โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ

ดัชนี อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ

อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (علي بن أﺑﻲ طالب; ʿAlī ibn Abī Ṭālib) เป็นบุตรเขยของศาสนทูตมุฮัมมัด อิมามที่ 1 ตามทัศนะชีอะฮ์ อย่างไรก็ตามทัศนะของมัซฮับซุนนี อิมามอะลีเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ 4 และศูฟีย์เกือบทุกสายถือว่าเป็นปฐมาจารย์ ต่างก็ยกย่อง อะลี ว่าเป็นสาวกผู้ทรงธรรมและเป็นปราชญ์ผู้ประเสริฐเล.

26 ความสัมพันธ์: บัสราชาวกีซาชีอะฮ์ฟาฏิมะฮ์พ.ศ. 1143มุอาวิยะห์มุฮัมมัด บากิร อัลฮะกีมมุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺยะฮฺยา บินเซดยุทธการที่บะดัรรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์รายชื่อตำราที่สำคัญของนิกายชีอะฮ์รายพระนามพระมหากษัตริย์เปอร์เซียวันอาชูรออ์อะบูฏอลิบอิมาม (ชีอะฮ์)อิมามะฮ์ฮะซัน อิบน์ อะลีฮุซัยน์ อิบน์ อะลีดุอา กุเมลฆุลาตต้นสมัยกลางปีช้างเจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดนเคาะลีฟะฮ์เซด อัชชะฮีด

บัสรา

ัสรา, แบสรา (Basra) หรือ อัลบัศเราะฮ์ (البصرة) เป็นเมืองหรืออำเภอหลักของจังหวัดบัสรา ประเทศอิรัก ตั้งในเขตชัฏฏุลอะร็อบ ริมอ่าวเปอร์เซีย เป็นที่ตั้งของมัสยิดแห่งแรกนอกคาบสมุทรอาระเบีย และศูนย์กีฬาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง คือ บัสราสปอร์ตซิตี ตัวเมืองอยู่ระหว่างประเทศคูเวตและประเทศอิหร่าน ชื่อเมืองมาจากคำภาษาอาหรับ بصر (บัศร์) หรือการแลเห็น เนื่องจากเมืองนี้เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเล แต่ไม่มีท่าเรือน้ำลึกเหมือนเมืองอุมกัศร์ (أم قصر) ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน อย่างไรก็ตามรัฐบาลอิรักกำหนดให้เมืองบัสราเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญ.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและบัสรา · ดูเพิ่มเติม »

ชาวกีซา

อัศฮาบ กิซา หมายถึง นบีมุฮัมมัด อะลี ฟาฏิมะฮ์ ฮะซัน และฮุซัยน์ ที่อัลกุรอานโองการ إِنَّما يُرِيدُ اللَّهُ لِيُذْهِبَ عَنْكُمُ الرِّجْسَ أَهْلَ الْبَيْتِ وَ يُطَهِّرَكُمْ تَطْهِيراً : ความว่า "แท้จริงอัลลอฮ์เพียงประสงค์ที่จะขจัดมลทินออกไปจากพวกเจ้า โอ้อะฮ์ลุลบัยต์ และทรง (ประสงค์) ที่จะขัดเกลาพวกเจ้าให้สะอาดบริสุทธิ์ "กล่าวเกี่ยวกับพวกเขาไว้ อะบูสะอีด ค็อดรี รายงานจากท่านศาสดาแห่งอิสลามว่า โองการนี้กล่าวเกี่ยวกับบุคคลห้าท่าน คือ ตัวฉัน อาลี ฟาติมะฮ์ ฮะซันและฮุเซน.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและชาวกีซา · ดูเพิ่มเติม »

ชีอะฮ์

ีอะฮ์ (บ้างสะกด ชีอะห์) เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม ซึ่งนับถือพระเจ้าพระองค์เดียว และท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)เป็นนบีคนสุดท้าย หากแต่มีความแตกต่างกับซุนนีย์ในเรื่องของผู้นำศาสนาต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด ว่ามาจากการแต่งตั้งของอัลลอฮ์และท่านนบีมุฮัมมัดเท่านั้น หากผู้ใดได้ศึกษาประวัติของวันอีดฆอดีรคุมแล้ว จะพบว่าวันนั้นเป็นวันที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งอะลีให้เป็นอิมามหรือผู้นำศาสนาคนต่อไปโดยผ่านท่านนบี(ศ็อลฯ) นั้นคืออิมามสิบสองคน อันได้แก่อิมามอะลีย์และบุตรหลานของอิมามอะลีกับท่านหญิงฟาติมะห์(บุตรีของท่านนบี(ศ็อลฯ)อีก 11 คน ชีอะฮ์ ตามความหมายของปทานุกรมหมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะฮ์หมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ผู้นำศาสนาหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) เสียชีวิตแล้ว เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งชีอะฮ์จึงยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของลูกหลานของท่านศาสดา(อะฮฺลุลบัยตฺ) ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติ ชีอะฮ์มีความเชื่อว่า พระองค์อัลลอฮ์ คือพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน คือพระผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ศาสนาของพระองค์ก็เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์ ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ศาสนทูตของพระองค์ก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดาของพระองค์ก็จำเป็นจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น และเมื่อศาสนทูตของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงแต่งตั้ง ดังนั้นตัวแทนของศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งเช่นเดียวกัน มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์ มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระอง.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและชีอะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟาฏิมะฮ์

ฟาฏิมะห์ อัซ ซะรออ์ หรือ ท่าหญิงฟาฏิมะหฺ บิดาคือศาสดามุฮัมมัด มารดาคือท่านหญิงคอดีญะหฺ เป็นภรรยาของอะลี บินอะบีฏอลิบ เสียชีวิตในมะดีนะหฺ ปีฮิจญ์เราะหฺศักราชที่ 10 หลังบิดาเพียง 6 เดือน ท่านหญิงฟาฏิมะหฺ เป็นสตรีที่มีความสำคัญมากที่สุดในศาสนาอิสลาม นางไม่เพียงแต่เป็นบุตรสาวของศาสนทูตแห่งอิสลาม นางยังเป็นมารดาของท่านฮะซัน และท่านฮุซัยน์ ผู้ซึ่งมีบุตรหลานเป็นอิมามในสำนักคิดชีอะฮ์และบุคคลสำคัญมากมาย ท่านหญิงฟาติมะห์ มีบุตรและธิดารวมกันแล้ว4คน ได้แก่ ท่านอิมามฮะซัน อิมามฮุซัยน์ ท่านหญิงซัยนับ และท่านหญิงอุมมุลกุลซุม ท่านนั้นเสียมารดา(ท่านหญิงคอิยะฮ์)ตั้งแต่ยังเด็ก แล้วท่านก็เป็นผู้คอยปรนนิบัตรบิดาทุกอย่าง ท่านจึงได้สมยานมว่า "มารดาของผู้เป็นบิดา" หมายความว่าท่านนั้นคอยดูแลท่านนบีมูฮัมหมัดทุกอย่าง หมวดหมู่:ชาวอาหรับ หมวดหมู่:บุคคลในศาสนาอิสลาม หมวดหมู่:ศาสนาอิสลาม หมวดหมู่:บุคคลจากมักกะฮ์.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและฟาฏิมะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1143

ทธศักราช 1143 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและพ.ศ. 1143 · ดูเพิ่มเติม »

มุอาวิยะห์

มุอาวิยะห์ (معاوية بن أبي سفيان, Muawiyah I) (ค.ศ. 602 – 6 พฤษภาคม ค.ศ. 680) เป็นคอลีฟะหรือกาหลิบองค์แรกของ ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ แห่ง ดามัสกั.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและมุอาวิยะห์ · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด บากิร อัลฮะกีม

มุฮัมมัด บากิร อัลฮะกีม อายะตุลลอหฺ ซัยยิด มุฮัมมัด บากิร อัลฮะกีม เป็นบุตรของอายะตุลลอหฺ ซัยยิด มุฮฺซิน อัฏฏ็อบาฏ็อบาอีย์ อัลฮะกีม เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม..

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและมุฮัมมัด บากิร อัลฮะกีม · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ

มุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ (Muhammad ibn al-Hanafiyyah) เป็นบุตรชายของท่านอิมามอะลีย์กับนางเคาละหฺ บินตุญะอฺฟัร แห่งเผ่าฮะนีฟะหฺ นางจึงได้รับการเรียกขานว่า อัลฮะนะฟียะหฺ (สตรีแห่งเผ่าฮะนีฟะหฺ) เมื่อครั้งที่ชาวยะมามะหฺ ถูกกองทัพของอะบูบักรฺโจมตี ฐานละเมิดกฎบัญญัติศาสนา ไม่จ่ายซะกาต พวกเขาถูกจับเป็นเชลยมาที่เมืองมะดีนะหฺ ในนั้นมีนางเคาละหฺร่วมอยู่ด้วย ผู้คนในเผ่าฮะนีฟะห์จึงขอร้องอิมามอะลีย์ให้ช่วยเหลือนางไม่ให้ถูกขายเป็นทาส อิมามอะลีย์จึงไถ่นางให้พ้นจากมือของพวกที่จับกุมนาง และสมรสกับนางในเวลาต่อมาจนกระทั่งนางได้บุตรกับอิมามอะลีย์นั่นคือมุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ มุฮัมมัดเป็นบุรุษผู้ทรงคุณธรรม มีความรู้ ปลีกตนอยู่กับการบูชาอัลลอหฺ อีกทั้งยังมีความกล้าหาญเหมือนบิดา จนขึ้นชื่อลือชาในอาหรับ ในสงครามอูฐนั้น มุฮัมมัดผู้มีอายุราว 26 ปี ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างสมเกียรติจนบิดาภาคภูมิใจ อิมามอะลีย์ ให้เหตุผลที่ให้มุฮัมมัดเป็นแม่ทัพวันนั้นไม่ให้แก่ฮะซันและฮุเซนเพราะว่า "มุฮัมมัดเป็นบุตรของฉัน ส่วนฮะซันและฮุเซนเป็นบุตรของศาสนทูตแห่งอัลลอหฺ! มุฮัมมัดเกิดในราวปี..ที่ 15 ต้นสมัยการปกครองของคอลีฟะหฺอุมัร และสิ้นชีวิตในปี..

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและมุฮัมมัด อิบนุลฮะนะฟียะหฺ · ดูเพิ่มเติม »

ยะฮฺยา บินเซด

นเซด (يحيى بن زيد, Yahya ibn Zayd) เป็นบุตรชายเซด บุตรของ อิมามซัยนุลอาบิดีน บุตรของ อิมาม ฮุเซน บุตรของ อะลีย์ บินอะบีฏอลิบ สืบสกุลนบีมุฮัมมัด ทางฟาฏิมะหฺ ธิดานบีมุฮัมมัด ซึ่งเป็นภรรยาของอะลีย์ บินอะบีฏอลิบ เมื่อยะฮฺยามีอายุ 18 ปี ได้เข้าร่วมปฏิวัติต่อต้านทรราชย์แห่งตระกูลอุมัยยะหฺ แต่บิดาและพรรคพวกได้รับความปราชัย บิดาเสียชีวิตในสงคราม เดือนศอฟัร..

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและยะฮฺยา บินเซด · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่บะดัร

งครามบะดัร เป็นสงครามใหญ่ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงสมัยของมุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ระหว่างชาวมุสลิมกับชาวมักกะฮ์ ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 17 หรือ 19 เดือนรอมฎอน ปี ฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 2 (13 หรือ 15 มีนาคม ค.ศ.624) ณ เมืองบะดัร. เมื่อมุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ทราบข่าวว่าอบูซุฟยานยกทัพมาจากเมืองมักกะฮ์ จึงสั่งให้ชาวมุสลิมร่วมไพร่พลเกือบ 300 คน เพื่อต่อสู้กับทหารนับ1,000นาย ของอบูซุฟยานแห่งเมืองมักกะฮ์ ซึ่งผลปรากฏว่ากองทัพของมุสลิมได้รับชัยชนะ และชาวมักกะฮ์ถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก บ้างก็ถูกจับเป็นเชล.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและยุทธการที่บะดัร · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

รัฐอุมัยยะห์ (بنو أمية‎) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งแรกที่ถูกสถาปนาโดยมุอาวียะห์ อิบนุ อบี สุฟยาน (Muahwiya Ibn Abi Sufyan I, ค.ศ. 661 - ค.ศ. 680) หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของอะลีย์ บุตรเขยของมุฮัมหมัด ราชวงศ์นี้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในช่วงต้น อีกทั้งราชวงศ์ยังรักษาธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด แต่พอถึงปลายยุคเคาะลีฟะฮ์กลับเสวยแต่น้ำจัณฑ์ ล่าสัตว์ ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนา จึงถูกลูกหลานของน้าของศาสนทูตมุฮัมหมัดโค่นล้มราชวงศ์ลงในสมัยมัรวานที่ 2 ในปี ค.ศ. 750 (พ.ศ. 1293) อุมัยยะห์เป็นหนึ่งในสี่รัฐเคาะลีฟะฮ์ของอิสลามที่ก่อตั้งหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมหมัด ศาสนทูตของศาสนาอิสลามที่ปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะห์ ที่ได้รับชื่อจาก Umayya ibn Abd Shams ผู้เป็นทวดของคอลีฟะฮ์อุมัยยะห์คนแรก แม้ว่าตระกูลอุมัยยะห์เดิมจะมาจากมักกะฮ์ แต่ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐ หลังจากอุมัยยะห์ถูกโค่นโดยรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะห์ก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อัล-อันดะลุส (Al-Andalus) และก่อตั้งเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา ภายหลังจากที่ท่านอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์รอชิดีนคนที่ 4 เสียชีวิต ท่านหะสัน อิบนุ อะลี บุตรของท่านอาลีได้รับเลือกตั้งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป แต่ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งให้แก่ท่านมุอาวียะฮ์ อิบนุ อบี สุฟยาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในรัฐอิสลาม พร้อมกับหลีกเลี่ยงความแตกแยกและการสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันมากกว่านี้ มุอาวิยะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านสืบเชื้อสายจากตระกูลอุมัยยะห์ บุตรของอับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ราชวงศ์อุมัยยะฮ์" ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านมุอาวียะฮ์ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักร ท่านทำให้ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์กลายเป็นตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ ท่านได้ทรงแต่งตั้งยะซิด โอรสของท่านให้เป็นกษัตริย์ ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮ์มาตลอดราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ทั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้สร้างตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ขึ้นในประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม การปกครองแบบประชาธิปไตยระหว่างเผ่าของเคาะลีฟะฮ์ท่านก่อน ๆ ก็หมดสิ้นไป กลายเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิร.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อตำราที่สำคัญของนิกายชีอะฮ์

รบัญตำราต่างๆที่สำคัญของนิกายชีอะฮ์ ตำราเหล่านี้มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับ หลักศรัทธา ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้ การศรัทธาต่อความเอกะของพระผู้เป็นเจ้า,การศรัทธาต่อการเป็นศานทูตของศาสดามุฮัมหมัด,การเป็นอิมามตัวแทนท่านศาสดา(ศ)ของอิมามทั้งสิบสองท่าน,ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้าและการศรัทธาต่อวันสิ้นโลก. .

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและรายชื่อตำราที่สำคัญของนิกายชีอะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์เปอร์เซีย

แผนที่รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ (c. 850).

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและรายพระนามพระมหากษัตริย์เปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

วันอาชูรออ์

อาชูรออฺ แปลว่า วันที่ 10 ในที่นี้คือวันที่ 10 เดือนมุฮัรรอม(เดือนแรกของอิสลาม).

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและวันอาชูรออ์ · ดูเพิ่มเติม »

อะบูฏอลิบ

อะบูฏอลิบ บิน อับดิลมุฏฏอลิบ เป็นพี่ชายของ อับดุลลอหฺ บิดาของศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เป็นศาสดาของอิสลาม และเป็นบิดาของ อะลีย์ ผู้เป็นอิมามคนแรกของอิสลามชีอะหฺ และคอลีฟะหฺคนที่ 4 ของอิสลามซุนนี อะบูฏอลิบ รับศาสนทูตมุฮัมมัด มาเลี้ยงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ อะบูฏอลิบ มีภรรยาชื่อ ฟาฏิมะหฺ บินตุ อะสัด มีบุตรธิดา 6 คนคือ 1.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและอะบูฏอลิบ · ดูเพิ่มเติม »

อิมาม (ชีอะฮ์)

อิมาม เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า ผู้นำ ซึ่งในทัศนะของชาวมุสลิมชีอะฮ์ หมายถึงบุคคลที่นบีมุฮัมมัดได้แต่งตั้งให้เป็นผู้นำหลังจากท่านเสียชีวิต บรรดาอิมามเหล่านี้จะเป็นผู้อธิบายความหมายของสาส์นอิสลามให้แก่ชนร่วมสมัย ยามใดที่พวกเขาเหล่านั้นไม่อยู่หรือเสียชีวิต ผู้ที่จะทำหน้าที่แทนก็คือบรรดาผู้ที่มีคุณวุฒิสูงสุด เรียกว่า มุจญ์ตะฮิด ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เกี่ยวกับอัลกุรอานและหะดีษ อิมามสิบสองท่าน อิมามียะหฺ หรือ ญะอฺฟะรียะหฺ เป็นชื่อเรียกชาวชีอะฮ์ใช้เรียกอิมามสูงสุด ที่นบีมุฮัมมัดแต่งตั้งมา มี 12 คน ได้แก.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและอิมาม (ชีอะฮ์) · ดูเพิ่มเติม »

อิมามะฮ์

อิมามะฮ์ (إمامة) หรือ ตำแหน่งการเป็นผู้นำ ตัวแทนท่านศาสดา (ศ) ถือเป็นหนึ่งในหลักศรัทธาของอิสลามนิกายชีอะฮ์ และเนื่องจากความสำคัญยิ่งยวดของหลักศรัทธาข้อนี้ พวกเขาจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่มอิมามียะฮ์ คำว่า อิมามะฮ์ ตามรากศัพท์ภาษาอาหรับ หมายถึง ผู้นำ และตามจริงแล้วทุกประชาชาติและกลุ่มชนไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากผู้นำ หลักศรัทธาชองนิกายชีอะฮ์: เตาฮีด, นุบูวัต, มะอาด, อัดล์ และอิมามะฮ์ บรรดาชีอะฮ์จะอ้างอิงความเชื่อทั้งหมดของพวกเขาจากโองการในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานและในเรื่องของอิมามะฮ์ก็เช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและอิมามะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮะซัน อิบน์ อะลี

อัลฮะซัน อิบน์ อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (الحسن بن علي بن أﺑﻲ طالب; Al-Hasan ibn ‘Alī ibn Abī Tālib; ค.ศ. 624–669 / ฮ.ศ. 3-50) เป็นพี่ชายของอิมามฮุซัยน์ อิบน์ อะลี และเป็นบุตรของอิมามอะลี กับท่านหญิงฟาฏิมะหฺ(อ) บุตรีนบีมุฮัมมัด ศาสดามุฮัมมัดได้กล่าวเกี่ยวกับหลานรักทั้งสองอีกว่า "ฮะซันและฮุซัยน์เป็นหัวหน้าชายหนุ่มแห่งสรวงสวรรค์" อิมามฮะซัน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอิมามตามคำสั่งเสียของท่านศาสดา ซึ่งเหล่าศรัทธาชนก็ได้ให้สัตยาบันกับท่าน ท่านขึ้นปกครองอาณาจักรอิสลามได้เพียงหกเดือนเศษ ในเวลานั้นซีเรียและอียิปต์ที่อยู่ในการปกครองของมุอาวิยะหฺ บุตรอะบูสุฟยาน มิได้ยอมสวามิภักดิ์ต่อการปกครองของอิมามฮะซัน อิมามฮะซันได้เตรียมกำลังทหารเพื่อปราบปรามมุอาวิยะหฺ ผู้ตั้งตนเป็นกบฏและก่อกวนความสงบสุขของอาณาจักรอิสลามตั้งแต่สมัยอิมามอะลี ผู้เป็นบิดา ทว่าท่านต้องยกเลิกแผนการอันนี้ เพราะทราบว่าทหารของท่านมีใจโอนเอียงฝักใฝ่อยู่กับมุอาวะยะหฺ และรอคำสั่งจากมุอาวิยะหฺ ว่าจะให้จัดการกับท่านอิมามอย่างไร จะสังหารท่านหรือจับกุมส่งท่านไปให้มุอาวิยะหฺ ด้วยเหตุนี้เองอิมามฮะซันจึงต้องจำยอมเลือกวิธีการประนีประนอมด้วยการทำสนธิสัญญาหย่าศึก แต่ต่อมามุอาวิยะหฺก็บิดพลิ้วสนธิสัญญา เขาได้เดินทางมายังอิรัก แล้วขึ้นมินบัรในมัสยิดกูฟะหฺ เพื่อกล่าวปราศรัยกับประชาชนว่า "โอ้ประชาชน ฉันไม่ต้องการทำสงครามกับพวกท่านในเรื่องของศาสนา ว่าต้องทำนมาซหรือถือศีลอด เพียงแต่ฉันต้องการขึ้นเป็นผู้ปกครองเท่านั้นเองและฉันก็ถึงเป้าหมายของฉันแล้ว ส่วนสัญญาที่ลงนามร่วมกับฮะซันบุตรของอะลีนั้น มันไม่มีความหมายสำหรับฉันเลย ฉันตั้งมันไว้ใต้ฝ่าเท้าของฉัน" อิมามฮะซันต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลการปกครองของมุอาวิยะหฺนานถึง 9 ปี.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและฮะซัน อิบน์ อะลี · ดูเพิ่มเติม »

ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี

ซัยน์ อิบน์ อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ (حسين بن علي بن أﺑﻲ طالب‎; Hussein ibn ‘Alī ibn Abī Ṭālib) เกิดปี..

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและฮุซัยน์ อิบน์ อะลี · ดูเพิ่มเติม »

ดุอา กุเมล

อา (บทอธิษฐานหรือบทขอพร) กุเมล เป็นดุอาบทหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายของนิกายชีอะฮ์ คือบทดุอาที่ท่านญิบรออีล(ทูตสวรรค์)ได้สอนให้ท่านคิฎีร(ศาสนทูตท่านหนึ่งของศาสนาอิสลาม) และท่านอะลีได้สอนดุอาบทนี้แก่ท่านกุเมล บิน ซิยาด สาวกคนสนิทของท่าน สำหรับดุอาบทนี้ เป็นบทที่ผสมผสานด้านจิตวิญญาณได้อย่างลึกซึ้ง และรวมถึงอักขระ ความคล้องจองของวรรคตอน ตามตัวบทที่ไพเราะชวนหลงใหล ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านมีความต้องการที่จะขออภัยโทษบาปต่างๆ ต่อพระเจ้.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและดุอา กุเมล · ดูเพิ่มเติม »

ฆุลาต

ลาต (غلاة‎, Ghulat) แปลว่า พวกสุดโต่ง พวกที่ออกนอกลู่นอกทาง มาจากคำว่า غلو‎ (Ghulu) ความสุดโต่ง, ความเกินเลย ในทางวิชาการหมายถึง พวกชีอะหฺที่ออกนอกลู่นอกทางศาสนาอิสลามมากหรือน้อย ด้วยการยกย่องอะลีย์และวงศ์วานของนบีจนเกินเลย เช่น เชื่อว่าพวกเขามีคุณสมบัติความเป็นพระเจ้า หรือเสมอเหมือนพระเจ้า ซึ่งเป็นความคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากศัตรูศาสนาอิสลาม ที่มีจุดประสงค์ที่จะทำลายล้างศาสนาอิสลาม โดยแฝงอยู่ใต้มัซฮับชีอะหฺ และเอาอะห์ลุลเบต(วงศ์วานของนบีมุฮัมมัด)เป็นกำบัง โดยเฉพาะในช่วงสามศตวรรษแรก หลังจากท่านศาสนทูตได้สิ้นชีวิต อันที่จริงทัศนะและวรรณกรรมของพวกฆุลาตกระจัดกระจายและผสมผสานกับวรรณกรรมชีอะหฺสายอื่น ๆ รวมทั้งชีอะหฺอิษนาอะชะรียะหฺอีกด้วย จนแยกกันไม่ออก ว่าอันไหนของชีอะหฺสายกลาง อันไหนเป็นของชีอะหฺสุดโต่ง.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและฆุลาต · ดูเพิ่มเติม »

ต้นสมัยกลาง

ักรพรรดินีธีโอโดรา พระอัครมเหสีในจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในงานโมเสกของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายในมหาวิหารซันวีตาเล เมืองราเวนนา หนังสือสำหรับพิธีศาสนาจากคริสต์ศตวรรษที่ 8 (หอสมุดวาติกัน, Reg. Lat. 316. foll. 131v/132r) ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages) เป็นสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์ยุโรป เริ่มขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณห้าร้อยปีโดยเริ่มตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 500 จนกระทั่งมาถึงราวปี ค.ศ. 1000 ต้นสมัยกลางสิ้นสุดแล้วจึงต่อด้วยสมัยกลางยุครุ่งโรจน.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและต้นสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ปีช้าง

ปีช้าง คือปีที่กองทัพช้างที่นำโดย อับรอหะหฺ อัลอัชรอม อุปราชแห่งฮะบะชะหฺ (อบิสสิเนีย หรือเอธิโอเปียปัจจุบัน) หมายโจมตีมักกะหฺ อับรอหะหฺนับถือศาสนาคริสต์ พวกเขาได้สร้างโบสถ์คริสเตียนที่ใหญ่โตในเมืองศอนอาอฺ (ซานา) ในยะมัน (เยเมน) เพื่อให้เป็นที่แสวงบุญของชาวคริสเตียนในอาระเบียและแอฟริกา และเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายแห่งใหม่ในภูมิภาค เมื่อพวกเขาเห็นว่า กะอฺบะหฺในมักกะหฺเป็นอุปสรรคต่อการเผยแพร่ศาสนาคริสเตียนและการดึงดูดผู้คนไปศอนอาอฺ ก็คิดทำลายกะอฺบะหฺ ด้วยเหตุนี้จึงกรีฑาทัพช้างมุ่งหน้าสู่พระมหานครมักกะหฺ ในปี ค.ศ. 570 ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่นบีมุฮัมมัด(ศ)ประสูติ เมื่อมาถึงชานเมืองมักกะหฺ กองทัพของอับรอหะหฺก็ปล้นฝูงอูฐของอับดุลมุฏฏอลิบ ปู่ของนบีมุฮัมมัด ไป 700 ตัว แล้วส่งทูตเข้ามาพบกับอับดุลมุฏฏอลิบ ผู้เป็นหัวหน้าชาวเมืองมักกะหฺ เพื่อบอกจุดประสงค์ของการยกทัพมาครั้งนี้ว่า มาเพื่อถล่มทำลายกะอฺบะหฺ อับดุลมุฏฏอลิบจึงขอเจรจากับอับรอหะหฺเป็นการส่วนตัว เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบเข้าพบอับรอหะหฺ เขาก็ขอร้องให้อับรอหะหฺคืนอูฐที่ทหารปล้นไป อับรอหะหฺจึงแปลกใจเหตุใดจึงไม่ได้ขอร้องเรื่องกะอฺบะหฺ อับดุลมุฏฏอลิบกล่าวว่า "อูฐเป็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงมาทวง ทว่ากะอฺบะหฺเป็นของอัลลอหฺ จึงเป็นหน้าที่ของพระองค์ที่จะพิทักษ์ หรือจะปล่อยให้ชะตาของมันอยู่ในมือของท่าน" อับรอหะหฺรู้สึกแปลกใจในคำตอบนั้น จึงคืนอูฐทั้งหมดให้อับดุลมุฏฏอลิบ เมื่ออับดุลมุฏฏอลิบกลับไป ก็ป่าวประกาศให้ชาวมักกะหฺหลบหนีออกจากพระมหานคร ไปซ่อนตัวตามภูเขาต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ไพร่พลของอับรอหะหฺทำร้าย เมื่อทัพอับรอหะหฺเข้ามาถึงมักกะหฺ ก็ปรากฏมีฝูงนกบินว่อนเหนือพระมหานครจนมืดฟ้ามัวดิน แล้วนกแต่ละตัวก็ทิ้งก้อนหินลงมา จนทำให้ไพร่พลของอับรอหะหฺล้มตายเป็นอันมาก อับร่อฮะหฺเองจึงหนีกลับไปศอนอาอ์ แต่ก็มีนกตัวหนึ่งบินตามเขาไปตลอดทาง เมื่ออับรอหะหฺเข้าพบกษัตริย์แห่งฮะบะชะหฺก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง กษัตริย์ถามว่า นกอะไรหรือที่ทำปาฏิหาริย์เช่นนั้น อับรอหะหฺจึงเงยหน้าขึ้นชี้นกที่ติดตามเขามาตลอดทาง นกตัวนั้นก็ทิ้งก้อนหินตกลงมาบนศีรษะของเขา อับรอหะหฺก็สิ้นชีพในบัดดล ไม่ใช่ปกติวิสัยที่ชาวอาหรับจะได้เห็นช้างหรือกองทัพช้าง จึงเรียกกองทัพของอับรอหะหฺว่า ”อัศฮาบ อัลฟีล” (บรรดาเจ้าของช้าง) และจดจำเหตุการณ์ปีนั้นได้อย่างแม่นยำ และเรียกปีนั้นว่า ”อาม อัลฟีล” (ปีช้าง) ตั้งแต่นั้นมามีการนับศักราชโดยเริ่มจากปีช้าง เช่นมุฮัมมัดเกิดในปีช้าง เป็นต้น อัลกุรอานได้กล่าวถึงเรื่องกองทัพช้างในซูเราะหฺที่ 105 เหตุการณ์กองทัพช้างยังอยู่ในความทรงจำของชาวมักกะหฺตลอดมา เมื่อโองการนี้ประทานลงมา ชาวมักกะหฺจึงรำลึกถึงปาฏิหาริย์ ที่เคยปรากฏในอดีตเมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้ว และไม่สามารถปฏิเสธต่อการอารักขาของอัลลอหฺต่อกะอฺบะหฺอันศักดิ์สิทธิ์นั้น เหตุการณ์ดังกล่าวยังชี้ให้เห็นถึงความศรัทธามั่นของอับดุลมุฏฏอลิบที่มีต่ออัลลอหฺ อันเป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งบอกว่า อับดุลมุฏฏอลิบ บิดาของอับดุลลอหฺ ผู้ซึ่งเป็นบิดาของมุฮัมมัด และบิดาของ อะบูฏอลิบ ผู้ซึ่งเป็นบิดาของอะลีย์ เป็นผู้ที่ยึดมั่นในศาสนาของอิบรอฮีมและอิสมาอีล เขาได้กล่าวในบทกวีว่า หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและปีช้าง · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน

้าชายฮุซัยน์ บิน อับดุลลอฮ์ (الحسين بن عبد الله الثاني, Al-Ḥusayn bin ʿAbdullāh aṯ-ṯānī) ทรงเป็นรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์แห่งราชอาณาจักรจอร์แดน เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 กับสมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน พระองค์ทรงเป็นรัชทายาทแทนพระปิตุลาของพระองค์ เจ้าชายฮัมซะห์แห่งจอร์แดนในปี..

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและเจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

เคาะลีฟะฮ์

ลีฟะฮ์ หรือ กาหลิบ (خليفة) มาจากคำว่า "เคาะลีฟะฮ์ อัรเราะซูล" (ผู้แทนของท่านเราะซูล) คือคำที่ใช้เรียกประมุขของอาณาจักรอิสลามต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่หลังจากนบีมุฮัมมัดเสียชีวิต จนถึงปลายอาณาจักรอุษมานียะหฺ ประมุขสี่คนแรกเรียกว่า อัลคุละฟาอ์ อัรรอชิดูน คือ อะบูบักรฺ อุมัร อิบนุลค่อฏฏอบ อุษมาน บินอัฟฟาน, และอะลีย์ บินอะบีฏอลิบ ต่อมาเมื่ออำนาจของรัฐอิสลามตกภายใต้การปกครองของตระกูลอุมัยยะฮ์ ตระกูลอับบาซียะฮ์ และตระกูลอุษมาน ประมุขแต่ละคนก็ยังใช้คำนี้ เคาะลีฟะฮ์คนสุดท้ายคือ อับดุลมะญีด ที่ 2 เขตปกครองของเคาะลีฟะฮ์เรียกว่ารัฐเคาะลีฟะฮ์ (Caliphate).

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและเคาะลีฟะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

เซด อัชชะฮีด

ซด หรือ ซัยดฺ อัชชะฮีด เจ้าของมัซฮับซัยดีย์ เป็นบุตรของอิมามซัยนุลอาบิดีน บุตรอิมามฮุเซน บุตรของอะลีย์ บินอะบีฏอลิบ เกิดในนครมะดีนะหฺ เมื่อรุ่งอรุณของวันหนึ่งในราวปี..

ใหม่!!: อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบและเซด อัชชะฮีด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

'Ali'Ali ibn Abi TalibAliAli bin Abi TalibAli bin Abu TalibAli ibn Abi TalebAli ibn Abi TaliAli ibn Abi TalibAli ibn Abu TalibAlīImam Aliอลีอะลีอะลีย์อะลีย์ บินอะบีฏอลิบอาลี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »