โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เซ็ปปุกุ

ดัชนี เซ็ปปุกุ

ีกรรมฮาราคีรี เซ็ปปุกุ หรือ ฮาราคีรี เป็นการฆ่าตัวตายโดยการคว้านท้อง ในยุคซามูไร ของประเทศญี่ปุ่น โดยใช้มีดสั้นแทงที่หน้าท้องใต้เอวขวา แล้วกรีดมาทางซ้ายแล้ว ดึงมีดขึ้นข้างบน ซึ่งเป็นการเปิดเยื่อบุช่องท้องแล้วตัดลำไส้ให้ขาด หลังจากนั้นซามูไรอีกคนหนึ่งจะใช้ดาบซามูไรตัดศีรษะจนขาด การตายด้วยวิธีนี้ เชื่อว่าเป็นการตายอย่างมีเกียรติแล้ว ส่วนใหญ่ผู้ทำเซ็ปปุกุทำตามหลักศาสนาชินโตที่จารึกไว้ในคัมภีร์โคะจิคิ เพราะแสดงความกล้าหาญและพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการบังคับจิตใจของตนเอง การคว้านท้องถูกนำมาใช้โดยสมัครใจที่จะตายกับซามูไรที่มีเกียรติแทนที่จะตกอยู่ในมือของศัตรูของพวกเขา (และน่าจะถูกทรมาน) เป็นรูปแบบของโทษประหารชีวิตสำหรับซามูไรที่มีการกระทำผิดร้ายแรงหรือดำเนินการ เหตุผลอื่น ๆ ที่ได้นำความอัปยศแก่พวกเขา การฆ่าตัวตายโดยการจำยอมจึงถือเป็นพิธีซึ่งโดยปกติจะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมซับซ้อนมากขึ้นและการดำเนินการในฐานะที่ต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจในการต้องการในการรักษาเกียรติของพวกเขาจึงควรมีผู้คนมาชมขณะทำเซ็ปปุกุด้วย ในญี่ปุ่น คำว่า "ฮาราคีรี" ถือเป็นคำหยาบและไม่เคารพต่อผู้กระทำเซ็ปปุกุ และการเขียนตัวอักษรคันจิของสองคำนี้เขียนเหมือนกันโดยสลับตัวอักษรหน้าหลัง.

28 ความสัมพันธ์: ชินโตชินเซ็งงุมิการบังคับให้ฆ่าตัวตายการล้อมฮนโนจิการล้อมคะมะกุระ (ค.ศ. 1333)การฆ่าตัวตายมิชิมะ ยุกิโอะมินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะยุทธการที่ยะมะซะกิยุคคะมะกุระวัดฮนโนสี่สิบเจ็ดโรนินอะชิกะงะ ทะกะอุจิอี อูฮิจิกะตะ โทะชิโซทะนะกะ ชินเบทะเกะชิ ซุอิซังทะเกะดะ ชิงเง็นคะตะนะซามูไรโยะโดะ โดะโนะโอดะ โนบูนางะโฮะโซะกะวะ กราเชียโฮโจ อุจิมะซะโทกูงาวะ ฮิเดตาดะโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิไซโง ทะกะโมะริ25 พฤศจิกายน

ชินโต

ทะริอิ ที่ ศาลเจ้าอิสึกุชิมะ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชินโต ชินโต เป็นลัทธิตามความเชื่อเดิมของชาวญี่ปุ่น คำว่า ชินโต มาจากตัวอักษรจีน หรือคันจิ 2 ตัวรวมกัน คือ ชิน หมายถึงเทพเจ้า (ภาษาจีน: 神, พินอิน: shén, เสิน) และ โต หมายถึงวิถีทางหรือศาสตร์วิชา (ภาษาจีน: 道, พินอิน: dào, เต้า) หรือ เต๋า ในลัทธิเต๋านั่นเอง เมื่อรวมกันแล้ว จะหมายถึงศาสตร์แห่งเทพเจ้า หรือวิถีแห่งเทพเจ้า นั่นเอง ชินโตของญี่ปุ่นมีตำนานความเชื่อว่า เทพเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งในป่า บนภูเขา ทะเล แม่น้ำ ลำธาร ในสายลม แม้แต่ในบ้านเรือนและเรือกสวนไร่นาในธรรมชาติที่ที่มีความบริสุทธิ์ล้วนเป็นที่สถิตของเทพเจ้าได้ทั้งสิ้น จึงมีคำที่ว่า "เทพแปดล้านองค์" เป็นการรวมคำเพื่อแสดงว่ามีทวยเทพอยู่มากมาย ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถือให้เป็นลัทธิความเชื่อพื้นเมืองประจำประเทศญี่ปุ่น พิธีกรรมของลัทธิชินโตนี้มาจากวัฒนธรรมท้องถิ่นและธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นพิธีกรรมอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งศาสนาพุทธ และ ลัทธิขงจื๊อ กับ ลัทธิเต๋า รวมทั้งภายหลัง ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ได้เริ่มให้เข้ามาในดินแดนญี่ปุ่น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 พิธีกรรมของลัทธิชินโตได้ถูกบันทึกและบัญญัติเป็นครั้งแรกในคัมภีร์โคะจิคิ และจดหมายเหตุนิฮงโชะกิ ในศตวรรษที่ 8 เพื่อตอบโต้ศาสนาที่มีระดับความพัฒนามากกว่าจากแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานเขียนในยุคแรกๆก็ยังมิได้บ่งบอกว่าเป็น ลัทธิชินโต แต่งานเขียนในสมัยต่อมาก็ได้บ่งชี้อย่างชัดเจน พร้อมขนบธรรมเนียบของสังคมเกษตรกรรมและเทศกาลประจำปีเข้าไปด้วย รวมไปถึงความเชื่อเรื่องเทพปกรณัมและการกำเนิดโลกต่าง ๆ ซึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของชนชาติญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะหมายถึงเชื้อสายยะมะโตะ และอิสึโมะ ในสมัยนั้น พุทธศาสนาได้แพร่จากจีนเข้าสู่ญี่ปุ่น และมีผสมผสานความเชื่อดั้งเดิม อย่างเช่น ความเชื่อเรื่องเทพเจ้าในลัทธิชินโตและความเชื่อเรื่องพระโพธิสัตว์ในศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น ปัจจุบันนี้ ลัทธิชินโตถูกจัดให้เป็นลัทธิบูชาเทพเจ้าหลายองค์ หรือ พหุเทวนิยม และลัทธิบูชาภูตผีวิญญาณ ที่เน้นความบริสุทธิ์ของพิธีกรรมเป็นอย่างมาก รวมถึงยกย่องเกียรติและความมีตัวตนของเทพเจ้า ซึ่งมีทั้งเทพเจ้าที่มีมาจากการยกบุคคลให้เป็นเทพ หรือการบูชาธรรมชาติ และเทพเจ้ายังสามารถมีลูกได้ด้วย ลัทธิชินโตเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับพิธีกรรมทางศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่จะทำให้ศาสนิกชนเข้าถึงและเป็นหนึ่งเดียวกับเทพเจ้าได้มากที่สุด ลัทธิชินโตยุคใหม่ไม่มีสถาบันที่ที่ยกตัวเป็นผู้ควบคุมส่วนกลาง มีเพียงแต่กลุ่มคนที่พยายามรักษาวิถีปฏิบัติของลัทธิชินโตมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ชินโตได้ถูกยกเลิกจากการเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งในปัจจุบันชินโตเริ่มลดหายไปจากวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยที่ยังเห็นได้ในปัจจุบันได้แก่ โอมิคุจิ (การดึงฉลากเสี่ยงโชคในศาลเจ้าชินโต) และการเฉลิมฉลอง งานปีใหม่ญี่ปุ่น ที่มีจัดขึ้นตามศาลเจ้าชินโต.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและชินโต · ดูเพิ่มเติม »

ชินเซ็งงุมิ

งของกลุ่มชินเซ็งงุมิ ชินเซ็งงุมิ เป็นชื่อของกลุ่มตำรวจพิเศษของประเทศญี่ปุ่นในยุคบะกุมะสึ หรือช่วงปลายแห่งการปกครองของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะว.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและชินเซ็งงุมิ · ดูเพิ่มเติม »

การบังคับให้ฆ่าตัวตาย

“การฆ่าตัวตายของโสกราตีส” โดยฌาคส์-ลุยส์ ดาวิด ราว ค.ศ. 1787 การบังคับให้ฆ่าตัวตาย (forced suicide) เป็นวิธีการลงโทษโดยผู้ถูกลงโทษมีโอกาสเลือกระหว่างการฆ่าตัวตายเอง หรือการตายด้วยวิธีอื่นที่อาจจะได้รับการทรมานมากกว่า, หรือการจำขังสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือการเผชิญหน้าต่อความอัปยศต่าง.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและการบังคับให้ฆ่าตัวตาย · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมฮนโนจิ

การล้อมฮนโนจิ หรือ กบฏที่วัดฮนโน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1582 ที่วัดฮนโน เมื่ออะเกะชิ มิสึฮิเดะ หนึ่งในขุนศึกของโอะดะ โนะบุนะงะ ระหว่างที่ต้องนำทัพออกรบเขาเกิดทรยศโนะบุนะงะและนำทัพกลับมาล้อมโนะบุนะงะที่ปราสาทเพื่อแก้แค้นโนะบุนะงะที่ทำให้เขาเสียหน้าต่อหน้าขุนศึกคนอื่นแต่โนะบุนะงะไม่อยู่เพราะเขาไปอยู่ที่วัดฮนโนะมิสึฮิเดะจึงนำกำลังไปล้อมที่นั่นและเริ่มโจมตีทำให้ขุนศึกคู่ใจโนะบุนะงะอย่างรันมะรุและโนฮิเมะ ภริยาของโนะบุนะงะตายในศึกครั้งนี้ด้วยเมื่อเห็นว่าตัวเองกำลังจะพ่ายแพ้แล้วโนะบุนะงะจึงฆ่าตัวตายด้วยการเซ็ปปุกุในกองเพลิงหลังจากนั้นมิสึฮิเดะจึงนำกำลังไปล้อมและโจมตีปราสาทของโอะดะ โนะบุตะดะ บุตรชายคนโตและสังหารโนะบุตะดะได้ในที่สุด ไม่ถึงสิบวัน โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ที่มีธุระอยู่ที่ภูมิภาคชูโงะกุก็ทราบข่าวการกบฏจึงรีบยกทัพกลับเคียวโตะซึ่งระหว่างทางก็ได้รับเอาทหารของโนะบุนะงะที่รอดชีวิตเข้าร่วมกองทัพของตนตลอดเส้นทางและได้พบกับขุนพล นิวะ นะงะฮิเดะ และ โอะดะ โนะบุตะกะในเมืองซะไก ทั้งหมดยกทัพเข้าเคียวโตะและปราบมิสึฮิเดะลงได้ในยุทธการยะมะซะกิ ตัวมิสึฮิเดะถูกสังหารระหว่างกำลังหนีกลับไปตั้งมั่นที่ปราสาท.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและการล้อมฮนโนจิ · ดูเพิ่มเติม »

การล้อมคะมะกุระ (ค.ศ. 1333)

การล้อมคะมะกุระ (Siege of Kamakura (1333)) สงครามครั้งสำคัญซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ สงครามปีเก็งโก ที่เกิดขึ้นใน..

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและการล้อมคะมะกุระ (ค.ศ. 1333) · ดูเพิ่มเติม »

การฆ่าตัวตาย

การฆ่าตัวตาย หรือ อัตวินิบาตกรรม เป็นการกระทำให้ตนเองถึงแก่ความตายอย่างตั้งใจ การฆ่าตัวตายมักเกิดจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท ความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง โรคพิษสุรา หรือการใช้สารเสพติด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดเช่นความลำบากทางการเงิน หรือปัญหากับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็มีส่วนเช่นกัน ความพยายามป้องกันการฆ่าตัวตายหมายรวมถึงการจำกัดการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ปืน และสารพิษ การรักษาอาการทางจิตและการใช้สารเสพติด และการปรับปรุงสถานะทางการเงิน แม้ว่าบริการที่ปรึกษาสายด่วนจะมีทั่วไป แต่แทบไม่มีหลักฐานว่าวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพ วิธีการฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อยที่สุดแตกต่างกันไปตามประเทศและส่วนหนึ่งจะขึ้นกับความเป็นไปได้ วิธีการทั่วไปได้แก่ การแขวนคอ การวางยาด้วยสารฆ่าสัตว์รังควาน และอาวุธปืน การฆ่าตัวตายคร่าชีวิตคน 842,000 คนใน..

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและการฆ่าตัวตาย · ดูเพิ่มเติม »

มิชิมะ ยุกิโอะ

มิชิมะ ยุกิโอะ เป็นนามปากกาของ ฮิระโอะกะ คิมิตะเกะ (14 มกราคม ค.ศ. 1925 - 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1970) เป็นกวีและนักเขียนชาวญี่ปุ่น ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักเขียนท่านหนึ่งที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับ ยุกิโอะเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมถึง 3 ครั้ง และเกือบได้รับรางวัลนี้ในปี..

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและมิชิมะ ยุกิโอะ · ดูเพิ่มเติม »

มินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะ

"โยะชิสึเนะและเบ็งเกใต้ต้นซากุระ" โดย โยะชิโตะชิ สึคิโอะกะ ค.ศ. 1885 มินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะ (みなもとの よしつね Minamoto no Yoshitsune หรือ 源義経 Minamoto Yoshitsune ค.ศ. 1159 - 15 มิถุนายน ค.ศ. 1189) หรือ โยะชิสึเนะแห่งมินะโมะโตะ ผู้พันของกลุ่มนักรบมินะโมะโตะในญี่ปุ่น ในช่วงระหว่างปลายยุคเฮอังถึงต้นยุคคะมะกุระ เขาเป็นหนึ่งในตำนานของผู้กล้าของญี่ปุ่น ซึ่งมักจะมีการกล่าวถึงในทางวรรณกรรม และทางภาพยนตร.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและมินะโมะโตะ โนะ โยะชิสึเนะ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ยะมะซะกิ

ทธการยะมะซะกิ สงครามการรบที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม..

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและยุทธการที่ยะมะซะกิ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคคะมะกุระ

มะกุระ หรือ อ่านแบบไทย คะมะกุระ ตรงกับปีค.ศ. 1185-ค.ศ. 1333 เป็นยุคที่ญี่ปุ่นเริ่มต้นการปกครองระบบศักดินาโดยจักรพรรดิเป็นผู้มีอำนาจการปกครอง แต่เพียงในนามรัฐบาลทหารที่เรียกว่า คะมะกุระ บะกุฟุ ซึ่งมีโชกุนเป็นหัวหน้าปกครองประเทศในนามจักรพรรดิมีอำนาจเด็ดขาดทั้งทางการเมืองและการทหาร มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโชกุนคนแรกจัดตั้งรัฐบาลทหารมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองคะมะกุระ ส่วนจักรพรรดิประทับที่เมืองเฮอัง ในยุคคะมะกุระญี่ปุ่นต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานจากกองทัพมองโกลภายใต้การนำของ กุบไลข่าน ในสมัย ราชวงศ์หยวน ซึ่งโดนโจมตีครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและยุคคะมะกุระ · ดูเพิ่มเติม »

วัดฮนโน

ประตูทางเข้าหลักของวัดฮนโน วิหารของวัดฮนโน วัดฮนโน วัดในพระพุทธศาสนานิกาย นิชิเร็น ซึ่งเป็นนิกายย่อยของนิกาย มหายาน ตั้งอยู่ในเมือง เคียวโตะ วัดฮนโนเป็นที่รู้จักจากเหตุการณ์ที่เรียกว่า การล้อมฮนโนจิ หรือ กบฏวัดฮนโน เนื่องจาก โอะดะ โนะบุนะงะ ขุนศึกผู้ทรงอำนาจและอิทธิพลแห่ง ยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ ได้มาพำนักที่นี่ก่อนจะถูกโจมตีจากทางฝั่งตะวันตกในช่วงเช้ามืดของวันที่ 21 มิถุนายน..

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและวัดฮนโน · ดูเพิ่มเติม »

สี่สิบเจ็ดโรนิน

มพ์แสดงการเข้าโจมตีคฤหาสถ์ของคิระ โยะชินะกะ หลุมศพของ 47 โรนิงที่วัดเซนงะกุจิ โตเกียว การแก้แค้นของสี่สิบเจ็ดโรนิง บางครั้งอาจเรียกว่า การแก้แค้นของสี่สิบเจ็ดซามูไร หรือ เหตุการณ์เก็นโระกุ อะโก เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเอโดะในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 นักประวัติศาสตร์ชาวดัตช์ชื่อ ไอแซก ทิทซิงก์ กล่าวว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญในวิถีบูชิโด Screech, T. (2006).

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและสี่สิบเจ็ดโรนิน · ดูเพิ่มเติม »

อะชิกะงะ ทะกะอุจิ

อะชิกะงะ ทะกะอุจิ (Ashikaga Takauji,足利尊氏) เป็น โชกุน คนแรกแห่ง รัฐบาลโชกุนอะชิกะง.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและอะชิกะงะ ทะกะอุจิ · ดูเพิ่มเติม »

อี อู

ันเอก เจ้าชายอี อู (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2488) เป็นเชื้อพระวงศ์เกาหลีที่รับราชการในกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและอี อู · ดูเพิ่มเติม »

ฮิจิกะตะ โทะชิโซ

กะตะ โทะชิโซ (31 พฤษภาคม ค.ศ. 1835 - 20 มิถุนายน ค.ศ. 1869) เป็นอดีตรองหัวหน้ากลุ่มตำรวจพิเศษ "ชินเซ็งงุมิ" ของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ ผู้มีสมญานามว่า "รองหัวหน้าปิศาจ" ซึ่งหลังจากรัฐบาลโชกุนโทกุงะวะล่มสลาย เขาได้เข้าร่วมกับกองทัพของสาธารณรัฐเอะโสะในการต่อต้านการฟื้นฟูสมัยเมจิจนกระทั่งเสียชีวิตในการรบ ในแวดวงนักดาบญี่ปุ่นนับถือกันว่าฮิจิกะตะเป็นนักดาบผู้มีพรสวรรค์อันยิ่งใหญ่คนหนึ่ง.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและฮิจิกะตะ โทะชิโซ · ดูเพิ่มเติม »

ทะนะกะ ชินเบ

ทะนะกะ ชินเบ (Tanaka Shinbei,2375-11 กรกฎาคม 2406) หนึ่งในสี่มือสังหารชื่อดังแห่งยุค บะคุมะสึ ซึ่งรับใช้ ทะเคะจิ ฮันเปย์ตะ ผู้นำกลุ่ม ภักดีแห่งโทะซะ ที่มีเป้าหมายเพื่อโค่นล้ม รัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ และฟื้นฟูพระราชอำนาจขององค์พระจักรพรรดิ ทะนะกะฆ่าตัวตายเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2406 ด้วยการกระทำ เซ็ปปุกุ.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและทะนะกะ ชินเบ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเกะชิ ซุอิซัง

ทะเกะชิ ซุอิซัง ทะเกะชิ ซุอิซัง (24 ตุลาคม ค.ศ. 1829 – 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1865) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ทะเกะชิ ฮัมเปตะ เป็นซามูไรชาวแคว้นโทะซะในช่วงยุคบะคุมะสึของประเทศญี่ปุ่น ทะเกะชิ ซุอิซัง เป็นผู้นำกลุ่มโทะซะคินโนโท หรือ "กลุ่มผู้ภักดีแห่งโทะซะ" ซึ่งสนับสนุนแนวคิด "ซนโนโจอิ" หรือ "เทิดทูนจักรพรรดิ ขับคนป่าเถื่อน" และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว เขาได้พยายามเข้ามามีอำนาจควบคุมแคว้นโทะซะและพยายามดึงซะกะโมะโตะ เรียวมะ เพื่อนซามูไรหัวก้าวหน้าชาวแคว้นโทะซะ ให้เข้าร่วมกลุ่มด้วย ต่อมาเมื่อทางแคว้นโทะซะดำเนินการกวาดล้างซามูไรระดับล่างที่สนับสนุนแนวคิดซนโนโจอิ ทะเกะชิได้ถูกจับกุมเนื่องจากต้องสงสัยว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารโยะชิดะ โทโย อดีตขุนนางชั้นสูงของแคว้นโทะซะซึ่งมีแนวคิดปฏิรูปประเทศด้วยการยอมค้าขายกับต่างชาติ และถูกตัดสินให้จบชีวิตตนเองด้วยการคว้านท้อง อนึ่ง นอกจากจะเป็นผู้นำกลุ่มโทะซะคินโนโทแล้ว ทะเกะชิ ซุอิซัง ยังเป็นหัวหน้าของโอะกะดะ อิโซ และทะนะกะ ชิมเบ ผู้เป็น 2 ใน 4 มือสังหารผู้ลือชื่อในยุคบะคุมะสึ หมวดหมู่:ซะมุไร หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นโทะซะ‎ หมวดหมู่:เซ็ปปุกุ หมวดหมู่:บะกุมะสึ.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและทะเกะชิ ซุอิซัง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเกะดะ ชิงเง็น

ทะเกะดะ ชิงเง็น ไดเมียวแห่งแคว้นคะอิ ผู้นำตระกูลทะเกะดะ เป็นไดเมียวคนสำคัญในยุคเซงโงะกุ ได้รับยกย่องว่าเป็นไดเมียวที่ยิ่งใหญ่และกล้าหาญที่สุดคนหนึ่ง และเป็นคู่แข่งคนสำคัญของโอดะ โนะบุนะงะในแถบภาคตะวันออกของญี่ปุ่น ได้รับฉายาว่า "พยัคฆ์แห่งคะอิ".

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและทะเกะดะ ชิงเง็น · ดูเพิ่มเติม »

คะตะนะ

มัยของดาบซามูไร แบ่งออกได้ 4.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและคะตะนะ · ดูเพิ่มเติม »

ซามูไร

ซามูไรในชุดเกราะ ถ่ายในช่วงทศวรรษที่ 1860 โดย เฟรีเช บีอาโต ซามูไร แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซามูไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซามูไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและซามูไร · ดูเพิ่มเติม »

โยะโดะ โดะโนะ

นะ โยะโดะ โดะโนะ (ค.ศ. 1569 — 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1615) เป็นสตรีที่ทรงอำนาจในญี่ปุ่นยุคอะซุชิโมะโมะยะมะ ในฐานะหลานสาวของ โอดะ โนะบุนะงะ ภรรยาน้อยของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ และเป็นผู้นำในการต่อต้านการปกครองของรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะในช่วงแรก.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและโยะโดะ โดะโนะ · ดูเพิ่มเติม »

โอดะ โนบูนางะ

อดะ โนบุนางะ เป็นไดเมียว และหนึ่งในสามผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคเซงโงกุ เป็นหนึ่งในสามผู้รวบรวมญี่ปุ่นจากความแตกแยกในยุคเซงโงก.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและโอดะ โนบูนางะ · ดูเพิ่มเติม »

โฮะโซะกะวะ กราเชีย

ซะกะวะ กราเชีย (พ.ศ. 2116-พ.ศ. 2153) หรือชื่อก่อนสมรสคือ อะเกะชิ ทะมะ เป็นบุตรสาวของอะเกะชิ มิสึฮิเดะ แต่งงานกับโฮะโซะกะวะ ทะดะโอะกิ เมื่อมิสึฮิเดะก่อกบฏที่วัดฮนโน นางก็กักขังตัวเองอยู่คนเดียวจนกระทั่งคืนดีกับทะดะโอะกิอีกครั้ง แล้วก็หันมานับถือศาสนาคริสต์ เข้ารับพีธีล้างบาปและเปลี่ยนชื่อเป็นกราเชีย กล่าวกันว่าเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศ ฮิเดะโยะชิได้บูรณะปราสาทโอซะกะ (คฤหาสน์โฮโซะกะวะอยู่ทางใต้ของปราสาท) โฮะโซะกะวะ กราเชีย เดิมมีชื่อว่า อะเกะชิ ทะมะ เป็นบุตรสาวคนที่สามของ อะเกะชิ มิซึฮิเดะ กับนางซุมะกิ ฮิโระโกะ ภรรยาเอกของมิซึฮิเดะ ใน พ.ศ. 2125 เมื่ออายุเพียงสิบห้าปี ทะมะได้สมรสกับโฮะโซะกะวะ ทะดะโอะกิ ไดเมียวแห่งแคว้นทังโงะ ทางตอนเหนือของนครเกียวโตในปัจจุบัน และอีกเพียง 6 เดือนต่อมา อะเกะชิ มิซึฮิเดะ บิดาของนางทะมะได้ทำการล้อมฮนโนจิและสังหารโอะดะ โนะบุนะงะผู้เป็นนายของตน มิซึฮิเดะครองอำนาจอยู่เพียงสิบสองวัน ฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ ก็ได้ยกทัพมาทำการแก้แค้นให้แก่โนะบุนะงะ มิซึฮิเดะบิดาของนางทะมะเสียชีวิตในที่รบ นอกจากจะสูญเสียบิดาแล้ว นางทะมะยังถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นธิดาของผู้ทรยศ ทะดะโอะกิสามีของนางทะมะซึ่งทั้งรังเกียจและสงสารนาง จึงได้ส่งนางทะมะไปเก็บตัวไว้ในกระท่อมบนเขาชื่อว่ามิโดะโนะ ในแคว้นทังโงะ เป็นเวลาสองปี จนกระทั่งพ.ศ. 2127 เมื่อการเมืองสงบเรียบร้อยแล้ว ทะดะโอะกิจึงย้ายนางทะมะไปกักขังไว้ที่คฤหาสน์ตระกูลโฮะโซะกะวะในเมืองโอซะกะ สูสานของโฮะโซะกะวะ กราเชีย โฮะโซะกะวะ ทะดะโอะกิ ในระหว่างที่เก็บตัวอยู่ในเมืองโอซะกะนั้นเอง ข้ารับใช้ของนางทะมะชื่อว่า นางคิโยะฮะระ มาเรีย ผู้นับถือคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก ได้นำนางทะมะให้รู้จักกับคริสต์ศาสนา และจัดแจงให้นางทะมะได้มีโอกาสฟังธรรมจาก ทะกะยะมะ อุกง ไดเมียวผู้ศรัทธาในคริสต์ศาสนา นางทะมะได้ยึดถือคริสต์ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ในพ.ศ. 2130 โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ได้ประกาศกฎหมายยับยั้งการเผยแผ่คริสต์ศาสนา เป็นเหตุให้นางทะมะเกรงว่าตนจะไม่มีโอกาสได้ประกอบพิธีศีลจุ่มเข้ารีต เนื่องจากนางทะมะไม่สามารถออกจากบ้านไปพบบาทหลวงได้ นางมาเรียจึงเป็นผู้ประกอบพิธีศีลจุ่ม (Baptism) ชำระบาปให้แก่นางทะมะ และได้รับชื่อใหม่ว่า "กราเชีย" (Gracia) หรือออกเสียงเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "กะระชะ" ใน พ.ศ. 2153 หลังจากที่โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ถึงแก่อนิจกรรม ความขัดแย้งระหว่างอิชิดะ มิสึนะริ กับ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุก็เริ่มขึ้น อิเอะยะซุต้องการกองทัพ 1,600 คนจากทะดะโอะกิ ส่วนฝ่ายมิสึนะริประจำทัพที่ปราสาทโอะซะกะและรวบรวมพลกำลังพลเพื่อเตรียมการรบกับอิเอะยะซุ ทะดะโอะกิผู้เป็นสามีของกราเชียให้การสนับสนุนฝ่ายอิเอะยะซุ เมื่อสงครามเซะกิงะฮะระเริ่มขึ้น อิชิดะ มิซึนะริ มีนโยบายจับบุตรและภรรยาของไดเมียวผู้สนับสนุนอิเอะยะซุไว้เป็นตัวประกัน เพื่อให้ไดเมียวเหล่านั้นหันมาให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายตน แต่ทะดะโอะกิมีคำสั่งไว้ว่า หากมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น ให้นางกราเชียทำอัตวินิบาตกรรมตามธรรมเนียมเพื่อที่จะไม่ถูกฝ่ายมิซึนะริจับไปเป็นตัวประกัน มิฉะนั้นจะฝากฝังให้ซะมุไรข้ารับใช้ที่ชื่อว่า โอะกะซะวะ โซไซ (Ogasawara Shōsai) เป็นผู้สังหารนางกราเชีย นางกราเชียได้ปรึกษาประเด็นนี้กับผู้รู้ทางคริสต์ศาสนา ต่างกล่าวย้ำแก่นางกราเชียว่าการฆ่าตัวตายนั้นเป็นบาปมหันต์ขัดกับหลักคริสต์ศาสนา แม้ว่าจะขัดกับหลักคริสต์ศาสนา แต่ตามธรรมเนียมของซะมุไรญี่ปุ่นโบราณ สตรีหากจะโดนจับกุมเป็นเชลยต้องชิงฆ่าตัวตายเสียก่อน เพื่อปกป้องเกียรติของตนเองและสามี นางกราเชียจึงได้ให้ โอะกะซะวะ โซไซ ใช้หอกแทงร่างกายของนางจนถึงแก่ความตายด้วยอายุ 37 ปี จากนั้นโอะกะซะวะ โซไซ จึงได้วางเพลิงเผาคฤหาสน์โฮะโซะกะวะจนวอดวายและทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิตตามไป หลังจากเพลิงสงบลง บาทหลวงเนชชี่-โซลโด ออร์กันติโน (Gnecchi-Soldo Organtino) มิชชันนารีชาวอิตาลีเป็นผู้เก็บกระดูกของนางกราเชียไปฟังไว้ที่โบสถ์คริสต์แห่งหนึ่งในเมืองซะไก ปีต่อมาพ.ศ. 2154 ทะดะโอะกิผู้เป็นสามีได้ย้ายเถ้ากระดูกของนางกราเชียไปฟังไว้ยังวัดโซเซ็ง-จิ ในเมืองโอซะกะ แต่ก็ปรากฏมีสุสานของนางกราเชียที่วัดไดโตะกุจิ ที่นครเกียวโตด้วยเช่นกัน โฮะโซะกะวะ กราเชีย มีบุตรธิดากับโฮะโซะกะวะ ทะดะโอะกิ ผู้เป็นสามีทั้งหมดห้าคน เป็นบุตรชายสามคน บุตรสาวสองคน บุตรชายคนที่สามชื่อว่า โฮะโซะกะวะ ทะดะโตะชิ ได้รับการแต่งตั้งเป็นไดเมียวปกครองปราสาทคุมะโมะโตะในพ.ศ. 2176 และสืบเชื้อสายปกครองปราสาทคุมะโมะโตะไปตลอดสมัยเอ.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและโฮะโซะกะวะ กราเชีย · ดูเพิ่มเติม »

โฮโจ อุจิมะซะ

อุจิมะซะ โฮโจ อุจิมะซะ เป็นไดเมียวที่ปกครองเขตคันโตของญี่ปุ่นในยุคเซงโงะก.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและโฮโจ อุจิมะซะ · ดูเพิ่มเติม »

โทกูงาวะ ฮิเดตาดะ

ทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ เป็นโชกุนคนที่ 2 แห่ง ตระกูลโทะกุงะวะ โดยท่านเป็นบุตรชายคนที่ 3 ของ โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1579 หลังจากผู้เป็นบิดาได้ลงจากตำแหน่งโชกุนในปี ค.ศ. 1605 ท่านจึงขึ้นดำรงตำแหน่งสืบต่อมาขณะอายุได้เพียง 26 ปี ในสมัยของท่านตระกูลโทะกุงะวะสามารถขยายอำนาจออกไปได้อย่างกว้างขวาง และลงจากอำนาจในปี ค.ศ. 1623 ขณะอายุได้ 44 ปีแต่ก็ยังทรงอิทธิพลอยู่ก่อนจะที่จะเสียชีวิตลงในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1632 ขณะอายุได้ 53 ปี.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและโทกูงาวะ ฮิเดตาดะ · ดูเพิ่มเติม »

โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ

ทโยโตมิ ฮิเดโยชิ (2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1537 – 18 กันยายน ค.ศ. 1598) เป็นไดเมียวคนสำคัญของญี่ปุ่นในยุคอะซุชิ-โมะโมะยะมะ เนื่องจากได้สร้างวีรกรรมต่อจากโอดะ โนบุนาง.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ · ดูเพิ่มเติม »

ไซโง ทะกะโมะริ

ซโง ทะกะโมะริ (23 มกราคม ค.ศ. 1828 - 24 กันยายน ค.ศ. 1877) เป็นหนึ่งในซามูไรผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น มีชีวิตอยู่ระหว่างปลายยุคเอะโดะ (บะคุมะสึ) ถึงช่วงต้นยุคเมจิ ผู้ได้รับการขนานนามว่า "ซามูไรที่แท้จริงคนสุดท้าย" ("the last true samurai'") ไซโงมีชื่อในวัยเด็กว่า "ไซโง โคะคิชิ" และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อว่า "ไซโง ทะกะโมะริ" เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้เขายังใช้ชื่อในงานเขียนกวีนิพนธ์ว่า "ไซโง นันชู".

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและไซโง ทะกะโมะริ · ดูเพิ่มเติม »

25 พฤศจิกายน

วันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 329 ของปี (วันที่ 330 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 36 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: เซ็ปปุกุและ25 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Seppukuฮะระกิริฮาระคิริฮาราคีรีเซปปุกุเซปปุคุเซ็ปปุคุ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »