โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แม่น้ำสินธุ

ดัชนี แม่น้ำสินธุ

วเทียมแม่น้ำสินธุ แม่น้ำสินธุ (Indus River) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในปากีสถาน และเป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกอันดับที่ 21 ในแง่ของการไหลผ่านประจำปี มักถูกพูดว่าเป็นเส้นชีวิตของชาวปากีสถาน ต้นกำเนิดของแม่น้ำอยู่บริเวณที่ราบสูงทิเบต ใกล้กับทะเลสาบมานาซาโรวาร์ ความยาวรวมของแม่น้ำมีความยาว 3,180 กิโลเมตร (1,976 ไมล์) และมีการไหลของน้ำมากกว่า 1,165,000 ตร.กม.

36 ความสัมพันธ์: ชาวอารยันภาษาสันสกฤตภาษาปาลูลาภูมิภาคปัญจาบยุทธการที่แม่น้ำสินธุสินธพหาริตีอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุอินทผลัมไทยอเล็กซานเดอร์มหาราชจักรพรรดิศิวาจีทราวิฑะทะเลอาหรับทุพภิกขภัยที่ราบสูงทิเบตตะพาบม่านลายอินเดียประวัติศาสตร์อินเดียประวัติศาสตร์โลกประเทศปากีสถานปลานวลจันทร์เทศนกต้อยตีวิดน้ำท่วมน้ำตาลแม่น้ำบีอาสแม่น้ำราวีแม่น้ำสตลุชแม่น้ำคาบูลแม่น้ำเฌลัมแคว้นคันธาระโสม (ฮินดู)ไก่ฟ้าหลังเทาเอเชียใต้เทือกเขาหิมาลัยเขาไกรลาสเดรากาซีข่านเซด อัชชะฮีด

ชาวอารยัน

วอารยัน หรืออินโดอารยัน เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพวกอินโดยูโรเปียน ชาวตะวันตกเรียกว่า เปอร์เซีย หมายถึง อิหร่าน สันนิษฐานว่ามีภูมิลำเนาอยู่ทางตอนกลางของทวีปเอเซีย บริเวณรอบๆ ทะเลแคสเปียน ภายหลังได้เดินทางเข้าสู่อินเดียโดยฝ่ายเปอร์เซีย อัฟกานิสถาน และช่องเขาไคเบอร์ เข้ามาประมาณ 1,500 B.C. เข้ายึดครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ จากพวก ดารวิเดียน(ทราวิฑะ:สันสกฤต) และเป็นผู้วางรากฐานระบบวรรณะในประเทศอินเดีย ชาวอารยันเคารพบูชาเทพเจ้าหลายองค์ และถือว่าพระอินทร์เป็นหัวหน้าของเทพเจ้าทั้งปวง หมวดหมู่:ชนเผ่า.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและชาวอารยัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาปาลูลา

ษาปาลูลา หรือภาษาพาลูรา ภาษาอัศเรตี ภาษาดังคาริกวาร์ (ชื่อนี้ใช้โดยชาวโควาร์) มีผู้พูด 10,000 คน ในหุบเขาอัศเรตและบิโอรี เช่นเดียวกับในเทือกเขาปูร์(หรือปูริคัล) ในหุบเขาศิขิ และมีบางส่วนในหุบเขากัลกาตักในตำบลชิตรัล จังหวัดฟรอนเทียร์ตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน ภาษาที่ใกล้เคียงกันมีผู้พูดในหมู่บ้านเซาในอัฟกานิสถาน และตำบลคีร์ หมู่บ้านคาลโกตประชาชนในหุบเขาอัศเรตมีความสำคัญเพราะเป็นทางเปิดหลักเข้าสู่ชิตรัล คนส่วนใหญ่เข้าสู่ชิตรัลผ่านทางยอดเขาโลวารี สูง 10,230 ฟุต เพื่อเชื่อมต่อระหว่างชิตรัลกับตำบลคีร์และส่วนอื่นๆของปากีสถาน จะเข้าสู่อัศเรตเพื่อตรวจเครื่องแต่งกาย ผู้คนในอัศเรตมีต้นกำเนิดจากชิลาสในลุ่มแม่น้ำสินธุ พวกเขาเป็นผู้เฝ้าทางเข้าสู่ชิตรัล มีหลักฐานสนับสนุนจากจารึกท้องถิ่นและบันทึกทางประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามนอกจากข้อเท็จจริงที่ว่าประชาชนในชิลาสปัจจุบันพูดภาษาชีนาที่ใกล้เคียงกันแล้ว ความเชื่อมต่ออย่างอื่นได้สูญหายไปหมด ภาษาปาลูลาอยู่ในกลุ่มดาร์ดิก ในหมู่บ้านบางแห่ง ผู้พูดภาษาปาลูลาเริ่มน้อยลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาษาโควาร์ที่มีผู้พูดมากกว่า อย่างไรก็ตาม ผู้พูดภาษาปาลูลากลุ่มหลักในบิโอรีและอัศเรต ยังคงใช้ภาษาปาลูลา มีการตั้งสมาคมเพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาปาลูลา เพื่ออนุรักษ์ภาษา วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ มีการพัฒนาระบบการเขียน พิมพ์หนังสือในช่วง..

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและภาษาปาลูลา · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิภาคปัญจาบ

thumb ปัญจาบ (Punjab; ปัญจาบ: ਪੰਜਾਬ, پنجاب) เป็นภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียใต้ ประกอบด้วยดินแดนทางตะวันออกของประเทศปากีสถาน และทางเหนือของประเทศอินเดีย ทางฝั่งปากีสถานประกอบด้วยแคว้นปัญจาบและบางส่วนของดินแดนนครหลวงอิสลามาบาด ทางฝั่งอินเดียประกอบด้วยรัฐปัญจาบ บางส่วนของรัฐหรยาณา รัฐหิมาจัลประเทศ‎ รัฐฉัตตีสครห์‎ จังหวัดชัมมู และบางส่วนของดินแดนนครหลวงเดลี ชื่อปัญจาบมาจากภาษาเปอร์เซีย แปลว่า (ดินแดนแห่ง) แม่น้ำห้าสาย ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำเฌลัม, แม่น้ำจนาพ, แม่น้ำราวี, แม่น้ำสตลุช และแม่น้ำบีอัส แม่น้ำห้าสายนี้ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำสิน.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและภูมิภาคปัญจาบ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่แม่น้ำสินธุ

ทธการที่แม่น้ำสินธุ (Battle of Indus) เป็นการสู้รบระหว่างกองทัพมองโกลของเจงกีสข่านกับกองทัพควาเรซม์ของสุลต่านจาลัล อัดดิน มิงบูร์นู (Jalal ad-Din Mingburnu) เกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผล..

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและยุทธการที่แม่น้ำสินธุ · ดูเพิ่มเติม »

สินธพ

นธพ เป็นสัตว์หิมพานต์ตระกูลม้า ลักษณะภายนอกจะเป็นม้ามีหางเป็นปลาตัวสีดำ หางแปรงสีขาว อาศัยอยู่ในแม่น้ำหรือทะเลสาบ คำว่าสินธพหมายถึงม้าแม่น้ำ รากศัพท์มาจากคำว่าสินธพ หมายถึง ม้า พันธุ์ดีจากบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุซึ่งเป็นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่งของประเทศอินเดีย สินธพเป็นหนึ่งในสัตว์หิมพานต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประดับสระอโนดาดบริเวณพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุล.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและสินธพ · ดูเพิ่มเติม »

หาริตี

หารีตี (Hārītī) เป็นยักขินีในเมืองเปศวาร์และในเทพปกรฌัมทางภูมิภาคต้าเซี่ยซึ่งมีที่มาจากเทวีสวัสวดีในวัฒนธรรมฮินดู แต่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงตรงที่นางหารีตีเป็นปอบกินคน นางมีบุตรนับร้อยและรักบุตรเป็นอันมาก แต่จับบุตรของผู้อื่นมาเป็นภักษาหารให้แก่บุตรนาง ครั้นพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่แว่นแคว้นดังกล่าวจากทางแม่น้ำสินธุ ก็เกิดเรื่องเล่าใหม่ว่า สตรีผู้หนึ่งซึ่งบุตรถูกนางหาริตีลักไปได้วอนขอให้พระโคตมพุทธเจ้าทรงช่วยปกป้องบุตรนางด้วย พระองค์จึงทรงลักพาไอชี (Aiji) บุตรสุดท้องของนางหารีตีไปซ่อนไว้ได้บาตร นางหารีตีออกตามหาบุตรไปทั่วท้องจักรวาลแต่ก็ไม่พบ ที่สุด นางจึงมาอ้อนวอนขอความช่วยเหลือจากพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนาว่า นางเองบุตรหายไปหนึ่งเวลายังเป็นทุกข์ร้อนถึงเพียงนี้ แล้วบิดามารดาผู้อื่นซึ่งบุตรถูกนางลักไปฆ่ากินนั้นจนล่วงลับตลอดไปนั้นจะไม่ร้อนรนเป็นร้อยเท่าพันเท่าหรือ นางหารีตีเมื่อเข้าใจถึงความทุกข์ทรมานใจของบิดามารดาผู้อื่น จึงปวารณาตัวเป็นผู้คุ้มครองเด็กและเป็นอุบาสิกา ทั้งหันไปบริโภคผลมณีพืชแทนเนื้อเด็ก ภายหลัง นางกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการพิทักษ์รักษาเด็ก การคลอดง่าย การเลี้ยงดูอุ้มชูเด็กอย่างมีความสุข ชีวิตคู่ผัวตัวเมียสุขสันต์ปรองดอง และชีวิตครอบครัวร่มเย็นมั่นคง นางหาริตียังคุ้มครองพุทธศาสนิกชนผู้ปฏิบัติสัทธรรมปุณฑรีกสูตร และสตรีไร้บุตรยังมักกราบไหว้นางหาริตีเพื่อขอบุตรด้วย กล่าวได้ว่า เมื่อพระพุทธศาสนามาถึงดินแดนเปศวาร์แล้ว นางหาริตีก็เปลี่ยนจากยักขินีตามวัฒนธรรมเปอร์เซียดั้งเดิมไปเป็นผู้อภิบาลพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ทำนองเดียวกับที่ในช่วงต้นพระพุทธศาสนาใช้กลืนลัทธิวิญญาณนิยม ต่อมา วัฒนธรรมเกี่ยวกับนางหาริตีก็แพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเช่นญี่ปุ่น และหาริตีในวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นเรียก "คิชิโมะจิง" หรือ "คิชิโบะจิง".

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและหาริตี · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ

อาณาเขตอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นอารยธรรมในยุคสำริด (ประมาณ 2500 - 1900 ก่อนคริสตกาล) ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน ถือเป็นอารยธรรมยุคแรกๆของโลก ซึ่งนักโบราณคดีเรียกว่ายุคฮารัปปัน วัฒนธรรมเก่าสุดเริ่มจาก.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ · ดูเพิ่มเติม »

อินทผลัมไทย

อินทผลัมไทย เป็นพืชในวงศ์ปาล์ม ลำต้นเดี่ยว ดอกแยกเพศแยกต้น ผิวเกลี้ยง ออกดอกต่อเนื่อง ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยจำนวนมาก ช่อดอกออกระหว่างใบ ดอกช่อแบบ spadix ผลรูปรียาว สีเหลืองจนถึงสีส้มเปลือกชั้นนอกเรียบ ชั้นกลางเป็นเนื้อ ชั้นในเป็นเยื่อบาง มี 1 เมล็ด เป็นพืชที่พบตามธรรมชาติในที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุในปากีสถาน มีปลูกทั่วไปในอินเดีย พม่า ไทย ศรีลังกา ส่วนยอดของต้นใช้ผลิตน้ำตาลสด เพื่อทำเครื่องดื่ม หมักเหล้า หรือเคี่ยวเป็นน้ำตาล ใบใช้สานเสื่อและตะกร้า ผลและเมล็ดรับประทานได้ สกัดแป้งจากลำต้นได้ ลำต้นใช้ก่อสร้างและใช้ทำเชื้อเพลิง หรือใช้เป็นไม้ประดั.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและอินทผลัมไทย · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิศิวาจี

ฉัตรปตี ศิวาจีราเช โภสเล (छत्रपती शिवाजीराजे भोसले; 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1630 – 3 เมษายน ค.ศ. 1680) เป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่ง จักรวรรดิมราฐา ครองราชย์ตั้งแต่ 6 มิถุนายน..

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและจักรพรรดิศิวาจี · ดูเพิ่มเติม »

ทราวิฑะ

ทราวิก (Dravida) หรือ มิลักขะ (Milakkha) เป็นคำที่ชาวอารยัน (ชาวอิหร่านโบราณ) ใช้เรียกชาวทมิฬ ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเดิมของอินเดีย โดยดูถูกว่า ชาวพื้นเมืองที่มีความล้าหลัง มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีที่แปลกประหลาด และเป็นที่เกลียดชังของชาวอารยันผู้ดำรงอารยธรรมเมโสโปเตเมีย นอกจากนี้ มีคำกล่าวว่า "เรารับความเกลียดชังมิลักขะมาจากพระสงฆ์ในศาสนาลังกาวงศ์".

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและทราวิฑะ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอาหรับ

ทะเลอาหรับ ทะเลอาหรับ (Arabian Sea, بحر العرب) เป็นบริเวณหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศอินเดีย ทิศเหนือติดประเทศปากีสถานและประเทศอิหร่าน ทิศตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับ ส่วนที่ลึกที่สุดของทะเลอาหรับลึก 4,652 เมตร ส่วนที่ยาวที่สุดยาว 2,400 กิโลเมตร แม่น้ำสายที่ใหญ่ที่สุดที่ไหลลงทะเลอาหรับคือแม่น้ำสินธุ อาหรับ หมวดหมู่:คาบสมุทรอาหรับ.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและทะเลอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ทุพภิกขภัย

ทุพภิกขภัย (famine) คือสภาวะของการขาดแคลนอาหารอย่างกว้างขวางซึ่งอาจใช้กับสภาวะที่เกิดในสัตว์ชนิดใดก็ได้ วิกฤติการณ์ดังกล่าวมักจะตามมาด้วยสภาวะทุพโภชนาการ, การอดอยาก, โรคระบาด และการเพิ่มจำนวนการเสียชีวิต องค์ประกอบสำคัญในการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยก็ได้แก่การแจกจ่ายสารอาหารรอง เช่นวิตามินและ แร่ธาตุจากซองอาหารบำบัดที่ประกอบด้วยสารเสริมอาหาร หรือให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรงhttp://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,1914655, 00.html Can one pill tame the illness no one wants to talk about? ประเภทการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยแบบหนึ่งการให้เงินหรือให้ตั๋วแก่ผู้ที่อดอยากเพื่อนำไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นอาหารจากเกษตรกรท้องถิ่น แทนที่จะนำทุนไปซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค กฎหมายมักต้องระบุ เพราะเป็นการเสียเงินค่าขนส่ง การแก้ปัญหาความขาดแคลนระยะยาวก็ทำได้โดยการลงทุนในการเกษตรกรรมแบบใหม่ในภูมิภาคที่ยังไม่มีระบบดังกล่าว เช่นการใช้ปุ๋ย และสร้างระบบการชลประทานอันวิธีสำคัญที่ใช้ในการกำจัดความหิวโหยในประเทศพัฒนาแล้ว แต่กฎของธนาคารโลกจำกัดการให้ทุนช่วยเหลือเกษตรกร และการใช้ปุ๋ยก็ได้รับการต่อต้านจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางกลุ่มเพราะมีผลตามมาอย่างคาดไม่ถึง คือ ปริมาณน้ำและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ลดลงhttp://www.theatlantic.com/issues/97jan/borlaug/borlaug.htm Forgotten benefactor of humanity.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและทุพภิกขภัย · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบสูงทิเบต

ริเวณที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงทิเบต (Tibetan Plateau) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และมีพื้นที่บางส่วนในลาดักแคว้นแคชเมียร์ เป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร มีความสูงโดยเฉลี่ย 4,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล จึงได้ชื่อว่าเป็นหลังคาโลก เขตที่ราบสูงทิเบตเป็นเขตที่ราบสูงที่มีภูเขาล้อมถึง 3 ด้าน คือทางทิศเหนือมีเทือกเขาคุนหลุนทิศใต้มีเทือกเขาหิมาลัย และทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาคาราโครัม ที่ราบสูงทิเบตเป็นแหล่งต้นกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญหลายสายได้แก่ แม่น้ำเหลือง แม่น้ำแยงซี แม่น้ำสินธุ แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำโขง แม่น้ำพรหมบุตร หมวดหมู่:ที่ราบสูง หมวดหมู่:ภูมิภาคในทวีปเอเชีย.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและที่ราบสูงทิเบต · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบม่านลายอินเดีย

ตะพาบม่านลายอินเดีย (Indian narrow-headed softshell turtle, Small-headed softshell turtle; चित्रा इन्डिका) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ตะพาบ (Trionychidae) ตะพาบม่านลายอินเดีย มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับตะพาบม่านลายไทย (C. chitra) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน ที่พบในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ซึ่งเดิมเคยถูกจัดให้เป็นชนิดเดียวกัน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1986 นาวาอากาศเอก (พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์ นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวไทย ได้ศึกษาความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 ชนิดนี้อย่างละเอียด และพบว่ามีความแตกต่างกันมากทั้งขนาดลำตัว, ลวดลาย และสีสัน โดยใช้การแยกแยะสัดส่วนของกะโหลก และสัดส่วนของกระดองหลัง โดยรวมแล้วตะพาบม่านลายอินเดียมีขนาดเล็กกว่าตะพาบม่านลายไทย และมีสีคล้ำอมเขียวกว่า ตะพาบม่านลายอินเดีย กระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายหลักหลายประเทศในเอเชียใต้ เช่น อินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล อาทิ แม่น้ำคงคา, แม่น้ำสินธุ, แม่น้ำมหานที เป็นต้น เป็นตะพาบอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง มีราคาซื้อขายที่สูง ซึ่งปัจจุบันสามารถเพาะเลี้ยงได้แล้วในที่เลี้ยง.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและตะพาบม่านลายอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อินเดีย

ประวัติศาสตร์อินเดีย อารยธรรมอินเดีย อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมแหล่งอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและประวัติศาสตร์อินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์โลก

ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม (ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนา เช่นในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง..

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและประวัติศาสตร์โลก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลานวลจันทร์เทศ

ปลานวลจันทร์เทศ ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cirrhinus cirrhosus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวกลม หัวสั้น ปากเล็ก ริมฝีปากบางมีชายครุยเล็กน้อย ครีบหลังและครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก เกล็ดมีขนาดใหญ่ หัวและลำตัวด้านบนมีสีเงินหรือสีเงิมอมน้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีส้มหรือชมพู ขอบครีบมีสีคล้ำเล็กน้อย ตามีสีทอง มีขนาดเต็มที่โดยเฉลี่ย 50-60 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุดที่พบ คือ 1 เมตร มีพฤติกรรมชอบหากินในระดับพื้นท้องน้ำ โดยสามารถปรับตัวได้ดีในแหล่งน้ำนิ่ง และกินอาหารด้วยวิธีการแทะเล็มพืชน้ำขนาดเล็กและอินทรีย์สาร รูปร่างโดยทั่วไปคล้ายปลานวลจันทร์ (C. microlepis) ที่พบได้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ปลานวลจันทร์เทศเป็นปลาพื้นเมืองของทางเหนือของภูมิภาคเอเชียใต้ พบกระจายพันธุ์ในแม่น้ำคงคา, แม่น้ำสินธุจรดถึงแม่น้ำอิรวดีของพม่า นำเข้ามาสู่ประเทศไทยครั้งใน 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 จำนวน 100 ตัว โดยอธิบดีกรมประมงในขณะนั้น เพื่อทำการขยายพันธุ์เพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ โดยทำการเลี้ยงอยู่ที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดเชียงใหม่ และอีกครั้งเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2533 โดยผ่านมาจากประเทศลาว ซึ่งประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงจนขยายไปสู่ฟาร์มของเอกชนต่าง ๆ ในภาคอีสานจนกระจายมาสู่ภาคกลาง เช่นเดียวกับปลายี่สกเทศ (Labeo rohita) หรือปลากระโห้เทศ (Catla catla) ปลานวลจันทร์เทศที่อาศัยในแม่น้ำโขงสามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดีจนสามารถแพร่ขยายพันธุ์เองได้.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและปลานวลจันทร์เทศ · ดูเพิ่มเติม »

นกต้อยตีวิด

นกต้อยตีวิด หรือ นกกระต้อยตีวิด หรือ นกกระแตแต้แว้ด หรือ นกแต้แว้ด (red-wattled lapwing) เป็นนกที่สีสวยน่าดู พบได้ตามพื้นที่โล่งเกือบทุกสภาพทั่วประเทศ อยู่ในวงศ์นกหัวโต (Charadriidae) วงศ์ย่อย Vanellinae หรือ Charadriinae มีเสียงร้องเตือนภัยแหลมดังที่ไม่เหมือนใครว่า "แตแต้แวด" หรือตามคนพูดภาษาอังกฤษว่า did he do it หรือ pity to do it ทำให้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามเสียงร้องทั้งภาษาไทยและภาษาอื่น ๆ เป็นนกที่มักจะเห็นเป็นคู่ ๆ หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ แต่อาจจะอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ในฤดูหนาวที่ไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและนกต้อยตีวิด · ดูเพิ่มเติม »

น้ำท่วม

วัดไชยวัฒนารามที่ถูกน้ำท่วมในอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 น้ำท่วม เป็นการไหลล้นของห้วงน้ำซึ่งทำให้แผ่นดินจมอยู่ใต้น้ำ คำว่า "น้ำเอ่อล้น" (flowing water) ยังอาจใช้กับการไหลเข้าของกระแสน้ำ น้ำท่วมอาจเป็นผลของปริมาตรน้ำภายในแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำหรือทะเลสาบ ซึ่งไหลล้นหรือทลายคันดิน เป็นผลให้น้ำบางส่วนออกจากขอบเขตตามปกติของมัน ขณะที่ขนาดของทะเลสาบหรือแหล่งน้ำอื่นมีความแตกต่างกันตามการเปลี่ยนแปลงหยาดน้ำฟ้าและการละลายของหิมะตามฤดูกาล แต่น้ำนั้นมิใช่อุทกภัยที่สำคัญเว้นแต่น้ำนั้นออกมาคุกคามพื้นที่ดินที่มนุษย์ใช้ เช่น หมู่บ้าน นครหรือพื้นที่อยู่อาศัยอื่น น้ำท่วมยังสามารถเกิดในแม่น้ำได้ เมื่อการไหลนั้นเกินความจุของฝั่งน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หัวเลี้ยว (bend) หรือทางน้ำโค้งตวัด (meander) อุทกภัยมักทำความเสียหายแก่บ้านและธุรกิจหากตั้งอยู่ในที่ราบน้ำท่วมถึงตามธรรมชาติ ขณะที่ความเสียหายอันเกิดจากอุทกภัยนั้นแท้จริงแล้วหมดไปได้โดยการย้ายออกจากแม่น้ำหรือแหล่งน้ำอื่น หากตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้คนได้อาศัยและทำงานอยู่ริมน้ำเพื่อการยังชีพและได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวและการพาณิชย์ที่ถูกและง่ายโดยอาศัยอยู่ใกล้น้ำ การที่มนุษย์ยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมนั้นเป็นหลักฐานว่า มูลค่าที่สัมผัสได้ของการอาศัยอยู่ใกล้น้ำมีมากเกินมูลค่าของน้ำท่วมที่เกิดซ้ำเป็นเวล.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและน้ำท่วม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตาล

องน้ำตาลดิบ (ไม่ขัดและไม่ฟอกขาว) น้ำตาล เป็นชื่อเรียกทั่วไปของคาร์โบไฮเดรตชนิดละลายน้ำ โซ่สั้น และมีรสหวาน ส่วนใหญ่ใช้ประกอบอาหาร น้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน มีน้ำตาลหลายชนิดเกิดมาจากที่มาหลายแหล่ง น้ำตาลอย่างง่ายเรียกว่าโมโนแซ็กคาไรด์และหมายรวมถึงกลูโคส (หรือ เด็กซ์โตรส) ฟรุกโตส และกาแลกโตส น้ำตาลโต๊ะหรือน้ำตาลเม็ดที่ใช้เป็นอาหารคือซูโครส เป็นไดแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่ง (ในร่างกาย ซูโครสจะรวมตัวกับน้ำแล้วกลายเป็นฟรุกโตสและกลูโคส) ไดแซ็กคาไรด์ชนิดอื่นยังรวมถึงมอลโตส และแลกโตสด้วย โซ่ของน้ำตาลที่ยาวกว่าเรียกว่า โอลิโกแซ็กคาไรด์ สสารอื่น ๆ ที่แตกต่างกันเชิงเคมีอาจมีรสหวาน แต่ไม่ได้จัดว่าเป็นน้ำตาล บางชนิดถูกใช้เป็นสารทดแทนน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ เรียกว่าเป็น วัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาล (artificial sweeteners) น้ำตาลพบได้ทั่วไปในเนื้อเยื่อของพืช แต่มีเพียงอ้อย และชูการ์บีตเท่านั้นที่พบน้ำตาลในปริมาณความเข้มข้นเพียงพอที่จะสกัดออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ้อยหมายรวมถึงหญ้ายักษ์หลายสายพันธุ์ในสกุล Saccharum ที่ปลูกกันในเขตร้อนอย่างเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่สมัยโบราณ การขยายการผลิตเกิดขึ้นในคริสศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการสร้างไร่น้ำตาลในเวสต์อินดีส และอเมริกา เป็นครั้งแรกที่คนทั่วไปได้ใช้น้ำตาลเป็นสิ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำผึ้ง ชูการ์บีต โตเป็นพืชมีรากในที่ที่มีอากาศเย็นกว่าและเป็นแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 หลังจากมีวิธีสกัดน้ำตาลเกิดขึ้นหลายวิธี การผลิตและการค้าน้ำตาลเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์ มีอิทธิพลต่อการก่อตั้งอาณานิคม การมีอยู่ของทาส การเปลี่ยนผ่านไปสู่สัญญาแรงงาน การย้ายถิ่นฐาน สงครามระหว่างชาติที่ครอบครองน้ำตาลในศตวรรษที่ 19 การรวมชนชาติและโครงสร้างทางการเมืองของโลกใหม่ โลกผลิตน้ำตาลประมาณ 168 ล้านตันในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำบีอาส

แผนที่แม่น้ำบีอาส แม่น้ำบีอาส (Beas River; ब्यास; ਬਿਆਸ) เป็นแม่น้ำทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นหนึ่งในแม่น้ำใหญ่ทั้งห้าสาย (ปัญจนที) ของภูมิภาคปัญจาบและเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ มีความยาวรวม 470 กิโลเมตร (290 ไมล์) มีพื้นที่ลุ่มน้ำกว้างถึง 20,303 ตารางกิโลเมตร (7,839 ตารางไมล์) แม่น้ำบีอาสมีต้นน้ำอยู่ทางทิศใต้ของช่องเขาโรห์ตัง (Rohtang Pass) ในเทือกเขาหิมาลัย รัฐหิมาจัลประเทศ ตัดผ่านเขตมัณฑี (Mandi) และเข้าเขตกางครา (Kangra) ก่อนจะอ้อมเนินเขาศิวาลิกในเมืองโหศยารปุระ (Hoshiarpur) และไหลผ่านเป็นพรมแดนระหว่างเมืองอมฤตสาร์กับเมืองกปูรถลา (Kapurthala) ไปบรรจบกับแม่น้ำสตลุชที่พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองกปูรถลา แม่น้ำบีอาสเป็นแม่น้ำสายหนึ่งในสนธิสัญญาแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นข้อตกลงด้านทรัพยากรน้ำระหว่างอินเดียกับปากีสถาน ในพระเวทเรียกแม่น้ำบีอาสว่า "อรชิกิยา" (Arjikiya) อินเดียโบราณเรียก "วิปาศา" (Vipasha) และกรีกโบราณเรียก "ฮิฟาซิส" (Hyphasis) ในปีที่ 326 ก่อนคริสต์ศักราช หลังการต่อต้านของกองทหาร พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชทรงกำหนดให้แม่น้ำสายนี้เป็นพรมแดนด้านตะวันออกสุดของจักรวรรดิของพระองค์ และทรงสั่งให้สร้างแท่นบูชาสิบสองแห่งเพื่อระลึกถึงการขยายพระราชอำนาจ ช่วงศตวรรษที่ 20 แม่น้ำบีอาสมีบทบาทในด้านการชลประทานและการผลิตไฟฟ้าจากกระแสน้ำ มีการสร้างเขื่อนสองแห่งคือเขื่อนพอง (Pong Dam) และเขื่อนแพนโดห์ (Pandoh Dam) เพื่อใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน..

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและแม่น้ำบีอาส · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำราวี

แม่น้ำราวี (Ravi River, ਰਾਵੀ) เป็นแม่น้ำที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียและทางตะวันออกของประเทศปากีสถาน มีความยาวรวม 720 กิโลเมตร (450 ไมล์) เป็นหนึ่งในแม่น้ำในระบบแม่น้ำสินธุและหนึ่งในแม่น้ำห้าสายแห่งภูมิภาคปัญจาบ ในประวัติศาสตร์ยุคพระเวท เรียกแม่น้ำราวีว่า "อิราวดี" (Iravati หรือ Eeraveti–คนละสายกับแม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า) และมีบันทึกในคัมภีร์ฤคเวทว่า ยุทธการสิบกษัตริย์ที่เกิดขึ้นราวศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาลเกิดขึ้นใกล้กับแม่น้ำแห่งนี้ แม่น้ำราวีมีต้นกำเนิดที่เทือกเขาหิมาลัย ในเขตกางครา รัฐหิมาจัลประเทศ อินเดีย มีลำน้ำสาขาที่สำคัญสองสายคือ แม่น้ำพุทธุหรือพุธิลและแม่น้ำไมหรือโธนา แต่สายหลักเริ่มที่ตีนเขาแดลเฮาซีในเขตจัมพา ผ่านที่ราบปัญจาบใกล้เมืองมาโธปุระและปฐานโกฏ ก่อนจะไหลตามพรมแดนอินเดีย-ปากีสถานเป็นระยะทาง 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) และไหลเข้าปากีสถานไปบรรจบกับแม่น้ำจนาพ แม่น้ำราวีเป็นหนึ่งในแม่น้ำสามสาย (อีกสองสายคือ แม่น้ำบีอาสและแม่น้ำสตลุช) ที่อยู่ในการดูแลของอินเดียตามสนธิสัญญาแม่น้ำสินธุ มีการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำในด้านประมงและชลประทาน และมีการสร้างเขื่อนรันชีตสาครขึ้นเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เขื่อนแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้เมืองปฐานโกฏ เริ่มสร้างในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและแม่น้ำราวี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสตลุช

แผนที่แม่น้ำสตลุช แม่น้ำสตลุช (Sutlej River, Satluj River; ਸਤਲੁਜ; शतद्रु (ศตทรุ)) เป็นแม่น้ำในประเทศอินเดียและปากีสถาน เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดและอยู่ทางตะวันออกสุดของบรรดาแม่น้ำห้าสาย (ปัญจนาที) ของภูมิภาคปัญจาบ และเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ มีความยาวประมาณ 1,500 กิโลเมตร (932 ไมล์) มีต้นน้ำอยู่ที่ทะเลสาบรากษสตาล (Lake Rakshastal) ทางใต้ของเขาไกรลาสในทิเบต ก่อนจะไหลไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง 260 กิโลเมตร (160 ไมล์) เข้าประเทศอินเดียทางช่องเขาชิปกีลา (Shipki La) แล้วไหลลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทาง 360 กิโลเมตร (220 ไมล์) ไปรวมกับแม่น้ำบีอาส ที่ใกล้เมืองมาคู (Makhu) รัฐปัญจาบ แม่น้ำสายนี้จะไหลเข้าประเทศปากีสถานต่อไปเพื่อไปรวมกับแม่น้ำจนาพ กลายเป็นแม่น้ำปันชนัทที่ตำบลพหาวัลปุระ (Bahawalpur) แคว้นปัญจาบ และไหลไปรวมกับแม่น้ำสินธุในที่สุด ในสมัยโบราณหุบเขาแม่น้ำสตลุชตอนต้นถูกเรียกว่า หุบเขาครุฑ โดยชาวจางจุง (Zhangzhung) ซึ่งอาศัยอยู่ในทิเบตตะวันตก ซากปรักหักพังของเมืองจางจุงยังคงพบเห็นได้ในปัจจุบัน ชาวกรีกโบราณเรียกแม่น้ำสตลุชว่า "ซาราดรอส" (Zaradros) แม่น้ำสตลุชเป็นหนึ่งในแม่น้ำที่อยู่ในสนธิสัญญาแม่น้ำสินธุ ซึ่งเป็นข้อตกลงด้านทรัพยากรน้ำระหว่างอินเดียกับปากีสถาน อินเดียสร้างเขื่อนหลายแห่ง เช่น เขื่อนภาขรา (Bhakra Dam) โรงไฟฟ้าพลังน้ำคาร์ชัมวังทู (Karcham Wangtoo Hydroelectric Plant) และเขื่อนนาถปาฌากรี (Nathpa Jhakri Dam) เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า อินเดียเคยมีโครงการที่จะขุดคลองความยาว 214 กิโลเมตร (133 ไมล์) เพื่อเชื่อมแม่น้ำสตลุชกับแม่น้ำยมุนา (คนละสายกับแม่น้ำยมุนาในบังกลาเทศ).

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและแม่น้ำสตลุช · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำคาบูล

แผนที่แสดงแม่น้ำสินธุและแม่น้ำสาขา สะพานเบซูดข้ามแม่น้ำคาบูลที่จาลาลาบัด เมื่อ 30 ก.ค. 2552 แม่น้ำคาบูลในบริเวณสะพานเบซูดที่จาลาลาบัด เมื่อ 30 ก.ค. 2552 แม่น้ำคาบูล (دریای کابل; کابل سیند; कुभा) อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอัฟกานิสถานมีกำเนิดจากเทือกเขาบาบา เป็นแม่น้ำสายหลักในภาคตะวันออกของอัฟกานิสถาน ไหลผ่านจังหวัดคาบูลไปบรรจบกับสาขาที่ไหลมาจากฉนวนวาคาน ไหลเข้าสู่ประเทศปากีสถานทางด้านเหนือของช่องเขาไคเบอร์เป็นระยะทางรวม 700 กิโลเมตรแล้วจึงรวมกับแม่น้ำสินธุ น้ำในแม่น้ำคาบูลในช่วงฤดูร้อนมาจากหิมะที่ละลาย สาขาที่ใหญ่ที่สุดเป็นแม่น้ำกุนาร์ ซึ่งเริ่มต้นจากแม่น้ำมัสตุช ไหลมาจากธารน้ำแข็งเชียนตาร์ในไครัล และหลังจากที่ไหลลงใต้เข้าไปในอัฟกานิสถาน รวมกับแม่น้ำบัชกัลที่ไหลจากนูเรสถาน แม่น้ำกุนาร์นี้ไปบรรจบกับแม่น้ำคาบูลที่จาลาลาบัด ทั้งๆที่แม่น้ำกุนาร์มีปริมาณน้ำมากกว่าแม่น้ำคาบูล แต่ยังคงเรียกชื่อเป็นแม่น้ำคาบูลหลังจากที่บรรจบกัน เป็นเพราะมีนัยสำคัญทางการเมืองและประวัติศาสตร์ของชื่อ.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและแม่น้ำคาบูล · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเฌลัม

แผนที่แม่น้ำเฌลัม แม่น้ำเฌลัม (Jhelum River, Jehlam River; ਜੇਹਲਮ) เป็นแม่น้ำสายหลักในประเทศอินเดียและปากีสถาน เป็นหนึ่งในแม่น้ำใหญ่ทั้งห้าสาย (ปัญจนที) ของภูมิภาคปัญจาบและเป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำสินธุ มีความยาวรวม 725 กิโลเมตร (450 ไมล์) แม่น้ำเฌลัมเป็นแม่น้ำที่อยู่ทางตะวันตกสุดของภูมิภาคปัญจาบ มีต้นน้ำอยู่ที่บ่อน้ำพุเวรีนาค ตีนเขาปีร์ปัญชัล (Pir Panjal) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐชัมมูและกัศมีร์ ไหลผ่านเมืองศรีนครและทะเลสาบวูลาร์ ก่อนจะไหลรวมกับแม่น้ำคุนฮาร์ในหุบเขาคากาน แม่น้ำสายนี้ไหลเข้าแคว้นปัญจาบในปากีสถานที่เขตเฌลัมและไหลผ่านที่ราบปัญจาบไปรวมกับแม่น้ำจนาพที่เขตฌังค์ (Jhang) ชื่อสันสกฤตของแม่น้ำเฌลัมคือ "วิตัสตา" (Vitasta) ซึ่งตามตำนานเป็นพระนามที่พระศิวะประทานให้พระปารวตีหลังลงมาจุติเป็นแม่น้ำเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายตามคำร้องขอของฤๅษีกัศยป ชื่อนี้ยังปรากฏในคัมภีร์ฤคเวทหลายครั้ง ในภาษากรีกโบราณเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า "ฮือดัสเปส" หรือ "ไฮแดสพีส" (Hydaspes) โดยในเทพปกรณัมกรีกกล่าวว่า ไฮแดสพีสเป็นบุตรของธอมัส เทพเจ้าแห่งท้องทะเลกับอิเล็กตรา หนึ่งในกลุ่มไพลยาดีส มีพี่น้องคือไอริสและฮาร์พี แม่น้ำเฌลัมเป็นหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในประวัติศาสตร์ ในปีที่ 326 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชและกองทัพข้ามแม่น้ำแห่งนี้เพื่อทำศึกกับพระเจ้าโปรสในยุทธการที่แม่น้ำไฮแดสพีส (Battle of the Hydaspes) ในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและแม่น้ำเฌลัม · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นคันธาระ

แผนที่เอเชียใต้ แสดงภาพแคว้นอินเดียโบราณทั้ง 16 แห่ง ซึ่งเรียกรวมกันว่ามหาชนบท แคว้นคันธาระ อยู่ในหุบเขาเปศวาร์ ประเทศปากีสถาน ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาสุไลมานติดพรมแดนของอัฟกานิสถานและมีแม่น้ำสินธุไหลขนาบข้างด้วย ดินแดนนี้ได้รับวัฒนธรรมอินเดียและผสมกับวัฒนธรรมกรีกไซเธียน ปาร์เธียน และกุษาณะ ซึ่งอยู่รอบคันธาระเป็นเหตุให้เกิดศิลปะแบบคันธาระ และภาษาคันธารี ดังนั้นแคว้นนี้จึงถือเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาสมัยโบราณ ซึ่งมีการค้นพบธรรมบทภาษาคันธารีที่ค้นพบใน เมืองโขตาน เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีนนอกจากนั้นยังพบคัมภีร์ใบลานและเปลือกไม้ ขณะนี้เก็บไว้ที่ภาควิชาตะวันออกศึกษา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย และมีบางส่วนเก็บไว้ที่หอสมุดแห่งชาติ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส คัมภีร์ที่พบในอัฟกานิสถานว่าด้วยเรื่องปฐมเทศนา คำสวดมนต์ เป็นต้น เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงคาบูล อัฟกานิสถาน จากนั้นตามฝาผนังถ้ำก็มีรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจริญสมาธิภาวนา ห่มผ้าสีขาวอมเหลืองด้ว.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและแคว้นคันธาระ · ดูเพิ่มเติม »

โสม (ฮินดู)

ม (ออกเสียง โสม หรือ โสมะ) (ภาษาสันสกฤต) หรือ เหาม (ภาษาอเวสตะ) มีรากศัพท์จากภาษาโปรโตอินเดีย-อิหร่าน "*sauma-" หมายถึง เครื่องดื่มที่ใช้ในพิธีกรรมโบราณ นับว่ามีความสำคัญอย่างมากในวัฒนธรรมอินเดีย-อิหร่านยุคต้นๆ และภายหลังยังมีความสำคัญในวัฒนธรรมเปอร์เซียและวัฒนธรรมพระเวท มักจะกล่าวถึงเสมอในฤคเวทซึ่งมีบทสวดหลายบทบรรยายถึงคุณสมบัติของโสมว่า ช่วยชูกำลัง และทำให้มึนเมา ในคัมภีร์อะเวสตะของเปอร์เซียโบราณ มีบทสวดหนึ่งหมวด เรียกว่า ยัษฏ์ (Yasht) มีเนื้อหากล่าวว่าถึง เหามะ ทั้งหมวด (มี 24 บทด้วยกัน) นอกจากนี้ ตามคติของฮินดู "โสม" ยังหมายถึงเทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ด้วย ในคัมภีร์พระเวท มีคำบรรยายถึงการเตรียมน้ำโสมเอาไว้ว่า ทำได้โดยการค้นน้ำจากลำต้นของไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นบนภูเขา ซึ่งนักวิชาการในชั้นหลังสันนิษฐานเอาไว้ต่างๆ นานา บ้างก็ว่าเป็นเห็ดเมา พืชเสพย์ติดจำพวกกัญชา หรือป่านเหลือง (Ephedra) ทั้งในวัฒนธรรมพระเวท และวัฒนธรรมโซโรอัสเตอร์ คำว่าโสมนี้ หมายถึง ทั้งพืช เครื่องดื่ม และยังเป็นบุคลาธิษฐาน หมายถึงเทพเจ้า ซึ่งทั้ง 3 นี้ก่อให้เกิดนัยสำคัญทางศาสนาและปรัมปราคติขึ้น.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและโสม (ฮินดู) · ดูเพิ่มเติม »

ไก่ฟ้าหลังเทา

ก่ฟ้าหลังเทา (Kalij pheasant) เป็นไก่ฟ้าที่พบในป่าทึบโดยเฉพาะในตีนเขาของเทือกเขาหิมาลัย จากแม่น้ำสินธุไปทางตะวันตกจนถึงไทย มันถูกนำเข้าสู่รัฐฮาวาย (แต่ค่อน ข้างหายาก) ที่นั่นมันจัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่กินและแพร่กระจายพืชชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ตัวผู้มีขนหลากหลายขึ้นกับชนิดย่อย แต่อย่างน้อยก็มีสีขนดำออกฟ้า ขณะที่เพศเมียเป็นสีน้ำตาลทั้งตัว ทั้งสองเพศมีหนังสีแดงที่หน้า ขาออกเทาMcGowan, P. J. K. (1994).

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและไก่ฟ้าหลังเทา · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียใต้

แผนที่เอเชียใต้ สีเขียวเข้มแสดงเอเชียใต้โดยทั่วไป และสีเขียวอ่อนคือเขตที่สหประชาชาติหมายถึงเอเชียใต้ เอเชียใต้เป็นภูมิภาคของทวีปเอเชีย และเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์ มีพื้นที่กว้าง 4,480,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 12% ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า อนุทวีปอินเดีย ประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นสมาชิกขององค์กรความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation หรือ SAARC) ในบางครั้งพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของประเทศอัฟกานิสถาน ก็ถูกจำแนกให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียใต้ด้วย อนุภูมิภาคเอเชียใต้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและเอเชียใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาหิมาลัย

วเทียมของเทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางทิศใต้ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางทิศเหนือ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga) และยังประกอบด้วยยอดเขาที่มีความสูงมากกว่า 7,200 เมตร (23,600 ฟุต) มากกว่าหนึ่งร้อยยอด ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย) เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน เนปาล — พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ เทือกเขาหิมาลัยหมายรวมถึงเทือกเขาการาโกรัม ฮินดูกูช และเทือกเขาอื่น ๆ ที่เล็กกว่า เมื่อรวมกันแล้วเทือกเขาหิมาลัยเป็นระบบที่สูงที่สุดในโลก และเป็นบ้านของยอดเขาที่สูงที่สุด ซึ่งรวมถึงยอดเขาเอเวอเรสต์และเคทู.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและเทือกเขาหิมาลัย · ดูเพิ่มเติม »

เขาไกรลาส

กรลาส แผนที่แสดงที่ตั้ง เขาไกรลาส (कैलास ไกลาส; ทิเบต: གངས་རིན་པོ་ཆེ; 冈仁波齐峰; พินอิน: Gāngrénbōqí fēng) เป็นยอดเขาแห่งหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกของเขตปกครองตนเองทิเบต ทางตอนเหนือของยอดเขานันทาเทวีราว 100 ไมล์ มีความสูง 22,020 ฟุต จัดว่าเป็นยอดเขาสูงเป็นอันดับที่ 32 ของโลก และสูงเป็นที่ 19 ในบรรดายอดเขาของเทือกเขาหิมาลัย เป็นยอดเขาที่มีอายุกำเนิดมาจนถึงปัจจุบัน 50 ล้านปี ในศาสนาฮินดูเชื่อว่าเขาไกรลาสเป็นที่ประทับของพระศิวะ ในศาสนาพุทธมีคัมภีร์สารัตถปกาสินีระบุว่าเขาไกรลาสเป็นเขาที่ประเสริฐสุดในบรรดาภูเขาในป่าหิมพานต์ และยังปรากฏในศาสนาเชนและศาสนาบอนด้วย ตามความเชื่อของศาสนาต่าง ๆ เหล่านี้ เขาไกรลาสเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และเชื่อว่า คือแห่งเดียวกันกับเขาพระสุเมรุ เชิงเขาไกรลาส เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญหลายสายของภูมิภาคแห่งนี้ ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุ และยังมีทะเลสาบอีก 7 แห่งอยู่รายรอบ ซึ่งแห่งที่สำคัญ คือ "ทะเลสาบมานสโรวระ" หรือ "ทะเลสาบมานัสสะ" อยู่ทางเหนือของเขาไกรลาส ที่เชื่อกันว่า คือ "สระอโนดาต" ในป่าหิมพานต์ เชื่อกันว่าเป็นสถาน ๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของหงส์ และหงส์จะบินกลับมาที่นี่ทุกปี ทะเลสาบมานัส ได้ถูกอ้างอิงถึงในรามายณะและมหาภารตะ ที่ระบุว่า "ทะเลสาบมานัสอันศักดิ์สิทธิ์นี้ แม้แต่ใครได้ถูกต้องสัมผัสหรือนำเอามาล้างร่างกายหรือได้อาบน้ำในทะเลสาบนี้ ผู้นั้นจะได้ไปสู่สรวงสวรรค์ และถ้าใครได้ดื่มน้ำในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์นี้ ก็จะได้ขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ใกล้ที่สถิตของพระศิวะ" เขาไกรลาส ปกติจะปกคลุมด้วยหิมะและน้ำแข็งสีขาวโพลน จนได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ภูเขาสีเงิน" ("ไกรลาส" หรือ "ไกลาส" เป็นคำวิเศษณ์ในภาษาสันสกฤต แปลว่า "สีเงินยวง") ทุกปีจะมีผู้จารึกแสวงบุญตามศาสนาต่าง ๆ เดินทางมาที่นี่ โดยเชื่อว่าเป็นการบูชาและได้อยู่ใกล้พระศิวะ โดยทำการประทักษิณให้ครบ 39 รอบ เป็นการเคารพบูชาอันสูง.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและเขาไกรลาส · ดูเพิ่มเติม »

เดรากาซีข่าน

รากาซีข่าน (ڈیرہ غازی خان) เป็นเมืองในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสินธุ มีพื้นที่ราว 5,306 ตร.ไมล์ (13,740 ตร.กม.) มีโรงผลิตซีเมนต์ กาซี ข่าน บุตรชายหัวหน้าเผ่าบาลูซีเป็นผู้สร้างเมืองนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หมวดหมู่:เมืองในประเทศปากีสถาน หมวดหมู่:แคว้นปัญจาบ.

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและเดรากาซีข่าน · ดูเพิ่มเติม »

เซด อัชชะฮีด

ซด หรือ ซัยดฺ อัชชะฮีด เจ้าของมัซฮับซัยดีย์ เป็นบุตรของอิมามซัยนุลอาบิดีน บุตรอิมามฮุเซน บุตรของอะลีย์ บินอะบีฏอลิบ เกิดในนครมะดีนะหฺ เมื่อรุ่งอรุณของวันหนึ่งในราวปี..

ใหม่!!: แม่น้ำสินธุและเซด อัชชะฮีด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Indus Riverสินธุ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »