โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอียรอส

ดัชนี เอียรอส

เอียรอส หรือ เอรอส (Eros /ˈɪərɒs/ หรือ /ˈɛrɒs/; Ἔρως, "ความปรารถนา") ในเทพปกรณัมกรีก เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ภาคโรมัน คือ คิวปิด บางตำนานถือว่าพระองค์เป็นปฐมเทพ ขณะที่บางตำนานว่าพระองค์เป็นพระโอรสของแอโฟรไดที หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก.

13 ความสัมพันธ์: กามเทพ (แก้ความกำกวม)ยูเรนัส (เทพปกรณัม)อะพอลโลกับแดฟนีความรักคิวปิดคิวปิดและไซคีประเทศนามิเบียแอรีสแอโฟรไดทีไกอาเทพปกรณัมกรีกเคออส433 อีรอส

กามเทพ (แก้ความกำกวม)

กามเทพ เป็นเทพเจ้าฮินดู มาจากภาษาสันสกฤตว่า กามเทวะ ซึ่งในภาษาไทยมักจะกล่าวถึง เทพองค์อื่น ซึ่งรวมถึง.

ใหม่!!: เอียรอสและกามเทพ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ยูเรนัส (เทพปกรณัม)

ยูเรนัส ยูเรนัส (Uranus) หรือ อูรานอส (กรีกโบราณ) เป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า ทรงเป็นทั้งบุตรและสวามีของพระแม่ไกอา เทพีแห่งพื้นดิน ท่านทั้งสองสมหวังกันด้วยอีรอส (คิวปิด) เทพเจ้าแห่งความรัก ที่ทั้งคู่รักกันด้วยเหตุผลคือ พื้นดินนั้นมองท้องฟ้าทุกวัน จนเทพอีรอสทนไม่ไหวจึงแผลงศรให้ทั้งคู่รักกัน มีลูกด้วยกันคือ เหล่ายักษ์ ปีศาจผู้อัปลักษณ์ ทำให้ยูเรนัสไม่พอใจอย่างมาก จึงจับไปขังที่นรกที่ลึกที่สุดคือ นรกทาร์ทารัส เกิดความเคียดแค้นใจกับไกอาอย่างยิ่ง บุตรกลุ่มต่อมาคือ ไททัน ซึ่งมีรูปลักษณ์ดูดี ทำให้ท่านพอใจ ยิ่งเกิดความเคียดแค้นต่อไกอาเป็นเท่าทวีคูณ นางจึงขอร้องให้ลูก ๆ เหล่าไททันสังหารยูเรนัส โครนัสหนึ่งในเหล่าไททันตอบตกลงที่จะช่วย ต่อมายูเรนัสจึงโดนโค่นล้มโดยโครนัส ลูกชายตนเอง นอกจากนี้ชื่อของเทพยูเรนัสยังถูกนำมาใช้ตั้งเป็นชื่อของ ดาวยูเรนัส ด้วย หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก.

ใหม่!!: เอียรอสและยูเรนัส (เทพปกรณัม) · ดูเพิ่มเติม »

อะพอลโลกับแดฟนี

อะพอลโลกับแดฟนีเป็นนิยายเทพปกรณัมกรีกโบราณ บอกเล่าโดยผู้ประพันธ์ในสมัยเฮลเลนิสติกและโรมโบราณ.

ใหม่!!: เอียรอสและอะพอลโลกับแดฟนี · ดูเพิ่มเติม »

ความรัก

วาดตัวอย่างคู่รัก โรมิโอกับจูเลียต ความรัก (Love) เป็นความรู้สึก สภาพและเจตคติต่าง ๆ ซึ่งมีตั้งแต่ความชอบระหว่างบุคคลหมายถึงอารมณ์การดึงดูดและความผูกพัน (attachment) ส่วนบุคคลอย่างแรงกล้าOxford Illustrated American Dictionary (1998) + Merriam-Webster Collegiate Dictionary (2000) ในบริบททางปรัชญา ความรักเป็นคุณธรรมแสดงออกซึ่งความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ และความเสน่หาทั้งหมดของมนุษย์ ความรักเป็นแก่นของหลายศาสนา อย่างเช่นในวลี "พระเจ้าเป็นความรัก" ของศาสนาคริสต์ หรืออากาเปในพระวรสารในสารบบ ความรักยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นพฤติกรรมต่อตนเองหรือผู้อื่นซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานความเห็นอกเห็นใจ หรือความเสน่หา คำว่ารักสามารถหมายความถึงความรู้สึก สภาพทางอารมณ์และเจตคติต่าง ๆ ซึ่งอาจมีตั้งแต่ความพอใจทั่วไปจนถึงความดึงดูดระหว่างบุคคลอย่างรุนแรง แต่โดยเจาะจงแล้ว ความรักสามารถหมายถึงความต้องการอย่างเสน่หาและความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งเป็นความหมายของความรักแบบโรแมนติก ความรักที่มีเพศเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นความหมายของอีรอส (คำภาษากรีกหมายถึงความรัก) ความใกล้ชิดทางอารมณ์ ซึ่งเป็นความหมายของความรักกับบุคคลในครอบครัว หรือรักบริสุทธิ์ที่นิยามมิตรภาพ หรือความรักแบบอุทิศตัวแบบในทางศาสนา (J. Mascaró, translator) ความหลากหลายของการใช้และความหมายของคำว่ารักนี้ ประกอบกับความรู้สึกอันซับซ้อนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เป็นการยากที่จะนิยามความรักให้แน่นอน แม้จะเทียบกับสภาพอารมณ์อื่น ๆ แล้วก็ตาม วิทยาศาสตร์นิยามว่าสิ่งที่เข้าใจได้ว่าเป็นความรักนั้นเป็นสภาพที่มาจากวิวัฒนาการของสัญชาตญาณการเอาตัวรอด โดยพื้นฐานแล้วเพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันเพื่อต่อต้านภัยคุกคามและเพื่อสนับสนุนความต่อเนื่องของสายพันธุ์ผ่านการสืบพันธุ์Helen Fisher.

ใหม่!!: เอียรอสและความรัก · ดูเพิ่มเติม »

คิวปิด

ในเทพปกรณัมคลาสสิก คิวปิด (Cupid; Cupido) เป็นพระเจ้าแห่งความปรารถนา ความรักแบบกาม (erotic) ความดึงดูดและวิภาพ (affection) มักพรรณนาว่าพระองค์เป็นพระโอรสของเทพีวีนัส เทพีแห่งความรักของโรมัน ภาคกรีก คือ เอียรอส (Eros)Larousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.

ใหม่!!: เอียรอสและคิวปิด · ดูเพิ่มเติม »

คิวปิดและไซคี

ประติมากรรมรูปคิวปิดและไซคี ''ไซคีและอมอร์'' หรืออีกชื่อ ไซคีขณะรับจูบแรกจากคิวปิด (''Psyche Receiving Cupid's First Kiss; ค.ศ.'' 1798) โดย François Gérard ผีเสื้อเหนือศีรษะของไซคีเป็นสัญลักษณ์ของความความบริสุทธิ์ก่อนการปลุกเร้าทางเพศDorothy Johnson, ''David to Delacroix: The Rise of Romantic Mythology'' (University of North Carolina Press, 2011), pp. 81–87. คิวปิดและไซคี (Cupid and Psyche) เป็นเรื่องจากนวนิยายละติน Metamorphoses หรืออีกชื่อหนึ่งว่า The Golden Ass เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 2 โดย แอพยูเลียส เนื้อหาว่าด้วยการเอาชนะอุปสรรคต่อความรักระหว่างไซคี (Ψυχή, "วิญญาณ" หรือ "ลมหายใจแห่งชีวิต") และคิวปิด (Cupido, "ความปรารถนา") หรืออมอร์ ("ความรัก", ตรงกับอีรอสของกรีก) และอยู่กินร่วมกันหลังสมรสในที่สุด แม้เรื่องเล่าโดยละเอียดของแอพยูเลียสจะเป็นชิ้นเดียวที่เหลือรอดจากยุคโบราณก็ตาม แต่อีรอสและไซคีปรากฏในศิลปะกรีกตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล องค์ประกอบทางลัทธิเพลได้ใหม่ของเนื้อเรื่องและการอ้างอิงถึงศาสนามิสเตอรีส์นำไปสู่การตีความอันหลากหลาย และถูกวิเคราะห์ว่าเป็นอุปมานิทัศน์ในรูปของนิทานพื้นบ้าน เทพนิยาย และตำนาน ตั้งแต่นวนิยายของแอพยูเลียสถูกค้นพบอีกครั้งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เรื่องราวของคิวปิดและไซคี ถูกเล่าใหม่ในรูปแบบของกวีนิพนธ์ นาฏกรรม และอุปรากร และยังถูกแสดงในภาพวาด ประติมากรรม และแม้แต่กระดาษปิดฝาผนัง.

ใหม่!!: เอียรอสและคิวปิดและไซคี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนามิเบีย

นามิเบีย (Namibia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐนามิเบีย (Republic of Namibia) เป็นประเทศในทวีปแอฟริกาตอนใต้ ริมฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีพรมแดนติดด้านเหนือกับประเทศแองโกลา และแซมเบีย ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับซิมบับเว ทางตะวันออกติดกับบอตสวานา และทางใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ นามิเนียได้รับเอกราชคืนจากประเทศแอฟริกาใต้เมื่อ..

ใหม่!!: เอียรอสและประเทศนามิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

แอรีส

แอรีส (Ares; Ἄρης อาแรส) ทรงเป็นเทพแห่งสงครามของกรีก ทรงเป็นหนึ่งในสิบสองพระเจ้าโอลิมปัส และพระโอรสของซูสและฮีรา ในวรรณกรรมกรีก เป็นสัญลักษณ์ของแง่มุมกายภาพหรือความรุนแรงและไม่สงบของสงคราม ขัดกับอะธีนา ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา รวมทั้งยุทธศาสตร์การทหารและตำแหน่งอำนาจแม่ทัพ ชาวกรีกมีความรู้สึกไม่ชัดเจนต่อแอรีส เนื่องจากเทพแอรีสเป็นสัญลักษณะของความพ่ายแพ้เช่นเดียวกับความสามารถในสงครามแม้พระองค์จะทรงมีความกล้าทางกายซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในสงคราม แต่เป็นพลังที่อันตราย "ท่วมท้น ละโมบในการยุทธ์ ทำลายล้างและฆ่าคน"Burkert, Greek Religion, p. 169.

ใหม่!!: เอียรอสและแอรีส · ดูเพิ่มเติม »

แอโฟรไดที

แอโฟรไดที (Aphrodite,; Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส มีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส) ซึ่งตั้งตามชื่อแหล่งลัทธิสองแห่ง ไคธีราและไซปรัส ซึ่งอ้างว่าเป็นที่ประสูติของพระนาง กล่าวกันว่าเมอร์เทิล (myrtle) นกพิราบ นกกระจอก ม้าและหงส์ศักดิ์สิทธิ์ต่อพระนาง ชาวกรีกโบราณระบุพระองค์แอโฟรไดทีกับเทพีแฮธอร์ของอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: เอียรอสและแอโฟรไดที · ดูเพิ่มเติม »

ไกอา

กอา พระแม่ธรณีในเทพปกรณัมของกรีก ไกอา หรือ เกอา (Gaia; จากภาษากรีกโบราณ: Γαîα; ภาษากรีกปัจจุบัน: Γῆ; หมายความว่า พื้นดิน หรือพื้นโลก) หรือ จีอา (Gaea) เป็นเทพีองค์แรกของโลกตามตำนานของชาวกรีก ร่างกายของนางคือพื้นพิภพ นามในภาษาละตินของนางคือ เทอร์รา (Terra).

ใหม่!!: เอียรอสและไกอา · ดูเพิ่มเติม »

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ใหม่!!: เอียรอสและเทพปกรณัมกรีก · ดูเพิ่มเติม »

เคออส

ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก เคออส (χάος, khaos; Chaos หรือ Khaos) เป็นสภาพแรกเริ่มของการมีอยู่ ก่อนการกำเนิดของเหล่าทวยเทพรุ่นแรก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือความว่างเปล่าอันมืดดำของอวกาศ ใน ธีออโกนี หรือเทวพงศาวดารของเฮซิโอด (700 ปีก่อนค.ศ.) "เคออส" เป็นเทพดึกดำบรรพ์องค์แรกที่ปรากฎขึ้น จากนั้นจึงเกิดมี ไกอา (โลก), ทาร์ทารัส (ก้นบึ้ง), และ เอรอส (ความรัก) ตามมา จากเคออสแล้วจึงมี เอเรบัส (ความมืด) และนิกซ์ (กลางคืน).

ใหม่!!: เอียรอสและเคออส · ดูเพิ่มเติม »

433 อีรอส

--> 433 อีรอส (433 Eros) เป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกชนิดเอส ขนาดประมาณ 34.4×11.2×11.2 กิโลเมตร เป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกขนาดใหญ่สุดเป็นอันดับสองรองจาก 1036 แกนีมีด มีการค้นพบในปี 1898 และเป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกดวงแรกที่ถูกค้นพบ เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มียานไปโคจรรอบ (ในปี 2000) จัดอยู่ในกลุ่มอะมอร์ (Amor) อีรอสเป็นดาวเคราะห์น้อยตัดวงโคจรดาวอังคาร (Mars-crosser) เป็นดวงแรกที่ทราบ วัตถุในวงโคจรดังกล่าวสามารถอยู่ตรงนั้นได้เพียงไม่กี่ร้อยล้านปีก่อนวงโคจรจะถูกรบกวนจากอันตรกิริยาความโน้มถ่วง การหาปฏิพันธ์พลวัตเสนอว่าอีรอสอาจเปลี่ยนเป็นตัดวงโคจรโลก (Earth-crosser) ในระยะเวลาสองล้านปี และมีโอกาสประมาณ 50% ในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในเวลา 108–109 ปี เป็นดาวเคราะห์น้อยที่อาจพุ่งชนโลก มีขนาดใหญ่ประมาณห้าเท่าของอุกกาบาตพุ่งชนโลกที่ก่อให้เกิดหลุมอุกกาบาตชีคชุลูบ (Chicxulub) ซึ่งนำไปสู่การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ไปถึงอีรอสสองครั้ง ครั้งแรกบินผ่านในปี 1998 และครั้งที่สองโคจรรอบในปี 2000 เมื่อได้ถ่ายภาพพื้นผิวของดาวอย่างกว้างขวาง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2001 เมื่อสิ้นสุดภารกิจ ยานลงจอดบนพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยโดยใช้เจ็ตขับเคลื่อน.

ใหม่!!: เอียรอสและ433 อีรอส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Erosอีรอสเออรอส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »