โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฮอโลคอสต์

ดัชนี ฮอโลคอสต์

"การเลือกสรร" ในค่ายกักกันเอาชวิทซ์ พฤษภาคม/มิถุนายน 1944; ผู้ที่ถูกส่งไปอยู่ทางขวา คือ ไปใช้แรงงานทาส ส่วนผู้ที่ถูกส่งไปทางซ้าย คือ ไปห้องรมแก๊ส จากภาพ เป็นชาวยิวฮังการีที่เพิ่งมาถึงค่าย ผู้ถ่าย คือ แอร์นสท์ ฮอฟมันน์หรือเบอร์นาร์ด วอลเตอร์แห่งหน่วยเอสเอส ฮอโลคอสต์, โฮโลคอสต์ (The Holocaust) หรือรู้จักในอีกชื่อว่า haShoah (ภาษาฮีบรู: השואה), Churben (ภาษายิดดิช: חורבן) เป็นพันธุฆาตชาวยิวในยุโรปประมาณ 6 ล้านคนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง โครงการฆาตกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐโดยเยอรมนี นำโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ทั่วทั้งดินแดนที่เยอรมนียึดครอง จากชาวยิว 9 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปก่อนฮอโลคอสต์ ประมาณสองในสามถูกสังหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กชาวยิวกว่า 1 ล้านคนถูกสังหารในฮอโลคอสต์ เช่นเดียวกับหญิงชาวยิวประมาณ 2 ล้านคน และชายชาวยิว 3 ล้านคน นักวิชาการบางส่วนเสนอว่า นิยามของฮอโลคอสต์ยังควรรวมถึงพันธุฆาตประชากรกลุ่มอื่นอีกหลายล้านคนของนาซี รวมทั้งชาวโรมานี นักคอมมิวนิสต์ เชลยศึกโซเวียต พลเรือนโปแลนด์และโซเวียต พวกรักเพศเดียวกัน ผู้ทุพพลภาพ พยานพระยะโฮวา และคู่แข่งทางการเมืองและศาสนาอื่น ๆ ไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์เยอรมันหรือไม่ก็ตาม นิยามนี้เป็นนิยามที่สามัญที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960 หากใช้นิยามนี้ จำนวนเหยื่อฮอโลคอสต์ทั้งสิ้นอยู่ระหว่าง 11 ถึง 17 ล้านคน เฮนรี ฟีแลนเดอร์นิยามฮอโลคอสต์ว่า "การสังหารหมู่มนุษย์ เพราะพวกเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มที่นิยามทางชีวภาพ" หมายความว่า "พวกนาซีใช้นโยบายการกำจัดที่คงเส้นคงวาและครอบคลุมเฉพาะกับมนุษย์สามกลุ่ม ผู้พิการ ชาวยิวและพวกยิปซี" การเบียดเบียนและพันธุฆาตมีการดำเนินแบ่งเป็นขั้น มีกฎหมายหลายฉบับที่ดึงชาวยิวออกจากประชาสังคม ที่เห็นชัดที่สุดคือ กฎหมายเนือร์นแบร์ก ซึ่งใช้บังคับในเยอรมนีหลายปีก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้น มีการสร้างค่ายกักกันซึ่งผู้ถูกกักกันถูกบังคับให้ใช้แรงงานทาสกระทั่งเสียชีวิตด้วยการหมดแรงหรือโรค ที่ใดที่เยอรมนียึดครองดินแดนใหม่ในยุโรปตะวันออก หน่วยเฉพาะที่เรียกว่า ไอน์ซัทซกรุพเพน จะฆาตกรรมยิวและคู่แข่งทางการเมืองในการยิงหมู่ ผู้ยึดครองกำหนดให้ชาวยิวและโรมานีถูกจำกัดอยู่ในเกตโตที่แออัดยัดเยียดก่อนถูกขนส่งโดยรถสินค้าไปยังค่ายมรณะ ที่ซึ่ง หากพวกเขารอดชีวิตจากการเดินทาง จะถูกสังหารไปโดยมากในห้องรมแก.

89 ความสัมพันธ์: ชาวยิวชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการีบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ฟาเธอร์แลนด์ (นวนิยาย)พ.ศ. 2485พรรคนาซีการก่อการกำเริบวอร์ซอเกตโตการทดลองของมิลแกรมการต่อต้านยิวการประชุมรัฐบาลไรช์ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1941การประชุมที่วานเซการแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้ายการโฆษณาชวนเชื่อกุหลาบขาวกูเกิลภาษายิดดิชภาษาลาดิโนภาษาของชาวยิวภาษาเครียมชากมานูเอล เอเล. เกซอนมาเรีย มันเดอมีป คีสระเบียบใหม่ (ลัทธินาซี)รูดอล์ฟ เฮสส์ลวีฟวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สวัลเทอร์ ฟอน ไรเชอเนาวันสากลรำลึกฮอโลคอสต์วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์วิลเฮล์ม ริทเทอร์ ฟอน ลีบสัญญากับปิศาจสามเหลี่ยมชมพูสิทธิมนุษยชนสงครามโลกครั้งที่สองสแตนลีย์ มิลแกรมออสการ์ ชินด์เลอร์ออทโท แอนสท์ เรเมอร์อัลแบร์ท ชเปียร์อังเกอลา ฮิตเลอร์อาร์ทูร์ แบร์เกินอุนแทร์เมนเชนอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อดอล์ฟ ไอชมันน์อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ฮอโลคอสต์ในโปแลนด์จอร์โจ แปร์ลัสกาจักรวรรดิบริติชธงชาติลัตเวียธงชาติลิทัวเนียธงชาติเยอรมนี...ขบวนการต่อต้านโปแลนด์ในสงครามโลกครั้งที่สองดิอะเมซิ่งเรซ 11คืนกระจกแตกค่ายกักกันดาเคาค่ายกักกันนาซีค่ายกักกันไมดาเนกค่ายมรณะปฏิบัติการไรน์ฮาร์ดประชาธิปไตยเสรีนิยมประเทศยูเครนประเทศอิสราเอลปัญหาชาวยิวนาซีเยอรมนีนีกอลา ซาร์กอซีแฟ้มเขียวของเกอริงแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)โพกรมโพราจมอสโรลันด์ ไฟรซเลอร์โอดีโล โกลบ็อกนิกไรน์ฮาร์ด ฮายดริชไอน์ซัทซกรุพเพนไฮน์ริช มึลเลอร์ (เกสตาโพ)ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ไซคลอน บีเบบียาร์เกตโตในทวีปยุโรปภายใต้การยึดครองของนาซีเมอรีล สตรีปเวร์มัคท์เอียน อันโตเนสคูเอซา บัตเตอร์ฟีลด์เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอ16 พฤษภาคม20 พฤศจิกายน20 มกราคม4 สิงหาคม5 สิงหาคม6 กรกฎาคม9 พฤศจิกายน ขยายดัชนี (39 มากกว่า) »

ชาวยิว

ว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่นๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี

วอเมริกันเชื้อสายฮังการี (Hungarian Americans) คือประชาชนชาวอเมริกันที่สืบเชื้อสายมาจากชาวฮังการี ชาวฮังการีลี้ภัยไปยังสหรัฐอเมริกาหลังจาก การรุกรานของโซเวียต (Hungarian Revolution) ในปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์

ลแห่งปี (Person of the Year หรือเดิม Man of the Year) เป็นฉบับประจำปีของนิตยสารข่าวไทม์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเสนอและพรรณนาถึงบุคคล กลุ่ม แนวคิดหรือวัตถุซึ่ง "ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม...ได้มีอิทธิพลมากที่สุดต่อเหตุการณ์ในปีนั้น".

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และบุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟาเธอร์แลนด์ (นวนิยาย)

ฟาเธอร์แลนด์ เป็นนวนิยายขายดีในปี พ.ศ. 2535 มีเนื้อหาแนวสืบสวน-ฆาตกรรม เขียนโดยนักข่าวอังกฤษ รอเบิร์ต แฮร์ริส โดยมีจุดเด่นคือ ประวัติศาสตร์สมมุติว่า หากนาซีเยอรมนีชนะสงครามโลกครั้งที่สอง โลกจะเป็นอย่างไร ผู้จัดพิมพ์ในประเทศไทยคือ ปราดเปรียวสำนักพิม.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และฟาเธอร์แลนด์ (นวนิยาย) · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2485

ทธศักราช 2485 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1942 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และพ.ศ. 2485 · ดูเพิ่มเติม »

พรรคนาซี

รรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei, ย่อ: NSDAP) หรือ พรรคนาซี เดิมมีผู้เข้าร่วมเพียง 7 คน เป็นพรรคการเมืองที่ปกครองประเทศเยอรมนีช่วงไรช์ที่สาม ตั้งแต..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และพรรคนาซี · ดูเพิ่มเติม »

การก่อการกำเริบวอร์ซอเกตโต

การก่อการกำเริบวอร์ซอเกตโต (אױפֿשטאַנד אין װאַרשעװער געטאָ; powstanie w getcie warszawskim; Aufstand im Warschauer Ghetto) เป็นเหตุการณ์ในช่วงปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และการก่อการกำเริบวอร์ซอเกตโต · ดูเพิ่มเติม »

การทดลองของมิลแกรม

ผู้ทดลอง (E) สั่งผู้สอน (T) อันเป็นผู้รับการทดลองของการทดลองนี้ ให้ผู้สอนเชื่อว่าตนปล่อยช็อกไฟฟ้าเจ็บแก่ผู้เรียน (L) ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นนักแสดงและเพื่อนร่วมงานของผู้ทดลอง ผู้รับการทดลองเชื่อว่าเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิดแต่ละครั้ง ผู้เรียนได้รับช็อกไฟฟ้าจริง แม้อันที่จริงไม่มีการลงโทษนั้น เพื่อนร่วมงานซึ่งถูกแยกจากผู้รับการทดลองติดตั้งเครื่องบันทึกเทปซึ่งต่อกับแหล่งกำเนิดช็อกไฟฟ้า ซึ่งเล่นเสียงที่บันทึกล่วงหน้าสำหรับแต่ละระดับช็อก การทดลองของมิลแกรมว่าด้วยการเชื่อฟังผู้มีอำนาจ เป็นชุดของการทดลองจิตวิทยาสังคมซึ่งศาสตราจารย์ สแตนลีย์ มิลแกรม นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเยล เป็นผู้จัดทำ การทดลองดังกล่าววัดความสมัครใจของผู้เข้าร่วมการศึกษาซึ่งเป็นชายต่างอาชีพต่างระดับการศึกษา ว่าจะเชื่อฟังผู้มีอำนาจเพียงใดเมื่อผู้มีอำนาจออกคำสั่งให้เขาทำสิ่งที่ขัดกับมโนธรรมส่วนตัว ผลการทดลองที่คาดไม่ถึงนี้มีว่า บุคคลส่วนมากพร้อมเชื่อฟังแม้ไม่เต็มใจ แม้จะประจักษ์ว่าก่อให้เกิดการบาดเจ็บและความทรมานร้ายแรง มิลแกรมอธิบายงานวิจัยนี้ครั้งแรกในบทความตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาอปกติและจิตวิทยาสังคม (Journal of Abnormal and Social Psychology) ตีพิมพ์เมื่อ..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และการทดลองของมิลแกรม · ดูเพิ่มเติม »

การต่อต้านยิว

การ์ตูนเยาะหยันชาวยิวจากฝรั่งเศส ค.ศ. 1898 หน้าปกหนังสือ “ทางสู่ชัยชนะของความเป็นเยอรมันต่อความเป็นยิว” โดยมารร์ ฉบับ ค.ศ. 1880 การต่อต้านยิว (Antisemitism หรือ Anti-semitism หรือ anti-Semitism หรือ Judeophobia) เป็นคำที่ใช้ในการบรรยายความเป็นอคติ (prejudice) ต่อหรือความรู้สึกต่อต้านชาวยิว ที่มักจะมาจากความมีอคติต่อศาสนา, วัฒนธรรม และชาติพันธุ์ของชาวยิว แม้ว่าที่มาของคำว่า “ลัทธิความเป็นอคติต่อเซมิติค” ในภาษาอังกฤษ “Antisemitism” ตามอักขระแล้วจะหมายถึงความเป็นอคติต่อชนเซมิติค (Semitic peoples) แต่โดยทั่วไปคำนี้จะหมายถึงเฉพาะความเป็นอคติต่อชาวยิวตั้งแต่เริ่มใช้กันมา"Antisemitism has never anywhere been concerned with anyone but Jews." Bernard Lewis.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และการต่อต้านยิว · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมรัฐบาลไรช์ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1941

รชส์ทาค 11 ธันวาคม ค.ศ. 1941 การประชุมรัฐบาลไรช์ 12 ธันวาคม..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และการประชุมรัฐบาลไรช์ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1941 · ดูเพิ่มเติม »

การประชุมที่วานเซ

หาสน์ ณ 56–58 เอเอ็ม โกเบน วานเซ (Am Großen Wannsee) ที่ประชุมวันน์เซ ปัจจุบันเป็นหออนุสรณ์และพิพิธภัณฑ์ การประชุมที่วานเซ (Wannsee Conference; Wannseekonferenz) เป็นการประชุมข้าราชการระดับสูงของนาซีเยอรมนีและผู้นำเอ็สเอ็ส จัดขึ้นที่เมืองวานเซ ชานกรุงเบอร์ลิน ณ วันที่ 20 มกราคม..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และการประชุมที่วานเซ · ดูเพิ่มเติม »

การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย

การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย หรือ มาตรการสุดท้าย (Final Solution; Die Endlösung) เป็นชื่อรหัสที่หมายถึงแผนการกำจัดชาวยิวทั่วยุโรประหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตามนโยบายกวาดล้างชาวยิวของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมันหรือนาซี เป็นการเข่นฆ่าเพื่อล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวครั้งใหญ่ โดยเริ่มใช้มาตรการสุดท้าย ใน..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และการแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

การโฆษณาชวนเชื่อ

การโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มุ่งชักจูงทัศนคติของประชาคมต่ออุดมการณ์หรือมุมมองบางอย่างโดยการนำเสนอการให้เหตุผลเพียงข้างเดียว การโฆษณาชวนเชื่อมักทำซ้ำและกระจายในสื่อหลายชนิดเพื่อสร้างผลที่เลือกสรรแล้วในทัศนคติของผู้ชม ตรงข้ามกับการให้สารสนเทศอย่างยุติธรรม การโฆษณาชวนเชื่อ ในความหมายพื้นฐานที่สุด นำเสนอสารสนเทศเพื่อชักจูงผู้ชมเป็นหลัก การโฆษณาชวนเชื่อมักนำเสนอข้อเท็จจริงที่เลือกเฟ้นแล้วเพื่อกระตุ้นการสังเคราะห์อย่างเฉพาะเจาะจง หรือใช้ข้อความจำนวนมากเพื่อสร้างการตอบสนองทางอารมณ์ มิใช่เหตุผล ต่อสารสนเทศที่นำเสนอ ผลที่คาดหวัง คือ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติต่อหัวข้อในผู้ชมเป้าหมายเพื่อส่งเสริมวาระทางการเมืองหรือศาสนาต่อไป การโฆษณาชวนเชื่อยังสามารถใช้เป็นการสงครามการเมืองรูปแบบหนึ่งได้ แม้คำว่า การโฆษณาชวนเชื่อ จะดูมีความหมายเป็นลบ (เช่น การโฆษณาชวนเชื่อของนาซีที่ใช้สร้างความชอบธรรมแก่ฮอโลคอสต์) แต่ยังใช้กับ การแนะนำด้านสาธารณสุข ป้ายกระตุ้นให้พลเมืองเข้าร่วมในการลงประชามติหรือการเลือกตั้ง หรือข้อความกระตุ้นให้บุคคลรายงานอาชญากรรมต่อตำรวจ ก็ได้ หมวดหมู่:โฆษณาชวนเชื่อ หมวดหมู่:มติมหาชน หมวดหมู่:การควบคุมจิตใจ.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และการโฆษณาชวนเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

กุหลาบขาว

อนุสาวรีย์ของ'''ขบวนการกุหลาบสีขาว''' ด้านหน้าของ มหาวิทยาลัยลุดวิกเม็กซิมีเลียนแห่งมิวนิก ขบวนการกุหลาบสีขาว (die Weiße Rose)คือกลุ่มขบวนการที่ไม่ใช้ความรุนแรง, ปัญญา และต่อต้านของกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมิวนิค เยอรมนีที่มีความคิดต่อต้านระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี พวกเขาได้ปฏิบัติการตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 1942 ด้วยการแจกใบปลิวและติดสื่อที่มีเนื้อหาการต่อต้านรัฐบาลพรรคนาซี,แจ้งข่าวความพ่ายแพ้ของกองทัพเยอรมัน(เวร์มัคท์)จากยุทธการต่างๆในสงครามโลกครั้งที่สองที่รัฐบาลนาซีได้พยายามปกปิดให้กับประชาชนชาวเยอรมันรับรู้ รวมทั้งการประณามการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซีหรือฮอโลคอสต์ แต่ต้องจบลงด้วยการจับกลุ่มแกนนำทั้งหมดโดยพวกเกสตาโพในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1943 กลุ่มแกนนำและสมาชิกคนอื่นๆและผู้สนับสนุนที่มีความเกี่ยวข้องในการแจกใบปลิวได้ถูกนำตัวไปพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมของโฟล์คซดกริชท์ชอฟ ("ศาลประชาชน") หลายคนถูกตัดสินประหารชีวิตและถูกจำคุก ในอีกหลายสิบปีหลังสงคราม เยอรมนีได้ประกาศยกย่องว่า เป็นขบวนการที่มีความกล้าหาญในการเรียกร้องต่อต้านนาซีด้วยหลักอหิงสาคือไม่ใช่ความรุนแรงใดๆเลย หมวดหมู่:นาซีเยอรมนี หมวดหมู่:ขบวนการต่อต้านสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และกุหลาบขาว · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล

กูเกิล (Google Inc.) (และ) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม 2550) โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา เช่น กูเกิล ดีปไมด์ รวมถึงก่อตั้งบริษัทลูกอย่างกูเกิล เอกซ์กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน"." นิตยสารฟอร์จูน 22 มกราคม พ.ศ. 2550 เรียกข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน วันที่ 10 สิงหาคม..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และกูเกิล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษายิดดิช

ษายิดดิช (ภาษายิดดิช: ייִדיש, Yiddish,.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และภาษายิดดิช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาลาดิโน

ษาลาดิโน (Ladino) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ ได้รับอิทธิพลจากภาษาสเปนมาก โดยเฉพาะภาษาสเปนโบราณ (คัสติลเลียน) ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาลาดิโนกับภาษาสเปน เทียบได้กับภาษายิดดิชกับภาษาเยอรมัน ผู้พูดส่วนใหญ่เป็นชาวยิวเซฟาร์ดิก ตัวอย่างเช่น ชาวยิวในเทสซาโลนิกี อิสตันบูล และอิสมีร์ โครงสร้างของภาษาใกล้เคียงกับภาษาสเปน โดยมีบางส่วนมาจากภาษาฮีบรู ภาษาโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศส ภาษาตุรกี ภาษากรีก และภาษาสลาฟใต้ ขึ้นกับว่าผู้พูดอาศัยอยู่ที่ใด ภาษาลาดิโนมีเสียงที่มาจากภาษาสเปนโบราณที่กลายเป็นเสียงจากเพดานอ่อน /x/ ในภาษาสเปนสมัยใหม่ ภาษาลาดิโนมีหน่วยเสียง /x/ ที่ได้จากภาษาฮีบรู ในบางบริเวณมีการสร้างคำที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น muestro จาก nuestro (ของเรา) โครงสร้างทางไวยากรณ์ใกล้เคียงกับภาษาสเปน โดยมีการเพิ่มส่วนจากภาษาฮีบรู ภาษาโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศส ภาษาตุรกี ภาษากรีก และภาษากลุ่มสลาฟใต้ ขึ้นกับบริเวณที่ใช้พูด ภาษาลาดิโนเป็นภาษาที่ใกล้ตายเนื่องจากผู้พูดเป็นภาษาแม่มีอายุมากและไม่ถ่ายทอดภาษาให้รุ่นต่อไป ชุมชนชาวยิวเซฟาร์ดิกในประเทศต่างๆมีความพยายามฟื้นฟูภาษานี้โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับดนตรี สาเหตุที่ทำให้เป็นภาษาที่ใกล้ตายอีกอย่างหนึ่งคือการกลมกลืนไปกับภาษาสเปนสมัยใหม.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และภาษาลาดิโน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาของชาวยิว

งานเขียนอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ของ Elia Levita แสดงจากซ้ายไปขวา ภาษายิดดิช - ภาษาฮีบรู - ภาษาละติน - ภาษาเยอรมัน ภาษาของชาวยิว (Jewish languages) เป็นกลุ่มของภาษาและสำเนียงที่พัฒนาในชุมชนชาวยิวทั่วโลกทั้งในยุโรป เอเชียและแอฟริกาเหนือ พัฒนาการของภาษาเหล่านี้เกิดขึ้นโดยการเพิ่มศัพท์ภาษาฮีบรูเพื่อใช้อธิบายแนวคิดเฉพาะของชาวยิวเข้าสู่ภาษาท้องถิ่น ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรฮีบรู การอยู่เป็นกลุ่มก้อนอย่างเป็นเอกเทศของชาวยิว ทำให้ภาษาเหล่านี้รักษาคำศัพท์และลักษณะดั้งเดิมของภาษาที่เป็นภาษาต้นกำเนิดได้ภาษาของชาวยิวที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษายิดดิช ซึ่งเคยมีผู้พูดมากที่สุดในอดีต ภาษาลาดิโนที่เป็นภาษาของชาวยิวเซฟาร์ดีมากว่า 5 ศตวรรษและภาษาอาหรับของชาวยิวที่ใช้พูดในบริเวณที่มีผู้พูดภาษาอาหรับมากว่าพันปี ภาษาฮีบรูเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนายูดาย และเคยใช้เป็นภาษาพูดมาก่อน จนราว..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และภาษาของชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเครียมชาก

ษาเครียมชาก (Krymchak language) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่ใช้พูดในไครเมียโดยชาวเครียมชาก บางครั้งจัดเป็นสำเนียงของภาษาตาตาร์ไครเมียเรียกภาษาตาตาร์ไครเมียของชาวยิว ภาษานี้มีคำยืมจากภาษาฮีบรูมาก ก่อนยุคสหภาพโซเวียต เคยเขียนด้วยอักษรฮีบรู จนถึงยุคของสหภาพโซเวียตเมื่อราว..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และภาษาเครียมชาก · ดูเพิ่มเติม »

มานูเอล เอเล. เกซอน

มานูเอล ลุยส์ เกซอน อี โมลีนา (Manuel Luis Quezón y Molina) หรือ มานูเวล ลูวิส โมลีนา เคโซน (Manuel Luis Molina Quezon; 19 สิงหาคม พ.ศ. 2421 – 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487) เป็นรัฐบุรุษ ทหาร และนักการเมืองฟิลิปปินส์ที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และมานูเอล เอเล. เกซอน · ดูเพิ่มเติม »

มาเรีย มันเดอ

มาเรีย มันเดอ(Maria Mandl) (เช่นเดียวกับการสะกดว่า Mandel; 10 มกราคม ค.ศ. 1912 – 24 มกราคม ค.ศ. 1948) เป็นเจ้าหน้าที่เอ็สเอ็ส-เฮลเฟอริน(SS-Helferin)หรือผู้ช่วยหญิงเอ็สเอ็ส ชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงที่เลวร้ายที่สุดสำหรับบทบาทสำคัญของเธอในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซีหรือฮอโลคอสต์ในฐานะเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ค่ายมรณะเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา ที่เชื่อว่าเธอมีส่วนร่วมอย่างโดยตรงในการเสียชีวิตของนักโทษหญิงทั้งหมด 500,000 คน ภายหลังสงคราม เธอได้พยายามหลบหนีไปบ้านเกิดแต่กลับถูกจับกุมได้และถูกคุมขังเอาไว้ จนกระทั่งในปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และมาเรีย มันเดอ · ดูเพิ่มเติม »

มีป คีส

แฮร์มีเนอ ซันทรูชิทซ์ (Hermine Santruschitz; 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2452 – 11 มกราคม พ.ศ. 2553) หรือเป็นที่รู้จักทั่วใปในภาษาดัตช์ว่า มีป คีส (Miep Gies) คือหนึ่งในชาวดัตช์ผู้ช่วยเหลืออันเนอ ฟรังค์, ครอบครัวของเธอ และชาวยิวอีกสี่คนในการหลบซ่อนตัวจากนาซีเยอรมัน ซึ่งทั้งหมดซ่อนตัวอยู่ในส่วนต่อเติมอาคารที่ทำการของบริษัทค้าขายของออทโท ฟรังค์ บิดาของอันเนอ ฟรังค์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เดิมทีมีป คีส ถือสัญชาติออสเตรียโดยกำเนิด แต่ในปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และมีป คีส · ดูเพิ่มเติม »

ระเบียบใหม่ (ลัทธินาซี)

ระเบียบใหม่ (Neuordnung) หรือ ระเบียบใหม่แห่งยุโรป (Neuordnung Europas) เป็นคำสั่งทางการเมืองซึ่งนาซีเยอรมนีต้องการจะใช้กับพื้นที่ที่ยึดครองได้และอยู่ภายใต้อำนาจปกครอง การจัดระเบียบใหม่ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะเกิดขึ้น แต่ได้รับการประกาศสู่สาธารณชนโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และระเบียบใหม่ (ลัทธินาซี) · ดูเพิ่มเติม »

รูดอล์ฟ เฮสส์

รูดอล์ฟ วัลเทอร์ ริชาร์ด เฮสส์ (26 เมษายน 1894 – 17 สิงหาคม 1987) เป็นนักการเมืองคนสำคัญในนาซีเยอรมนี ได้รับแต่งตั้งเป็นรองฟือเรอร์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ในปี 1933 เขาดำรงตำแหน่งจนปี 1941 เมื่อเขาบินเดี่ยวไปประเทศสกอตแลนด์เพื่อพยายามเจรจาสันติภาพกับสหราชอาณาจักรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เขาถูกจับเป็นนักโทษและสุดท้ายถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมต่อสันติภาพ รับโทษจำคุกตลอดชีวิต เฮสส์สมัครเข้าเป็นทหารในกรมทหารปืนใหญ่สนามบาวาเรียที่ 7 เป็นทหารราบเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติ เขาได้รับบาดเจ็บหลายครั้งระหว่างสงคราม และได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์กางเขนเหล็ก ชั้นสองในปี 1915 ไม่นานก่อนสงครามยุติ เฮสส์ขึ้นทะเบียนเพื่อฝึกเป็นนักบิน แต่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในบทบาทนี้ เขาออกจากกองทัพในเดือนธันวาคม 1918 ด้วยยศร้อยโทสำรอง (Leutnant der Reserve) ในฤดูใบไม้ร่วงปี 1919 เฮสส์สมัครเรียนในมหาวิทยาลัยมิวนิก ที่ซึ่งเขาศึกษาวิชาภูมิรัฐศาสตร์กับคาร์ล เฮาโชแฟร์ ผู้สนับสนุนมโนทัศน์เลเบนซเราม์ ("ที่อยู่อาศัย") ซึ่งต่อมากลายเป็นเสาหลักของอุดมการณ์พรรคนาซี เฮสส์เข้าร่วมพรรคนาซีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1920 และร่วมกับฮิตเลอร์ก่อกบฏโรงเบียร์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 1923 อันเป็นความพยายามของนาซีที่ล้มเหลวเพื่อยึดรัฐบาลบาวาเรีย ระหว่างรับโทษจำคุกจากความพยายามรัฐประหารนี้ เฮสส์ช่วยฮิตเลอร์เขียนงานของเขา ไมน์คัมพฟ์ ซึ่งต่อมากลายเป็นรากฐานแนวนโยบายของพรรคนาซี เมื่อนาซียึดอำนาจในปี 1933 เฮสส์ได้รับแต่งตั้งเป็นรองฟือเรอร์ของพรรคนาซีและได้รับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของฮิตเลอร์ เขาเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดอันดับสามในประเทศเยอรมนี รองแต่เพียงฮิตเลอร์และแฮร์มันน์ เกอริง นอกเหนือจากการปรากฏตัวแทนฮิตเลอร์ในการปราศรัยและชุมนุม เฮสส์ลงนามผ่านกฎหมายหลายฉบับซึ่งรวมกฎหมายเนือร์นแบร์กปี 1935 ซึ่งถอดสิทธิของชาวยิวในประเทศเยอรมนีนำไปสู่ฮอโลคอสต์ เฮสส์ยังสนใจการบิน โดยเรียนบินอากาศยานที่ซับซ้อนขึ้นซึ่งมาพัฒนาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองอุบัติ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 1941 เขาบินเดี่ยวไปประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งเขาหวังจัดการเจรจาสันติภาพกับดุ๊กแฮมิลตัน ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นคนสำคัญในฝ่ายค้านของรัฐบาลอังกฤษ เฮสส์ถูกจับกุมทันทีที่มาถึงและถูกอังกฤษควบคุมตัวจนสิ้นสงคราม(หลังจากฮิตเลอร์ได้ทราบการกระทำของเฮสส์ทำให้เขาโกรธมากและทำการปลดเขาออกจากรองฟือเรอร์และได้แต่งตั้งมาร์ติน บอรมันแทน) เมื่อเขากลับประเทศเยอรมนีเพื่อรับการไต่สวนในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์กอาชญากรสงครามคนสำคัญในปี 1946 ตลอดการไต่สวน เขาอ้างว่าป่วยเป็นภาวะเสียความจำ แต่ภายหลังรับว่าเป็นอุบาย เฮสส์ถูกพิพากษาลงโทษฐานอาชญากรรมต่อสันติภาพและคบคิดกับผู้นำเยอรมันอื่นเพื่อก่ออาชญากรรมและถูกย้ายไปเรือนจำซแพนเดาในปี 1947 ซึ่งเขารับโทษจำคุกตลอดชีวิต ความพยายามซ้ำ ๆ ของสมาชิกครอบครัวและนักการเมืองคนสำคัญเพื่อให้ปล่อยตัวเขาถูกสหภาพโซเวียตขัดขวาง ขณะยังถูกควบคุมตัวในซแพนเดา เขาเสียชีวิตโดยดูเหมือนฆ่าตัวตายในปี 1987 เมื่ออายุ 93 ปี หลังเสียชีวิต เรือนจำถูกทำลายเพื่อมิให้กลายเป็นที่บูชาของนีโอนาซี หมวดหมู่:นาซี หมวดหมู่:นักการเมืองเยอรมัน หมวดหมู่:ทหารชาวเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง‎ หมวดหมู่:ทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:เชลยศึกสงครามโลกครั้งที่สองชาวเยอรมันที่ถูกจับโดยสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และรูดอล์ฟ เฮสส์ · ดูเพิ่มเติม »

ลวีฟ

ลวีฟ (Львів L’viv; Lwów; Львов, L'vov; Lemberg; Leopolis) เป็นเมืองทางตะวันตกของประเทศยูเครน เป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางวัฒนธรรมที่สำคัญของยูเครนในปัจจุบัน และเป็นเมืองประวัติศาสตร์ เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมโปแลนด์และยิวที่สำคัญ ซึ่งเมืองมีประชากรส่วนใหญ่เป็นโปแลนด์และยิว อพยพมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองและการล้างชาติโดยนาซี (1944–1946) เมืองประวัติศาสตร์ของลวีฟได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และลวีฟ · ดูเพิ่มเติม »

วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส

วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส เป็นหน่วยกองกำลังติดอาวุธของพรรคนาซีในหน่วยชุทซ์ชทัฟเฟิลหรือหน่วยเอ็สเอ็ส เป็นการรวมตัวกันของคนในนาซีเยอรมนีพร้อมทั้งอาสาสมัครและทหารเกณฑ์จากทั้งสองดินแดนคือดินแดนที่ถูกยึดครองและดินแดนที่ไม่ถูกยึดครองซึ่งหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สเป็นหน่วยกองกำลังรบพิเศษที่จะปฏิบัติการรบร่วมกันกับกองทัพบก (เฮร์) ของเวร์มัคท์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 วัฟเฟิน-เอ็สเอ็สนั้นถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยกองกำลังองครักษ์พิทักษ์ฟือเรอร์ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และถูกฝึกฝนมาอย่างหนักจนกลายเป็นกองกำลังรบระดับชั้นหัวกะทิเพื่อใช้เป็นเครื่องจักรสงครามในการยึดครองทวีปยุโรปตามเจตนารมณ์ของฮิตเลอร์และพรรคนาซี ฮิตเลอร์ได้มอบความไว้วางใจให้กับวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สมากที่สุดว่าเป็นหน่วยกองกำลังรบที่มีประสิทธิภาพในการรบมากที่สุด สามารถแก้ไขต่างๆได้ทุกสถานการณ์ ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สอง หน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สขึ้นชื่อว่าเป็นกองกำลังปีศาจเพราะเนื่องจากได้รับถูกปลูกฝังความคิดและอุดมการณ์นาซีทำให้ก่ออาชญากรรมสงครามมากมาย เช่น การสังหารหมู่เชลยศึกสงครามและพลเรือน การกวาดต้อนชาวยิวและอื่นๆในเขตปกครองของนาซีเยอรมันเข้าไปยังค่ายกักกันนาซี เป็นต้น แต่ในช่วงปลายสงครามในปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส · ดูเพิ่มเติม »

วัลเทอร์ ฟอน ไรเชอเนา

วัลเทอร์ คาร์ล แอนสท์ เอากุสท์ ฟอน ไรเชอเนา (Walter Karl Ernst August von Reichenau) เป็นจอมพลแห่งกองทัพบกของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นบัญชาการกองทัพที่หกในปฏิบัติการบาร์บารอสซาระหว่างการรุกรานสหภาพโซเวียตใน..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และวัลเทอร์ ฟอน ไรเชอเนา · ดูเพิ่มเติม »

วันสากลรำลึกฮอโลคอสต์

วันสากลรำลึกฮอโลคอสต์ (International Holocaust Remembrance Day) ตรงกับวันที่ 27 มกราคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญที่ได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เพื่อเป็นการรำลึกถึงฮอโลคอสต์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:วันสำคัญ หมวดหมู่:วันรำลึก.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และวันสากลรำลึกฮอโลคอสต์ · ดูเพิ่มเติม »

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์

วิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ (Scientific skepticism, Scientific scepticism) เป็นหลักปฏิบัติในการที่จะสืบหาว่า เรื่องที่อ้างว่าเป็นจริงนั้นมีหลักฐานโดยงานวิจัยเชิงประสบการณ์ (เชิงประจักษ์) หรือไม่ สามารถทำซ้ำได้หรือไม่ เป็นหลักปฏิบัติที่ใช้เป็นปกติในการ "เพิ่มขยายความรู้ที่ยืนยันได้พิสูจน์ได้" ยกตัวอย่างเช่น.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และวิมตินิยมทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเฮล์ม ริทเทอร์ ฟอน ลีบ

วิลเฮล์ม ริทเทอร์ ฟอน ลีบ (Wilhelm Ritter von Leeb) เป็นจอมพลชาวเยอรมันและอาชญากรสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงปฏิบัติการบาร์บารอสซาในการรุกรานสหภาพโซเวียต เขาได้บัญชาการในกองทัพกลุ่มเหนือและให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยเอ็สเอ็ส-ไอน์ซัทซกรุพเพน หน่วยกองกำลังทีมสังหารที่ได้รับมอบหมายให้ทำการสังหารชาวยิวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการล้างชาติโดยนาซี ลีบเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการคอรัปชั่นของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์สำหรับนายทหารระดับชั้นอาวุโสในเวร์มัคท์ ซึ่งได้รับมาเป็นประจำอย่างถูกกฎหมาย,ค่าจ้างยังเป็นความลับตลอดสงครามและช่วงหนึ่งได้รับของขวัญที่มีมูลค่า 250,000 ไรชส์มาร์คในปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และวิลเฮล์ม ริทเทอร์ ฟอน ลีบ · ดูเพิ่มเติม »

สัญญากับปิศาจ

ัญญากับปิศาจซึ่งทำเป็นลายลักษ์อักษร มิคาเอล พาเชอร์ (Michael Pacher) สัญญากับปิศาจ (deal with the devil หรือ pact with the devil) หรือ การต่อรองแบบเฟาสต์ (Faustian bargain) เป็นความเชื่อทางวัฒนธรรมที่แพร่หลายในภาคตะวันตกของโลก และได้รับการเสริมเติมแต่งเป็นอันมากจากตำนานของเฟาสต์ (legend of Faust) และตำนานเรื่องปิศาจเมฟิสโตเฟลิส (Mephistopheles) แต่พบมากในนิทานพื้นบ้านที่เกี่ยวกับศาสนาคริสต์ ตามความเชื่อดั้งเดิมในแม่มดของชาวคริสต์ สัญญากับปิศาจเป็นสัญญาระหว่างมนุษย์ ซึ่งเรียก "ผู้ขันต่อ" (wagerer) ฝ่ายหนึ่ง กับซาตาน (Satan) หรือปิศาจอื่น ๆ อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมนุษย์เสนอจะยกวิญญาณของตนให้แก่ปิศาจ เพื่อแลกกับการที่ปิศาจจะกระทำบางสิ่งบางอย่างให้ การตอบแทนของปิศาจนี้ว่ากันว่าแตกต่างกันไปแล้วแต่ความเชื่อ อาทิ ความเยาว์วัย ความมั่งมี ความรู้ หรืออำนาจวาสนา ยังเชื่อกันด้วยว่า บางคนทำสัญญาเช่นนี้เพียงเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าจะนับถือปิศาจเป็นนาย และไม่ต้องการสิ่งใดแลกเปลี่ยนเลย อย่างไรก็ดี การต่อรองเช่นนี้นับเป็นสิ่งอันตรายมากสิ่งหนึ่ง ด้วยว่าค่าตอบแทนแรงงานของปิศาจนั้นคือวิญญาณของผู้ขันต่อเอง เรื่องเล่ามักจบแบบสอนใจว่า นักเสี่ยงโชคผู้บ้าระห่ำพบความวิบัติชั่วกัลปาวสาน หรือในทางตรงกันข้าม อาจจบแบบตลกขบขันว่า ไพร่ที่หลักแหลมเอาชนะปิศาจด้วยอุบายอันแยบยล ความหวังในสิ่งเหนือธรรมดาอย่างแจ้งชัดนั้น บางทีก็เรียกว่าเป็นสัญญากับปิศาจ นับตั้งแต่เรื่องสะพานปิศาจในยุโรป ไปจนถึงความสามารถเล่นไวโอลินได้อย่างบรรเจิดของ นิกโกเลาะ ปากานีนี (Niccolò Paganini).

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และสัญญากับปิศาจ · ดูเพิ่มเติม »

สามเหลี่ยมชมพู

กย์ชายPlant, ''The Pink Triangle'' ในนาซีเยอรมนีสามเหลี่ยมชมพู (Rosa Winkel)ถูกใช้ในค่ายกักกันของนาซีเพื่อเป็นเครื่องหมายเพื่อแสดงความผิดของนักโทษที่เป็นพวกรักร่วมเพศ นักโทษทุกคนต้องติดเครื่องหมายสามเหลี่ยมกลับหัวบนเสื้อแจ็กเกตและมีสีต่างๆ ในการจัดกลุ่มตามความผิด ชาวยิวต้องติดเครื่องหมายสามเหลี่ยมสีเหลืองซ้อนกันเป็นดาราแห่งดาวิด สามเหลี่ยมสีชมพูและเหลืองอาจใช้ร่วมกันหากนักโทษเป็นทั้งเกย์และชาวยิว แต่เดิมตั้งใจให้เป็นตราแห่งความอัปยศตามการใช้ของนาซี แต่ปัจจุบันกลายมาเป็นเป็นสัญลักษณ์แห่งความภูมิใจในความเป็นเกย์ (gay pride) และการเคลื่อนไหวของสิทธิเกย์ (gay rights) และเป็นเครื่องหมายที่ได้รับความนิยมมากรองมาจากธงสายรุ้ง"San Francisco Neighborhoods: The Castro" KQED documentary.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และสามเหลี่ยมชมพู · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิมนุษยชน

ทธิมนุษยชน (human rights) เป็นหลักทางศีลธรรมหรือจารีตJames Nickel, with assistance from Thomas Pogge, M.B.E. Smith, and Leif Wenar, December 13, 2013, Stanford Encyclopedia of Philosophy,, Retrieved August 14, 2014ซึ่งอธิบายมาตรฐานตายตัวของพฤติกรรมมนุษย์ และได้รับการคุ้มครองสม่ำเสมอเป็นสิทธิทางกฎหมายในกฎหมายท้องถิ่นและกฎหมายระหว่างประเทศ ปกติเข้าใจว่าเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่โอนให้กันได้ "ซึ่งบุคคลมีสิทธิในตัวเพียงเพราะผู้นั้นเป็นมนุษย์" และซึ่ง "มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน"Burns H. Weston, March 20, 2014, Encyclopedia Britannica,, Retrieved August 14, 2014 โดยไม่คำนึงถึงชาติ สถานที่ ภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์กำเนิดหรือสถานภาพอื่นใด สิทธิมนุษยชนใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาในแง่ที่เป็นสากล และสมภาคในแง่ที่เหมือนกับสำหรับทุกคนThe United Nations, Office of the High Commissioner of Human Rights,, Retrieved August 14, 2014 สิทธิดังกล่าวต้องการความร่วมรู้สึกและหลักนิติธรรมGary J. Bass (book reviewer), Samuel Moyn (author of book being reviewed), October 20, 2010, The New Republic,, Retrieved August 14, 2014 และกำหนดพันธะต่อบุคคลให้เคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น สิทธิดังกล่าวไม่ควรถูกพรากไปยกเว้นอันเป็นผลของกระบวนการทางกฎหมายที่ยึดพฤติการณ์แวดล้อมจำเพาะ ตัวอย่างเช่น สิทธิมนุษยชนอาจรวมเสรีภาพจากการจำคุกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย การทรมานและการประหารชีวิตMerriam-Webster dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "rights (as freedom from unlawful imprisonment, torture, and execution) regarded as belonging fundamentally to all persons" ลัทธิสิทธิมนุษยชนมีอิทธิพลสูงในกฎหมายระหว่างประเทศ สถาบันโลกและภูมิภาค การกระทำของรัฐและองค์การนอกภาครัฐก่อพื้นฐานของนโยบายสาธารณะทั่วโลก แนวคิดสิทธิมนุษยชนเสนอว่า "หากวจนิพนธ์สาธารณะสังคมโลกยามสงบสามารถกล่าวเป็นภาษาศีลธรรมร่วมได้ สิ่งนั้นคือสิทธิมนุษยชน" การอ้างอย่างหนักแน่นโดยลัทธิสิทธิมนุษยชนยังกระตุ้นกังขาคติและการอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหา สภาพและการให้เหตุผลว่าชอบด้วยกฎหมายซึ่งสิทธิมนุษยชนตราบจนทุกวันนี้ ความหมายแน่ชัดของคำว่า "สิทธิ" นั้นมีการโต้เถียงและเป็นหัวข้อการอภิปรายทางปรัชญาต่อไป ขณะที่มีการเห็นพ้องต้องกันว่าสิทธิมนุษยชนครอบคลุมสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม การคุ้มครองจากการเป็นทาส การห้ามพันธุฆาต เสรีภาพในการพูดMacmillan Dictionary,, Retrieved August 14, 2014, "the rights that everyone should have in a society, including the right to express opinions about the government or to have protection from harm"หรือเสรีภาพที่จะได้รับการศึกษา แต่ยังเห็นไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับว่าสิทธิใดบ้างต่อไปนี้ควรรวมอยู่ในกรอบทั่วไปของสิทธิมนุษยชน นักคิดบางคนเสนอว่าสิทธิมนุษยชนควรเป็นข้อกำหนดพื้นฐานเพื่อเลี่ยงการละเมิดที่ร้ายแรงที่สุด ขณะที่บางคนมองว่าเป็นมาตรฐานขั้นสูง ความคิดพื้นฐานดังกล่าวจำนวนมากซึ่งขับเคลื่อนขบวนการสิทธิมนุษยชนพัฒนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและความเหี้ยมโหดของฮอโลคอสต์ จนลงเอยด้วยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีมติเห็นชอบปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในกรุงปารีสในปี 2491 คนโบราณไม่มีแนวคิดสิทธิมนุษยชนสากลสมัยใหม่แบบเดียวกัน การบุกเบิกวจนิพนธ์สิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงนั้นคือมโนทัศน์สิทธิธรรมชาติซึ่งปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีกฎหมายธรรมชาติยุคกลางซึ่งโดดเด่นขึ้นระหว่างยุคภูมิธรรมยุโรปโดยมีนักปรัชญาอย่างจอห์น ล็อก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน (Francis Hutcheson) และฌ็อง-ฌัก บือลามาคี (Jean-Jacques Burlamaqui) และซึ่งมีการเสนออย่างโดดเด่นในวจนิพันธ์การเมืองของการปฏิวัติอเมริกาและการปฏิวัติฝรั่งเศส จากรากฐานนี้ การให้เหตุผลสิทธิมนุษยชนสมัยใหม่กำเนิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาจเป็นปฏิกิริยาต่อความเป็นทาส การทรมาน พันธุฆาตและอาชญากรรมสงคราม โดยความตระหนักถึงความเปราะบางของมนุษย์ในตัวและเป็นเงื่อนไขก่อนความเป็นไปได้ของสังคมยุติธรรม.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และสิทธิมนุษยชน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สแตนลีย์ มิลแกรม

แตนลีย์ มิลแกรม (Stanley Milgram; 15 สิงหาคม ค.ศ. 1933 – 20 ธันวาคม ค.ศ. 1984) เป็นนักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการทดลองเกี่ยวกับการเชื่อฟังที่ถูกจัดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ขณะที่เขาเป็นศาสตราจารย์ ณ มหาวิทยาลัยเยลBlass, T. (2004).

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และสแตนลีย์ มิลแกรม · ดูเพิ่มเติม »

ออสการ์ ชินด์เลอร์

ออสการ์ ชินด์เลอร์ (Oskar Schindler; 28 เมษายน พ.ศ. 2451 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2517) คือนักอุตสาหกรรมและนักจารกรรมชาวเยอรมัน อดีตสมาชิกพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน (พรรคนาซี) ผู้ได้รับการกล่าวขานว่าช่วยชีวิตชาวยิวกว่า 1,200 คน ในช่วงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ด้วยการรับเข้าทำงานเป็นลูกจ้างในโรงงานภาชนะเคลือบและโรงงานผลิตอาวุธสงครามที่เขาเป็นเจ้าของอยู่ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตยึดครองโปแลนด์ของเยอรมนีและรัฐในอารักขาแห่งโบฮีเมียและโมราเวีย นอกจากนี้เขายังเป็นที่มาของนวนิยายเรื่อง Schindler's Ark ปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และออสการ์ ชินด์เลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท แอนสท์ เรเมอร์

ออทโท แอนสท์ เรเมอร์(Otto Ernst Remer) เป็นเจ้าหน้าที่ทหารเยอรมันในกองทัพเวร์มัคท์ ได้มีส่วนสำคัญในการหยุดยั้งแผนลับ 20 กรกฎาคมในปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และออทโท แอนสท์ เรเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลแบร์ท ชเปียร์

แบร์โทลด์ คอนราด แฮร์มันน์ อัลแบร์ท ชเปียร์ (Berthold Konrad Hermann Albert Speer;; 19 มีนาคม ค.ศ. 1905 – 1 กันยายน ค.ศ. 1981) เป็นสถาปนิกชาวเยอรมัน เป็นหัวหน้าสถาปนิกของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ก่อนได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงสรรพาวุธของนาซีเยอรมนี ชเปียร์ยอมรับผิดในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ทำให้ได้รับฉายา "นาซีผู้กล่าวคำขอโทษ" (the Nazi who said sorry) อย่างไรก็ตาม ชเปียร์ปฏิเสธไม่รู้เห็นเกี่ยวกับฮอโลคอสต์ ชเปียร์เกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และอัลแบร์ท ชเปียร์ · ดูเพิ่มเติม »

อังเกอลา ฮิตเลอร์

อังเกอลา ฟรันซิสกา โยฮันท์ ฮัมมิซช์ (Angela Franziska Johanna Hammitzsch) หรือชื่อเกิดคือ อังเกอลา ฮิตเลอร์ เป็นพี่สาวต่างมารดาของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เธอเป็นลูกสาวของอาลัวส์ ฮิตเลอร์กับภรรยาคนที่สอง Franziska Matzelsberger มีน้องชายชื่อ อาลัวส์ ฮิตเลอร์ จูเนียร์แต่ต่อมาแม่ของเธอเสียชีวิต เธอกับน้องชายได้ถูกรับการเลี้ยงดูจากนางคราลา(Pölzl)ฮิตเลอร์ ภรรยาคนที่สามของอาลัวส์และเป็นมารดาของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หลังจากอาลัวส์ กับนางคราลา ฮิตเลอร์ได้เสียชีวิตไปแล้ว เธอได้กลายเป็นผู้ปกครองดูแลของฮิตเลอร์ตลอดมาทำให้เธอกลายเป็นญาติคนเดียวที่ใกล้ชิดของอดอลฟ์ ฮิตเลอร์ อังเกอลา ฮิตเลอร์แต่งงานมาสองครั้ง ครั้งแรกกับนายลีโอ รูดอลฟ์ เราบัล เธอมีลูกชายคนแรกคือลีโอ รูดอลฟ์ เราบัล จูเนียร์ ลูกสาวคนที่สอง เกลี เราบัล ลูกชายคนที่สามคนสุดท้อง Elfriede (Friedl) เราบัล สามีของเธอเสียชีวิตในปี 1910 ต่อมาเธอได้แต่งงานกับสถาปนิก ศาสตราจารย์มารติน แฮมมิซแต่สามีของเธอได้ฆ่าตัวตาย หลังจากความพ่ายแพ้สงครามของเยอรมนี หลังสงคราม เธอได้ถูกคุมตัวและสอบถามเกี่ยวกับประวัติของฮิตเลอร์จากสัมพันธมิตรตะวันตกแต่เธอไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุของนาซีเลยและได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระ ต่อมาเธอได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 1949 ณ ฮันโนเฟอร์ เยอรมนีตะวันตก.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และอังเกอลา ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ทูร์ แบร์เกิน

อาร์ทูร์ แบร์เกิน (24 ตุลาคม ค.ศ. 1875 - 1943) เป็นนักแสดงชายและผู้กำกับภาพยนตร์ ชาวออสเตรีย อาร์ทูร์ เสียชีวิตที่ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ ระหว่าง ฮอโลคอสต.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และอาร์ทูร์ แบร์เกิน · ดูเพิ่มเติม »

อุนแทร์เมนเชน

อุนแทร์เมนเชน(ต่ำกว่ามนุษย์, sub-man, subhuman; พหูพจน์: Untermenschen)เป็นคำศัพท์ที่กลายเป็นที่น่าอับอายเมื่อพวกนาซีได้ใช้คำนี้เพื่อการอธิบายถึงพวกที่ไม่ใช่ชาวอารยัน "คนที่ต่ำต้อย" มักจะถูกเรียก "ฝูงคนจากตะวันออก" นั่นคือชาวยิว ชาวโรมานี และชนชาวสลาฟ-ส่วนใหญ่เป็นชาวโปล ชาวเซิร์บ และต่อมาก็เป็นชาวรัสเซีย at Wayback machine.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และอุนแทร์เมนเชน · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) เป็นนักการเมืองเยอรมันเชื้อชาติออสเตรีย หัวหน้าพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่าง..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อดอล์ฟ ไอชมันน์

ออทโท อดอล์ฟ ไอชมันน์ (Otto Adolf Eichmann, 19 มีนาคม ค.ศ. 1906 - 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1962) เป็นสมาชิกพรรคนาซี และ โอเบอร์ชตูร์มบันน์ฟือเรอร์ (พันโท) ของหน่วยเอ็สเอ็ส และหนึ่งในผู้จัดการการล้างชาติโดยนาซีคนสำคัญ เพราะความสามารถพิเศษในการจัดการเป็นระบบและความน่าเชื่อถือทางอุดมการณ์ ไอชมันน์จึงได้รับมอบหมายจากไรน์ฮาร์ด ฮายดริชให้ปฏิบัติงานอำนวยความสะดวกและจัดการพลาธิการการเนรเทศชาวยิวขนานใหญ่ไปยังเก็ตโตและค่ายมรณะในยุโรปตะวันออกภายใต้การยึดครองของเยอรมนี หลังสงครามยุติ เขาบินไปยังอาร์เจนตินาโดยใช้บัตรอนุญาต (laissez-passer) ออกโดย กาชาดสากล ที่ได้มาโดยตลบแตลง เขาอาศัยอยู่ในอาร์เจนตินาภายใต้รูปพรรณปลอม ทำงานให้กับเมอร์ซิเดสเบนซ์ถึง..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และอดอล์ฟ ไอชมันน์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide) เป็นสนธิสัญญาซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติมีข้อมติที่ 260 ตกลงรับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 1948 และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 1951 อนุสัญญานี้กำหนดบทอธิบายศัพท์ "ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" ตามกฎหมาย และเป็นผลมาจากการรณรงค์ยาวนานหลายปีของราฟาเอล เล็มกิน (Raphael Lemkin) นักนิติศาสตร์ แยร์ ออรอน (Yair Auron) นักประวัติศาสตร์ชาวอิสราเอล กล่าวว่า "เมื่อราฟาเอล เล็มกิน สร้างศัพท์ว่า 'ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์' เมื่อปี 1944 นั้น เขาเอาการทำลายล้างชาวอาร์เมเนียเมื่อปี 1915 มาเป็นตัวอย่างสำคัญของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" อนุสัญญากำหนดให้รัฐทั้งหลายที่เข้าร่วมอนุสัญญาต้องป้องกันและลงโทษการกระทำทั้งหลาย ๆ ที่ก่อให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทั้งในยามสงบและยามรบ ปัจจุบัน มีรัฐ 144 รัฐให้สัตยาบันแก่อนุสัญญานี้แล้ว.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอโลคอสต์ในโปแลนด์

อโลคอสต์ในโปแลนด์ภายใต้การยึดครองของเยอรมนี เป็นช่วงสุดท้ายและเป็นขั้นตอนที่ร้ายแรงที่สุดของนาซีคือ การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย (Endlösung der Judenfrage) ซึ่งได้ทำเครื่องหมายโดยการก่อสร้างค่ายมรณะบนประเทศโปแลนด์ที่ถูกเยอรมนียึดครอง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นทางการได้รับการอนุมัติและปฏิบัติการโดยจักรวรรดิไรชส์ที่สามในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เรียกกันโดยรวมแล้วว่า ฮอโลคอสต์ ได้คร่าชีวิตชาวโปลเชื้อสายยิวจำนวนสามล้านคนและจำนวนที่ใกล้เคียงชองชาวโปล ยังไม่รวมถึงความสูญเสียชองพลเรือนชาวโปลของชาติพันธุ์อื่นๆ ค่ายมรณะได้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินการตามนโยบายของเยอรมนีในการทำลายล้างอย่างเป็นระบบและประสบความสำเร็จมากที่สุดเพียง 90% ของจำนวนประชากรโปแลนด์-ยิวของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง ทุกสาขาของระบบการปกครองข้าราชการของเยอรมนีที่ซับซ้อนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการสังหาร จากกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการคลัง ไปยังบริษัทเยอรมนีและการรถไฟของรัฐได้ถูกใช้สำหรับการเนรเทศชาวยิว บริษัทเยอรมนีได้เสนอประมูลราคาสำหรับการทำสัญญาในการสร้างเตาเผาศพภายในค่ายกักกันที่ได้ดำเนินการโดยนาซีเยอรมนีในเขตปกครองสามัญ เช่นเดียวกับในส่วนที่อื่นๆของเขตยึดครองโปแลนด์และอื่น ๆ—— Second ed.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และฮอโลคอสต์ในโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

จอร์โจ แปร์ลัสกา

รูปปั้นครึ่งตัวของจอร์โจ แปร์ลัสกา ที่กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี จอร์โจ แปร์ลัสกา (Giorgio Perlasca; 31 มกราคม ค.ศ. 1910 — 15 สิงหาคม ค.ศ. 1992) เป็นชาวอิตาลีผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลใหญ่ของรัฐสเปนประจำประเทศฮังการีในสงครามโลกครั้งที่สอง (ช่วงฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1944) เขาได้มีส่วนช่วยเหลือชาวยิวนับพันคนให้รอดพ้นจากการตามล่าและการล้างชาติพันธุ์ยิวโดยนาซีเยอรมนี.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และจอร์โจ แปร์ลัสกา · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบริติช

ักรวรรดิบริติช (British Empire) หรือ จักรวรรดิอังกฤษ ประกอบด้วยประเทศในเครือจักรภพ, คราวน์โคโลนี, รัฐในอารักขา, รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่นซึ่งสหราชอาณาจักรปกครองหรือบริหาร จักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจโลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึ่งศตวรรษ ใน..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และจักรวรรดิบริติช · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติลัตเวีย

งชาติลัตเวีย เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นเป็นแถบสีแดงเข้มอย่างสีเลือดหมู ที่กลางธงมีแถบแนวนอนสีขาว กว้างเป็น 1 ใน 5 ส่วนของความกว้างธง เดิมธงนี้เป็นธงชาติลัตเวียสมัยได้รับเอกราชครั้งแรกในปี พ.ศ. 2461 (แต่ได้รับรองอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2465) ต่อมาลัตเวียถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2483 ธงนี้จึงได้เลิกใช้นานหลายสิบปี จนกระทั่งเมื่อประเทศได้รับเอกราชอีกครั้งในปี พ.ศ. 2534 จึงได้มีการนำธงนี้กลับมาใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 แต่แท้จริงแล้วประวัติของธงนี้มีความเป็นมาที่ยาวนานตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 หรือในช่วงยุคกลางของยุโรป ส่วนที่มาสีในธงชาตินั้นมาจากตำนานที่กล่าวถึงผืนผ้าซึ่งเปื้อนเลือดของผู้นำนักรบชาวลัตเวี.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และธงชาติลัตเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติลิทัวเนีย

งชาติลิทัวเนีย มีลักษณะเป็นธงสามสีแบ่งตามแนวนอน พื้นสีเหลือง สีเขียวและสีแดง เรียงจากบนลงล่าง ความกว้างแต่ละแถบเท่ากัน ธงนี้เริ่มใช้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2532 ซึ่งเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการประกาศเอกราช ก่อนหน้านี้ธงนี้เคยใช้เป็นธงชาติลิทัวเนียในช่วงปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และธงชาติลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเยอรมนี

งชาติเยอรมนี มีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน แบ่งเป็นแถบสี 3 แถบ ตามแนวนอน คือ สีดำ สีแดง และสีทอง มีชื่อเรียกในภาษาเยอรมันว่า "Schwarz-Rot-Gold" แปลว่า ธงดำ-แดง-ทอง ตามสีของธง.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และธงชาติเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ขบวนการต่อต้านโปแลนด์ในสงครามโลกครั้งที่สอง

กลุ่มเคลื่อนไหวการต่อต้านของชาวโปแลนด์ในสงครามโลกครั้งที่สองด้วยกองทัพบ้านเกิดโปแลนด์(Polish Home Army)ที่แนวหน้า เป็นการต่อต้านทางใต้ดินขนาดใหญ่ในเขตนาซียึดครองยุโรปของทั้งหมด ทั้งเขตการยึดครองของเยอรมันและโซเวียต การป้องกันของชาวโปลแลนด์ต่อต้านการยึดครองของนาซีเป็นส่วนสำคัญของกลุ่มเคลื่อนไหวการต่อต้านของกลุ่มการต่อต้านฟาสซิสต์(anti-fascist)ในทวีปยุโรป การต่อต้านของชาวโปแลนด์เป็นสิ่งที่จดจำมากที่สุดสำหรับการทำลายเส้นทางการขนส่งเสบียงของเยอรมันไปยังแนวรบด้านตะวันออก การให้ข่าวกรองทางทหารแก่อังกฤษ และคอยช่วยชีวิตแก่ชาวยิวจำนวนมากในการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุของนาซีได้มากว่าองค์กรหรือรัฐบาลของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกอื่นๆ มันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐใต้ดินของโปแลนด์ หมวดหมู่:ขบวนการต่อต้านสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และขบวนการต่อต้านโปแลนด์ในสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ดิอะเมซิ่งเรซ 11

อะเมซิง เรซ 11 (The Amazing Race 11) เป็นฤดูกาลที่ 11 ของรายการ ดิ อะเมซิ่ง เรซ ซึ่งเป็นเกมโชว์ประเภทเรียลลิตี้โชว์ระดับรางวัลเอ็มมี 8 สมัยซ้อนทางโทรทัศน์ รายการนี้จะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นทีมๆ ละ 2 คนซึ่งรู้จักกันมาก่อนแล้ว ทำการแข่งขันโดยเดินทางรอบโลก โดยทีมที่ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเกมส์โชว์ดังกล่าวเริ่มออกอากาศในสหรัฐอเมริกาทางสถานีโทรทัศน์ซีบีเอส การแข่งขันโดยรวมสำหรับฤดูกาลนี้คือจะนำผู้ที่มีบทบาทเด่นๆ จากการแข่งขัน ดิ อะเมซิ่งเรซ 1 - 10 มาทำการแข่งขันอีกครั้งโดยเป็นฤดูกาลรวมดาราโดยใช้ชื่อว่า The Amazing Race: All-Stars.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และดิอะเมซิ่งเรซ 11 · ดูเพิ่มเติม »

คืนกระจกแตก

ืนกระจกแตก หรือเรียกอีกชื่อว่า คริสทัลล์นัคท์ (Kristallnacht) เป็นเหตุการณ์การสังหารหมู่ชาวยิวในนาซีเยอรมนีเมื่อวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 1938 ที่ได้ถูกดำเนินการโดยหน่วยชตูร์มับไทลุง (SA) และกองกำลังพลเรือนชาวเยอรมัน เจ้าหน้าที่ตำรวจเยอรมันได้แต่เฝ้าดูสถานการณ์โดยไม่เข้าแทรกแซงใดๆเลย คำเรียกว่า คริสทัลล์นัคท์ มาจากเศษกระจกที่ได้แตกเกลื่อนไปตามถนน หลังจากที่หน้าต่างของอาคารร้านค้าที่มีชาวยิวเป็นเจ้าของและธรรมศาลาถูกทุบตีจนแตก จำนวนของการเสียชีวิตที่เกิดจากการสังหารหมู่ที่มีความแตกต่างกัน รายงานในช่วงแรกคาดว่าชาวยิว 91 คนถูกฆ่าตายระหว่างการโจมตี การวิเคราะห์สมัยใหม่แหล่งวิชาการเยอรมันโดยนักประวัติศาสตร์ เช่น ริชาร์ด เจอีแวนส์ ทำให้จำนวนเพิ่มสูงขึ้นมาก เมื่อเสียชีวิตจากการกระทำผิดหลังการจับกุมและการฆ่าตัวตายที่ตามมาจะถูกรวมยอดผู้เสียชีวิตปีนขึ้นไปเป็นจำนวนร้อย นอกจากนั้นชาวยิวกว่า 30,000 คนถูกจับกุมและคุมขังในค่ายกักกันนาซี บ้านของชาวยิว, โรงพยาบาลและโรงเรียนถูกรื้อค้น, การโจมตีทำลายอาคารด้วยค้อน.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และคืนกระจกแตก · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกันดาเคา

ทางอากาศของค่ายในอดีต ภาพถ่ายทางอากาศของอนุสรณ์สถานดาเคาในปัจจุบัน ค่ายกักกันดาเคา (Konzentrationslager (KZ) Dachau) เป็นค่ายกักกันนาซีแห่งแรกที่เปิดในเยอรมนี ตั้งอยู่บนที่ดินของโรงงานผลิตอาวุธร้างใกล้กับเมืองสมัยกลางชื่อว่า ดาเคา ห่างจากเมืองมิวนิกในรัฐบาวาเรียไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 16 กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคใต้ของเยอรมนี ค่ายนี้เปิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และค่ายกักกันดาเคา · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกันนาซี

กองกำลังสหรัฐอเมริกา ณ ค่ายกักกันซึ่งได้รับการปลดปล่อย แสดงให้พลเรือนชาวเยอรมันเห็นพร้อมกับหลักฐาน: รถบรรทุกซึ่งเต็มไปด้วยซากศพ นาซีเยอรมนีได้จัดตั้งค่ายกักกันขึ้นตลอดดินแดนยึดครองของตน ค่ายกักกันนาซีในช่วงแรก ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากในเยอรมนีภายหลังเหตุการณ์เพลิงไหม้รัฐสภาไรช์สทัก ในปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และค่ายกักกันนาซี · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายกักกันไมดาเนก

แผนที่ค่ายกักกันและค่ายมรณะของนาซีในโปแลนด์ ไมดาเนกหรือเคเอล ลูบลิน เป็นค่ายกักกันและค่ายมรณะของเยอรมันที่ถูกสร้างขึ้นและปฏิบัติการโดยหน่วยเอ็สเอ็สที่ชานเมืองของลูบลินในช่วงที่เยอรมันยึดครองโปแลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าจะมีวัตถุประสงค์เพื่อบังคับใช้แรงงานทาสมากกว่าการสังหาร ค่ายแห่งนี้ถูกใช้เพื่อทำการสังหารผู้คนในระดับขนาดอุตสาหกรรมในช่วงปฏิบัติการไรน์ฮาร์ด เยอรมันได้วางแผนเพื่อกำจัดชาวยิวทั้งหมดภายในอานาเขตของรัฐบาลสามัญในโปแลนด์ ค่ายแห่งนี้,ซึ่งได้ปฏิบัติการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และค่ายกักกันไมดาเนก · ดูเพิ่มเติม »

ค่ายมรณะ

มรณะ (Extermination camp หรือ Death camp) สร้างโดยนาซีเยอรมนีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อเป็นสถานที่สำหรับสังหารผู้คนเป็นจำนวนล้าน (โดยเฉพาะชาวยิว) อย่างมีระบบ การพันธุฆาตชาวยิวเป็น “วิธีแก้ปัญหาสุดท้ายของปัญหาชาวยิว” (Die Endlösung der Judenfrage) ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ความพยายามของนาซีในการกำจัดชาวยิวทั้งหมดมาเรียกรวมกันว่า “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” หรือ “The Holocaust”.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และค่ายมรณะ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิบัติการไรน์ฮาร์ด

ปฏิบัติการไรน์ฮาร์ด(Aktion Reinhard)เป็นรหัสนามที่มอบให้กับแผนการลับของนาซีเยอรมันที่จะทำการสังหารหมู่ชาวโปแลนด์เชื้อสายยิวส่วนใหญ่ในรัฐบาลสามัญเยอรมันในเขตการยึดครองโปแลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการครั้งนี้เป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซี(Holocaust)และเป็นการแนะนำของค่ายมรณ.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และปฏิบัติการไรน์ฮาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตยเสรีนิยม

รัฐสภาของประเทศฟินแลนด์ (Eduskunta) - มีประเทศและอาณาเขตหลายแห่งที่เรียกได้ว่า มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปเป็นแห่งแรก รัฐ Grand Duchy of Finland (ก่อนจะเป็นประเทศฟินแลนด์) ได้มีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2449 ประชาธิปไตยเสรีนิยม หรือ ประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม (Liberal democracy) หรือบางครั้งเรียกว่า ประชาธิปไตยแบบตะวันตก เป็นทั้งคตินิยมทางการเมืองและระบอบการปกครองรูปแบบหนึ่ง ที่การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนจะดำเนินการใต้หลักเสรีนิยม คือ การพิทักษ์สิทธิของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยทั่วไปจะระบุไว้ในกฎหมาย ระบอบมีลักษณะเฉพาะ คือ.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และประชาธิปไตยเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูเครน

ประเทศยูเครน (Ukraine) หรือ อูกรายีนะ (Україна, Ukrayina) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดทะเลดำและทะเลอะซอฟตามลำดับ ยูเครนมีพื้นที่ 603,628 กม.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และประเทศยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิสราเอล

ประเทศอิสราเอล (Israel; יִשְׂרָאֵל; إِسْرَائِيل) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (State of Israel; מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; دَوْلَة إِسْرَائِيل) เป็นประเทศในตะวันออกกลางบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและชายฝั่งเหนือของทะเลแดง มีเขตแดนทางบกติดต่อกับประเทศเลบานอนทางทิศเหนือ ประเทศซีเรียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศจอร์แดนทางทิศตะวันออก ดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาของปาเลสไตน์ทางทิศตะวันออกและตะวันตกตามลำดับ และประเทศอียิปต์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศอิสราเอลมีภูมิลักษณ์หลากหลายแม้มีพื้นที่ค่อนข้างเล็ก เทลอาวีฟเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนที่ตั้งรัฐบาลและเมืองหลวงตามประกาศคือ เยรูซาเลม แม้อำนาจอธิปไตยของรัฐเหนือเยรูซาเลมยังไม่มีการรับรองในระดับนานาประเทศThe Jerusalem Law states that "Jerusalem, complete and united, is the capital of Israel" and the city serves as the seat of the government, home to the President's residence, government offices, supreme court, and parliament.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และประเทศอิสราเอล · ดูเพิ่มเติม »

ปัญหาชาวยิว

ปัญหาชาวยิว (Jewish question) ครอบคลุมปัญหาและการแก้ปัญหาแวดล้อมสถานะพลเมือง กฎหมายและสัญชาติอันไม่เท่าเทียมทางประวัติศาสตร์ระหว่างชนกลุ่มน้อยชาวยิวอัชเคนาซิและผู้ที่มิใช่ยิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรป ปัญหาแรกอภิปรายและถกเถียงกันในหมู่ชนชั้นสูง นักการเมืองและนักเขียนในยุโรปตะวันตกและยุโรปกลางระหว่างยุคภูมิธรรมและการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งปัญหานี้รวมไปถึงการขาดคุณสมบัติทางพลเมืองทางเศรษฐกิจและกฎหมายของยิว ความเท่าเทียม การปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นอิสระและภูมิธรรมยิว (Jewish Enlightenment) ปัญหา ซึ่งรวมไปถึงการผสมกลมกลืนในการพลัดถิ่นและลัทธิไซออนิสต์ ยังคงดำเนินต่อไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ยี่สิบ คำดังกล่าวเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับช่วงที่การต่อต้านยิวเพิ่มขึ้นเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1880 เช่นเดียวกับความพยายามในการสถาปนารัฐยิว.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และปัญหาชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

นีกอลา ซาร์กอซี

นีกอลา ซาร์กอซี (Nicolas Sarkozy;; (28 มกราคม พ.ศ. 2498 —) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสและอดีตผู้ปกครองร่วมแห่งอันดอร์รา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเศรษฐกิจ การคลังและอุตสาหกรรม กระทรวงงบประมาณและนายกเทศมนตรีเมืองเนอยี-ซูร์-แซน เขาเป็นที่รู้จักดีจากทัศนคติในด้านกฎหมายและคำสั่งของเขา รวมถึงความต้องการให้เศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศสกลับคืนสู่สภาพเดิม ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เขาได้สร้างความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสหรัฐอเมริกาและยังได้กระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรกับประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ชื่อเล่นที่ผู้สนับสนุนและไม่สนับสนุนต่างเรียกแทนตัวเขาคือ "ซาร์โก" (Sarko).

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และนีกอลา ซาร์กอซี · ดูเพิ่มเติม »

แฟ้มเขียวของเกอริง

กอริง (แถวหน้าซ้ายสุด) ในระหว่างการไต่สวนของศาลพิเศษ ในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ได้มีเอกสารฉบับหนึ่งที่ถูกเรียกว่า "แฟ้มเขียว"ของจอมพลแฮร์มันน์ เกอริง นี่เป็นระเบียบนโยบายหลักสำหรับการแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในการพิชิตสหภาพโซเวียต ความหมายของเอกสารฉบับนี้คือความตายด้วยความอดอยากของชนชาวสลาฟนับล้านคน บางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นในฮอโลคอสต์ การปล่อยปะละเลยของทหารโซเวียตที่ถูกจับกุมโดยทหารนาซีซึ่งนำไปสู่อัตราการเสียชีวิตสูง และบังคับยึดเสบียงอาหารทั่วไปในพื้นที่ยึดครองของสหภาพโซเวียต เอกสารฉบับนี้เรียกว่า เอกสารดำเนินพิจารณาคดีของโซเวียต Exhibit USSR 10.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และแฟ้มเขียวของเกอริง · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

โพกรม

การจลาจลเฮ็พ-เฮ็พ (Hep-Hep riots) ในปี ค.ศ. 1819 ทางด้านซ้ายชาวนาสตรีสองคนโจมตีชายชาวยิวด้วยคราดและไม้กวาด ทางด้านขวาชายใส่แว่นตามีหางใส่เสื้อกั๊กหกกระดุมผู้อาจจะเป็นเภสัชกรหรือครูAmos Elon (2002), ''The Pity of It All: A History of the Jews in Germany, 1743–1933''. Metropolitan Books. ISBN 0-8050-5964-4. p. 103 ถูกบีบคอและกำลังจะถูกตีหัว ภาพพิมพ์กัดกรดโดยโยฮันน์ มิเคิล โวลทซ์ โพกรม หรือ การจลาจลโพกรม (Pogrom) เป็นลักษณะหนึ่งของการก่อความไม่สงบหรือการจลาจลในการต่อต้านกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อาจจะมีลักษณะร่วมกันทางชาติพันธุ์, ศาสนา, เชื้อชาติ หรืออื่นๆ ที่อาจจะออกมาในรูปของการเข่นฆ่า หรือการทำลายทรัพย์สินบ้านเรือน, ธุรกิจ หรือศาสนสถานที่อาจจะเกิดขึ้นโดยมีการวางแผนล่วงหน้าหรือไม่มีก็ได้ คำนี้เดิมใช้ในการสร้างความเสียหายและทำร้ายชาวยิว แต่ในภาษาอังกฤษ “โพกรม” ไม่จำกัดเพียงการสร้างความเสียหายและทำร้ายเฉพาะแต่ชาวยิวเท่านั้นแต่ยังรวมถึงกลุ่มอื่นๆ ที่กล่าวข้างต้น ที่มาของคำว่า “โพกรม” ในภาษาอังกฤษ “Pogrom” (погром) มาจากคำกิริยา “громить” ที่แปลว่าทำลาย, ก่อความวุ่นวาย, การทำลายอย่างรุนแรง ยูริ อาฟเนริบรรยาย “โพกรม” ว่าเป็น “การจลาจลโดยประชาชนผู้ถืออาวุธที่มัวเมาไปด้วยความเกลียดชังต่อผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ขณะที่ตำรวจและทหารยืนดูอยู่โดยไม่เข้าเกี่ยวข้อง”.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และโพกรม · ดูเพิ่มเติม »

โพราจมอส

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรมานี หรือ ฮอโลคอสต์ โรมานี—ยังเป็นที่รู้จักกันคือ โพราจมอส (Romani pronunciation), พราราจิมอส (Pharrajimos คือ "ตัดให้ขาด", "ตัดออกเป็นท่อน", "ทำลาย") และซามูดาริเพน (Samudaripen คือ "การสังหารหมู่") เป็นความพยายามโดยนาซีเยอรมนีและประเทศพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรมานีในแผ่นดินยุโรป ภายใต้อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ กฤษฎีกาเพิ่มเติมเพื่อกฎหมายเนือร์นแบร์กที่ได้ประกาศออกไป เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และโพราจมอส · ดูเพิ่มเติม »

โรลันด์ ไฟรซเลอร์

โรลันด์ ไฟรซเลอร์ โรลันด์ ไฟรซเลอร์ (Roland Freisler)(30 ตุลาคม 1893 – 3 กุมภาพันธ์ 1945) เป็นทนายความชั้นเลิศและเป็นผู้พิพากษานาซีของจักรวรรดิไรซ์ที่สาม เขาเป็นเลขานุการรัฐของกระทรวงยุติธรรมไรช์ และเป็นประธานของโฟล์คซดกริชท์ชอฟ ("ศาลประชาชน") และเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมการประชุมที่วานเซในปี 1942 ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อวางแผนการกำจัดชาวยิวในยุโรปของจักรวรรดิไรซ์ที่สาม โรลันด์ ไฟรซเลอร์นั้นเป็นที่รู้จักกันในฐานะผู้พิพากษาศาลเถื่อนของนาซีเยอรมันที่มีความดุดันแข็งกร้าวที่สุด มักพูดจาต่อว่าอย่างฉะฉานกับฝ่ายจำเลยที่เป็นนักโทษทางการเมืองและผู้ต่อต้านรัฐบาลนาซี เขาได้ตัดสินโทษประหารชีวิตนักโทษไปจำนวน 2,600 คน ในจำนวนนี้รวมถึงขบวนการกุหลาบสีขาว (กลุ่มนักศึกษาชาวเยอรมันที่ต่อต้านความเผด็จการของฮิตเลอร์และพรรคนาซี) และกลุ่มต่อต้านฝ่ายทหารและพลเรือนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนลับ 20 กรกฎาคม โรลันด์ ไฟรซเลอร์เสียชีวิตเนื่องจากกองทัพอากาศสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดในกรุงเบอร์ลิน เขาจึงถูกเศษซากอาคารถล่มทับในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1945 หมวดหมู่:นักกฎหมายชาวเยอรมัน หมวดหมู่:นาซี หมวดหมู่:เชลยศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และโรลันด์ ไฟรซเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โอดีโล โกลบ็อกนิก

อดีโล โกลบ็อกนิก(21 เมษายน ค.ศ. 1904-31 พฤษภาคม ค.ศ. 1945)เป็นอาชญากรสงครามชาวออสเตรีย เขาเป็นนาซีและต่อมาได้เป็นผู้นำเอ็สเอ็ส ด้วยฐานะที่เป็นผู้ร่วมงานกับอดอล์ฟ ไอชมันน์ เขาได้มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการไรน์ฮาร์ด ซึ่งได้แสดงเห็นจากการสังหารชาวโปแลนด์เชื้อสายยิวทั้งหมดหนึ่งล้านคนในช่วงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซีในค่ายมรณะนาซี ได้แก่ ค่ายไมดาเนก,ค่ายเทรบลิงคา ค่ายโซบีบอร์ และค่ายเบวเชตซ์ นักประวัติศาสตร์ มิชาเอล อัลเลนได้กล่าวว่า เขาเป็น"บุคคลที่ชั่วช้าที่สุดในองค์กรที่ชั่วร้ายเท่าที่รู้จักกันมา" ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง โกลบ็อกนิกถูกจับกุมโดยทหารอังกฤษ ต่อมาเขาได้ฆ่าตัวตายด้วยการกัดแคปซูลบรรจุไซยาไนด์ ร่างของเขาได้ถูกฝังในสุสานท้องถิ่นซึ่งถูกฝังด้านนอกกำแพงโบสถ์สุสานเพราะนักบวชปฏิเสธที่จะไม่ให้คนชั่วช้าอย่างเขามาอยู่ในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์และศพถูกฝังโดยไม่ผ่านพิธีการใ.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และโอดีโล โกลบ็อกนิก · ดูเพิ่มเติม »

ไรน์ฮาร์ด ฮายดริช

รน์ฮาร์ด ทรีสทัน ออยเกิน ฮายดริช (Reinhard Tristan Eugen Heydrich) เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของนาซีเยอรมันอย่างเป็นทางการในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและผู้ออกแบบหลักในการล้างชาติโดยนาซี.เขาเป็นเจ้าหน้าที่แห่งเอสเอส (ชุทซ์ชทัฟเฟิล) ระดับโอแบร์กรุพเพนฟือแรร์ (พลโท) และเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจสามัญ (หัวหน้ากลุ่มระดับอาวุโสและอธิบดีกรมตำรวจ) เช่นเดียวกันกับหัวหน้าของสำนักความมั่นคงหลักของรัฐไรซ์ (Reich Main Security Office) (รวมทั้งเกสตาโพ, ครีมิไนโพลีไซ (Kripo), ซีแชร์ไฮท์สดีนสท์ (SD) และซีแชร์ไฮท์สโพลีไซ(sipo)) นอกจากนั้นเขายังเป็น Stellvertretender Reichsprotektor (รองผู้รักษาการป้องกันแห่งไรซ์-ผู้พิทักษ์) ของโบฮีเมียและโมราเวียในดินแดนสาธารณรัฐเช็ก.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และไรน์ฮาร์ด ฮายดริช · ดูเพิ่มเติม »

ไอน์ซัทซกรุพเพน

การสังหารชาวยิวที่ Ivanhorod,ยูเครน,ปี 1942 ภาพที่เห็นนั้นคือผู้หญิงคนหนึ่งได้ทำการปกป้องเด็กด้วยร่างกาย ก่อนที่จะถูกขับไล่ยิงด้วยปืนไรเฟิลในระยะประชิด ไอน์ซัทซกรุพเพน ("กำลังรบเฉพาะกิจ" "deployment groups") เป็นหน่วยทีมสังหารของกองกำลังกึ่งทหารหน่วยเอสเอสของนาซีเยอรมนีที่มีส่วนรับผิดชอบต่อการสังหารหมู่,โดยส่วนใหญ่เป็นการยิงเป้า,ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (1939–45).ไอน์ซัทซกรุพเพนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่เหล่าปัญญาชน,รวมถึงสมาชิกของพระนักบว.และมีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการขั้นตอนสุดท้ายที่ถูกเรียกว่า การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย (Final solution to the Jewish question,Die Endlösung der Judenfrage) ในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยนาซีเยอรมนี,เกือบทั้งหมดทุกคนที่ถูกสังหารคือพลเรือน,เริ่มต้นจากกลุ่มปัญญาชนและเหล่านักบวช,ก่อนจะก้าวไปยังนักการเมืองโซเวียตคอมมิสซาร์,ชาวยิวและชาวยิปซีเช่นเดียวกันกับความเป็นจริงหรือถูกข้อกล่าวหาว่า ได้เข้าร่วมกับกลุ่มพลพรรค (partisans) ตลอดทั่วยุโรปตะวันออก ภายใต้การนำของไรซ์ฟือเรอร์-เอสเอสไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์และการกำกับดูแลของไรน์ฮาร์ด ฮายดริช ไอน์ซัทซกรุพเพนได้ปฏิบัติการในดินแดนที่ถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมันภายหลังจากการบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน ปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และไอน์ซัทซกรุพเพน · ดูเพิ่มเติม »

ไฮน์ริช มึลเลอร์ (เกสตาโพ)

น์ริช มึลเลอร์ (Heinrich Müller) เป็นตำรวจชาวเยอรมันในช่วงสาธารณรัฐไวมาร์และนาซีเยอรมนี เขาได้เป็นผู้บัญชาการของ เกสตาโพ หน่วยตำรวจลับของนาซีเยอรมนี และเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำฮอโลคอสต์ชาวยิว เขามีชื่อเรียกว่า "เกสตาโพมึลเลอร์" เมื่อไม่ให้สับสนกับนายพลในหน่วยเอ็สเอ็สอีกคนที่ชื่อ ไฮน์ริช มึลเลอร์ เหมือนกัน เขาถูกพบเห็นครั้งสุดท้ายในคืนวันที่ 1 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และไฮน์ริช มึลเลอร์ (เกสตาโพ) · ดูเพิ่มเติม »

ไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์

น์ริช ลุทโพลด์ ฮิมม์เลอร์ (Heinrich Luitpold Himmler) เป็นหนึ่งในผู้นำพรรคนาซีในเยอรมนี และเป็น ไรชส์ฟือเรอร์-เอ็สเอ็ส ของหน่วย ชุทซ์ชทัฟเฟิล (เอ็สเอ็ส) รับผิดชอบด้านการคุมกำลังหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สทั้งหมดในไรช์ เขาเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในไรช์ และเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการทำฮอโลคอสต์ชาวยิวSource: Der Spiegel, Issue dated 3 November 2008: Hitlers Vollstrecker – Aus dem Leben eines Massenmörders ฮิมม์เลอร์เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไซคลอน บี

ป้ายฉลากของไซคลอน บีจาก ค่ายกักกันดาเคา ถูกใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก. แผงแรกและที่สามได้มีข้อมูลเกี่ยวกับชื่อผู้ผลิตและชื่อแบรนด์ ส่วนแผนกลาง อ่านว่า "แก๊สพิษ" การเตรียมไซยาไนด์เพื่อเปิดและถูกใช้งานโดยบุคลากรที่ผ่านการฝึกอบรมเท่านั้น. ไซคลอน บี(Zyklon B)(anglicized หรือแปลว่า ไซโคลน บี)เป็นชื่อทางการค้าของยาฆ่าแมลงที่มีไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบ มีการคิดค้นขึ้นในประเทศเยอรมนีในช่วงต้นทศวรรษที่ 1920.มันประกอบด้วยกรดไฮโดรเจนไซยาไนด์(กรดพลัสสิค) รวมทั้งสารระคายเคืองดวงตาและสารดูดซับตัวอื่นๆ เช่น ดิน.ผลิตภัณฑ์นี้เป็นที่น่าอัปยศอดสูสำหรับการถูกใช้งานโดยนาซีเยอรมนีระหว่างการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซีเพื่อการสังหารผู้คนประมาณหนึ่งล้านคนในห้องรมก๊าซที่ถูกติดตั้งในค่ายเอาชวิทซ์-เบียร์เคเนา, ค่ายไมดาเนก,และค่ายมรณะอื่นๆ ไฮโดรเจนไซยาไนด์, เป็นก๊าษพิษที่จะเข้าไปรบกวนการหายใจระดับเซลล์,เป็นครั้งแรกที่ถูกนำมาใช้เป็นยาฆ่าแมลงในรัฐแคลิฟอร์เนียในยุค 1880.การวิจัยที่ Degesch ในเยอรมนีนำไปสู่การพัฒนาของไซคลอน(ต่อมาที่เป็นรู้จักคือไซคลอน เอ),สารกำจัดศัตรูพืชที่จะปลดปล่อยไฮโดรเจนไซยาไนด์ออกมาเมื่อสัมผัสกับน้ำและความร้อน.มันเป็นสิ่งต้องห้ามหลังจากผลิตภัณฑ์ที่มีคล้ายคลึงกันที่ถูกใช้โดยเยอรมันด้วยอาวุธเคมีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.ในปี 1922 Degesch ถูกซื้อโดย Degussa, ซึ่งทีมนักเคมีรวมทั้ง Walter Heerdt (de) และ Bruno Tesch ได้พัฒนาวิธีการบรรจุภัณฑ์ไฮโดรเจนไซยาไนด์ในภาชนะที่ปิดสนิทพร้อมกับสารระคายเคืองตาและสารดูดซับสารคงตัว.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และไซคลอน บี · ดูเพิ่มเติม »

เบบียาร์

ียาร์ (Бабин Яр, Babyn Yar; Бабий Яр, Babiy Yar) เป็นหุบเหวลึกในเคียฟ เมืองหลวงของประเทศยูเครนและเป็นสถานที่ในการสังหารหมู่โดยกองทัพเยอรมันและชนท้องถิ่นที่ให้ความร่วมมือในช่วงสงคราม เพื่อต่อกรกับสหภาพโซเวียต ด้วยชื่อเสียงที่โด่งดังมากที่สุดและได้รับการจดบันทึกไว้อย่างดีที่สุดของการสังหารหมู่ครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29-30 กันยายน..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และเบบียาร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกตโตในทวีปยุโรปภายใต้การยึดครองของนาซี

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เกตโตในทวีปยุโรปภายใต้การยึดครองของนาซี ถูกจัดตั้งขึ้นโดยนาซีเยอรมนีเพื่อกักขังชาวยิว และบางครั้งอาจรวมชาวยิปซี เข้าไปในพื้นที่แออัดแน่นของนคร รวมแล้ว ตามบันทึกของพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์การล้างชาติโดยนาซีสหรัฐอเมริกา "พวกเยอรมันจัดตั้งเกตโตอย่างน้อย 1,000 แห่งเฉพาะในโปแลนด์และสหภาพโซเวียตส่วนที่เยอรมนียึดครองและผนวกไว้" ดังนั้น ตัวอย่างจึงตั้งใจเพียงเพื่อแสดงให้เห็นขอบเขตและสภาพความเป็นอยู่ของเกตโตทั่วยุโรปตะวันออก แม้คำว่า "เกตโต" จะใช้โดยทั่วไปในงานประพันธ์เกี่ยวกับการล้างชาติโดยนาซี แต่พวกนาซีมักเรียกสถานกักกันเหล่านี้บ่อยครั้งว่า "ย่านชาวยิว" (Jewish Quarter) ไม่นานหลังการรุกรานโปแลนด์ใน..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และเกตโตในทวีปยุโรปภายใต้การยึดครองของนาซี · ดูเพิ่มเติม »

เมอรีล สตรีป

แมรี หลุยส์ "เมอรีล" สตรีป (เกิด 22 มิถุนายน, ค.ศ. 1949) เป็นนักแสดงชาวอเมริกันผู้ประสบความสำเร็จอย่างงดงามบนเวทีออสการ์ เมอรีลมีผลงานทั้งในละครเวที โทรทัศน์ และภาพยนตร์ เธอมีชื่อเสียงจากเรื่อง The Playboy of Seville ในปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และเมอรีล สตรีป · ดูเพิ่มเติม »

เวร์มัคท์

วร์มัคท์ (Wehrmacht ความหมาย:"กำลังป้องกัน") เป็นกองทัพของนาซีเยอรมนีระหว่าง..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และเวร์มัคท์ · ดูเพิ่มเติม »

เอียน อันโตเนสคู

อียน วิคเตอร์ อันโตเนสคู (Ion Victor Antonescu) หรือมีสมญาว่า หมาแดง (Câinele Roșu) เป็นนายทหาร, นักการเมือง และ ผู้นำเผด็จการชาวโรมาเนียและ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีและผู้นำแห่งรัฐ (Conducător) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้ปกครองแบบระบอบเผด็จการเป็นเวลาสองสมัยในสมัยระหว่างสงคราม ภายหลังสงคราม เขาได้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานก่ออาชญากรรมสงครามและลงโทษด้วยการประหารชีวิต เจ้าหน้าที่ทหารแห่งกองทัพโรมาเนียได้ทำการบันทึกชื่อของเขาในช่วงการก่อกบฏชาวนาโรมาเนียในปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และเอียน อันโตเนสคู · ดูเพิ่มเติม »

เอซา บัตเตอร์ฟีลด์

อซา แมกซ์เวลล์ ทอร์นตัน ฟาร์ บัตเตอร์ฟีลด์ (Asa Maxwell Thornton Farr Butterfield) เป็นนักแสดงชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักครั้งแรกในบทบาทบรูโนจากภาพยนตร์เกี่ยวกับฮอโลคอสต์เรื่อง The Boy in the Striped Pyjamas ปี..

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และเอซา บัตเตอร์ฟีลด์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอ

อ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอ (SS-Totenkopfverbände) หรือSS-TV (SS-TV) หรือเรียกว่า หน่วยหัวกะโหลก เป็นองค์กรย่อยของหน่วยชุทซ์ชทัฟเฟิลหรือเอ็สเอ็สที่รับผิดชอบในการบริหารค่ายกักกันนาซีสำหรับจักวรรดิไรซ์ที่สาม, ระหว่างหน้าที่คล้ายกัน.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และเอ็สเอ็ส-โทเทินคอฟเฟอร์แบนเดอ · ดูเพิ่มเติม »

16 พฤษภาคม

วันที่ 16 พฤษภาคม เป็นวันที่ 136 ของปี (วันที่ 137 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 229 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และ16 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

20 พฤศจิกายน

วันที่ 20 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 324 ของปี (วันที่ 325 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 41 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และ20 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

20 มกราคม

วันที่ 20 มกราคม เป็นวันที่ 20 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 345 วันในปีนั้น (346 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และ20 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

4 สิงหาคม

วันที่ 4 สิงหาคม เป็นวันที่ 216 ของปี (วันที่ 217 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 149 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และ4 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

5 สิงหาคม

วันที่ 5 สิงหาคม เป็นวันที่ 217 ของปี (วันที่ 218 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 148 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และ5 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

6 กรกฎาคม

วันที่ 6 กรกฎาคม เป็นวันที่ 187 ของปี (วันที่ 188 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 178 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และ6 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

9 พฤศจิกายน

วันที่ 9 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 313 ของปี (วันที่ 314 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 52 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฮอโลคอสต์และ9 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HolocaustHolocaust denialการล้างชาติพันธุ์โดยนาซีการล้างชาติโดยนาซีการล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »