โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับย่อยเม่น

ดัชนี อันดับย่อยเม่น

ม่น เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hystricomorpha โดยคำว่า Hystricomorpha นั้นมาจากภาษาละตินคำว่า hystrix หมายถึง "เม่น" และภาษากรีกคำว่า morphē หมายถึง "ลักษณะ" โดยสัตว์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของอันดับย่อยนี้ คือ เม่น ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางค่อนข้างไปทางใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ ขนบนตัวที่เป็นหนามแหลม ใช้สำหรับป้องกันตัว กระจายพันธุ์ไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วทั้งโลก คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา, อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 2 วงศ์ เม่น เป็นสัตว์ที่มีความเชื่อว่าสามารถสะบัดขนเข้าใส่ศัตรูได้แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเม่นพบศัตรูจะรีบหันหลังให้แล้ววิ่งหนีไปพร้อมทั้งสั่นขนให้เกิดเสียงดังกราว ๆ เป็นการเตือน ไม่ให้ศัตรูเข้าใกล้ แต่ถ้าศัตรูยังวิ่งไล่อยู่เม่นจะรีบหยุดทันที พร้อมทั้งพองขนให้ตั้งชัน และวิ่งถอยหลังเข้าหา ศัตรูที่วิ่งตามไม่สามารถจะหยุดได้ทันจึงถูกขนเม่นทิ่มตำ ขนเม่นจะหลุดจากตัวเม่นได้ง่ายมาก มักจะติดไปกับสัตว์ที่เข้ามาทำอันตรายเสมอและอาจทำให้ศัตรูตายได้ ในอดีต พรานป่าที่เข้าไปล่าสัตว์มักจะนำสุนัขไปด้วยเพื่อช่วยดมกลิ่นและค้นหาสัตว์ป่าถ้าพบเห็นเม่นมันจะวิ่งไล่ทันที เมื่อเม่นหยุดวิ่ง สุนัขจะวิ่งชนเม่นทันทีจึงมักได้รับบาดเจ็บและมีขนเม่นติดตามตัว เมื่อเจ้าของสุนัขพบเข้าจึงคิดว่าเม่นสะบัดขนเข้าใส่ ทำให้เกิดความเชื่อผิด ๆ ตามกันมา สำหรับในประเทศไทย พบเม่นได้ 2 ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus) ซึ่งทั้งหมดจัดอยู่ใน วงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae).

35 ความสัมพันธ์: ชั้นสแคโฟโปดาบางจะเกร็ง (รายการโทรทัศน์)การเดินป่าในเพชรพระอุมารายชื่อตัวละครใน ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์รายการสัตว์วงศ์เม่นโลกใหม่วงศ์เม่นโลกเก่าวนิดา นิรมรสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษสวนสัตว์นครราชสีมาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหนูหินอันดับย่อยเม่นอันดับสัตว์ฟันแทะอันดับเฮดจ์ฮอกอำเภอสูงเม่นอิมพอสซิเบิล ครีเชอร์อิคิดนาอุทยานแห่งชาติขุนน่านอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงอุทยานแห่งชาติเขาค้อทะเลทรายขาวดาวมงกุฎหนามฉฺยงจีนากหญ้าน้ำตกทรายขาวแบดเจอร์เม่นหางพวงเม่นต้นไม้เม่นใหญ่เอมี่ โรสเฮดจ์ฮอกเทศบาลเมืองศรีสะเกษPower Animals

ชั้นสแคโฟโปดา

ั้นสแคโฟโปดา (ชั้น: Scaphopoda) เป็นหนึ่งในชั้นของไฟลัมมอลลัสคาที่ยังสืบเผ่าพันธุ์มาจนปัจจุบัน ซึ่งสัตว์ในชั้นนี้พบมีอยู่มายาวนานกว่า 240 ล้านปีมาแล้ว โดยพบหลักฐานในซากดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันพบแล้วประมาณ 1,000 ชนิด ซึ่งเรียกกันในชื่อสามัญว่า หอยงาช้าง หรือ หอยฟันช้าง(Tusk Shell) ทุกชนิดจะอาศัยอยู่ภายใต้พื้นทรายใต้ทะเล มีรูปร่างโดยรวม คือ เปลือกมีรูปร่างคล้ายฝักดาบซามูไรหรืองาของช้าง มีลักษณะเรียวยาว โค้งตรงกลางเล็กน้อย หน้าตัดเป็นทรงค่อนข้างกลม มีช่องเปิดที่ปลายสุดของทั้งสองด้านซึ่งด้านหนึ่งจะใหญ่กว่าอีกด้านเสมอ มีขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรจนถึง 15 เซนติเมตร ศัพท์คำว่า Scaphopoda นั้น สามารถแปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า "เท้าเป็นจอบ" (shovel-footed) มีลักษณะโครงสร้างคือ ไม่มีตา ไม่มีเส้นเลือด ไม่มีแม้กระทั่งอวัยวะสำคัญอย่าง หัวใจ โดยเลือดจะถูกสูบโดยแรงดันน้ำภายในเนื้อเยื่อจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเท้าที่มีรูปร่างคล้ายจอบ ที่ใช้ขุดเจาะเพื่อแทรกเปลืองลงวางตัวดิ่งในพื้นทราย มีอวัยวะพิเศษคล้ายหนวดเล็ก ๆ รอบ ๆ ปากด้านล่างเรียกว่า "captacula" ทำหน้าที่ดักจับอาหารเข้าสู่ปากเพื่อบดเคี้ยวและย่อยสลาย แล้วพ่นทิ้งออกอีกทางเป็นของเสีย เปลือกของหอยงาช้าง นั้น ผู้หญิงในอินเดียนแดงเผ่าลาโคตาใช้ทำเครื่องประดับสำหรับตกแต่งเสื้อผ้าหรือชุดที่สวมใส่เช่นเดียวกับขนของเม่น.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและชั้นสแคโฟโปดา · ดูเพิ่มเติม »

บางจะเกร็ง (รายการโทรทัศน์)

งจะเกร็ง เป็นรายการโทรทัศน์แนวตลกผลิตโดย บริษัท ลักษ์ 666 จำกัด และ บริษัท อควา เทเลวิชั่น จำกัด โดยออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 22.25 น. ถึง 23.20 น. ทางสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552 และสิ้นสุดออกอากาศเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและบางจะเกร็ง (รายการโทรทัศน์) · ดูเพิ่มเติม »

การเดินป่าในเพชรพระอุมา

การเดินป่าในเพชรพระอุมา พนมเทียนได้สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถ ทักษะและความรู้ในการเดินป่าของพรานป่าและพรานพื้นเมืองในเพชรพระอุมา ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการดำรงชีพภายในป่าของผู้ที่ประกอบอาชีพเป็นพรานนำทางหรือพรานล่าสัตว์ รวมทั้งนักเดินป่าหรือนักท่องเที่ยวที่นิยมการเดินป่าและผจญภัยในปัจจุบัน การเดินทางเข้าป่าในแต่ละครั้งใช้ระยะเวลายาวนาน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ถึงทักษะในการล่าสัตว์ เพื่อใช้เป็นอาหารสำหรับการดำรงชีพในป่า การสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวรวมถึงทิศทางในการกำหนดจุดพักแรม ในเพชรพระอุมา พนมเทียนกำหนดให้รพินทร์ ไพรวัลย์ แงซาย พรานบุญคำ พรานจัน พรานเกิดและพรานเส่ย มีทักษะและประสบการณ์ในการเป็นพรานนำทางและพรานล่าสัตว์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะของความสำคัญในการดำรงชีพในป่า ได้แก.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและการเดินป่าในเพชรพระอุมา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตัวละครใน ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์

ต่อไปนี้คือ รายชื่อตัวละครในฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ ผลงานการ์ตูนของ โยชิฮิโร โทะก.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและรายชื่อตัวละครใน ฮันเตอร์ x ฮันเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการสัตว์

รายชื่อสัตว์ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์ทุกไฟลัมและสปีชีส์ไว้ เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์ ได้แก่ สัตว์บก • สัตว์น้ำ • สัตว์ปีก • สัตว์เลื้อยคลาน • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เรียงตามลำดับตัวอักษร สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์ที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หมวดหมู่:สัตว์.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและรายการสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เม่นโลกใหม่

ม่นโลกใหม่ (New world porcupine, วงศ์: Erethizontidae) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จำพวกเม่น ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erethizontidae เม่นโลกใหม่มีสายการวิวัฒนาการเป็นของตัวเอง จึงมีลักษณะโดยทั่วไปแตกต่างจากเม่นในวงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae) คือ เม่นโลกใหม่จะมีความยาวลำตัวที่สั้นกว่า คือ มีความยาวประมาณ 1 ฟุต มีส่วนหางยาวกว่า หนามแหลมตามลำตัวซึ่งเป็นเส้นขน มีความสั้นกว่า และซ่อนอยู่ใต้เส้นขนอ่อนตลอดทั้งลำตัว สามารถใช้หางนี้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้ มีพฤติกรรมการหากินบนต้นไม้เป็นหลัก โดยกินอาหารหลักได้แก่ ใบไม้และยอดไม้อ่อน ๆ หรือเปลือกไม้เป็นอาหาร นอกจากนี้แล้วยังกินแมลงได้อีกด้วย ลูกวัยอ่อนสามารถปีนต้นไม้ได้ตั้งแต่เกิดมาได้เพียง 2 วัน และอายุได้ราว 10 วัน ก็สามารถหาใบไม้กินเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแม่ มีฟันที่เขียนเป็นสูตรได้ว่า พบกระจายพันธุ์ในป่าฝนของซีกโลกใหม่ คือ ทวีปอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและวงศ์เม่นโลกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เม่นโลกเก่า

ม่นโลกเก่า (Old world porcupine) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) จำพวกเม่นวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hystricidae มีลักษณะทั่วไปตัวยาวเต็มที่ประมาณ 2 ฟุต หรือ 2 ฟุตครึ่ง ขาสั้น มีลักษณะเด่น คือ มีขนที่บริเวณหลังและช่วงท้ายลำตัวแข็งยาวเป็นหนามมีลายสลับสีขาวดำ บางอันอาจยาวได้ถึง 1 ฟุต ปลายแหลมเหมือนปลายหอกหรือลูกศร ซึ่งเอาไว้ป้องกันตัวจากศัตรูที่รุกราน ซึ่งทำให้แผลอักเสบติดเชื้อได้ เม่น เป็นสัตว์ที่หากินและอยู่อาศัยเพียงลำพังตัวเดียวหรือไม่ก็อยู่เป็นคู่ หากินในเวลากลางคืน กลางวันจะนอนหลับพักผ่อนในโพรงดินที่ขุดขึ้นมาเอง หากินรากพืชหรือผลไม้ เป็นอาหารหลัก ถ้าถูกคุกคาม เม่นจะวิ่งหนี ถ้าหากจวนตัวเมื่อไหร่จะหยุดและพองขน พร้อมกับสั่นขนให้เกิดเสียงสั่นซ่า พร้อมกับกระทืบเท้าลงพื้นดินเป็นการขู่ หากยังไม่หยุดคุกคาม เม่นจะหยุดกะทันหันหรือบางครั้งอาจจะถอยหลังวิ่งเข้าหา ซึ่งขนแหลมเหล่านี้จะปักลงไปในเนื้อของผู้รุกราน ทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก ซึ่งแม้แต่สัตว์ใหญ่อย่าง สิงโต หากโดนขนหนามเหล่านี้แทงเข้าถูกอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ หรือปอด ทำให้ถึงแก่ความตายได้ เม่น เป็นสัตว์ที่มีกรงเล็บแหลมคมและฟันแทะที่แข็งแรงมาก ซึ่งเขียนเป็นสูตรได้ว่า ใช้สำหรับขุดโพรงดินเพื่อเป็นรังที่อยู่อาศัยและเลี้ยงดูลูกอ่อน ซึ่งในโพรง ๆ หนึ่งอาจอยู่รวมกันหลายตัว ฟันของเม่นนอกจากจะใช้กัดแทะพืชแล้ว ยังใช้แทะเขาสัตว์, โครงกระดูกสัตว์อื่นที่ตายแล้ว หรืองาช้าง เพื่อเสริมแคลเซี่ยมให้แก่ร่างกายได้ด้วย ที่แอฟริกาตะวันตกเคยมีผู้จับเม่นไปขังไว้ในหีบไม้ ปรากฏว่าพอรุ่งเช้า เม่นสามารถแทะหีบไม้นั้นทะลุเป็นรูโหว่หนีไปได้ ขนของเม่นสามารถที่จะผลัดใหม่ได้ เมื่อขนเก่าหลวม จะสลัดขนทิ้งโดยการสั่นตัว ซึ่งอาจจะพุ่งไกลไปข้างหลังได้หลายฟุต ซึ่งจากพฤติกรรมตรงนี้เองที่ทำให้เกิดความเชื่อว่า เม่นสามารถสะบัดขนใส่ศัตรู ซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ ขนของเม่นนั้นเมื่อปักติดกับเนื้อของผู้ที่ถูกแทงเข้าแล้ว จะเจ็บปวดมากและดึงออกยาก เนื่องจากในเส้นขนนั้นจะมีเงี่ยงเล็ก ๆ แหลมคมจำนวนมากเหมือนตะขออยู่ด้านข้าง เมื่อปักลงเนื้อแล้วจึงถอนออกได้ยาก เพราะจะสวนทางกับเงี่ยงแหลมที่เกี่ยวติดกับเนื้อ เม่นออกลูกเป็นตัว คราวละ 2-3 ตัว เมื่อเกิดมาแล้วลูกเม่นจะสามารถลืมตาและเกือบจะเดินได้เลย แต่ขนตามลำตัวยังไม่แข็งเหมือนตัวเต็มวัย จนรอให้ถึงอายุประมาณ 90 วันเสียก่อน เม่นโลกเก่า กระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า โลกเก่า คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป ในประเทศไทย พบ 2 ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus) ซึ่งแต่เดิมเคยจัดให้ เม่นใหญ่แผงคอสั้น (Hystrix hodgsoni) มีอยู่ด้วย แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นชนิดย่อยของเม่นใหญ่แผงคอยาวไป.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและวงศ์เม่นโลกเก่า · ดูเพิ่มเติม »

วนิดา นิรมร

วนิดา นิรมร เป็นนักวาดการ์ตูนแนวสารคดี และสร้างเสริมทักษะสำหรับเยาวชนที่มีผลงานตีพิมพ์แล้วมากมาย เช่น DreamPatcher การ์ตูนแนวผจญภัยสอดแทรกความรู้เรื่องต่าง ๆ รอบตัวทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ PomPom The Unlucky Hedgehog การ์ตูนเพื่อความปลอดภัยสำหรับเยาวชนที่นำเสนอทักษะการดูแลตนเองผ่านตัวการ์ตูนเม่นน้อยจอมซุ่มซ่าม และการ์ตูนชุด กบนอกกะลา หนังสือการ์ตูนที่สร้างจากกลุ่มพิธีกรกบฯ และเนื้อหาสารคดีรายการกบนอกกะลาอีกหลายเล่ม ปัจจุบัน วนิดา เป็นกรรมการผู้จัดการ และ Creative director ให้กับบริษัท Polygon Wizard Co.,Ltd หมวดหมู่:นักวาดการ์ตูนไทย.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและวนิดา นิรมร · ดูเพิ่มเติม »

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ

วนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ เป็นสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 80 พรรษาแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองครก อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ติดกับบริเวณวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ มีเนื้อที่ 237 ไร่ ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทร์บรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นประธานเปิดสวนแห่งนี้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2524 หน่วยงานรับผิดชอบในการดูแลรักษา คือ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ ต้นไม้ประจำสวน คือ ลำดวน (Melodorum fruticosum Lour.).

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์นครราชสีมา

thumb thumb thumb thumb รถกอล์ฟส่วนตัวที่ใช้ขับรถดูสัตว์ในสวนสัตว์นครราชสีมา สวนสัตว์นครราชสีมา หรือ สวนสัตว์โคราช สังกัดองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เป็นสวนสัตว์ที่จัดตั้งขึ้นในองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปัจจุบันสวนสัตว์นครราชสีมาอยู่ในการดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายในสวนสัตว์โคราช มีสัตว์ป่าที่หาชมยากมากนัก เช่น เสือ, ยีราฟ, สิงโต, ช้าง, ม้าลาย, แรด, เม่น, นกนานาชนิด เช่น นกตะกรุม, นกกระจอกเทศ, นกฟลามิงโก และทางสวนสัตว์ไดเปิด "สวนน้ำนครราชสีมา" สวนสัตว์อีสานนี้มีพื้นที่ 545 ไร่ ตั้งอยู่เลขที่ 111 หมู่ ตำบลไชยมงคล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีม.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและสวนสัตว์นครราชสีมา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

หนูหิน

หนูหิน (Laotian rock rat; ลาว: ຂະຍຸ; ข่าหนู, ขะหยุ) เป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง ที่เพิ่งได้รับการอนุกรมวิธานและค้นพบเจอเมื่อปี ค.ศ. 2005 หนูหิน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Laonastes aenigmamus (เป็นภาษาละติน คำแรกมีความหมายว่า "ผู้อาศัยอยู่ในหิน" และคำหลังหมายถึง "หนูประหลาด") มีความยาวตลอดทั้งตัวประมาณ 40 เซนติเมตร มีรูปร่างคล้ายหนู มีขนปกคลุมลำตัวสีเทาเข้ม แต่มีหางเป็นพวงเหมือนกระรอก และเท้าเป็นพังผืดคล้ายอุ้งเท้าของเป็ด ส่วนเท้าหลังแผ่ออกกว้างเป็นรูปตัววี ทำมุมกับลำตัว ทำให้เดินอุ้ยอ้ายเชื่องช้าและไม่สามารถป่ายปีนได้ มีหนวดยาวและนัยน์ตากลมมน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ ปัจจุบันพบในเขตภูเขาหินปูนแขวงคำม่วน ประเทศลาวเพียงแห่งเดียวเท่านั้น และถือเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Laonastes หนูหิน จัดได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นในวงศ์เดียวกันนั้นได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วตั้งแต่เมื่อ 11 ล้านปีก่อน โดยมีหลักฐานเป็นซากดึกดำบรรพ์พบในมณฑลซานตง ทางตอนใต้ของประเทศจีน หนูหินนั้นเป็นสัตว์ที่ชาวพื้นเมืองรับประทานเป็นอาหารโดยปกติอยู่แล้ว แต่ว่าเพิ่งจะมาเป็นรู้จักของชาวโลกในกลางปี..

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและหนูหิน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยเม่น

ม่น เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hystricomorpha โดยคำว่า Hystricomorpha นั้นมาจากภาษาละตินคำว่า hystrix หมายถึง "เม่น" และภาษากรีกคำว่า morphē หมายถึง "ลักษณะ" โดยสัตว์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีของอันดับย่อยนี้ คือ เม่น ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางค่อนข้างไปทางใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ ขนบนตัวที่เป็นหนามแหลม ใช้สำหรับป้องกันตัว กระจายพันธุ์ไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วทั้งโลก คือ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา, อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 2 วงศ์ เม่น เป็นสัตว์ที่มีความเชื่อว่าสามารถสะบัดขนเข้าใส่ศัตรูได้แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เมื่อเม่นพบศัตรูจะรีบหันหลังให้แล้ววิ่งหนีไปพร้อมทั้งสั่นขนให้เกิดเสียงดังกราว ๆ เป็นการเตือน ไม่ให้ศัตรูเข้าใกล้ แต่ถ้าศัตรูยังวิ่งไล่อยู่เม่นจะรีบหยุดทันที พร้อมทั้งพองขนให้ตั้งชัน และวิ่งถอยหลังเข้าหา ศัตรูที่วิ่งตามไม่สามารถจะหยุดได้ทันจึงถูกขนเม่นทิ่มตำ ขนเม่นจะหลุดจากตัวเม่นได้ง่ายมาก มักจะติดไปกับสัตว์ที่เข้ามาทำอันตรายเสมอและอาจทำให้ศัตรูตายได้ ในอดีต พรานป่าที่เข้าไปล่าสัตว์มักจะนำสุนัขไปด้วยเพื่อช่วยดมกลิ่นและค้นหาสัตว์ป่าถ้าพบเห็นเม่นมันจะวิ่งไล่ทันที เมื่อเม่นหยุดวิ่ง สุนัขจะวิ่งชนเม่นทันทีจึงมักได้รับบาดเจ็บและมีขนเม่นติดตามตัว เมื่อเจ้าของสุนัขพบเข้าจึงคิดว่าเม่นสะบัดขนเข้าใส่ ทำให้เกิดความเชื่อผิด ๆ ตามกันมา สำหรับในประเทศไทย พบเม่นได้ 2 ชนิด คือ เม่นใหญ่แผงคอยาว (Hystrix brachyura) และเม่นหางพวง (Atherurus macrourus) ซึ่งทั้งหมดจัดอยู่ใน วงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae).

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและอันดับย่อยเม่น · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์ฟันแทะ

อันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodent, ชื่อวิทยาศาสตร์: Rodentia) เป็นอันดับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับหนึ่ง ที่มีความหลากหลายมาก ใช้ชื่ออันดับว่า Rodentia ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในอันดับนี้ คือ มีฟันหน้าในขากรรไกรบน 2 ซี่ และขากรรไกรล่าง 2 ซี่ ลักษณะของฟันหน้ามีรูปร่างคล้ายสิ่ว มีความแข็งแรงมาก ใช้สำหรับกัด ขุด และแทะอาหาร ไม่มีฟันเขี้ยว ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันหน้าและฟันหน้ากราม ผิวเคลือบทางด้านนอกของฟันหน้าเป็นอีนาเมล จึงทำให้ฟันแข็งแรง นอกจากนี้ฟันหน้าของสัตว์ในอันดับนี้ยังเป็นรูทเลสส์ โดยที่ฟันจะไม่หยุดการเจริญเติบโต เฉลี่ย 12 เซนติเมตรครึ่งต่อปี เนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงฟันตลอดเวลา จึงต้องแทะฟันเสมอ ๆเพื่อให้ฟันสึกกร่อน มิฉะนั้นฟันจะทะลุออกมานอกปาก ทำให้การหุบปากและการกินอาหารลำบากทำให้อดตายได้ รูปร่างลักษณะภายนอกของสัตว์ในอันดับนี้แตกต่างกัน รวมทั้งแหล่งอาศัย บางจำพวกก็อาศัยอยู่บนต้นไม้ ขุดรูอยู่ใต้ดินหรือบนดิน เช่นเดียวกับชนิดของอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นผลไม้เปลือกแข็ง, เมล็ดไม้, รากไม้ หรือกินทุกสิ่งทุกอย่างทั้งพืชและเนื้อสัตว์ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ หนู, กระรอก, เม่น, บีเวอร์ เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ไปในทุกพื้นที่ทั่วโลก ในภูมิประเทศที่หลากหลาย ขณะที่กระต่าย, กระแตและตุ่นหรือหนูผี หรือชูการ์ไกลเดอร์ แม้จะมีรูปลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก สัตว์ในอันดับนี้ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ หนูจิ๋วแอฟริกัน (Mus minutoides) พบในทวีปแอฟริกา ที่มีขนาดใหญ่เต็มที่จากส่วนหัวจรดปลายหาง 30-80 มิลลิเมตร (1.2-3.1 นิ้ว) ความยาวหาง 20-40 มิลลิเมตร (0.79-1.6 นิ้ว) น้ำหนักประมาณ 3-12 กรัม (0.11-0.42 ออนซ์) และที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ คาปิบารา (Hydrochoerus hydrochaeris) พบในอเมริกาใต้ ที่มีน้ำหนักได้มากถึง 65 กิโลกรัม และมีรายงานว่าพบมากถึง 91 กิโลกรัม.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและอันดับสัตว์ฟันแทะ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเฮดจ์ฮอก

อันดับเฮดจ์ฮอก (Hedgehog, Gymnure, อันดับ: Erinaceomorpha) เป็นอันดับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erinaceomorpha เป็นอันดับที่แยกตัวออกมาจากอันดับสัตว์กินแมลง (Insectivora) ลักษณะโดยรวมของสัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้ เป็นสัตว์ขนาดเล็ก กินแมลงเป็นอาหาร มีทั้งออกหากินในเวลากลางวัน และออกหากินในเวลากลางคืน อาศัยอยู่บนพื้นและบนต้นไม้ ยืนด้วยฝ่าเท้า มีสมองส่วนรับกลิ่นเจริญดี แต่สายตาไม่ดี นอกจากกินแมลงแล้วยังอาจจะยังกินสัตว์ขนาดเล็กกว่าหรือพืชและผลไม้เป็นอาหาร จำแนกออกได้เพียงวงศ์เดียว คือ Erinaceidae 10 สกุล (ดูในตาราง) 24 ชนิด โดยที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เฮดจ์ฮอก (Erinaceinae) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กมีขนที่เป็นหนามแข็งขนาดเล็กคล้ายเม่นซึ่งอยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคยุโรป สำหรับในประเทศไทยพบ 2 เท่านั้น คือ หนูเหม็น (Echinosorex gymnurus) หรือสาโท ที่มีลักษณะคล้ายหนูแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีกลิ่นตัวเหม็นอย่างรุนแรงคล้ายกับกลิ่นของแอมโมเนีย และหนูผีหางหมู (Hylomys suillus).

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและอันดับเฮดจ์ฮอก · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอสูงเม่น

อำเภอสูงเม่น (60px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและอำเภอสูงเม่น · ดูเพิ่มเติม »

อิมพอสซิเบิล ครีเชอร์

อิมพอสซิเบิล ครีเชอร์ เป็นเกมพัฒนาโดย Relic Entertainment ร่วมกับ Microsoft Game Studios เป็นเกมส์ที่ผู้เล่นสามารถสร้างครึ่งตัวของสัตว์แต่ละตัวอื่นๆ และสามารถบุกทำลายฐานศัตรูได้.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและอิมพอสซิเบิล ครีเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อิคิดนา

อีคิดนา (Echidna) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ ตัวกินมดหนาม (Spiky Anteater) เป็นสัตว์ประจำท้องถิ่นของออสเตรเลีย พบในนิวกินีและออสเตรเลีย นอกจากตุ่นปากเป็ดแล้วมีเพียงอีคิดนาเท่านั้น ที่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับโมโนทรีมาตา (Monotremata) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ จึงเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงสองชนิดเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและอิคิดนา · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน

อุทยานแห่งชาติขุนน่าน ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 111 ซึ่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 โดยตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน อุทยานแห่งชาติขุนน่าน หมายถึง "ขุนเขา ลำน้ำ อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน" อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยภูคาและป่าผาแดง บริเวณท้องที่ตำบลดงพญา ตำบลบ่อเกลือใต้ และตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและอุทยานแห่งชาติขุนน่าน · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว

อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขล.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง

อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอฉวาง อำเภอนาบอน และอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ ประกอบด้วยทิวทัศน์และน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกโยง น้ำตกหนานปลิว เหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ศึกษาหาความรู้ ทั้งเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญ อุทยานแห่งชาติน้ำตกโยงมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 202.68 ตารางกิโลเมตร หรือ 126,675 ไร.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและอุทยานแห่งชาติน้ำตกโยง · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานแห่งชาติเขาค้อ

อุทยานแห่งชาติเขาค้อ เป็นอุทยานแห่งชาติในท้องที่อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและอุทยานแห่งชาติเขาค้อ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลทรายขาว

right right ทะเลทรายสีขาว (White Sands National Monument) หรือ "ไวท์แซนด์" ตั้งอยู่ในรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ครอบคลุมอาณาเขตพื้นที่กว่า 700 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาซาคราเมนโตทางตะวันออก และเทือกเขาซาน อันเดรียส อยู่ระหว่างเทือกเขาทั้งสองทำให้ทะเลทรายสีขาวจึงอยู่ในแอ่งที่ชื่อว่าทูลาโรซา เป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและทะเลทรายขาว · ดูเพิ่มเติม »

ดาวมงกุฎหนาม

วมงกุฎหนาม หรือ ปลาดาวหนาม (Crown-of-thorns starfish) เป็นดาวทะเลชนิดหนึ่ง เป็นดาวทะเลขนาดใหญ่ มีแขนรวมกันทั้งหมด 16-21 แฉก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25-30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตอินโด-แปซิฟิก ตามผิวหนังมีหนามยาวคล้ายเม่น ปากอยู่ทางด้านล่าง มีกระเพาะอยู่ด้านนอก ใต้แขนมีขาขนาดเล็ก ๆ คล้าย ๆ กับปุ่มที่หนวดปลาหมึกเป็นจำนวนมากยื่นออกมายึดเกาะพื้น ตรงกลางตัวด้านล่างมีปาก มีหนามแหลมคมปกคลุมที่ตัวทางด้านบน บนหนามมีสารซาโปนินเคลือบอยู่ ซึ่งมีพิษต่อสัตว์หลายชนิด เป็นสัตว์ที่แยกเพศ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยตัวเมียปล่อยไข่ออกมานอกตัว และตัวผู้ปล่อยสเปอร์มออกมาผสมพันธุ์ ตัวเมียแต่ละตัวมีไข่ประมาณ 12-24 ล้านฟอง ฤดูกาลวางไข่ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีรายงานว่าดาวมงกุฎหนามที่เกรตแบร์ริเออร์รีฟ วางไข่ในเดือนธันวาคม และมกราคม ดาวมงกุฎหนามเป็นสัตว์ที่กินปะการังเป็นอาหาร ในทางนิเวศวิทยาถือเป็นสัตว์ที่ควบคุมประชากรปะการังไม่ให้มากจนเกินไป แต่ในหลายพื้นที่ก็มีการแพร่ระบาดจนเกิดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ที่เกาะกวม แนวปะการังถูกดาวมงกุฎหนามทำลายไปเป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร ต่อเดือน บริเวณที่ถูกทำลายไปแล้วปะการังอาจฟื้นตัว ก่อตัวขึ้นใหม่ ซึ่งอาจใช้เวลานานถึง 10-40 ปี หรือนานกว่านี้ หรือในประเทศญี่ปุ่น ได้ลงทุนกำจัดดาวมงกุฎหนามโดยใช้ทุนไป 600 ล้านเยน กำจัดดาวมงกุฏหนามไป 13 ล้านตัวที่เกาะริวกิว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970-ค.ศ. 1983 แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และจากการศึกษาในระยะหลัง มีการสรุปว่าปริมาณดาวมงกุฎหนามในพื้นที่ 1 เฮกตาร์ (10,000 ตารางเมตร) หากมีจำนวนเกิน 10 ตัว ก็ถือว่าอยู่ในระดับระบาดแล้ว ถ้าเกิน 30 ตัว ถือว่าระบาดรุนแรงมาก เมื่อดาวมงกุฎหนามระบาด ความเสียหายที่เกิดขึ้นในแนวปะการังจะแผ่เป็นบริเวณกว้างกว่าที่จะเกิดจากสาเหตุการทำลายโดยปัจจัยอื่น ๆ เพราะดาวมงกุฎหนามสามารถคืบคลานกินปะการังได้ทุกซอกทุกมุม แต่ดาวมงกุฎหนามเองก็มีศัตรูตามธรรมชาติ คือ หอยสังข์แตร (Charonia tritonis) ที่กินดาวมงกุฎหนามเป็นอาหาร ถือเป็นสัตว์ที่เป็นตัวควบคุมมิให้ปริมาณดาวมงกุฏหนามมีปริมาณมากเกินไปด้วย รวมถึงปูขนาดเล็กบางชนิดหนึ่งที่ซ่อนตัวในปะการัง ใช้ก้ามในการต่อสู้กับดาวมงกุฎหมายมิให้มากินปะการังอันเป็นที่หลบอาศัยด้วย แต่ก็ทำได้เพียงแค่ขับไล่ให้ออกไปเท่านั้น.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและดาวมงกุฎหนาม · ดูเพิ่มเติม »

ฉฺยงจี

ฉฺยงจี ฉฺยงจี (窮奇 พินอิน: qióngjī) เป็น 1 ใน 4 จตุรมารของจีน มีลักษณะรูปร่างน่าเกลียด ลักษณะเหมือนวัวมีขนเป็นหนามแข็งเหมือนเม่น มีปากยาวสองข้าง และชอบกินคน โดยกินคนจากหัวลงไป มีลักษณะดุร้ายเหมือนเสือ และปรากฏในตำนานของญี่ปุ่นว่าเป็นปีศาจที่มาพร้อมกับลม.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและฉฺยงจี · ดูเพิ่มเติม »

นากหญ้า

นากหญ้า (Coipú, Nutria) เป็นสัตว์ฟันแทะชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Myocastor coypus อยู่ในวงศ์ Myocastoridae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Myocastor และวงศ์นี้ ด้วยความที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายนาก ซึ่งอยู่ในวงศ์ Lutrinae ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อ จึงได้ชื่อสามัญว่า "Nutria" ซึ่งในภาษาสเปนหมายถึง "นาก" และกลายมาเป็นชื่อสามัญในภาษาไทยด้วย นากหญ้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ทางตอนใต้ของบราซิล ปารากวัย อุรุกวัย เวเนซุเอลา โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี มีทั้งหมด 4 ชนิดย่อย จัดเป็นสัตว์ฟันแทะที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งเหมือนบีเวอร์หรือคาปิบารา เมื่อโตเต็มที่มีความยาวได้ 37-70 เซนติเมตร หางยาว 24-45 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 3.5-10 กิโลกรัม บางตัวอาจหนักได้ถึง 17 กิโลกรัม ตัวผู้มีน้ำหนักมากกว่าตัวเมีย 3-5 เท่า มีหัวกลม ปากสั้น คอสั้น ใบหูกลมและเล็ก หนวดเป็นเส้นหนา เท้าหลังมีนิ้วทั้งหมด 4 นิ้ว พังผืดยึดระหว่างนิ้วเพื่อช่วยในการว่ายน้ำ ยกเว้นนิ้วสุดท้าย ขณะที่เท้าหน้ามี 5 นิ้ว มีหางยาว ขนชั้นนอกยาวและหยาบ ขณะที่ขนชั้นในอ่อนนุ่ม ขนมีน้ำมันบาง ๆ เคลือบอยู่เป็นมันและไม่อุ้มน้ำขณะว่ายน้ำ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนกับขนของนาก ซึ่งสีขนอาจแปรเปลี่ยนไปได้ตามฤดูกาล ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงดำแกมแดง ในขณะที่บางตัวอาจมีแต้มสีขาวบริเวณปาก มีพฤติกรรมความเป็นอยู่คล้ายกับนาก คือ จะอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงในพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยขุดโพรงริมตลิ่งหรือสร้างรังบนกอพืชน้ำอยู่ แต่กินอาหารจำพวกหญ้าและพืชน้ำและหอยทั้งหอยฝาเดียวและหอยฝาคู่ในบางครั้งด้วย ว่ายน้ำและดำน้ำเก่ง โดยสามารถดำน้ำได้นานถึง 7 นาที เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 4 เดือน ขณะที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 2-3 กิโลกรัม ตัวเมียมีวงรอบผสมพันธุ์ทุก ๆ 23-26 วัน ตลอดทั้งปี ออกลูกครั้งละ 2-7 ตัว โดยพบมากสุดถึง 13 ตัว ตั้งท้องนาน 123-150 วัน ลูกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวประมาณ 225 กรัม โดยมีขนปกคลุมทั้งลำตัวและดวงตาปิด จะอาศัยอยู่กับแม่ไป 6-10 ปี ตัวเมียมีเต้านม 4-5 คู่ อยู่ด้านข้างลำตัวซึ่งเหมาะกับแก่การให้นมลูกขณะที่ว่ายน้ำไปด้วยได้ มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 10 ปี นากหญ้า ถือเป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ และด้วยความที่มีขนที่มีลักษณะคล้ายขนของนาก จึงทำให้มีความต้องการขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์แทนนาก ที่ถูกล่าอย่างหนักจนถูกขึ้นชื่อไว้เป็นสัตว์อนุรักษ์ในหลายประเทศ จึงมีการเพาะเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจและมีการส่งออกจากทวีปอเมริกาใต้ไปยังหลายภูมิภาคของโลก เช่น ยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกา รวมถึงเอเชีย ซึ่งในหลายพื้นที่ได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะกลายมาเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่คุกคามความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตพื้นถิ่นในที่นั้น ๆ อีกทั้งยังเป็นพาหะของโรคกลัวน้ำอีกด้วย สำหรับในประเทศไทยเอง ก็ประสบกับปัญหานี้ด้วยเช่นนี้ ได้มีการนำเข้านากหญ้าครั้งแรกมาจากแอฟริกา โดยชาวไต้หวัน โดยถูกเลี้ยงไว้ที่จังหวัดราชบุรี ต่อมาก็ถูกนำไปเลี้ยงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยทหารบกชั้นประทวนผู้หนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ. 2537 ก่อนที่จะแพร่หลายในฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ แต่ทว่าเมื่อได้มีการเลี้ยงกันอย่างจริงจังแล้ว ปรากฏว่า ผลตอบรับกลับไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด จึงทำให้มีการปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ และกลายเป็นหนึ่งในสัตว์ที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในประเทศไทย เช่นเดียวกับ หอยเชอรี่ ปลาซัคเกอร์ หรือตะพาบไต้หวัน.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและนากหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตกทรายขาว

น้ำตกทรายขาว น้ำตกทรายขาว น้ำตกทรายขาว น้ำตกทรายขาว อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงในจังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ที่บริเวณตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ใช้เส้นทางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 409 (ปัตตานี-ยะลา) เมื่อถึงบ้านนาประดู่บริเวณ กิโลเมตรที่ 28 จากนั้นเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางสายนาประดู่-ทรายขาว เข้าไปอีก 7 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาต.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและน้ำตกทรายขาว · ดูเพิ่มเติม »

แบดเจอร์

แบดเจอร์ (badger) เป็นชื่อสามัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ในอันดับสัตว์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ย่อย 4 สกุล (ดูในตาราง-แต่โดยมากแล้วจะหมายถึง แบดเจอร์ยุโรป ที่จะอยู่ในวงศ์ย่อย Melinae).

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและแบดเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เม่นหางพวง

ม่นหางพวง (Asiatic brush-tailed porcupine) เป็นสัตว์ฟันแทะจำพวกเม่นชนิดหนึ่ง ในวงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae) เป็นเม่นขนาดเล็ก มีความยาวลำตัวและส่วนหัว 36–52 เซนติเมตร ความยาวหาง 14–23 เซนติเมตร ขนตามลำตัวและหนามเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเด่น คือ มีหางที่ยาวกว่าหางของเม่นในสกุล Hystrix ปลายหางเป็นพู่ แต่จะไม่มีขนแผงคอ พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัมในอินเดีย, ภาคใต้และมณฑลไหหลำของจีน, ภาคเหนือและตะวันออกของเมียนมา, ทั่วทุกภาคของไทย, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม, มาเลเซีย ตลอดจนถึงเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย มีชื่อพ้อง คือ Atherurus assamensis (Thomas, 1921) และ Atherurus macrourus (Thomas, 1921) และชนิดย่อย คือ assamensis เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ป่าอุดมสมบูรณ์ไปจนถึงพื้นที่เกษตรกรรม อาหารได้แก่ รากไม้, ผลไม้, เปลือกไม้ของพืชบางชนิด และซากกระดูกหรือเขาสัตว์ ออกหากินในเวลากลางคืน โดยมักจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ๆ ละ 6–8 ตัว นอนตามโพรงไม้ในเวลากลางวัน โดยใช้โพรงไม้เดิมเป็นเวลาหลายปี บางครั้งพบว่าอาศัยอยู่ด้วยกันเป็นคู่ในโพรงเดียวกัน.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและเม่นหางพวง · ดูเพิ่มเติม »

เม่นต้นไม้

ม่นต้นไม้ หรือ เม่นบราซิล (Brazilian porcupine) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coendou prehensilis เป็นสัตว์ฟันแทะจำพวกเดียวกับเม่น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในป่าดิบชื้นในทวีปอเมริกาใต้ แถบประเทศโบลิเวีย, บราซิล, ตรินิแดดและโตเบโก, ตอนเหนือของอาร์เจนตินา, เวเนซุเอลา, กายอานา และมีรายงานพบในเอกวาดอร์ด้วย มีลักษณะจมูกและปากเล็กแหลม ฟันแหลมคม สำหรับขบเคี้ยวอาหารและใช้เป็นอาวุธสำหรับต่อสู้ป้องกันตัวในบางครั้ง ดวงตากลมโตสีดำ ใบหูขนาดเล็ก รับฟังเสียงรอบข้างได้ดี ทั่วทั้งร่างกายปกคลุมด้วยหนามสั้นหนา ปลายหนามด้านบนสีขาวหรือสีเหลืองเข้มผสม ส่วนโคนหนามซึ่งติดกับผิวหนังเป็นสีเทา ขาคู่หน้า ยาวกว่าคู่หลังเล็กน้อย แต่ละข้างมี 4 นิ้ว และเล็บที่แหลมคมสำหรับแกะเปลือกไม้และขุดรากพืชบางชนิด กิ่งไม้ขนาดเล็กรวมทั้งผลไม้สดเป็นอาหาร ส่วนหางยาวและค่อนข้างแข็งแรงจะใช้จับกิ่งก้านขณะเคลื่อนไหว ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนต้นไม้ มีนิสัยขี้อาย ชอบใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังตัวเดียว ออกหากินในเวลากลางคืน กลางวันจะพักผ่อนหลับนอนอยู่ตามโพรงไม้ บางครั้งอาจพบอยู่ตามโพรงดินที่ขุดลึกไป 6-10 เมตร ขนาดโตเต็มที่ขนาดลำตัวมีความยาว 300-600 มิลลิเมตร และหางจะมีความยาวเกือบเท่าขนาดลำตัวหรือยาวเพิ่มอีก 330-485 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวเฉลี่ย 2-5 กิโลกรัม ตกลูกครั้งละตัวเดียว เม่นต้นไม้แรกเกิดถูกปกคลุมด้วยเส้นขนสีแดงและหนามเล็ก ๆ ที่จะแข็งตัวเร็วหลังจากเกิด มักส่งเสียงร้องเมื่อพบอันตรายใกล้ตัวคล้ายเสียงร้องไห้ เมื่อพบกับศัตรูจะขดตัวกลมคล้ายลูกบอลคล้ายตัวลิ่น ในประเทศไทย เม่นต้นไม้ถูกนำเข้ามาแสดงครั้งแรกในวันปลาสวยงามแห่งชาติ ที่ห้างเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม จนถึง 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและเม่นต้นไม้ · ดูเพิ่มเติม »

เม่นใหญ่

ม่นใหญ่ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Hystrix (/ฮิส-ทริก/) เป็นสัตว์ฟันแทะ จำพวกเม่น ในวงศ์เม่นโลกเก่า (Hystricidae) จัดเป็นเม่นขนาดใหญ่ หนามยาวและแหลมแข็ง กระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา โดยเม่นสกุลนี้สามารถย้อนเผ่าพันธุ์ไปได้ไกลถึงยุคไมโอซีนในแอฟริก.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและเม่นใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เอมี่ โรส

thumb เอมี่ โรส (Amy Rose) เป็นที่รู้จักกันในชื่อเล่น Rosy the Rascal เป็นตัวละครจาก เกมชุดโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก โดยผู้ส้รางคือบริษัทเซก้า และ โซนิคทีม เธอเป็นเม่นชมพูสาว และมักบอกว่าตนเป็นแฟนกับโซนิค เดอะเฮดจ์ฮ็อก ปรากฏตัวครั้งแรกในเกม โซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก CD และมีบทบาทสำคัญหลายๆตอนในเกมและการ์ตูนของโซนิค ไม่ว่าจะเป็นโซนิค R, โซนิคเอกซ์, โซนิคแอดเวนเจอร์ และ โซนิคฮีโร่ส์ เอมี่ปรากฏตัวครั้งแรกด้วยอายุ 8 ปีในเกมโซนิคเดอะเฮดจ์ฮ็อก CD แต่ในโซนิคแอดเวนเจอร์อายุของเธอถูกเปลี่ยนเป็น 12 ปี เธอสูง 90 ซม.ส่วนน้ำหนักนั้นเธอเก็บเป็นความลับจากตัวละครหญิงคนอื่นๆ นอกจากนั้นแล้วเธอมักจะไปไหนมาไหนกับครีม เดอะแรบบิทเสมอๆ จนดูเหมือนกับทั้งสองเป็นคู่หูกันแบบเดียวกับโซนิคและเทล.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและเอมี่ โรส · ดูเพิ่มเติม »

เฮดจ์ฮอก

อก (hedgehog) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็กที่อยู่ในวงศ์ย่อย Erinaceinae ในวงศ์ใหญ่ Erinaceidae เฮดจ์ฮอก มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับเม่น ซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) ซึ่งอยู่กันคนละอันดับกัน คือ ด้านหลังของลำตัวปกคลุมไปด้วยขนที่มีลักษณะแข็งคล้ายหนาม ซึ่งไว้สำหรับป้องกันตัว แต่เฮดจ์ฮอกมีขนาดที่เล็กกว่ามาก และมีหนามที่สั้นกว่ามาก โดยขนของเฮดจ์ฮอกมีลักษณะเล็กแข็งคล้ายเสี้ยนหรือหนามมากกว่า มีส่วนใบหน้าคล้ายหนู แต่มีจมูกที่เรียวยาวที่ขมุบขมิบสำหรับดมกลิ่นอยู่ตลอด ขนของเฮดจ์ฮอกตลอดทั้งตัวมีประมาณ 7,000 เส้น ในเส้นขนมีลักษณะกลวงแต่แข็งแรงด้วยสารประกอบเคราติน จึงมีน้ำหนักเบา และซับซ้อนเพื่อช่วยในการรับแรงกระแทกของสัตว์ใหญ่ที่เข้ามาจู่โจมหรือรับแรงกระแทกหากตัวเฮดจ์ฮอกต้องตกจากที่สูงPets 101- Hedgehogs, ทางอนิมอลพลาเน็ต.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและเฮดจ์ฮอก · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลเมืองศรีสะเกษ

ทศบาลเมืองศรีสะเกษ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเภทเทศบาลเมือง ระดับเทศบาลขนาดใหญ่ มีพื้นที่ครอบคลุม 7 ตำบล ในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งหน่วยงานการบริหารของอำเภอเมืองศรีสะเกษ รวมทั้งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางการบริหาร สถาบันการศึกษา สถานพยาบาลและสาธารณสุข เศรษฐกิจ ตลอดจนการคมนาคมขนส่งของจังหวัดศรีสะเกษ.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและเทศบาลเมืองศรีสะเกษ · ดูเพิ่มเติม »

Power Animals

Power Animals เป็นตัวละครในเรื่อง "กาโอเรนเจอร์" ทั้งหมดเป็นสัตว์ยนตร์ที่รูปแบบคล้ายกับสัตว์ทั่วไป แต่มีขนาดใหญ่กว่าสัตว์ทั่วๆไป มีความสามารถในการต่อสู้ และรวมร่างกับสัตว์ตัวอื่นๆ เพื่อกลายเป็นหุ่นยนต์ขนาดยักษ์ ใช้ในการต่อสู้กับออร์คที่ขยายร่าง เหล่า Power animals โดยมากมักจะใช้ชีวิตใน สวนสวรรค์ ซึ่งเป็นเกาะลอยฟ้าขนาดยักษ์รูปตะพาบน้ำ สามารถเรียกกาโอเรนเจอร์ ขึ้นไปได้ หรือ สามารถเรียกPA จากสวนสวรรค์ได้โดยตรง แต่ส่วนมาก มักใช้ ดาบราชันย์สรรพสัตว์ในการเรียกเหล่า Power Animals เพื่อลงมาทำการต่อสู้กับออร.

ใหม่!!: อันดับย่อยเม่นและPower Animals · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HystricomorphaPorcupineเม่น

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »