โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

ดัชนี แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันตก ของการสู้รบบนภาคพื้นทวีปยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองโอบล้อมบริเวณพื้นที่ตั้งแต่เดนมาร์ก นอร์เวย์ ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และภาคตะวันตกของเยอรมนี ปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สองบริเวณยุโรปตอนใต้และบริเวณอื่นๆ ถูกจัดว่าไม่เกี่ยวกับแนวรบด้านตะวันตกนี้ การต่อสู้ในแนวรบด้านตะวันตกถูกแบ่งโดยปฏิบัติการสู้รบครั้งใหญ่ๆ ด้วยกันสองครั้ง คือ ช่วงแรกที่เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส ยอมจำนนต่อกองทัพนาซีเยอรมนีในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ค.ศ. 1940 ภายหลังจากที่พ่ายแพ้การสู้รบในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำและในพื้นที่กึ่งหนึ่งของฝรั่งเศสตอนเหนือ จากนั้นสงครามจึงดำเนินเข้าสู่การสู้รบทางอากาศระหว่างเยอรมนีกับสหราชอาณาจักร ซึ่งทวีความรุนแรงมากที่สุดในช่วงยุทธการที่บริเตน ช่องที่สองคือช่วงของการสู้รบภาคพื้นดินขนาดใหญ่ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 จากการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี และดำเนินไปจนกระทั่งสามารถปลดปล่อยกรุงปารีสและฝรั่งเศลให้พ้นจากนาซีเยอรมัน ต่อมาสามารถเอาชนะเยอรมนีได้ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 แม้ว่าพลทหารเยอรมันส่วนมากจะเสียชีวิตในแนวรบด้านตะวันออก แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นในแนวรบด้านตะวันตกแทบจะไม่สามารถทดแทนกลับคืนมาได้ เนื่องจากทรัพยากรสงครามส่วนมากของเยอรมนีถูกโยกย้ายไปใช้ในแนวรบด้านตะวันตก ซึ่งหมายความได้ว่าในแนวรบด้านตะวันออกมีการเสริมกำลังและทรัพยากรเพื่อยืดระยะเวลาการสู้รบออกไปได้ ในขณะที่แนวรบด้านตะวันตกมีการส่งกำลังเสริมและทรัพยากรทดแทนเพื่อหยุดยั่งการรุกคืบของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เพียงน้อยนิด การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีนับได้ว่าส่งสัญญาณเชิงจิตวิทยาในแง่ลบให้แก่กองทัพและผู้นำของนาซีเยอรมนีอย่างมาก เนื่องจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เกรงกลัวสถานการณ์ที่เยอรมนีถูกขนาบด้วยการสู้รบจากแนวรบทั้งสองด้าน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.

37 ความสัมพันธ์: พอล เฮาเซอร์พันแซร์เฟาสท์กองทัพปลดปล่อยรัสเซียการบุกครองนอร์ม็องดีการบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตกการรุกจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์การรุกซาร์ลันด์การทัพนอร์เวย์กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองยุทธการที่ฝรั่งเศสยุทธการที่มาสทริชท์ยุทธการที่ฌ็องบลู (ค.ศ.1940)ยุทธการที่ดันเคิร์กยุทธการที่เฮลิโกแลนด์ไบต์ (ค.ศ. 1939)ยุทธการที่เซลันด์ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)ยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็กยุทธการตอกลิ่มรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์รีพับลิค พี-47 ทันเดอร์โบลท์ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1940)วัฟเฟิน-เอ็สเอ็สวัลเทอร์ โมเดิลอัลแบร์ท เคสเซิลริงอัดเลอร์ทาคฮูโก ชแปร์เริลปฏิบัติการช่างตัดไม้ปฏิบัติการสปริงอะเวคะนิงปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดปฏิบัติการเพาลานาซีเยอรมนีแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)โยอาคิม ไพร์เพอร์โอมาร์ แบรดลีย์เวร์มัคท์เอ็มเพ 40

พอล เฮาเซอร์

อล เฮาเซอร์(7 ตุลาคม ค.ศ. 1880 – 21 ธันวาคม ค.ศ. 1972) เป็นผู้บัญชาการระดับยศสูงในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สแห่งนาซีเยอรมนี ผู้มีบทบาทสำคัญในช่วงหลังสงครามในความพยายามของเหล่าอดีตสมาชิกของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สเพื่อฟื้นฟูประวัติศาสตร์และกฏหมาย เฮาเซอร์ได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่นายทหารในกองทัพปรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและได้รับตำแหน่งยศเป็นนายพลในไรชส์เฮร์ในช่วงระหว่างสงคราม ภายหลังจากปลดเกษียณ เขาได้เข้าร่วมหน่วยเอ็สเอ็สแห่งนาซีเยอรมนีและได้สร้างประโยชน์ในการจัดตั้งหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้ก้าวถึงระดับผู้บัญชาการกองทัพกลุ่ม เขาได้นำทหารหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สในยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3, ยุทธการที่คูสค์ และการทัพนอร์ม็องดี เฮาเซอร์เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สพร้อมกับเซพพ์ ดีทริซ ซึ่งไม่เหมือนกับดีทริซ เฮาเซอร์นั้นเป็นเจ้าหน้าที่นายทหารระดับมืออาชีพก่อนที่จะเข้าร่วมหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส หลังสงคราม เฮาเซอร์ได้กลายเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งและเป็นโฆษกคนแรกของกลุ่ม HIAG กลุ่มล็อบบี้และองค์กรทหารผ่านศึกที่ได้รับการตรวจสอบใหม่ ก่อตั้งโดยเหล่าอดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สในเยอรมนีตะวันตกในปี..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และพอล เฮาเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พันแซร์เฟาสท์

ทหารกำลังเล็งพันแซร์เฟาสท์ พันแซร์เฟาสท์ (Panzerfaust) เป็นเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังของนาซีเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่สอง ขึ้นชื่อว่าเป็นเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังแบบแรกของโลก ประกอบด้วยท่อส่งกระสุนขนาดเล็กที่ใช้ยิงหัวรบระเบิดแรงสูงต่อสู้รถถังซึ่งสามารถปฏิบัติงานได้โดยทหารเพียงนายเดียว ความรุนแรงของหัวรบระเบิดนั้นทำให้รถถังถูกทำลายลงหรือไม่ก็ทำให้เกิดก่อประกายไฟลุกลามไปทั่วรถถัง อาจทำให้ลุกลามไปถึงห้องคนขับรถถังทำให้คนขับถูกไฟคลอกตายได้ ข้อเสียของพันแซร์เฟาสท์คือเมื่อยิงไปแล้วท่อส่งกระสุนจะใช้การไม่ได้เลยทำให้จำเป็นจะต้องทิ้งไปและต้องใช้อันใหม่แทน, อาจไม่แม่นยำพอสำหรับการยิงทำลายเป้าหมายและไม่เหมาะสำหรับการยิงใส่บุคคลด้วย พันแซร์เฟาสท์ได้ถูกผลิตและนำมาใช้ครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงปี 1943 กองทัพนาซีเยอรมันได้บุกสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ทหารได้ใช้มันในการต่อสู้ T-34 รถถังของฝ่ายสหภาพโซเวียต หลังจากพันแซร์เฟาสท์ก็ได้ผลิตออกมาเป็นจำนวนมากและถูกใช้งานตลอดทุกสมรภูมิรบทั้งแนวรบด้านตะวันตกและด้านตะวันออก แต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะยุติลง นาซีเยอรมันได้พ่ายแพ้แก่กองทัพแดงของสหภาพโซเวียตในยุทธการเบอร์ลิน ทหารรัสเซียได้ยึดพันแซร์เฟาสท์มาหลายกระบอกรวมทั้งโรงงานผลิตด้วย ต่อมาทางวิศวกรรัสเซียได้นำมันมาในการออกแบบเครื่องยิงจรวดรุ่นใหม่จนกลายมาเป็นเครื่องยิงจรวดอาร์พีจีที่ได้ถูกนำใช้กันแพร่หลายไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน ส่วนพันแซร์เฟาสท์นั้นได้ถูกปลดประจำการในกองทัพไปแล้วหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง แต่ยังคงเหลือไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งในประเทศเยอรมนี เวลาต่อมาบริษัทแห่งหนึ่งได้ปรับปรุงและพัฒนามันใหม่จนกลายมาเป็นพันแซร์เฟาสท์ 3 และหลังจากนั้นมันก็ได้เข้าประจำการในกองทัพสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและประเทศที่เคยเป็นพันธมิตรฝ่ายอักษะคือ ออสเตรีย, ญี่ปุ่น, เนเธอร์แลนด์, สวิสเซอร์แลนด์, เกาหลีใต้และอิตาลี.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และพันแซร์เฟาสท์ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพปลดปล่อยรัสเซีย

กองทัพปลดปล่อยรัสเซีย (Русская освободительная армия Russkaya osvoboditel'naya armiya, ย่อว่า РОА หรือ ROA) อีกชื่อหนึ่งว่า กองทัพวลาซอฟ (Власовская армия Vlasovskaya armiya) เป็นกลุ่มกองทัพซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย ที่ได้สู้รบตามการบัญชาของเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพนี้มีผู้นำคืออันเดรย์ วลาซอฟ (Andrey Vlasov) นายพลกองทัพแดงผู้แปรพักตร์ นอกจากนี้ สมาชิกกองทัพยังมักเรียกขานกันว่า "วลาซอฟซืย" (Власовцы) และใน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และกองทัพปลดปล่อยรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองนอร์ม็องดี

การรุกรานนอร์ม็องดี คือการรบระหว่างกองทัพฝ่ายอักษะนาซีเยอรมนีที่ประจำการอยู่ในยุโรปตะวันตก กับกองกำลังสัมพันธมิตรกว่า 3 ล้านนายที่ทำการบุกข้ามช่องแคบอังกฤษมาจากฐานที่ตั้งชั่วคราวในแนวรบที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ (ส่วนใหญ่มาจากเมืองพอร์ทสมัธ) มายังหัวหาดนอร์ม็องดีในฝรั่งเศสที่กองทัพเยอรมันยึดมาได้ ภายใต้ชื่อแผนปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และการบุกครองนอร์ม็องดี · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตก

การบุกครองเยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นปฏิบัติการของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกในช่วงเดือนสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป การบุกครองเยอรมนีเริ่มขึ้นเมื่อกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้ข้าม แม่น้ำไรน์ ในเดือน มีนาคม 1945 โดยเข้าโจมตีทางตะวันตกของเยอรมนี จาก ทะเลบอลติก จนถึงทางตอนเหนือของ ออสเตรีย และตอนใต้ ก่อนที่เยอรมนีจะยอมแพ้ในวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 การบุกครองยังมีอีกชื่อว่า "การทัพยุโรปกลาง" โดยนักประวัติศาสตร์ทางการทหารของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และการบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

การรุกจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์

การรุกจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์ของฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นยุทธวีธีหนึ่งในแนวรบตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้นอยู่ในช่วงท้ายของการรบในนอร์มังดีหรือปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (25 สิงหาคม 1944),เยอรมันได้รวบรวมกองกำลังในการรุกโต้ตอบในช่วงฤดูหนาวผ่านป่าอาร์แดน (เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปคือ ยุทธการตอกลิ่ม) และปฏิบัติการ Nordwind (ใน Alsace และ Lorraine).ถึงสัมพันธมิตรได้เตรียมความพร้อมที่จะข้ามแม่น้ำไรน์ในช่วงต้นเดือน ปี 1945.ประมาณตรงคร่าวๆด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทหาร หน่วยปฏิบัติการยุโรปของกองทัพสหรัฐอเมริกา (ETOUSA) ของการทัพไรน์และอาร์แดน-Alsace.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และการรุกจากปารีสถึงแม่น้ำไรน์ · ดูเพิ่มเติม »

การรุกซาร์ลันด์

การรุกซาร์ลันด์ เป็นปฏิบัติการของฝรั่งเศสเข้าไปในซาร์ลันด์ในพื้นที่ป้องกันของกองทัพที่ 1 ของเยอรมนี ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีจุดประสงค์ที่จะสนับสนุนโปแลนด์ ซึ่งกำลังถูกเยอรมนีบุกครอง อย่างไรก็ตาม การโจมตีของฝรั่งเศสหยุดลงและต้องถอนตัวออกไป ถึงแม้ว่าการรุกดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากการประกาศสงครามอย่างเป็นทางการของฝรั่งเศสต่อเยอรมนี มันได้กลายมาเป็นการโจมตีของกองทัพฝรั่งเศสเพียงครั้งเดียวตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตามข้อตกลงทางทหารฝรั่งเศส-โปแลนด์ กองทัพฝรั่งเศสจะต้องเตรียมการสำหรับการโจมตีครั้งใหญ่ภายในสามวันหลังจากมีการระดมพล กองทัพฝรั่งเศสสามารถยึดครองดินแดนระหว่างพรมแดนฝรั่งเศสและแนวเยอรมัน ตลอดจนสามารถเจาะผ่านการป้องกันของเยอรมนีได้ เมื่อวันที่ 15 ของการระดมผล (16 กันยายน) กองทัพฝรั่งเศสได้ทำการโจมตตีเต็มกำลังต่อเยอรมนี การระดมพลของฝรั่งเศสมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม และได้มีการประกาศระดมพลเต็มกำลังเมื่อวันที่ 1 กันยายน การโจมตีของฝรั่งเศสในหุบเขาไรน์เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน สี่วันหลังจากการประกาศสงครามของฝรั่งเศสต่อเยอรมนี หลังจากนั้น กองทัพเยอรมันซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการบุกครองโปแลนด์ และทหารฝรั่งเศสมีความเหนือกว่าทางกำลังพลอย่างมากตลอดแนวชายแดนกับเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ฝรั่งเศสมิได้ดำเนินการใด ๆ ซึ่งสามารถช่วยเหลือโปแลนด์ได้เลย ทหารฝรั่งเศส 11 กองพลได้รุกคืบตามแนวรบยาว 32 กิโลเมตรใกล้กับซาร์บรืกเคินและเผชิญหน้ากับการต้านทานที่อ่อนแอของเยอรมนี กองทัพฝรั่งเศสโจมตีลึกเข้าไป 8 กิโลเมตรและยึดหมู่บ้านได้ราว 20 หมู่บ้านซึ่งกองทัพเยอรมันอพยพกลับไปโดยปราศจากการสู้รบ อย่างไรก็ตาม การโจมตีอย่างไม่เต็มใจนี้ถูกยับยั้งหลังจากฝรั่งเศสยึดป่าวาร์นดท์ได้ ซึ่งเป็นพื้นที่ฝังทุ่นระเบิดอย่างหนาแน่นสามตารางกิโลเมตรของเยอรมนี การโจมตีมิได้เบี่ยงเบนความสนใจของกองทัพเยอรมันแต่อย่างใด การรุกรานเต็มกำลังดำเนินการโดยทหาร 40 กองพล รวมไปถึง 1 กองพลยานเกราะ 3 กองพลยานยนต์ กรมทหารปืนใหญ่ 78 กรม และกองพันรถถัง 40 กองพัน เมื่อวันที่ 12 กันยายน สถาสงครามสูงสุดอังกฤษ-ฝรั่งเศสประชุมกันเป็นครั้งแรกที่แอ็บวิลล์ ฝรั่งเศส มีการตัดสินใจว่าปฏิบัติการรุกรานใด ๆ จะต้องถูกยับยั้งในทันที โมไรซ์ เกมลิน สั่งการให้ทหารของเขาหยุด "ไม่เข้าใกล้เกินกว่า 1 กิโลเมตร" จากตำแหน่งของเยอรมนีตามแนวซีกฟรีด โปแลนด์ไม่ทราบถึงการตัดสินใจนี้ เกมลินกลับแจ้งแก่จอมพลเอ็ดเวิร์ด ริดซ์ สมิกลี่ว่าครึ่งหนึ่งของกองกำลังทั้งหมดของเขากำลังรบอยู่กับข้าศึก และการโจมตีของฝรั่งเศสได้ทำให้กองทัพเยอรมันอย่างน้อย 6 กองพลถอนตัวออกจากโปแลดน์ ในวันรุ่งขึ้น ผู้บัญชาการทูตทหารฝรั่งเศสประจำโปแลนด์ นายพลหลุยส์ โฟลี รายงานแก่เสนาธิการโปแลนด์ นายพลเวนสเลาส์ สตาชีวิกซ์ ว่าแผนการรุกรานครั้งใหญ่ในแนวรบด้านตะวันตกได้เลื่อนจากวันที่ 17 กันยายนไปเป็นวันที่ 20 กันยายน ในขณะเดียวกัน กองทัพฝรั่งเศสได้รับคำสั่งให้ถอนตัวกลับค่ายทหารของตนเองหลังแนวมากิโนต์ ซึ่งได้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามลวง หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง de:Sitzkrieg#Saar-Offensive.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และการรุกซาร์ลันด์ · ดูเพิ่มเติม »

การทัพนอร์เวย์

การทัพนอร์เวย์ หรือปฏิบัติการเวแซร์รืบุง (9 เมษายน - 10 มิถุนายน ค.ศ. 1940) นั้นเป็นการเผชิญหน้ากันอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับนาซีเยอรมนี เยอรมนีนั้นต้องการที่จะครอบครองนอร์เวย์เพื่อเหล็กและโลหะจากสวีเดนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งขนส่งทางเรือจากเมืองท่านาร์วิก ด้วยการยึดครองเมืองท่าอย่างสมบูรณ์ ก็จะทำให้การขนส่งทรัพยากรดังกล่าวเพื่อป้อนเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าจะถูกขัดขวางด้วยการปิดล้อมทางทะเลจากอังกฤษ นอกจากนั้นแล้ว มันยังทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรและเยอรมนีสามารถรบกันได้ด้วยการรบแบบสนามเพลาะซึ่งทั้งสองฝ่ายหวาดกลัว ต่อมาเมื่อยุทธนาวีมหาสมุทรแอตแลนติกขยายออกไป สนามบินของนอร์เวย์ เช่น สนามบินโซลา ในเมืองสตาแวนเจอร์ ซึ่งเครื่องบินสำรวจเยอรมันใช้เพื่อออกปฏิบัติการในภาคพื้นมหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และการทัพนอร์เวย์ · ดูเพิ่มเติม »

กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอ

กึนเทอร์ ฟอน คลูเกอ (Günther von Kluge) เป็นจอมพลเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คลูเกอได้ถือคำสั่งแนวรบตะวันตกและแนวรบตะวันออกและได้รับเหรียญอัศวินกางเขนเหล็กใบโอ๊กและดาบ แม้ว่าคลูเกอไม่ได้มีส่วนรู้ร่วมคิดในแผนลับ 20 กรกฎาคม เขาได้ฆ่าตัวตายด้วยการกินยาพิษไซยาไนด์เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1944 หลังจากถูกเรียกให้กลับไปยังกรุงเบอร์ลินสำหรับการประชุมกับฮิตเลอร์ในผลพวงการรัฐประหารที่ล้มเหลว จอมพล วัลเทอร์ โมเดิล ได้ทำหน้าที่ต่อจาก.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และกึนเทอร์ ฟอน คลูเกอ · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ทธการที่ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการบุกครองฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำของเยอรมนีที่สัมฤทธิ์ผล เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และยุทธการที่ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่มาสทริชท์

ทธการที่มาสทริชท์เป็นหนึ่งในการสู้รบครั้งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงการทัพของเยอรมันในแนวรบด้านตะวันตกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มาสทริชท์เป็นเมืองที่เป็นกุญแจสำคัญในคำสั่งของการเข้ายึดป้อมปราการเอเบิน-เอมาเอลของเบลเยียมและแบ่งกองกำลังฝายสัมพันธมิตรออกเป็นสองส่วน.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และยุทธการที่มาสทริชท์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ฌ็องบลู (ค.ศ.1940)

ทธการที่ฌ็องบลู (หรือ ยุทธการที่ช่องว่างฌ็องบลู) เป็นการสู้รบกันระหว่างกองทัพฝรั่งเศสและกองทัพเยอรมันในเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และยุทธการที่ฌ็องบลู (ค.ศ.1940) · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ดันเคิร์ก

ทธการที่ดันเคิร์ก เป็นปฏิบัติการทางทหารซึ่งเกิดที่ดันเคิร์ก ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง การยุทธ์นี้ต่อสู้กันระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและนาซีเยอรมนี เป็นส่วนหนึ่งของยุทธการที่ฝรั่งเศสบนแนวรบด้านตะวันตก ยุทธการที่ดันเคิร์กเป็นการป้องกันและอพยพทหารบริติชและฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรประหว่างวันที่ 26 พฤษภาคมถึง 4 มิถุนายน 1940 หลังสงครามลวง ยุทธการที่ฝรั่งเศสเริ่มอย่างจริงจังเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 ทางทิศตะวันตก กองทัพเยอรมันกลุ่มบีบุกครองประเทศเนเธอร์แลนด์และบุกไปทางทิศตะวันตก ผู้บัญชาการสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร พลเอกฝรั่งเศส โมรีส เกมลิน (Maurice Gamelin) เริ่ม "แผนดี" และเข้าประเทศเบลเยียมเพื่อประจัญบานกับฝ่ายเยอรมันในประเทศเนเธอร์แลนด์ แผนดังกล่าวต้องพึ่งพาป้อมสนามแนวมากีโนตามชายแดนเยอรมัน–ฝรั่งเศสอย่างมาก แต่กองทัพเยอรมันข้ามแนวดังกล่าวมาแล้วผ่านประเทศเนเธอร์แลนด์ส่วนใหญ่ก่อนกองทัพฝรั่งเศสมาถึง เกมลินจึงส่งกำลังภายใต้บังคับบัญชาของเขา ได้แก่ กองทัพสนามยานเกราะ (mechanized army) สามกอง คือ กองทัพที่ 1 ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และกำลังรบนอกประเทศบริเตน (British Expeditionary Force) ไปแม่น้ำดิล (Dyle) วันที่ 14 พฤษภาคม กองทัพเยอรมันกลุมเอทะลวงผ่านป่าอาร์เดนและบุกไปทางทิศตะวันตกอย่างรวดเร็วสู่ซะด็อง (Sedan) แล้วหันขึ้นเหนือสู่ช่องแคบอังกฤษ การนี้จอมพลเอริช ฟอน มันชไตน์ เรียกว่า "เกี่ยวออก" (หรือเรียก "แผนเหลือง" หรือแผนมันชไตน์) ซึ่งเป็นการโอบทัพฝ่ายสัมพันธมิตร การตีโต้ตอบหลายครั้งของฝ่ายสัมพันธมิตร รวมทั้งยุทธการที่อารัส (Arras) ไม่สามารถหยุดยั้งหัวหอกของเยอรมันได้ ซึ่งไปถึงชายฝั่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม แยกกองทหารบริติชใกล้กับแอคม็องตีแย (Armentières) กองทัพที่ 1 แห่งฝรั่งเศส และกองทัพเบลเยียมที่อยู่เหนือขึ้นไปจากกำลังฝรั่งเศสส่วนใหญ่ที่อยู่ทางใต้ของการบุกทะลวงของเยอรมัน เมื่อถึงช่องแคบแล้ว กำลังเยอรมันกวาดไปทางเหนือตามชายฝั่ง คุกคามที่จะยึดท่าและดักกองทัพบริติชและฝรั่งเศสก่อนที่จะสามารถอพยพไปบริเตน ฝ่ายเยอรมันหยุดการบุกเข้าดันเคิร์กซึ่งเป็นการตัดสินใจที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดครั้งหน่งของสงคราม สิ่งที่เรียกว่า "คำสั่งหยุด" นั้นมิได้มาจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ซึ่งขัดต่อความเชื่อของมหาชน จอมพลแกร์ด ฟอน รุนด์ชเตดท์และกึนเทอร์ ฟอน คลูเกอเสนอว่ากองทัพเยอรมันรอบวงล้อมดันเคิร์กควรหยุดการบุกเข้าท่าและสะสมกำลังเพื่อเลี่ยงการตีฝ่าของฝ่ายสัมพันธมิตร ฮิตเลอร์อนุมัติคำสั่งดังกล่าวในวันที่ 24 พฤษภาคมด้วยการสนับสนุนของกองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพหยุดเป็นเวลาสามวันซึ่งทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีเวลาเพียงพอสำหรับจัดระเบียบการอพยพดันเคิร์กและตั้งแนวป้องกัน แม้ว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะประเมินสถานการณ์ดังกล่าวไว้อย่างเลวร้าย โดยบริเตนถึงขั้นอภิปรายกันเรื่องยอมจำนนแบบมีเงื่อนไขต่อเยอรมนี ในบั้นปลายทหารฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับการช่วยเหลือกว่า 330,000 น.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และยุทธการที่ดันเคิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เฮลิโกแลนด์ไบต์ (ค.ศ. 1939)

ทธการที่เฮลิโกแลนด์ไบต์ (Battle of the Heligoland Bight) เป็นชื่อครั้งแรกของการสู้รบทางอากาศของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเริ่มต้นของการทัพทางอากาศที่ขนาดใหญ่ที่สุดของสงคราม การป้องกันแผ่นดินไรช์ (Defence of the Reich) เมื่อวันที่ 3 กันยายน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และยุทธการที่เฮลิโกแลนด์ไบต์ (ค.ศ. 1939) · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เซลันด์

ทธการที่เซลันด์เกิดขึ้นในบนแนวรบด้านตะวันตกในช่วงแรกของการโจมตีของเยอรมันที่ฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง.หน่วยทหารของดัตช์และฝรั่งเศสหลายหน่วยได้พยายามที่จะต้านการโจมตีของเยอรมันโดยการป้องกันจังหวัดเซลันด์ของเนเธอร์แลนด์ การสู้รบได้กินเวลาไปแปดวันและเป็นความพ่ายแพ้ที่น่าอดสูสำหรับกองกำลังฝรั่งเศสและดัตช์ในการปกป้องจังหวั.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และยุทธการที่เซลันด์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940)

ทธการที่เซอด็อง หรือ ยุทธการที่เซอด็องครั้งที่สอง (12-15 พฤษภาคม ค.ศ. 1940) เป็นการสู้รบของสงครามโลกครั้งที่สองในช่วงยุทธการที่ฝรั่งเศส การรบเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการของกองทัพเวร์มัคท์ในรหัสนามว่า ฟัลล์ เกลบ์(กรณีเหลือง)จากการรุกรานผ่านบริเวณเทือกเขาป่าหนาทึบอาร์แดนเพื่อทำการโอบล้อมกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในเบลเยียมและทางตะวันตกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส กองทัพเยอรมันกลุ่มเอได้ข้ามแม่น้ำเมิซด้วยความมุ่งหมายที่จะเข้ายึดเซอด็อง และผลักดันไปยังชายหาดช่องแคบอังกฤษ เพื่อทำการดักล้อมกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่กำลังเคลื่อนทัพไปยังฝั่งตะวันออกในการเข้าสู่เบลเยียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการทางยุทธศาสตร์คือแผนดิล เซอด็องตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเมิซ การเข้ายึดครองนั้นจะทำให้เยอรมันใช้เป็นฐานทัพที่จะเข้ายึดสะพานเมิซและข้ามแม่น้ำ ถ้าหากทำสำเร็จ กองพลเยอรมันก็จะสามารถรุกก้าวข้ามเขตชนบทฝรั่งเศสที่เปิดและไร้การป้องกันนอกเหนือจากเซอด็องและช่องแคบอังกฤษ.เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม เซอด็องได้ถูกยึดครองโดยปราศจากการต่อต้าน ในวันรุ่งขึ้น เยอรมันได้เอาชนะฝ่ายป้องกันของฝรั่งเศสบริเวณรอบๆของเซอด็อง ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเมิซ นี่คือความสำเร็จโดยกองทัพอากาศเยอรมัน ลุฟท์วัฟเฟอ ด้วยผลมาจากการทิ้งระเบิดของเยอรมันและขวัญกำลังใจตกต่ำลง ทำให้ฝ่ายป้องกันของฝรั่งเศสไม่สามารถป้องกันได้อีกต่อไป เยอรมันได้เข้ายึดสะพานเมิซที่เซอด็องได้ช่วยทำให้กองกำลังรวมทั้งยานเกราะสามารถก้าวข้ามแม่น้ำได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม กองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตร กองทัพอากาศหลวงแห่งอังกฤษ(Royal Air Force-RAF)และกองทัพอากาศฝรั่งเศส(Armée de l'Air)ได้พยายามที่จะทำลายสะพานและป้องกันไม่ให้มีการเสริมกำลังของเยอรมันไปยังฝั่งตะวันตก ลุฟท์วัฟเฟอได้ทำการป้องกันไม่ให้พวกเขาทำเช่นนั้น ในการรบทางอากาศขนาดใหญ่ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับความสูญเสียมากมายซึ่งส่งผลทำให้การทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายสัมพันธมิตรได้หมดลงในช่วงการทัพ การก้าวข้ามแม่น้ำเมิซได้ช่วยทำให้เยอรมันสามารถทำลายยุทธศาสตร์เชิงลึก หรือแนวหลังไร้การป้องกัน แนวรบของฝ่ายสัมพันธมิตรและการรุกสู่ช่องแคบอังกฤษโดยไร้การต่อต้าน ฝรั่งเศสได้พยายามที่จะเปิดการโจมตีตอบโต้กลับต่อกรกับเยอรมันที่หัวสะพานที่ยึดครอง ตั้งแต่วันที่ 15 - 17 พฤษภาคม แต่การรุกรานนั้นทำให้เกิดความล่าช้าและสับสน ห้าวันหลังจากการรวบรวมพลที่หัวสะพานที่เซอด็อง เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม กองทัพเยอรมันสามารถเคลื่อนทัพมาถึงช่องแคบอังกฤษ ด้วยชัยชนะที่เซอด็องนั้นเป็นการบรรลุเป้าหมายของปฏิบัติการฟัลล์ เกลบ์(กรณีเหลือง)และโอบล้อมกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรที่แข็งแกร่งที่สุด รวมทั้งกองกำลังปฏิบัติการทางทหารของอังกฤษ(British Expeditionary Forces หรือ B.E.F.) ผลลัพธ์การรบได้ทำลายส่วนที่เหลือของกองทัพฝรั่งเศสที่เป็นกองทัพที่มีประสิทธิภาพในการรบ,และได้ทำการขับไล่กองทัพอังกฤษออกจากทวีปยุโรปแผ่นดินใหญ่ ได้นำไปสู่ความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และยุทธการที่เซอด็อง (ค.ศ. 1940) · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก

ทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก (Valkyrie) เป็นภาพยนตร์อเมริกันในปี ค.ศ. 2008 นำแสดงโดย ทอม ครูซ, เคนเนธ บรานาห์, บิล ไนอี, เอ็ดดี อิซซาร์ด, เทเรนซ์ สแตมพ์, ทอม วิลคินสัน กำกับการแสดงโดย ไบรอัน ซิงเกอร.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และยุทธการดับจอมอหังการ์อินทรีเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการตอกลิ่ม

German movements ยุทธการตอกลิ่ม (Battle of the Bulge) (16 ธันวาคม 1944 – 25 มกราคม 1945) เป็นการบุกใหญ่ครั้งสุดท้ายของเยอรมนีบนแนวรบด้านตะวันตกช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ผ่านเขตอาร์แดนที่มีป่าทึบแห่งวาโลเนียในทางตะวันออกของประเทศเบลเยียม ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศสและประเทศลักเซมเบิร์ก การเข้าตีอย่างจู่โจมนี้ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ทันตั้งตัวย่างสิ้นเชิง กำลังอเมริกันรับแรงกระทบของการเข้าตีและเป็นปฏิบัติการมีกำลังพลสูญเสียมากที่สุดในสงคราม ยุทธการดังกล่าวทำให้กำลังยานเกราะของเยอรมนีหมดลงอย่างรุนแรง และสามารถทดแทนได้เพียงเล็กน้อย กำลังพลของเยอรมันและอากาศยานของลุฟท์วัฟเฟอในเวลาต่อมาก็ประสบความสูญเสียอย่างหนักเช่นกัน ฝ่ายเยอรมันเรียกการบุกนี้ว่า ปฏิบัติการเฝ้าดูไรน์ (Unternehmen Wacht am Rhein) ส่วนฝ่ายสัมพันธมิตรตั้งชื่อว่า การรุกโต้ตอบอาร์เดน วลี "ยุทธการตอกลิ่ม" นั้นสื่อร่วมสมัยตั้งให้เพื่ออธิบายส่วนยื่นเด่นในแนวรบของเยอรมนีในแผนที่ข่าวยามสงคราม และกลายเป็นชื่อที่แพร่หลายที่สุดสำหรับการยุทธ์นี้ การรุกของเยอรมนีตั้งใจหยุดฝ่ายสัมพันธมิตรมิใช้ท่าแอนต์เวิร์ปของประเทศเบลเยียม และเพื่อแบ่งแนวของฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อให้ฝ่ายเยอรมันตีวงล้อมและทำลายกองทัพสัมพันธมิตรสี่กองทัพ และบังคับให้สัมพันธมิตรตะวันตกเจรจาสนธิสัญญาสันติภาพโดยฝ่ายอักษะได้เปรียบ เมื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ผู้เผด็จการเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์เชื่อว่าตนสามารถทุ่มความสนใจต่อโซเวียตบนแนวรบด้านตะวันออกได้ มีการวางแผนการรุกดังกล่าวโดยปิดเป็นความลับที่สุด มีการติดต่อวิทยุและการเคลื่อนย้ายกำลังและยุทโธปกรณ์ภายใต้กำบังของความมืด ทั้งฝ่ายสัมพันธมิตรมิได้ตอบโต้การสื่อสารของเยอรมันที่ถูกดักได้ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการตระเตรียมการบุกของเยอรมันครั้งสำคัญ ฝ่ายเยอรมันบรรลุการจู่โจมอย่างสมบูรณ์ในเช้าวันที่ 16 ธันวาคม 1944 เนื่องจากความผยองของฝ่ายสัมพันธมิตร การหมกมุ่นกับแผนการบุกของฝ่ายสัมพันธมิตร และการลาดตระเวนทางอากาศที่เลว ฝ่ายเยอรมันเข้าตีส่วนที่มีการป้องกันเบาบางของแนวรบฝ่ายสัมพันธมิตร โดยฉวยประโยชน์จากสภาพอากาศที่มีเมฆมากซึ่งทำให้กองทัพอากาศที่เหนือกว่ามากไม่สามารถใช้การได้ มีการต่อต้านอย่างดุเดือด ณ ไหล่ทิศเหนือของการบุก รอบสันเขาเอลเซ็นบอร์น (Elsenborn) และในทางใต้ รอบบาสตอง (Bastogne) สกัดฝ่ายเยอรมันมิให้เข้าถึงถนนสำคัญสู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันตกซึ่งเยอรมันต้องอาศัยจึงจะสำเร็จ แถวยานเกราะและทหารราบซึ่งควรบุกไปตามเส้นทางขนานกลับพบว่าอยู่บนถนนเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ และภูมิประเทศซึ่งเอื้อต่อฝ่ายตั้งรับ ทำให้การบุกของเยอรมันล่าช้ากว่ากำหนด และทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเสริมกำลังพลที่จัดวางอย่างเบาบางได้ สภาพอากาศที่ดีขึ้นทำให้การโจมตีทางอากาศต่อกำลังและแนวกำลังบำรุงของเยอรมัน ซึ่งตอกย้ำความล้มเหลวของการบุก ในห้วงของความปราชัย หน่วยของเยอรมันที่มีประสบการณ์สูงขาดแคลนกำลังพลและยุทโธปกรณ์อย่างมาก ส่วนผู้รอดชีวิตล่าถอยไปยังการป้องกันของแนวซีกฟรีด ความปราชัยนี้ทำให้หน่วยที่มีประสบการณ์หลายหน่วยของเยอรมนีขาดแคลนกำลังคนและยุทโธปกรณ์ เนื่องจากผู้รอดชีวิตได้ถอยไปยังแนวซีกฟรีด สำหรับอเมริกา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรบประมาณ 610,000 นาย และมีกำลังพลสูญเสีย 89,000 นาย โดยในจำนวนนี้มีเสียชีวิต 19,000 นาย ทำให้ยุทธการตอกลิ่มเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดและนองเลือดที่สุดที่สู้รบกันในแนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และยุทธการตอกลิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์

รัฐบาลพลัดถิ่นแห่งสาธารณรัฐโปแลนด์ (Rząd Rzeczypospolitej Polskiej na uchodźstwie) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นหลังการบุกครองโปแลนด์ของนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตในเดือนกันยายน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และรัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

รีพับลิค พี-47 ทันเดอร์โบลท์

รีพลับลิค พี-47 ทันเดอร์โบลท์ (Republic P-47 Thunderbolt) เป็นเครื่องบินขับไล่กึ่งทิ้งระเบิดที่ส่วนมากถูกใช้ในแนวรบยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเคยคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิด แต่ในภายหลังได้แทนที่ด้วย พี-51 มัสแตงที่มีพิสัยไกลกว่า แต่ พี-47 ยังรับหน้าที่ในการโจมตีภาคพื้นดิน นอกจากนี้ยังคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดในแนวรบแปซิฟิก อีกด้ว.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และรีพับลิค พี-47 ทันเดอร์โบลท์ · ดูเพิ่มเติม »

ลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1940)

รียงลำดับเหตุการณ์ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม 1940 ทหารสกีของฟินแลนด์ - 12 มกราคม 1940 ทหารโซเวียตเสียชีวิตหลังจากถูกโจมตีที่ถนนราเต เส้นทางการรุกของกองทัพเยอรมันและกองทัพอังกฤษในการทัพนอร์เวย์ การรุกสายฟ้าแลบระหว่างยุทธการแห่งฝรั่งเศส - กลางเดือนพฤษภาคม 1940 อพยพจากดันเคิร์กระหว่างปฏิบัติการไดนาโม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในกรุงปารีส - 23 มิถุนายน 1940 เครื่องบินรบเยอรมันเตรียมทำการรบในยุทธการแห่งบริเตน เดอะบลิตซ์: กรุงลอนดอนถูกทิ้งระเบิดทางอากาศโดยกองทัพอากาศเยอรมัน.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และลำดับเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่สอง (1940) · ดูเพิ่มเติม »

วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส

วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส เป็นหน่วยกองกำลังติดอาวุธของพรรคนาซีในหน่วยชุทซ์ชทัฟเฟิลหรือหน่วยเอ็สเอ็ส เป็นการรวมตัวกันของคนในนาซีเยอรมนีพร้อมทั้งอาสาสมัครและทหารเกณฑ์จากทั้งสองดินแดนคือดินแดนที่ถูกยึดครองและดินแดนที่ไม่ถูกยึดครองซึ่งหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สเป็นหน่วยกองกำลังรบพิเศษที่จะปฏิบัติการรบร่วมกันกับกองทัพบก (เฮร์) ของเวร์มัคท์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 วัฟเฟิน-เอ็สเอ็สนั้นถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยกองกำลังองครักษ์พิทักษ์ฟือเรอร์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และถูกฝึกฝนมาอย่างหนักจนกลายเป็นกองกำลังรบระดับชั้นหัวกะทิเพื่อใช้เป็นเครื่องจักรสงครามในการยึดครองทวีปยุโรปตามเจตนารมณ์ของฮิตเลอร์และพรรคนาซี ฮิตเลอร์ได้มอบความไว้วางใจให้กับวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สมากที่สุดว่าเป็นหน่วยกองกำลังรบที่มีประสิทธิภาพในการรบมากที่สุด สามารถแก้ไขต่างๆได้ทุกสถานการณ์ ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง หน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สขึ้นชื่อว่าเป็นกองกำลังปีศาจเพราะเนื่องจากได้รับถูกปลูกฝังความคิดและอุดมการณ์นาซีทำให้ก่ออาชญากรรมสงครามมากมาย เช่น การสังหารหมู่เชลยศึกสงครามและพลเรือน การกวาดต้อนชาวยิวและอื่นๆในเขตปกครองของนาซีเยอรมันเข้าไปยังค่ายกักกันนาซี เป็นต้น แต่ในช่วงปลายสงครามในปี..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส · ดูเพิ่มเติม »

วัลเทอร์ โมเดิล

อ็อทโท โมริทซ์ วัลเทอร์ โมเดิล (Otto Moritz Walter Model; 24 มกราคม 1891 – 21 เมษายน 1945) เป็นจอมพลเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงในการรบป้องกันในช่วงครึ่งหลังของสงคราม ส่วนใหญ่ในแนวรบตะวันออกแต่อยู่ในด้านตะตะวันตก เขาได้ถูกเรียกว่า ผู้บัญชาการยุทธวิธีป้องกันที่ดีที่สุดของจักรวรรด์ไรซ์ที่สาม ในช่วงปลายสงคราม โมเดิลได้ล้มเหลวในป้องกันการบุกเข้าสู่เยอรมนีของกองทัพสัมพันธมิตรในด้านตะวันตกและกองทัพของเขาถูกล้อมอย่างสิ้นเชิงในรูร์ เขาจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับนำตัวไปพิจารณาคดีในข้อหาอาชญากรสงครามเมื่อ 21 เมษายน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และวัลเทอร์ โมเดิล · ดูเพิ่มเติม »

อัลแบร์ท เคสเซิลริง

อัลแบร์ท เคสเซิลริง(30 พฤศจิกายน 1885 – 16 กรกฏาคม 1960) เป็นจอมพลชาวเยอรมันแห่งกองทัพอากาศลุฟท์วัฟเฟอ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ในอาชีพทหารที่มีมาในสงครามโลกทั้งสองครั้ง เคสเซิลริงได้กลายเป็นหนึ่งในผู้บัญชาการที่มีพรสวรรค์มากที่สุดของนาซีเยอรมนี และเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด เป็นหนึ่งในนายทหารที่ได้รับรางวัลเหรียญกางเขนเหล็กกางเขนอัศวินประดับด้วยใบโอ๊คและดาบประดับเพชร มีชื่อเล่นว่า"อัลแบร์ทจอมยิ้ม"("Smiling Albert")โดยฝ่ายสัมพันธมิตรและ"ลุงอัลแบร์ท"โดยทหารของเขา เขาเป็นหนึ่งในนายพลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองด้วยทหารระดับชั้นต่ำกว่าสัญบัตร(rank and file) เคสเซิลริงได้เข้าร่วมกองทัพบาวาเรียในฐานะเจ้าหน้าที่นักเรียนทหาร และได้ปฏิบัติหน้าที่ในแผนกปืนใหญ่ เขาได้จบการฝึกเป็นผู้คอยสังเกตการณ์บอลลูนในปี..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และอัลแบร์ท เคสเซิลริง · ดูเพิ่มเติม »

อัดเลอร์ทาค

อัดเลอร์ทาค ("วันนกอินทรี"; Adlertag) หมายถึงวันแรกของ "ปฏิบัติการอินทรีขย้ำ" (Unternehmen Adlerangriff) ซึ่งได้เป็นรหัสนามของปฏิบัติการทางทหารโดยกองทัพอากาศเยอรมัน(ลุฟท์วัฟเฟอ)ของนาซีเยอรมนีเพื่อทำลายกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษ(RAF) โดยเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และอัดเลอร์ทาค · ดูเพิ่มเติม »

ฮูโก ชแปร์เริล

ูโก ชแปร์เริล(7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1885 – 2 เมษายน ค.ศ. 1953)เป็นจอมพลเยอรมันแห่งลุฟท์วัฟเฟอในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองกำลังของเขาได้ปฏิบัติการรบได้เฉพาะบนแนวรบด้านตะวันตกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในช่วงตลอดสงคราม โดยปี..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และฮูโก ชแปร์เริล · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการช่างตัดไม้

ปฏิบัติการช่างตัดไม้ (Operation Lumberjack) เป็นปฏิบัติการทางทหารซึ่งดำเนินการในขั้นสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ดำเนินการโดยกองทัพสหรัฐที่หนึ่งในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และปฏิบัติการช่างตัดไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการสปริงอะเวคะนิง

ปฏิบัติการสปริงอเวเคนนิ่ง (Unternehmen Frühlingserwachen) เป็นปฏิบัติการการรุกครั้งสุดท้ายที่สำคัญของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง.เกิดขึ้นในประเทศฮังการีบน (แนวรบด้านตะวันออก) การรุกครั้งนี้ได้ถูกเรียกในเยอรมนีว่า การรุกแพทเทนซี (Plattensee Offensive) และในสหภาพโซเวียตว่า ปฏิบัติการป้องกันบอลอโตน (Balaton Defensive Operation) (6 – 15 มีนาคม ค.ศ. 1945) การรุกได้เริ่มต้นขึ้นด้วยความลับสุดยอด เมื่อวันที่ 6 มีนาคม..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และปฏิบัติการสปริงอะเวคะนิง · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) เป็นส่วนหนึ่งของการรบในแนวรบด้านตะวันตก ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองในปี..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการเพาลา

อุนเทอร์เนเมนเพาลา(อันเดอร์เทคกิ้งหรือปฏิบัติการเพาลา)เป็นรหัสนามที่เยอรมันมอบให้ในสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการรุกโจมตีของกองทัพอากาศลุฟท์วัฟเฟอในการทำลายส่วนที่เหลือของกองทัพอากาศฝรั่งเศส(ALA)ในช่วงยุทธการที่ฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และปฏิบัติการเพาลา · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

โยอาคิม ไพร์เพอร์

อาคิม ไพร์เพอร์ (30 มกราคม ค.ศ. 1915 – 14 กรกฏาคม ค.ศ. 1976), ยังเป็นที่รู้จักอีกชื่อว่า โยฮันน์ ไพร์เพอร์ เป็นเจ้าหน้าที่นายทหารภาคสนามในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส และเป็นนายทหารคนสนิทส่วนตัวของไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และโยอาคิม ไพร์เพอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โอมาร์ แบรดลีย์

อมาร์ เนลสัน แบรดลี่ย์ (Omar Nelson Bradley12 กุมภาพันธ์ ค.ศ 1893 – 8 เมษายน ค.ศ.1981), ชื่อเล่น แบรด เป็นเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของ กองทัพสหรัฐอเมริกา มีชื่อเสียงมาจากการรบในการทัพตูนิเซียและแนวรบด้านตะวันตก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและเข้ามารับตำแหน่งนายพลตั้งแต่การยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดีไปจนถึงตราสารยอมจำนนของเยอรมนี แบรดลี่ย์สามารถคุมกองทัพอเมริกาได้ทั้งหมดในการบุกครองเยอรมนีโดยฝายสัมพันธมิตรเขาคุมกองทัพอเมริกาทั้งหมด 43 กองพลและกำลังทหาร 1.3 ล้านคน แนวของกองทัพสหรัฐอเมริกาถูกสั่งการโดยจอมพลคนนี้คนเดียว ช่วงหลังสงคราม แบรดลี่ย์ได้ดูแล กองทหารผ่านศึกและมารับตำแหน่งเสนาธิการกองทัพสหรัฐอเมริกาใน..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และโอมาร์ แบรดลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เวร์มัคท์

วร์มัคท์ (Wehrmacht ความหมาย:"กำลังป้องกัน") เป็นกองทัพของนาซีเยอรมนีระหว่าง..

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และเวร์มัคท์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มเพ 40

มาซชีนพิสทูเลอ 40 (Maschinenpistole 40) เป็นปืนกลมือลำกล้องสำหรับขนาด 9×19มม.

ใหม่!!: แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง)และเอ็มเพ 40 · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »