โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โรควัวบ้า

ดัชนี โรควัวบ้า

วัวที่เป็น BSE ลักษณะของโรค คือ สัตว์ที่ติดเชื้อจะยืนไม่ได้ โรคสมองรูปฟองน้ำวัว (bovine spongiform encephalopathy, ย่อ: BSE) หรือรู้จักกันทั่วไปว่า โรควัวบ้า เป็นโรคเสื่อมของระบบประสาท (โรคสมอง) ถึงตายในปศุสัตว์ซึ่งทำให้เกิดการเสื่อมฟองน้ำ (spongy degeneration) ในสมองและไขสันหลัง โรควัวบ้ามีระยะฟักนาน ราว 30 เดือนถึง 8 ปี ปกติมีผลต่อปศุสัตว์โตเต็มวัยโดยมีอายุตั้งต้นสูงสุดที่สี่ถึงห้าปี ทุกสายพันธุ์ไวรับเท่ากัน ในสหราชอาณาจักร ประเทศซึ่งได้รับผลมากที่สุด มีปศุสัตว์ติดเชื้อกว่า 180,000 ตัว และถูกฆ่า 4.4 ล้านตัวระหว่างโครงการกำจัด โรคนี้อาจส่งผ่านสู่มนุษย์ได้ง่ายที่สุดโดยการกินอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสมอง ไขสันหลังหรือทางเดินอาหารของสัตว์ที่ติดเชื้อ ทว่า เชื้อก่อโรคซึ่งแม้กระจุกในเนื้อเยื่อประสาทสูงสุด แต่สามารถพบได้แทบทุกเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย รวมทั้งเลือด ในมนุษย์ถือว่าโรคเป็นชนิดย่อย (variant) หนึ่ง ของโรคครอยท์ซเฟลดท์–ยาคอบ (vCJD หรือ nvCJD) และในเดือนตุลาคม 2552 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 166 คนในสหราชอาณาจักร และที่อื่น 44 คน; มีสัตว์ที่ติดเชื้อ BSE ระหว่าง 460,000 ถึง 482,000 ตัวเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ก่อนมีการริเริ่มควบคุมเครื่องในสัตว์ความเสี่ยงสูงในปี 2532 สาเหตุของโรคเกิดจาก พรีออน ซึ่งเป็น คือ โปรตีนขนาดเล็ก ไม่ละลายน้ำ ทนความร้อน พรีออนเป็นปรสิตต่อคนและสัตว.

5 ความสัมพันธ์: พรีออนกีวตังหลักระวังไว้ก่อนข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรมโรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ

พรีออน

รีออน (Prion) คือ โปรตีนขนาดเล็ก ไม่ละลายน้ำ ทนความร้อน ทนการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทั้งร้อนและเย็น ทนต่อความแห้ง ทนต่อแสงยูวี ทนต่อการย่อยสลายโดยเอนไซม์ทั้ง protease และ nuclease สามารถติดต่อระหว่างสิ่งมีชีวิตและก่อโรคได้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า proteinaceous infectious particle คำว่า พรีออน เป็นคำเรียกที่แบบคำผวนของคำนี้เพราะว่า โพรอีน ฟังสับสนกับสารหลายชนิด ผู้ตั้งคำว่า พรีออน คือนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลปี..

ใหม่!!: โรควัวบ้าและพรีออน · ดูเพิ่มเติม »

กีวตัง

ราอาเงะกีวตัง กีวตัง เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ทำมาจากลิ้นวัวย่าง คำว่ากีวตังเป็นการผสมระหว่างคำว่า กีว ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่าวัว กับคำว่า ทัง (tongue) ในภาษาอังกฤษที่แปลว่าลิ้น เนื่องจากคำว่ากีวตังมีความหมายทางภาษาว่า "ลิ้นวัว" ดังนั้นในญี่ปุ่นจึงใช้คำนี้เรียกลิ้นวัวด้วยเช่นกัน การปรุงกีวตังเริ่มต้นจากเมืองเซ็นไดเมื่อ พ.ศ. 2491 ปกติแล้วในเซ็นไดจะรับประทานกับข้าวบาร์เลย์ ซุปหางวัว และผักดอง ในพื้นที่อื่น ๆ ในญี่ปุ่นมักจะมีกีวตังในร้านยากินิกุ เดิมทีกีวตังจะปรุงรสด้วยเกลือ ในร้านยากินิกุหลายร้านจึงเรียกกีวตังว่า ทังชิโอะ ปัจจุบันบางร้านจะบริการกีวตังพร้อมกับซอสทาเร.

ใหม่!!: โรควัวบ้าและกีวตัง · ดูเพิ่มเติม »

หลักระวังไว้ก่อน

หลักระวังไว้ก่อน (precautionary principle) เป็นวิธีการจัดการความเสี่ยงที่มีหลักว่า ถ้าการกระทำหรือนโยบายมีข้อน่าสงสัยว่า จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณประโยชน์หรือต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ โดยไม่มีมติส่วนใหญ่ของนักวิทยาศาสตร์ว่า การกระทำหรือนโยบายนั้นจะไม่ทำความเสียหาย การพิสูจน์ว่าจะไม่ก่อความเสียหาย ตกเป็นหน้าที่ของบุคคลที่ต้องการทำการนั้น ๆ ผู้ออกนโยบายได้ใช้หลักนี้เป็นเหตุผลการตัดสินใจ ในสถานการณ์ที่อาจเกิดความเสียหายเพราะการตัดสินใจบางอย่าง (เช่นเพื่อจะทำการใดการหนึ่ง หรืออนุมัติให้ทำการใดการหนึ่ง) ในกรณีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่ชัดเจน หลักนี้แสดงนัยว่า ผู้ออกนโยบายมีหน้าที่ทางสังคมที่จะป้องกันสาธารณชนจากการได้รับสิ่งที่มีอันตราย เมื่อการสืบสวนทางวิทยาศาสตร์ได้พบความเสี่ยงที่เป็นไปได้ และการป้องกันเช่นนี้จะสามารถเพลาลงได้ ก็ต่อเมื่อมีงานศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงหลักฐานที่ชัดเจนว่าจะไม่มีอันตรายเกิดขึ้น กฎหมายของเขตบางเขต เช่นในสหภาพยุโรป ได้บังคับใช้หลักนี้ในบางเรื่อง ส่วนในระดับสากล มีการยอมรับใช้หลักนี้เป็นครั้งแรกในปี 2525 เมื่อสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตกลงใช้กฎบัตรเพื่อธรรมชาติแห่งโลก (World Charter for Nature) แล้วต่อมาจึงมีผลเป็นกฎหมายจริง ๆ ในปี 2530 ผ่านพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) ต่อจากนั้นจึงมีการใช้หลักนี้ตามสนธิสัญญาที่มีผลทางกฎหมายต่าง ๆ เช่น ปฏิญญารีโอ (Rio Declaration) และพิธีสารเกียวโต.

ใหม่!!: โรควัวบ้าและหลักระวังไว้ก่อน · ดูเพิ่มเติม »

ข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม

้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม (Genetically modified food controversies) เป็นความขัดแย้งกันในเรื่องการบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์อย่างอื่น ๆ ที่ทำมาจากพืชดัดแปรพันธุกรรม ไม่ใช่จากพืชปลูกโดยวิธีตามที่เคยทำมาก่อน (คือแบบธรรมดา) และในเรื่องการใช้พันธุวิศวกรรมแบบอื่น ๆ ในกระบวนการผลิตอาหาร เป็นความขัดแย้งกันระหว่างผู้บริโภค เกษตรกร บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ องค์กรควบคุมของรัฐ องค์การนอกภาครัฐ และนักวิทยาศาสตร์ ข้อโต้เถียงสำคัญรวมทั้ง.

ใหม่!!: โรควัวบ้าและข้อโต้เถียงเรื่องอาหารดัดแปรพันธุกรรม · ดูเพิ่มเติม »

โรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ

โรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ (Creutzfeldt-Jakob disease, CJB) เป็นโรคเสื่อมที่เกิดกับระบบประสาทส่วนกลางชนิดหนึ่ง ยังไม่มีหนทางรักษา ถือเป็นโรคสมองเป็นรูพรุนที่สามารถติดต่อได้ (transmissable spongiform encephalopathy) ที่พบบ่อยที่สุดในมนุษย์ เกิดจากโปรตีนพรีออนซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณสมบัติพิเศษสามารถติดต่อและทำให้เกิดโรคได้ โรคนี้ไม่ใช่โรคเดียวกันกับโรควัวบ้า (boline spongiform encephalopathy) หมวดหมู่:Transmissible spongiform encephalopathies หมวดหมู่:โรคเสื่อมของระบบประสาท หมวดหมู่:การติดเชื้อไวรัสที่ระบบประสาทส่วนกลาง หมวดหมู่:โรคหายาก.

ใหม่!!: โรควัวบ้าและโรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Bovine spongiform encephalopathy

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »