โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อันดับกลอย

ดัชนี อันดับกลอย

อันดับกลอย หรือ Dioscoreales iเป็นอันดับในพืชมีดอก ประกอบด้วยวงศ์ Dioscoreaceae ซึ่งเป็นวงศ์ของมันและกลอย ซึ่งเป็นอาหารสำคัญในหลายพื้นที่ ในระบบ APG II อันดับนี้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ประกอบด้วยวงส์ Burmanniaceae Dioscoreaceae และ Nartheciaceae.

22 ความสัมพันธ์: พิศวงพืชใบเลี้ยงเดี่ยวกลอยมันมือเสือมันดงมันคันขาวมันตาหยงมันนกดอยมันแซงมันเสามันเทียนวงศ์พิศวงวงศ์กลอยวงศ์หญ้าข้าวก่ำว่านสามพันตึงสกุลพิศวงสกุลกลอยหญ้าข้าวก่ำอันดับหน่อไม้ฝรั่งอันดับเตยทะเลฮ่วยซัวเท้ายายม่อม (พืช)

พิศวง

วง เป็นพืชในวงศ์ Thismiaceae หรือ Burmanniaceae เป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศไทย เป็นพืชอาศัยซาก ไม่มีคลอโรฟิลล์ ได้อาหารจากการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ แทงดอกให้เห็นเมื่อเข้าฤดูฝน พบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และที่เกาะช้าง จังหวัดตราดเท่านั้น.

ใหม่!!: อันดับกลอยและพิศวง · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon หรือ Liliopsida) เป็นชั้นหนึ่งในส่วนพืชดอกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกลุ่มหนึ่ง ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นโลก และเป็นพื้ชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงอีกด้วย พืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ใหญ่ที่สุด คือ กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยมีดอกที่ซับซ้อน และสวยงาม เพื่อดึงดูดแมลงชนิดต่างให้ช่วยในการผสมพันธุ์ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสอง และอาจจะเป็นวงศ์ที่โดดเด่นกว่า ก็คือ หญ้า (Poaceae หรือ Gramineae) โดยมีวิวัฒนาการอีกทางหนึ่ง มีลักษณะพิเศษคือ การแพร่ขยายพันธุ์โดยอาศัยลม พืชในวงศ์หญ้านั้นมีดอกขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมเป็นกลุ่มอาจปรากฏเป็นช่อดอกที่มองเห็นชัดเจนและสวยงาม.

ใหม่!!: อันดับกลอยและพืชใบเลี้ยงเดี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

กลอย

กลอย เป็นพืชไม้เถาเลื้อยอยู่ในวงศ์ Dioscoreaceae ชนิดหนึ่งที่มนุษย์รู้จักนำหัวของมันมาทำเป็นอาหารมานาน หัวใต้ดินกลมรี มีรากเล็กๆกระจายทั่ว มี 3-5 หัวต่อต้น เปลือกบาง สีน้ำตาลออกเหลือง เนื้อในหัวสีขาวหรือสีเหลือง ลำต้นเลื้อยพันต้นไม้อื่น มีหนามเล็กๆกระจายทั่วไป มีขนนุ่มสีขาว กลอย พบตามธรรมชาติในอินเดีย จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนิวกินี ใช้เป็นอาหารในเอเชียและแอฟริก.

ใหม่!!: อันดับกลอยและกลอย · ดูเพิ่มเติม »

มันมือเสือ

มันมือเสือ เป็นพืชในวงศ์กลอย และเป็นพืชที่มีหัวเล็กที่สุดในสกุลเดียวกัน มีขนาดใกล้เคียงมันฝรั่ง เป็นไม้เลื้อย ไม่มีเนื้อไม้ มีขนและหนามปกคลุม รากของพันธุ์ป่าจะแข็งเป็นหนาม พันธุ์ปลูกมักไม่มีหนาม เปลือกหัวสีน้ำตาลหรือแกมเทา เนื้อสีขาว เลื้อยพันไปทางซ้าย มีหนามมากที่โคน ใบเดี่ยว รูปหัวใจ ดอกแยกเพศ ดอกตัวผู้เป็นช่อเดี่ยว ดอกตัวเมียเป็นช่อกระจะหรือช่อเชิงลด โค้งลงด้านล่างผลเป็นแคบซูลโค้งงอ มันมือเสือแบ่งเป็น 2 พันธุ์คือ variety spinosa มีหนามในส่วนราก variety fasiculata มีหนามในส่วนรากน้อย ถิ่นกำเนิดอยู่ในไทยและอินโดจีน กระจายพันธุ์ตั้งแต่อินเดีย พม่า ไปจนถึงนิวกินี ในเวียดนามเรียกว่าkhoai từ หรือ củ từ ซึ่งนำแป้งจากมันชนิดนี้ไปทำขนมได้ มีหัวขนาดเล็กกว่ามันเสา เนื้อหัวเหนียว นำไปทำแกงเลียง ใช้แทนมันฝรั่งในแกงกะหรี่หรือแกงมัสมั่นได้หัวนำมาต้มหรือเผารับประทาน สกัดแป้งจากหัว หัวขูดเป็นฝอยใช้พอก ลดอาการบวม มีรสหวานเพราะมีน้ำตาลมาก ในอาหารจีน นำมันมือเสือไปทำเป็นอาหารหวาน เช่น มันมือเสือในน้ำเชื่อม ส่วนในอาหารญี่ปุ่นใช้ทำพิซซ่าญี่ปุ่น ใส่ในข้าวห่อสาหร่าย และสลัดมันมือเสือ ชาวมอญนิยมนำมาทำแกงเลียง หรือนำไปต้มกินเป็นอาหารว่าง.

ใหม่!!: อันดับกลอยและมันมือเสือ · ดูเพิ่มเติม »

มันดง

มันดงหรือมันทราย เป็นไม้เถาในวงศ์ Dioscoreaceae แยกเพศ เถาเลื้อยพันไปด้านขวา ผิวเรียบ โคนต้นมีหนาม มีหัวเดี่ยวลึกลงไปใต้ดิน ก้านหัวยาว เนื้อหัวสีขาว ใบเดี่ยว ใบเปราะหักง่าย ดอกช่อ ผลเป็นแบบแคปซูล มีปีก ใบแห้งและแคปซูลเป็นสีขาวนวล พบในคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอันดามัน หัวต้มสุกแล้วเหนียว รับประทานได้.

ใหม่!!: อันดับกลอยและมันดง · ดูเพิ่มเติม »

มันคันขาว

มันคันขาว หรือมันเลือด (fiveleaf yam) เป็นพืชในวงศ์กลอย เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียและทางตะวันออกของโพลีเนเชียGucker, Corey L. 2009.

ใหม่!!: อันดับกลอยและมันคันขาว · ดูเพิ่มเติม »

มันตาหยง

มันตาหยง เป็นไม้เถาในวงศ์ Dioscoreaceae แยกเพศ เถาเลื้อยพันไปด้านขวา ผิวเรียบ หัวรูปยาว สีขาว ไม่มีหัวย่อยบนเถา ใบเดี่ยว ก้านใบยาว มีขนละเอียดปกคลุม ใบอ่อนมีขนปกคลุม ปลายใบแหลม ดอกช่อ ผลเป็นแบบแคบซูล มีปีก พบทั่วไปในรัฐเประก์ ประเทศมาเลเซีย กระจายพันทางภาคใต้ของไทยไปจนถึงเกาะสุมาตรา หัวต้มสุกแล้วรับประทานได้ หัวดิบทำให้ระคายคออย่างรุนแรง.

ใหม่!!: อันดับกลอยและมันตาหยง · ดูเพิ่มเติม »

มันนกดอย

มันนกดอย เป็นพืชในสกุลกลอย วงศ์ Dioscoreaceae เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน มีหัวอยู่ใต้ดิน ช่วงฤดูแล้งจะฟุบแห้งหายไป แตกต้นใหม่ช่วงฤดูฝน ใบรูปไข่ โคนใบหยักเว้า เส้นแขนงใบมี 7 เส้น ดอกเป็นดอกช่อ ผลมีครีบตามยาว 3 สัน แก่แล้วแตก ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน พบตามป่าดิบแล้ง บนเขาหินปูนทางภาคเหนือ หัวใช้ต้มรับประทานได้ พบครั้งแรกที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดย H.B.G. Garrett ชาวอังกฤษ ชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งตามชื่อผู้ค้น.

ใหม่!!: อันดับกลอยและมันนกดอย · ดูเพิ่มเติม »

มันแซง

มันแซง เป็นพืชในวงศ์กลอย ใบเรียวยาว เนื้อสีขาวนวล รสจืด เถามีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ขึ้นพันกับต้นไม้อื่น หน้าแล้งจะเหลือแต่เถา ทิ้งใบหมด รากและหัวเป็นพวง นิยมนำมานึ่งกินกับข้าวเหนียว ทำแกงจืด แกงเลียง แกงบว.

ใหม่!!: อันดับกลอยและมันแซง · ดูเพิ่มเติม »

มันเสา

มันเสา ภาคเหนือเรียกมันเสียม ภาคใต้เรียกมันทู่ ภาคกลางเรียก มันเลือดนก เป็นพืชมีหัวในวงศ์กลอย หัวสีม่วง ทำให้บางครั้งสับสนกับเผือกและมันเทศพันธุ์ Ayamurasaki เป็นพืชพื้นเมืองในเขตร้อนของเอเชีย เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทะเลแคริบเบียน และแอฟริกา เป็นอาหารของมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณ.

ใหม่!!: อันดับกลอยและมันเสา · ดูเพิ่มเติม »

มันเทียน

มันเทียน เป็นไม้เถาในวงศ์ Dioscoreaceae แยกเพศ เถาเลื้อยพันไปด้านขวา ผิวเกลี้ยง ไม่มีหนาม ลำต้นรูปหลอด มีหัวย่อยเกิดบนลำต้น ใบเดี่ยว ใบเปราะหักง่าย ก้านใบสั้นกว่าแผ่นใบ ช่อดอกเพศผู้ออกตามกิ่งที่ไม่มีใบ ดอกไม่มีก้านดอกย่อย ผลเป็นแบบแคปซูลมีปีก แห้งเป็นมัน มักพบตามผาหินปูน กระจายพันธุ์ในไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย หัวต้มสุก รับประทานได้ หัวดิบทำให้คันในลำคอ.

ใหม่!!: อันดับกลอยและมันเทียน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์พิศวง

วงศ์พิศวง หรือ Thismiaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่ได้รับการยอมรับจากนักพฤกษศาสตร์หลายท่าน เช่น J. Hutchinson, Chase et al. 1995, 2000; Angiosperm Phylogeny Group 1998; Caddick et al. 2000; Neyland 2002; Thiele & Jordan 2002, Merckx et al. 2006 และ Woodward et al. 2007) แต่บางครั้งก็จัดรวมให้อยู่ในฐานะเผ่า Thismieae ในวงศ์ Burmanniaceae ในระบบ Kubitzki และอื่นๆ ประกอบด้วย 5 สกุลโดยมี 3 สกุล (Afrothismia, Haplothismia และ Oxygyne) พบในโลกเก่า Thismia พบในเขตร้อนของอเมริกาและเอเชีย และเขตอบอุ่นในอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ Tiputinia พบในอมาโซเนีย;รายชื่อสกุล.

ใหม่!!: อันดับกลอยและวงศ์พิศวง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์กลอย

วงศ์กลอย หรือ Dioscoreaceae เป็นวงศ์ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีประมาณ 750 สปีชีส์ 9 สกุล ในระบบ APG II system จัดให้อยู่ในอันดับ Dioscoreales และได้นำพืชจากวงศ์ Taccaceae และ Trichopodaceae มารวมไว้ด้ว.

ใหม่!!: อันดับกลอยและวงศ์กลอย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์หญ้าข้าวก่ำ

วงศ์หญ้าข้าวก่ำ หรือ Burmanniaceae เป็นวงศ์ของพืชมีดอกที่มีสมาชิกประมาณ 100 ชนิด มีสมาชิกของวงศ์นี้ที่เป็นพืชอาศัยซาก ในระบบ APG II จัดให้อยู่ในอันดับ Dioscoreales ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว และได้รวมวงศ์ Thismiaceae เข้ามาด้วย ภายในวงศ์แบ่งเป็นเคลดดังนี้: Burmanniaceae อย่างแ.

ใหม่!!: อันดับกลอยและวงศ์หญ้าข้าวก่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ว่านสามพันตึง

ว่านสามพันตึง หรือว่านพระฉิม หรือ มันขมิ้น บางท้องที่เรียก มันเหน็บ มันอีโม้ เป็นพืชในวงศ์กลอย ภาษาสันสกฤตเรียกว่า Varahi ภาษามาลายาลัมเรียก Kaachil และภาษามราฐีเรียก Dukkar Kand เป็นพืชพื้นเมืองในแอฟริกาและเอเชีย เป็นพืชรุกรานในฟลอริดา เป็นไม้เลื้อย ดอกแยกเพศแยกต้น มีทั้งหัวบนดินและใต้ดิน หัวใต้ดินแข็ง อยู่ได้นาน และมีการสะสมของลิกนิน หัวเกิดบริเวณผิวดิน รูปกลมหรือเหมือนลูกแพร์ มีขนปกคลุม หัวบนดินออกตามกิ่ง กลมหรือเป็นรูปไต เปลือกเรียบสีน้ำตาล เนื้อสีเหลืองอ่อน ใช้ลำต้นเลื้อยพัน เหนียว ใบเดี่ยวรูปหัวใจ ส่วนลำต้นไม่มีขน ไม่มีปีกและหนาม เลื้อยพันไปทางซ้าย ผิวใบด้านบนเป็นมัน เป็นถุงเล็กน้อยระหว่างเส้นใบ มีนวลสีน้ำเงิน หัวขนาดเล็กมีปุ่มปม หัวขนาดใหญ่ผิวเรียบ หรือเป็นเหลี่ยม เนื้อของหัวสีเหลืองอ่อนหรือเหลือบม่วง ทำปฏิกิริยากับอากาศได้เป็นสีส้ม เป็นเมือกมาก ช่อดอกตัวผู้ห้อยลง สีเขียวแกมชมพูหรือขาว ช่อดอกตัวเมียห้อยลง ผลยาวรี มีปีก สีน้ำตาลเป็นมัน เมล็ดมีปีก.

ใหม่!!: อันดับกลอยและว่านสามพันตึง · ดูเพิ่มเติม »

สกุลพิศวง

กุลพิศวง หรือ Thismia เป็นสกุลของพืชอาศัยซาก อยู่ในวงศ์ Burmanniaceae เป็นพืชท้องถิ่นในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิวกินี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อมเริกากลาง อเมริกาใต้;สปีชี.

ใหม่!!: อันดับกลอยและสกุลพิศวง · ดูเพิ่มเติม »

สกุลกลอย

กุลกลอย หรือ Dioscorea เป็นสกุลของพืชในวงศ์กลอย มีสมาชิก 600 พบทั้งเขตร้อนและเขตอบอุ่น ชื่อสกุลตั้งตามนายแพทย์ชาวกรีก ไดออสคอริดี.

ใหม่!!: อันดับกลอยและสกุลกลอย · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าข้าวก่ำ

หญ้าข้าวก่ำ เป็นพืชในวงศ์หญ้าข้าวก่ำ กระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำแถบอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงออสเตรเลีย ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกลำต้นสีเขียว ใบรูปใบหอกหรือรูปแถบ ยาว 2-15 เซนติเมตร ใบที่โคนต้นเรียงรอบโคนเป็นช่อกระจุกซ้อน ดอกออกเป็นช่อกระจุกด้านเดียว แยกเป็นคู่ ก้านช่อดอกยาว 30-60 เซนติเมตร มีได้ถึง 20 ดอก ใบประดับรูปใบหอก ยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ดอกยาว 1-3 เซนติเมตร หลอดกลีบสีน้ำเงินมี 3 ปีก กว้าง 1-3.5 มิลลิเมตร กลีบรวมสีเหลืองรูปสามเหลี่ยม วงนอกยาว 1.5-4.5 มิลลิเมตร วงกลีบในรูปใบหอก ยาว 1-2 มิลลิเมตร โคนอับเรณูมีเดือย รังไข่รูปรี ยาว 0.6-1.2 เซนติเมตร ผลเป็นแบบแห้งแตก รูปไข่กลับ ยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร.

ใหม่!!: อันดับกลอยและหญ้าข้าวก่ำ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับหน่อไม้ฝรั่ง

อันดับหน่อไม้ฝรั่งหรือAsparagales เป็นอันดับของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ใช้การจัดจำแนกพืชระบบ APG III ตั้งชื่อตามวงศ์ Asparagaceae อันดับนี้เสนอขึ้นครั้งแรกโดย Huber เมื่อ..

ใหม่!!: อันดับกลอยและอันดับหน่อไม้ฝรั่ง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับเตยทะเล

อันดับเตยทะเล หรือ Pandanales เป็นอันดับหนึ่งของพืชมีดอกในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อันดับนี้มีความสัมพันธ์ในระดับพี่น้องกับอันดับกลอ.

ใหม่!!: อันดับกลอยและอันดับเตยทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่วยซัว

ฮ่วยซัว (nagaimo, Chinese yam, Korean yam) เป็นพืชในสกุลกลอยซึ่งต่างจากสมาชิกอื่นที่สามารถรับประทานดิบได้ ในอาหารญี่ปุ่น นำไปรับประทานดิบหรือบด โดยนำทั้งหัวไปล้างด้วยน้ำส้มสายชู เพื่อล้างผลึกออกซาเลตออกก่อน หมวดหมู่:วงศ์กลอย หมวดหมู่:พืชที่รับประทานได้.

ใหม่!!: อันดับกลอยและฮ่วยซัว · ดูเพิ่มเติม »

เท้ายายม่อม (พืช)

ระวังสับสนกับ ไม้เท้ายายม่อม เท้ายายม่อม เป็นพืชในวงศ์ Taccaceae เป็นพืชที่มีหัว มีใบ 1-3 ใบ แต่ละใบจักเป็นสามแฉก เว้าแบบขนนก ดอกเป็นช่อยาว แต่ละช่อมีดอกย่อย 20 - 40 ดอก ผลกลม หัวของพืชชนิดนี้นำไปทำแป้งที่เรียกแป้งเท้ายายม่อม พืชชนิดนี้เป็นพืชท้องถิ่นในทวีปแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลียเหนือ นิวกินี ซามัว หมู่เกาะไมโครนีเซีย และฟิจิ และมีการแพร่กระจายไปในหมู่เกาะแปซิฟิกเนื่องมาจากการอพยพของคน ชื่อสามัญของพืชชนิดนี้ ได้แก่ Polynesian Arrowroot (ภาษาอังกฤษ) Pia (ฮาวาย, โพลีเนเซียฝรั่งเศส, Niue, และ หมู่เกาะคุก), Masoa (ซามัว), Mahoaa (ตองกา), Yabia (ฟิจิ) Gapgap (กวม) และ Taka (อินโดนีเซีย).

ใหม่!!: อันดับกลอยและเท้ายายม่อม (พืช) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Dioscoreales

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »