โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรติเฟอร์

ดัชนี โรติเฟอร์

รติเฟอร์ที่อยู่เป็นโคโลนี โรติเฟอร์ (Rotifer) เป็นชื่อสามัญของสัตว์ใน ไฟลัมโรติเฟอรา (Rotifera) ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีชื่อสามัญว่าโรติเฟอร์ ส่วนหัวมีขนเซลล์เรียงกันเป็นแผงเรียกว่าโคโรนา มีการพัดโบกของซิเลียดูคล้ายวงล้อหมุน สมมาตรครึ่งซีก มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้นในระยะเอ็มบริโอ มีระบบอวัยวะแบบสัตว์ชั้นสูง มีซีลอมไม่แท้ มีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract) เป็นพวกแรก ลำตัวยาว โปร่งใส ถ้ามีสีจะมีสีสดใส มีตาเดี่ยวทำหน้าที่รับแสง ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ตัวผู้เล็กกว่าตัวเมียเสมอ บางชนิดมีสารเคลือบผิวหนา คล้ายเป็นเกราะ และมีหนามด้วย เรียกโครงสร้างนี้ว่า ลอริกา มีเท้าสำหรับยึดเกาะ บริเวณคอหอยมีอวัยวะคล้ายฟันเรียกว่า แมสแตกซ์ (Mastax) ตัวอย่างของสัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ไรหมุนหรือหนอนจักร มักอยู่กับพืชน้ำในน้ำจืด หรือมอสในน้ำเค็ม หากินอิสระ บางชนิดเป็นปรสิตบนเหงือกของสัตว์จำพวกกุ้ง-กั้ง-ปู โรติเฟอร์ที่มีเท้าจะเคลื่อนที่ไปตามพื้นท้องน้ำโดยใช้โคโรนาและเท้าคืบคลาน โรติเฟอร์ที่เป็นแพลงก์ตอนใช้โคโรนาเคลื่อนที่เพียงอย่างเดียว โคโรนาทำหน้าที่พัดอาหารเข้าปาก ใช้แมสแตกซ์บดเคี้ยว แล้วจึงส่งเข้าสู่กระเพาะอาหาร การผสมพันธุ์เป็นแบบปฏิสนธิภายใน เมื่อประชากรน้อย โรติเฟอร์จะสร้างไข่ที่เป็นดิพลอยด์ ซึ่งจะฟักเป็นตัวเมียทั้งหมด จนมีประชากรมากจึงจะสร้างไข่แบบแฮพลอยด์ ที่จะฟักเป็นตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจึงจะผสมพันธุ์กัน ไข่ของโรติเฟอร์ที่เกิดจากการปฏิสนธิมีผนังหนา ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี โรติเฟอร์บางชนิดอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่นบนมอสหรือทรายได้นาน 3-4 ปี โดยไม่มีการผสมพัน.

11 ความสัมพันธ์: วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำสัตว์สัตว์ป่าในประเทศมาซิโดเนียปลาสร้อยนกเขาจุดทองปลาสินสมุทรแคระไบคัลเลอร์ปลาอมไข่ตาแดงปลาทู (สกุล)ไบลาทีเรียไฟลัมเฟลมเซลล์เยนส์ คือห์เน

วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ

วงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ (Archer fishes) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับ Perciformes ใช้ชื่อวงศ์ว่า Toxotidae (/ท็อก-ออท-อิ-ดี้/; มาจากคำว่า "Toxots" เป็นภาษากรีกหมายถึง "นักยิงธนู").

ใหม่!!: โรติเฟอร์และวงศ์ปลาเสือพ่นน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: โรติเฟอร์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ป่าในประเทศมาซิโดเนีย

ัตว์ป่าในประเทศมาซิโดเนีย มีอยู่มากมายอาทิ เช่น หมี,หมูป่า,หมาป่า,สุนัขจิ้งจอก,กระรอก,เลียงผา และกวาง ลิงซ์ยูเรเชีย พบได้น้อยมากในเทือกเขาทางตะวันตกของมาซิโดเนีย จำนวนสัตว์ทั้งหมดที่รายงานจนถึงปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 10,354 ตัว ในทะเลสาบสามแห่งทางเขตฟูนา เป็นที่อยู่ของสัตว์น้ำและสัตว์บกประกอบไปด้วยปลาเทราท์เลตเทอร์, ปลาเทราท์เลค, ปลาทู, ปลากะรัง, นกพิราบ และพิณ.

ใหม่!!: โรติเฟอร์และสัตว์ป่าในประเทศมาซิโดเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสร้อยนกเขาจุดทอง

ปลาสร้อยนกเขาจุดทอง (Painted sweetlips) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงแสม (Haemulidae) มีลำตัวค่อนข้างยาว ด้านบนแบนข้าง สันหลังโค้งนูน ท้องแบนเรียบ ปากเล็กมีริมปากหนา มีฟันขนาดเล็กบนขากรรไกรทั้งสองข้าง ใต้คางมีรูพรุน 6 รู เกล็ดมีขนาดเล็กปกคลุมตลอดลำตัวและหัว สีลำตัวจะเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดอายุของปลา คือ ปลาขนาดเล็กจะมีสัสันสวยงาม โดยลำตัวเป็นสีขาว ส่วนหัวด้านบนสีเหลือง และมีแถบสีน้ำตาลปนดำ 5 แถบพาดไปตามความยาวลำตัว เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นแถบสีจะจางหายไป และมีจุดสีน้ำตาลปนดำปรากฏขึ้นมาแทน และจุดสีจะจางหายไปเมื่อปลาอายุมากขึ้น กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามหน้าดินหรือแนวปะการัง พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยหากินปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ ตามบริเวณที่อยู่อาศัยเป็นอาหาร มีความยาวประมาณ 35-45 เซนติเมตร แต่เคยพบว่าบางตัวมีความยาวถึง 60 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยนิยมบริโภค ตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะในลูกปลาขนาดเล็กที่ยังมีลายแถบ ปลาสร้อยนกเขาจุดทอง เพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ได้สำเร็จในที่เลี้ยงเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 โดย สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา โดยรวบรวมพ่อแม่ปลา 4-5 ตัวจากธรรมชาติ หลังจากที่เลี้ยงมาประมาณ 1 ปี ปลาก็วางไข่โดยธรรมชาติ ประมาณ 10,000-20,000 ฟอง จากนั้นได้รวบรวมไข่ขึ้นมาฟักและอนุบาลได้จำนวน 3,000 ตัว เมื่อลูกปลาอายุ 40 วัน มีขนาดความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร เหลือจำนวน 400 ตัว ให้อาหารเป็นโรติเฟอร์และไรทะเล.

ใหม่!!: โรติเฟอร์และปลาสร้อยนกเขาจุดทอง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสินสมุทรแคระไบคัลเลอร์

ปลาสินสมุทรแคระไบคัลเลอร์ (Bicolor angelfish, Oriole angelfish, Black & gold angelfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) จัดเป็นปลาสินสมุทรแคระชนิดหนึ่ง มีสีสันลวดลายสวยงาม ขนาดเมื่อโตเต็มที่จะไม่เกิน 15 เซนติเมตร ลำตัวมีสีน้ำเงินเข้มและเหลืองเข้มอย่างละครึ่งตัว เป็นที่สะดุดตาต่อผู้พบเห็น จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามหรือแสดงตามสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ซึ่งราคาซื้อขายก็ไม่สูงมากตกอยู่ที่ราวตัวละ 150-300 บาท ปัจจุบัน ทางกรมประมงของประเทศไทยสามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ปลาสินสมุทรแคระไบคัลเลอร์ได้เป็นผลสำเร็จแล้ว โดยสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร โดยเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในโรงเรือนที่สามารถควบคุมอุณหภูมิในรอบวันได้ และควบคุมในเรื่องแสงสว่างเพื่อช่วยกระตุ้นระบบสืบพันธุ์ โดยให้อาหาร 2 อย่าง คือ ไรน้ำเค็มตัวเต็มวัย และอาหารสดที่มีส่วนผสมของหอยแมลงภู่, กุ้ง, หมึก และเพียงทราย เป็นหลัก และเสริมด้วยสาหร่ายสไปรูลินาชนิดผงและน้ำมันปลาทูน่า จากนั้นจึงเริ่มจับคู่พ่อแม่พันธุ์มาเลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิด เพื่อให้ปลาพ่อแม่พันธุ์ผสมพันธุ์และวางไข่ ทั้งนี้เมื่อลูกปลาฟักออกมาแล้วจะทำการอนุบาล 0-10 วัน ด้วยวิธีการที่หลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์และแพลงก์ตอนในบ่อเลี้ยง เมื่อลูกปลาอายุได้ 10-20 วัน จะให้โรติเฟอร์, โคพิพอด, ไรน้ำกร่อย และไรน้ำเค็ม เป็นอาหาร หลังจากนั้นจึงฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูป เมื่อปลามีอายุได้ 2 เดือน จะมีความยาวประมาณ 2.0-2.5 เซนติเมตร จะมีการพัฒนาสีสันและรูปร่างเหมือนปลาตัวเต็มวั.

ใหม่!!: โรติเฟอร์และปลาสินสมุทรแคระไบคัลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอมไข่ตาแดง

ปลาอมไข่ตาแดง (Spotted cardinalfish, Pajama cardinalfish, Pyjama cardinalfish) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอมไข่ (Apogonidae) เป็นปลาที่มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 5-6 เซนติเมตร โดยปกติแล้วจะพบในทะเลอันดามัน แต่ไม่พบในน่านน้ำไทย พบได้ตั้งแต่ฟิจิ, ฟิลิปปิน, หมู่เกาะริวกิว จนถึงเกรตแบร์ริเออร์รีฟ เป็นปลาที่ไม่สามารถแยกเพศได้เมื่อมองจากลักษณะภายนอก นอกจากตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย เป็นปลาที่มีความสวยงามอีกชนิดหนึ่ง จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว แต่ปลาที่มีขายกันอยู่มักเป็นปลาที่ถูกจับมาจากแหล่งธรรมชาติในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย เป็นปลาที่เมื่อเทียบกับปลาอมไข่ครีบยาว (Pterapogon kauderni) แล้ว ถือว่าเลี้ยงง่ายกว่ามาก เพราะราคาถูก และสามารถกินอาหารสำเร็จรูปได้แทบทุกตัว โดยเมื่อลูกปลาฟักออกจากไข่แล้ว พ่อปลาจะคายลูกออกจากปากทันที ลูกปลาแรกฟักจะมีชีวิตเหมือนแพลงก์ตอน และจะเริ่มกินอาหารได้เมื่อมีอายุเข้าวันที่ 2-3 วัน โดยกินโรติเฟอร์ในช่วงแรก.

ใหม่!!: โรติเฟอร์และปลาอมไข่ตาแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทู (สกุล)

ปลาทู (Rastrelliger) เป็นสกุลปลาทะเลสกุลหนึ่งในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับปลาอินทรี, ปลาโอ และปลาทูน่า มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งจนถึงระดับความลึก 200 เมตร ในน่านน้ำไทยพบทั้งหมด 3 ชนิด ปลาในสกุลนี้เป็นปลาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอาหารทะเลหลักของคนไทยมาช้านาน.

ใหม่!!: โรติเฟอร์และปลาทู (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ไบลาทีเรีย

ลาทีเรีย (Bilateria) คือ สัตว์ที่มีสมมาตรด้านข้าง กล่าวคือมีด้านหน้า หลัง บน ล่าง ซ้ายและขวา ในทางตรงกันข้าม สัตว์ที่มีสมมาตรรัศมี เช่น แมงกะพรุน มีด้านบนและด้านล่าง แต่ไม่มีด้านหน้าและหลังที่แน่ชัด ไบลาทีเรียเป็นกลุ่มใหญ่ของสัตว์ ประกอบด้วยไฟลัมส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่ฟองน้ำ ไนดาเรีย พลาโคซัว และทีโนฟอรา ตัวอ่อนของไบลาทีเรียมีไทรโพลบลาสตี คือ มีเนื้อเยื่อคัพภะสามชั้น ได้แก่ เอนโดเดิร์ม เมโซเดิร์ม และเอ็กโทเดิร์ม สิ่งมีชีวิตเกือบทุกตัวที่มีสมมาตรไบลาทีเรีย ยกเว้นอิคีเนอเดอร์เมอเทอ เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยโตเต็มที่จะมีลักษณะที่ใกล้เคียงสมมาตรรัศมี แต่เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีสมมาตรด้านข้าง สัตว์สมมาตรด้านข้างยกเว้นบางไฟลัม (เช่น หนอนตัวแบน) มีทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ และมีปากกับทวารหนักแยกออกจากกัน สัตว์ไบลาทีเรียบางตัวไม่มีช่องว่างระหว่างลำตัว.

ใหม่!!: โรติเฟอร์และไบลาทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: โรติเฟอร์และไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

เฟลมเซลล์

frame เฟลมเซลล์ (Flame cell) เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ขับถ่าย ซึ่งมีช่องเปิดออกสู่สิ่งแวดล้อม พบในหนอนตัวแบน (ยกเว้น turbellarian อันดับ Acoela), โรติเฟอร์ และเนเมอร์เทีย เป็นอวัยวะขับถ่ายที่เรียบง่ายที่สุดในสัตว์ การทำงานเหมือนไตของมนุษย์ กลุ่มของเฟลมเซลล์เรียกโพรโทเนฟริเดีย เฟลมเซลล์เชื่อมต่อเป็นโครงข่ายทั่วร่างกาย ของเสียจะถูกส่งมาสะสมภายในเฟลมเซลล์ ส่วนที่เป็นอาหารถูกดูดกลับ จากนั้นปล่อยของเสียออกโดยการแพร.

ใหม่!!: โรติเฟอร์และเฟลมเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เยนส์ คือห์เน

นส์ คือห์เน (เยอรมัน: Jens Kühne) เป็นนักมีนวิทยาและนักสำรวจธรรมชาติชาวเยอรมัน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1970 จบการศึกษาด้านสูทกรรม และทำงานเป็นเชฟมากว่า 25 ปี ทั้งในเยอรมนีและสวิสเซอร์แลนด์ โดยมีตำแหน่งสุดท้ายเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาอาวุโสให้กับโรงแรมดอยช์ในเยอรมนี คือห์เน เริ่มต้นทำงานด้านมีนวิทยาจากความชอบที่จะเลี้ยงปลาในวัยเด็ก โดยปลาชนิดแรกที่เลี้ยง คือ ปลาพาราไดซ์ (Macropodus opercularis) เริ่มต้นจากการรวบรวมเงินที่สะสมมาตลอดการทำงาน 25 ปี เดินทางมาที่กลุ่มประเทศเอเชียอาคเนย์ เพื่อสำรวจปลาในแหล่งธรรมชาติ โดยเริ่มจากอินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 1994 จากนั้นได้ตระเวนไปทั่วทั้งมาเลเซีย, ลาว, กัมพูชา และได้เดินทางมาสู่ประเทศไทยในปี ค.ศ. 2000 จนได้ปักหลักถาวรจนถึงปัจจุบัน ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมกับภริยาชาวไทย ซึ่งในบ้านพักมีตู้ปลาที่เลี้ยงไว้จำนวนมาก รวมทั้งเพาะสัตว์ที่เป็นอาหารปลาเองด้วย เช่น ลูกน้ำ, ไรแดง, ไรทะเล, โรติเฟอร์ เป็นต้น เยนส์ คือห์เน มีผลงานสำรวจพบปลาชนิดใหม่ของโลก 2 ชนิด คือ ปลากัดชนิด Betta kuehnei ที่ค้นพบในมาเลเซีย และอีกชนิดหนึ่งกำลังขอดำเนินการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นปลาในสกุลปลากริม (Trichopsis spp.) ค้นพบที่จังหวัดเพชรบุรี นอกจากนี้แล้ว ยังทำงานพิเศษให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่สาธารณรัฐเชคเกี่ยวกับการสำรวจปลาในวงศ์ปลาค้อ (Balitoridae) ในทวีปเอเชีย, เขียนบทความให้กับนิตยสารปลาสวยงามของยุโรปหลายฉบับ เช่น Amazonas, DATZ, Aquarium live, Aquaristik, Fachmagazin เป็นต้น, เขียนบทความเกี่ยวกับปลาในกลุ่มปลากัดให้แก่ สมาคมปลากัดนานาชาติ (International Gemeinschinschaft für Labyrinthfische) ที่ตั้งอยู่ยังประเทศเยอรมนี รวมทั้งเขียนบทความเรื่องกล้วยไม้และแมลงให้แก่นิตยสารกล้วยไม้ และสัตว์เลี้ยง ในประเทศเยอรมนีด้ว.

ใหม่!!: โรติเฟอร์และเยนส์ คือห์เน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Rotiferaโรทิเฟอราโรติเฟอราไฟลัมโรติเฟอรา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »