โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แอตลัส

ดัชนี แอตลัส

แอตลัส อาจหมายถึง.

9 ความสัมพันธ์: กระจุกดาวลูกไก่มหาสมุทรแอตแลนติกจงประสาทความยุติธรรม แม้ฟ้าจะถล่มก็ตามทีดาวบริวารของดาวเสาร์ไพลยาดีสไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์...เพอร์โซนา 3เพอร์โซนา 4เมกามิเทนเซย์

กระจุกดาวลูกไก่

กระจุกดาวลูกไก่ หรือ กระจุกดาวไพลยาดีส (Pleiades) หรือวัตถุเมสสิเยร์ M45 หรือ ดาวพี่น้องทั้งเจ็ด เป็นกระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาววัว ประกอบด้วยดาวฤกษ์ระดับ B ที่มีประวัติการสังเกตมาตั้งแต่สมัยกลาง นับเป็นหนึ่งในกระจุกดาวที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด และอาจเป็นกระจุกดาวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยตาเปล่า กระจุกดาวนี้ประกอบด้วยดาวฤกษ์สีน้ำเงินที่มีอายุราว 100 ล้านปี แต่เดิมเคยเชื่อว่าเศษฝุ่นที่ทำให้เกิดการสะท้อนแสงจาง ๆ เรืองรองรอบดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดน่าจะเป็นเศษที่หลงเหลือจากการก่อตัวของกระจุกดาว (จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เนบิวลามายา ตามชื่อดาวมายา) แต่ปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เป็นเพียงฝุ่นเมฆในสสารระหว่างดาวที่ดาวฤกษ์กำลังเคลื่อนผ่านเท่านั้น นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่ากระจุกดาวนี้จะมีอายุต่อไปอีกอย่างน้อย 250 ล้านปี หลังจากนั้นก็จะกระจัดกระจายออกไปเนื่องจากปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงที่เกิดจากดาราจักรเพื่อนบ้านใกล้เคียง.

ใหม่!!: แอตลัสและกระจุกดาวลูกไก่ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: แอตลัสและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

จงประสาทความยุติธรรม แม้ฟ้าจะถล่มก็ตามที

งประสาทความยุติธรรม แม้ฟ้าจะถล่มก็ตามที (do justice and let the sky fall หรือ let justice be done though the heavens fall"Fiat justitia, ruat caelum"; 2009: Online.; fiat justitia ruat caelum, เฟอัตจูสติเทียรูอัตคีลุม \ˌfē-ˌät-yu̇s-ˈti-tē-ä ˌru̇-ˌät-ˈkī-ˌlu̇m\) เป็นภาษิตภาษาละตินทางกฎหมายซึ่งบ่งบอกถึงความเชื่อว่า ความยุติธรรมจักต้องมีอยู่ไม่ว่าในสถานการณ์รูปแบบใดก็ตาม โดยชาลส์ ซัมเมอร์ (Charles Summer) นักการเมืองผู้รณรงค์ให้เลิกทาสแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 กล่าวว่าภาษิตนี้ไม่ได้มีที่มาจากสมัยคลาสสิกแต่อย่างใด แม้จะเชื่อกันว่าเป็นคำของ ลูเชิส คาลเพอร์นิเอิส พิโซ ซีโซนิเนิส (Lucius Calpurnius Piso Caesoninus) รัฐบุรุษในสมัยโรมันโบราณผู้เป็นสสุระของจูเลียส ซีซาร์ ก็ตาม.

ใหม่!!: แอตลัสและจงประสาทความยุติธรรม แม้ฟ้าจะถล่มก็ตามที · ดูเพิ่มเติม »

ดาวบริวารของดาวเสาร์

ระบบดาวเสาร์ (ภาพประกอบรวม) วงแหวนดาวเสาร์ตัดผ่านฉากหลังที่มีดาวบริวารไททัน (รูปเสี้ยวขอบสีขาว) และดาวบริวารเอนเซลาดัส (ขวาล่างสีดำ) ปรากฏอยู่ ดาวเสาร์มีดาวบริวารซึ่งได้รับการยืนยันวงโคจรแล้ว 62 ดวง โดย 53 ดวงในจำนวนนี้มีชื่อเรียกแล้วและส่วนใหญ่มีขนาดค่อนข้างเล็ก แต่ก็มีอยู่ 7 ดวงที่มีขนาดใหญ่พอที่จะคงสภาพตัวเองเป็นทรงกลมได้ (ดังนั้นดาวบริวารเหล่านี้อาจได้รับการจัดเป็นดาวเคราะห์แคระหากพวกมันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง) นอกจากจะมีวงแหวนที่กว้างและหนาแน่นแล้ว ระบบดาวเสาร์ยังเป็นระบบดาวเคราะห์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดภายในระบบสุริยะอีกด้วย ตัวอย่างเช่น ดาวบริวารที่มีชื่อเสียงอย่างดาวบริวารไททัน ที่มีชั้นบรรยากาศคล้ายคลึงกับโลก ทั้งยังมีภูมิทัศน์เป็นทะเลสาบไฮโดรคาร์บอนและโครงข่ายแม่น้ำ และดาวบริวารเอนเซลาดัสที่ซ่อนแหล่งน้ำไว้ภายใต้พื้นผิวของมัน เป็นต้น ดาวบริวาร 22 ดวงของดาวเสาร์เป็นบริวารที่มีวงโคจรปกติ คือ มีวงโคจรไปในทางเดียวกับดาวดวงอื่น ๆ และเอียงทำมุมกับเส้นศูนย์สูตรของดาวเสาร์ไม่มากนัก นอกจากบริวาร 7 ดวงหลักแล้ว มี 4 ดวงเป็นดาวบริวารโทรจัน (หมายถึงกลุ่มดาวบริวารเล็ก ๆ ที่โคจรไปตามเส้นทางของดาวบริวารดวงใหญ่กว่าอีกดวงหนึ่ง) อีก 2 ดวงเป็นดาวบริวารร่วมวงโคจร และอีก 2 ดวงโคจรอยู่ภายในช่องว่างระหว่างวงแหวนดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้ได้รับการตั้งชื่อตามธรรมเนียมเดิม คือ ตามชื่อของบรรดายักษ์ไททันหรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพแซตเทิร์นของชาวโรมัน (หรือเทพโครนัสของกรีก) ส่วนดาวบริวารที่เหลืออีก 38 ดวง ทั้งหมดมีขนาดเล็กและมีวงโคจรผิดปกติ คือ มีวงโคจรอยู่ห่างจากดาวเสาร์มากกว่า เอียงมากกว่า โดยมีทั้งไปทางเดียวกันและสวนทางกับทิศทางการหมุนรอบตัวเองของดาวเสาร์ ดาวบริวารเหล่านี้อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์ดึงมา หรืออาจเป็นเศษซากของวัตถุขนาดใหญ่ที่เข้าใกล้ดาวเสาร์มากเกินไปจนถูกแรงน้ำขึ้นน้ำลงของดาวเสาร์ฉีกออกเป็นเสี่ยง ๆ เราแบ่งกลุ่มของพวกมันตามลักษณะวงโคจรได้เป็นกลุ่มอินูอิต กลุ่มนอร์ส และกลุ่มแกลิก แต่ละดวงตั้งชื่อตามเทพปกรณัมที่สอดคล้องกับกลุ่มที่มันสังกัดอยู่ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบขึ้นจากก้อนน้ำแข็งที่มีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยเมตร แต่ละก้อนโคจรรอบดาวเสาร์ไปตามเส้นทางของตนเอง ดังนั้น เราจึงไม่สามารถระบุจำนวนแน่นอนของดาวบริวารของดาวเสาร์ได้ เนื่องจากไม่มีเส้นแบ่งประเภทชัดเจนระหว่างวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากที่ประกอบขึ้นเป็นแถบวงแหวนกับวัตถุขนาดใหญ่ที่ได้รับการตั้งชื่อและถือเป็นดาวบริวารแล้ว แม้เราจะค้นพบ "ดาวบริวารเล็ก ๆ" (moonlets) อย่างน้อย 150 ดวงจากการรบกวนที่มันก่อขึ้นกับวัตถุอื่นที่อยู่ข้างเคียงภายในวงแหวน แต่นั่นเป็นตัวอย่างเพียงน้อยนิดของจำนวนประชากรทั้งหมดของวัตถุเหล่านั้นเท่านั้น ดาวบริวารที่ได้รับการยืนยันแล้วจะได้รับการตั้งชื่อถาวรจากสหภาพดาราศาสตร์สากล ประกอบด้วยชื่อและลำดับที่เป็นตัวเลขโรมัน ดาวบริวาร 9 ดวงที่ถูกค้นพบก่อนปี ค.ศ. 1900 (ซึ่งฟีบีเป็นดวงเดียวที่มีวงโคจรแบบผิดปกติ) มีหมายเลขเรียงตามระยะห่างจากดาวเสาร์ออกมา ส่วนดาวบริวารดวงอื่น ๆ มีหมายเลขเรียงตามลำดับที่ได้รับการตั้งชื่อถาวร อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังมีดาวบริวารดวงเล็ก ๆ ในกลุ่มนอร์สอีก 8 ดวงที่ไม่มีชื่อเรียกถาวร.

ใหม่!!: แอตลัสและดาวบริวารของดาวเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไพลยาดีส

วาดหญิงสาวเจ็ดพี่น้องไพลยาดีส ไพลยาดีส (Pleiades; Πλειάδες /pleiˈades/) เป็นชื่อเรียกหญิงสาวเจ็ดคนที่เป็นบริวารของเทพีอาร์เทมีสในตำนานเทพเจ้ากรีก พวกนางเป็นบุตรีทั้งเจ็ดของเทพไททันแอตลัสกับนางอัปสรทะเลไพลยานี จึงเป็นพี่น้องกันกับกลุ่มไฮยาดีส ไฮแอส และคาลิปโซ เมื่อรวมกลุ่มกับพวกไฮยาดีสมักเรียกรวมว่า Atlantides, Dodonides, หรือ Nysiades และยังได้เป็นอาจารย์พี่เลี้ยงผู้ดูแลแบคคัสด้วย ชื่อของหญิงสาวพี่น้องทั้งเจ็ด เรียงตามลำดับอาวุโสเป็นดังนี้ มายา (มีบุตรกับเทพซูสชื่อ เฮอร์มีส) อิเลกตรา ไทยิตตา อัลไซโอนี เซลีโน (มีบุตรกับโพไซดอนชื่อ ไลคัส และ ยูรีไฟลัส) แอสไตโรพี และไมโรพี น้องสุดท้อง ซึ่งถูกพรานโอไรออนติดตามเกี้ยว.

ใหม่!!: แอตลัสและไพลยาดีส · ดูเพิ่มเติม »

ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์...

ำหรับมหรสพที่ลาส เวกัส ดูบทความที่ อะนิวเดย์... สำหรับอัลบั้มบันทึกการแสดง ดูบทความที่ อะนิวเดย์... ไลฟ์อินลาสเวกัส ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิว... (Live in Las Vegas - A New Day...) คือผลงานสื่อวิดิทัศน์ที่ออกจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีของเซลีน ดิออนที่ 8 ออกจำหน่ายในวันที่ 7 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในยุโรป วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550ในฮ่องกง.

ใหม่!!: แอตลัสและไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์... · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์โซนา 3

ปกของเพอร์โซนา 3 ฉบับภาษาญี่ปุ่น เพอร์โซนา 3 เป็นเกมเล่นตามบทบาทสำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 เพอร์โซนา 3 เป็นภาคหนึ่งในชุด เพอร์โซนา ซึ่งเป็นชุดย่อยของเมกามิเทนเซย์ พัฒนาโดยบริษัทแอตลัส ออกวางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ก่อนจะจำหน่ายในอเมริกาเหนือ ในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยใช้ชื่อว่า Shin Megami Tensei: Persona 3 (ชินเมกามิเทนเซย์ เพอร์โซนา3) และวันที่29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551ในภาคพื้นยุโรปและออสเตรเลีย ในเวลาต่อมา แอตลัสยังได้จำหน่ายภาคเสริม เพอร์โซนา 3 FES ซึ่งได้ปรับระบบการเล่นและเพิ่มเนื้อหาใหม่เข้าไป ซึ่งภาค FESนี้ วางจำหน่ายในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2550 ก่อนจะจำหน่ายในอเมริกาเหนือ ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551 และในภาคพื้นยุโรปเมื่อวันที่17 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ภาคภาษาอังกฤษซึ่งจำหน่ายในอเมริกาเหนือยังแถมอาร์ตบุคและซาวแทร็คซีดีของเกมพร้อมกับเกมด้วย ซึ่งเพอร์โซนา 3 ก็ได้รับคำวิจารณ์ในด้านบวกอย่างมากมาย นอกจากนั้นยังมีภาครีเมคสำหรับเครื่องเพลย์สเตชันพอร์เทเบิลซึ่งมีกำนหดการวางจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: แอตลัสและเพอร์โซนา 3 · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์โซนา 4

ปกของเพอร์โซนา 4 เพอร์โซนา 4 เป็นเกมเล่นตามบทบาทสำหรับเครื่องเพลย์สเตชัน 2 เพอร์โซนา 4 เป็นภาคหนึ่งในชุด เพอร์โซนา ซึ่งเป็นชุดย่อยของเมกามิเทนเซย์ พัฒนาโดยบริษัทแอตลัส ออกวางจำหน่ายในญี่ปุ่นเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ก่อนจะจำหน่ายในอเมริกาเหนือ ในเดือน ธันวาคม ปีเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า Shin Megami Tensei: Persona 4 (ชินเมกามิเทนเซย์ เพอร์โซนา4) และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552ในภาคพื้นยุโรป ภาคภาษาอังกฤษซึ่งจำหน่ายในอเมริกาเหนือยังแถมอาร์ตบุคและซาวแทร็คซีดีของเกมพร้อมกับเกมเช่นเดียวกับเพอร์โซนา 3 และเพอร์โซนา 4 ก็ได้รับคำวิจารณ์ในด้านบวกอย่างมากมายเช่นเดียวกัน ตัวละครในเกมนั้นได้รับการออกแบบโดยชิเงโนริ โซเอะจิมะ ยกเว้นเพอร์โซนาที่เป็นปิศาจจากเมกามิเทนเซย์ภาคก่อนๆซึ่งออกแบบโดยคาซึมะ คาเนโกะ ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554 ได้เปิดตัวเว็บไซต์ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของภาคอะนิเมะ และออกฉายในญี่ปุ่นครั้งแรกในวันที่ 6ตุลาคม..

ใหม่!!: แอตลัสและเพอร์โซนา 4 · ดูเพิ่มเติม »

เมกามิเทนเซย์

มกามิเทนเซย์ (女神転生; Megami Tensei) เป็นเกมชุดของเกมอาร์พีจี ที่จำหน่ายโดยแอตลัส ยกเว้นเพียงเกมของเครื่องแฟมิคอมที่จัดจำหน่ายโดยนัมโค อีกทั้งยังมีการสร้างเป็นอะนิเมะและสินค้าอื่นๆ รวมถึงมังงะ เกมอาร์พีจีแบบเล่นบนโต๊ะ และเกมการ์ดสะสม เกมชุดเมกามิเทนเซย์นี้มีเค้าโครงมาจากนิยายเรื่อง ดิจิตัลเดวิล โมโนกาตาริ: เมกามิเทนเซย์ (デジタル・デビル物語 女神転生) ซึ่งประพันธ์โดย อายะ นิชิทานิ ชื่อเมกามิเทนเซย์ (เทพธิดากลับชาติ) นั้น มีที่มาจากตัวละครเอกคนหนึ่งของนิยายและเกมภาคแรก เป็นเทพธิดาอิซะนะมิกลับชาติมาเกิด แม้ว่าในเกมภาคต่อๆมาจะไม่กล่าวถึงเนื้อเรื่องของนิยายอีก แต่ยังคงชื่อไว้ โดยตั้งแต่ภาคของเครื่องซูเปอร์แฟมิคอมได้เปลี่ยนชื่อเป็น ชินเมกามิเทนเซย์ (真・女神転生) ยกเว้นเกมในภาคเสริมชุด มาจินเทนเซย์ (魔神転生; เทพมารกลับชาติ) ซึ่งเป็นแนววางแผนการรบ เนื้อหาของเกมชุดเมกามิเทนเซย์มักเป็นการต่อสู้ระหว่างมนุษย์กับอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งสัตว์ประหลาดในเกมจะเรียกว่า ปิศาจ (悪魔) แต่จริงๆแล้วปิศาจในเกมนี้ยังรวมถึงเทพเจ้าในตำนานของศาสนาต่างๆด้วย นอกจากเป็นศัตรูแล้ว ผู้เล่นยังสามารถชักชวนมาเป็น สหายมาร (仲魔) ได้และสามารถรวมร่างสหายที่เป็นพวกเดียวกันให้กลายเป็นตัวใหม่หรืออาวุธได้ เนื่องจากลักษณะที่เกี่ยวพันกับศาสนาและความเชื่อนี้เอง ทำให้เนื้อหาของเกมชุดเมกามิเทนเซย์หลายๆภาคค่อนข้างรุนแรง เช่น ในชินเมกามิเทนเซย์ภาคสองที่มียาเวห์ของคริสต์ศาสนาเป็นศัตรูตัวสุดท้าย นอกจากภาคหลักแล้ว เมกามิเทนเซย์ยังมีเกมชุดย่อยในภาคเสริมเป็นจำนวนมาก ได้แก.

ใหม่!!: แอตลัสและเมกามิเทนเซย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

แอทลัสแอตลาสแอตลาส (นิยายปรัมปรา)แอตเลิส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »