชอาณาจักรระยะเวลาหนานจิงได้กลายเป็นศูนย์แห่งอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมของหนานจิงราชวงศ์ถูกขยายเพิ่มเติมและเมืองกลายเป็นหนึ่งในเมืองที่เจริญมากที่สุดในจีน.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและหนานจิง · ดูเพิ่มเติม »

อู๋ ซานกุ้ย

วาดอู๋ซานกุ้ย อู๋ซานกุ้ย (อังกฤษ: Wu Sangui, จีนตัวเต็ม: 吳三桂, พินอิน: Wú Sānguì) แม่ทัพในปลายราชวงศ์หมิง ผู้เปิดประตูเมืองให้แมนจูบุกเข้าปักกิ่งในสมัยหลี่ จื้อเฉิง เป็นเหตุให้ชาวแมนจูได้รับชัยชนะและตั้งราชวงศ์ชิง.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและอู๋ ซานกุ้ย · ดูเพิ่มเติม »

ฮกเกี้ยน

กเกี้ยน สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและฮกเกี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

ฮั่นจง

ั่นจง (Hanzhong) หรือในสามก๊กเรียก ฮันต๋ง เทศมณฑลที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของ มณฑลส่านซี ในประเทศจีน เมืองฮั่นจงหรือฮันต๋งก่อตั้งขึ้นเมื่อ 800 ปีก่อนคริสตกาลและเริ่มมีบทบาทในช่วงปลาย ราชวงศ์ฉิน ราว 206 ปีก่อนคริสตกาลหรือประมาณ..

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและฮั่นจง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคังซี

ักรพรรดิคังซี (Enkh Amgalan Khaan) หรือพระนามเต็ม อ้ายซินเจฺว๋หลัวเสฺวียนเย่ (愛新覺羅玄燁 Àixīn-Juéluó Xuányè) จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ชิง เป็นพระโอรสของจักรพรรดิซุ่นจื้อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 8 พรรษา ในปี พ.ศ. 2204 (ค.ศ. 1661) ภายหลังการสวรรคตของพระราชบิดา จักรพรรดิคังซีมีพระปรีชาสามารถตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงฉายแววความเป็นผู้นำมาตั้งแต่เด็ก โดยโปรดการเรียนรู้ศิลปะ วิทยาการต่าง ๆ ทั้งของในประเทศ และนอกประเทศ โดยพระองค์อยู่ภายใต้การอุปการะดูแลของไท่หวงไทเฮา ผู้เป็นพระอัยยิกาของพระองค์ ในรัชสมัยซุ่นจื่อปีที่ 18 เกิดโรคฝีดาษระบาดที่กรุงปักกิ่ง ได้ระบาดมาในนครต้องห้าม ช่วงนั้นองค์ซุนจื่อ ติดโรคร้ายนี้สวรรคต ก่อนสวรรคตได้ตั้งพระราชโอรสองค์ที่3 เสฺวียนเย เป็นองค์รัชทายาทและได้ตั้งองคมนตรี สี่คนซึ่งเป็นขุนนางที่ไว้ใจที่สุด สี่องคมนตรีได้แก่ เอ๋าไป้ สั่วหนี ซัวเค่อซ่าฮ่า เอ่อปี๋หลง เมื่อพระองค์ทรงออกว่าราชการเองเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา สั่วหนี ประธานองคมนตรีได้ถึงแก่กรรม เอ๋าไป้ (鳌拜) ซึ่งเป็นขุนนางที่รับราชการมาแต่ครั้งจักรพรรดิไท่จง จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ชิง เอ๋าไป้ เป็นขุนนางที่สำคัญตนว่าเป็นผู้นำองคมนตรีในตอนนั้นมีผู้ให้การยอมรับนับถือจำนานมาก จึงได้กระทำการอย่างไม่เหมาะสมทั้งต่อหน้าและลับหลังพระองค์หลายครั้ง จนในที่สุดก็ก่อการกบฏขึ้น แต่แผนการทั้งหมดได้ถูกทำลายลงโดย อู๋หลิวยิ สั่วเอ๋อถู และกลุ่มขุนนางภักดี รัชสมัยของจักรพรรดิคังซีนับเป็นระยะเวลาวิกฤตของราชวงศ์ชิง เพราะมีการต่อสู้ระหว่างชาวฮั่นที่ต้องการกู้ราชวงศ์หมิง รวมถึงชนเผ่าอื่น ๆ ที่ต้องการก่อกบฏ จักรพรรดิคังซีทำสงครามภายในประเทศยาวนานถึง 8 ปี จึงพิชิตแคว้นต่าง ๆ ได้ราบคาบ ก่อนที่พระองค์จะมีพระชนมายุ 30 พรรษา ทั้งขยายอาณาเขตถึงมองโกเลียและทิเบต หนึ่งในนโยบายสร้างความมั่นคงก็คือ สร้างสัมพันธ์กับชาวแมนจูที่อาศัยทางเหนือแต่เดิมให้แข็งแกร่ง ส่งอาวุธและกำลังพลไปรักษาชายแดนแถบนี้บ่อยครั้งเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าอื่น อีกทั้งยังทรงออกทัพเอง และได้ทำสงครามกับรัสเซียในยุคสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราช และได้รับชัยชนะด้วย ซึ่งสงครามได้จบลงที่การสร้างสัมพันธไมตรีต่อกัน รวมถึงการยกทัพบุกพม่า ทำให้จีนในยุคนี้เข้มแข็งและยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ริ้วขบวนบางส่วนของจักรพรรดิคังซีเสด็จนิวัติกรุงปักกิ่ง หลังจากเสด็จประพาสแดนใต้ ขณะเดียวกันเสด็จประพาสดินแดนทางใต้ถึง 6 ครั้ง เพื่อทอดพระเนตรความเจริญ รุ่งเรืองด้านศิลปะและวิชาการของแดนใต้ และสำรวจปัญหาน้ำท่วมไร่นาของชาวนา ซึ่งต่อมาทรงส่งเสริม การสร้างเขื่อนและให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรกับชาวนา จักรพรรดิคังซีฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร จักรพรรดิคังซีนับเป็นอัจฉริยบุคคล ทรงศึกษาความผิดพลาดของพวกมองโกล ช่วงที่ปกครองชาวฮั่น จึงเปลี่ยนจากวิธีการใช้ไม้แข็งเป็นไม้อ่อน เกลี้ยกล่อมให้เหล่าปราชญ์ราชบัณฑิตที่หนีภัยยุคต้นราชวงศ์สิ้นอำนาจกลับมารับราชการใหม่ ทรงสถาปนากรมจิตรกรรมที่รู้จักในนาม สถาบันจิตรกรรมหัวหยวน คล้ายที่เคยมีในสมัยราชวงศ์ซ่ง นอกจากนี้ทรงดูแลเหล่าปราชญ์และศิลปินอย่างเกษมสำราญ มอบหมายงานให้ทำอย่างเต็มที่ ไม่ว่าด้านสถาปัตยกรรมหรือประวัติศาสตร์ โดยชิ้นที่สำคัญที่สุด คือการจัดทำ พจนานุกรมรวบรวมภาษาจีน ที่เรียกกันว่า พจนานุกรมคังซี ชีวิตส่วนพระองค์ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจักรพรรดินักรักพระองค์หนึ่ง มีพระสนมราว 35 คน พระโอรสและพระธิดาราว 55 องค์ จนปลายรัชสมัยเกิดการชิงบัลลังก์เป็นที่วุ่นวาย ผลสุดท้ายองค์ชาย 4 ได้ขึ้นครองบัลลังก์เป็นจักรพรรดิหย่งเจิ้งในเวลาต่อมา รัชสมัยของจักพรรดิคังซีตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและราชวงศ์บ้านพลูหลวงของอาณาจักรอยุธยา จักรพรรดิคังซีสวรรคตในปี พ.ศ. 2265 (ค.ศ. 1722) รวมระยะเวลาครองราชย์ยาวนานถึง 61 ปี นับเป็นจักรพรรดิที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดพระองค์หนึ่งในประวัติศาตร์จีน ในยุคสมัยของพระองค์มีเรื่องการเกิดขึ้นต่าง ๆ มากมายเช่น ในนวนิยายต่างๆ ระบุว่าพระองค์นั้นสวรรคตจากการปลงพระชนม์ขององค์ชายสี่ หรือหย่งเจิ้น แต่ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าพระองค์สวรรคตจากชราภาพเอง เป็นที่เลื่องลือจนถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมต่าง ๆ มากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็น นิยาย ละครโทรทัศน์ หรือ ภาพยนตร์ ที่มีการจัดสร้างหลายต่อหลายครั้งแม้ในปัจจุบัน เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือ นิยายกำลังภายในอิงประวัติศาสตร์ของ กิมย้ง เรื่อง อุ้ยเสี่ยวป้อ.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและจักรพรรดิคังซี · ดูเพิ่มเติม »

คุนหมิง

ทะเลสาบเตียนฉือ อาคารไม้เก่าแก่ กับตึกระฟ้าสมัยใหม่ที่อยู่เบื้องหลัง คลองในย่านใจกลางเมือง คุนหมิง เป็นเมืองเอกในมณฑลยูนนานในสาธารณรัฐประชาชนจีน มีจำนวนประชากรประมาณ 3,740,000 คน โดยมีประมาณ 1,055,000 คนที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ตัวเมืองตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลสาบเตียนฉือด้านทิศเหนือ เนื่องจากมีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี จึงถูกขนานนามว่า "นครแห่งฤดูใบไม้ผลิ".

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและคุนหมิง · ดูเพิ่มเติม »

ฉงชิ่ง

ฉงชิ่ง หรือ จุงกิง เป็นเขตเทศบาลนคร ตั้งอยู่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพื้นที่ติดกับมณฑลหูเป่ย์ หูหนัน กุ้ยโจว เสฉวนและส่านซี ภายในตัวเมืองมีแม่น้ำไหลพาดผ่านหลายสายเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 8 ของจีน มีเนื้อที่ 82,300 ก.ม.² มีประชากร (พ.ศ. 2548) 31,442,300 คน ความหนาแน่น 379/ก.ม.² จีดีพี (2005) (310) พันล้านหยวน รวมต่อประชากร 8,540 พันล้านหยวน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและฉงชิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

ตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง หรือ กวางสี หรือ กวางไซ (จ้วง: Gvangjsih Bouxcuengh Swcigih) หรือชื่อย่อว่า กุ้ย (桂; จ้วง: Gvei) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน มีเมืองเอกคือหนานหนิง.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง · ดูเพิ่มเติม »

เฉิงตู

ฉิงตู (Chengdu) เป็นเมืองเอกของมณฑลเสฉวน ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำหมินใจกลางมณฑล ประชากรเมืองเฉิงตูมีราว 10 ล้านคน จัดเป็นอันดับ 3 ของประเทศจีน ในปัจจุบันเป็นทั้งศูนย์กลางด้านการเมือง การทหาร และด้านการศึกษาของภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ คำว่าเฉิงตูมีความหมายว่า ค่อย ๆ กลายเป็นเมือง เนื่องจากย้อนไปเมื่อราว 2,000 ปีที่แล้ว ในสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ ได้มีการจัดการชลประทานขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดเป็นประจำทุกปี เมื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้ ชาวนาชาวไร่เพาะปลูกได้ดี ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น คนจึงเริ่มอพยพมาที่เมืองนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ จึงได้ชื่อว่าเฉิงตู ไฟล์:Jingjiang.JPEG|แม่น้ำจินเจียงและสะพาน Anshun ไฟล์:Chunxilu.jpeg|ถนนถนนชุนซี ไฟล์:Chengdu-calles-w03.jpg|การจราจรในเฉิงตู หมวดหมู่:เมืองในประเทศจีน หมวดหมู่:มณฑลเสฉวน หมวดหมู่:เมืองเอกของมณฑลในจีน.

ใหม่!!: กบฏสามเจ้าศักดินาและเฉิงตู · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »