โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สาธารณรัฐสเปนที่ 2

ดัชนี สาธารณรัฐสเปนที่ 2

รณรัฐสเปนที่ 2 (Segunda República Española) เป็นยุคของสาธารณรัฐฝ่ายซ้ายของสเปน ตั้งแต่ปี 1931 ถึง 1939 ก่อนจะถูกฝ่าย Francoist Spain โค่นอำนาจลงในช่วง สงครามกลางเมืองสเปน หลังสงคราม รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น โดยมีที่ตั้งที่สถานทูตในเม็กซิโกซิตี จนถึงปี 1976 หลังมีการพื้นฟูประชาธิปไตยในสเปน รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนจึงถูกยุบลงในปีต่อม.

17 ความสัมพันธ์: ฟรันซิสโก ฟรังโกกองพลน้อยนานาชาติการเลิกล้มราชาธิปไตยมาร์ชาเรอัลมาร์การิตา แซ็กซ์-โคบูร์ก-ก็อตธาราชรัฐกาตาลุญญารายชื่อธงในประเทศสเปนรายพระนามพระมหากษัตริย์สเปนลัทธิคอมมิวนิสต์สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนสงครามกลางเมืองสเปนสงครามตัวแทนอิมโนเดเรียโกปืนเล็กยาวโมซิน-นากองท์แคว้นกาตาลุญญาโตเลโดÑ

ฟรันซิสโก ฟรังโก

ฟรันซิสโก เปาลีโน เอร์เมเนคิลโด เตโอดูโล ฟรังโก อี บาอามอนเด ซัลกาโด ปาร์โด (Francisco Paulino Hermenegildo Teódulo Franco y Bahamonde Salgado Pardo) หรือที่เป็นที่รู้จักกันในชื่อ จอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก (Francisco Franco) และ เอลโกว์ดีโย หรือ "ท่านผู้นำ" (El Coudillo) (เกิด 4 ธันวาคม พ.ศ. 2435 - ถึงแก่กรรม 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518) เป็นจอมพลและผู้เผด็จการชาวสเปนในช่วงปี พ.ศ. 2479-2518 เกิดที่เมืองเอลเฟร์โรล แคว้นกาลิเซีย ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสเปน จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยโตเลโดในปี พ.ศ. 2453 ได้รับประสบการณ์ในการรบเป็นอย่างมากในสงครามโมร็อกโก และได้เป็นนายพลที่หนุ่มที่สุดของประเทศสเปนเมื่อปี พ.ศ. 2469 ระหว่างสมัยสาธารณรัฐสเปนที่ 2 (พ.ศ. 2474-2479) ฟรังโกได้เป็นผู้นำทำการปราบปรามกบฏชาวเหมืองอัสตูรีอัส และในปี..

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และฟรันซิสโก ฟรังโก · ดูเพิ่มเติม »

กองพลน้อยนานาชาติ

แนวหน้าประชาชนอยู่ตรงกลาง ธงของแนวหน้าประชาชน องค์กรการเมืองที่ดูแลกองพลน้อยนานาชาติ ธงกองพลน้อยนานาชาติฮังการี กองพลน้อยนานาชาติ (Brigadas Internacionales; International Brigades) เป็นหน่วยทหารซึ่งประกอบจากอาสาสมัครจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งเดินทางไปยังประเทศสเปนเพื่อปกป้องสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ในสงครามกลางเมืองสเปนระหว่าง..

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และกองพลน้อยนานาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

การเลิกล้มราชาธิปไตย

ในประวัติศาสตร์โลก มีการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายประเทศทั่วโลก สาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์อาจเป็นผลมาจากการปฏิวัติ, การตั้งสาธารณรัฐ, การลงประชามติของประชาชน, การรัฐประหาร หรือจากสงคราม.

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และการเลิกล้มราชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

มาร์ชาเรอัล

ลามาร์ชาเรอัล (La Marcha Real แปลตามตัวว่า "เพลงมาร์ชหลวง" แปลเทียบเป็นภาษาไทยได้ว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมี") เป็นเพลงชาติของราชอาณาจักรสเปน และเป็นหนึ่งในเพลงชาติจำนวนไม่กี่เพลงในโลกนี้ที่ไม่มีเนื้อร้อง เพลงลามาร์ชาเรอัลนี้เป็นหนึ่งในเพลงชาติที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป มีที่มาที่ไปไม่ชัดเจนนัก ปรากฏหลักฐานครั้งแรกในเอกสารชื่อ Libro de Ordenanza de los toques militares de la Infantería Española (หนังสือคู่มือทหารราบสเปนว่าด้วยสัญญาณแตรเดี่ยว) พิมพ์โดยมานวยล์ เด เอสปีโนซา เมื่อปี พ.ศ. 2304 ในหนังสือเล่มดังกล่าวเรียกชื่อเพลงนี้ว่า "ลามาร์ชากรานาเดรา" (La Marcha Granadera - เพลงมาร์ชทหารรักษาพระองค์) และไม่ระบุชื่อผู้ประพันธ์ไว้ ถึง พ.ศ. 2313 พระเจ้าการ์โลสที่ 3 ได้มีพระบรมราชโองการให้ใช้เพลงลามาร์ชากรานาเดราเป็นเพลงเกียรติยศในทางราชการ เนื่องจากเพลงนี้มักจะใช้บรรเลงในเวลาที่พระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์เสด็จพระราชดำเนินในที่สาธารณะและในพระราชพิธีต่าง ๆ อยู่เสมอ ต่อมาไม่นานนัก ชาวสเปนก็รับเอาเพลงนี้มาใช้เป็นเพลงชาติและขนานนามเสียใหม่ว่า "ลามาร์ชาเรอัล" (แปลตามตัวว่า เพลงมาร์ชของพระเจ้าแผ่นดินหรือเพลงมาร์ชหลวง) ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ในสมัยสาธารณรัฐสเปนที่ 2 (พ.ศ. 2474-2483) เพลงลามาร์ชาเรอัลถูกงดใช้ในฐานะเพลงชาติและแทนที่ด้วยเพลง "เอลอิมโนเดเรียโก" (El Himno de Riego) สมัยนี้เป็นสมัยที่เกิดสงครามกลางเมืองเป็นระยะเวลานาน เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้ว จอมพลฟรานซิสโก ฟรังโกได้ปกครองประเทศในฐานะผู้เผด็จการ และนำเอาเพลงลามาร์ชาเรอัลกลับมาใช้เป็นเพลงชาติอีกครั้งในชื่อเพลง "ลามาร์ชากรานาเดรา" เพลงชาติสเปนฉบับปัจจุบันนี้ได้กำหนดให้ใช้ตามรัฐธรรมนูญแห่งสเปนฉบับ พ.ศ. 2522 โดยไม่มีเนื้อร้องประกอบ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 มีพระบรมราชโองการให้ใช้เพลงลามาร์ชาเรอัลเป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการสืบมาจนถึงทุกวันนี้ เพลงนี้มีใช้บรรเลงอยู่สองฉบับ คือ ฉบับสังเขป (ความยาวประมาณ 35 วินาที) และฉบับเต็ม (ความยาวประมาณ 1 นาที) ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้บรรเลงในโอกาสใ.

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และมาร์ชาเรอัล · ดูเพิ่มเติม »

มาร์การิตา แซ็กซ์-โคบูร์ก-ก็อตธา

มเด็จพระราชินีมาร์การิตาแห่งบัลแกเรียหรือ มาร์การิตา โกเมซ-อเชโบ ยี เซจูลา(ประสูติ 6 มกราคม พ.ศ. 2478;ภาษาสเปน:Margarita Gómez-Acebo y Cejuela)ทรงประสูติที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน เป็นพระมเหสีในพระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย โดยทรงอภิเษกสมรสหลังจากพระเจ้าซาร์ซิเมออนทรงลี้ภัย พระนางมีพระยศเป็นซารินามาร์การิตาหรือสมเด็จพระราชินีมาร์การิตา พระนางทรงได้รับพระยศเป็นเจ้าหญิงแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-ก็อตธาและดัสเชสในแซ็กโซนี โดยทางการสืบทอดของพระสวามี เมื่อพระสวามีของพระนางทรงดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งบัลแกเรีย พระนางทรงเป็นที่รู้จักในชื่อนาง มาร์การิตา แซ็กซ์-โคบูร์ก-ก็อต.

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และมาร์การิตา แซ็กซ์-โคบูร์ก-ก็อตธา · ดูเพิ่มเติม »

ราชรัฐกาตาลุญญา

การแบ่งแยกกาตาลุญญาระหว่างสเปนกับฝรั่งเศสในสนธิสัญญาพิเรนีส ราชรัฐกาตาลุญญา (Principat de Catalunya; Principautat de Catalonha) หรือ ราชรัฐแคทาโลเนีย (Principality of Catalonia) เป็นอดีตอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย ส่วนใหญ่อยู่ในเขตประเทศสเปน โดยมีบางส่วนที่อยู่ทางใต้ของประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน ราชรัฐแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นจากการรวมอาณาจักรเคานต์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นบริเวณชายแดนแห่งสเปน (Marca Hispanica) ระหว่างสมัยการพิชิตดินแดนคืนภายใต้การนำของเคานต์แห่งบาร์เซโลนา ต่อมาราชรัฐก็รวมตัวกันทางราชวงศ์ในปี..

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และราชรัฐกาตาลุญญา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศสเปน

นี้คือธงต่างๆ ที่ใช้ในประเทศสเปน ทั้งในอดีตและปัจจุบัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของธงชาติ ดูที่ ธงชาติสเปน.

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และรายชื่อธงในประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์สเปน

รายพระนามพระมหากษัตริย์สเปน.

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และรายพระนามพระมหากษัตริย์สเปน · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน

มเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน หรือ พระเจ้าฆวน การ์โลสที่ 1 (Juan Carlos I; เสด็จพระราชสมภพ 5 มกราคม พ.ศ. 2481) เป็นพระมหากษัตริย์สเปน ตั้งแต่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ฟรันซิสโก ฟรังโก ผู้เผด็จการสเปน กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 เป็นประมุขแห่งรัฐองค์ถัดมาใน..

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองสเปน

งครามกลางเมืองสเปน (Spanish Civil War) เป็นการรบในประเทศสเปนที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้แก่ "ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ" ประกอบด้วยกลุ่มมัชฌิมา กลุ่มสังคมนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์ รวมทั้งชาวกาตาลาและชาวบาสก์ที่หัวรักถิ่นและเป็นอนาธิปไตย กับ "ฝ่ายชาตินิยม" ที่เป็นฝ่ายก่อการกบฏ รวมถึงพวกนิยมกษัตริย์ พวกการ์ลิสต์ พวกคาทอลิกหัวเก่า และพวกฟาสซิสต์ฟรังกิสต์ ซึ่งกองทัพสเปนเองก็ได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย แต่ละฝ่ายก็พยายามระดมหาพันธมิตรต่างประเทศมาช่วยรบ ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐดึงสหภาพโซเวียตและเม็กซิโก ส่วนฝ่ายชาตินิยมดึงพวกฟาสซิสต์จากอิตาลีและนาซีเยอรมนี สงครามดังกล่าวนับว่าเป็นการเร่งความขัดแย้งที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง และถูกมองว่าเป็นสงครามตัวแทนระหว่างสองลัทธิ คือ คอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตและฟาสซิสต์ ฝ่ายอักษะ สงครามดังกล่าวได้มีการนำรถถังและการทิ้งระเบิดทางอากาศมาใช้ และถูกกล่าวขานถึงความโหดร้ายของสงครามและความแตกแยกทางการเมืองจากนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่หลายคน อย่างเช่น เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, มาร์ธา เกลฮอร์น, จอร์จ ออร์เวลล์, และโรเบิร์ต คาป.

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และสงครามกลางเมืองสเปน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามตัวแทน

งครามตัวแทน (proxy war) เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐหรือตัวแสดงที่มิใช่รัฐสองฝ่ายซึ่งต่างฝ่ายต่างมิได้ประจัญบานโดยตรงกับอีกฝ่ายหนึ่ง แม้คำนี้ครอบคลุมการเผชิญหน้าด้วยอาวุธต่าง ๆ แต่บทนิยามแกนกลางของ "สงครามตัวแทน" ตั้งอยู่บนอำนาจสองฝ่ายใช้การต่อสู้ภายนอกเพื่อโจมตีผลประโยชน์หรือการถือครองดินแดนของอีกฝ่าย สงครามตัวแทนมักเกี่ยวข้องกับทั้งสองประเทศต่อสู้กับพันธมิตรของคู่แข่ง หรือสนับสนุนพันธมิตรของตนในการต่อสู้กับคู่แข่ง สงครามตัวแทนพบมากเป็นพิเศษช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและช่วงสงครามเย็น และเป็นมุมมองนิยามความขัดแย้งทั่วโลกระหว่างครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ส่วนมากได้รับการจูงใจจากความกลัวว่าความขัดแย้งโดยตรงระหว่างสหรัฐและสหภาพโซเวียตจะส่งผลให้เกิดการฆ่าล้างบางนิวเคลียร์ ทำให้สงครามตัวแทนเป็นวิธีแสดงออกซึ่งความเป็นปรปักษ์ที่ปลอดภัยกว่า นอกจากนี้ยังมีเหตุผลประชิดกว่าสำหรับการถือกำเนิดของสงครามตัวแทนในเวทีโลก คือระหว่างช่วงปีหลัง ๆ สหภาพโซเวียตพบว่าการติดอาวุธหรือจัดตั้งภาคีปฏิปักษ์ต่อเนโทแทนการเผชิญหน้าโดยตรงมีราคาถูกกว่าProf CJ.

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และสงครามตัวแทน · ดูเพิ่มเติม »

อิมโนเดเรียโก

อิมโนเดเรียโก (El Himno de Riego) เป็นบทเพลงปลุกใจของสเปนที่มีต้นกำเนิดในช่วงสงครามกลางเมืองของสเปนระหว่าง พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2366 โดยชื่อของเพลงนี้มาจากนายพันโท ราฟาเอล เดล เรียโก นายทหารและนักการเมืองสายเสรีนิยมของสเปนที่บทบาทสำคัญในสงครามกลางเมืองครั้งนั้น เพลงนี้ต่อมาได้กลายเป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐสเปน 1 (พ.ศ. 2416 - พ.ศ. 2417) และสาธารณรัฐสเปน 2 (พ.ศ. 2474 - พ.ศ. 2482) หลังการล่มสลายของสาธารณรัฐสเปนครั้งที่ 2 เพลงนี้ได้กลายเพลงต้องห้ามตลอดสมัยการปกครองอย่างเผด็จการของจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโก.

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และอิมโนเดเรียโก · ดูเพิ่มเติม »

ปืนเล็กยาวโมซิน-นากองท์

ปืนไรเฟิล 3 ไลน์ เอ็ม 1891 (3-line rifle M1891, трёхлинейная винтовка образца 1891 года, tryokhlineynaya vintovka obraztsa 1891 goda) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โมซิน-นากองท์ (Mosin–Nagant, винтовка Мосина) เป็นปืนไรเฟิลที่ถูกพัฒนาโดยกองทัพจักรวรรดิรัสเซียในปี 1882-1891 และใช้งานโดยกองทัพจักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียตและประเทศอื่น ๆ ถูกผลิตมากกว่า 37 ล้านกระบอกนับตั้งแต่เริ่มผลิตในปี 1891 และถูกนำมาใช้ในความขัดแย้งต่าง ๆ ทั่วโลกจนถึงสมัยปัจจุบัน.

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และปืนเล็กยาวโมซิน-นากองท์ · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นกาตาลุญญา

กาตาลุญญา (Catalunya; Cataluña), กาตาลุญญอ (อารัน: Catalonha) หรือ แคทาโลเนีย (Catalonia) เป็นภูมิภาคหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของคาบสมุทรไอบีเรีย ปัจจุบัน สถานะทางรัฐธรรมนูญของภูมิภาคนี้เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างราชอาณาจักรสเปนซึ่งถือว่ากาตาลุญญาเป็นแคว้นปกครองตนเองแห่งหนึ่งของตน กับฌานาราลิตัตดากาตาลุญญา (ทบวงการปกครองในท้องถิ่น) ซึ่งถือว่ากาตาลุญญาเป็นสาธารณรัฐเอกราชหลังจากที่สภานิติบัญญัติกาตาลุญญาประกาศเอกราชจากสเปนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม..

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และแคว้นกาตาลุญญา · ดูเพิ่มเติม »

โตเลโด

ตเลโด (Toledo; Toletum (โตเลตุม); طليطلة (ตุไลเตละห์)) เป็นเมืองและเทศบาลแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศสเปน ห่างจากกรุงมาดริดไปทางทิศใต้ประมาณ 70 กิโลเมตร โตเลโดเป็นเมืองหลักของจังหวัดโตเลโดและของแคว้นกัสติยา-ลามันชา ในปี ค.ศ. 1986 (พ.ศ. 2529) องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้เมืองนี้เป็นแหล่งมรดกโลก เนื่องจากมีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างมากมายในฐานะหนึ่งในเมืองหลวงของจักรวรรดิสเปน รวมทั้งยังเป็นสถานที่ที่ปรากฏร่องรอยวัฒนธรรมของชาวคริสต์ ชาวยิว และชาวมัวร์อยู่ร่วมกันอีกด้วย บุคคลและศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคนต่างเกิดและเคยพำนักอยู่ในเมืองนี้ เช่น การ์ซีลาโซ เด ลา เบกา, พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 และเอลเกรโก ในปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2548) เมืองนี้มีประชากร 75,578 คน และมีพื้นที่ 232.1 ตารางกิโลเมตร (89.59 ตารางไมล์) โตเลโดเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรวิซิกอท (ในสเปนโบราณ) ตั้งแต่สมัยพระเจ้าลีอูวีกิลด์ และมีฐานะเป็นเมืองหลวงจนกระทั่งชาวมัวร์ (ชาวมุสลิมจากแอฟริกาเหนือ) ได้เข้ามายึดครองคาบสมุทรไอบีเรียเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภายใต้การปกครองของอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา โตเลโด (ซึ่งในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า "ตุไลเตละห์" طليطلة) ก็ได้เข้าสู่ยุคทอง ช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองอันยาวนานนี้รู้จักกันในชื่อ "ลากอนบีเบนเซีย" (La Convivencia) หรือการอยู่ร่วมกัน (ของชาวคริสต์ ชาวยิว และชาวมุสลิม) ในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1085 (พ.ศ. 1628) พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 6 แห่งกัสติยาทรงยึดเมืองโตเลโดคืนจากชาวมุสลิมได้และสถาปนาเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรกัสติยา-เลออนในช่วงของการพิชิตดินแดนคืน (Reconquista) โตเลโดในอดีตมีชื่อเสียงจากการผลิตเหล็ก (โดยเฉพาะดาบ) และปัจจุบันยังคงเป็นศูนย์กลางการผลิตมีดและเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากเหล็ก เมื่อพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งสเปนทรงย้ายราชธานีจากโตเลโดไปมาดริดในปี ค.ศ. 1561 (พ.ศ. 2104) นั้น เมืองเก่าแห่งนี้ก็ค่อย ๆ เสื่อมลงและไม่ได้รับการฟื้นฟู ป้อมอัลกาซาร์ (Alcázar) ซึ่งตั้งอยู่บนส่วนที่สูงที่สุดของเมืองนี้มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ในฐานะสถาบันวิชาทหารแห่งหนึ่ง เมื่อสงครามกลางเมืองสเปนระเบิดขึ้นในปี ค.ศ. 1936 (พ.ศ. 2479) กองทหารในป้อมนี้ถูกล้อมโดยกองกำลังของฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ ที่ตั้งเมืองโตเลโดในประเทศสเปน.

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และโตเลโด · ดูเพิ่มเติม »

Ñ

ตัวอักษรเอเลบนแป้นพิมพ์ภาษาสเปน Ñ (ตัวใหญ่: Ñ, ตัวเล็ก: ñ) เป็นตัวอักษรละตินยุคใหม่ซึ่งเกิดจากการใส่เครื่องหมายทิลเดบนตัวอักษร N ตัว Ñ ได้รับการจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดตัวอักษรภาษาสเปนอย่างเป็นทางการในพุทธศตวรรษที่ 23 แต่ก็มีการใช้ในภาษากาลิเซีย, ภาษาอัสตูเรียส, ภาษาบาสก์, ภาษาอารากอน, ภาษาชาบากาโน, ภาษาฟิลิปีโน, ภาษาเกชัว และภาษาเตตุม รวมไปถึงในการถอดอักษรกลุ่มภาษาโตคาเรียนและภาษาสันสกฤตเป็นอักษรละติน โดยแทนเสียงนาสิก เพดานแข็ง  แต่ในภาษาตาตาร์ไครเมียใช้แทนเสียงนาสิก เพดานอ่อน ส่วนในภาษาเบรอตงและภาษาโรฮีนจา ตัวอักษรนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าสระที่อยู่ข้างหน้าออกเสียงเป็นสระนาสิก Ñ แตกต่างกับตัวอักษรอื่น ๆ ที่มีเครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับ (เช่น Ü ในภาษาสเปน, ภาษากาลิเซีย, ภาษาอัสตูเรียส และภาษาเลออน) ตรงที่มันมีฐานะเป็นตัวอักษรต่างหากตัวหนึ่งในภาษาเหล่านั้น (ยกเว้นภาษาเบรอตง) โดยมีชื่อเรียกเป็นของตัวเอง (ภาษาสเปนเรียก "เอเญ", eñe) และมีตำแหน่งเป็นของตัวเองในชุดตัวอักษร (ต่อจาก N) จากมุมมองนี้ ความเป็นเอกเทศของตัว Ñ จึงคล้ายคลึงกับตัว W ในภาษาอังกฤษ (ซึ่งมาจากการเขียนตัว V ติดกันในอดีต เหมือนกับตัว Ñ ซึ่งมาจากการเขียนตัว N ติดกัน).

ใหม่!!: สาธารณรัฐสเปนที่ 2และÑ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »