โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอียน เฟลมมิง

ดัชนี เอียน เฟลมมิง

อียน แลนแคสเตอร์ เฟลมมิง (Ian Lancaster Fleming) เป็นนักประพันธ์ชาวอังกฤษ เจ้าของนวนิยายเรื่อง เจมส์ บอนด์ 007 ซึ่งต่อมามีการนำไปสร้างเป็นการ์ตูน และภาพยนตร์อีกมากมาย เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) ณ บ้านเลขที่ 7 ถนนกรีนสตรีท เมืองเมย์แฟร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร เรียนภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิวนิค และมหาวิทยาลัยเจนิวา จากนั้นได้เป็นนักข่าวของศูนย์ข่าวรอยเตอร์ส (Reuters news service) ซึ่งเคยส่งเขาไปทำข่าวจารกรรมที่รัสเซี.

43 ความสัมพันธ์: ฟรอมรัชเชีย วิทเลิฟฟอร์ยัวร์อายส์โอนลีพ.ศ. 2451พยัคฆ์มฤตยู 007พยัคฆ์ร้าย 007พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007การเหมารวมมฤตยู มูนแรคเกอร์ยอดสายลับ007ลิฟแอนด์เล็ตดายสเปกเตอร์ออนเฮอร์แมจิสตีส์ซีคริตเซอร์วิซองค์กรลับดับพยัคฆ์ร้ายฌอน คอนเนอรีจอมมหากาฬ 007จารกรรมธันเดอร์บอลล์ 007ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007ดร.โนดาย อนัทเธอร์ เดย์ 007 พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะแอสตันมาร์ตินโกลด์ฟิงเกอร์เฟลิกซ์ ไลเทอร์เพชฌฆาต 007เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์เอ็ม (เจมส์ บอนด์)เจมส์เจมส์ บอนด์เดอะ แมน ฟรอม อั.ง.เ.คิ.ล. คู่ดุไร้ปรานีเดอะสปายฮูลัฟด์มีDiamonds Are Forever (นวนิยาย)007 พยัคฆ์ร้ายสุดที่รัก007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก007 พยัคฆ์ร้ายเหนือเมฆ007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก007 พยัคฆ์สะบัดลาย007 รหัสสังหาร007 เพชรพยัคฆราช007 เพชฌฆาตปืนทอง007 เจาะดวงตาเพชฌฆาต12 สิงหาคม28 พฤษภาคม

ฟรอมรัชเชีย วิทเลิฟ

ฟรอมรัชเชีย วิทเลิฟ (From Russia, with Love) เป็นนวนิยายลำดับที่ห้าในหนังสือชุด เจมส์ บอนด์ ของเอียน เฟลมมิง จัดพิมพ์ครั้งแรกในสหราชอาณาจักรโดยสำนักพิมพ์จอนาทัน เคป เมื่อวันที่ 8 เมษายน..

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและฟรอมรัชเชีย วิทเลิฟ · ดูเพิ่มเติม »

ฟอร์ยัวร์อายส์โอนลี

ฟอร์ยัวร์อายส์โอนลี (For Your Eyes Only) เป็นหนังสือรวมเรื่องสั้นโดยเอียน เฟลมมิง นักเขียนชาวอังกฤษผู้สร้างตัวละครสายลับชาวอังกฤษ เจมส์ บอนด์ ในหนังสือเล่มนี้มีเรื่องสั้นห้าเรื่อง ได้แก่ ฟรอมอะวิวทูอะคิลล์, ฟอร์ยัวร์อายส์โอนลี, ควอนทัมออฟซอลิซ, รีซีโก และ เดอะฮิลดิแบรนด์แรริตี สี่เรื่องแรกเป็นการดัดแปลงจากโครงเรื่องสำหรับซีรีส์ทางโทรทัศน์ซึ่งไม่มีการสร้างจริง ส่วนเรื่องที่ห้าเป็นเรื่องที่เฟลมมิงเขียนเสร็จไว้ก่อนแล้วแต่ยังไม่ได้ตีพิม.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและฟอร์ยัวร์อายส์โอนลี · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2451

ทธศักราช 2451 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1908 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและพ.ศ. 2451 · ดูเพิ่มเติม »

พยัคฆ์มฤตยู 007

ัคฆ์มฤตยู 007 หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Live And Let Die เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 8 ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นโปรดัคชั่นส์ (EON Productions) จัดทำขึ้น และเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ โรเจอร์ มัวร์ แสดงเป็นเจมส์ บอนด์ ให้กับค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็น กำกับโดย กาย ฮามิลตัน ออกฉายในพ.ศ. 2516 ใช้ทุนรวม 7,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 37,000,000 ดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2555 กวาดรายได้รวมทั้งสิ้น 161,800,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 847,000,000 ดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 3 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง (ดูเพิ่ม).

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและพยัคฆ์มฤตยู 007 · ดูเพิ่มเติม »

พยัคฆ์ร้าย 007

ัคฆ์ร้าย 007 (ภาษาอังกฤษ: Dr. No) เป็นภาพยนตร์แนวสายลับ ของสหราชอาณาจักร แสดงนำโดย ฌอน คอนเนอรี โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องแรกของ ภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ โดยดัดแปลงจากนวนิยายของ เอียน เฟลมมิง ในชื่อเดียวกัน เขียนบทภาพยนตร์โดย ริชาร์ด มายเบาม์, โจฮันนา ฮาร์วูด และ เบอร์คีลี แมทเทอร์ และกำกับโดย เทอร์เรนซ์ ยัง และอำนวยการสร้างโดย แฮรรี ซอลท์ซ์แมน และ อัลเบิร์ต อาร.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและพยัคฆ์ร้าย 007 · ดูเพิ่มเติม »

พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์

ัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (Never Say Never Again) เป็นภาพยนตร์เจมส์บอนด์อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในรายชื่อภาพยนตร์บอนด์ที่เป็นทางการทั้ง 23 ตอนที่ค่ายอีโอเอ็นโปรดัคชั่นส์ (Eon Productions) จัดทำขึ้นแต่อย่างใด แต่เป็นภาพยนตร์เจมส์บอนด์อย่างไม่เป็นทางการที่ค่ายวอร์เนอร์บราเดอร์ (Warner Bros.) จัดทำขึ้น พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ เป็นภาพยนตร์บอนด์นอกระบบที่สร้างเพื่อเป็นการผลิตใหม่(Remake)ของภาพยนตร์บอนด์ที่เป็นทางการเรื่อง ธันเดอร์บอลล์ เพื่อให้มีเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในค.ศ. 1983 หรือ พ.ศ. 2526 แข่งกับภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการเรื่อง เพชฌฆาตปลาหมึกยักษ์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ลงทุนไป 36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 77,927,711 ดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2551 กวาดรายได้รวม 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 346,345,381 ดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2551เป็นยอดขายที่ต่ำกว่าภาพยนตร์เรื่อง เพชฌฆาตปลาหมึกยักษ.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและพยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ · ดูเพิ่มเติม »

พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007

ลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 (Skyfall) เป็นภาพยนตร์แนวสายลับ ลำดับที่ 23 ในภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์, ผลิตโดย อีโอเอ็น โปรดักชันส์ และจัดจำหน่ายโดย เอ็มจีเอ็ม และ โซนี พิกเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์"", 3 November 2011, via Sony Pictures website.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและพลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 · ดูเพิ่มเติม »

การเหมารวม

รูปลักษณ์ของโฮเมอร์ ซิมป์สันแสดงถึงการมองชายวัยกลางคนผิวขาวจากอเมริกากลางแบบเหมารวม การเหมารวม หรือ สามัญทัศน์ (Stereotype) คือ คตินิยมหรือทัศนคติของสังคมทั่วไปที่มีต่อกลุ่มคนอื่น ชาติอื่น หรือลักษณะของบุคคลบางประเภทจนกลายเป็นมาตรฐาน มีพื้นฐานมาจากการสรุปเอาจากข้อสมมุติพื้นฐานที่มีแนวโน้มที่เป็นอัตวิสัย การเหมารวมเกิดขึ้นจากความคิดที่คุ้นเคยทางมโนธรรม เช่น จากพฤติกรรมบางอย่าง หรือลักษณะพิเศษอันแตกต่างจากผู้อื่นที่ปรากฏและเป็นที่สังเกตอยู่ชั่วระยะเวลาอันยาวพอประมาณ การที่แนวคิดทางวัฒนธรรม (Meme) จะกลายมาเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยสังคมโดยทั่วไปได้ สามัญทัศน์ไม่อาจจะเป็นแนวคิดที่ผิดไปทั้งหมด และจะต้องมีองค์ประกอบที่สังคมยอมรับ (Social recognition) การเหมารวมมิได้ใช้แต่เฉพาะกลุ่มคนแต่อาจจะใช้ในสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนสามารถทำนายผลที่จะออกมาได้ การเหมารวมอาจจะเป็นได้ทั้ง “ดี” และ “ไม่ดี” แต่แนวคิดทางของการเหมารวมส่วนใหญ่แล้วยากที่จะเสนอภาพพจน์ทางบวกของกลุ่มชน.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและการเหมารวม · ดูเพิ่มเติม »

มฤตยู มูนแรคเกอร์

หน้าปกหนังสือนวนิยาย Moonraker ที่ตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2506 โดย Pan ภาพหน้าปกหนังสือนวนิยาย Moonraker ที่ตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2512 โดย Pan Books ภาพหน้าปกหนังสือนวนิยาย Moonraker ที่ตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2545 โดย Penguin Books มฤตยู มูนแรคเกอร์ (Moonraker) ในที่นี้หมายถึง ชื่อนวนิยายเรื่องที่ 3 ในนวนิยายชุด เจมส์ บอนด์ ที่ เอียน เฟลมมิ่ง เป็นผู้ประพันธ์ขึ้น เป็นนวนิยายประเภทสายลับ/จารกรรม ตีพิมพ์ออกจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2498 โดยสำนักพิมพ์ โจนาธาน เคป และตามด้วยอีกมากมายหลายสำนักพิมพ์ มีการพิมพ์ออกจำหน่ายครั้งแล้วครั้งเล่า ลิขสิทธิ์ในการพิมพ์จำหน่ายถูกซื้อขายเป็นทอดๆไปหลายสำนักพิมพ์ จนถึงปัจจุบันนี้สำนักพิมพ์ที่ถือลิขสิทธิ์คือสำนักพิมพ์ เพนกวินบุ๊คส์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับภารกิจของบอนด์ที่ให้ไปสืบราชการลับจากการที่อังกฤษถูกขโมยยานกระสวยอวกาศชื่อ มูนเรเกอร์ ไป.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและมฤตยู มูนแรคเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยอดสายลับ007

อดสายลับ007 หรือ ยอดจารชน (Casino Royale) เป็นชื่อของนวนิยายเรื่องหนึ่งของ เอียน เฟลมมิ่ง เป็นเรื่องแรกในนวนิยายชุด เจมส์ บอนด์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสายลับอังกฤษ ที่ทำงานให้กับองค์กร MI6 และเขามีใบอนุญาตฆ่าคนซึ่งทำให้เขาสามารถฆ่าคนได้ไม่ผิดกฎหมาย และใช้รหัส 007 ซึ่ง 00 เป็นรหัสที่แสดงว่าเขาฆ่าได้ไม่ผิดกฎหมาย และเลข 7 ก็เป็นเลขที่เขาได้ในฐานะสายลับ หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2496 โดย โจนาธาน เคป (Jonathan Cape) หนังสือเล่มนี้ ได้รับการนำไปตีพิมพ์หลายครั้ง การตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2512 เป็นการตีพิมพ์โดย แพน บุ๊คส์ (Pan Books) การตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2545 เป็นการตีพิมพ์โดย เพนกวิน บุ๊คส์ (Penguin Books) และนวนิยายเรื่องนี้ ได้ถูกดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ 1 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2497 นำแสดงโดยแบร์รี เนลสัน และภาพยนตร์ 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2510 นำแสดงโดยเดวิด นิเวน, วูดดี อัลเลน, และปีเตอร์ เซลเลอร์ และในปี พ.ศ. 2549 นำแสดงโดยแดเนียล เคร็ก.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและยอดสายลับ007 · ดูเพิ่มเติม »

ลิฟแอนด์เล็ตดาย

หน้าปกหนังสือ Live and Let Die ที่พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2508 โดยแพนบุ๊คส์ หน้าปกหนังสือ Live and Let Die ที่พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2545 โดย เพนกวินบุ๊คส์ Live And Let Die เป็นนวนิยายเรื่องที่ 2 ในนวนิยายชุด เจมส์ บอนด์ ที่ เอียน เฟลมมิ่ง แต่งขึ้น พิมพ์จำหน่ายครั้งแรกใน พ.ศ. 2497 และจนถึงปัจจุบัน มีการตีพิมพ์จำหน่ายไปแล้วหลายครั้ง จากหลายสำนักพิมพ์ที่ซื้อลิขสิทธิ์ต่อกันเป็นทอดๆ เช่น โจนาธาน เคป (Jonathan Cape) ที่เป็นบริษัทและสำนักพิมพ์ที่พิมพ์จำหน่ายเป็นสำนักพิมพ์แรก และตามด้วย แม็คมิลลัน (Macmillan), เปอร์มาบุ๊คส์ (Permabooks), แพนบุ๊คส์ (Pan Books), ไทรแอด/แพนเทอร์ (Triad/Panther), ไทรแอด/แกรนาด้า (Triad/Granada), โคโรเน็ตบุ๊คส์ (Coronet Books), วิคิง/เพ็นกวิน (Viking/Penguin) และ เพนกวินบุ๊คส์ (Penguin Books) ตามลำดั.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและลิฟแอนด์เล็ตดาย · ดูเพิ่มเติม »

สเปกเตอร์

ัญลักษณ์ของสเปกเตอร์ สเปกเตอร์ (SPECTRE) เป็นองค์กรลับในนวนิยายชุด เจมส์ บอนด์ เขียนโดยเอียน เฟลมมิง ชื่อองค์กรมาจากคำว่า Special Executive for Counter-intelligence, Terrorism, Revenge and Extortion สเปกเตอร์ก่อตั้งในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 โดย เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ ศัตรูคู่อาฆาตของเจมส์ บอนด์ โดยเริ่มต้นจากการเป็นกลุ่มนักธุรกิจที่มีสายสัมพันธ์กับองค์กรอาชญากรรมทั่วโลก เช่น เกสตาโปของนาซีเยอรมนี, องค์กรสเมิร์ช (SMERSH) ของโซเวียต, ตำรวจลับของยอซีป บรอซ ตีโต, มาเฟียอิตาลี เป็นต้น ก่อนจะขยายตัวเป็นองค์กรระดับโลก.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและสเปกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ออนเฮอร์แมจิสตีส์ซีคริตเซอร์วิซ

ออนเฮอร์แมจิสตีส์ซีคริตเซอร์วิซ (On Her Majesty's Secret Service) เป็นนิยายลำดับที่สิบในหนังสือชุด เจมส์ บอนด์ ของเอียน เฟลมมิ่ง จัดจำหน่ายครั้งแรกในสหราชอาณาจักรโดยโจนาธาน เคป เมื่อวันที่ 1 เมษายน..1963 ฉบับพิมพ์ครั้งแรกและครั้งที่สองถูกจัดจำหน่ายจนหมด ด้วยจำนวนกว่า 60,000 เล่มภายในหนึ่งเดือน เฟลมมิ่งเขียนหนังสือเล่มนี้ในจาเมกาในระหว่างที่ภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ของ อีโอเอ็น โปรดักชั่นส์ เรื่องแรก พยัคฆ์ร้าย 007 ถ่ายทำในสถานที่ใกล้เคียง ออนเฮอร์แมจิสตีส์ซีคริตเซอร์วิซ เป็นหนังสือเล่มที่สองที่รู้จักกันในนาม "Blofeld trilogy" ซึ่งก่อนหน้าคือ ธันเดอร์บอลล์ และสิ้นสุดลงด้วย ยูออนลีลิฟทไวส์ เนื้อเรื่องหลักเดินอยู่บนการสืบสวนออกตามหา เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ หลังจากเหตุการณ์ในธันเดอร์บอลล.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและออนเฮอร์แมจิสตีส์ซีคริตเซอร์วิซ · ดูเพิ่มเติม »

องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย

องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย (Spectre) เป็นภาพยนตร์แนวสายลับลำดับที่ 24 ในชุดเจมส์ บอนด์ โดยแซม เมนเดส กลับมากำกับอีกครั้ง หลังจากตอน พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 และแดเนียล เคร็ก รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ เป็นครั้งที่ 4 ร่วมแสดงโดยคริสทอฟ วัลซ์, เลอา แซดู, เรล์ฟ ไฟนส์และเดฟ บาติสต.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและองค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย · ดูเพิ่มเติม »

ฌอน คอนเนอรี

อน คอนเนอรี่ ในงานเทศกาลของชาวสกอตแลนด์ ที่จัดในกรุงวอชิงตันดีซี ฌอน คอนเนอรี่ ในสมัยรับบทเจมส์ บอนด์ ฌอน คอนเนอรี่ (Sean Connery) มีชื่อจริงว่า โธมัส ฌอน คอนเนอรี่ (Thomas Sean Connery) เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1930 ที่เมืองเอดินเบอระ แคว้นสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร บิดาชื่อว่า โจเซฟ คอนเนอรี่ (Joseph Connery) นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ในขณะที่มารดา อูฟาเมีย แม็คลีน (Euphamia Maclean) นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ เขาเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงครั้งแรกในค.ศ. 1954 แต่รับบทเป็นเพียงตัวประกอบเล็กๆ ไม่มีบทบาทสำคัญใดๆ ในภาพยนตร์เรื่อง Lilacs in the Spring การรับบทตัวละครสำคัญๆครั้งแรกของฌอน คือใน ค.ศ. 1957 นับเป็นการก้าวสู่วงการบันเทิงอย่างเต็มตัว และไม่นานก็สามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนได้อย่างรวดเร็ว ต่อมา ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็น (EON Productions) จะทำภาพยนตร์ชุดบอนด์เดอะซีรีส์ โดยสร้างภาพยนตร์จากนวนิยายสายลับของ เอียน เฟลมมิ่ง เขาจึงได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับบทเจมส์ บอนด์คนแรก และเริ่มแสดงภาพยนตร์ชุดบอนด์ โดยภาพยนตร์ชุดบอนด์ตอนแรกได้ออกฉายเป็นครั้งแรกในค.ศ. 1962 ชื่อตอนคือ Dr. No หรือชื่อภาษาไทยว่า พยัคฆ์ร้าย 007 ด้วยทุน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กวาดรายได้ถล่มทลายถึง 59,600,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมื่อเทียบเป็นค่าของเงินในค.ศ. 2008 แล้วจะได้ถึง 425,488,741 ดอลลาร์สหรัฐ เขาและอีโอเอ็นจึงเดินหน้าถ่ายทำตอนถัดๆไปเรื่อยๆ ถึง 5 ตอน จอร์จ ลาเซนบี้ ก็เข้ามารับบทเป็นเจมส์ บอนด์แทน แต่เขาไม่สามารถชนะใจแฟนๆภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ได้ ฌอน คอนเนอรี่ จึงต้องกลับมารับบทเจมส์บอนด์อีกตอนหนึ่ง คือ Diamonds Are Forever หรือ เพชรพยัคฆราช และเป็นตอนสุดท้ายที่เขาแสดงให้ค่ายอีโอเอ็น แต่ต่อมาเขาก็มาแสดงบทเจมส์ บอนด์ในภาพยนตร์อีกค่ายหนึ่งที่ไม่ใช่ค่ายอีโอเอ็นอีกในค.ศ. 1983 ชื่อว่าตอน Never Say Never Again หรือ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ และเขายังแสดงภาพยนตร์อยู่เรื่อยๆมาอีกหลายสิบปี โดยก่อนหน้าที่จะมารับบทเจมส์ บอนด์ นั้น คอนเนอรี่เป็นเพียงนักแสดงตัวประกอบโนเนมคนหนึ่งเท่านั้นเอง ซ้ำยังมีอาชีพเสริมคือรับจ้างส่งนมขวดตามบ้านอีกด้วย อีกทั้งยังไม่มีบุคลิกของเจมส์ บอนด์ ตามทรรศนะของเอียน เฟลมมิ่ง เจ้าของบทประพันธ์อีกต่างหาก แต่เมื่อเขาได้รับการคัดเลือกให้มาทดสอบบท โดยเดินเข้ามาและหยิบบุหรี่ที่วางอยู่บนโต๊ะคาบใส่ปากแล้วพูดประโยคอมตะว่า " Bond, James Bond " เขาก็ได้รับบทนี้จาก อัลเบิร์ต อาร์. บรอลโคลี่ ผู้อำนวยการสร้างทันที และก็ไม่ได้ทำให้ผิดหวัง เมื่อเขากลายมาเป็นเจมส์ บอนด์ อันดับหนึ่งตลอดกาลในใจของแฟน ๆ ภาพยนตร์ชุดนี้ทั่วโลก และผู้ชมภาพยนตร์คนอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่มีนักแสดงหลายต่อหลายคนมารับบทนี้ต่อจากคอนเนอรี่ แต่ก็ไม่มีใครสามารถสร้างความประทับใจได้เท่าคอนเนอรี่ ฌอน คอนเนอรี่ ประกาศวางมือจากวงการบันเทิงเมื่อปี ค.ศ. 2006 รวมระยะเวลาที่อยู่ในวงการบันเทิง 52 ปี นับเป็นนักแสดงในระดับซุปเปอร์สตาร์คนหนึ่งของโลก มีผลงานมากมาย และเคยได้รับรางวัลออสการ์สาขาดาราประกอบชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง The Untouchables ในปี ค.ศ. 1987 มาแล้วอีกด้ว.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและฌอน คอนเนอรี · ดูเพิ่มเติม »

จอมมหากาฬ 007

อมมหากาฬ 007 (You Only Live Twice) เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 5 ในภาพยนตร์ในระบบบอนด์เดอะซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็น(EON)จัดทำขึ้น และเป็นตอนที่ 5 ที่ฌอน คอนเนอรี่ รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ ให้กับค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในพ.ศ. 2510 กำกับโดย เลวิส กิลเบิร์ต (Lewis Gilbert) ใช้ทุนการสร้างรวมทั้งสิ้น 9,500,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเป็นเงิน 66,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 กวาดรายได้รวมทั้งสิ้น 111,600,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเป็นเงิน 778,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 4 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง (ดูเพิ่ม).

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและจอมมหากาฬ 007 · ดูเพิ่มเติม »

จารกรรม

รกรรม (espionage หรือ spying) คือ การล้วงความลับจากคู่แข่งหรือศัตรูเพื่อความได้เปรียบทางการทหาร การเมือง หรือเศรษฐกิจ จารชน (spy) คือ บุคคลที่รัฐส่งไปล้วงความลับจากศัตรูหรือฝ่ายที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นศัตรู โดยเฉพาะอย่างยิ่งความลับทางการทหาร แต่อาจรวมถึงการล้วงความลับจากต่างบริษัท เรียกว่า จารกรรมทางอุตสาหกรรม หลายประเทศส่งสายลับเข้าไปในประเทศอื่นทั้งประเทศที่เป็นมิตรและศัตรู แม้ว่าจะไม่เป็นที่เปิดเผย จารชนนี้อย่างอื่นก็เรียก เช่น สายลับ, คนสอดแนม, อุปนิกขิต หรือ อุปนิกษิต เรื่องราวเกี่ยวกับจารกรรมปรากฏในประวัติศาสตร์ตลอดมา ซุนวูกล่าวถึงการหลอกลวงและการบ่อนทำลาย อียิปต์โบราณพัฒนาระบบของการได้มาซึ่งข่าวกรอง โดยชาวฮิบรูก็ใช้ระบบนี้ โดยทั่วไป จารกรรมที่กระทำโดยพลเมืองของประเทศเป้าหมาย ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการกบฏ หลายประเทศถือว่าจารกรรมเป็นความผิดอาญา ต้องได้รับโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกากำหนดให้จารกรรมเป็นความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องหามักได้รับข้อเสนอลดหย่อนโทษโดยแลกกับข้อมูลข่าวสาร ในสหราชอาณาจักร จารชนต่างชาติจะได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 14 ปี ภายใต้ พระราชบัญญัติความลับของทางราชการ ขณะที่จารชนชาวอังกฤษที่เป็นสายลับให้ต่างชาติ และพิสูจน์ได้ว่าช่วยเหลือศัตรู จะถูกพิพากษาในข้อหาการกบฏ รับโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิต นอกจากนี้ จารชนที่ทำงานให้ผู้ก่อการร้ายยังถือว่ากระทำผิดพระราชบัญญัติการก่อการร้าย ค.ศ. 2000 ในระหว่างสงครามเย็น มีความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับจารกรรมบ่อยครั้ง ส่วนใหญ่เกี่ยวพันกับความลับด้านอาวุธนิวเคลียร์ ปัจจุบันใช้สายลับกับการค้ายาเสพติดโดยผิดกฎหมายและการก่อการร้.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและจารกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ธันเดอร์บอลล์ 007

ันเดอร์บอลล์ หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Thunderball เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 4 ในภาพยนตร์ชุดบอนด์เดอะซีรีส์ ของค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็น (EON) และเป็นเรื่องที่ 4 ที่ฌอน คอนเนอรี่รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ ในเรื่องนี้ เทอร์เร็นซ์ ยัง (Terence Young) กลับมาเป็นผู้กำกับอีกครั้ง ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในพ.ศ. 2508 นับเป็นเจมส์ บอนด์ ภาคที่ประสบความสำเร็จสูงที่สุด ใช้ทุนสร้างรวมทั้งสิ้น 9,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 66,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 กวาดรายได้รวมทั้งสิ้น 141,200,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 1,041,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 1 (ขายดีที่สุด)จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง (ดูเพิ่ม) นอกจากนี้ ภาพยนตร์ยังได้รับรางวัลออสการ์ สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 38.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและธันเดอร์บอลล์ 007 · ดูเพิ่มเติม »

ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007

ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Casino Royale เป็นภาพยนตร์เจมส์บอนด์อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในรายชื่อภาพยนตร์บอนด์ที่เป็นทางการทั้ง 23 ตอนที่ค่ายอีโอเอ็นโปรดัคชั่นส์ (Eon Productions) จัดทำขึ้นแต่อย่างใด แต่เป็นภาพยนตร์เจมส์บอนด์อย่างไม่เป็นทางการที่ค่ายโคลัมเบียพิกเจอส์จัดทำขึ้น ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 มีชื่อภาษาอังกฤษเหมือนกับเรื่อง พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก แต่เนื้อเรื่องแทบไม่มีส่วนที่เหมือนกัน โดยทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 เป็นภาพยนตร์ในแนวคอเมดี เนื่องจากไม่สามารถสร้างหนังประชันกับ เจมส์ บอนด์ ที่ทางอีโอเอ็นทำอยู่ได้ จึงปรับหนังมาอยู่ในแนวคอเมดีแทน ภาพยนตร์เรื่องนี้ลงทุนไป 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กวาดรายได้รวม 41.7 ล้านดอลลาร์สหรั.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 · ดูเพิ่มเติม »

ดร.โน

ร.โน (Dr.) เป็นนวนิยายลำดับที่หกในหนังสือชุด เจมส์ บอนด์ ของเอียน เฟลมมิง จัดพิมพ์ครั้งแรกในสหราชอาณาจักรโดยสำนักพิมพ์จอนาทัน เคป เมื่อวันที่ 31 มีนาคม..

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและดร.โน · ดูเพิ่มเติม »

ดาย อนัทเธอร์ เดย์ 007 พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะ

อนัทเธอร์ เดย์ 007 พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะ (Die Another Day) เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 20 ในภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นโปรดัคชั่น (EON Productions) จัดทำขึ้น เป็นครั้งที่ 4 และครั้งสุดท้ายที่เพียร์ซ บรอสแนน แสดงเป็น เจมส์ บอนด์ เป็นครั้งที่ 4 และครั้งสุดท้ายของ ซาแมนธา บอนด์ ในบท มันนี่เพ็นนี ให้กับค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายใน พ.ศ. 2545 กำกับโดย ลี ทามาโฮรี เขียนบทโดย เนล เพอร์วิสและโรเบิร์ต เวด ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ทุนรวม 142 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 170,178,988 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2551 และกวาดรายได้รวม 456 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 546,490,272 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2551 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 10 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง และเป็นเรื่องสุดท้ายที่เป็นไปตามลำดับเวลาของชุด ก่อนที่จะเริ่มต้นใหม่ใน พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและดาย อนัทเธอร์ เดย์ 007 พยัคฆ์ร้ายท้ามรณะ · ดูเพิ่มเติม »

แอสตันมาร์ติน

แอสตันมาร์ติน (ชื่อเต็มของบริษัทคือ Aston Martin Lagonda Limited) เป็นชื่อบริษัทผลิตรถยนต์สปอร์ตหรูของสหราชอาณาจักร มีฐานการผลิตที่เมืองเกย์ดอน (Gaydon) ในอังกฤษ ชื่อยี่ห้อแอสตันมาร์ตินนี้ ตั้งชื่อตามนามสกุลของลีโอเนล มาร์ติน (Lionel Martin) ผู้ก่อตั้งบริษัท และตามชื่อสถานที่ เนินแอสตัน (Aston Hill) ใกล้กับหมู่บ้านแอสตันคลินตัน (Aston Clinton) ในเมืองบักกิงแฮมเชอร์ (Buckinghamshire) ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 จนถึง พ.ศ. 2550 แอสตันมาร์ตินเป็นส่วนหนึ่งของ Premier Automotive Group ซึ่งเป็นกลุ่มกิจการของฟอร์ดมอเตอร์ และเมื่อวันที่ 12 มีนาคม..

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและแอสตันมาร์ติน · ดูเพิ่มเติม »

โกลด์ฟิงเกอร์

กลด์ฟิงเกอร์ (Goldfinger) เป็นนิยายลำดับที่เจ็ดในหนังสือชุดเจมส์ บอนด์ ของเอียน เฟลมมิง จัดจำหน่ายครั้งแรกในประเทศอังกฤษโดยโจนาธาน เคป เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1959 ต้นฉบับโกลด์ฟิงเกอร์ใช้ชื่อว่า The Richest Man in the World เขียนขึ้นในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1958 เนื้อเรื่องหลักอยู่กับการสืบสวนโดยเจ้าหน้าที่เจมส์ บอนด์ จาก MI6 การลักลอบขนทองของ ออริก โกลด์ฟิงเกอร์ ผู้ที่ถูก MI6 สงสัยว่าติดต่อกับองค์กร SMERSH.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและโกลด์ฟิงเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟลิกซ์ ไลเทอร์

อห์น เทอร์รี่ รับบทใน 007 พยัคฆ์สะบัดลาย, เดวิด เฮดิสัน รับบทใน 007 รหัสสังหาร, เจฟรี่ ไวรท์ รับบทใน 007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก เฟลิกซ์ ไลเทอร์ เป็นนามที่เอียน เฟลมมิ่ง กำหนดขึ้นมาในนวนิยายเจมส์ บอนด์ เขากำหนดให้ เฟลิกซ์ ไลเทอร์ เป็นเพื่อนสายลับของบอนด์ เฟลิกซ์ทำงานให้กับ CIA แห่งอเมริกา เฟลิกซ์ ปรากฏตัวอยู่ประปรายตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกของเจมส์ บอนด์ คือ พยัคฆ์ร้าย 007 และถูกลอบสังหารในภาพยนตร์เรื่องที่ 16 คือ รหัสสังหาร แต่รอดตาย และไม่ปรากฏตัวอีก จนถึงเรื่องที่ 21 คือ พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก ซึ่งเป็นภาพยนตร์บอนด์เรื่องแรกที่ไม่มีเนื้อเรื่องที่เป็นที่ต่อเนื่องมาจากตอนก่อนๆแม้แต่น้อย ดังนั้น เฟลิกซ์ ไลเตอร์ จึงกลับมาปรากฏตัวอีกครั้ง ในโต๊ะพนันในบ่อนคาสิโน รอยัล เพื่อมาปราบเลอชีฟร.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและเฟลิกซ์ ไลเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เพชฌฆาต 007

ต 007 หรือในชื่ออังกฤษว่า From Russia With Love เป็นภาพยนตร์ตอนที่ 2 ในชุดบอนด์เดอะซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นโปรดักชั่นส์ทำขึ้น และเป็นตอนที่ 2 ที่ฌอน คอนเนอรี่ รับบทเป็นเจมส์บอนด์ และเล่นให้ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นนี้ กำกับโดย เทอร์เร็นซ์ ยัง (Terence Young) ออกฉายในพ.ศ. 2506 ใช้ทุนการสร้างทั้งหมด 2,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเป็นเงิน 15,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 กวาดรายได้มารวมทั้งหมด 78,900,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเป็นเงิน 599,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 10 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง (ดูเพิ่ม).

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและเพชฌฆาต 007 · ดูเพิ่มเติม »

เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์

แอนโธนี่ ดอว์สัน ในบท โบลเฟลด์ ที่ซ่อนหน้า ในตอน เพชฌฆาต 007 กับตอน ธันเดอร์บอลล์ โดนัลด์ พลีสเซนซ์ ในบท โบลเฟลด์ ในตอน จอมมหากาฬ 007 เทลลี่ ซาวาลาส กับ จอร์จ ลาเซนบี้ ในบท โบลเฟลด์ กับ เจมส์ บอนด์ ตามลำดับ ในตอน ยอดพยัคฆ์ราชินี ชาร์ลส์ เกรย์ ในบท โบลเฟลด์ ในตอน เพชรพยัคฆราช คริสทอฟ วัลซ์ ในบท เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ ในตอน องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ (Ernst Stavro Blofeld) เป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่งในนวนิยายและภาพยนตร์ในชุด เจมส์ บอนด์ โบลเฟลด์เป็นศัตรูของบอนด์ ทำงานให้กับองค์การสเปกเตอร์ (SPECTRE) เอียน เฟลมมิ่ง ผู้เขียนเจมส์ บอนด์ ได้เขียนอธิบายโบลเฟลด์ว่าเกิดวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 ซึ่งตรงกับวันเกิดของเฟลมมิ่งเอง โดยมีพ่อเป็นชาวโปแลนด์และแม่เป็นชาวกรีก โบลเฟลด์ ในภาพยนตร์ มักปรากฏตัวกับแมวเปอร์เซียสีขาว และในช่วงต้นๆของซีรีส์บอนด์ ซึ่งคือตอน เพชฌฆาต 007 ซึ่งเป็นตอนที่ 2 กับตอน ธันเดอร์บอลล์ ซึ่งเป็นตอนที่ 4 โบลเฟลด์ปรากฏตัวในภาพยนตร์ แต่ไม่เปิดเผยหน้าของโบลเฟลด์ แต่จะใช้วิธีให้เห็นแค่ช่วงตัวของโบลเฟลด์ ถ่ายให้เห็นเขาเพียงแค่ลูบแมวเปอร์เซียตัวโปรด และการแสดงเป็นโบลเฟลด์จะเป็นการแสดงเงียบ แอ็คชั่นเฉยๆ แล้วจะให้อีกคนมาพากย์เสียงโบลเฟลด์อีกที่หนึ่ง ซึ่งในช่วงต้น ๆที่ไม่ให้เห็นหน้าโบลเฟลด์นี้ ผู้ที่แสดงเงียบเป็นโบลเฟลด์คือ แอนโธนี่ ดอว์สัน (Anthony Dawson) ผู้ซึ่งเคยแสดงเป็นตัวประกอบในซีรีส์บอนด์ไปแล้ว ค่ายภาพยนตร์จึงคิดวิธีนี้ได้ คือให้แอนโธนี่แสดงเงียบและถ่ายทำไม่ให้เห็นหน้า แล้วอีริค พอห์ลแมน (Eric Pohlman) มาให้เสียงพากย์ทีหลัง ต่อมา พอถึงตอน จอมมหากาฬ 007 ซึ่งเป็นตอนที่ 5 โบลเฟลด์ได้เปลี่ยนคนที่รับบทบาทมาเป็น โดนัลด์ พลีสเซนซ์ (Donald Pleasence) ซึ่งคราวนี้ โดนัลด์ รับบททั้งพูดทั้งแสดง ช่วงต้นเรื่อง จะยังไม่เห็นหน้าโบลเฟลด์ แต่พอช่วงปลายเรื่อง แฟน ๆ ภาพยนตร์เจมส์บอนด์ของค่ายอีโอเอ็น ก็ได้เห็นหน้าโบลเฟลด์เป็นครั้งแรก ซึ่งคือใบหน้าของ โดนัลด์ พลีสเซนซ์ พอถึงตอนที่ 6 ซึ่งคือ ยอดพยัคฆ์ราชินี โบลเฟลด์ เปลี่ยนผู้รับบทบาทอีกครั้ง เป็น เทลลี่ ซาวาลาส โดยในภาพยนตร์อ้างว่า โบลเฟลด์ ไปผ่าตัดแปลงโฉมมา เพื่อมาอ้างอิงในความเปลี่ยนแปลงของโบลเฟลด์ ครั้งนี้ไม่มีการซ่อนใบหน้าโบลเฟลด์ ตอนที่ 7 ซึ่งคือตอน เพชรพยัคฆราช โบลเฟลด์เปลี่ยนโฉมอีกครั้ง ครั้งนี้ผู้รับบทโบลเฟลด์คือ ชาร์ลส์ เกรย์ (Charles Gray) แล้วโบลเฟลด์ก็ไม่ปรากฏตัวอีกไปจนถึงตอนที่ 12 เจาะดวงตาเพชฌฆาต ผู้รับบทโบลเฟลด์คือ จอห์น ฮอลลิส (John Hollis) แต่ครั้งนี้เป็นการแสดงเงียบอีกครั้ง ครั้งนี้ผู้มาพากย์เสียงโบลเฟลด์คือ โรเบิร์ต ริตตี้ (Robert Rietty) ครั้งนี้ โบลเฟลด์โผล่มาเป็นช่วงสั้นๆ แค่ช่วงแอ๊คชั่นเปิดเรื่องไม่กี่นาที แล้วโบลเฟลด์ก็ไม่มีการปรากฏตัวในภาพยนตร์ของค่ายอีโอเอ็นอีกเลย แต่เจมส์ บอนด์ ฉบับไม่เป็นทางการเรื่อง พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ ที่ค่ายภาพยนตร์ Warner Bros. ทำขึ้นมา โบลเฟลด์ได้ปรากฏตัวอีกครั้งหนึ่ง ในเรื่องนี้ ผู้รับบทคือ แม็กซ์ วอน ซีโดว์ เจมส์ บอนด์เรื่องนี้ไม่มีการซ่อนหน้าโบลเฟลด์ แล้วโบลเฟลด์ ก็ไม่ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องใดอีกเลยจนถึงปัจจุบัน เว้นแต่ถูกล้อเลียนในภาพยนตร์การ์ตูนหรือภาพยนตร์ตลกล้อเลียนเท่านั้น เช่นเรื่อง Austin Powers จนกระทั่ง ในปี 2015 โบลเฟลด์ กลับมาปรากฏตัวอีกครั้ง ในภาค Spectre องค์การลับดับพยัคฆ์ร้าย โดยการรับบทของนักแสดงมากฝีมือชาวออสเตรีย คริสทอฟ วัลซ์ ซึ่งเคยฝากผลงานตัวร้ายสร้างชื่อไว้ในเรื่อง ยุทธการเดือดเชือดนาซี (Inglourious Basterds) จนได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 82 ในที่สุด หมวดหมู่:เจมส์ บอนด์ หมวดหมู่:ตัวละครชาวโปแลนด์ หมวดหมู่:บอสวิดีโอเกม de:Figuren aus James-Bond-Filmen#Blofeld.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ม (เจมส์ บอนด์)

ูดี้ เดนช์ ผู้รับบท "เอ็ม" เป็นผู้หญิงคนแรก ภาพจากเรื่อง ''007 พยัคฆ์ร้ายดับแผนครองโลก'' (The World Is Not Enough) เอ็ม เป็นตัวละครในนิยายชุดเจมส์ บอนด์ แต่งโดยเอียน เฟลมมิง ซึ่งรวมถึงภาพยนตร์และวิดีโอเกมในชุดเจมส์ บอนด์ด้วย "เอ็ม" เป็นรหัสเรียกตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานสืบราชการลับของสหราชอาณาจักร (MI6) เชื่อกันว่าเอียน เฟลมมิงนั้นได้แรงบันดาลใจมาจากผู้อำนวยการหน่วยสืบราชการลับคนแรกเซอร์แมนสฟิลด์ สมิธ-คัมมิง (Mansfield Smith-Cumming) ซึ่งใช้ตัวย่อในเอกสารว่า "ซี" (C) และประเพณีถูกดำเนินต่อมาโดยผู้อำนวยการคนอื่นๆ ในฉบับนิยาย ชื่อจริงของ "เอ็ม" คือ "Sir Miles Messervy" โดยจะมีผู้ช่วยเป็นเลขานุการชื่อมิสมันนี่เพนนี และหัวหน้าสต๊าฟชื่อบิล แทนเนอร.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและเอ็ม (เจมส์ บอนด์) · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์

มส์ (James) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและเจมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ บอนด์

มส์ บอนด์ (James Bond) เป็นตัวละครสมมติ สร้างโดย เอียน เฟลมมิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2496 ซึ่งปรากฏอยู่ในนวนิยาย 12 ตอนและรวมเรื่องสั้นอีก 2 เล่ม ต่อมาหลังจากเขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2507 มีนักประพันธ์อีกหลายคนได้สิทธิ์ในการประพันธ์ เจมส์ บอนด์ ต่อ ได้แก่ คิงส์ลีย์ เอมิส, คริสโตเฟอร์ วูด, จอห์น การ์ดเนอร์, เรย์มอนด์ เบ็นสัน, เซบาสเตียน ฟอล์ค, เจฟฟรีย์ ดีฟเวอร์ และ วิลเลียม บอยด์ นอกจากนี้ยังมีผลงานประพันธ์ของ ชาร์ลี ฮิกสัน ในชุด ยังบอนด์ และ เคต เวสต์บรูค ประพันธ์ในรูปแบบไดอารีของตัวละคร มิสมันนีเพนนี เจมส์ บอนด์ ยังได้ถูกดัดแปลงออกมาเป็นสื่อต่างๆ เช่น ละครโทรทัศน์, ละครวิทยุ, การ์ตูน, วิดีโอเกมและภาพยนตร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากทั่วโลก โดยเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่ 4 เริ่มจากเรื่อง พยัคฆ์ร้าย 007 (Dr.No) เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยมี ฌอน คอนเนอรี รับบท เจมส์ บอนด์ ปัจจุบันออกฉายแล้วทั้งหมด 24 ภาค ผลิตโดย อีโอเอ็น โปรดักชันส์ ภาคล่าสุด ชื่อว่า องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย (Spectre) แดเนียล เคร็ก เป็นเจมส์ บอนด์ ครั้งที่ 4 และเป็นคนที่ 6 ที่รับบทนี้ นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ของ อีโอเอ็น คือ ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (Casino Royale) เมื่อปี พ.ศ. 2510 เดวิด นิเวน เป็นเจมส์ บอนด์ และ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (Never Say Never Again) เมื่อปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นการรีเมค ธันเดอร์บอลล์ 007 (Thunderball) โดย ฌอน คอนเนอรี กลับมารับบทเป็นเจมส์ บอนด์ อีกครั้ง ตัวเลข 007 ที่อยู่ท้ายชื่อของเจมส์ บอนด์ หมายถึงรหัสลับประจำตัวที่ใช้เรียกแทนตัวเขาในฐานะของสายลับคนหนึ่ง โดยเลข 00 ที่นำหน้าเลข 7 อยู่นั้น ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แจ้งให้ทราบว่า ตัวเขาเป็นสายลับที่ได้รับอนุญาตให้สามารถสังหารชีวิตผู้อื่นได้โดยไม่ผิดกฎหมายสมเกียรติ อ่อนวิมล.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและเจมส์ บอนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ แมน ฟรอม อั.ง.เ.คิ.ล. คู่ดุไร้ปรานี

อะ แมน ฟรอม อั.ง...ล. คู่ดุไร้ปรานี (The Man from U.N.C.L.E.) เป็นภาพยนตร์แนวสายลับ/โลดโผน/ตลก กำกับและร่วมเขียนบทโดยกาย ริตชี โดยดัดแปลงจากละครโทรทัศน์ในชื่อเดียวกันของเอียน เฟลมมิง, นอร์แมน เฟลตันและแซม โรล์ฟ เป็นเรื่องราวของสายลับ 2 คนที่เป็นอริกันในสงครามเย็น แต่ต้องร่วมมือกันปกป้องโลก นำแสดงโดยเฮนรี แควิลล์, อาร์มี แฮมเมอร์ และฮิว แกรนต.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและเดอะ แมน ฟรอม อั.ง.เ.คิ.ล. คู่ดุไร้ปรานี · ดูเพิ่มเติม »

เดอะสปายฮูลัฟด์มี

อะสปายฮูลัฟด์มี (The Spy Who Loved Me) เป็นนวนิยายลำดับที่เก้าในหนังสือชุด เจมส์ บอนด์ ของเอียน เฟลมมิง มีเนื้อหาสั้นที่สุดและแสดงเรื่องราวทางเพศอย่างเปิดเผยมากที่สุดในบรรดานวนิยายของเฟลมมิง รวมทั้งยังมีลักษณะต่างกับนวนิยาย เจมส์ บอนด์ เรื่องก่อน ๆ ตรงที่มีเนื้อเรื่องเล่าในมุมมองแบบบุรุษที่หนึ่งโดยวีเวียน มีแชล หญิงสาวชาวแคนาดาคนหนึ่ง เฟลมมิงเขียนอารัมภบทให้กับนวนิยายเรื่องนี้โดยระบุว่ามีแชลเป็นนักเขียนร่วม.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและเดอะสปายฮูลัฟด์มี · ดูเพิ่มเติม »

Diamonds Are Forever (นวนิยาย)

หน้าปกนวนิยาย Diamonds Are Forever ที่ตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2505 โดยสำนักพิมพ์ แพนบุ๊คส์ (Pan Books) ภาพหน้าปกนวนิยาย Diamonds Are Forever ที่ตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2507 โดยสำนักพิมพ์ แพนบุ๊คส์ (Pan Books) ภาพหน้าปกนวนิยาย Diamonds Are Forever ที่ตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2545 โดยสำนักพิมพ์ เพนกวินบุ๊คส์ (Penguin Books) Diamonds Are Forever ในที่นี้ หมายถึง ชื่อนวนิยายเรื่องยาวเรื่องที่ 4 ในนวนิยายเรื่องยาวชุด เจมส์ บอนด์ ที่ เอียน เฟลมมิ่ง เป็นผู้ประพันธ์ขึ้น ตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกใน พ.ศ. 2499 โดยสำนักพิมพ์โจนาธาน เคป (Jonathan Cape) เป็นสำนักพิมพ์แรกที่ถือลิขสิทธิ์ในการผลิตและจัดจำหน่าย ต่อมาลิขสิทธิ์ในการผลิตและจัดจำหน่ายก็ถูกขายต่อไปยังสำนักพิมพ์อื่นเป็นทอดๆ หลายสำนักพิมพ์ จนถึงปัจจุบัน สำนักพิมพ์ที่ถือลิขสิทธิ์อยู่คือ สำนักพิมพ์ เพนกวินบุ๊คส์ (Penguin Books) ในพ.ศ. 2514 นวนิยายเรื่องนี้ก็ถูกดัดแปลงไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ซึ่งคือภาพยนตร์เรื่อง เพชรพยัคฆราช โดยมี ฌอน คอนเนอรี่ เป็น เจมส์ บอนด์ และเป็นภาพยนตร์เรื่องเดียวที่มาจากการนำนวนิยายเรื่องนี้ไปดัดแปลงและสร้างเป็นภาพยนตร.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและDiamonds Are Forever (นวนิยาย) · ดูเพิ่มเติม »

007 พยัคฆ์ร้ายสุดที่รัก

ัคฆ์ร้ายสุดที่รัก หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า The Spy Who Loved Me เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 10 ในภาพยนตร์ชุดบอนด์เดอะซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นโปรดัคชั่นส์(EON Productions) จัดทำขึ้น และเป็นครั้งที่ 3 ที่โรเจอร์ มัวร์ รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ให้กับค่ายอีโอเอ็นนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในพ.ศ. 2520 กำกับโดย เลวิส กิลเบิร์ต (Lewis Gilbert) ทุนการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้รวมทั้งสิ้น 14,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 54,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 ภาพยนตร์เรื่องนี้กวาดรายได้รวมทั้งสิ้น 185,400,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 711,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 5 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง (ดูเพิ่ม).

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและ007 พยัคฆ์ร้ายสุดที่รัก · ดูเพิ่มเติม »

007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก

007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก (Quantum of Solace) เป็นภาพยนตร์ชุดที่ 22 ของภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ซึ่งชื่อ Quantum Of Solace มาจากตอนหนึ่งในหนังสือนิยายของเอียน เฟลมมิ่งเรื่อง For Your Eyes Only ซึ่งเป็นหนังสือรวมเรื่องสั้น 5 เรื่องที่ตีพิมพ์ในปี 1960 (แต่เนื้อเรื่องในภาพยนตร์ไม่ได้มาจากเนื้อเรื่องของเรื่องสั้น) และชื่อ Quantum ก็เป็นชื่อหน่วยของฝ่ายร้ายในภาคนี้อีกด้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้ นำแสดงโดย แดเนี่ยล เคร็ก กำกับโดย มาร์ก ฟอร์สเตอร์ ถ่ายทำที่อิตาลี ออสเตรีย และอเมริกาใต้ ในเดือนพฤศจิกายน 2012 ภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ในอันดับที่ 3 ของภาพยนตร์ในชุด เจมส์ บอนด์ ที่ทำเงินสูง.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและ007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก · ดูเพิ่มเติม »

007 พยัคฆ์ร้ายเหนือเมฆ

ัคฆ์ร้ายเหนือเมฆ (Moonraker) เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 11 ในภาพยนตร์ชุดบอนด์เดอะซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นโปรดัคชั่นส์ (EON Productions) จัดทำขึ้น และเป็นครั้งที่ 4 ที่โรเจอร์ มัวร์ รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ให้กับค่ายอีโอเอ็นนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในพ.ศ. 2522 กำกับโดยเลวิส กิลเบิร์ต (Lewis Gilbert) ใช้ทุนรวมทั้งสิ้น 34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 99,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 กวาดรายได้รวมทั้งสิ้น 210.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 673,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 7 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและ007 พยัคฆ์ร้ายเหนือเมฆ · ดูเพิ่มเติม »

007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก

ัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก (Casino Royale) เป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 21 ในภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นโปรดัคชั่นส์ (EON Productions) จัดทำขึ้น เป็นครั้งแรกที่ แดเนี่ยล เคร็ก แสดงเป็น เจมส์ บอนด์ ให้กับค่ายอีโอเอ็นนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในพ.ศ. 2549 กำกับโดย มาร์ติน แคมป์เบลล์ ใช้ทุนไป 150,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 160,416,666 ดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2551 กวาดรายรับรวม 599,200,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 640,803,677 ดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2551 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 6 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและ007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก · ดูเพิ่มเติม »

007 พยัคฆ์สะบัดลาย

007 พยัคฆ์สะบัดลาย หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า The Living Daylights เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ เรื่องที่ 15 ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นโปรดักชั่นส์ (EON Productions) จัดทำขึ้น และเป็นครั้งแรกที่ ทิโมธี ดาลตัน แสดงเป็นเจมส์ บอนด์ ให้กับค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นนี้ และเป็นครั้งแรกของ คาโรไลน์ บลิส ในบท มิส มันนี่เพ็นนี ต่อจากลอยส์ แม็กซ์เวลล์ ที่เพิ่งหมดวาระไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในพ.ศ. 2530 กำกับโดย จอห์น เกลน (John Glen) ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาคต่อของ 007 พยัคฆ์ร้ายพญายม โดยมีภาคต่อจากนี้คือ 007 รหัสสังหาร ทุนการสร้างรวมทั้งสิ้น 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 75,915,493 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2551 กวาดรายได้รวมทั้งสิ้น 191.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 362,876,056 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2551 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 20 จากภาพยนตร์ เจมส์ บอนด์อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและ007 พยัคฆ์สะบัดลาย · ดูเพิ่มเติม »

007 รหัสสังหาร

รหัสสังหาร หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Licence to Kill เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 16 ในภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ เดอะซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นโปรดัคชั่น(EON Production) จัดทำขึ้น ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นครั้งที่ 2 และเป็นครั้งสุดท้ายของ ทิโมธี ดาลตัน ในบทเจมส์ บอนด์ ให้กับค่ายอีโอเอ็น เป็นครั้งที่ 2 เป็นครั้งสุดท้ายของคาโรไลน์ บลิส ในบท มิส มันนี่เพ็นนี เป็นครั้งที่ 5 และครั้งสุดท้ายของ โรเบิร์ต บราวน์ ในบท เอ็ม เช่นกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในพ.ศ. 2532 กำกับโดย จอห์น เกลน ซึ่งภาพยนตร์ซีรีส์เจมส์ บอนด์ เรื่องนี้ เป็นเรื่องแรกที่ไม่ใช้บทประพันธ์ของเอียน เฟลมมิ่ง แต่ใช้บทประพันธ์ของจอห์น การ์ดเนอร์แทน ใช้ทุนรวมทั้งสิ้น 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 73,025,806 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2551 กวาดรายได้รวมทั้งสิ้น 156.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 271,586,451 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2551 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 22 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและ007 รหัสสังหาร · ดูเพิ่มเติม »

007 เพชรพยัคฆราช

รพยัคฆราช หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Diamonds Are Forever เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 7 ในภาพยนตร์ชุดบอนด์เดอะซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็น (EON) จัดทำขึ้น เป็นเรื่องที่ 6 และเรื่องสุดท้ายที่ฌอน คอนเนอรี่ รับบทเจมส์บอนด์ให้กับค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในพ.ศ. 2514 กำกับโดย กาย ฮามิลตัน (Guy Hamilton) ใช้ทุนสร้างรวมทั้งหมด 7,200,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงิน 41,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 กวาดรายได้รวมทั้งหมด 116,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงิน 666,000,000 ดอลลาร์สหรัฐในพ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 8 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง (ดูเพิ่ม).

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและ007 เพชรพยัคฆราช · ดูเพิ่มเติม »

007 เพชฌฆาตปืนทอง

ตปืนทอง (The Man with the Golden Gun) เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 9 ในภาพยนตร์ชุดบอนด์เดอะซีรีส์ ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นโปรดักชั่นส์ (EON Productions) จัดทำขึ้น และเป็นครั้งที่ 2 ที่โรเจอร์ มัวร์ รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ ให้กับค่ายอีโอเอ็นนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายใน ค.ศ. 1974 กำกับโดยกาย ฮามิลตัน ใช้ทุนสร้างทั้งสิ้น 7,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 33,000,000 ดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2012 กวาดรายได้รวมทั้งสิ้น 97,600,000 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบเท่าเงิน 460,000,000 ดอลลาร์สหรัฐใน ค.ศ. 2012 ขายดีเป็นอันดับที่ 17 จากภาพยนตร์ เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและ007 เพชฌฆาตปืนทอง · ดูเพิ่มเติม »

007 เจาะดวงตาเพชฌฆาต

วงตาเพชฌฆาต หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า For Your Eyes Only เป็นภาพยนตร์ในชุดเจมส์ บอนด์ เดอะซีรีส์ เรื่องที่ 12 ที่ค่ายภาพยนตร์อีโอเอ็นโปรดัคชั่น (EON Production) จัดทำขึ้น และเป็นครั้งที่ 5 ที่ โรเจอร์ มัวร์ แสดงเป็น เจมส์ บอนด์ ให้กับค่ายอีโอเอ็น โรเจอร์ มัวร์ ออกความคิดเห็นว่า ในภาพยนตร์บอนด์ 7 เรื่องที่เขาแสดง ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เขาแสดงได้ดีที่สุด ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย จอห์น เกลน (John Glen) ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ทุนการสร้างรวมทั้งสิ้น 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเทียบเท่าเงิน 72,000,000 ดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2555 กวาดรายได้รวมทั้งสิ้น 195.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเทียบเท่าเงิน 499,000,000 ดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2555 เป็นภาพยนตร์ เจมส์ บอนด์ ที่ขายดีเป็นอันดับที่ 15 จากภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ อย่างเป็นทางการ 22 เรื่อง (ดูเพิ่ม).

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและ007 เจาะดวงตาเพชฌฆาต · ดูเพิ่มเติม »

12 สิงหาคม

วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันที่ 224 ของปี (วันที่ 225 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 141 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและ12 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

28 พฤษภาคม

วันที่ 28 พฤษภาคม เป็นวันที่ 148 ของปี (วันที่ 149 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 217 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เอียน เฟลมมิงและ28 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ian Flemingเอียน เฟลมมิ่ง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »