โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หมึกสาย

ดัชนี หมึกสาย

รูปแสดงกายภาคของหมึกสาย หมึกสาย หรือ หมึกยักษ์ เป็นมอลลัสก์ประเภทหมึกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Octopoda.

35 ความสัมพันธ์: ชั้นเซฟาโลพอดพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำไคยูกังการขาดธาตุเหล็กรายชื่อพระอิสริยยศและพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชรายชื่อสัตว์น้ำร็อคแมน X (วิดีโอเกมภาคแรก)วิกตอร์ อูโกวิวัฒนาการของตาสัตว์หมึก (สัตว์)หมึกพอลหมึกกระดองหมึกกล้วยหมึกสายมหัศจรรย์หมึกสายวงน้ำเงินหมึกสายวงน้ำเงินใต้หมึกสายเลียนแบบหมึกสายเล็กหมึกแวมไพร์หอยงวงช้างกระดาษฮอกวอตส์ฮัสเทอร์ครอบครัวนี้ ไม่มีปัญหา?ความเจ็บปวดซูชิปลาฉลามครีบขาวปลาฉลามครีบเงินปลาไหลมอเรย์ยักษ์ปลาไหลมอเรย์หน้าปานปูแมงมุมญี่ปุ่นแผนที่ภูมิลักษณ์ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์โมซาซอร์เสียงเรียกของคธูลู8

ชั้นเซฟาโลพอด

ั้น เซฟาโลพอด (Cephalopod) เป็นชั้นในไฟลัมมอลลัสคา เซฟาโลพอดมีลักษณะเด่นตรงที่ร่างกายสมมาตร มีส่วนศีรษะเด่นออกมา การดัดแปลงส่วนเท้าของมอลลัสคา (muscular hydrostat) ไปเป็นแขนหรือหนว.

ใหม่!!: หมึกสายและชั้นเซฟาโลพอด · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำไคยูกัง

ูกัง (海遊館) เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นและทวีปเอเชีย ตั้งอยู่ที่เท็มโปซังฮาเบอวิลเลจ (Tempozan Harbor Village) ในเมืองโอซากา มีทั้งหมด 8 ชั้น เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 ด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์มีโครงเหล็กดัดรูปปลาฉลามวาฬตัวใหญ่ ที่รายล้อมด้วยโลมาหลายตัวเป็นจุดเด่น ซึ่งไฮไลต์ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คือ.

ใหม่!!: หมึกสายและพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำไคยูกัง · ดูเพิ่มเติม »

การขาดธาตุเหล็ก

การขาดธาตุเหล็ก หรือ ภาวะขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency) เป็นการขาดสารอาหารที่สามัญที่สุดในโลก ธาตุเหล็กมีอยู่ในเซลล์ทั้งหมดของร่างกายมนุษย์และมีหน้าที่สำคัญมากหลายอย่าง เช่น การนำเอาออกซิเจนไปยังอวัยวะต่าง ๆ จากปอด โดยเป็นองค์ประกอบกุญแจสำคัญของโปรตีนเฮโมโกลบินในเลือด, การเป็นสื่อนำอิเล็กตรอนภายในเซลล์ในรูป cytochrome, การอำนวยการใช้และการเก็บออกซิเจนภายในกล้ามเนื้อโดยเป็นส่วนของไมโยโกลบิน, และเป็นสิ่งที่จำเป็นในปฏิกิริยาของเอนไซม์ในอวัยวะต่าง ๆ การมีธาตุเหล็กน้อยเกินไปสามารถรบกวนหน้าที่จำเป็นต่าง ๆ เหล่านี้ โดยทำให้เกิดโรค และอาจให้ถึงตายได้ ปริมาณธาตุเหล็กทั้งหมดในร่างกายมีประมาณ 3.8 ก. ในชาย และ 2.3 ก. ในหญิง ส่วนในน้ำเลือด เหล็กจะเวียนไปกับเลือดโดยยึดกับโปรตีน transferrin อย่างแน่น มีกลไกหลายอย่างที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของเหล็กในมนุษย์ และป้องกันไม่ให้ขาด กลไกควบคุมหลักอยู่ในทางเดินอาหาร แต่ถ้าการสูญเสียเหล็กไม่สามารถชดเชยได้จากการทานอาหาร ภาวะขาดเหล็กก็จะเกิดขึ้นในที่สุด และถ้าไม่รักษา ก็จะลามไปเป็นภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia) แต่ก่อนจะถึงภาวะโลหิตจาง ภาวะการขาดธาตุเหล็กโดยที่ยังไม่ถึงภาวะโลหิตจางเรียกว่า Latent Iron Deficiency (LID) หรือ Iron-deficient erythropoiesis (IDE) การขาดธาตุเหล็กที่ไม่รักษาอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจากเหตุขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นภาวะโลหิตจางที่สามัญ โดยมีเม็ดเลือดแดง (erythrocytes) หรือเฮโมโกลบิน ไม่พอ คือ ภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเหล็กจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีเหล็กไม่พอ มีผลลดการผลิตโปรตีนเฮโมโกลบิน ซึ่งเป็นตัวจับออกซิเจนและทำให้เม็ดเลือดแดงสามารถส่งออกซิเจนให้กับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เด็ก หญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ และบุคคลที่มีอาหารไม่สมบูรณ์เสี่ยงต่อโรคมากที่สุด กรณีโดยมากของภาวะโลหิตจางเหตุขาดธาตุเล็กไม่รุนแรง แต่ถ้าไม่รักษาก็อาจสามารถสร้างปัญหาเช่นหัวใจเต้นเร็วหรือไม่ปกติ ปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ การโตช้าสำหรับทารกหรือเด็ก 75-381 refend more than 1000 refend.

ใหม่!!: หมึกสายและการขาดธาตุเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อพระอิสริยยศและพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

งประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รางวัล และพระเกียรติยศมากมาย ดังรายการต่อไปนี้.

ใหม่!!: หมึกสายและรายชื่อพระอิสริยยศและพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อสัตว์น้ำ

รายชื่อสัตว์น้ำ เป็นการรวบรวมรายชื่อของสัตว์น้ำทุกไฟลัม สปีชีส์ไว้เพื่อเป็นการสะดวกต่อค้นหา การศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับสัตว์น้ำ สำหรับผู้ที่จะเพิ่มเติมรายชื่อสัตว์น้ำ ขอให้เรียงลำดับตามตัวอักษร เพื่อให้ง่ายต่อการเพิ่มเติมรายชื่อ ในส่วนของรายชื่อสัตว์น้ำที่มีคนเริ่มเขียนบทความแล้วดูได้ที่ หมวดหมู่ รายชื่อสัตว์น้ำ และ สัตว์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ! สัตว์น้ำ หมวดหมู่:อนุกรมวิธาน (ชีววิทยา).

ใหม่!!: หมึกสายและรายชื่อสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ร็อคแมน X (วิดีโอเกมภาคแรก)

ร็อคแมน X (ロックマンX) หรือ เมกาแมน X (Mega Man X) เป็นวิดีโอเกมภาคแรก ของซีรีส์ ร็อคแมน X โดยวางจำหน่ายในวันที่ 17 ธันวาคม..1993 ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวางจำหน่ายในเครื่องเล่นเกม ซูเปอร์แฟมิคอม และจำหน่ายอีกครั้งในรูปแบบระบบปฏิบัติการวินโดวส์อีกเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1995.

ใหม่!!: หมึกสายและร็อคแมน X (วิดีโอเกมภาคแรก) · ดูเพิ่มเติม »

วิกตอร์ อูโก

วิกตอร์-มารี อูโก (Victor-Marie Hugo; 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1802 — 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1885) เป็นกวี นักเขียนบทละคร นักประพันธ์ ศิลปิน รัฐบุรุษ และนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนชาวฝรั่งเศส เป็นผู้มีบทบาทอย่างสูงสำหรับการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมยุคโรแมนติกในประเทศฝรั่งเศส ชื่อเสียงของอูโกทางด้านงานวรรณกรรมในประเทศฝรั่งเศสมาจากงานกวีนิพนธ์และบทละคร ส่วนงานนวนิยายเป็นที่รู้จักรองลงมา ในบรรดางาน กวีนิพนธ์ของเขา Les Contemplations และ La Légende des siècles จัดเป็นงานที่โดดเด่นและถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก บางครั้งอูโกได้รับการกล่าวขวัญถึงในฐานะกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส ขณะที่เขาเป็นที่รู้จักภายนอกประเทศจากผลงานนวนิยาย เรื่อง Les Misérables (เหยื่ออธรรม) และ Notre-Dame de Paris (ฉบับแปลภาษาอังกฤษเรียกว่า The Hunchback of Notre Dame หรือ คนค่อมแห่งน็อทเทรอะ-ดาม).

ใหม่!!: หมึกสายและวิกตอร์ อูโก · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการของตา

วิวัฒนาการของตา (evolution of the eye) เป็นประเด็นการศึกษาที่ดึงดูดความสนใจ เพราะเป็นตัวอย่างพิเศษที่แสดงวิวัฒนาการเบนเข้าของอวัยวะที่สัตว์กลุ่มต่าง ๆ มากมายมี คือตาที่ซับซ้อนและทำให้สามารถมองเห็นได้วิวัฒนาการเกิดขึ้นอย่างเป็นอิสระกว่า 50-100 ครั้ง ตาที่ซับซ้อนดูเหมือนจะวิวัฒนาการขึ้นภายในไม่กี่ล้านปีในช่วง Cambrian explosion (เหตุการณ์ระเบิดสิ่งมีชีวิตยุคแคมเบรียน) ที่สิ่งมีชีวิตได้เกิดวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว หลักฐานว่าตาได้วิวัฒนาการขึ้นก่อนยุคแคมเบรียนยังไม่มี แต่มีอย่างหลากหลายในชั้นหิน/สิ่งทับถม Burgess shale (ในเทือกเขาร็อกกีของประเทศแคนาดา) ในกลางยุคแคมเบรียน และในหมวดหิน Emu Bay Shale ในออสเตรเลียซึ่งเก่าแก่กว่าเล็กน้อย ตาได้ปรับตัวอย่างหลายหลากตามความจำเป็นของสัตว์ ความต่างกันรวมทั้งความชัด (visual acuity) พิสัยความยาวคลื่นแสงที่สามารถเห็น ความไวในแสงสลัว ๆ สมรรถภาพในการตรวจจับการเคลื่อนไหวหรือการแยกแยะวัตถุ และการเห็นเป็นสี.

ใหม่!!: หมึกสายและวิวัฒนาการของตา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: หมึกสายและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

หมึก (สัตว์)

หมึก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาหมึก เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว มีหนวดรอบปาก 4-5 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว มีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปาก เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอดซึ่งเป็นชั้นของสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ชั้นย่อย Coleoidea ต่างจากกลุ่มสัตว์ที่ใกล้เคียงกันคือ Nautiloidea ซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มภายนอกร่างกาย แต่หมึกส่วนใหญ่กลับมีกระดูกหรือเปลือกอยู่ภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทุ่นหรือพยุงร่างกาย ซึ่งเรียกว่า ลิ้นทะเล ยังมีบางชนิดที่ไม่มีกระดูก แต่มีกระดูกอ่อนทดแทนเพื่อใช้ในการพยุงโครงสร้างร่างกาย คำว่า Cephalopoda ซึ่งเป็นชื่อชั้นที่ใช้เรียกหมึก มาจากภาษากรีกแปลรวมกันว่า "สัตว์หัว-เท้า" (head-footed animals) เนื่องจากหมึกเป็นสัตว์ที่ไม่มีแขนขา เพียงแต่มีระยางค์ยื่นออกจากจากรอบ ๆ บริเวณปากเรียกว่า หนวด เท่านั้นเอง หมึกวิวัฒนาการมาจากมอลลัสกา ในปลายยุคแคมเบรียน หรือราว 500 ล้านปีก่อน แต่กระนั้นหมึกและหอยในยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังมีระบบทางร่างกายหลายอย่างเหมือนกัน กล่าวคือ ระบบทางเดินอาหาร, ปาก, ฟัน และกล้ามเนื้อแบบแมนเทิล ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบหมึกแล้วว่า 1,000 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ หมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย อาศัยอยู่ในห้วงน้ำลึกของมหาสมุทรแอตแลนติก อาจยาวได้ถึง 14 เมตร นับเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเล็กที่สุดมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตรด้วยซ้ำ เช่น หมึกในวงศ์ Idiosepiidae เป็นต้น หมึกมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้เป็นอาหารมาช้านาน ในแทบทุกวัฒนธรรม หมึกถือเป็นสัตว์ทะเลที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร ซึ่งสามารถปรุงสุดได้ทั้งสดและตากแห้ง เช่น ในอาหารไทย เช่น หมึกผัดกะเพรา หรือ หมึกย่าง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะลิ้นทะเล ซึ่งมีแคลเซียมเป็นจำนวนมาก จึงนิยมให้นกหรือสัตว์ปีกกินเพื่อเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย นอกจากนี้แล้ว หมึกยังมักถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหมึกยักษ์หรือหมึกที่มีขนาดใหญ่ เช่น โจมตีใส่เรือดำน้ำนอติลุสของกัปตันนีโม ในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Twenty Thousand Leagues Under the Sea เป็นต้น สำหรับหมึกที่พบในน่านน้ำไทย ได้แก่ หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis), หมึกกล้วย (Photololigo duvauceli), หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana), หมึกสายราชา (Octopus rex) เป็นต้น เลือดปลาหมึกมีสีน้ำเงิน.

ใหม่!!: หมึกสายและหมึก (สัตว์) · ดูเพิ่มเติม »

หมึกพอล

'''หมึกพอล''' หมึกยักษ์ที่มีชื่อเสียงในการทายผลการแข่งขันกีฬาฟุตบอล หมึกพอล (Paul the Octopus, Paul Oktopus) เป็นหมึกยักษ์ที่มีประวัติในการทำนายผลการแข่งขัน ของฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ในการแข่งขันระดับนานาชาติ อย่างถูกต้องหลายครั้ง, Mirror.co.uk, 26 June 2010, Spiegel Online, 23 June 2010 หมึกพอลเกิดที่ประเทศอังกฤษ โดยในระยะแรก อาศัยอยู่ที่ซีไลฟ์ปาร์ก เมืองเวย์เมาท์ ของอังกฤษ แต่ต่อมาย้ายไปอยู่ที่ ซีไลฟ์อควาเรียม ในเมืองโอเบอร์เฮาเซิน ประเทศเยอรมนี ก่อนการแข่งขันฟุตบอลของทีมชาติเยอรมนี หมึกพอลจะเลือกกินหอยแมลงภู่ที่ใส่ไว้ในกล่องพลาสติกใส ที่หนึ่งกล่องจะติดภาพธงชาติเยอรมนี และอีกกล่องจะติดภาพธงชาติของทีมคู่แข่งขันกับเยอรมนี โดยถ้าพอลเลือกกินในกล่องไหน คือการทำนายว่า ทีมนั้นได้รับชัยชนะ ระหว่างการแข่งขันของทีมชาติเยอรมนี ในฟุตบอลยูโร 2008 มีสถิติว่า หมึกพอลทำนายถูกต้อง มากกว่าร้อยละ 80 และในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 หมึกพอลทำนายการแข่งขันของทีมชาติเยอรมนี ถูกต้องทั้งหมด (7 ครั้ง) ที่รวมถึงทายว่าทีมชาติเยอรมนีแพ้ให้ทีมชาติเซอร์เบียในรอบแบ่งกลุ่ม และทายว่าแพ้ให้ทีมชาติสเปนในรอบรองชนะเลิศ และในรอบชิงที่ 3 ทายว่าทีมชาติเยอรมนีชนะทีมชาติอุรุกวัย นอกจากนี้ยังสามารถทายผลการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 นัดชิงชนะเลิศระหว่างทีมชาติเนเธอร์แลนด์และทีมชาติสเปนว่าทีมชาติสเปนจะชนะได้ถูกต้องอีกด้วย หมึกพอลเริ่มเป็นที่สนใจของผู้คนตั้งแต่นัดที่เยอรมนีชนะอังกฤษ จนกระทั่งในการทำนายผลการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ครั้งสุดท้าย มีการถ่ายทอดสดไปทั่วทวีปยุโรป และสร้างกระแสให้สวนสัตว์ต่างๆ ทั่วโลก นำเอาสัตว์มาทำนายผลการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศของฟุตบอลโลกครั้งนี้ เช่น หลินปิง แพนด้ายักษ์ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ของไทย เป็นต้น หมึกพอลตายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม..

ใหม่!!: หมึกสายและหมึกพอล · ดูเพิ่มเติม »

หมึกกระดอง

ลิ้นทะเล หมึกกระดอง เป็นมอลลัสคาประเภทหมึกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sepiida.

ใหม่!!: หมึกสายและหมึกกระดอง · ดูเพิ่มเติม »

หมึกกล้วย

ลื่อนไหวของหมึกหอม หมึกกล้วย เป็นมอลลัสคาประเภทหมึกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Teuthida.

ใหม่!!: หมึกสายและหมึกกล้วย · ดูเพิ่มเติม »

หมึกสายมหัศจรรย์

หมึกสายมหัศจรรย์ (Wonderpus octopus; /วาน-เดอร์-ปุส, โฟ-โต-จี-นิ-คัส/) เป็นหมึกสายชนิดหนึ่ง เป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Wunderpus หมึกสายมหัศจรรย์ มีความยาวโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) มีลำตัวเป็นสีขาวสลับลายปล้องสีน้ำตาลตลอดทั้งตัว กระจายพันธุ์อยู่ทางทะเลแถบช่องแคบแลมเบห์ ทางตอนเหนือของเกาะสุลาเวสี ในอินโดนีเซีย และยังพบได้ที่บาหลี จนถึงฟิลิปปินส์ และทางตะวันออกของวานูอาตู ได้ชื่อว่าเป็นหมึกสายมหัศจรรย์ตรงที่สามารถเปลี่ยนสีและลวดลายตัวเองได้อย่างเร็วมาก ทั้งนี้เพราะเซลล์ใต้ผิวหนังโครมาโตฟอร์ที่ยืดหดตัวอย่างรวดเร็วHochberg, F.G., M.D. Norman & J. Finn 2006.

ใหม่!!: หมึกสายและหมึกสายมหัศจรรย์ · ดูเพิ่มเติม »

หมึกสายวงน้ำเงิน

หมึกสายวงน้ำเงิน หรือ หมึกบลูริง (Blue-ringed octopus) เป็นหมึกในสกุล Hapalochlaena ในอันดับหมึกยักษ์ จัดเป็นหมึกขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง มีจุดเด่น คือสีสันตามลำตัวที่เป็นจุดวงกลมคล้ายแหวนสีน้ำเงินหรือสีม่วงซึ่งสามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม ตัดพื้นลำตัวสีขาวหรือเขียว แลดูสวยงามมาก แต่ทว่า หมึกสายวงน้ำเงินนั้นมีพิษที่ผสมอยู่ในน้ำลายที่มีความร้ายแรงมาก ซึ่งร้ายแรงกว่างูเห่าถึง 20 เท่า ผู้ที่ถูกกัดจะตายภายใน 2-3 นาที ทั้งสามารถฆ่าคนได้ 26 คนในคราวเดียว นับเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: หมึกสายและหมึกสายวงน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

หมึกสายวงน้ำเงินใต้

หมึกสายวงน้ำเงินใต้ หรือ หมึกสายลายฟ้าใต้ (Southern blue-ringed octopus) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังมอลลัสคาประเภทหมึกสายชนิดหนึ่ง จำพวกหมึกสายวงน้ำเงิน.

ใหม่!!: หมึกสายและหมึกสายวงน้ำเงินใต้ · ดูเพิ่มเติม »

หมึกสายเลียนแบบ

หมึกสายเลียนแบบ หรือ หมึกสายพรางตัว (Mimic octopus) เป็นหมึกประเภทหมึกสายชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Thaumoctopus หมึกสายเลียนแบบ มีลักษณะคล้ายกับหมึกสายมหัศจรรย์ (Wunderpus photogenicus) มาก ทั้งนี้เป็นไปเพราะการพรางตัวและเลียนแบบเพื่อป้องกันตัวจากสัตว์นักล่า เพราะหมึกสายมหัศจรรย์นั้นมีน้ำลายที่มีพิษ และเปลี่ยนสีตัวเองได้อย่างรวดเร็วมาก โดยหมึกสายเลียนแบบสามารถที่จะเลียนแบบสัตว์ทะเลต่าง ๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น งูสมิงทะเลปากเหลือง, ปลาลิ้นหมา, ไครนอยด์, กั้ง และสัตว์อื่น ๆ ได้อีกถึง 15 ชนิดPBS.org's article ซึ่งจะไม่แค่เลียนแบบลักษณะรูปร่างภายนอกเท่านั้น แต่ยังที่จะปรับเปลี่ยนท่าทางการเคลื่อนไหวไปตามสัตว์ที่เลียนแบบด้วย เช่น เมื่อเลียนแบบไครนอยด์ ก็จะปล่อยตัวเองล่องลอยไปกับกระแสน้ำ หรือเลียนแบบปลาลิ้นหมา ก็จะห่อตัวลู่ไปกับพื้นทราย ในลักษณะการว่ายน้ำแบบเดียวกับปลาลิ้นหมา และยังอาจจะทำระยางค์แข็งยื่นออกมาคล้ายกับก้านครีบแข็งของปลาลิ้นหมาบางชนิด เช่น ปลาลิ้นหมานกกระตั้ว ซึ่งที่ก้านครีบอกมีพิษ ได้อีกด้วย ขณะฝังตัวอยู่ใต้ทราย โดยโผล่มาแต่ส่วนตา หมึกสายเลียนแบบมีลักษณะคล้ายกับหมึกสายมหัศจรรย์มาก เมื่อโตเต็มที่มีความยาวได้มากกว่า 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) แต่จะแตกต่างจากหมึกสายมหัศจจรรย์ตรงที่มีสีที่เข้มกว่ามาก และมีลวดลายน้อยกว่า พบกระจายพันธุ์ตามพื้นทะเลที่บริเวณช่องแคบเลมเบห์ ทางตอนเหนือของเกาะสุลาเวสี ในอินโดนีเซีย ปกติจะเคลื่อนที่ด้วยการคืบคลานไปกับพื้นทรายใต้ทะเล เมื่อจะหากินหรือหลบซ่อนตัวจะฝังตัวเองลงใต้พื้นทราย โดยโผล่มาแค่ส่วนตาที่ยื่นออกมาจากส่วนหัว โดยมีประสาทรับรสและประสาทรับความรู้สึกที่ไวมากในหนวดแต่ละเส้น The Mimic Octopus, "Nick Baker's Weird Creatures".

ใหม่!!: หมึกสายและหมึกสายเลียนแบบ · ดูเพิ่มเติม »

หมึกสายเล็ก

หมึกสายเล็ก, หมึกยักษ์เล็ก, หมึกสายขาว (Dollfus' octopus) เป็นมอลลัสก์ประเภทหมึกสายชนิดหนึ่ง จัดเป็นหมึกสายขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 6–12 เซนติเมตร มีหนวด 8 เส้น แต่ละเส้นมีความยาวใกล้เคียงกันโคนหนวดแต่ละเส้นมีแผ่นหนังเชื่อมติดกัน ด้านในของหนวดทุกเส้นมีปุ่มดูดเรียงกันเป็นสองแถวสำหรับจับสัตว์กินเป็นอาหาร ลำตัวสีเทาอมดำหรือสีน้ำตาลอ่อน ด้านท้องสีขาว ซ่อนตัวอยู่ตามพื้นที่เป็นโคลนหรือโคลนปนทราย พบตามชายฝั่งทะเลทั่วไป กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ เช่น กุ้ง ปู หรือหอย เป็นอาหาร เป็นหนึ่งในชนิดของหมึกสายที่พบได้ในเขตน่านน้ำไทย ในเขตจังหวัดระยอง มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า "หมึกกุ๊งกิ๊ง" อันมาจากเสียงของเปลือกหอยที่ใช้หย่อนลงไปจับกระทบกัน เป็นหมึกที่ชาวประมงจะจับโดยการใช้เปลือกหอยโนรีผูกเชือกหย่อนลงไปในทะเล รอให้หมึกเข้ามาซ่อนตัวในเปลือกหอย แล้วจึงสาวเชือกขึ้นมาหลังจากผ่านไป 2 วัน หากเป็นเรือประมงขนาดใหญ่จะวางเปลือกหอยด้วยวิธีการนี้เป็นหมื่นชิ้น แต่วิธีการนี้จะเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมอย่างยิ่ง โดยฤดูกาลที่หมึกสายเล็กจะมีมากที่สุด คือ ช่วงเข้าพรรษา ซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุม อาจจับได้ปริมาณมากครั้งละ 20 กิโลกรัม ในขณะที่ภาษาใต้เรียกว่า "วุยวาย" หรือ "โวยวาย" หรือ "วาย" และมีวิธีการจับที่คล้ายกันที่จังหวัดเพชรบุรีและตราด แต่ที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา จะใช้วิธีการจับด้วยการใช้เหล็กแหลมแทงตามชายหาดเมื่อน้ำลด โดยล่อให้หมึกสายเล็กใช้หนวดจับเหยื่อซึ่งเป็นเนื้อปูจำพวกปูเปี้ยวหรือปูลมที่บริเวณปากรู จากนั้นจึงใช้เหล็กแหลมแทงเข้าที่บริเวณใต้ตา จึงจะได้ทั้งตัว ซึ่งวิธีการนี้ต้องใช้ความชำนาญ.

ใหม่!!: หมึกสายและหมึกสายเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

หมึกแวมไพร์

หมึกแวมไพร์ (Vampire squid) เป็นมอลลัสกาประเภทหมึกชนิดหนึ่ง หมึกแวมไพร์ เป็นสัตว์ที่มีอายุอยู่มานานกว่า 200 ล้านปีแล้ว โดยจัดอยู่ในวงศ์ Vampyroteuthidae และสกุล Vampyroteuthis ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสายที่เชื่อมต่อระหว่างหมึกสายกับหมึกกล้วย ซึ่งหมึกแวมไพร์ จัดเป็นหมึกที่อยู่ในอันดับของตนเอง หมึกแวมไพร์ ได้ชื่อนี้มาจากรูปร่างหน้าตาที่แลดูน่ากลัว โดยมีพังผืดเชื่อมต่อกันระหว่างหนวดแต่ละเส้นทั้งหมด 8 เส้น เสมือนร่มหรือครีบ แลดูคล้ายเสื้อคลุมตัวใหญ่ ใช้สำหรับว่ายไปมาเหมือนการบินของนกหรือค้างคาว แต่หมึกแวมไพร์กลับเป็นสัตว์ที่ไม่มีอันตรายใด ๆ มีความยาวเต็มที่ประมาณ 28 เซนติเมตรเท่านั้น มีสีผิวน้ำตาลแดงปนดำ ด้านในของลำตัวเป็นสีดำสนิทและมีหนามแหลม ๆ เรียงตัวตามแนวของหนวด มีดวงตากลมโตสีแดงก่ำ หรือสีน้ำเงิน ตาของหมึกแวมไพร์ ใต้หนวด หมึกแวมไพร์ เป็นหมึกที่อาศัยอยู่ในทะเลลึกที่มีความลึกตั้งแต่ 300-3,000 เมตร เป็นสถานที่ ๆ ไม่มีแสง และมีปริมาณออกซิเจนน้อย แต่หมึกแวมไพร์ก็อาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี และมักตกเป็นอาหารของสัตว์ทะเลที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ จึงมีกลไกในการป้องกันตนเองด้วยการเรืองแสงลำตัวตัวเองได้ ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย ที่ส่องแสงเรือง ๆ เป็นสีฟ้า หรือสีน้ำเงิน ซึ่งทำให้ตาของผู้ที่มาคุกคามพร่ามัวไปได้.

ใหม่!!: หมึกสายและหมึกแวมไพร์ · ดูเพิ่มเติม »

หอยงวงช้างกระดาษ

หอยงวงช้างกระดาษ (Paper nautilus, Argonaut) เป็นมอลลัสคาประเภทหมึก จำพวกหมึกสายสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Argonauta แม้จะได้ชื่อว่าเป็นหอยงวงช้าง แต่ก็มิได้ถูกจัดให้อยู่ในจำพวกหอยงวงช้าง แต่ถูกจัดให้เป็นหมึก.

ใหม่!!: หมึกสายและหอยงวงช้างกระดาษ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอกวอตส์

รงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ (Hogwarts School of Witchcraft and Wizardry) ย่อเป็น ฮอกวอตส์ เป็นโรงเรียนสอนเวทมนตร์สมมติของประเทศสก็อตแลนด์ซึ่งเปิดสอนนักเรียนอายุระหว่างสิบเอ็ดถึงสิบแปดปี และเป็นฉากท้องเรื่องหลักในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของ เจ. เค. โรว์ลิง หกเล่มแรก โรว์ลิงแนะว่าเธออาจได้ชื่อมาโดยไม่ตั้งใจจากต้นฮอกวอร์ต (Croton capitatus) ซึ่งเธอเห็นที่คิวการ์เดนส์ก่อนเขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์ แม้ว่าชื่อ "เดอะฮอกวอตส์" และ "ฮอกก์วอตส์" จะปรากฏในหนังสือ How To Be Topp by Geoffrey Willans ของไนเจล โมส์เวิร์ธเมื่อปี 2497 แล้ว โรงเรียนฮอกวอตส์ได้รับคะแนนเสียงเป็นสถานศึกษาที่ดีที่สุดของสกอตแลนด์อันดับที่ 36 ในการจัดอันดับออนไลน์เมื่อปี 2551 เอาชนะโรงเรียนลอเรตโตของเอดินบะระ ซึ่งผู้อำนวยการการจัดอันดับเครือข่ายโรงเรียนอิสระ โรงเรียนฮอกวอตส์ถูกเพิ่มเข้าไปในรายการโรงเรียน "เพื่อความสนุก".

ใหม่!!: หมึกสายและฮอกวอตส์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮัสเทอร์

ัสเทอร์ (Hastur) หรือฮัสทูลหรือฮัสโทล เป็นหนึ่งในสิ่งที่เรียกว่า เกรทโอลด์วัน ในเรื่องชุดตำนานคธูลู มีฉายาว่า ผู้มิอาจเอ่ยนาม (the Unspeakable และ Him Who Is Not to be Named) ฮัสเทอร์ปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น ไฮตา คนเลี้ยงแกะ (Haïta the Shepherd) ของแอมโบรส เบียร์ซซึ่งตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2436 โดยเป็นเทพของคนเลี้ยงแกะ ต่อมา โรเบิร์ต ดับเบิลยู. แคมเบอร์ได้นำฮัสเทอร์มาใช้ในงานประพันธ์ของตนเองโดยเป็นทั้งชื่อของบุคคลและสถานที่ซึ่งเชื่อมโยงกับดวงดาวต่างๆ รวมถึงดาวอัลดิบาแรน.

ใหม่!!: หมึกสายและฮัสเทอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ครอบครัวนี้ ไม่มีปัญหา?

ครอบครัวนี้ ไม่มีปัญหา? (The Squid and the Whale) เป็นภาพยนตร์ของผู้กำกับชาวอเมริกัน Noah Baumbach เป็นเรื่องราวของพี่ชายน้องชายคู่หนึ่งในบรู๊กลิน ซึ่งพ่อแม่หย่าร้างกันในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ชื่อของภาพยนตร์มีที่มาจากแบบจำลองรูปปลาหมึกยักษ์และปลาวาฬสเปิร์มในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งอเมริกา ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายเป็นครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ 2005 หมวดหมู่:ภาพยนตร์ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2548 หมวดหมู่:ภาพยนตร์อเมริกัน หมวดหมู่:ภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ หมวดหมู่:ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในนครนิวยอร์ก.

ใหม่!!: หมึกสายและครอบครัวนี้ ไม่มีปัญหา? · ดูเพิ่มเติม »

ความเจ็บปวด

วามเจ็บปวด (Pain) เป็นความทุกข์ทางกายที่เกิดเพราะสิ่งเร้าที่รุนแรงหรืออันตราย แต่เพราะมันเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อน ที่เป็นอัตวิสัย การนิยามมันจึงเป็นเรื่องยาก องค์การมาตรฐานสากล International Association for the Study of Pain (IASP) ได้กำหนดนิยามที่ใช้อย่างกว้างขวางว่า "ความเจ็บปวดเป็นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสและทางอารมณ์ ที่สัมพันธ์กับโอกาสหรือการเกิดขึ้นจริง ๆ ของความเสียหายในเนื้อเยื่อ หรือที่บอกโดยใช้คำซึ่งกล่าวถึงความเสียหายเช่นนั้น" Derived from ในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ความเจ็บปวดพิจารณาว่าเป็นอาการของโรคที่เป็นเหตุ ความเจ็บปวดปกติจะจูงใจให้บุคคลถอยตัวออกจากสถานการณ์ที่ทำให้เสียหาย ให้ปกป้องรักษาอวัยวะที่บาดเจ็บเมื่อกำลังหาย และให้หลีกเลี่ยงประสบการณ์คล้าย ๆ กันในอนาคต ความเจ็บปวดโดยมากจะหายไปเองเมื่อหมดสิ่งเร้าอันตรายและเมื่อแผล/การบาดเจ็บหายดี แต่ก็อาจคงยืนต่อไปได้ ความเจ็บปวดบางอย่างสามารถเกิดแม้เมื่อไม่มีสิ่งเร้าอันตราย ไม่มีความเสียหาย และไม่มีโรค ในประเทศพัฒนาแล้ว ความเจ็บปวดเป็นเหตุสามัญที่สุดให้คนไข้หาหมอ มันเป็นอาการสามัญที่สุดในโรคต่าง ๆ และสามารถบั่นทอนคุณภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตของคนไข้ ยาแก้ปวดธรรมดา ๆ ใช้ได้ในกรณี 20-70% ปัจจัยทางจิตอื่น ๆ รวมทั้งการได้ความช่วยเหลือจากสังคม การสะกดจิต ความตื่นเต้น หรือเครื่องล่อความสนใจต่าง ๆ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความทุกข์เนื่องจากความเจ็บปว.

ใหม่!!: หมึกสายและความเจ็บปวด · ดูเพิ่มเติม »

ซูชิ

ซูชิ หรือ ข้าวปั้นมีหน้า เป็นอาหารญี่ปุ่น ที่ข้าวมีส่วนผสมของน้ำส้มสายชู และกินคู่กับปลา เนื้อ หรือของคาวชนิดต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น ซูชิมักจะหมายถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของซูชิเมชิ (寿司飯, ข้าวที่ผสมน้ำส้มสายชู) และมีหน้าแบบต่าง ๆ หน้าที่นิยมได้แก่ อาหารทะเล ผัก ไข่ เห็ด เนื้อที่นำมาใช้อาจจะเป็นเนื้อดิบหรือเนื้อที่ผ่านกระบวนการทำอาหารแล้ว สำหรับในประเทศอื่น และซูชิส่วนใหญ่มักใส่วาซาบิบนข้าวเพื่อให้ได้ความอร่อยมากยิ่งขึ้น ซูชิ หมายถึง การรวมกันระหว่างปลากับข้าว ซูชิมีวิวัฒนาการมาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วซึ่งเกิดจากความต้องการถนอมอาหารของคนญี่ปุ่น คำว่า "ซูชิ" นิยมหมายถึง นิงิริซูชิ ที่เป็นข้าวมาอัดเป็นก้อนและมีเนื้อปลาวางบนด้านหน้าเท่านั้น.

ใหม่!!: หมึกสายและซูชิ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามครีบขาว

ปลาฉลามครีบขาว (Whitetip reef shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae) จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Triaenodon มีรูปร่างโดยทั่วไปคล้ายกับปลาฉลามในวงศ์เดียวกันนี้ รูปร่างเพรียวยาว แต่มีส่วนหัวที่แบนราบกว่า ตาโต มีจุดเด่นอยู่ที่ปลายครีบมีแต้มสีขาวที่ครีบหลังและครีบหาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1.6 เมตร น้ำหนักราว 18 กิโลกรัม ถือเป็นปลาฉลามขนาดเล็ก มีพฤติกรรมชอบอยู่ลำพังตัวเดียว หรือบางครั้งจะพบได้เป็นฝูง โดยอาจพบได้มากกว่า 30-40 ตัว โดยมากมักจะอาศัยและหากินบริเวณพื้นน้ำในเวลากลางคืน ในช่วงกลางวันจะพักผ่อน อาหารโดยมาก ได้แก่ กุ้ง, หอย, ปู, หมึกยักษ์ และปลาขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ โดยปลาฉลามครีบขาวมีความพิเศษต่างจากปลาจำพวกอื่น ๆ คือ การที่มีส่วนหัวที่แบนราบและลำตัวที่เพรียวยาวคล้ายปลาไหล ทำให้สามารถซอกซอนไปในโขดหินหรือแนวปะการังเพื่อหาอาหารได้ ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 3-5 ตัว ตั้งท้องราว 1 ปี มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 25 ปี เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 5 ปี พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย จนถึงเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ในน่านน้ำไทยจะพบได้ที่บริเวณหมู่เกาะสิมิลัน จัดเป็นปลาฉลามที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์ และครีบสามารถนำไปทำเป็นหูฉลามได้เหมือนกับปลาฉลามชนิดอื่น.

ใหม่!!: หมึกสายและปลาฉลามครีบขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาฉลามครีบเงิน

ปลาฉลามครีบเงิน (Silvertip shark) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาฉลามครีบดำ (Carcharhinidae) มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 3 เมตร มีลักษณะคล้ายกับปลาฉลามครีบดำ (C. melanopterus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน เพียงแต่มีปลายครีบต่าง ๆ เป็นสีขาวหรือสีเงิน อันเป็นที่มาของชื่อ ลูกปลาแรกเกิดมีความยาวประมาณ 50-80 เซนติเมตร ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 5-6 ตัว ลูกปลาจะหากินในเขตน้ำตื้น เมื่อเติบใหญ่ขึ้นจะลงไปหากินบริเวณที่ลึก ประมาณ 40 เมตร หรือมากกว่า เคยมีรายงานว่าสามารถลงไปได้ลึกถึง 400 เมตร อาหารส่วนที่กิน ได้แก่ ปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ปลานกกระจอก, ปลาลิ้นหมา, ปลากระเบนนก, ปลาทูน่า, ปลาปักเป้า, ปลานกแก้ว และหมึกสาย เป็นต้น มีถิ่นหากินในระยะไม่เกิน 2-5 กิโลเมตร พบกระจายพันธุ์ตามแนวปะการังและชายฝั่งของเขตร้อนและเขตอบอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ในน่านน้ำไทยจะหาได้ยาก พบได้ที่บริเวณหมู่เกาะสิมิลัน, เกาะตาชัย หรือบริเวณกองหินที่ห่างไกลจากชายฝั่ง จัดเป็นปลาฉลามอีกชนิดหนึ่ง ที่มีอุปนิสัยไม่ดุร้ายก้าวร้าวมากนัก จึงเป็นที่ชื่นชอบของบรรดานักดำน้ำอีกชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: หมึกสายและปลาฉลามครีบเงิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลมอเรย์ยักษ์

ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ หรือ ปลาหลดหินยักษ์ (Giant moray) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae) มีรูปร่างเรียวยาวเหมือนปลาไหลมอเรย์ชนิดอื่น ๆ พื้นลำตัวสีเหลืองอมน้ำตาลแต้มด้วยจุดและลายสีน้ำตาลไหม้อยู่ทั่วไป ด้านข้างลำตัวบริเวณคอมีจุดสีดำเด่นชัดหนึ่งแห่ง ปลาไหลมอเรย์ยักษ์มีความยาวโดยเฉลี่ย 1.5 เมตร ยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5-3 เมตร น้ำหนักถึง 36 กิโลกรัม นับเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, หมู่เกาะริวกิว, ฮาวาย, นิวแคลิโดเนีย, ฟิจิ, หมู่เกาะออสเตรียล มักซุกซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินในแนวปะการัง โดยโผล่มาแค่เฉพาะส่วนหัว กินอาหาร ได้แก่ กุ้ง, ปู, ปลา และหมึกสาย ด้วยการงับด้วยกรามที่แข็งแรงและแหลมคม ปลาไหลมอเรย์ยักษ์ แม้จะมีรูปร่างหน้าตาที่น่ากลัว แต่ที่จริงแล้วเป็นปลาที่รักสงบ ไม่ดุร้าย แต่อาจทำอันตรายนักดำน้ำได้หากไปรบกวนถูก หรือเข้าใจผิดเพราะคิดว่าเป็นอาหาร ซึ่งอาจถูกกัดเป็นแผลเหวอะหวะถึงขั้นนิ้วขาดได้ และจะมีฤดูกาลที่ดุร้าย คือ ฤดูผสมพันธุ์ นอกจากนี้แล้วในเนื้อจะมีสารพิษซิกัวเทอรา ความยาวทั้งตัวในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ เป็นปลาไหลมอเรย์อีกชนิดหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมของนักประดาน้ำ และเลี้ยงแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ.

ใหม่!!: หมึกสายและปลาไหลมอเรย์ยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาไหลมอเรย์หน้าปาน

ปลาไหลมอเรย์หน้าปาน หรือ ปลาหลดหินหน้าปาน (Darkspotted moray, Fimbriated moray, Yellowhead eel) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae) มีลำตัวเรียวยาวอวบ ปลายหางเรียวหัวและลำตัวมีสีเหลืองอมเทา มีด่างสีคล้ำบนใบหน้าและเป็นแต้มขนาดใหญ่บนลำตัว ครีบต่าง ๆ ไปจนถึงปลายหางมีสีดำมากขึ้น ปลาขนาดใหญ่มีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มมากขึ้น มีความยาวเต็มที่ประมาณ 80 เซนติเมตร กินอาหารประเภท ปลา, กุ้ง, ปู และหมึกสาย มีพฤติกรรมรอเหยื่ออยู่ในเขตน้ำตื้นหรือบริเวณชายฝั่ง อาศัยอยู่ในแนวปะการังน้ำตื้นและหาดหิน กระจายพันธุ์ในเขตอินโด-แปซิฟิก และมาดากัสการ์ ไปจนถึงออสเตรเลีย และไมโครนีเซีย ในน่านน้ำไทยเป็นปลาที่พบได้ในเขตทะเลอันดามัน เป็นปลาที่พบได้บ่อ.

ใหม่!!: หมึกสายและปลาไหลมอเรย์หน้าปาน · ดูเพิ่มเติม »

ปูแมงมุมญี่ปุ่น

ปูแมงมุมญี่ปุ่น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าMacrocheira kaempferi, เป็นสายพันธุ์ปูทะเลที่สามารถพบได้ทั่วไปในน่านน้ำของประเทศญี่ปุ่น มันถูกจับเพื่อนำมาทำอาหารเนื่องจากเนื้อมีรสชาติดีและถือว่าเป็นอาหารอันโอชะของญี่ปุ่น.

ใหม่!!: หมึกสายและปูแมงมุมญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

แผนที่ภูมิลักษณ์

"แผนที่ภูมิลักษณ์""ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ topography ว่า "ภูมิลักษณ์" หรือ "ลักษณะภูมิประเทศ" (topographic map) หรือ "แผนที่ topographic" ของระบบประสาท เป็นการส่งข้อมูลอย่างเป็นระเบียบของพื้นผิวในร่างกายที่เกิดความรู้สึก เช่นที่เรตินาหรือผิวหนัง หรือในระบบปฏิบัติงานเช่นระบบกล้ามเนื้อ ไปยังโครงสร้างต่าง ๆ ของสมองในระบบประสาทกลาง แผนที่ภูมิลักษณ์มีอยู่ในระบบรับความรู้สึกทั้งหมด และในระบบสั่งการ (motor system) ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: หมึกสายและแผนที่ภูมิลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์

หน้าปก Vingt mille lieues sous les mers ใต้ทะเลสองหมื่นลีก ฉบับภาษาฝรั่งเศส ใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์ (Vingt mille lieues sous les mers; Twenty Thousand Leagues Under the Sea) เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่เขียนโดยฌูล แวร์น ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1870 นวนิยายกล่าวถึง กัปตันนีโม กับเรือดำน้ำของเขา ชื่อ นอติลุส ผ่านมุมมองของศาสตราจารย์ปิแอร์ แอรอนแนกซ์ นักชีววิทยาผู้โดยสารไปกับเรือ เรือดำน้ำลำนี้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างลับๆ โดยหน่วยงานของรัฐบาล และเดินทางไปทั่วโลก ตอนที่มีชื่อเสียงที่สุดของนิยาย คือตอนที่เรือดำน้ำถูกโจมตีโดย ปลาหมึกยักษ์ ลูกเรือต้องต่อสู้กับปลาหมึกยักษ์และเสียชีวิตไปหลายคน.

ใหม่!!: หมึกสายและใต้ทะเลสองหมื่นโยชน์ · ดูเพิ่มเติม »

โมซาซอร์

มซาซอร์ (Mosasaur) ความหมายชื่อคือ "ราชากิ้งก่าแม่น้ำมิวส์"เป็นกลุ่มกิ้งก่าทะเลคล้ายงูในวงศ์ Mosasauridae ที่เคยมีชีวิตอยู่ปลายยุคครีเทเชียส เชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากสัตว์กลุ่มกิ้งก่าและงู (Squamata) ที่รู้จักกันว่า aigialosaurs ช่วงต้นยุค และหลังจากที่มีการวิเคราะห์วิวัฒนาการของมัน โดยดูโครงสร้างขากรรไกรและกะโหลกศีรษะที่ยืดหยุ่นได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากิ้งก่ากลุ่มนี้น่าจะเป็นญาติใกล้ชิดกับงู โมซาซอร์เป็นญาติห่างจากไลโอพลัวเรอดอนแต่โมซาซอร์ยาวกว่ามากและโมซาซอร์อาศัยกระจายไปหลายส่วนของโลก เพราะในยุคนี้มีระดับน้ำทะเลสูง เรียกว่าน้ำทะเลไปถึงไหนเจ้าสัตว์กลุ่มนี้ก็ไปถึงนั่น ดังจะเห็นได้จากมีการค้นพบฟอสซิลในหลายพื้นที่ ทั้งในอเมริกาเหนือ ได้แก่ แคนาดาและสหรัฐ ที่พบในหลายรัฐซึ่งเคยเป็นเส้นทางทะเล นอกจากนี้ยังพบในเนเธอร์แลนด์ สวีเดน แอฟริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาะเวกานอกชายฝั่งขั้วโลกใต้ โดยพบฟอสซิลครั้งแรกในเขตเหมืองหินปูนในเมืองมาสตริกช์ของเนเธอร์แลนด์ ปี 1764 และจากฟอสซิลที่ค้นพบทำให้แบ่งสัตว์กลุ่มนี้ได้ 4 วงศ์ย่อยคือ Halisaurinae,Mosasaurinae, Plioplatecarpinae และTylosaurinae สกุลที่ใหญ่ที่คือไทโลซอรัส ฮอฟมานี โมซาซอร์เป็นกิ้งก่าทะเลที่ว่ายน้ำเก่งและสามารถปรับตัวได้ดีเพื่ออยู่ในเขต ทะเลน้ำตื้นและอบอุ่น และแม้แต่ออกลูกในน้ำ ซึ่งออกลูกเป็นตัว ไม่ต้องขึ้นฝั่งเพื่อไปวางไข่เหมือนเต่าทะเลทั่วไป ส่วนอาหารกินได้ทุกอย่าง รวมถึงพวกทากทะเล หอยและสัตว์ทะเลอื่น ๆ เพราะมีฟันแข็งแรง ตัวเล็กสุดมีขนาดยาวประมาณ 5-9 เมตร ในวงศ์ย่อย ฮาลิซอร์ ส่วนตัวใหญ่สุดยาวระหว่าง 16.8-20 เมตรคือ "ไทโลซอร์รัส" แต่นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังหลายคนและข้อมูลบีบีซีเชื่อว่ามันไม่ได้ยาวแค่นั้นและเป็นไปได้ที่อาจยาวถึง30เมตรหรือหนักราว58-74ตันและอาจเคยกินวาฬหัวทุยแล้วก็ได้ด้วยกรามที่แข็งแรงมันจึงสามารถกัดเหล็กชั้นหนาจนขาดได้และบางทีมันอาจว่ายน้ำได้ถึง 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงก็ได้ซึ่งเหยื่อที่โมซาซอร์ก็คือฉลามขาว หมึกยักษ์หรือแม้แต่โมซาซอร์ด้วยกันเองโดยมีชีวิตอยู่ช่วง 65-89 ล้านปีก่อนและบางทีอาจจะกินวาฬได้ด้วย หมวดหมู่:สัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในยุคไดโนเสาร์ หมวดหมู่:โมซาซอร์ หมวดหมู่:กิ้งก่าในยุคครีเทเชียส หมวดหมู่:กิ้งก่า.

ใหม่!!: หมึกสายและโมซาซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เสียงเรียกของคธูลู

"เสียงเรียกของคธูลู" (The Call of Cthulhu) เป็นเรื่องสั้นที่ประพันธ์โดยเอช. พี. เลิฟคราฟท์ในปีพ.ศ. 2469 และตีพิมพ์ครั้งแรกในวารสาร Weird Tales ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471.

ใหม่!!: หมึกสายและเสียงเรียกของคธูลู · ดูเพิ่มเติม »

8

8 (แปด) เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 7 (เจ็ด) และอยู่ก่อนหน้า 9 (เก้า).

ใหม่!!: หมึกสายและ8 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

OctopodaOctopoidaOctopusหมึกยักษ์อันดับหมึกยักษ์อันดับหมึกสายปลาหมึกยักษ์ปลาหมึกสาย🐙

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »