โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หมากล้อม

ดัชนี หมากล้อม

หมากล้อม หรือ โกะ (เหวยฉี) เป็นเกมหมากกระดานชนิดหนึ่ง เป็นเกมกลยุทธ์ซึ่งผู้เล่นสองคนต่างมุ่งหมายล้อมเอาพื้นที่ในกระดานให้ได้มากกว่าคู่แข่ง เดิมถือกำเนิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว เป็นสิ่งแสดงถึงความเก่าแก่และลึกซึ้งของอารยธรรมจีน เหวยฉีเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ปัญญาชนชั้นสูงและขุนนางผู้บริหารประเทศ ในสมัยนั้น เหวยฉีหรือหมากล้อมเป็นหมากกระดานประจำชาติจีน ถูกจัดเป็น 1 ใน 4 ศิลปะประจำชาติจีน (ได้แก่ หมากล้อม ดนตรี กลอน ภาพ) เป็นภูมิปัญญาจีนแท้ ในขณะที่หมากรุกจีนยังมีเค้าว่ารับมาจากอินเดียและเพิ่งจะแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ถังเท่านั้น ต่อมา เหวยฉี ได้แพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ที่ญี่ปุ่นนี้เอง ที่เป็นแผ่นดินทองของ "โกะ" ซึ่งเป็นคำที่ญี่ปุ่นใช้เรียกเหวยฉีหรือหมากล้อม โกะรุ่งเรืองอย่างมากในญี่ปุ่น สมัยโชกุนโทะกุงะวะ ได้สนับสนุนให้ทหารเล่นโกะ เปลี่ยนวิธีการรบด้วยกำลังเป็นการรบด้วยปัญญา และยังสนับสนุนให้โกะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นอีก โชกุนโทะกุงะวะได้ตั้งสำนักโกะขึ้น 4 สำนัก เพื่อคัดเลือกผู้เป็นยอดฝีมือโกะของญี่ปุ่น โดยจัดให้สำนักทั้ง 4 คือ ฮงอินโบ, อิโนะอูเอะ, ยาสุอิ และ ฮายาชิ ส่งตัวแทนมาประลองฝีมือเพื่อชิงตำแหน่ง "เมย์จิน" จากการส่งเสริมโกะของญี่ปุ่น ทำให้อีกประมาณ 100 ปีต่อมา มาตรฐานฝีมือนักเล่นโกะของญี่ปุ่นก็ก้าวนำจีน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของโกะรวมทั้งประเทศเกาหลีไปไกลแล้ว ปัจจุบันทั่วโลกเล่นโกะกันอย่างแพร่หลาย โกะเรียกเป็นสากลว่า "Go" ปัจจุบัน โกะแพร่หลายในกว่า 50 ประเทศ ทวีปออสเตรเลียและอเมริกาเหนือทุกประเทศ อเมริกาใต้, ยุโรป, เอเชีย เกือบทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย ในทวีปแอฟริกาแพร่หลายในประเทศแอฟริกาใต้ ประชากรที่เล่นโกะในจีนประมาณว่ามี 10 ล้านคน, ญี่ปุ่น 10 ล้านคน, เกาหลีใต้ 10 ล้านคน (เกาหลีใต้มีประชากรทั้งหมด 44 ล้านคน ประชากรที่เล่นโกะมีถึงเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรประเทศ), ในไต้หวัน 1 ล้านคน, สหรัฐอเมริกา 1 ล้านคน สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งญี่ปุ่น (Japan Go Association) ได้จัดการแข่งขันหมากล้อมสมัครเล่นชิงแชมป์โลกขึ้นครั้งแรกในปี 2522 มีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมแข่งขัน 15 ประเทศ และเพิ่มเป็น 29 ประเทศในปี 2525 จึงได้มีการจัดตั้งสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ (International Go Federation) ขึ้น ต่อมามีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม 2558 มีสมาชิกจำนวน 75 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในยุโรป ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ ตั้งแต่ปี 2526 และต่อมาในปี 2527 ได้มีการส่งตัวแทนไปแข่งครั้งแรกที่กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น สำหรับการก่อตั้งสมาคมอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ซึ่งมีการก่อตั้ง ชมรมหมากล้อม (โกะ) ประเทศไทย โดยนายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ทำให้มีคนไทยเล่นมากขึ้น มีการบรรจุเป็นกีฬาอย่างเป็นทางการในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อปี 2544 จึงมีการจดทะเบียนเป็น สมาคมกีฬาหมากล้อม และต่อมาในปี 2546 ได้กลายเป็น สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย สำนักงานตั้งอยู่ที่ ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ทำให้กีฬาหมากล้อมในประเทศไทยมีการแพร่หลายมากขึ้นจนได้รับการบรรจุในกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลทิพย์ มุสิกพันธ์ ได้ทำการศึกษาวิจัยโครงการ การศึกษาผลของการเล่นหมากล้อมที่มีต่อเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการเผชิญปัญหา และความคิดเชิงระบบ เพื่อศึกษาวิจัยและวัดผลจากการเล่นหมากล้อมต่อ 4 ทักษะ คือ เชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และความคิดเชิงระบบของเยาวชนไทยในระดับมัธยมศึกษาพบว่า เยาวชนที่เล่นกีฬาหมากล้อมมีการเปลี่ยนแปลงทางบวกในด้านพัฒนาเชาวน์ปัญญาความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงระบบ ช่วยให้ผู้เล่นมีสมาธิและความจดจำดีขึ้น รวมถึงความสามารถในการวางแผนเพิ่มขึ้น.

46 ความสัมพันธ์: ชเว ช็อล-ฮันพัก โบ-ก็อมการเปิดหมากแบบชูซะกุกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 44กีฬาในประเทศญี่ปุ่นก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์มะซะโอะ คะโตยุกะริ โยะชิฮะระยูโรเกมราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 24ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 25รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อยฤทธิ เบญจฤทธิ์สีขาวสปอร์ตแอคคอร์ดหมากพระเจ้า สั่งเป็นสั่งตายหมากรุกญี่ปุ่นคอมพิวเตอร์หมากล้อมในเอเชียนเกมส์ 2010หลิน ไห่เฟิงออสคาร์ คอร์เชลท์อู๋ ชิงหยวนฮิคารุเซียนโกะฮิคารุเซียนโกะ (เกม)ฮงอินโบ ชูโฮะทฤษฎีเกมทะเกะชิ โอะบะตะขั้นตอนวิธีมินิแมกซ์ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊กซามูไรประวัติศาสตร์ของจิตรกรรมปีศาจแมวโคมะปีแยร์ กอลแมซนภัทร์ อิชยาวณิชย์แอลฟาโกะพบอี เซ-ดลโพกะโยเกโอเทลโล่โจแอนน์ มิสซิงแฮมโฆษา อารียาเกมเกมกระดานเอเชียนอินดอร์-มาร์เชียลอาร์ตสเกมส์ 2013เดอะ โกะ มาสเตอร์เนี่ย อู้เซ็งGOPlayok

ชเว ช็อล-ฮัน

ว ช็อล-ฮัน (최철한; Choi Cheol-Han; 12 มีนาคม ค.ศ. 1985 —) เป็นนักหมากล้อมระดับอาชีพ 9 ดั้ง ชาวเกาหลีใต้ ตามการให้คะแนนอย่างเป็นทางการที่ส่งไปยังสมาคมของเกาหลีใต้ในเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: หมากล้อมและชเว ช็อล-ฮัน · ดูเพิ่มเติม »

พัก โบ-ก็อม

ัก โบ-ก็อม (박보검; เกิด 16 มิถุนายน ค.ศ. 1993) เป็นนักแสดงชาวเกาหลีใต้ มีผลงานการแสดงครั้งแรกในภาพยนตร์ในปี..

ใหม่!!: หมากล้อมและพัก โบ-ก็อม · ดูเพิ่มเติม »

การเปิดหมากแบบชูซะกุ

การเปิดหมากแบบชูซะกุ (秀策流布石; Shusaku opening) เป็นการเปิดหมากแบบดั้งเดิมด้วยตัวหมากสีดำในหมากล้อม ซึ่งได้รับการพัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น (แต่ไม่ได้คิดค้น) โดยฮงอินโบ ชูซะกุ กับตัวแปรของมัน ซึ่งประกอบด้วยพื้นฐานของทฤษฎีที่สำคัญของฟุเซะกิมาเกือบศตวรรษ กระทั่งช่วงทศวรรษที่ 1930 ได้มีการแนะนำการใช้แต้มต่อแบบโกะมิดะชิ และการคิดค้นที่สำคัญภายใต้การเกิดขึ้นของกลยุทธ์การเปิดหมากแบบชินฟุเซะกิ อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การเปิดหมากแบบชูซะกุโดยมืออาชีพหลายราย ที่ใช้ในการแข่งขันแบบไม่มีแต้มต่อ ก็ยังเป็นเครื่องยืนยันถึงประสิทธิภาพของมันได้เป็นอย่างดี การเปิดหมากแบบชูซะกุดั้งเดิม จะมีลักษณะดังนี้.

ใหม่!!: หมากล้อมและการเปิดหมากแบบชูซะกุ · ดูเพิ่มเติม »

กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31

กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31 หรือ ทองกวาวเกมส์ จัดการแข่งขันวันที่ 10- 17 มกราคม พ.ศ. 2547 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน.

ใหม่!!: หมากล้อมและกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31 · ดูเพิ่มเติม »

กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 44

การแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 44 หรือ "นครสวรรค์เกมส์" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11–21 ธันวาคม..

ใหม่!!: หมากล้อมและกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 44 · ดูเพิ่มเติม »

กีฬาในประเทศญี่ปุ่น

กีฬาในประเทศญี่ปุ่น เป็นสิ่งสำคัญในวัฒนธรรมญี่ปุ่น กีฬาดั้งเดิมของญี่ปุ่น เช่น ซูโม่ และศิลปะการต่อสู้ประเภทต่าง ๆ และกีฬานำเข้าจากประเทศตะวันตก เช่น เบสบอล และฟุตบอล เป็นที่นิยมในหมู่ผู้เข้าแข่งขันและผู้ชม ซูโม่จัดเป็นกีฬาประจำชาติญี่ปุ่น เบสบอลเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยชาวอเมริกันในศตวรรษที่ 19 ลีกเบสบอลมืออาชีพนิปปอน เป็นการแข่งขันกีฬาอาชีพที่ใหญ่ที่สุดวัดจากระดับความนิยมทางโทรทัศน์และผู้เข้าชม ศิลปะการป้องกันตัว เช่น ยูโด คาราเต้ และเค็นโดสมัยใหม่ มีผู้นำไปฝึกฝนอย่างกว้างขวางและเป็นกีฬาที่สนุกสนานในมุมมองของผู้ชมในประเทศ ฟุตบอลได้รับความนิยมตั้งแต่ก่อตั้งลีกฟุตบอลอาชีพญี่ปุ่น เมื่อ..

ใหม่!!: หมากล้อมและกีฬาในประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ เป็นนายกสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย และเป็นประธานสมาคมหมากล้อมจีนโลก รวมถึงเป็นประธานกรรมการบริหารบริษัทซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ก่อศักดิ์ได้รับการกล่าวว่า เป็นผู้นำหมากล้อมมาเผยแพร่ในประเทศไทยอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ตลอดจนเป็นผู้ได้รับมอบเกียรติบัตรหมากล้อมระดับฝีมือ 6 ดั้ง จากสมาคมหมากล้อมคันไซ คิอิน ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้เขียนคำนำและแสดงแนวคิดต่อนิยายกำลังภายในหลายเล่ม รวมถึงเป็นประธานชมรมไทยรักนาฬิก.

ใหม่!!: หมากล้อมและก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

มะซะโอะ คะโต

มะซะโอะ คะโต ราชบัลลังก์กิตติมศักดิ์ (加藤正夫; Masao Kato; 15 มีนาคม ค.ศ. 1947 — 30 ธันวาคม ค.ศ. 2004) และยังเป็นที่รู้จักในนาม คะโต เคนเซ (加藤剱正) เป็นนักหมากล้อมระดับอาชีพชาวญี่ปุ่น ในช่วงท้ายของขาขึ้น คะโตชนะการแข่งขันถึง 46 รายการ รวมถึงรายการโอซะถึง 8 สมัย นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้เล่นคนที่สองที่ชนะการแข่งขันรายการระดับอาชีพถึง 1,200 ครั้ง ถัดจากหลิน ไห่เฟิง คะโตเป็นผู้เขียนหนังสือไชนีสโอเพนนิง: เดอะชัวร์-วินสแทรททิจี (จัดพิมพ์ในฉบับภาษาอังกฤษโดยบริษัท สำนักพิมพ์ คิเซโด) และคะโตแอทแทคแอนด์คิล (จัดพิมพ์โดยอิชิเพรส) รวมถึงเป็นผู้ฝึกสอนหมากล้อมให้แก่ยุกะริ โยะชิฮะร.

ใหม่!!: หมากล้อมและมะซะโอะ คะโต · ดูเพิ่มเติม »

ยุกะริ โยะชิฮะระ

กะริ โยะชิฮะระ (4 ตุลาคม ค.ศ. 1973 —) หรือชื่อก่อนแต่งงาน ยุกะริ อุเมะซะวะ เป็นผู้เล่นหมากล้อมระดับอาชีพชาวญี่ปุ่น.

ใหม่!!: หมากล้อมและยุกะริ โยะชิฮะระ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรเกม

หมากที่ใช้ในเกมเยอรมัน ''Carcassonne'' เรียกว่า มีเปิล ยูโรเกม (Eurogame) บางครั้งเรียกว่า บอร์ดเกมสไตล์เยอรมัน หรือเกมสไตล์ยูโร เป็นแบบหนึ่งของเกมเล่นบนโต๊ะ (tabletop games) โดยมากมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นโดยอ้อมและองค์ประกอบทางกายภาพที่เป็นนามธรรม เกมยูโรสไตล์เน้นยุทธศาสตร์ในขณะที่ลดโชคและความขัดแย้ง มีแนวโน้มที่จะมีรูปแบบทางเศรษฐกิจไม่ใช่ทหารและมักจะเก็บผู้เล่นทั้งหมดไว้ในเกมจนกว่าจะสิ้นสุดลง ยูโรเกม บางครั้งถูกนำไปเปรียบเทียบกับเกมกระดานสไตล์อเมริกันซึ่งมักเกี่ยวข้องกับโชคดี ความขัดแย้ง และดราม่า ยูโรเกมเป็นเกมกลยุทธ์ทางทฤษฎีที่มีความเป็นทฤษฎีน้อยกว่าหมากรุก แต่มากกว่าเกมสงคราม (wargames) ในขณะเดียวกันก็ต้องใช้ความคิดมากกว่าปาร์ตี้เกม เช่น Pictionary หรือ Trivial Pursuit แต่น้อยกว่าเกมกลยุทธ์ อย่าง หมากรุก และ หมากล้อม.

ใหม่!!: หมากล้อมและยูโรเกม · ดูเพิ่มเติม »

ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 24

กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24 (สาทรเกมส์) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศไทย จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 11 ถึง 18 มีนาคม พ.ศ. 2551 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เขตสาทร กรุงเทพ เดิมการแข่งขันกีฬาราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 24 กำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 1 - 8 กุมภาพัน..

ใหม่!!: หมากล้อมและราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 24 · ดูเพิ่มเติม »

ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 25

กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย หรือ "ราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 25" เป็นการแข่งขันกีฬาของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั่วประเทศ ประจำปีการศึกษา 2551 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในชื่อว่า "ล้านนาเกมส์ ครั้งที่ 25" มีพิธีเปิดในวันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552 โดยมี ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เป็นประธานในพิธีเปิด โดยนักกีฬาที่จุดคบเพลิง คือ นายดรัณภพ ประเสริฐชัย และ น..เปรมฤทัย รอดผจญ นักกีฬาว่ายน้ำ ผู้แทนผู้ตัดสิน คือ นายชัยรัตน์ ศรีเพ็ชรดี ผู้ช่วยอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา และมีพิธีปิดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.) เป็นประธานในพิธีปิดการแข่งขัน ผลการแข่งขันปรากฏว่ามหาวิทยาลัยฯ ที่ได้รับเหรียญทองมากที่สุด และได้ครองถ้วยพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านน.

ใหม่!!: หมากล้อมและราชมงคลเกมส์ ครั้งที่ 25 · ดูเพิ่มเติม »

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย

รายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย นี้แก้ความเชื่อและความเข้าใจผิด ๆ ที่แพร่หลายในปัจจุบัน ในประเด็นต่าง ๆ ที่น่าสนใจ โดยมีแหล่งอ้างอิงที่ได้กำหนดความเข้าใจผิดคู่กับความจริงแต่ละอย่างแล้ว ให้สังเกตว่า แต่ละรายการเขียนโดยเป็นการแก้ไข และอาจไม่ได้กล่าวถึงความเข้าใจผิดเองตรง.

ใหม่!!: หมากล้อมและรายการความเข้าใจผิดที่พบบ่อย · ดูเพิ่มเติม »

ฤทธิ เบญจฤทธิ์

ทธิ เบญจฤทธิ์ เป็นนักหมากล้อมชาวไทย ผู้เคยครองตำแหน่งอันดับ 4 ของโลกในระดับเยาวชน.

ใหม่!!: หมากล้อมและฤทธิ เบญจฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สีขาว

ีขาว คือ โทนสี หรือ การรับรู้ที่เกิดจากแสงไปกระตุ้นเซลล์สีรูปกรวยทั้ง 3 แบบในดวงตาของมนุษย์ในปริมาณที่เกือบจะเท่ากันและมีความสว่างสูงสุดเมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง สีขาว เป็นสีที่เกิดจากการรวมความเข้มของแสงสเปกตรัมที่มองเห็นได้ เป็นสีที่เต็มไปด้วยความสว่าง แต่ไม่มีสีสัน แหล่งกำเนิดของแสงสีขาวมีอยู่หลายแหล่ง เช่น ดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน, หลอดไฟแบบไส้, หลอดไฟแบบฟลูออเรสเซนท์ และหลอด LED สีขาว สีขาวยังมีความพิเศษอยู่อีกอย่างหนึ่ง ก็คือ เป็นสีที่เกิดจากการผสมกันระหว่างแสงสีปฐมภูมิ ซึ่งได้แก่ สีแดง, เขียว และน้ำเงิน (RGB) โดยเรียกกระบวนการนี้ว่า การผสมแสงสี (additive mixing) ซึ่งพบได้ทั่วไปในเทคโนโลยีการแสดงผล แสงสีขาวที่สะท้อนออกมาจากวัตถุจะสามารถมองเห็นได้ก็ต่อเมื่อไม่มีสเปกตรัมของแสงส่วนไหนที่สะท้อนมากกว่าส่วนอื่นๆและวัตถุที่สะท้อนแสงนั้นมีมุมตกกระทบที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการกระจัดกระจายของแสง (diffusion) ได้.

ใหม่!!: หมากล้อมและสีขาว · ดูเพิ่มเติม »

สปอร์ตแอคคอร์ด

ปอร์ตแอคคอร์ด (SportAccord) เป็นองค์กรกีฬานานาชาติที่เป็นผู้ตัดสินบรรจุกีฬาหรือโปรแกรมออกกำลังกายลงในการแข่งขันต่าง.

ใหม่!!: หมากล้อมและสปอร์ตแอคคอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

หมากพระเจ้า สั่งเป็นสั่งตาย

หมากพระเจ้า สั่งเป็นสั่งตาย หรือ เซียนหมาก โค่นโคตรเซียน (신의 한 수; The Divine Move) เป็นภาพยนตร์แอ็คชั่น/นีโอ-นัวร์ จากประเทศเกาหลีใต้..

ใหม่!!: หมากล้อมและหมากพระเจ้า สั่งเป็นสั่งตาย · ดูเพิ่มเติม »

หมากรุกญี่ปุ่นคอมพิวเตอร์

หมากรุกญี่ปุ่นคอมพิวเตอร์ (コンピュータ将棋; computer shogi) เป็นขอบเขตของปัญญาประดิษฐ์ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเล่นหมากรุกญี่ปุ่น การวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์หมากรุกญี่ปุ่นได้รับการดำเนินการส่วนใหญ่โดยโปรแกรมเมอร์อิสระ, กลุ่มวิจัยของมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชน.

ใหม่!!: หมากล้อมและหมากรุกญี่ปุ่นคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

หมากล้อมในเอเชียนเกมส์ 2010

กีฬาหมากล้อมในเอเชียนเกมส์ 2010 ที่กว่างโจว หมากล้อมในเอเชียนเกมส์ 2010 ได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นที่เมืองกว่างโจว สำหรับช่วงแรกที่ Asiad ได้แก่สามประเภทการแข่งขัน ประกอบด้วย ทีมชาย, ทีมหญิง และคู่ผสมโดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 และ 26 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: หมากล้อมและหมากล้อมในเอเชียนเกมส์ 2010 · ดูเพิ่มเติม »

หลิน ไห่เฟิง

หลิน ไห่เฟิง (林海峰; Lin Haifeng; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 —) หรือ ริน ไคโฮ (林海峰; Rin Kaiho) เป็นนักกีฬาหมากล้อมระดับอาชีพชาวจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: หมากล้อมและหลิน ไห่เฟิง · ดูเพิ่มเติม »

ออสคาร์ คอร์เชลท์

แท่นหินเหนือหลุมฝังศพลูกสาวคนที่สองของเขาในสุสานอะโอะยะมะ (กรุงโตเกียว) ออสคาร์ คอร์เชลท์ (Oskar Korschelt; 18 กันยายน ค.ศ. 1853 ในแบร์เทลส์ดอร์ฟ — 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 ในไลพ์ซิก โดยบางแหล่งข้อมูลเขียนชื่อเขาอย่างไม่ถูกต้องเป็น Oscar หรือ Otto) เป็นทั้งนักเคมีชาวเยอรมันและวิศวกรผู้นำเกมกระดานหมากล้อมจากเอเชียไปยังทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งไปยังประเทศเยอรมนีและออสเตรีย เขาเคยเป็นนักเคมีอุตสาหกรรมที่ทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ และเดินทางมายังประเทศญี่ปุ่นในปี..

ใหม่!!: หมากล้อมและออสคาร์ คอร์เชลท์ · ดูเพิ่มเติม »

อู๋ ชิงหยวน

อู๋ ชิงหยวน (吳清源;His original name was Wu Quan. A new name, Qing Yuan was created for him based on his old name ("Quan" means spring, fountain and "Qing Yuan" means clear and pure source of water). Wu Qingyuan; 12 มิถุนายน ค.ศ. 1914 — 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014) เป็นที่รู้จักกันดีในการออกเสียงชื่อของเขาในภาษาญี่ปุ่นคือ โกะ เซเง็ง เป็นครูหมากล้อมชาวจีนที่พำนักในญี่ปุ่น เขาได้รับการพิจารณาโดยผู้เล่นหลายคน ว่าเป็นผู้เล่นหมากล้อมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20.

ใหม่!!: หมากล้อมและอู๋ ชิงหยวน · ดูเพิ่มเติม »

ฮิคารุเซียนโกะ

รุเซียนโกะ หรือ ฮิคารุ: เซียนโกะ เกมอัจฉริยะ เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมสูงเรื่องหนึ่ง มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกมหมากกระดานที่ในญี่ปุ่นเรียกว่า โกะ แต่งเรื่องโดยยุมิ ฮตตะ และวาดภาพโดยทะเกะชิ โอะบะตะ และการ์ตูนชุดดังกล่าวได้รับรางวัลโชกาคุคังมังงะอะวอร์ด (Shogakukan Manga Award) สาขา โชเน็น (Shōnen) ใน..

ใหม่!!: หมากล้อมและฮิคารุเซียนโกะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิคารุเซียนโกะ (เกม)

รุเซียนโกะ (ヒカルの碁; Hikaru no Go) เป็นซอฟต์แวร์เกมสำหรับเกมบอยแอดวานซ์ ที่ได้รับการเปิดตัวจากโคนามิเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2001 โดยเป็นคาแรคเตอร์เกม ที่อิงมาจากซีรีส์ฮิคารุเซียนโกะ ซึ่งเป็นการ์ตูนที่เกี่ยวกับหมากล้อม และได้มีเกมภาคต่อคือฮิคารุเซียนโกะ 2 ที่ได้รับการเปิดตัว ณ วันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 และฮิคารุเซียนโกะ 3 ที่ได้รับการเปิดตัว ณ วันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 2003.

ใหม่!!: หมากล้อมและฮิคารุเซียนโกะ (เกม) · ดูเพิ่มเติม »

ฮงอินโบ ชูโฮะ

งอินโบ ชูโฮะ (本因坊秀甫; Hon'inbō Shūho; ค.ศ. 1838 — 14 ตุลาคม ค.ศ. 1886) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ มุระเซะ ชูโฮะ (本因坊秀甫; Murase Shūho) เป็นนักหมากล้อมระดับอาชีพที่มีชื่อเสียงในซีกโลกตะวันตก.

ใหม่!!: หมากล้อมและฮงอินโบ ชูโฮะ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีเกม

ในทางคณิตศาสตร์ ทฤษฎีเกม (อังกฤษ: game theory) เป็นการจำลองสถานการณ์ทางกลยุทธ์ หรือเกมคณิตศาสตร์ ซึ่งความสำเร็จในการตัดสินใจของแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับทางเลือกของบุคคลอื่น แต่ละฝ่ายต่างก็พยายามแสวงหาผลตอบแทนให้ได้มากที่สุด ทฤษฎีเกมมีการใช้ในทางสังคมศาสตร์ (ที่โดดเด่นเช่น เศรษฐศาสตร์ การจัดการ การวิจัยปฏิบัติการ รัฐศาสตร์และจิตวิทยาสังคม) เช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์รูปนัยอื่น ๆ (ตรรกะ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และสถิติ) และชีววิทยา (โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีววิทยาวิวัฒนาการและนิเวศวิทยา) แม้ว่าเดิมทฤษฎีเกมจะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อวิเคราะห์การแข่งขันซึ่งบุคคลหนึ่งได้มากกว่าที่อีกฝ่ายหนึ่งเสีย แต่ก็ได้มีการขยายเพื่อให้ครอบคลุมถึงปฏิสัมพันธ์หลายรูปแบบ ซึ่งถูกจัดแบ่งประเภทตามเกณฑ์หลายแบบ การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเกมแต่เดิมนั้นจะจำกัดความและศึกษาถึงสมดุลในเกมเหล่านี้ ในสภาพสมดุลทางเศรษฐศาสตร์ ผู้เล่นเกมแต่ละคนจะปรับใช้กลยุทธ์ที่ไม่สามารถเพิ่มผลตอบแทนของผู้เล่นนั้นได้ โดยให้กลยุทธ์ของผู้เล่นอื่นด้วย แนวคิดสมดุลจำนวนมากถูกพัฒนาขึ้น (ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ จุดสมดุลของแนช) เพื่ออธิบายถึงลักษณะของสมดุลทางกลยุทธ์ แนวคิดสมดุลเหล่านี้มีแรงผลักดันแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสาขาที่นำไปประยุกต์ ถึงแม้จะพบว่ามีความสอดคล้องกันบ่อยครั้งก็ตาม วิธีปฏิบัตินี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ และได้มีการโต้แย้งดำเนินต่อไปถึงความเหมาะสมของแนวคิดสมดุลหนึ่ง ๆ ความเหมาะสมของสมดุลทั้งหมดร่วมกัน และประโยชน์ของแบบจำลองคณิตศาสตร์ในทางสังคมศาสตร์ ผู้เริ่มศึกษาทฤษฎีเกมในระยะแรกคือ จอห์น ฟอน นอยมันน์ และออสการ์ มอร์เกินสเติร์น โดยได้ตีพิมพ์ตำรา Theory of Games and Economic Behavior ใน พ.ศ. 2487 ต่อมา จอห์น แนชได้พัฒนาการศึกษาในด้านนี้และได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากการนำทฤษฎีเกมไปประยุกต์ใช้ในด้านเศรษฐศาสตร์ นอกจากแนชแล้ว มีนักทฤษฎีเกมคนอื่นอีกเจ็ดคนที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร.

ใหม่!!: หมากล้อมและทฤษฎีเกม · ดูเพิ่มเติม »

ทะเกะชิ โอะบะตะ

ทาเคชิ โอบาตะ เกิด 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 นักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น โดยปกติมักจะทำงานเป็นคู่กับนักเขียนท่านอื่น.

ใหม่!!: หมากล้อมและทะเกะชิ โอะบะตะ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้นตอนวิธีมินิแมกซ์

ั้นตอนวิธีการหาเกณฑ์ค่าเสียโอกาสมากน้อยที่สุด (Minimax Algorithm) คือขั้นตอนวิธีในการหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะทำให้เกิดความสูญเสียมากที่สุดในการเล่นเกมเชิงตรรกะที่มีผู้เล่นสองคน เช่นหมากรุก, หมากฮอส หรือ โอเอกซ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เล่น A สามารถเลือกเส้นทางที่มีโอกาสมากที่สุดที่จะทำให้ผู้เล่น B ได้เปรียบน้อยที่สุดในแต่ละรอบ โดยในขั้นตอนวิธีนี้ ผู้เล่น A จะถูกเรียกว่าผู้เล่นหาค่าสูงสุด ส่วนผู้เล่น B จะถูกเรียกว่าผู้เล่นหาค่าต่ำสุด เพราะว่าตัวแปรของค่าเสียโอกาสจะเพิ่มขึ้นเมื่อผู้เล่น A ได้เปรียบ และจะลดลงเมื่อผู้เล่น B ได้เปรียบตามทฤษฎีเกมประกอบเชิงการจัด (Combinatorial Game Theory) ของจอห์น ฮอร์ตัน คอนเวย์ (John Horton Conway).

ใหม่!!: หมากล้อมและขั้นตอนวิธีมินิแมกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก

วาดจากหนังสือสามก๊กในยุคราชวงศ์หมิง ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก แสดงรายการเนื้อเรื่องที่แต่งเสริมขึ้นในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เรียงตามลำดับเหตุการณ์ พร้อมอธิบายความแตกต่างระหว่างเนื้อเรื่องในวรรณกรรมและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมเรื่องสามก๊กมีเนื้อหาที่อิงมาจากประวัติศาสตร์ปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกต่อยุคสามก๊ก ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จึงทำให้ผู้อ่านหลายคนเข้าใจผิดว่าเนื้อเรื่องที่ปรากฏในวรรณกรรมเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในยุคสามก๊ก แหล่งข้อมูลของประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กที่เชื่อถือได้มากที่สุดคือจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อหรือสามก๊กจี่) ที่เขียนโดยตันซิ่ว และเพิ่มอรรถาธิบายโดยเผยซงจือ แหล่งข้อมูลอื่นๆที่ครอบคลุมประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊กได้แก่ โฮ่วฮั่นซู (จดหมายเหตุราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง) ของฟ่านเย่ และ จิ้นซู (จดหมายเหตุราชวงศ์จิ้น) ของฝางเสฺวียนหลิ่ง ด้วยความที่วรรณกรรมเรื่องสามก๊กเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ เนื้อเรื่องหลายส่วนจึงเป็นเนื้อเรื่องที่แต่งเสริมขึ้น หรือนำมาจากนิทานพื้นบ้าน หรืออิงมาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคอื่นๆของประวัติศาสตร์จีน.

ใหม่!!: หมากล้อมและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ซามูไร

ซามูไรในชุดเกราะ ถ่ายในช่วงทศวรรษที่ 1860 โดย เฟรีเช บีอาโต ซามูไร แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซามูไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซามูไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง.

ใหม่!!: หมากล้อมและซามูไร · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม

ียนก่อนประวัติศาสตร์บนผนังถ้ำเป็นรูปวัวที่ลาส์โกซ์ (Lascaux) ในประเทศฝรั่งเศส ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม (ภาษาอังกฤษ: History of painting) เริ่มสร้างกันมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์และเผยแพร่ไปในทุกวัฒนธรรมและทุกที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในโลกจนกระทั่งปัจจุบันนี้ จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรที่ 20 จิตรกรรมจะเป็นการเขียนศิลปะแสดงลักษณ์ (Representational art), ศิลปะศาสนา หรือศิลปะคลาสสิก หลังจากนั้นจึงมีการเริ่มเขียนจิตรกรรมที่เป็นแต่เพียงศิลปะนามธรรม (Abstract art) และต่อมาศิลป์มโนทัศน์ (Conceptual art) การวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันตกคล้ายคลึงกับการวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันออกโดยทั่วไปในสองสามร้อยปีหลัง ศิลปะแอฟริกา, ศิลปะอิสลาม, ศิลปะอินเดีย, ศิลปะจีน, และศิลปะญี่ปุ่น แต่ละอย่างที่กล่าวมาต่างก็มีอิทธิพลสำคัญต่อศิลปะตะวันตก และในที่สุดศิลปะก็กลับไปมีอิทธิพลต่อศิลปะตะวันออก.

ใหม่!!: หมากล้อมและประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ปีศาจแมวโคมะ

มะ เป็นปีศาจที่ปรากฏในตำนานของประเทศญี่ปุ่น เป็นปีศาจแมวผู้ภักดีต่อนาย ที่ปรากฏตัวในเรื่อง"คดีปีศาจแมวแห่งนาเบชิมะ" เป็นหนึ่งใน 3 ตำนานปีศาจแมวที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงพอ ๆ กับที่โอกาซากิและอาริมะ มักจะเอามาเล่นเป็นละคร ละครเสภา และภาพยนตร์ ปีศาจแมวมักเป็นกึ่งภูติกึ่งสิ่งมีชีวิต หรือภูติจำแลง แต่โคมะเป็นปีศาจที่ได้รับถ่ายทอดความแค้นมาจากนาย แม้แต่หลังจากถูกปราบได้ ก็สามารถทำลายล้างตระกูลนาเบชิมะได้ เมื่อทำได้ 1 รุ่นก็จะมีหางเพิ่มขึ้นมา 1 หาง และก็ดูเหมือนจะทำได้ถึง 7 รุ่น จึงมีรูปสลักแมว 7 หางอยู่ที่สุสานแมวของวัดฮิเตบายาชิ หมุ่บ้านชิราอิชิ เมืองคินาชิมะ จังหวัดซากะ ประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: หมากล้อมและปีศาจแมวโคมะ · ดูเพิ่มเติม »

ปีแยร์ กอลแมซ

ปีแยร์ กอลแมซ (Pierre Colmez; ค.ศ. 1962 —) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ผู้มีความโดดเด่นด้านการวิเคราะห์จำนวนพี-แอดิก กอลแมซเข้าเรียนที่เอกอลนอร์มาลซูเปรีเยอร์ และเขาได้รับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเกรอนอบล์ เขาได้รับรางวัลแฟร์มา 2005 จากการอุทิศตนเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับแอล-ฟังก์ชัน และจำนวนพี-แอดิก โดยการคำนวณแบบกาลัว นอกจากนี้ กอลแมซยังชนะการแข่งขันหมากล้อมชิงชนะเลิศแห่งประเทศฝรั่งเศสมาแล้วถึงสี่สมั.

ใหม่!!: หมากล้อมและปีแยร์ กอลแมซ · ดูเพิ่มเติม »

นภัทร์ อิชยาวณิชย์

นภัทร์ อิชยาวณิชย์ หรือ ครูคีธ เป็นผู้ฝึกสอนหมากล้อมทีมชาติไทย ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านหมากล้อมสถาบันจัดการสาธิตปัญญาภิวัฒน์ และผู้อำนวยการสถาบันหมากล้อมเด็กและเยาวชน ไอคิวอัพ IQ-UP Children Go Academy ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในครูสอนหมากล้อมเด็กเล็กที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทยในการปั้นเด็กระดับสูงออกมาประดับวงการอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันได้สร้างนักกีฬาเยาวชนระดับดั้งมากว่า 40คน (2017) โดยนักกีฬาในสังกัดได้สร้างสรรคผลงานทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศมากมายหลายหลายการจนเป็นที่ยอมรับในวงการหมากล้อมไทย ปัจจุบันสอนให้กับโรงเรียนชั้นนำหลายโรงเรียนในกรุงเทพๆ รวมไปจนถึงหลักสูตรหมากล้อมระดับ ป.โท iMBA ของสถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ และเป็นผู้เขียนหนังสือเซียนโกะ กระดานแรกสังเวียนโกะ ร่วมกับสำนักพิมพ์นานมี และได้รับเลือกให้เป็นวิทยากร สอนหมากล้อมสามเณรรายการสามเณรทรูปลูกปัญญาปี2017.

ใหม่!!: หมากล้อมและนภัทร์ อิชยาวณิชย์ · ดูเพิ่มเติม »

แอลฟาโกะพบอี เซ-ดล

แอลฟาโกะพบอี เซ-ดลเป็นแมตช์หมากล้อม (โกะ) ห้าเกมระหว่างผู้เล่นหมากล้อมอาชีพชาวเกาหลีใต้ อี เซ-ดล และแอลฟาโกะ โปรแกรมโกะคอมพิวเตอร์ที่กูเกิล ดีปไมด์พัฒนา ระหว่างวันที่ 9 ถึง 15 มีนาคม 2559 แอลฟาโกะชนะรวดยกเว้นเกมที่ 4 ทุกเกมชนะโดยอีกฝ่ายถอนตัว มีการเปรียบเทียบแมตช์นี้กับแมตช์หมากรุกประวัติศาสตร์ระหว่างดีปบลูและแกรี คาสปารอฟในปี 2540 มีรางวัลสำหรับผู้ชนะ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากแอลฟาโกะเป็นผู้ชนะ จะบริจาครางวัลให้การกุศลซึ่งรวมยูนิเซฟ อี เซ-ดลจะได้ 170,000 ดอลลาร์สหรัฐ (150,000 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับเข้าแข่งขันทั้งห้าเกม และอีก 20,000 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับชนะในเกมที่ 4) แมตช์นี้เล่นในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โดยใช้กฎจีนโคมิ 7.5 แต้ม แต่ละสองฝ่ายมีเวลาคิด 2 ชั่วโมงบวกช่วงเบียวโยมิ 60 วินาที 3 ครั้ง.

ใหม่!!: หมากล้อมและแอลฟาโกะพบอี เซ-ดล · ดูเพิ่มเติม »

โพกะโยเก

โพะกะโยะเกะ เป็นระบบหรืออุปกรณ์ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อป้องกันการผิดพลาดของการทำงานในสายการผลิต ของโรงงานเป็นต้น ในเรื่องของอุปกรณ์ รากศัพท์ของคำว่า "โพะกะโยะเกะ" มาจากหมากล้อม,หมากรุกญี่ปุ่น ที่นำมาใช้เป็นคำศัพท์นี้ โดยปกติมีความหมายว่าเดินหมากพลาดโดยที่คิดไม่ถึง Poka เราจึง Yokeru มึความหมายแปลว่าหลีกเลี่ยง ในโรงงานจะใช้คนทำงานเสียส่วนใหญ่ ซึ่งความผิดพลาดของแต่ละคนในการทำงานก็มีมากเช่นเดียวกัน ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก็คือของเสียเป็นต้นจะเกี่ยวเนื่องกับปัญหาเรื่องคุณภาพตามมาเสียส่วนใหญ่ หรือเมื่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกลายเป็นผลิตภัณฑ์แล้วการค้นหาและการเลือกของเสียออกจากของดี ก็จะใช้เวลามากรวมถึงค่าใช้จ่ายก็จะตามมา หรือการค้นหาของไม่ดีที่เกิดขึ้นก็ยากและอาจจะหลุดลอดไปสู่ตลาดหรือลูกค้าได้ง่าย ซึ่ง ณ จุดตรงนี้ เพื่อป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการผิดพลาดของการผลิตในขบวนการสายการผลิตไม่ให้หลุดลอดออกจากขบวนการ ในขบวนการผลิตจึงได้นำหรือติดตั้ง โพะกะโยะเกะ ในสายงานของตนเอง ได้ถูกนับเป็นหนึ่งในระบบการผลิตแบบโตโยต้าซึ่งระบบการผลิตแบบโตโยต้านั้นมีความคิดที่เป็นพื้นฐานก็คือ "ขบวนการถัดไปก็คือลูกค้า" ของตนเอง ซึ่งจะหมายความว่าขบวนการของตนเองเมื่อทำเสร็จแล้วกล่าวคือ ไม่ส่งของที่ไม่ดีให้กับขบวนการถัดไป ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงของที่ไม่ดีเกิดขึ้นแล้ว ต้องรับประกันคุณภาพของในขบวนการตนเองด้วย แนวคิดพื้นฐานของโพะกะโยะเกะถูกนำเสนอและนำมาใช้ในระบบการผลิตแบบโตโยต้าโดยวิศวกรชาวญี่ปุ่นชื่อ Shigeo Shingo (新郷重雄 しんごう しげお ค.ศ.1909-1990)แต่เดิมแนวคิดนี้ถูกเรียกว่า บะกะโยเกะ ซึ่งแปลตรงตัวว่า หลีกเลี่ยงความโง่ ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนเป็น โพะกะโยะเกะ เพื่อให้ความหมายดูซอฟท์ขึ้น เมื่อเวลาที่วงการอุตสาหกรรมญี่ปุ่นได้ก้าวสู่หรือขยายไปในต่างประเทศนั้น ในต่างประเทศก็ได้มีการค้นคว้าวงการอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเช่นกัน และคำนี้ก็ได้ขยายวงกว้างไปสู่ต่างประเทศผลที่ได้ก็คือโพะกะโยะเกะเป็นคำที่สามารถสือสารกันได้ทั่วไปในวงการผลิต หมวดหมู่:การผลิต.

ใหม่!!: หมากล้อมและโพกะโยเก · ดูเพิ่มเติม »

โอเทลโล่

ตัวอย่างกระดานโอเทลโล่ กระดานโอเทลโล่มาตรฐานที่ใช้แข่งขัน โอเทลโล่ (Othello) เป็นหมากกระดานชนิดหนึ่ง ซึ่งมีรูปแบบและกติกาที่เรียบง่าย ตัวหมากมีสีขาวและสีดำ คล้ายกับหมากล้อม.

ใหม่!!: หมากล้อมและโอเทลโล่ · ดูเพิ่มเติม »

โจแอนน์ มิสซิงแฮม

แอนน์ มิสซิงแฮม (Joanne Missingham) หรือชื่อจีน เฮย เจียเจีย (黑嘉嘉; 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 —) เป็นนักกีฬาหมากล้อมอาชีพระดับ 7 ดั้ง ชาวไต้หวัน และมีส่วนร่วมในการแข่งขันหมากล้อมในเอเชียนเกมส์ 2010 ประเภททีมหญิง.

ใหม่!!: หมากล้อมและโจแอนน์ มิสซิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

โฆษา อารียา

ษา อารียา เป็นนักหมากล้อมชาวไทยระดับ 6 ดั้ง ซึ่งถือเป็นการได้รับระดับสูงสุดของประเทศไทย และเป็นผู้ฝึกสอนหมากล้อม ให้แก่ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ทั้งนี้ ดร.โฆษา อารียา ยังเป็นผู้มีผลงานเขียนพจนานุกรมญี่ปุ่น-ไทย และไทย-ญี่ปุ่น.

ใหม่!!: หมากล้อมและโฆษา อารียา · ดูเพิ่มเติม »

เกม

การเล่นชักเย่อ เกมไพ่ เป็นเกมอีกประเภทหนึ่งที่นิยมเล่นทั่วโลก เกม เป็นลักษณะของกิจกรรมของมนุษย์เพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เพื่อฝึกทักษะ และเพื่อการเรียนรู้ เป็นต้น และในบางครั้งอาจใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาได้ เกมประกอบด้วยเป้าหมาย กฎเกณฑ์ การแข่งขันและปฏิสัมพันธ์ เกมมักจะเป็นการแข่งขันทางจิตใจหรือด้านร่างกาย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดพัฒนาการของทักษะ ใช้เป็นรูปแบบของการออกกำลังกาย หรือการศึกษา บทบาทสมมุติและจิตศาสตร์ เป็นต้น เกมเป็นกิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน Royal Game of Ur, Senet และ Mancala เป็นเกมที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยสามารถย้อนไปได้ถึง 2,600 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: หมากล้อมและเกม · ดูเพิ่มเติม »

เกมกระดาน

'''เกมกระดาน'''ในทวีปอเมริกาเหนือ หมากฮอสสามแถว เกมกระดาน BattleLore เกมกระดาน คือเกมที่ต้องใช้ชิ้นส่วนหรือตัวหมากวางไว้บนพื้นที่เล่น เคลื่อนที่หรือหยิบออกจากพื้นที่เล่น พื้นที่เล่นเปรียบได้กับ "กระดาน" ซึ่งจะมีผิวหน้าหรือรูปภาพเฉพาะสำหรับเกมนั้น ๆ เกมกระดานมีหลายประเภทและหลากรูปแบบ ตั้งแต่รูปแบบที่ง่ายที่สุดคือหมากฮอส ไปจนถึงเกมที่มีความซับซ้อน มีกติกามากมาย ต้องใช้แผนการหรือยุทธวิธีเข้าช่วยเพื่อที่จะให้ตนเองชนะ คือบรรลุจุดประสงค์ของการเล่นเกมนั้น การเล่นเกมกระดานเป็นความบันเทิงอย่างหนึ่ง บางครั้งก็ใช้เกมกระดานสำหรับการแข่งขันในระดับชาติหรือนานาชาติ ในปัจจุบันเกมกระดานมีหลากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น เกมสำหรับงานปาร์ตี้ ที่มีการพูดคุย บลัฟกัน ได้แก่ Avalon, Werewolf หรือ เกมแนวธุรกิจการลงทุน เช่น Stockpile, I'm the Boss หรือเกมบริหารจัดการทรัพยากร เช่น Terraforming, Istanbul เป็นต้น.

ใหม่!!: หมากล้อมและเกมกระดาน · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียนอินดอร์-มาร์เชียลอาร์ตสเกมส์ 2013

อเชียนอินดอร์-มาร์เชียลอาร์ตสเกมส์ เป็นการจัดกีฬาเอเชียนอินดอร์เกมส์และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวครั้งแรก, มีชื่อเรียกอีกย่างว่า เอเชียนอินดอร์เกมส์ ครั้งที่ 4 และ มีอักษรย่อว่า AIGs 4 จัดขึ้นที่เมืองอินช็อน เกาหลีใต้, ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน ถึง 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: หมากล้อมและเอเชียนอินดอร์-มาร์เชียลอาร์ตสเกมส์ 2013 · ดูเพิ่มเติม »

เดอะ โกะ มาสเตอร์

อะ โกะ มาสเตอร์ (呉清源; The Go Master) เป็นภาพยนตร์ชีวประวัติปี..

ใหม่!!: หมากล้อมและเดอะ โกะ มาสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เนี่ย อู้เซ็ง

นี่ย อู้เซ็ง (เหลียง อวี่เชิง) (5 เมษายน ค.ศ. 1926 - 22 มกราคม ค.ศ. 2009) เป็นนามปากกาของ ตั้ง บุนทง (เฉิน เหวินถ่ง) นักเขียนนิยายกำลังภายในชาวจีน ผู้เขียนเรื่อง นางพญาผมขาว เจ็ดนักกระบี่ ตั้ง บุนทง เกิดที่มณฑลกวางสี ทางภาคใต้ของจีน ศึกษาด้านวรรณคดีจีนคลาสสิก ประวัติศาสตร์จีน และเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยหลิงหนาน ในเมืองกวางโจว และเริ่มทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ตั้งแต่เรียนจบ โดยเริ่มเขียนนวนิยายกำลังภายใน ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตั้งแต..

ใหม่!!: หมากล้อมและเนี่ย อู้เซ็ง · ดูเพิ่มเติม »

GO

GO หรือ Go สามารถหมายถึง.

ใหม่!!: หมากล้อมและGO · ดูเพิ่มเติม »

Playok

300px Playok หรือรู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า Kurnik เป็นเว็บไซต์เล่นเกมกระดานและเกมไพ่ออนไลน์กับผู้อื่นแบบ real-time เว็บไซต์นี้สร้างขึ้นใน..

ใหม่!!: หมากล้อมและPlayok · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

โกะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »