โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เภสัชกร

ดัชนี เภสัชกร

ัชกร (pharmacist) คือผู้ที่มีวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข (health profession) มีหน้าที่จ่ายยา ให้ผู้ป่วย แนะนำการใช้ยา ติดตามการใช้ยาให้ผู้ป่วย และเป็นผู้ผลิตยา เภสัชกรจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายสาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคลินิก โรงพยาบาล และเภสัชชุมชนซึ่งจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทางเลือกหนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรคือการปฏิบัติงานในร้านขายยาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของร้านเอง (small business) ในงานด้านนี้เภสัชกรนอกจากจะมีความชำนาญในธุรกิจร้านค้าแล้วยังมีความรู้และข้อมูลการใช้ยาทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยา ตลอดจนการให้ข้อมูลความรู้ให้คำปรึกษาการใช้ยาแก่ชุมชนด้วย เภสัชกรบางครั้งเรียกว่านักเคมี เพราะในอดีตมีการให้ผู้สำเร็จการศึกษาในวิชาเคมีสาขาเภสัชกรรม (Pharmaceutical Chemistry: PhC) มาเป็นเภสัชกรซึ่งเรียกกันว่านักเคมีเภสัชกรรม (Pharmaceutical Chemists) โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ เช่น เครือข่ายร้านขายยาของบู๊ตส์เรียกเภสัชกรของบู๊ตส์ว่า "นักเคมีบูตส์" (Boots The Chemist).

58 ความสัมพันธ์: บานานาสปลิตบูโพรพิออนพ.ศ. 2484พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์กระดูกงู (นิตยสาร)กรดแมนดีลิกกฤษณา ไกรสินธุ์กุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติภาวิช ทองโรจน์มณฑล สงวนเสริมศรียาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์รายชื่อบัญชีอินสตาแกรมที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุดวิลเบอร์ สโกวิลล์ศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือตอนล่าง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรสมาคมเภสัชกรรมแห่งไอร์แลนด์สรจักร ศิริบริรักษ์สล้าง บุนนาคสหภาพเภสัชกรรมแห่งยุโรปอันตรกิริยาอำเภอเบตงอิบน์ อัลบัยฏอรอิกนาซี วูคาเซียวิชองค์การเภสัชกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดิอะเมซิ่งเรซ: Ha'Merotz La'Millionครอว์ฟอร์ด ลองความเจ็บปวดคาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอคาร์ดิแอกไกลโคไซด์คณะเภสัชศาสตร์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีตัวละครในโทโฮโปรเจกต์ตั้วตั้ว ลพานุกรมปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยานักเคมีแพทย์แดเนียลล์ ดิโลเรนโซใบสั่งยาโกร่งบดยาโรคหมอทำโรงพยาบาลขอนแก่นเกรกอร์ สตรัสเซอร์เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์...เภสัชกรรมไทยเภสัชวิทยาเภสัชศาสตร์เสม พริ้งพวงแก้วเอ. ซี. ภักติเวทานตะ สวามี ปรภุปาทะเอมี ไวน์เฮาส์เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์เจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

บานานาสปลิต

นานาสปลิต (banana split) เป็นของหวานที่มีส่วนประกอบเป็นไอศกรีม เสิร์ฟพร้อมกล้วยที่ผ่าตามยาว ส่วนประกอบของบานานาสปลิตมีหลากหลาย แต่ดั้งเดิมจะเสิร์ฟด้วยไอศกรีมสามรสคือ วานิลลา, ช็อกโกแลตและสตรอว์เบอร์รี ราดด้วยซอสช็อกโกแลต, สตรอว์เบอร์รีและสับปะรด ด้านบนตกแต่งด้วยถั่ว (มักใช้ถั่วลิสงหรือวอลนัต) วิปครีมและเชอร์รีมาราสชีโน.

ใหม่!!: เภสัชกรและบานานาสปลิต · ดูเพิ่มเติม »

บูโพรพิออน

ูโพรพิออนรสำหรับรับประทานในรูปแบบยาออกฤทธิ์นาน ความแรง 300 มิลลิกรัม/เม็ด ชื่อการค้า Wellbutrin XL ซึ่งถูกผลิตขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2003 โดยแวเลียนต์ฟาร์มาซูติคอลส์ (Valeant Pharmaceuticals) บูโพรพิออน (Bupropion) เป็นยาที่มีข้อข่งใช้หลักสำหรับต้านซึมเศร้าและช่วยเลิกบุหรี่ มีจำหน่ายในตลาดยาสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อการค้า Wellbutrin, Zyban และอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา แพทย์มักสั่งจ่ายบูโพรพิออนเพื่อจุดประสงค์ในการรักษาโรคซึมเศร้าเป็นหลัก ในขณะที่ประเทศอื่นๆนอกเหนือจากนี้นั้น การใช้บูโพรพิออนสำหรับข้อบ่งใช้ดังกล่าวถือเป็นการใช้ยานอกเหนือจากข้อบ่งใช้ (off-label use) ถึงแม้ว่ายานี้จะมีผลในการต้านซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างดีอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่มักนิยมใช้ยานี้เป็นยาเสริมในกรณีที่ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาทางเลือกแรกอย่างยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินได้ไม่เต็มที่ ปัจจุบัน บูโพรพิออนมีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด โดยส่วนใหญ่แล้วต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์หรือซื้อได้โดยใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ แต่ในประเทศไทย เนื่องจากสถานะทางกฎหมายปัจจุบันของบูโพรพิออนนั้นจัดเป็นยาอันตราย ประชาชนจึงสามารถเข้าถึงได้จากร้านยาที่มีเภสัชกรปฏิบัติการได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้ที่ใช้ยานี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อติดตามประเมินผลและเฝ้าระวังการเกิดอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิด บูโพรพิออนเป็นยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางด้วยการยับยั้งการเก็บกลับนอร์เอพิเนฟรินและโดพามีน (NDRI) โดยจัดเป็นยาต้านซึมเศร้ากลุ่มอะทิพิคอล ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจากยาต้านซึมเศร้าชนิดอื่นที่เป็นที่นิยมสั่งจ่ายโดยแพทย์ซึ่งมักเป็นยากลุ่มที่ทำหน้าที่ยับยั้งการเก็บกลับเซโรโทนินแบบจำเพาะ อย่างไรก็ตาม การได้รับการรักษาด้วยบูโพรพิออนอาจทำให้ความเสี่ยงในการเกิดอาการชักหรือโรคลมชักเพิ่มมากขึ้นได้ โดยความผิดปกติข้างต้นถือว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของบูโพรพิออน และเป็นสาเหตุที่ทำให้ยานี้ถูกเพิกถอนออกจากตลาดยาไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่ก็ได้รับการรับรองให้นำกลับมาใช้ใหม่ภายใต้ขนาดยาแนะนำในการรักษาที่ลดต่ำลงจากเดิม ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบบูโพรพิออนกับยาต้านซึมเศร้าชนิดอื่นๆแล้วพบว่า บูโพรพิออนไม่ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว, ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ, หรือการนอนไม่หลับ เหมือนที่เกิดขึ้นในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าอื่น เป็นที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่าบูโพรพิออนนั้นส่งผลต่อเป้าหมายทางชีวภาพหลากหลายตำแหน่งในร่างกาย แต่ในกรณีที่ใช้ยานี้เพื่อเป็นยาต้านซึมเศร้าและช่วยเลิกบุหรี่นั้นเป็นผลมาจากการที่ยานี้ออกฤทธิ์เป็นสารยับยั้งการเก็บกลับนอร์เอพิเนฟรินและโดพามีนและปิดกั้นตัวรับนิโคทินิคในร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้อาการซึมเศร้าบรรเทาลง และเลิกบุหรี่ได้ในที่สุด ตามลำดับ ทั้งนี้ บูโพรพิออนจัดเป็นสารเคมีที่อยู่ในกลุ่มอะมิโนตีโตน ซึ่งมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับสารกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางอย่างคาทิโนน, แอมฟีพราโมน และฟีนีไทลามีน บูโพรพิออนถูกสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนาริแมน เมห์ต้า (Nariman Mehta) เมื่อปี..

ใหม่!!: เภสัชกรและบูโพรพิออน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2484

ทธศักราช 2484 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1941 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เภสัชกรและพ.ศ. 2484 · ดูเพิ่มเติม »

พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์

ตราจารย์ เภสัชกร พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ เป็นเภสัชกร, อาจารย์ชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิตระดับปริญญาตรีและปริญญาโท จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พรศักดิ์ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี..

ใหม่!!: เภสัชกรและพรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกงู (นิตยสาร)

กระดูกงู (ISSN: 01253999) เป็นนิตยสารรายเดือนของ กองเรือยุทธการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรือของไทย โดยเริ่มเผยแพร่มาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เภสัชกรและกระดูกงู (นิตยสาร) · ดูเพิ่มเติม »

กรดแมนดีลิก

กรดแมนดีลิก (Mandelic acid) เป็นกรดอะโรมาติกอัลฟาไฮดรอกซี มีสูตรโครงสร้างโมเลกุลเป็น C6H5CH (OH) CO2H มีส่วนของโมเลกุลที่เป็นไครัลอะตอม โดยสารผสมราซิมิค (racemic mixture) ของกรดแมนดีลิกมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กรดพาราแมนดีลิก (paramandelic acid) ทั้งนี้ กรดแมนดีลิกบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีขาว ละลายได้ดีในน้ำและตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีขั้ว กรดแมนดีลิกถือเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญในการผลิตยาหลายชนิด กรดแมนดีลิกถูกค้นพบโดยเฟอร์ดินาน ลูดวิก วิงเคลอร์ เภสัชกรชาวเยอรมัน เมื่อปี 1831 จากการให้ความร้อนแก่สารสกัดที่ได้จากอัลมอนด์ขม นอกจากนี้ยังพบการเกิดกรดแมนดีลิกขึ้นได้จากกระบวนการเมแทบอลิซึมของเอพิเนฟรีน และนอร์เอพิเนฟริน ในร่างกาย ปัจจุบันสามารถสังเคราะห์กรดแมนดีลิกขึ้นได้หลากหลายช่องทางภายในห้องปฏิบัติการ โดยกรดแมนดีลิกนี้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์เพื่อเป็นยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ รวมไปถึงการใช้เพื่อช่วยในการผลัดเซลล์ผิว.

ใหม่!!: เภสัชกรและกรดแมนดีลิก · ดูเพิ่มเติม »

กฤษณา ไกรสินธุ์

ตราจารย์พิเศษ เภสัชกรหญิง กฤษณา ไกรสินธุ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นเภสัชกรชาวไทยที่อุทิศตนช่วยเหลือผู้ป่วยในการผลิตยาในทวีปแอฟริกาและเอเชีย กฤษณาเป็นชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาและมารดาเป็นบุคลากรทางสาธารณสุขทั้งคู่ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เธอประกอบวิชาชีพทางสาธารณสุขเช่นกัน ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกรหญิง กฤษณา ไกรสินธุ์ หรือ ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกรหญิง ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สาขาเภสัชวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสตราห์ไคลด์ และปริญญาเอก สาขาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยบาธ สหราชอาณาจักร หลังจากจบการศึกษาแล้ว กฤษณาได้กลับมาดำรงตำแหน่งอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี ในปี พ.ศ. 2524 ต่อมาได้ทำงานในองค์การเภสัชกรรมและเป็นผู้ริเริ่มการวิจัยยาต้านเอดส์จนสามารถผลิตยาสามัญชื่อ "ยาเอดส์" ได้เป็นครั้งแรกในประเทศกำลังพัฒนา เรียกข้อมูลวันที่ 24 กรกฎาคม..

ใหม่!!: เภสัชกรและกฤษณา ไกรสินธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

กุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ

ัชกรกุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ หรือ จิ้น กรรมาชน หัวหน้าวง “กรรมาชน” ซึ่งเป็นวงดนตรีเพื่อชีวิต ที่ก่อเกิดจากนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วง เหตุการณ์ 14 ตุลา จิ้น เกิดที่กรุงเทพ เรียนชั้นมัธยมศีกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เริ่มเล่นดนตรีครั้งแรกในวงดุริยางค์ของโรงเรียน ต่อมาได้เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2516 และได้เข้าร่วมในวงดนตรี “ลูกทุ่งวิดยา-มหิดล” จนกระทั่งในช่วงปิดเทอมเดือนมีนาคมปี 2517 ได้มีโอกาสไปออกค่ายในโครงการเผยแพร่ประชาธิปไตย ที่ อำเภอท่าตะโก นครสวรรค์ จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม หลังจากกลับมาจึงรวมวงในรูปแบบใหม่ โดยมี องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลสนับสนุน และได้เล่นเปิดวงครั้งแรกในงาน 14 ตุลาคม 2517 ที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยใช้ชื่อวงว่า “กรรมาชน” อันนำมาจากชื่อหนังสือที่แจกหน้าหอใหญ่ในงานนั่นเอง วงกรรมาชนมีการบันทึกเทปครั้งแรก ประมาณปี..

ใหม่!!: เภสัชกรและกุลศักดิ์ เรืองคงเกียรติ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวิช ทองโรจน์

ตราจารย์พิเศษ เภสัชกร ภาวิช ทองโรจน์ ศาสตราภิชานเกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 เคยดำรงตำแหน่งอาทิ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยนครพนม, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รักษาการอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ และนายกสภาเภสัชกรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัยนครพนม และภาคีสมาชิกแห่งราชบัณฑิตยสถาน สาขาเภสัชศาสตร.

ใหม่!!: เภสัชกรและภาวิช ทองโรจน์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑล สงวนเสริมศรี

ตราจารย์(พิเศษ) เภสัชกร มณฑล สงวนเสริมศรี (29 ธันวาคม พ.ศ. 2490 -) ศาสตราจารย์พิเศษสาขาเภสัชศาสตร์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร 2 วาระ (พ.ศ. 2544 - 2548 และ พ.ศ. 2548 - 2552) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยาคนแรก (พ.ศ. 2553).

ใหม่!!: เภสัชกรและมณฑล สงวนเสริมศรี · ดูเพิ่มเติม »

ยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์

ยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ (over-the-counter drug: OTC) หมายถึงยาที่สามารถขายให้ผู้บริโภคได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งยาจากการวินิจฉัยของแพทย์ ตรงข้ามกับ ยาจำหน่ายตามใบสั่งยา (prescription drug) ซึ่งหมายถึงยาที่สามารถขายให้ผู้บริโภคได้ก็ต่อเมื่อมีใบสั่งยาเท่านั้น ใน ประเทศอังกฤษ จะจำกัดว่าการขายยาประเภท OTC จะต้องดำเนินการภายใต้การดูแลโดยเภสัชกร และใน ร้านขายยา เท่านั้น ซึ่งเรียกว่า ยา —(P) หรือขายในร้านขายปลีกทั่วไปโดยไม่ต้องมีการควบคุม ซึ่งเรียกว่า GSL (General Sales List items) หมวดหมู่:ยา หมวดหมู่:เภสัชภัณฑ์.

ใหม่!!: เภสัชกรและยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อบัญชีอินสตาแกรมที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุด

เซลีนา โกเมซ บัญชีอินสตาแกรมที่มีผู้ติดตามมากที่สุดถัดจากบัญชีของอิสตาแกรมเอง มีผู้ติดตามเธอถึง 139 ล้านคน นี่คือจำนวนบัญชีผู้ใช้อินสตาแกรมที่มีผู้ติดตามมากที่สุดจำนวน 25 บัญชี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: เภสัชกรและรายชื่อบัญชีอินสตาแกรมที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุด · ดูเพิ่มเติม »

วิลเบอร์ สโกวิลล์

วิลเบอร์ ลิงคอล์น สโกวิลล์ (Wilbur Lincoln Scoville; 22 มกราคม ค.ศ. 1865 – 10 มีนาคม ค.ศ. 1942) เป็นเภสัชกรชาวอเมริกัน ในปี..

ใหม่!!: เภสัชกรและวิลเบอร์ สโกวิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือตอนล่าง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

ูนย์โรคหัวใจภาคเหนือตอนล่าง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นศูนย์กลางในการศึกษาวิจัยและให้บริการรักษาด้านโรคหัวใจในระดับภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีสถานที่ดำเนินงาน ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก.

ใหม่!!: เภสัชกรและศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือตอนล่าง โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมเภสัชกรรมแห่งไอร์แลนด์

มาคมเภสัชกรรมแห่งไอร์แลนด์ (Pharmaceutical Society of Ireland;PSI) คือองค์กรเภสัชกร และชุมชนเภสัชกรรมตามกฎหมายของไอร์แลนด์ นอกจากนี้ยังมีภารกิจพัฒนาเภสัชกรใหม่ในต่างประเทศ การจดทะเบียนกับสมาคมฯ เป็นสิ่งสำคัญในในการปฏิบัติการทางเภสัชกรรมในไอร์แลน.

ใหม่!!: เภสัชกรและสมาคมเภสัชกรรมแห่งไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สรจักร ศิริบริรักษ์

ัชกร สรจักร ศิริบริรักษ์ หรือรู้จักกันในนาม สรจักร เป็นนักเขียนเรื่องสั้นแนวเขย่าขวัญ ได้รับฉายาว่าเป็น สตีเฟ่น คิง เมืองไทย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากผลงานเรื่องสั้นแนวเขย่าขวัญแล้ว ยังเขียนหนังสือสารคดีเกี่ยวกับนิติเวชศาสตร์ และโภชนาการอีกด้วย นามปากกา สรจักร/สรจักร ศิริบริรักษ์/เภสัชกรสรจักร ศิริบริรักษ.

ใหม่!!: เภสัชกรและสรจักร ศิริบริรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

สล้าง บุนนาค

ล้าง บุนนาค พลตำรวจเอก สล้าง บุนนาค (5 มีนาคม พ.ศ. 2480 — 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) เกิดที่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ เป็นบุตรของหลวงพินิตพาหนะเวทย์ (พิง) มารดาชื่อ ทองอยู่ (สกุลเดิม ลิมปิทีป) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รับราชการในกรมตำรวจ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบัน) ตำแหน่งที่สำคัญได้แก่ ผู้บังคับการตำรวจภูธร 12 ผู้บัญชาการศึกษา ผู้ช่วยอธิบดีตำรวจ และรองอธิบดีกรมตำรวจ ฝ่ายป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ ตามลำดับ ปัจจุบันเป็นสมาชิกวุฒิสภา ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก มหาวชิรมงกุฏ และเหรียญจักรพรรดิมาลา พลตำรวจเอกสล้าง มีบุตรกับภรรยาชื่อ สุพรรณวดี (สกุลเดิม ชุมดวง) 3 คน ได้แก่ วันจักร.ต.ท.พลจักร แล.ต.ท. เหมจักร นับเป็นลำดับชั้นที่ 7 พลตำรวจเอก.

ใหม่!!: เภสัชกรและสล้าง บุนนาค · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพเภสัชกรรมแห่งยุโรป

หภาพเภสัชกรรมแห่งยุโรป (European Pharmaceutical Union;EPU) คือสมาคมทางเภสัชกรรมแห่งยุโรป เป็นองค์กรระดับชาติและสหภาพยุโรป เป็นตัวแทนของเภสัชกร และเภสัชศาสตร์ ในยุโรป ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: เภสัชกรและสหภาพเภสัชกรรมแห่งยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

อันตรกิริยา

ทความนี้ซ้ำกับ ปฏิสัมพันธ์ ควรนำมารวมกัน อันตรกิริยา (Interaction) เป็นชนิดของการกระทำที่เกิดขึ้นระหว่างวัตถุ สองหรือมากกว่า มีผล ซึ่งกันและกัน ความคิดผลสองทางมีความสำคัญต่อแนวคิดอันตรกิริยาการมีผลทางเดียว การผสมผสานของอันตรกิริยาหลายๆ อันตรกิริยานำไปสู่การอุบัติ (emergent) ของปรากฏการณ์ ซึ่งมีความแตกต่างของความหมายในหลายๆ ศาสตร์ ตัวอย่างอันตรกิริยาที่อยู่นอกเหนือวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: เภสัชกรและอันตรกิริยา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเบตง

ตง เป็นอำเภอที่มีขนาดใหญ่ในจังหวัดยะลา นับเป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศไทย โดยมีลักษณะเป็นหัวหอกยื่นเข้าไปในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาสันกาลาคีรี มีเนื้อที่ประมาณ 1,328 ตารางกิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 140 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1,220 กิโลเมตร ด้วยภูมิประเทศของอำเภอเบตงส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงจึงทำให้เบตงมีอากาศดี และมีหมอกตลอดปี ดังคำขวัญประจำอำเภอที่ว่า “เมืองในหมอก ดอกไม้งาม ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน”.

ใหม่!!: เภสัชกรและอำเภอเบตง · ดูเพิ่มเติม »

อิบน์ อัลบัยฏอร

รูปปั้นอิบน์ อัลบัยฏอร ที่เมืองมาลากา ประเทศสเปน อิบน์ อัลบัยฏอร (ابن البيطار, Ibn al-Baitar; ค.ศ. 1197 – ค.ศ. 1248) เป็นเภสัชกร นักพฤกษศาสตร์ และแพทย์ชาวมุสลิม เกิดที่เมืองมาลากา (ในแคว้นอันดาลูซีอา ประเทศสเปนปัจจุบัน) เรียนวิชาพฤกษศาสตร์กับอะบู อัลอับบาส อันนะบาตี (Abu al-Abbas al-Nabati) นักพฤกษศาสตร์ผู้พัฒนาวิธีการจำแนกสมุนไพรแบบแรก ๆ ในปี..

ใหม่!!: เภสัชกรและอิบน์ อัลบัยฏอร · ดูเพิ่มเติม »

อิกนาซี วูคาเซียวิช

น ยูเซฟ อิกนาซี วูคาเซียวิช (Jan Józef Ignacy Łukasiewicz; พ.ศ. 2365 — 2425) เป็นเภสัชกรชาวโปแลนด์ เป็นผู้ริเริ่มอุตสาหกรรมน้ำมันในประเทศโปแลน.

ใหม่!!: เภสัชกรและอิกนาซี วูคาเซียวิช · ดูเพิ่มเติม »

องค์การเภสัชกรรม

องค์การเภสัชกรรม เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จัดตั้งเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2509 ตามพระราชบัญญัติองค์การเภสัชกรรม..

ใหม่!!: เภสัชกรและองค์การเภสัชกรรม · ดูเพิ่มเติม »

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครราชกิจจานุเบกษ.

ใหม่!!: เภสัชกรและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ: Ha'Merotz La'Million

อะเมซิ่ง เรซ: Ha'Merotz La'Million (המירוץ למיליון‎; The Race to the Million; ดิ อะเมซิ่ง เรซ: การแข่งขันสู่เงินล้าน) เป็นเวอร์ชันอิสราเอลของรายการเรียลลิตี้โชว์ชื่อดังของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นรายการแข่งขันเดินทางรอบโลกโดยมีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 10 คู่ และทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านเชเกล รายการนี้มีการผลิตและออกอากาศทางช่อง Reshet Channel 2 ของเครือข่ายโทรทัศน์อิสราเอล Reshet โดยเริ่มออกอากาศในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 และออกอากาศทุกวันพฤหัสบดี ในเวลา 21 นาฬิกา (เวลามาตรฐานอิสราเอลที่ใช้ DST ตรงกับเวลา 18 นาฬิกาของ GMT) และมีพิธีกรประจำรายการคือราซ เมอร์แมน.

ใหม่!!: เภสัชกรและดิอะเมซิ่งเรซ: Ha'Merotz La'Million · ดูเพิ่มเติม »

ครอว์ฟอร์ด ลอง

รอว์ฟอร์ด ลอง บนแสตมป์สหรัฐฯ ครอว์ฟอร์ด วิลเลียมสัน ลอง (Crawford Williamson Long; 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 – 16 มิถุนายน ค.ศ. 1878) เป็นศัลยแพทย์และเภสัชกรชาวอเมริกัน เป็นบุคคลแรกที่ใช้ไดเอทิลอีเทอร์เป็นยาระงับความรู้สึก (anesthetic) ครอว์ฟอร์ด ลอง เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: เภสัชกรและครอว์ฟอร์ด ลอง · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บปวด

วามเจ็บปวด (Pain) เป็นความทุกข์ทางกายที่เกิดเพราะสิ่งเร้าที่รุนแรงหรืออันตราย แต่เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ที่เป็นอัตวิสัย การนิยามมันจึงเป็นเรื่องยาก องค์การมาตรฐานสากล International Association for the Study of Pain (IASP) ได้กำหนดนิยามที่ใช้อย่างกว้างขวางว่า "ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น" Derived from ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ความเจ็บปวดพิจารณาว่าเป็นอาการของโรคที่เป็นเหตุ ความเจ็บปวดปกติจะจูงใจให้บุคคลถอยตัวออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เสียหาย ให้ปกป้องรักษาอวัยวะที่บาดเจ็บเมื่อกำลังหาย และให้หลีกเลี่ยงประสบการณ์คล้าย ๆ กันในอนาคต ความเจ็บปวดโดยมากจะหายไปเองเมื่อหมดสิ่งเร้าอันตรายและเมื่อแผล/การบาดเจ็บหายดี แต่ก็อาจคงยืนต่อไปได้ ความเจ็บปวดบางอย่างสามารถเกิดแม้เมื่อไม่มีสิ่งเร้าอันตราย ไม่มีความเสียหาย และไม่มีโรค ในประเทศพัฒนาแล้ว ความเจ็บปวดเป็นเหตุสามัญที่สุดให้คนไข้หาหมอ มันเป็นอาการสามัญที่สุดในโรคต่าง ๆ และสามารถบั่นทอนคุณภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตของคนไข้ ยาแก้ปวดธรรมดา ๆ ใช้ได้ในกรณี 20-70% ปัจจัยทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งการได้ความช่วยเหลือจากสังคม การสะกดจิต ความตื่นเต้น หรือเครื่องล่อความสนใจต่าง ๆ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความทุกข์เนื่องจากความเจ็บปว.

ใหม่!!: เภสัชกรและความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ

ร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ (Carl Wilhelm Scheele; 9 ธันวาคม ค.ศ. 1742 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1786) เป็นนักเคมีและเภสัชกรชาวเยอรมัน-สวีเดน ผู้ได้รับฉายา "เชเลอผู้อาภัพ" จากนักเขียน ไอแซค อสิมอฟ จากการค้นพบทางเคมีหลายอย่างแต่ไม่ได้รับการยกย่องในช่วงชีวิตของเขา เชเลอเป็นผู้ค้นพบธาตุออกซิเจน, คลอรีน, ทังสเตนและสารประกอบอินทรีย์อื่น ๆ เช่น กรดยูริก, กรดแล็กติก, กรดออกซาลิก คาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ เกิดเมื่อ..

ใหม่!!: เภสัชกรและคาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ดิแอกไกลโคไซด์

อลีนดริน (Oleandrin) หนึ่งในสารกลุ่มคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ที่พบในยี่โถ คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ (Cardiac Glycoside) เป็นสารในกลุ่มสเตอรอยด์ไกลโคไซด์จากธรรมชาติ มักพบในเมตาบอลึซึมขั้นที่สองของพืชหรือเป็นสารอินทรีย์ทุติยภูมิ โครงสร้างโดยทั่วไปประกอบด้วยสองส่วน คือส่วนอะไกลโคนที่มีคาร์บอนเป็นองคร์ประกอบทั้ง 23 อะตอมที่เรียกว่าคาร์ดีโนไลด์ (Cardinolide) และ 24 อะตอม เรียกว่าบูฟาดีอีโนไลด์ (Bufanolide) และส่วนน้ำตาลที่มีตำแหน่งพันธะและโครงสร้างแตกต่างกันไปในหลายรูปแบบ คาร์ดิแอกไกลโคไซด์ช่วยออกฤทธิ์ต่อการเพิ่มแรงบีบของหัวใจ ทำให้มี cardiac output ดีขึ้นในผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย และลดอาการบวมน้ำลงได้ ทั้งนี้ต้องมีการควบคุมปริมาณยาในเลือดอย่างใกล้ชิด เนื่องจากระดับยาที่ต่ำที่สุดที่ให้ผลทางการรักษามีความใกล้เคียงกับระดับต่ำสุดที่ทำให้เกิดพิษอย่างมาก อาจส่งผลต่อการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจหรือหยุดเต้นได้ คาร์ดิแอกไกลด์โคไซด์สามารถตรวจสอบได้โดยใช้วิธีการของ Liebermann-Burchard test และพบได้ทั่วไปในธรรมชาติโดยเฉพาะในวงศ์สำคัญคือวงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) และวงศ์นมตำเลีย (Asclepiadaceae) ตัวอย่างพืชที่มีสารกลุ่มนี้เป็นองค์ประกอบในประเทศไทยได้แก่ หอมปีนัง, รำเพย, ยี่โถ, รักดอก เป็นต้น.

ใหม่!!: เภสัชกรและคาร์ดิแอกไกลโคไซด์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะเภสัชศาสตร์

ณะเภสัชศาสตร์ หรือ สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ (School of Pharmacy) เป็นสถานศึกษาพื้นฐานในการผลิตเภสัชกร โดยแบ่งเป็นการศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา การศึกษาทางเภสัชศาสตร์โดยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในหลายประเทศได้จัดหลักสูตรการศึกษาโดยใช้ระยะเวลาการศึกษา 3 - 6 ปี อันประกอบด้วย เภสัชศาสตรบัณฑิต, วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเภสัชศาสตร์ หรือในระดับผู้เชี่ยวชาญทางเภสัชกรรม (Doctor of Pharmacy) ภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้วในแต่ละประเทศจะมีการจดขึ้นทะเบียนเป็นเภสัชกรแตกต่างกันออกไป คณะเภสัชศาสตร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนับเป็นสถาบันการศึกษาทางเภสัชศาสตร์แห่งแรกที่ได้ยกระดับเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา การศึกษาทางเภสัชศาสตร์โดยส่วนมากได้รับการแบ่งเป็น 2 ระบบ คือ วิทยาศาสตร์เภสัชศาสตร์ และ เภสัชบริบาลศาสตร์ โดยผู้สำเร็จการศึกษาทั้งสองประเภทต้องจดทะเบียนเป็นเภสัชกรเช่นกัน โดยวิทยาศาสตร์เภสัชศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหลายสาขา เช่น เภสัชภัณฑ์ เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชวิทยา เภสัชเวท เภสัชเคมี เภสัชศาสตร์สังคม บริหารเภสัชกิจ และเภสัชบริบาลศาสตร์ยังแบ่งเป็น เภสัชกรรมคลินิก เป็นต้น ปัจจุบันมีการจัดตั้งคณะและสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ขึ้นหลายแห่งทั่วโลก ทั้งในสถานะเป็นโรงเรียน, วิทยาลัย, สำนักวิชา และคณะ แต่ละแห่งจะมีการจัดระบบการศึกษาแตกต่างกันออกไป.

ใหม่!!: เภสัชกรและคณะเภสัชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดตั้งขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: เภสัชกรและคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา · ดูเพิ่มเติม »

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2511 ในยุคของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งแรกก่อตั้งใช้ชื่อว่า คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เนื่องจากในเวลานั้นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ได้โอนย้ายสังกัดคณะเภสัชศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาก่อนหน้าแล้ว (คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปัจจุบัน) ต่อมาในปี..

ใหม่!!: เภสัชกรและคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เป็นคณะเภสัชศาสตร์คณะที่ 15ของประเทศไทย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งที่ 3 ของมหาวิทยาลัยเอกชน แต่เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของมหาวิทยาลัยเอกชนที่เป็นหลักสูตร 6 ปี จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างเภสัชกร ที่มีทักษะการปฏิบัติงานด้านบริบาลทางเภสัชกรรม ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เปิดดำเนินการรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ครั้งแรกในภาคการศึกษา พ.ศ. 2549 และได้รับการรับรองจากสภาเภสัชกรรมเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552.

ใหม่!!: เภสัชกรและคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม · ดูเพิ่มเติม »

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

ณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 ดำเนินการสอนหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตเพื่อผลิตบัณฑิตทางเภสัชศาสตร์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศที่ยังขาดเภสัชกร บัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์จะเป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ และใฝ่ศึกษาด้วยตนเอง สามารถแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาวิชาการด้านเภสัชศาสตร์เป็นผู้ที่มีความรอบรู้เรื่องยาในทุกด้าน ได้แก่ การผลิตยา การจ่ายยา ติดตามและแนะนำการใช้ยาการบริหารและการจ่ายยา เป็นต้น สามารถให้บริการแก่สังคมในสายวิชาชีพเภสัชกรรม และการสาธารณาสุขให้มีประสิทธิผลทางด้านสุขภาพและอนามัยต่อชุมชนทั้งในเมืองและชนบท โดยยึดมั่นในจรรยาแห่งวิชาชีพ มีมนุษย์สัมพันธ์ และเจตคติที่ดีต่อสังคม.

ใหม่!!: เภสัชกรและคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ · ดูเพิ่มเติม »

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นคณะเภสัชศาสตร์ของรัฐ ลำดับที่ 8 และเป็นคณะวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) คณะแรกของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตเภสัชกรเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเภสัชศาสตร์ได้ปฏิบัติภารกิจสำคัญในการจัดการศึกษาและดำเนินงานวิจัยด้านเภสัชศาสตร์มานานกว่าทศวรรษ โดยในช่วงปีแรกๆของการสถาปนา คณะเภสัชศาสตร์ รับนักศึกษาปีละประมาณ 40 คน ปัจจุบันจำนวนนักศึกษาเพิ่มเป็น 130 คนต่อปี ในปีการศึกษา 2548 มีจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 504 คน และมีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาไปแล้วรวมทั้งสิ้น 312 คน บัณฑิตเภสัชศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาจะต้อง สอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม จากสภาเภสัชกรรม จึงจะสามารถประกอบวิชาชีพได้โดยสมบูรณ.

ใหม่!!: เภสัชกรและคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี · ดูเพิ่มเติม »

ตัวละครในโทโฮโปรเจกต์

ตัวละครในโทโฮโปรเจกต์ เป็นตัวละครจากเกม "โทโฮโปรเจกต์" ซึ่งเป็นซีรีส์เกมของ ZUN จาก Team Shanghai Alice ตัวละครส่วนมากจะอยู่ในโลกหนึ่งที่ชื่อ เก็นโซเคียว สถานที่ๆ มนุษย์ และ โยไค อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยที่เหล่าโยไคคอยทำร้ายมนุษย์และเหล่ามนุษย์ก็ต้องกำจัดพวกนั้น ตัวละครในโทโฮนั้นจะมีความสามารถพิเศษแตกต่างกันไป.

ใหม่!!: เภสัชกรและตัวละครในโทโฮโปรเจกต์ · ดูเพิ่มเติม »

ตั้ว

ตั้ว สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: เภสัชกรและตั้ว · ดูเพิ่มเติม »

ตั้ว ลพานุกรม

รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม (21 ตุลาคม พ.ศ. 2441- 27 สิงหาคม พ.ศ. 2484)น้าชาด สำนักพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 5 ตุลาคม..

ใหม่!!: เภสัชกรและตั้ว ลพานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์

ัชกร ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เป็นนักแสดงและนายแบบชาวไทยเชื้อสายจีน สังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3.

ใหม่!!: เภสัชกรและปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม

ลังยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม มีวิวัฒนาการไปพร้อมกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เนื่องจากยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ และเภสัชกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการทางการแพทย์ ทั้งแผนตะวันตกและตะวันออกมาช้านาน โดย "การแพทย์" สามารถแบ่งออกเป็นหลายสาขา ได้แก่ เวชกรรม เภสัชกรรม พยาบาล ทันตกรรม เป็นต้น โดยในระยะเริ่มแรก การแพทย์ของทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกจะอยู่ในรูปองค์รวม โดยมี "แพทย์" เป็นผู้รับผิดชอบทั้งการรักษา การปรุงยา การดูแล จนกระทั่งเมื่อวิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้า ได้มีการจำแนกวิชาชีพออกตามความชำนาญมากขึ้น เพื่อฝึกหัดให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านแต่ละสาขา ระบบการแพทย์ในสมัยโบราณมักผูกพันกับอำนาจลี้ลับ เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานกับการสังเกต ทดลอง วิเคราะห์ และหาความเชื่อมโยง รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมสัตว์ในการบริบาลตนเองเมื่อเจ็บป่วย และได้นำมาดัดแปลงตามความเหมาะสม เกิดแนวคิดและถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน และพัฒนาขึ้นเป็นระบบ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในแต่ละภูมิภาค ในสมัยโบราณ การจัดทำเภสัชตำรับขึ้นครั้งแรกเกิดขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีการบันทึกโดยใช้อักษรคูนิฟอร์ม นับเป็นเภสัชตำรับฉบับแรกของโลก และเริ่มมีการแบ่งสายวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ส่วนในจีน การแพทย์มักมีความผูกพันกับธรรมชาติ และใช้ปรัชญาของจีนร่วมในการรักษา ในอียิปต์เริ่มมีการจดบันทึกเภสัชตำรับเมื่อประมาณ 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ปาปิรุสอีเบอร์" ตลอดจนบูชาเทพเจ้าในการบำบัดโรคกว่า 10 องค์ ในสมัยกรีกโบราณ ชาวกรีกได้บูชาเทพแอสคลีปิอุส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งการแพทย์ เช่นเดียวกับพระธิดา คือ เทพีไฮเจีย เทพีแห่งสุขอนามัย โดยพระองค์จะถือถ้วยยาและงูไว้ งูเป็นสัญลักษณ์ในการดูดพิษของชาวกรีกโบราณ จนกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมในปัจจุบัน กรีกมีนักปราชญ์มากมาย จึงใช้ปรัชญาและทฤษฎีในการบำบัดรักษาโรคทั่วไป ส่วนในยุคโรมัน ซึ่งได้รับวิทยาการถ่ายทอดจากกรีก ได้ใช้ปรัชญาจากนักปราชญ์ในการบริบาลผู้ป่วยสืบต่อมา สมัยจักรวรรดิโรมัน กาเลนนับเป็นบุคคลสำคัญในการบริบาลผู้ป่วย โดยกาเลนจะปรุงยาด้วยตนเองเสมอจนถือว่ากาเลนเป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม" ในสมัยกลาง เมื่อโรมันเสื่อมอำนาจลง วิทยาการด้านการแพทย์เสื่อมถอยลง แต่วิทยาการทางการแพทย์ตะวันตกยังคงได้รับการถ่ายทอดจากชาวอาหรับที่มาค้าขายด้วย ในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม (Magna Charta of the Profession of Pharmacy) เมื่อ ค.ศ. 1240 ห้ามมิให้ดำเนินการตั้งร้านยาหรือธุรกิจเกี่ยวกับการขายยา ยกเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐ และให้แยกวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมอย่างเด็ดขาดเป็นครั้งแรก การจำแนกเภสัชกรรมออกจากเวชกรรม เรียกข้อมูลวันที่ 8 สิงหาคม..

ใหม่!!: เภสัชกรและประวัติศาสตร์เภสัชกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา

ัชกรหญิง ท่านผู้หญิง ปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 เป็นเภสัชกรชาวไทย เป็นบุตรีของพระยาวิทุรธรรมพิเนตุ (โต๊ะ อัมระนันทน์) และคุณหญิงจำรัส วิทุรธรรมพิเนตุ (จำรัส ยอดมณี) จบการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2499 เป็นผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกด้านเภสัชตำรับสากลและการเตรียมการทางเภสัชกรรม (WHO Expert Advisory Panel on the International Pharmacopoeia and Pharmaceutical) เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการแพทย์ได้แก่ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นอกจากนี้ ยังมีบทบาทดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง โดยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ด้านชีวิตส่วนตัว เภสัชกรหญิง ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา สมรสกับนายแพทย์ หม่อมราชวงศ์อุดมพร เกษมสันต.

ใหม่!!: เภสัชกรและปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

นักเคมี

นักเคมีคนหนึ่งกำลังเตรียมเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อทดสอบ นักเคมี คือนักวิทยาศาสตร์ที่ฝึกฝนและศึกษาวิชาเคมี นักเคมีศึกษาองค์ประกอบและสมบัติของสสาร นักเคมีจะบรรยายคุณสมบัติที่พวกเขาศึกษาอย่างระมัดระวังในด้านปริมาณในระดับโมเลกุลและอะตอม นักเคมีจะวัดสัดส่วนของสสาร อัตราปฏิกิริยา และสมบัติอื่น ๆ ทางเคมี ในภาษาอังกฤษ คำว่า chemist สามารถหมายถึงเภสัชกรในเครือจักรภพอังกฤษด้วย นักเคมีใช้องค์ความรู้นี้เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และสมบัติของสสารที่ไม่คุ้นเคยมาก่อน รวมถึงสร้างและสังเคราะห์สสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นปริมาณมาก ๆ และสร้างสสารจำลองและกระบวนการใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ นักเคมีอาจมีความรู้เฉพาะในระเบียบย่อยใด ๆ ของเคมีก็ได้ นักวัสดุศาสตร์และช่างโลหะ มีพื้นฐานความรู้และทักษะทางเคมีเหมือนกัน งานของนักเคมีมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานของวิศวกรรมเคมี ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การสร้าง และการประเมินค่าของโรงงานเคมีขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพทางต้นทุนสูงสุด และทำงานในระดับเคมีอุตสาหกรรมในการพัฒนากระบวนการและวิธีการใหม่ ๆ สำหรับการผลิตสารเคมีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในเชิงพาณ.

ใหม่!!: เภสัชกรและนักเคมี · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์

แพทย์ (physician, doctor) หรือภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบท อาจเรียกแพทย์ว่า "หมอใหญ่" เพื่อกันสับสนกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทางด้านสาธารณสุข แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่น.

ใหม่!!: เภสัชกรและแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

แดเนียลล์ ดิโลเรนโซ

แดเนียลล์ ดิโลเรนโซ เป็นผู้เข้าแข่งขันรายการ เซอร์ไวเวอร์ ปานามา โดยเธอเป็นรองชนะเลิศโดยแพ้ให้กับ อาราส บาสเคาสคาส ต่อมาในปี 2010 เธอได้รับเลือกให้มาแข่งอีกครั้งใน เซอร์ไวเวอร์ ฮีโร่ ปะทะ วายร้าย โดยเธอถูกโหวตออกวันที่ 33 เป็นลูกขุนคนที่ 6 แดเนียลล์เป็นเภสัชกร ปัจจุบันอายุ 29 ปี เกิดเมื่อวันที่ 3 มิถุนายม 1981 (แข่งครั้งแรกอายุ 24 ปีและฤดูกาลต่อมาอายุ 28 ปี) แดเนียยล์ชนะสิทธิ์คุ้มกัน 2 ครั้ง(จากฤดูกาลที่ 12 1ครั้ง และ ฤดูกาลที่ 20 อีก 1ครั้ง).

ใหม่!!: เภสัชกรและแดเนียลล์ ดิโลเรนโซ · ดูเพิ่มเติม »

ใบสั่งยา

ัญลักษณ์ในใบสั่งยา ℞ เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในใบสั่งยาจากแพทย์ถึงเภสัชกร เริ่มแรกเข้าใจว่าเป็นการเขียนอักขระลงเลขยันต์เพราะสมัยก่อนการแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพเช่นปัจจุบัน โอกาสที่คนไข้จะหายหรือตายไม่ต่างกันมากนัก การอาศัยโชคช่วยจึงมีส่วนในการรักษา โดยการเขียนคำในภาษาลาตินว่า recipe (เรซิพี) หมายถึง สูตร ตำรับ เขียนไปเขียนมามีการตัดหางตัวอาร์เลยกลายเป็น ℞ ที่เห็นกันในปัจจุบัน.

ใหม่!!: เภสัชกรและใบสั่งยา · ดูเพิ่มเติม »

โกร่งบดยา

กร่งบดยา โกร่งบดยา (mortar and pestle, ความหมาย: ครก และ สาก) โกร่งบดยาคือเครื่องมือที่เภสัชกรใช้บดยาและปรุงยาซึ่งประกอบด้วยตัวโกร่ง (mortar) และลูกบด (pestle) โดยทั่วไปโกร่งจะมีลักษณะเหมือนชามคอนข้างหนาปากกว้าง ภายในผิวเรียบมัน ส่วนใหญ่โกร่งบดยาจะทำด้วยกระเบื้องพอร์ซเลน(porcelain) ใช้สำหรับใส่วัสดุที่จะบด ลูกบดมีลักษณะเป็นแท่งใช้สำหรับทุบและบดวัสดุที่ต้องการให้ละเอียดและผสมเข้ากันส่วนมากจะทำด้วยไม้ โกร่งจึงเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมอยู่ประจำร้านขายยาในเวลาต่อม.

ใหม่!!: เภสัชกรและโกร่งบดยา · ดูเพิ่มเติม »

โรคหมอทำ

รคหมอทำ.

ใหม่!!: เภสัชกรและโรคหมอทำ · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลขอนแก่น

รงพยาบาลขอนแก่น เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประเภทโรงพยาบาลศูนย์ ประเภทสถานพยาบาลระดับตติยภูมิขั้นสูง (advance tertiary care).

ใหม่!!: เภสัชกรและโรงพยาบาลขอนแก่น · ดูเพิ่มเติม »

เกรกอร์ สตรัสเซอร์

กรกอร์ สตรัสเซอร์ (Gregor Strasser) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมันและเป็นหนึ่งในผู้นิยมนาซี เกิดในปี 1892 ในราชอาณาจักรบาวาเรีย สตรัสเซอร์รับใช้ในกองทหารปืนใหญ่ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.ได้รับการเลื่อนขั้นยศเป็นนายร้อยตรี.เขาได้เข้าร่วมกับพรรคนาซี(NSDAP)ในปี 1920 และกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลและมีความสำคัญได้อย่างรวดเร็ว.เขาได้มีส่วนร่วมในการก่อรัฐประหารในมิวนิกในปี 1923 และถูกจับเข้าคุก,แต่ได้รับการปล่อยตัวในช่วงต้นด้วยเหตุผลทางการเมือง.

ใหม่!!: เภสัชกรและเกรกอร์ สตรัสเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสมาคมผู้แทนของเภสัชกรชาวไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2472 โดยเภสัชกร 64 คน ซึ่งในขณะนั้นวิชาชีพเภสัชกรรมยังมิได้รับการยอมรับหรือรู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยได้ใช้บ้านพักของพระมนตรีพจนกิจ (หม่อมราชวงศ์ชาย ชุมแสง) เป็นสถานที่ดำเนินการ โดยใช้ชื่อว่า "เภสัชกรรมสมาคมแห่งกรุงสยาม" ในระยะเริ่มแรก เภสัชกรรมสมาคมฯ มีบทบาทในการพัฒนางานสาธารณสุขและการศึกษาทางเภสัชศาสตร์ของประเทศ อาทิ การส่งเสริมการปรับปรุงพระราชบัญญัติยาและการยกระดับการศึกษาเภสัชศาสตร์ ปรับปรุงหลักสูตรการสอนให้ถึงระดับปริญญา นอกจากนี้เภสัชกรรมสมาคมฯ ยังถือเป็นองค์กรหลักองค์กรหนึ่งของเภสัชกรรมไทยในการติดต่อกับองค์กรอื่นๆทั้งในและนอกประเทศอีกด้ว.

ใหม่!!: เภสัชกรและเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชกรรมไทย

ัชกรรมไท.

ใหม่!!: เภสัชกรและเภสัชกรรมไทย · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชวิทยา

ัชวิทยา (Pharmacology) เป็นศาสตร์สาขาของชีววิทยา ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยา, การได้มาของยา ทั้งจากที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์โดยมนุษย์ ธรรมชาติ หรือแม้แต่โมเลกุลภายในร่างกายมนุษย์เอง ซึ่งส่งผลชีวเคมีหรือสรีรวิทยาต่อเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือจุลชีพ (ในบางครั้ง คำว่า ฟาร์มาคอน ก็ถูกนำมาใช้แทนที่เพื่อให้มีนิยามครอบคลุมสารภายในและภายนอกร่างกายที่ทำให้ผลทางชีวภาพเหมือนกับยา) แต่ถ้ากล่าวให้จำเพาะมากขึ้นแล้ว เภสัชวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่ศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตและสารคเมีที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติและปรับสมดุลการทำงานทางชีวเคมีของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ซึ่งหากสารเคมีใดที่มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรค อาจถือได้ว่าสารเคมีนั้นจัดเป็นยา การศึกษาด้านเภสัชวิทยานั้นครอบคลุมองค์ประกอบและคุณสมบัติต่างๆของยา การสังเคราะห์และการออกแบบยา กลไกการออกฤทธิ์ของยาทั้งในระดับโมเลกุลและระดับเซลล์ ผลของยาต่ออวัยวะและระบบต่างๆของร่างกาย ระบบการรับส่งสัญญาณการสื่อสารระดับเซลล์ การวินิจฉัยระดับโมเลกุล อันตรกิริยา พิษวิทยา ชีววิทยาของเซลล์ การบำบัดรักษา การประยุกต์ใช้ยาทางการแพทย์ และความสามารถในการต้านทานการเกิดโรคของยา ทั้งนี้ การศึกษาด้านเภสัชวิทยามุ่งเน้นไปที่ 2 ประเด็นหลัก คือ เภสัชพลศาสตร์ และเภสัชจลนศาสตร์ โดยเภสัชพลศาสตร์จะเป็นการศึกษาถึงผลของยาต่อระบบชีวภาพต่างๆของสิ่งมีชีวิต ส่วนเภสัชจลนศาสตร์ จะศึกษากระบวนการการตอบสนองหรือการจัดการของระบบภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อยา หากกล่าวสรุปแล้ว เภสัชพลศาสตร์จะอภิปรายได้ถึงผลของยาต่อร่างกาย และเภสัชจลนศาสตร์จะกล่าวถึงการดูดซึมยา การกระจาย การเปลี่ยนแปลงยา และการกำจัดยาของร่างกาย (ADME) ทั้งนี้ บ่อยครั้งที่เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่า เภสัชวิทยา และเภสัชศาสตร์ เป็นคำพ้องซึ่งกันและกัน แต่โดยรายละเอียดของศาสตร์ที่งสองแล้ว มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบแล้ว เภสัชวิทยาจั้นจัดเป็นชีวเวชศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการวิจัย การค้นคว้า และการจำแนกสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ การศึกษาการทำงานของเซลล์และจุลชีพที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม เภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษาทางวิชาชีพบริการทางสุขภาพที่มุ่งเน้นการปรับประยุกตฺใช้หลักการและองค์ความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาทางเภสัชวิทยามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรค ดังนั้น ความแตกต่างหลักระหว่างทั้งสองศาสตร์ คือ ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยโดยตรงโดยการปฏิบัติด้านเภสัชกรรม และสาขาการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ที่ขับเคลื่อนโดยเภสัชวิทยา ต้นกำเนิดของการศึกษาทางเภสัชวิทยาคลินิกเกิดขึ้นในยุคกลาง ตามที่มีการบันทึกไว้ในตำราการแพทย์ The Canon of Medicine ของอิบน์ ซีนา, Commentary on Isaac ของปีเตอร์ ออฟ สเปน, และ Commentary on the Antedotary of Nicholas ของจอห์น ออฟ เซนต์ แอมานด์ โดยเป็นศาสตร์ที่มีฐานรากมาจากการศึกษาค้นคว้าทางการแพทย์ของวิลเลียม วิเธอริง แต่เภสัชวิทยาในฐานะศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นเท่าใดนักจนกระทั่งในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่มีการฟื้นตัวของศาสตร์ชีวการแพทย์แขนงต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยในช่วงต้นคริสต์สตวรรษที่ 19 นั้น ความเข้าใจในกลไกการออกฤทธิ์ที่จำเพาะและความแรงของยาต่างๆ เช่น มอร์ฟีน, ควินีน และดิจิทาลลิส นั้นยังมีความคลุมเครือเป็นอย่างมาก รวมไปถึงมีการกล่าวอ้างถึงคุณสมบัติและสัมพรรคภาพของสารเคมีบางชนิดต่อร่างกายและเนื้อเยื่อที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริงในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางเภสัชวิทยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่ทำให้มีการจัดตั้งแผนกเภสัชวิทยาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เภสัชกรและเภสัชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชศาสตร์

ร้านยาแผนปัจจุบันในประเทศนอร์เวย์ เภสัชศาสตร์ ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค โดยศึกษาตั้งแต่วัตถุดิบที่จะนำมาผลิตยา การปรุงยา การเก็บรักษา ตลอดจนกระบวนการกระจายยา โดยศึกษาตั้งแต่แหล่งของยา โครงสร้างทางเคมีของยา การผลิตเป็นรูปแบบยาเตรียมต่างๆ การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพยาและเภสัชภัณฑ์ การวิจัยและการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ การใช้ยาทางคลินิกในโรคของระบบต่างๆ อาการไม่พึงประสงค์ของยา การติดตามผลของยา การประเมินการใช้ยา ไปจนถึงการบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา ทั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารเสพติด สารพิษ และวัตถุหรือสารออกฤทธิ์ประเภทต่างๆ เภสัชศาสตร์กำเนิดขึ้นควบคู่กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ในการบำบัดรักษาคนป่วยในสมัยโบราณได้นำพืช สัตว์ และแร่ธาตุในการบำบัดรักษา โดยศึกษาวิธีการจากสิ่งมีชีวิตรอบตัว จนได้มีการจดบันทึกสั่งสมองค์ความรู้สู่การพัฒนาเภสัชตำรับฉบับแรกของโลกโดยชาวสุเมเรียน และได้เริ่มมีการศึกษาฤทธิ์ของยาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นในสมัยของฮิปโปเครตีส การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์ในสมัยโบราณเป็นการศึกษาในวงจำกัดของชนชั้นสูงในสังคมอาหรับและการสืบทอดตำราโดยบาทหลวงเท่านั้น จนกระทั่งสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม และการฝึกหัดทางเภสัชศาสตร์ทำให้มีการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น เภสัชศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างยิ่ง การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์เน้นหลักในวิชาการด้านเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีการแบ่งสาขาวิชาทางเภสัชศาสตร์จำแนกย่อยอีกหลายสาขา โดยแบ่งเป็นด้านวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ประกอบด้วยสาขาเภสัชวิทยา เภสัชเวท เภสัชเคมี เภสัชวิเคราะห์และเภสัชภัณฑ์ จวบจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้น การผลิตยาจึงได้ประยุกต์สู่ด้านเภสัชอุตสาหกรรมด้วย ด้านเภสัชบริบาลศาสตร์ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการบริบาลผู้ป่วยและดูแลรักษาควบคุมการใช้ ตลอดจนติดตามผลการรักษาจากการใช้ยา ประกอบด้วยสาขาเภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมโรงพยาบาล และด้านเภสัชสาธารณสุข เภสัชศาสตร์สังคมและบริหารเภสัชกิจที่ดูแลการใช้ยาในระดับประชากรและการบริหารจัดการเรื่อง.

ใหม่!!: เภสัชกรและเภสัชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เสม พริ้งพวงแก้ว

ตราจารย์ นายแพทย์ เสม พริ้งพวงแก้ว (31 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 — 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณ..

ใหม่!!: เภสัชกรและเสม พริ้งพวงแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

เอ. ซี. ภักติเวทานตะ สวามี ปรภุปาทะ

อภยะ จรณารวินทะ บัคธิเวดันธะ สวะมิ พระบุพาดะ (เบงกาลี:অভয চরণারবিন্দ ভক্তিবেদান্ত স্বামীপ্রভুপাদ, สันสกฤต:अभय चरणारविन्द भक्तिवेदान्त स्वामी प्रभुपादः,อภย จรณาวินท บัคธิเวดันทะ สวะมิ พระบุพาดะ) (1 กันยายน ค.ศ. 1896 - 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1977) เป็นผู้ก่อตั้ง สมาคมนานาชาติเพื่อคริชณะจิตสำนึก (ฮะเร คริชณะ) หรือ ISKCON และนำวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวอินเดียเผยแพร่ไปในวัฒนธรรมตะวันตก และก่อตั้งสมาคม ISKCON ขึ้นที่ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยก่อนหน้านี้ ท่านได้จบการศึกษามาจาก วิทยาลัยสก๊อตครูสต์ และได้แต่งงานกับเด็กหญิงคนหนึ่ง และเปิดร้านขายยาเล็กๆ แต่ในปี ค.ศ. 1959 ท่านได้สละชีวิตทางโลก และบวชเป็นนักบวชในลัทธิ ไวษณพนิกาย และออกเผยแพร่คำสอนของ พระคริชณะ และคัมภีร์พระเวท ภควัต-คีตา โดยได้เดินทางไปที่ นิวยอร์ก และเผยแพร่คำสอน และก่อตั้ง สมาคมนานาชาติคริชณะเพื่อจิตสำนึกขึ้น ท่านได้เริ่มต้นวัฒนธรรมศาสนาผ่านทางวัยรุ่นชาวตะวันตกนับพันในยุคนั้น แม้มีกลุ่มต่อต้านท่าน แต่ท่านก็ยังได้รับการต้อนรับอย่างดีเมื่อมาที่สหรัฐอเมริกา ท่านเป็นผู้นำที่มีความสามารถในการเผยแพร่ มีผู้นับถือ และเป็นศิษย์มากมายทั้งในอเมริกา, ยุโรป, อินเดีย และที่อื่นๆ หลังจากการมรณภาพของท่าน ISKCON ได้เติบโตและเป็นที่ยอมรับในอินเดีย และทั่วโลกจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: เภสัชกรและเอ. ซี. ภักติเวทานตะ สวามี ปรภุปาทะ · ดูเพิ่มเติม »

เอมี ไวน์เฮาส์

อมี เจด ไวน์เฮาส์ (เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1983 - เสียชีวิต 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2011) นักร้องแนวโซลชาวอังกฤษ และนักแต่งเพลงแจ๊ส อัลบั้มชุดแรกของเธอออกในปี 2003 ชื่อชุด Frank ได้ถูกเสนอชื่อรางวัลเมอร์คิวรีไพรซ์ และเธอได้รับรางวัลไอวอร์ โนเวลโล ในปี 2004 สำหรับซิงเกิลเปิดตัวของเธอ "Stronger than Me" และอีกครั้งหนึ่งในเดือน พฤษภาคม 2007 กับซิงเกิลแรกจากอัลบั้มในปี 2006 Back to Black ในเพลง "Rehab" และต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ยังได้รับรางวัลบริทอวอร์ด สาขาศิลปินหญิงที่ดีที่สุดของเกาะอังกฤษ นอกจากนั้นยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส ปี 2007 อีกด้วย ในปี 2007 เธอชนะได้รับรางวัลแกรมมี สาขาเพลงแห่งปี ในเพลง rehab สาขาบันทึกเสียงแห่งปี ทางด้านชีวิตส่วนตัว เธอได้เข้าพิธีแต่งงานกับแฟนหนุ่ม เบลค ฟิดเลอร์ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2007 เกี่ยวกับสุขภาพเธอเป็นโรคซึมเศร้า มีปัญหาติดยาและติดเหล้า เธอเคยถูกจับกุมข้อหาครอบครองยาเสพติด พร้อมกับเบลก ฟิล์ดเดอร์-ซิวิล สามีของเธอ และในช่วงปลายปี 2007 โดนจับอีกครั้งเนื่องจากข้อหาทำร้ายร่างกายสามี แต่ทั้งสองคดีจบไปตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ทั้งคู่ได้แยกทางกันในเวลาต่อมา ก่อนไวน์เฮาส์จะเสียชีวิต ที่รายงานว่าเธอคบหาอยู่กับเรก แทรวิสส์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ แต่เพิ่งเลิกรากันก่อนหน้านั้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เธอเศร้าเสียใจ ดื่มสุราและเสพยาอย่างหนักจนเสียชีวิต.

ใหม่!!: เภสัชกรและเอมี ไวน์เฮาส์ · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์

ซอร์ เจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์ (James George Frazer; 1 มกราคม ค.ศ. 1854 – 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1941) เป็นนักมานุษยวิทยาสังคมชาวสกอตแลนด์ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งวิชามานุษยวิทยา และริเริ่มการศึกษาปรัมปราวิทยาและศาสนาเปรียบเที.

ใหม่!!: เภสัชกรและเจมส์ จอร์จ เฟรเซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก

้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก, เคาน์เตสแห่งมงเปอซา (Mary Elizabeth, Kronprinsesse af Danmark, grevinde af Monpezat., ประสูติ: 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515) มีพระนามเดิมว่า แมรี เอลิซาเบธ โดนัลด์สัน (Mary Elizabeth Donaldson) ที่ปรึกษาการตลาดชาวออสเตรเลีย ที่ต่อมาเป็นพระชายาในเจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก พระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก กับเจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี.

ใหม่!!: เภสัชกรและเจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »