โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เสาแบบไอออนิก

ดัชนี เสาแบบไอออนิก

กหนังสือสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับเสาแบบไอออนิกเล่มแรก โดย Julien David LeRoy ชื่อว่า ''Les ruines plus beaux des monuments de la Grèce'' พิมพ์ที่ปารีส ค.ศ. 1758 (Plate XX) องค์ประกอบของเสา1. entablature.

9 ความสัมพันธ์: วิตรูวิอุสศิลปะยุคกรีกสะพานสมมตอมรมารคสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกสอาสนวิหารบลัวอาสนวิหารดักซ์ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อยเสาแบบคลาสสิก

วิตรูวิอุส

''วิทรูเวียนแมน'' เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี วิตรูวิอุส มีชื่อเต็มว่า มาร์กุส วิตรูวิอุส ป็อลลิโอ (Marcvs Vitrvvivs Pollio; เกิดในช่วง 80-70 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 25 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักเขียน สถาปนิก และวิศวกรแห่งอาณาจักรโรมัน เป็นบุคคลที่มีบันทึกเกี่ยวกับประวัติชีวิตส่วนตัวน้อยมาก สิ่งที่คนรุ่นหลังรู้จักเกี่ยวกับตัวเขาคือผ่านผลงานของเขา วิตรูวิอุสเกิดในสถานภาพราษฎรโรมันเต็มตัว ได้เข้ารับราชการทหารและประจำอยู่ในกองวิศวกรรมซึ่งมีหน้าที่สร้างเครื่องกลต่าง ๆ เพื่อใช้ในการทำสงคราม ต่อมาได้รับการว่าจ้างจากจักรพรรดิเอากุสตุสให้ทำงานกับราชสำนัก วันเวลาของการเสียชีวิตของวิตรูวิอุสนั้นนักประวัติศาสตร์ไม่สามารถหาหลักฐานที่ชัดเจนได้ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ว่า ในยุคสมัยที่เขาอยู่นั้น เขาไม่ได้เป็นคนสำคัญที่มีชื่อเสียงแต่อย่างใด นักประวัติศาสตร์เชื่อว่า วิตรูวิอุสเป็นผู้เขียนศาสตรนิพนธ์ชื่อ ว่าด้วยสถาปัตยกรรม (De architectvra) โดยเขียนเป็นภาษาละตินและภาษากรีก เป็นงานที่เขียนถวายให้กับจักรพรรดิเอากุสตุส และเป็นหนังสือเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเพียงเล่มเดียวในยุคนั้นที่มีหลักฐานหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ข้อความเขียนโดยวิตรูวิอุสที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดและยังคงใช้กันมาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คือ สถาปัตยกรรมต้องมีคุณลักษณะสามประการ ได้แก่ ความแข็งแรงมั่นคง (firmitas), การใช้ประโยชน์ได้ (vtilitas) และความงาม (venvstas) แนวคิดที่สำคัญอีกประการของวิตรูวิอุสนั้นคือ แนวคิดเกี่ยวกับการมองสถาปัตยกรรมเป็นการสร้างสรรค์เลียนแบบองค์ประกอบของธรรมชาติ เพราะมนุษย์ต้องใช้วัสดุจากธรรมชาติมาสร้างสถาปัตยกรรม ภาษาของสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นต้องมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางธรรมชาติของมนุษย์ ชาวกรีกได้นำหลักการนี้ไปเป็นพื้นฐานในการพัฒนาองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมคลาสสิก เช่น เสาแบบดอริก เสาแบบไอออนิก หรือเสาแบบคอรินเทียน ทุกสัดส่วนที่เกิดขึ้นนั้นมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่งานอันเป็นสุดยอดแห่งการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ ได้แก่ร่างกายของมนุษย์นั่นเอง แนวคิดเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ดังกล่าวได้รับการนำไปถ่ายทอดเป็นภาพเขียนที่มีชื่อเสียงชื่อ "วิทรูเวียนแมน" หรือมนุษย์วิตรูวิอุส ซึ่งเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี.

ใหม่!!: เสาแบบไอออนิกและวิตรูวิอุส · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะยุคกรีก

ลปะกรีกโบราณ หรือ ศิลปะกรีซโบราณ (750 ปีก่อนค.ศ. - 300 ปีก่อนค.ศ.) ชาวกรีกมีความเชื่อว่า "มนุษย์เป็นมาตรวัดสรรพสิ่ง" ซึ่งความเชื่อนี้เป็นรากฐาน ทางวัฒนธรรมของชาวกรีก เทพเจ้าของชาวกรีกจะมีรูปร่างอย่างมนุษย์ และไม่มี ความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายเหมือนชาวอียิปต์ ดังนั้น จึงไม่มีสุสานหรือพิธี ฝังศพที่ซับซ้อนวิจิตรเหมือนกับชาวอียิปต.

ใหม่!!: เสาแบบไอออนิกและศิลปะยุคกรีก · ดูเพิ่มเติม »

สะพานสมมตอมรมารค

นสมมตอมรมารค สะพานสมมตอมรมารค (/สมมดอะมอนมาก/) เป็นสะพานข้ามคลองรอบกรุงในส่วนของคลองบางลำพู ตั้งอยู่บนถนนบำรุงเมือง ในพื้นที่แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร และแขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นสะพานไม้ที่มีโครงเหล็กรองรับพื้นที่ชักเลื่อนออกจากกัน มีชื่อเรียกโดยผู้คนที่อาศัยอยู่แถบนี้ว่า "สะพานเหล็กประตูผี" เนื่องจากตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของประตูพระบรมมหาราชวัง หรือที่นิยมเรียกกันว่า "ประตูผี" อันเป็นทางที่ใช้สำหรับขนถ่ายศพของผู้เสียชีวิตในพระบรมมหาราชวังออกมาปลงศพด้านนอก ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สะพานแห่งนี้มีความทรุดโทรมมาก จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะใหม่ พร้อม ๆ กับการสร้างถนนและสะพานอีกหลายแห่งเพื่อรองรับความเจริญของบ้านเมือง โดยเป็นสะพานปูนปั้นเสริมโครงเหล็กเหมือนแบบเก่า และพระราชทานชื่อให้ว่า "สะพานสมมตอมรมารค" เมื่อแล้วเสร็จเมื่อปี..

ใหม่!!: เสาแบบไอออนิกและสะพานสมมตอมรมารค · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก

ประตูบรานเดนบวร์กในกรุงเบอร์ลินประเทศเยอรมนี สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก (Greek Revival architecture) คือขบวนการทางสถาปัตยกรรมของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ที่เกิดขึ้นทางตอนเหนือของยุโรปและสหรัฐอเมริกา สถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกเป็นผลมาจากขบวนการกรีกนิยม (Hellenism) ที่อาจจะเห็นได้ว่าเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนามาสู่สถาปัตยกรรมฟื้นฟูคลาสสิกก็ได้ คำว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีกใช้เป็นครั้งแรกโดยชาร์ลส์ โรเบิร์ต คอคเคอเรลล์ในบทปาฐกถาที่ให้เมื่อเป็นศาสตราจารย์ทางสถาปัตยกรรมที่ราชสถาบันศิลปะเมื่อปี..

ใหม่!!: เสาแบบไอออนิกและสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกรีก · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส

ตึกแบบจีน-โปรตุเกสในภูเก็ต ศูนย์รวมข่าวพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส คือรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก ในแหลมมลายูในยุคสมัยแห่งจักรวรรดินิยมของตะวันตก ราวปี..

ใหม่!!: เสาแบบไอออนิกและสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารบลัว

อาสนวิหารบลัว (Cathédrale de Blois) หรือชื่อเต็มว่า อาสนวิหารนักบุญหลุยส์แห่งบลัว (Cathédrale Saint-Louis de Blois) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก และเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลบลัว ตั้งอยู่ในเขตเมืองบลัว จังหวัดลัวเรแชร์ ในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่นักบุญหลุยส์ อาสนวิหารแรนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1906.

ใหม่!!: เสาแบบไอออนิกและอาสนวิหารบลัว · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารดักซ์

อาสนวิหารดักซ์ (Cathédrale de Dax) เรียกชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งดักซ์ (Cathédrale Notre-Dame de Dax) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก เป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลแอร์และดักซ์ ตั้งอยู่ที่เมืองดักซ์ จังหวัดล็องด์ ในแคว้นนูแวลากีแตน ประเทศฝรั่งเศส สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระนางมารีย์พรหมจารี ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของอดีตมุขมณฑลดักซ์ แต่ได้ถูกยุบลงภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งรวมถึงอดีตมุขมณฑลแอร์ซึ่งประสบชะตากรรมเดียวกันด้วย โดยทั้งสองได้ถูกยุบผนวกกับมุขมณฑลบายอนตามความตกลง ค.ศ. 1801 และต่อมาในปี ค.ศ. 1817 ได้มีการแยกออกมาอีกครั้งหนึ่งโดยรวมเป็นหนึ่งมุขมณฑล มีชื่อเรียกว่า มุขมณฑลแอร์และดักซ์ โดยมีที่ตั้งของมุขนายกที่อาสนวิหารแอร์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1833 ได้มีการย้ายที่ตั้งของมุขนายกมาอยู่ที่อาสนวิหารแห่งดักซ์ อนึ่ง อาสนวิหารแอร์ยังคงเป็นอาสนวิหารร่วม (co-cathedral) อาสนวิหารแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เมื่อปี ค.ศ. 1884 ในบริเวณซุ้มประตูอัครทูต (Portail des Apôtres) และอาคารส่วนที่เหลือ ค.ศ. 1946.

ใหม่!!: เสาแบบไอออนิกและอาสนวิหารดักซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย

นาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย เป็นสาขาหนึ่งของธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1280, 1280/1 ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยธนาคารแห่งนี้ มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน โดยเป็นที่ทำการของธนาคารแห่งแรกในประเทศไทย เริ่มก่อตั้งขึ้นในนาม "บุคคลัภย์" โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี..

ใหม่!!: เสาแบบไอออนิกและธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย · ดูเพิ่มเติม »

เสาแบบคลาสสิก

องค์ประกอบของเสา1. entablature.

ใหม่!!: เสาแบบไอออนิกและเสาแบบคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ionic orderไอโอนิก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »