โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โซเดียมไบคาร์บอเนต

ดัชนี โซเดียมไบคาร์บอเนต

ซเดียมไบคาร์บอเนต (sodium bicarbonate; ชื่อตาม IUPAC: โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต) หรือ โซดาทำขนม (baking soda) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมีคือ NaHCO3 มีเลขอีคือ E500 ลักษณะเป็นผงสีขาว มีรสเค็มคล้ายโซเดียมคาร์บอเนต มีการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตมีมาสมัยนกฮูกที่ชื่อชวินได้กินสารXอุฟุฟวยเข้าไปจนตัวระเบิด ในรูปของเนตรอน (natron).

13 ความสัมพันธ์: การรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปากรายชื่อสารประกอบอนินทรีย์ผงฟูขนมปังกรอบไดเจสทีฟดอกซีไซคลีนปฏิกิริยาสะเทินน้ำย่อยแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์แมงกะพรุนหนังแคลเซียมคาร์บอเนตแคลเซียมไฮดรอกไซด์โซเดียมคาร์บอเนตเบเกิล

การรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปาก

การรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปาก (oral rehydration therapy) เป็นการรักษาด้วยการชดเชยสารน้ำวิธีหนึ่ง ใช้เพื่อรักษาหรือป้องกันการขาดน้ำ โดยเฉพาะการขาดน้ำที่เกิดจากภาวะท้องร่วง ทำโดยให้ผู้ป่วยดื่มน้ำที่ผสมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อย อาจให้ด้วยการกินตามปกติหรือให้ผ่านสายให้อาหารชนิดใส่ผ่านจมูกก็ได้ โดยปกติจะแนะนำให้เสริมสังกะสีร่วมด้วยในการรักษา การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากท้องร่วงลงได้ถึง 93% ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ ได้แก่ อาเจียน โซเดียมในเลือดสูง หรือโปแตสเซียมในเลือดสูง หากผู้ป่วยกินสารละลายแล้วอาเจียนแนะนำให้พักก่อน 10 นาที แล้วค่อยๆ กินใหม่ สูตรของสารละลายที่แนะนำจะประกอบด้วย โซเดียมคลอไรด์ โซเดียมซิเตรต โปแตสเซียมคลอไรด์ และกลูโคส หากไม่มีอาจใช้ซูโครสแทนกลูโคส และใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตแทนโซเดียมซิเตรตได้ กลูโคสจะช่วยให้เซลล์ในลำไส้ดูดซึมน้ำและโซเดียมได้ดีขึ้น นอกจากสูตรนี้แล้วยังมีสูตรดัดแปลงอื่นๆ เช่นสูตรที่สามารถทำได้เองที่บ้าน อย่างไรก็ตามสูตรที่ทำได้เองเหล่านี้ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยที่ยืนยันผลการรักษา การรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปากเช่นนี้ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อช่วงปี 1940s และเริ่มเป็นที่แพร่หลายเมื่อช่วงปี 1970s สูตรยาของสารน้ำนี้ได้รับการบรรจุไว้ในรายการยามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นกลุ่มของยาที่ปลอดภัยและได้ผลดีและมีความจำเป็นต่อระบบบริการสุขภาพ ราคาขายส่งของผงละลายน้ำเกลือแร่ที่ขายอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอยู่ที่ประมาณซองละ 0.03-0.20 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี..

ใหม่!!: โซเดียมไบคาร์บอเนตและการรักษาด้วยการให้สารน้ำทางปาก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสารประกอบอนินทรีย์

รประกอบอนินทรีย์ (อังกฤษ:inorganic compound) คือสารประกอบที่มีในโลกที่ไม่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน.

ใหม่!!: โซเดียมไบคาร์บอเนตและรายชื่อสารประกอบอนินทรีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ผงฟู

ผงฟู ผงฟูทำขนมปัง (baking powder) (NaHCO3) เป็นสารเคมีแห้งช่วยทำให้ขึ้นฟู ใช้ในการอบและดับกลิ่น มีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปมีฤทธิ์เป็นด่าง เรียกว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) และในรูปของกรด จะเป็นผลึกกเกลือ เกลือที่ใช้ในอุณหภูมิต่ำ ได้แก่ ครีมออฟทาร์ทาร์ แคลเซียมฟอสเฟต และ citrate ส่วนเกลือที่ใช้ในอุณหภูมิสูงมักเป็นเกลือของอะลูมิเนียม เช่น แคลเซียมอะลูมิเนียมฟอสเฟตโดยส่วนใหญ่ baking powder ในปัจจุบันเรียกว่า double acting ซึ่งเป็นการรวมระหว่าง เกลือ ซึ่งตัวหนึ่งสามารถทำปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิห้อง และอีกตัวหนึ่งสามารถทำปฏิกิริยาได้ที่อุณหภูมิสูงกว่า baking powder ที่สามารถใช้ได้เฉพาะอุณหภูมิต่ำเรียกว่า single acting มีลักษณะเป็นผงสีขาว มี 2 ชนิดคือ.

ใหม่!!: โซเดียมไบคาร์บอเนตและผงฟู · ดูเพิ่มเติม »

ขนมปังกรอบไดเจสทีฟ

250px ขนมปังกรอบไดเจสทีฟ (Digestive Biscuit) คือขนมปังกรอบหรือคุกกี้กึ่งหวานชนิดหนึ่ง เป็นที่นิยมในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ กรีซ และประเทศที่มีฐานะปานกลางอื่นๆ ชื่อ ไดเจสทีฟ ที่มีความหมายว่าช่วยย่อยนั้น มีที่มาจากความเชื่อเมื่อแรกผลิตที่ว่าการใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตทำให้ขนมปังกรอบมีคุณสมบัติลดกรดในกระเพาะได้.

ใหม่!!: โซเดียมไบคาร์บอเนตและขนมปังกรอบไดเจสทีฟ · ดูเพิ่มเติม »

ดอกซีไซคลีน

อกซีไซคลีน (Doxycycline) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งที่มีข้อบ่งใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อหลายชนิดที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียและโปรโตซัว ยานี้มีประโยชน์เป็นอย่างมากในการรักษาโรคปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย, สิว, การติดเชื้อคลามัยเดีย, ระยะเริ่มต้นของโรคไลม์, อหิวาตกโรค และซิฟิลิส นอกจากนี้ยังมีการใช้ดอกซีไซคลีนในการรักษามาลาเรีย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อจำพวกโปรโตซัว โดยให้ยานี้ร่วมกับควินิน และอาจใช้ดอกซีไซคลีนเพื่อเป็นการป้องกันมาลาเรียสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคได้ ดอกซีไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากมีราคาถูกและสามารถบริหารยาโดยการรับประทานได้ ในรายที่มีอาการของโรครุนแรงอาจจำเป็นต้องได้รับการบริหารยาโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ดอกซีไซคลีนเป็นยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่งที่มีขอบเขตการออกฤทธิ์กว้าง (Broad-spectrum antibiotic) โดยยานี้จะฆ่าแบคทีเรียและโปรโตซัวที่ไวต่อยานี้ด้วยการยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการขยายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เซลล์จุลชีพเป้าหมายตายไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม การใช้ดอกซีไซคลีนในการรักษานี้อาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ขึ้นได้เช่นเดียวกันกับยาชนิดอื่นๆ โดยอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นได้บ่อยจากการใช้ยานี้ ได้แก่ ท้องเสีย, คลื่นไส้, อาเจียน, ผื่นแดง, และผิวไวต่อแสงมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดผิวไหม้จากแสงแดด (sunburn) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การใช้ดอกซีไซคลีนในหญิงตั้งครรภ์หรือในเด็กอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของฟันทารกหรือเด็กเป็นสีเทาหรือน้ำตาลอย่างถาวรได้ ส่วนการใช้ยานี้ในหญิงที่กำลังให้นมบุตรนั้นค่อนข้างมีความปลอดภัย เนื่องจากดอกซีไซคลีนถูกขับออกทางน้ำนมได้น้อยมาก ดอกซีไซคลีนได้รับการจดสิทธิบัตรในปี..

ใหม่!!: โซเดียมไบคาร์บอเนตและดอกซีไซคลีน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาสะเทิน

ปฏิกิริยาการสะเทินระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดไฮโดรคลอริก อินดิเคเตอร์คือ โบรโมไทมอลบลู ในทางเคมี ปฏิกิริยาสะเทิน (neutralization หรือ neutralisation) หรือ ปฏิกิริยาการสะเทิน หรือ ปฏิกิริยาลบล้างฤทธิ์ ก็เรียก เป็นปฏิกิริยาเคมี ซึ่งกรดและเบสทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นเกลือ บ่อยครั้งที่เกิดน้ำเป็นผลิตภัณฑ์ด้วย แต่ไม่จำเป็นเสมอไป ปฏิกิริยาสะเทินระหว่างกรดและเบสอาร์เรเนียส จะให้น้ำด้วยเสมอ ดังสมการ เมื่อ Y และ X เป็นไอออนบวกและไอออนลบที่มีค่าประจุเป็น +1 และ -1 ตามลำดับ XY จะเป็นเกลือที่เกิดขึ้น ตัวอย่างปฏิกิริยารูปนี้ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดไฮโดรคลอริก โดยมีโซเดียมเป็น Y และคลอรีนเป็น X ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยาข้างต้น คือ น้ำและเกลือแกงสามัญ ปฏิกิริยาสะเทินสามารถพิจารณาได้เป็นสมการไอออนสุทธิ เช่น การแสดงนี้คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดี เพราะไฮโดรเจนไอออน (H+) แท้จริงแล้วมิได้เกิดขึ้นในสารละลายระหว่างปฏิกิริยาสะเทิน ที่จริงแล้ว ไฮโดรเนียมไออน (H3O+) ต่างหากที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลตามสมการด้านล่าง เมื่อพิจารณาไฮโดรเนียมไออน สมการไอออนสุทธิแท้จริงจะเป็น ในปฏิกิริยาไม่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย (non-aqueous) มีความเป็นไปได้น้อยว่าจะเกิดน้ำขึ้น อย่างไรก็ดี กรดกับเบสจะมีการให้โปรตอนเสมอ (ตามทฤษฎีกรด-เบสเบรินสเตด-บาวรี) เนื่องจากมีนิยามกรดและเบสหลายอย่าง ปฏิกิริยาทั้งหลายจึงอาจถูกพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาการสะเทินได้ ซึ่งทั้งหมดด้านล่างนี้อาจถูกพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาสะเทินได้ตามนิยามแตกต่างกัน บ่อยครั้ง ปฏิกิริยาสะเทินเป็นปฏิกิริยาคายความร้อน ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับกรดไฮโดรคลอริก ตัวอย่างของการสะเทินแบบดูดความร้อน เช่น ปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไบคาร์บอเนต (โซดาทำขนม) กับกรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู) การสะเทินหมายถึงการทำให้เป็นกลาง ในทางเคมี "เป็นกลาง" หมายถึง pH เท่ากับ 7.

ใหม่!!: โซเดียมไบคาร์บอเนตและปฏิกิริยาสะเทิน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำย่อย

น้ำย่อยของลำไส้เล็ก (Intestinal Juices) เป็นเอนไซม์ที่สร้างมาจากนำลำไส้เล็กเอง ประกอบด้วยเอนไซม์หลายชนิด ดังนี้.

ใหม่!!: โซเดียมไบคาร์บอเนตและน้ำย่อย · ดูเพิ่มเติม »

แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์

แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (อังกฤษ: Magnesium hydroxide) สูตรเคมี Mg(OH)2 รู้จักกันในชื่อ "มิลค์ออฟแมกนีเซีย" (milk of magnesia) นิยมใช้เป็นยาลดกรดหรือยาระบาย แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ในรูปของแร่รู้จักกันในชื่อ บรูไซต์ (brucite) แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มีฤทธิ์แทรกแซงการดูดซึมกรดโฟลิกและเหล็ก.

ใหม่!!: โซเดียมไบคาร์บอเนตและแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

แมงกะพรุนหนัง

แมงกะพรุนหนัง (Edible jellyfish.) เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกแมงกะพรุนสกุลหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Rhopilema เป็นแมงกะพรุนแท้ คือ แมงกะพรุนที่จัดอยู่ในชั้นไซโฟซัว มีร่างกายเป็นก้อนคล้ายวุ้นโปร่งใส ไม่มีสี มีรูปร่างคล้ายร่ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร บริเวณขอบร่มเป็นริ้วตรงกลางด้านเว้ามีส่วนยื่นออกไปเป็นช่อคล้ายดอกกะหล่ำที่มีปากอยู่ตรงกลาง แมงกะพรุนหนังดำรงชีวิตเป็นแพลงก์ตอน ไม่สามารถว่ายน้ำได้เอง แต่จะมีการเคลื่อนที่ด้วยการล่องลอยไปตามกระแสน้ำและการพัดพาไปตามคลื่นลม โดยแมงกะพรุนหนังจัดเป็นแมงกะพรุนที่สามารถรับประทานได้ ชาวประมงจะจับกันในเวลากลางคืน ด้วยการล่อด้วยแสงไฟสีเขียว เมื่อได้แล้วจะนำไปล้างด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนตและสารส้ม เพื่อให้เมือกหลุดจากตัวแมงกะพรุนและทำให้มีเนื้อที่แข็งขึ้น ก่อนจะนำไปพักไว้ เพื่อปรุงหรือเป็นส่วนผสมในอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ยำ, เย็นตาโฟ หรือสุกี้ อย่างไรก็ตาม แมงกะพรุนหนังก็ยังมีเข็มพิษที่มีพิษอยู่เช่นกันทุกชนิด แต่ทว่ามีพิษไม่ร้ายแรง เพียงโดนแล้วทำให้เกิดอาการระคายเคืองเท่านั้น.

ใหม่!!: โซเดียมไบคาร์บอเนตและแมงกะพรุนหนัง · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียมคาร์บอเนต

แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) เป็นสารประกอบมีสูตรเคมีคือ CaCO3 คาร์บอเนต ไม่ละลายในน้ำ แต่สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและ คาร์บอนไดออกไซด์แล้วกลายเป็นแคลเซียมไบคาร์บอเนต (ซึ่งมีสูตรเคมีคือ Ca (HCO3) 2) แคลเซียมไบคาร์บอเนตละลายในน้ำได้เล็กน้อย ในธรรมชาติพบในรูปดังนี้.

ใหม่!!: โซเดียมไบคาร์บอเนตและแคลเซียมคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียมไฮดรอกไซด์

แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (calcium hydroxide) เป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ Ca(OH)2 ลักษณะเป็นผลึกไม่มีสีหรือผงสีขาว ได้จากการเจือจางแคลเซียมออกไซด์กับน้ำ สารละลายอิ่มตัวของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ รู้จักในชื่อน้ำปูนใ.

ใหม่!!: โซเดียมไบคาร์บอเนตและแคลเซียมไฮดรอกไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

โซเดียมคาร์บอเนต

ซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซดา แอช หรืออีกชื่อคือ โซดาซักผ้า สูตรเคมี คือ Na2CO3 เป็นสารประกอบเกลือของกรดคาร์บอนิก มีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น สามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ดี ละลายได้ในน้ำ มีฤทธิ์เป็นด่างแก่เมื่อละลายน้ำ ละลายได้เล็กน้อยในแอลกอฮอล์ พบในขี้เถ้าของพืชหลายชนิดและสาหร่ายทะเล (จึงได้ชื่อว่า โซดา แอช เนื่องจาก แอช ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ขี้เถ้า) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น แก้ว เซรามิคส์ กระดาษ ผงซักฟอก สบู่ การแก้ไขน้ำกระด้าง โซเดียมคาร์บอเนต พบได้ในธรรมชาติในเขตแห้งแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งแร่ที่เกิดจากทะเลสาบที่ระเหยแห้งไป ในสมัยอียิปต์โบราณ มีการขุดแร่ที่เรียกว่า เนทรอน (natron) (ซึ่งเป็นเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมคาร์บอเนต (หรือ โซดา แอช) และโซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้ง โซดา) และมีโซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) และโซเดียมซัลเฟต ปนอยู่เล็กน้อย) จากก้นทะเลสาบที่แห้ง ใกล้แม่น้ำไนล์ และนำมาใช้ในการทำมัมมี่ ใน ปี พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) พบแหล่งแร่โซเดียมคาร์บอเนตขนาดใหญ่ใกล้แม่น้ำกรีนริเวอร์ รัฐไวโอมิง สหรัฐอเมริกา ทำให้สหรัฐขุดแร่มาใช้แทนการผลิตทางกรรมวิธีทางเคมี ในประเทศอื่น ๆ การผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกรรมวิธีทางเคมีที่เรียกว่า กระบวนการโซลเวย์ (Solvay process) ซึ่งค้นพบโดย เออร์เนส โซลเวย์ นักอุตสาหกรรมเคมีชาวเบลเยี่ยม ในปี พ.ศ. 2404 (ค.ศ. 1861) โดยเปลี่ยน โซเดียมคลอไรด์ (น้ำเกลือ) เป็น โซเดียมคาร์บอเนต โดยใช้ แอมโมเนีย และ แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และสารที่เหลือจากกระบวนการมีเพียง แคลเซียมคลอไรด์ ซึ่งไม่เป็นพิษแม้ว่าอาจก่อให้เกิดความระคายเคืองได้ และ แอมโมเนียนั้นยังสามารถนำกลับมาใช้ได้อีก ทำให้กระบวนการโซลเวย์มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่ากรรมวิธีแบบเดิมมาก จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตอย่างแพร่หลาย ในคริสต์ศตวรรษ 1900 โซเดียมคาร์บอเนต 90% ที่ผลิต ใช้วิธีการนี้ และยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน เดิมนั้นการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตทำโดยกระบวนเคมีที่เรียกว่า กระบวนการเลอบลังก์ (Leblanc process) ซึ่งค้นพบโดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อ นิโคลาส เลอบลังก์ ในปี พ.ศ. 2334 (ค.ศ. 1791) โดยใช้ โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง) กรดซัลฟูริก (กรดกำมะถัน) แคลเซียมคาร์บอเนต (หินปูน) และถ่าน แต่กรดไฮโดรคลอริค (กรดเกลือ) ที่เกิดจากกระบวนการนี้ ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ และแคลเซียมซัลไฟด์ ที่เหลือจากกระบวนการทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องจากโซเดียมคาร์บอเนตเป็นสารเคมีพื้นฐานในอุตสาหกรรมหลายชนิด ทำให้มีการผลิตโซเดียมคาร์บอเนตโดยกรรมวิธีนี้ และเป็นกรรมวิธีหลักมาจนถึงช่วงปี พ.ศ. 2423 - 2433 (ช่วง ค.ศ. 1880 - 1890) หลังการค้นพบกระบวนการโซลเวย์ กว่า 20 ปี โรงงานผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตที่ใช้กระบวนการ เลอบรังค์แห่งสุดท้ายปิดลงในช่วงปี พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920).

ใหม่!!: โซเดียมไบคาร์บอเนตและโซเดียมคาร์บอเนต · ดูเพิ่มเติม »

เบเกิล

กิลกับครีมชีส และ ปลาแซลมอนรมควัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของครัวอเมริกัน-ยิว เบเกิล (bagel, beigel) กำเนิดในประเทศโปแลนด์ มีลักษณะเป็นรูปวงแหวน ทำจากแป้งสาลี ขนาดประมาณ 1 กำมือ นำไปต้มในน้ำเดือดสักพักหนึ่ง แล้วนำไปอบต่อ จะได้เนื้อภายในที่แน่นและนิ่ม กับเนื้อภายนอกสีอมน้ำตาล มักโรยหน้าด้วยงาดำ บ้างอาจโรยเกลือบนเบเกิล ทั้งยังมีแป้งประเภทต่าง ๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบ เช่น ข้าวไรย์ หรือแป้งจากธัญพืชไม่ขัดสีEncyclopædia Britannica (2009), retrieved February 24, 2009 from Encyclopædia Britannica Online เบเกิลเป็นที่นิยมในประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในเมืองที่มีประชากรชาวยิวอาศัยจำนวนมาก วิธีการทำเบเกิลนั้นมีหลากหลาย เช่น เบเกิลที่ทำในเบเกอรี หรือเบเกิลประเภทแช่แข็งที่หาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศเหล่านั้น เบเกิลชนิดที่เป็นวงกลมและมีรูตรงกลางออกแบบมาเมื่อหลายร้อยปีก่อน ซึ่งมีข้อดีหลาย ๆ อย่าง นอกจากการอบ ยังสามารถหยิบจับง่ายและยังเป็นจุดเด่นทำให้น่าสนใจอีกด้ว.

ใหม่!!: โซเดียมไบคาร์บอเนตและเบเกิล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

โซเดียม ไบคาร์บอเนต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »