โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โลลิคอน

ดัชนี โลลิคอน

ื่อแบบโลลิคอนมักแสดงความไร้เดียงสาของเด็กๆในรูปแบบที่คิดได้หลายแง่ โลลิคอน เป็นศัพท์สแลงมาจากคำว่า โลลิตาคอมเพล็กซ์ (Lolita complex) ประโยคนี้อ้างอิงมาจากหนังสือชื่อ โลลิตา ของ วลาดิมีร์ นาโบคอฟ มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายที่อายุสูงกว่ามาก มีความรู้สึกเสน่หากับเด็กผู้หญิงอายุเพียง 12 ปี ในประเทศญี่ปุ่นคำๆนี้จะใช้แทนพฤติกรรม ของผู้ที่มีอายุสูงกว่ามาก ที่มีความรู้สึกเสน่หา หรือมีความรู้สึกส่วนตัวเป็นพิเศษ กับเด็กที่อายุราวๆ 10-20 ปี หรือต่ำกว่านั้นในบางกรณี ส่วนนอกประเทศญี่ปุ่นนั้น คำนี้มักหมายถึงประเภทของการ์ตูน หรือ อะนิเมะ ซึ่งตัวละครที่เป็นเด็กผู้หญิง จะสามารถแสดงออกถึงท่าทางที่เซ็กซี่เกินวัย พวกโลลิคอน มักถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกที่ส่งเสริมการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก และในหลายประเทศ มีความพยายาม ที่จะออกบทบัญญัติกำหนด ความผิดของพฤติกรรมโลลิคอน ว่าเป็นความผิดต่อเด็ก ซึ่งหมายรวมไปถึงรูปภาพ วิดีโอ วัตถุหรือพฤติกรรมอันหนึ่งอันใด ที่แสดงให้เห็นว่าละเมิดทางเพศ อย่างร้ายแรงต่อเด็ก แต่ฝ่ายโลลิคอนก็โต้แย้งว่า การที่ตัดสินว่าผู้มีพฤติกรรมโลลิคอน เป็นความผิดร้ายแรงนั้น เป็นการสรุปที่อ่อนด้อยทางความคิด เพราะฝ่ายโลลิคอนเองมีเสรีภาพ ที่จะแสดงออกทางความคิด หรือพฤติกรรมที่ไม่ก่อให้เกิด ความเสียหาย การปิดกั้นสิ่งเหล่านี้ จะเป็นการเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อเด็กเสียมากกว่า อันเนื่องมาจากผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตประเภทเพโดฟิเลีย (pedophilia) นี้ถูกปิดกั้นแม้พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศผ่านทางการวาดเขียนการ์ตูน หรือเกมแอนิเมชัน.

13 ความสัมพันธ์: มังงะรายชื่อตัวละครใน เวิร์กกิ้ง!! ปิ๊งรักสาวนักเสิร์ฟรายชื่อตัวละครในลักกีสตาร์รายชื่อตัวละครในสามพลังป่วนพิทักษ์โลกวิกิพีเดียสาวหูแมวสื่อลามกอนาจารเด็กคาราคุริ ชาช่ามารุซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์โชะตะคอนโคโดโมะ โนะ จิคังเวิร์กกิ้ง!! ปิ๊งรักสาวนักเสิร์ฟL

มังงะ

หน้าหนึ่งจากหนังสือการ์ตูนเรื่องมาร์มาเลดบอย ฉบับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 1 มังงะ เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียกการ์ตูนช่อง สำหรับภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำนี้ถูกใช้เรียกการ์ตูนช่องที่มาจากญี่ปุ่น มังงะพัฒนามาจากอุคิโยเอะและจิตรกรรมตะวันตก และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มังงะที่ได้รับความนิยมสูงมักถูกนำไปสร้างเป็นอะนิเมะ เนื้อหาของมังงะเหล่านั้นมักถูกดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อการแพร่ภาพทางโทรทัศน์และเพื่อให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทั่วไปมากขึ้น.

ใหม่!!: โลลิคอนและมังงะ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครใน เวิร์กกิ้ง!! ปิ๊งรักสาวนักเสิร์ฟ

นี่คือ ตัวละครจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง เวิร์กกิ้ง!!.

ใหม่!!: โลลิคอนและรายชื่อตัวละครใน เวิร์กกิ้ง!! ปิ๊งรักสาวนักเสิร์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในลักกีสตาร์

ทความนี้เป็นบทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับรายชื่อตัวละครใน มังงะ, วิดีโอเกม และ อะนิเมะ จากญี่ปุ่น เรื่อง ลักกี้☆สตาร.

ใหม่!!: โลลิคอนและรายชื่อตัวละครในลักกีสตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครในสามพลังป่วนพิทักษ์โลก

ตัวละครจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง สามพลังป่วนพิทักษ์โลก.

ใหม่!!: โลลิคอนและรายชื่อตัวละครในสามพลังป่วนพิทักษ์โลก · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดีย

วิกิพีเดีย (Wikipedia, หรือ) เป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร เนื้อหากว่า 35 ล้านบทความ (เฉพาะวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีเนื้อหากว่า 4.9 ล้านบทความ) เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่างเสรี โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน จนถึงเดือนเมษายน..

ใหม่!!: โลลิคอนและวิกิพีเดีย · ดูเพิ่มเติม »

สาวหูแมว

วิกิพีตัง บุคลาธิษฐานของวิกิพีเดีย ก็เป็นสาวหูแมว สาวหูแมว หมายถึง ผู้หญิงที่ใส่ชุดที่เรียกกันว่า ชุดหูแมว ซึ่งประกอบด้วย หูแมว หางแมว และส่วนประกอบอื่น ๆ ของแมวที่นำมาใส่ไว้ในชุด เนะโกะมิมิมักจะพบมากในการ์ตูนญี่ปุ่น ทั้งแบบที่เป็นคอสเพลย์และที่เป็นร่างกายจริง การผสมผสานระหว่างคนกับแมว มีความหมายแฝงคือ แมวเป็นสัตว์ที่ขี้อ้อน ชอบเอาใจเจ้านาย เนะโกะมิมิก็จะมีลักษณะคล้ายกัน ตัวละครที่นอกจากจะพัฒนาเพื่อสนองความต้องการของเหล่าโลลิคอนแล้ว การเพิ่มเนะโกะมิมิเข้าไป ยิ่งเป็นการเพิ่มเอกลักษณ์ และเสน่ห์เข้าไปในตัว ทำให้ตัวละครนั้นเป็นที่จดจำได้ ดิจิการัตเป็นตัวละครตัวหนึ่ง ที่เหล่าโอะตะกุและโลลิคอนชื่นชอบมาก เนะโกะมิมิที่มีชื่อเสียงตัวหนึ่งคือ มาสค็อตของบร็อกโคลิ (Broccoli) บริษัทแอนิเมชันครบวงจร ที่เริ่มต้นจากการเป็นผู้ผลิตซอร์ฟแวร์เกม การ์ดเกม จนกระทั่งพัฒนาเป็นร้านที่ชื่อว่าเกมส์เมอร์ขึ้นมา เริ่มจากย่านการค้าอากิฮาบาระ และเติบโตจนขยายสาขาไปทั่วญี่ปุ่น ทั้งยังไปเปิดสาขาที่ประเทศสหรัฐอเมริกาอีกด้วย ตัวละครที่ชื่อ เดจิโกะ เป็นตัวละครจากอะนิเมะเรื่อง ดิจิการัต (Di Gi Charat) ซึ่งออกแบบโดยโคเกะดอนโบะ ดิจิการัตเป็นการผสมผสานระหว่าง โลลิคอน เมด และหูแมวเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นเนะโกะมิมิในที.

ใหม่!!: โลลิคอนและสาวหูแมว · ดูเพิ่มเติม »

สื่อลามกอนาจารเด็ก

ื่อลามกอนาจารเด็ก (Child pornography) คือสื่อลามกอนาจารที่ฉวยประโยชน์จากเด็ก (รวมทั้งวัยรุ่น) มีจุดประสงค์เพื่อเร้าอารมณ์ทางเพศ ซึ่งอาจจะผลิตโดยทำร้ายเด็กทางเพศ (เช่น ภาพทารุณเด็กทางเพศ) หรืออาจจะเป็นสื่อแบบเทียมคือเป็นสื่อแต่ง ใช้ผู้ใหญ่ที่แต่งให้เหมือนเด็ก หรือเป็นภาพสร้างขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ล้วน ๆ โดยบางทีแม้ภาพวาดหรือแอนิเมชัน ก็สามารถพิจารณาว่าเป็นสื่อเทียมได้เหมือนกัน ทารุณกรรมต่อเด็กเกิดขึ้นเมื่อมีกิจกรรมทางเพศกับเด็ก หรือให้เด็กแสดงบริเวณอวัยวะเพศหรือบริเวณหัวหน่าวเพื่อเร้าอารมณ์ แล้วบันทึกลงในสื่อ สื่อที่ใช้อาจมีหลายแบบ รวมทั้งวรรณกรรม นิตยสาร ภาพถ่าย ประติมากรรม จิตรกรรม การ์ตูน แอนิเมชัน บันทึกเสียง วิดีโอ และวิดีโอเกม กฎหมายเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กมักจะรวมภาพทางเพศที่เกี่ยวกับเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ เด็กวัยเจริญพันธุ์ ผู้เยาว์หลังวัยเจริญพันธุ์ และภาพเด็กที่สร้างโดยคอมพิวเตอร์ ผู้ทำผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กที่ถูกจับโดยมากจะมีรูปเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ที่มีภาพเด็กหลังวัยเจริญพันธุ์มีโอกาสน้อยกว่าที่จะถูกดำเนินคดี แม้ว่าจะผิดกฎหมายเช่นกัน ผู้ผลิตสื่อนาจารเด็กพยายามจะหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีโดยขายสื่อนอกประเทศ แต่ก็มีการจับกุมผู้ทำผิดเช่นนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศต่าง ๆ คนใคร่เด็กดูและเก็บสะสมสื่อเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์มีจุดประสงค์หลายอย่าง เริ่มตั้งแต่การใช้เพื่อประโยชน์ทางเพศส่วนตัว การแลกเปลี่ยนกับคนใคร่เด็กอื่น ๆ การเตรียมเด็กเพื่อทารุณกรรมทางเพศ หรือการหลอกล่อเด็กให้ติดกับเพื่อฉวยประโยชน์ทางเพศ เช่น เพื่อทำสื่อลามกหรือเพื่อการค้าประเวณี เด็กบางครั้งก็ผลิตสื่อลามกเองหรือเพราะถูกบีบบังคับโดยผู้ใหญ่ สื่อลามกอนาจารเด็กผิดกฎหมายและจะถูกตรวจพิจารณาในที่ต่าง ๆ โดยมากในโลก รวมทั้งประเทศไทยที่นิยามคำว่า "เด็ก" ว่าหมายถึงบุคคลที่มีอายุไม่เกิน 18 ปี ประเทศสมาชิกขององค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Interpol) 94 ประเทศจาก 187 มีกฎหมายโดยเฉพาะในเรื่องนี้โดยปี 2551 และนี่ยังไม่ได้รวมประเทศที่ห้ามสื่อลามกทุกอย่าง ในบรรดา 94 ประเทศเหล่านี้ การมีสื่อลามกอนาจารเด็กจัดเป็นอาชญากรรมใน 58 ประเทศไม่ว่าตั้งใจจะขายหรือเผยแพร่หรือไม่ รวมทั้งประเทศไทย ทั้งการเผยแพร่และการมี จัดเป็นอาชญากรรมในประเทศตะวันตกโดยมาก มีขบวนการที่ขับเคลื่อนให้สื่อลามกอนาจารเด็กเป็นสิ่งผิดกฎหมายทั่วโลก รวมทั้งองค์กรเช่นสหประชาชาติและคณะกรรมาธิการยุโรป เหตุผลที่ต้องมีกฎหมายสื่อลามกเด็กเป็นการเฉพาะ เหตุผลที่ประเทศต่างๆ มีกฎหมายสื่อลามกเด็กโดยเฉพาะแยกต่างหากจากกฎหมายสื่อลามกผู้ใหญ่ เนื่องจากแนวคิดควบคุมสื่อลามกทั้งสองประเภทต่างกัน เหตุผลหลักในการกำหนดโทษอาญากับการกระทำที่เกี่ยวกับสื่อลามกผู้ใหญ่ตั้งอยู่บนแนวคิดเรื่องการปกป้องศีลธรรมโดยรวมของสังคม กล่าวคือ ภาครัฐเชื่อว่าการปล่อยให้มีการผลิต จำหน่าย หรือ เผยแพร่สื่อลามกผู้ใหญ่อย่างเสรีอาจก่อให้เกิดความเสื่อมทรามต่อศีลธรรมทางเพศของคนในสังคมได้  การกำหนดโทษอาญาเพื่อควบคุมและปราบปรามสื่อลามกเด็กมีเหตุผลพื้นฐานที่ต่างออกไป กล่าวคือ เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ เพราะการผลิตสื่อลามกเด็ก (โดยเฉพาะที่ใช้เด็กจริงๆ แสดง) เป็นรูปแบบหนึ่งของการล่วงละเมิดทางเพศจากเด็ก ในด้านร่างกาย เด็กยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ การให้เด็กมีกิจกรรมทางเพศอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บในด้านจิตใจ เนื่องจากการเรียนรู้ของเด็กยังไม่พัฒนาเพียงพอที่จะเข้าใจในเรื่องความเหมาะสมของเรื่องเพศ การบังคับหรือล่อลวงให้เด็กมีกิจกรรมทางเพศหรือการถ่ายภาพยั่วยุทางเพศต่างๆ ถือได้ว่าเป็นการทำร้ายจิตใจเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเด็กพบว่าสิ่งที่ตนกระทำไปเป็นเรื่องไม่เหมาะสมสำหรับวัยตัวเอง ก็อาจเกิดความอับอายกลายเป็นบาดแผลทางจิตใจซึ่งอาจจะฝังลึกในใจเด็กไปตลอดชีวิต นอกจากนี้ ในหลายๆ กรณี การที่เด็กเข้าร่วมกิจกรรมทางเพศโดยไม่สมัครใจหรือเกิดจากการล่อลวง บังคับข่มขู่ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการแสวงหาประโยชน์อันมิชอบจากความเยาว์วัยของเด็กที่ยังไม่มีความสามารถในการตัดสินใจเพียงพอเกี่ยวกับความเหมาะสมของการมีเพศสัมพันธ์ ยิ่งในกรณีของสื่อลามกเด็กบนอินเทอร์เน็ต ผลกระทบร้ายแรงต่อตัวเด็กอาจขยายเป็นวงกว้างกว่า กล่าวคือ ภาพหรือคลิปวิดีโอบันทึกการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กดังกล่าวจะถูกส่งผ่านต่อกันไปและหมุนเวียนอยู่ในโลกไซเบอร์ไม่มีวันสิ้นสุด สิ่งนี้ยิ่งสร้างบาดแผลทางใจให้กับเด็กผู้ปรากฏในสื่อลามกอย่างไม่มีทางเยียวยาหรือลบเลือนออกไปได้.

ใหม่!!: โลลิคอนและสื่อลามกอนาจารเด็ก · ดูเพิ่มเติม »

คาราคุริ ชาช่ามารุ

ราคุริ ชาช่ามารุเค็ง อะกะมะสึ; 2551, 31 ตุลาคม: 168-169 (1 เมษายน 2554 —) เป็นตัวละครจากมังงะแนวตลก/ผจญภัย/กึ่งเร้ากามารมณ์ เรื่อง คุณครูจอมเวท เนกิมะ! (Negima! Magister Negi Magi) ของ เค็ง อะกะมะสึ (Ken Akamatsu) ชาช่ามารุเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องเอ เลขที่ 10 โรงเรียนมัธยมมาโฮระ ซึ่งมี เนกิ สปริงฟิลด์ (Negi Springfield) เด็กชายวัยสิบขวบที่เป็นผู้ใช้เวทมนตร์ เป็นครูประจำชั้นChachamaru Karakuri; n.d.: Online.

ใหม่!!: โลลิคอนและคาราคุริ ชาช่ามารุ · ดูเพิ่มเติม »

ซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์

การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ หรือที่รู้จักกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า Cardcaptor Sakura โดยมักเขียนในรูปอักษรย่อว่า CCS เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงที่มีพลังพิเศษ ผลงานของกลุ่มนักเขียน แคลมป์ การ์ตูนเรื่องนี้จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โคดันฉะ ความยาวทั้งหมด 12 เล่มจบ และยังมีมังงะภาคต่อใช้ชื่อว่า "ภาคเคลียร์การ์ด" ทางด้านการ์ตูนอะนิเมะ (ออกอากาศเมื่อปี ค.ศ. 1998 - ค.ศ. 2000) มีพื้นเรื่องมาจากหนังสือการ์ตูนประกอบไปด้วยตอนทั้งหมด 70 ตอน ตอนละครึ่งชั่วโมง และกับอีก 2 ตอนพิเศษ แต่เมื่อปี 2017 ได้ทำอะนิเมะในรูปแบบ OVA ที่เป็นตอนจบตามมังงะ และหลังจากนี้ในปี 2018 ได้มีการทำอะนิเมะภาคต่อใช้ชื่อว่า "ภาคเคลียร์การ์ด" เรื่องราวของเรื่องเริ่มต้นจากความฝันที่จะบอกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้ คล้ายกับเรื่อง เมจิกไนท์ เรย์เอิร์ธ ผลงานก่อนหน้าของกลุ่มแคลมป์ ถึงแม้เนื้อหาของ การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ จะเปลี่ยนไป แต่ก็ยังจัดอยู่ในการ์ตูนประเภทเดียวกัน ทางด้านตัวละครของเรื่องแล้ว การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ จัดได้ว่าได้รับความนิยมจากผู้ที่ชื่นชอบบนอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มประเภทของ ยาโออิ, โชโจะ, ยูริ,โลลิค่อน และ โมเอะ ตัวละครส่วนใหญ่ในเรื่อง การ์ดแค็ปเตอร์ซากุระ จะไปปรากฏอยู่ในหนังสือการ์ตูนอีกเรื่องหนึ่งของทีมแคลมป์ นั่นคือ สึบาสะ สงครามเทพข้ามมิต.

ใหม่!!: โลลิคอนและซากุระ มือปราบไพ่ทาโรต์ · ดูเพิ่มเติม »

โชะตะคอน

ตะคอน (shotacon) หรือมักย่อว่า โชะตะ เป็นคำตลาดในภาษาญี่ปุ่น ย่อจากคำประสมว่า "โชตะโรคอมเพลกซ์" (shōtarō complex) แปลว่า ปมโชตะโร มีที่มาจากตัวละครชื่อ โชตะโร ในอะนิเมะเรื่อง เทตสึจิน หุ่นเหล็กหมายเลข 28 (Tetsujin 28-go)Saitō Tamaki (2007) "Otaku Sexuality" in Christopher Bolton, Istvan Csicsery-Ronay Jr., and Takayuki Tatsumi ed., page 236 University of Minnesota Press ISBN 978-0-8166-4974-7 โชะตะคอน หมายความว่า ความหลงใหลใน "หนุ่มน้อย" หรือบุคคลที่มีความหลงใหลเช่นนั้น ตรงกันข้ามกับโลลิคอน (lolicon) ซึ่งว่าด้วย "สาวน้อย" อนึ่ง คำโชะตะคอนนี้ ภายนอกประเทศญี่ปุ่นยังใช้เรียกมังงะหรืออะนิเมะซึ่งแสดงภาพตัวละครผู้ชายในวัยหนุ่มหรือก่อนเป็นหนุ่มไปในอิริยาบถเร้ากำหนัดหรือเชิงสังวาส ทั้งยังใช้หมายถึงตัวละครชายที่พ้นวัยหนุ่มแล้วแต่ยังมีรูปโฉมเยาว์วัยเหมือนหนุ่มอยู่ด้วย ในหมู่ผู้นิยมวัฒนธรรมญี่ปุ่น ทั้งที่เป็นชาวญี่ปุ่นเองและชาวประเทศอื่นนั้น งานประเภทโชะตะคอนมีทั้งที่เร้ากำหนัดเพียงเล็กน้อย ที่ชวนรักใคร่ ที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางเพศโดยสิ้นเชิง ไปจนถึงที่แสดงความลามกอนาจารอย่างแจ้งชัด เช่นเดียวกับโลลิคอน โชะตะคอนนั้นสัมพันธ์กับทัศนคติเรื่องคะวะอี (kawaii, ความน่ารัก) และโมะเอะ (moe, บุคลิกลักษณะน่ารัก อ่อนหวาน อ่อนวัย และชวนปกป้องดูแล) องค์ประกอบโชะตะคอน อาทิ ยะโอะอิ (yaoi, ชายรักร่วมเพศ) นั้น ค่อนข้างดาษดื่นในมังงะประเภทโชโจะ (shōjo, มังงะที่มีกลุ่มลูกค้าเป็นหญิงสาววัยรุ่น) เช่น เรื่อง เลิฟเลส (Loveless) ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์เชิงสังวาสระหว่างเด็กชายอายุสิบสองปีกับผู้ชายอายุยี่สิบปี ส่วนมังงะประเภทเซเน็ง (seinen, มังงะที่มีกลุ่มลูกค้าเป็นชายหนุ่ม) โดยเฉพาะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นโอะตะกุ (otaku, ผู้นิยมมังงะ อะนิเมะ หรือวิดีโอเกมเป็นพิเศษ) นั้น บางคราวก็แสดงตัวละครชายวัยรุ่นไปในเชิงเร้ากามารมณ์แต่ไม่ลามกอนาจาร เช่น เรื่อง ยุบิซะกิมิลก์ที (Yubisaki Milk Tea) ที่มีตัวเอกเป็นเด็กชายลักเพศอายุสิบหกปี นักวิพากษ์วิจารณ์บางคนเห็นว่า งานประเภทโชะตะคอนนั้นส่งผลให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กขึ้นจริง ๆ ขณะที่นักวิจารณ์กลุ่มอื่น ๆ แย้งว่า ข้ออ้างดังกล่าวไม่มีพยานหลักฐานรองรับ และถึงมี ก็เป็นพยานหลักฐานที่บ่งชี้ไปในทางอื่นเสียมากกว.

ใหม่!!: โลลิคอนและโชะตะคอน · ดูเพิ่มเติม »

โคโดโมะ โนะ จิคัง

มะ โนะ จิคัง เป็นมังงะสัญชาติญี่ปุ่น ที่เขียนโดย วาตาชิยะ คาโวะรุ มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของคุณครูที่ชื่อ อาโอกิ ไดสุเกะ ที่เข้ามาทำงานในโรงเรียนประถมฟุตะสึบะชิ และทำให้ โคโคโนเอะ ริน ตกหลุมรักเขา มังงะเรื่องนี้ถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร Comic High! ออกวางแผงวันแรกวันที่ 22 พฤษภาคม 2548 จนกระทั่งตีพิมพ์เป็นตอนสุดท้าย ซึ่งวางแผงในวันที่ 22 เมษายน 2556 รวมทั้งสิ้น 93 ตอน ฉบับรวมเล่มทั้งหมด 13 เล่ม เรื่องนี้ถูกนำมาทำเป็นอะนิเมะ และออกอากาศในประเทศญี่ปุ่นระหว่าง 21 มกราคม - 27 กรกฎาคม 2552 แต่เนื่องจากมีเนื้อหาที่ไม่ค่อยเหมาะสม ทำให้มีการเซ็นเซอร์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ในบางฉาก ในภาคที่ 2 ได้ออกเป็น โอวีเอ หรือ ออริจินัล วีดีโอ แอนิเมชั่น ระหว่างเดือน มกราคม - กรกฎาคม 2552 จำนวน 4 ตอนด้วยกัน และโอวีเอเสริม ในวันที่ 21 มกราคม 2554.

ใหม่!!: โลลิคอนและโคโดโมะ โนะ จิคัง · ดูเพิ่มเติม »

เวิร์กกิ้ง!! ปิ๊งรักสาวนักเสิร์ฟ

วิร์กกิ้ง!! ปิ๊งรักสาวนักเสิร์ฟ หรือ Working!! ร้านป่วนก๊วนหลุดโลก สำหรับหนังสือการ์ตูน เป็นการ์ตูนประเภทการ์ตูนญี่ปุ่นสี่ช่องจบ ซึ่งเขียนขึ้นโดย ทาคะทสึ คาริโนะ ได้ตีพิมพ์เมื่อ เดือน มกราคม พ.ศ. 2548 ในนิตยสารการ์ตูน Young Gangan seinen ของ Square Enix และได้ถูกรวมเล่มและออกจำหน่ายเมื่อ พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ในญี่ปุ่น จนถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2553 ได้ตีพิมพ์มาแล้วทั้งหมด 7 เล่ม ทาง Square Enix ได้ออก ดราม่าซีดี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2552 เขียนบทโดย มุไค โชโกะ และ ได้ถูกมาทำเป็นอะนิเมะ ผลิตโดย A-1 Pictures โดยผู้กำกับ ฮิราอิเคะ โยชิมาสะ ออกอากาศครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อ 4 เมษายน พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: โลลิคอนและเวิร์กกิ้ง!! ปิ๊งรักสาวนักเสิร์ฟ · ดูเพิ่มเติม »

L

L (ตัวใหญ่:L ตัวเล็ก:l) เป็นอักษรละติน ลำดับที่ 12.

ใหม่!!: โลลิคอนและL · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Loliconโลลิโลลิกอนโลลิค่อน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »