โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เทา (อักษรกรีก)

ดัชนี เทา (อักษรกรีก)

เทา (tau) หรือ ตัฟ (ταυ, ตัวใหญ่ Τ, ตัวเล็ก τ) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 19 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 300 หมวดหมู่:อักษรกรีก.

12 ความสัมพันธ์: ภาษาฮีบรูสมดุลเคมีสติกมาอักษรฟินิเชียอักษรกรีกอักษรฮีบรูอักษรตระกูลเซมิติกจำนวนอตรรกยะประวัติศาสตร์อักษรโรคอัลไซเมอร์เฟอร์มิออนТ

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: เทา (อักษรกรีก)และภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

สมดุลเคมี

การเข้าสู่สมดุลเคมีของสารอินทรีย์ Methyl tert-butyl ether (MTBE) ที่สกัดด้วยสารละลายโซเดียมไบคาร์บอร์เนตในน้ำ ในเรื่องปฏิกิริยาเคมี สมดุลเคมี (Chemical equilibrium) คือสภาวะที่ความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงอีกแม้เวลาผ่านไป เราจะเรียกว่าปฏิกิริยาเคมีนั้นอยู่ในสมดุล (equilibrium) ทั้งนี้ การดำเนินไปของปฏิริยาไม่ได้สิ้นสุดลงแต่ระบบยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เรียกว่า สมดุลไดนามิก (dynamic equilibrium).

ใหม่!!: เทา (อักษรกรีก)และสมดุลเคมี · ดูเพิ่มเติม »

สติกมา

ติกมา (stigma; στίγμα, ตัวใหญ่ Ϛ, ตัวเล็ก ϛ) เป็นอักษรรวมระหว่างอักษรกรีก ซิกมากับเทา ปัจจุบันใช้แทนค่าของเลขกรีกซึ่งมีค่าเท่ากับ 6 อักษรสติกมาตัวเล็กมีรูปร่างคล้ายซิกมาตัวเล็กที่อยู่ท้ายคำ (ς) แต่ห่วงข้างบนมีขนาดใหญ่กว่าและขยายออกไปทางขวามากกว่า สติกมา ยังเป็นอีกชื่อหนึ่งของอักษรไดแกมมาเมื่อเขียนด้วยลายมือ ซึ่งใช้แทนค่าเลขกรีกเท่ากับ 6 เหมือนกัน แต่สำหรับชื่อในปัจจุบันเป็นการเข้าใจผิด เนื่องจากในอดีตไม่เคยมีหลักฐานว่ามีการใช้อักษรรวมระหว่างซิกมากับเทาเลย (ใช้แยกกันมาโดยตลอด).

ใหม่!!: เทา (อักษรกรีก)และสติกมา · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฟินิเชีย

ัญชนะและตัวเลขของอักษรฟินิเชีย อักษรฟินิเชีย พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ยุคแรกเริ่ม ซึ่งปรากฏครั้งแรกราว 1,800-1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช จารึกเก่าสุดมาจากเมืองโบราณไบบลอส อายุราว 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีอักษร 22 ตัว ไม่มีเครื่องหมายสระ ชื่อตัวอักษรเหมือนที่ใช้เรียกอักษรฮีบรู.

ใหม่!!: เทา (อักษรกรีก)และอักษรฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรกรีก

อักษรกรีก เป็นอักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษากรีก โดยมีพัฒนาการมาตั้งแต่ยุคคลาสสิก ประมาณ 357 ปีก่อนพุทธศักราช (ศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสต์ศักราช) และยังคงใช้สืบต่อเรื่อยมา นับเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุดแบบหนึ่งที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ในสมัยกรีกโบราณนั้น อักษรกรีกยังใช้เขียนแทนจำนวนอีกด้วย ซึ่งในกรณีนี้จะเรียกว่าเลขกรีก ในทำนองเดียวกับเลขโรมัน ทุกวันนี้เราใช้อักษรกรีกเป็นสัญลักษณ์คณิตศาสตร์ เป็นชื่อดาวฤกษ์ เป็นชื่อกลุ่มภราดรและกลุ่มภคินี และใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกมาก.

ใหม่!!: เทา (อักษรกรีก)และอักษรกรีก · ดูเพิ่มเติม »

อักษรฮีบรู

อรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เขียนโดย Elijah Levita อักษรฮีบรูเป็นอักษรตระกูลเซมิติกไร้สระชนิดหนึ่ง ใช้ในการเขียนงานในภาษาฮีบรู ในยุคแรกๆอักษรฮีบรูโบราณพัฒนามาจากอักษรฟินิเชีย อักษรฮีบรูรุ่นใหม่พัฒนามาจากอักษรอราเมอิกรุ่นแรกๆ จารึกภาษาฮีบรูพบครั้งแรกเมื่อ 557 ปีก่อนพุทธศักราช อักษรนี้เขียนจากขวาไปซ้ายในแนวนอน ตัวอักษรบางตัว เช่น กาฟ, เมม, นุน, ฟี และซาดดี มีรูปท้ายคำ ซึ่งจะพบในตำแหน่งสุดท้ายของคำเท่านั้น ไม่มีตัวเลข ใช้เลขอารบิกแทน สระเสียงยาวกำหนดโดยตัว อะเลฟ, วาว และโยด/ยุด ไม่แสดงสระเสียงสั้นยกเว้นในไบเบิล กวีนิพนธ์และหนังสือสำหรับเด็กและชาวต่างชาต.

ใหม่!!: เทา (อักษรกรีก)และอักษรฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

อักษรตระกูลเซมิติก

อักษรตระกูลเซมิติก เป็นกลุ่มของตัวอักษรที่พัฒนามาจากอักษรคานาอันไนต์ที่ได้แรงบันดาลใจจากอักษรไฮโรกลิฟฟิกของอียิปต์โบราณ อักษรเหล่านี้ไม่ได้มาจากสัญลักษณ์แทนพยัญชนะของชาวอียิปต์ แต่เป็นการรวมอักษรไฮโรกลิฟฟิกอื่นๆเข้ามาด้วย ทั้งหมดมี 30 ตัว กำหนดชื่อเป็นภาษาเซมิติก เช่น ไฮโรกลิฟ per (บ้าน ในภาษาอียิปต์) กลายเป็น bayt (บ้าน ในภาษาเซมิติก) เมื่อนำมาเขียนภาษาเซมิติกจะเป็นระบบพยัญชนะล้วน โดยอักษรแต่ละตัวแทนเสียงพยัญชนะตัวแรกของชื่อ เช่น รูปบ้าน beyt ใช้แทนเสียง b หรือใช้แทนทั้งเสียง b และลำดับพยัญชนะ byt ดังที่ใช้แทนเสียง p และลำดับพยัญชนะ pr ในภาษาอียิปต์ ในยุคที่ชาวคานาอันนำอักษรนี้ไปใช้ จะใช้แทนเสียง b เท่านั้น ไม่มีหลักฐานว่าอักษรเซมิติกเริ่มต้นมีจำนวนเท่าใดและเรียงลำดับอย่างใด อักษรที่พัฒนาต่อมานั้น อักษรยูการิติคมี 27 ตัว และอักษรฟินิเชียมี 22 ตัว การเรียงลำดับของอักษรเหล่านี้มี 2 แบบ คือ ลำดับ ABGDE ของอักษรฟินิเชีย และลำดับ HMĦLQ ของอักษรทางใต้ อักษรยูการิติกใช้ทั้ง 2 แบบ ชื่อของอักษรมักใช้ตามอักษรฟินิเชีย ทั้งอักษรซามาริทัน อักษรอราเมอิก อักษรซีเรียค อักษรฮีบรูและอักษรกรีก แต่ต่างไปในอักษรอาหรับและอักษรละติน แต่ไม่มีการใช้ชื่ออักษรในอักษรพราหมีและอักษรรูนิก.

ใหม่!!: เทา (อักษรกรีก)และอักษรตระกูลเซมิติก · ดูเพิ่มเติม »

จำนวนอตรรกยะ

ำนวนอตรรกยะ ในวิชาคณิตศาสตร์ คือจำนวนที่ไม่สามารถเขียนได้ในรูปเศษส่วนที่มีทั้งตัวเศษและส่วนเป็นจำนวนเต็มได้ หรือกล่าวได้ว่ามันไม่สามารถเขียนในรูป ได้ เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็ม และ b ไม่เท่ากับศูนย์ เห็นได้ชัดว่าจำนวนอตรรกยะคือจำนวนที่ไม่ว่าเขียนทศนิยมในฐานใดก็ตามจะไม่รู้จบ และไม่มีรูปแบบตายตัว แต่นักคณิตศาสตร์ก็ไม่ได้ให้นิยามจำนวนอตรรกยะเช่นนั้น จำนวนจริงเกือบทั้งหมดเป็นจำนวนอตรรกยะโดยนัยที่จะอธิบายต่อไปนี้ จำนวนอตรรกยะบางจำนวนเป็นจำนวนพีชคณิต เช่น √2 รากที่สองของ 2 3√5 รากที่สามของ 5 และสัดส่วนทอง แทนด้วยอีกษรกรีก \varphi (ฟาย) หรือบางครั้ง \tau (เทา) ที่เหลือเป็นจำนวนอดิศัย เช่น π และ e เมื่ออัตราส่วนของความยาวของส่วนของเส้นตรงสองเส้นเป็นจำนวนอตรรกยะ เราเรียกส่วนของเส้นตรงทั้งสองเส้นนั้นว่าวัดไม่ได้ (incommensurable) หมายความว่า ทั้งสองเส้นไม่มีมาตรวัดเดียวกัน มาตรวัดของส่วนของเส้นตรง I ในที่นี้หมายถึงส่วนของเส้นตรง J ที่วัด I โดยวาง J แบบหัวต่อหางเป็นจำนวนเต็มจนยาวเท่ากับ I.

ใหม่!!: เทา (อักษรกรีก)และจำนวนอตรรกยะ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์อักษร

ประวัติศาสตร์ของอักษร ชนิดแทนหน่วยเสียงมีจุดเริ่มต้นอยู่ในอียิปต์โบราณ อักษรแทนหน่วยเสียงชนิดแรกเป็นอักษรไร้สระ ปรากฏเมื่อ 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นผลงานของแรงงานชาวเซมิติกในอียิปต์ เพื่อใช้เขียนภาษาของตนเอง โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะซึ่งใช้คู่กับอักษรคำในอักษรไฮโรกลิฟฟิก อักษรอื่นๆ ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่พัฒนามาจากอักษรนี้รวมทั้งอักษรฟินิเชีย อักษรกรีก และอักษรละติน.

ใหม่!!: เทา (อักษรกรีก)และประวัติศาสตร์อักษร · ดูเพิ่มเติม »

โรคอัลไซเมอร์

รคอัลซไฮเมอร์ หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease หรือ AD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) และถูกตั้งชื่อตามท่าน โรคนี้จัดเป็นโรคความเสื่อมที่รักษาไม่หายและจัดเป็นอาการป่วยระยะสุดท้าย โดยทั่วไปแล้วสามารถวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 65 ปี แต่ก็พบโรคอัลไซเมอร์ชนิดหนึ่งคือ โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว (early-onset Alzheimer's) ซึ่งเกิดในคนอายุน้อยแต่มีความชุกของโรคน้อยกว่า ประมาณการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2549 มีประชากรราว 26.6 ล้านคนทั่วโลกที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ และจะเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าใน พ.ศ. 2593ประมาณการณ์ความชุกใน..

ใหม่!!: เทา (อักษรกรีก)และโรคอัลไซเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์มิออน

แบบจำลองมาตรฐานของอนุภาคมูลฐาน เฟอร์มิออนปรากฏอยู่ในสามหมู่แรก เฟอร์มิออน ในฟิสิกส์อนุภาคหมายถึงอนุภาคประเภทหนึ่งที่เป็นไปตามการกระจายตัวแบบแฟร์มี-ดิแรก เฟอร์มิออนจะมีเลขสปินเป็นจำนวนครึ่งเท่า และเฟอร์มิออนสองตัวจะมีสถานะเชิงควอนตัมเดียวกันไม่ได้ตามกฎการกีดกันของเพาลี เฟอร์มิออนมีความหมายตรงข้ามกับโบซอน โบซอนจะมีเลขสปินเป็นจำนวนเต็มเท่า และโบซอนมากกว่าสองตัวสามารถมีสถานะเชิงควอนตัมเดียวกันได้ เฟอร์มิออนสามารถเป็นได้ทั้งอนุภาคมูลฐาน เช่นอิเล็กตรอน หรือเป็นอนุภาคประกอบ เช่นโปรตอน เฟอร์มิออนที่เป็นอนุภาคมูลฐานในแบบจำลองมาตรฐาน มีทั้งหมด 24 ตัวแบ่งเป็น ควาร์ก 6 ตัวและเลปตอน 6 ตัว รวมกับปฏิยานุภาคของมันเป็น 24 ตัว เฟอร์มิออนประกอบเช่น โปรตอน นิวตรอน เป็นองค์ประกอบสำคัญในอะตอมของสสาร ต่างจากโบซอนที่มักเป็นพาหะของแรง แต่เฟอร์มิออนอันตรกิริยาแบบอ่อน (Weakly interacting fermion) สามารถมีพฤติกรรมแบบโบซอนภายใต้เงื่อนไขพิเศษ เช่นการสร้างตัวนำยิ่งยวด คำว่า เฟอร์มิออน มาจากชื่อนักฟิสิกส์อนุภาค เอนรีโก แฟร์มี.

ใหม่!!: เทา (อักษรกรีก)และเฟอร์มิออน · ดูเพิ่มเติม »

Т

Te (Т, т) คืออักษรซีริลลิกตัวหนึ่ง ใช้แทนเสียง // เหมือน t ในภาษาอังกฤษ หรือ ต หรือ ท ในภาษาไทย หรือเปลี่ยนเป็น // เมื่อสะกดด้วยสระที่เลื่อนเสียงไปทางเพดานแข็ง อักษรตัวนี้มีพัฒนาการมาจากอักษรกรีก เทา ชื่อเดิมของอักษรนี้คือ tvr̥do และมีค่าของเลขซีริลลิกเท่ากับ 300.

ใหม่!!: เทา (อักษรกรีก)และТ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

TauΤทาว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »