โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สเปรย์พริกไทย

ดัชนี สเปรย์พริกไทย

การใช้งาน สเปรย์พริกไทย สเปรย์พริกไทย รู้จักในชื่อ OC spray ซึ่งมาจาก “Oleoresin Capsicum” (น้ำมันจำพวกพริก), OC gas, capsicum spray (สเปรย์พริก) หรือ oleoresin capsicum) เป็นสารทำให้น้ำตาไหล (สารเคมีที่ทำให้ตาระคายเคือง น้ำตาไหล เจ็บปวด ตาบอดชั่วคราว) ใช้เพื่อควบคุมการจลาจล ฝูงชน และการป้องกันตัวเอง อันประกอบด้วยการป้องกันตัวจากหมีและหมา โดยสเปรย์พริกไทย ไม่เป็นสารที่ทำให้ตายได้ สารที่ทำหน้าที่ใน สเปรย์พริกไทย คือ capsaicin.

5 ความสัมพันธ์: การจลาจลวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544น้ำตาแก๊สน้ำตาเหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

การจลาจล

การจุดไฟเผารถยนต์ระหว่างการจลาจล การจลาจล เป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อความไม่สงบต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทรัพย์สินหรือประชาชน ซึ่งมีลักษณะเป็นการปรากฏตัวออกมาทันใดของกลุ่มคนที่ไม่มีการจัดระเบียบและหุนหันพลันแล่นที่จะใช้ความรุนแรง ถึงแม้ว่าอาจมีคนหรือกลุ่มคนพยายามที่จะนำหรือควบคุมการจลาจล แต่ส่วนใหญ่แล้วการจลาจลมักไร้ระเบียบเป็นธรรมดาและแสดงพฤติกรรมฝูง การจลาจลมักเกิดขึ้นเป็นปฏิกิรยาจากการได้รับความเดือดร้อนหรือการแสดงความไม่เห็นด้วย ในประวัติศาสตร์ การจลาจลเกิดขึ้นเนื่องจากได้รับค่าแรงต่ำหรือคุณภาพชีวิต รัฐบาล การกดขี่ ภาษีหรือการเกณฑ์ทหาร ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มเชื้อชาติ การขาดแคลนอาหารหรือความขัดแย้งทางศาสนา ผลจากการแข่งขันกีฬาหรือความไม่พอใจกับช่องทางของกฎหมายผ่านการแสดงความคับข้องใจ การจลาจลมักเกี่ยวข้องกับการทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือเอกชน ทรัพย์สินที่ตกเป็นเป้าหมายโดยเฉพาะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุของการจลาจลและการโน้มเอียงทางความคิด เป้าหมายสามารถรวมไปถึงร้านค้า รถยนต์ ร้านอาหาร สถาบันของรัฐหรือสิ่งก่อสร้างทางศาสนา ผู้ก่อการจลาจลจำนวนหนึ่งค่อนข้างมีความชำนาญในการทำความเข้าใจและการสกัดยุทธวิธีที่ตำรวจใช้ในสถานการณ์จลาจล คู่มือสำหรับการจลาจลให้ประสบความสำเร็จสามารถเข้าถึงได้บนอินเทอร์เน็ต คู่มือเหล่านี้ยังกระตุ้นให้ผู้ก่อการจลาจลนำสื่อเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย เนื่องจากพบว่าการมีกล้องไปด้วยจะมีความปลอดภัยและได้รับความสนใจมากกว่า พลเมืองที่มีกล้องวิดีโอยังสามารถมีผลกระทบต่อทั้งผู้ก่อการจลาจลและตำรวจได้ เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนสวมเกราะลำตัวและโล่ การรับมือกับการจลาจลมักจะเป็นงานยากของกรมตำรวจบ่อยครั้ง และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ถูกส่งตัวไปรับมือกับการจลาจลมักจะถือโล่ยุทธวิธีและลูกซองปราบจลาจล ส่วนใหญ่เนื่องมาจากการกระจายที่กว้างกว่าของล้ากล้องสั้น ตำรวจยังอาจใช้แก๊สน้ำตาหรือแก๊สซีเอสเพื่อหยุดผู้ก่อการจลาจล ตำรวจปราบจลาจลส่วนใหญ่ใช้วิธีอาวุธไม่ร้ายแรงในการควบคุมฝูงชน อย่างเช่น ปืนลูกซองที่ยิงกระสุนยางและกระสุนถุงตะกั่วเพื่อทำให้ได้รับบาดเจ็บหรือทำให้ผู้ก่อการจลาจลง่ายต่อการจับกุม.

ใหม่!!: สเปรย์พริกไทยและการจลาจล · ดูเพิ่มเติม »

วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544

หตุวินาศกรรม 11 กันยายน..

ใหม่!!: สเปรย์พริกไทยและวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 · ดูเพิ่มเติม »

น้ำตา

กายวิภาคของอวัยวะอันเกี่ยวข้องกับน้ำตาBreak a) ต่อมน้ำตาBreak b) จุดน้ำตาชั้นบนBreak c) ท่อทางเดินน้ำตาชั้นบนBreak d) ถุงน้ำตาBreak e) จุดน้ำตาชั้นล่างBreak f) ท่อทางเดินน้ำตาชั้นล่างBreak g) คลองท่อน้ำตา น้ำตา เกิดจากการหลั่งน้ำตา (Lacrimation หรือ lachrymation) ที่มีหน้าที่ทำความสะอาดและหล่อลื่นดวงตาเพื่อตอบสนองต่ออาการระคายเคืองตา น้ำตาที่เกิดจากการร้องไห้มีผลมาจากความรู้สึกรุนแรงภายใน เช่น ความโศกเศร้า ความปิติยินดี อารมณ์ ความกลัวเกรง หรือความยินดี การหัวเราะและการหาวก็สามารถทำให้เกิดน้ำตาได้.

ใหม่!!: สเปรย์พริกไทยและน้ำตา · ดูเพิ่มเติม »

แก๊สน้ำตา

แก๊สน้ำตาในบรรจุภัณฑ์ชนิดหนึ่ง ตำรวจปราบจลาจลยิงแก๊สน้ำตา แก๊สน้ำตา (Lachrymatory agent, Lachrymator หรือ Tear gas) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตาและแก้วตาดำ ทำให้มีน้ำตาไหลออกมาก เยื่อบุตาจะแดงและแก้วตาดำจะบวม ตามองไม่เห็น น้ำมูกน้ำลายไหล ไอ หายใจลำบาก ส่วนใหญ่จะหายเองภายในหนึ่งชั่วโมง แก๊สน้ำตาถูกใช้เป็นอาวุธประเภทก่อกวนในการปราบจลาจลเพื่อสลายการชุมนุม การใช้งานมีทั้งการยิงจากเครื่องยิงแก๊สน้ำตา และใช้แบบระเบิดขว้าง ในประเทศไทย แก๊สน้ำตาถูกนำเข้ามาใช้ครั้งแรกในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ไม่นาน โดยกระทรวงมหาดไทย มีการแถลงข่าวสาธิตการใช้ที่สนามเป้า และสามเสน ทางกรมวิทยาศาสตร์ทหารบกได้ทำวิจัยลูกระเบิดขว้างแก๊สน้ำตา มีระยะเวลาการเกิดควัน 50 วินาที ครอบคลุมพื้นที่ 150 ตารางเมตร.

ใหม่!!: สเปรย์พริกไทยและแก๊สน้ำตา · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

การปะทะกันของทั้ง 2 ฝ่าย เหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ เกิดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โดยแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) 15 คน และกลุ่มผู้ชุมนุม จำนวน 20,000 คน เคลื่อนขบวนจากท้องสนามหลวง ไปปิดล้อมบริเวณหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ บ้านพักรับรองสำหรับผู้บัญชาการระดับสูงของกองทัพบกไทย ซึ่ง พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ใช้พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร เพื่อกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมเชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารในประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ระหว่างเส้นทางการเคลื่อนขบวน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งด่านสกัดในหลายจุด โดยใช้แผงเหล็กวางกั้น และจอดรถบรรทุกของกรุงเทพมหานครขวางถนน แต่กลุ่มผู้ชุมนุมก็ฝ่าผ่านไปได้ เมื่อขบวนเคลื่อนไปถึงหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ แกนนำ นปก.ใช้เครื่องขยายเสียงขนาดใหญ่บนรถบรรทุก ปราศรัยโจมตีผู้เกี่ยวข้องกับการทำรัฐประหารทั้งหมด ในขณะที่ผู้ชุมนุมกำลังอยู่ระหว่างพักรับประทานอาหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามฝ่าฝูงชนเข้าไปจับตัวแกนนำ แต่ไม่สำเร็จ และถูกกลุ่มผู้ชุมนุมผลักดัน จนต้องล่าถอยออกไป สักครู่ใหญ่ เจ้าหน้าที่ตำรวจกลับมาอีกครั้ง พร้อมสเปรย์พริกไทย เพื่อเปิดทางเข้าไปจับตัวแกนนำบนรถปราศรัย แต่ก็ถูกผู้ชุมนุมผลักดันออกไปได้อีกครั้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจล่าถอยไปได้ไม่นาน ก็กลับมาพร้อมกับการยิงแก๊สน้ำตา จนทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมแตกฮือ แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถสลายกลุ่มผู้ชุมนุมได้ จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องล่าถอยออกไปอีก และกลับมาระดมยิงแก๊สน้ำตาอีกชุดใหญ่ พร้อมกับเสริมกำลังเข้ามามากขึ้น ทำให้สถานการณ์ตึงเครียด เพราะมีการตอบโต้จากฝ่ายผู้ชุมนุม หลายคนหยิบฉวยอะไรได้ ก็นำขึ้นมาใช้ตอบโต้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ว่าจะเป็นท่อนไม้ คันธง ขวดน้ำ อิฐตัวหนอนปูถนน แผงเหล็กกั้น และอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงการขับรถพุ่งเข้าชนโดยภายหลังจับกุมตัวได้ ทราบชื่อคือนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล แกนนำกลุ่มพิราบขาว 2006 เมื่อไม่สามารถต้านทานกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ระดมกันมาได้ แกนนำจึงพากลุ่มผู้ชุมนุมถอยออกจากหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ เพื่อกลับไปยังท้องสนามหลวงตามเดิม ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ ทั้งในส่วนของผู้ชุมนุม และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถึงแม้จะไม่มีผู้สูญเสียชีวิตหรืออวัยวะจากการสลายการชุมนุม แต่เหตุการณ์ดังกล่าว ก็ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินต่างๆ ในบริเวณโดยรอบที่ชุมนุม อาทิ ป้อมยามตำรวจ, ร้านค้าสมาคมแม่บ้านทหารบก และมูลนิธิพระดาบส ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ต่อมาในวันรุ่งขึ้น (23 กรกฎาคม) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อหาซ่องสุมเกินกว่า 10 คน ต่อแกนนำ นปก.

ใหม่!!: สเปรย์พริกไทยและเหตุการณ์ชุมนุมหน้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »