โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตราสารอนุพันธ์

ดัชนี ตราสารอนุพันธ์

ตราสารอนุพันธ์ (derivative บางตำราอาจเรียกว่า สัญญาอนุพันธ์) เป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่ง ที่มูลค่าของตราสารจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินของสินทรัพย์อ้างอิง ไม่ได้มีค่าจากกระแสเงินของตัวตราสารเองโดยตรง ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ได้แก่ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบมาตรฐาน (futures), สัญญาซื้อขายล่วงหน้าแบบไม่มาตรฐาน (forward), ตราสารแลกเปลี่ยน (swap), ตราสารสิทธิ (option) เป็นต้น และมีสินทรัพย์ที่สามารถอ้างอิงได้คือ เงินตราต่างประเทศ ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น โลหะมีค่า สินค้าเกษตร น้ำมัน หรือสินค้าอื่นใดที่มีดัชนีแน่นอนรองรับการออกตราสารอนุพันธ์ได้.

6 ความสัมพันธ์: สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตราสารสิทธิตราสารหนี้ตราสารทางการเงินตราสารทุนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

สัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ัญญาซื้อขายล่วงหน้า (futures contract บางตำราอาจเรียกว่า ตราสารซื้อขายล่วงหน้า หรือ ตราสารล่วงหน้า) ในทางการเงินหมายถึงสัญญามาตรฐานที่ใช้ในการซื้อหรือขายสินค้าโภคภัณฑ์ (commodity) หรือ ตราสารทางการเงิน (financial instrument) ตามปริมาณมาตรฐานที่ระบุ ในเวลาที่ระบุไว้ในอนาคต และตามราคาตลาดที่ระบุในอนาคต (“ราคาล่วงหน้า”) การซื้อขาย “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” ทำกันในตลาดซื้อขายล่วงหน้า (futures exchange) “สัญญาซื้อขายล่วงหน้า” มิใช่ ตราสารโดยตรงเช่นหุ้น พันธบัตร ใบสำคัญแสดงสิทธิ หรือ ใบค้ำประกัน ตามที่ระบุในรัฐบัญญัติหลักทรัพย์มาตรฐาน (Uniform Securities Act) ของสหรัฐอเมริกา แต่ก็เป็นตราสารประเภทหนึ่งของประเภทที่เรียกว่าสัญญาอนุพันธ์ (derivative contract).

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า · ดูเพิ่มเติม »

ตราสารสิทธิ

ตราสารสิทธิ หรือ ออปชัน (option บางตำราอาจเรียกว่า สัญญาสิทธิ หรือ ตราสารทางเลือก) เป็นหนังสือสัญญาหรือตราสารระหว่างบุคคลสองคนตามที่ระบุในหนังสือสำคัญ มีรายละเอียดคือ ชื่อผู้ซื้อสิทธิและชื่อผู้ขายสิทธิในสินค้าอย่างหนึ่ง มีการกำหนดหมดอายุสัญญา การกำหนดราคา ในอดีตการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าบุคคลเริ่มต้นทำกันเอง เมื่อมีความเจริญติดต่อกันซื้อขายมากขึ้น จึงมีสถานที่เป็นตลาดกลาง ตราสารสิทธิก็ได้พัฒนามาจนได้รับความนิยมมากขึ้น สำหรับตราสารสิทธิของประเทศไทย เป็นหนังสือสัญญาหรือตราสารทางการเงินประเภทตราสารอนุพันธ์ โดยมีสินค้าอ้างอิงเป็นดัชนี SET50 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีลักษณะให้สิทธิแก่ผู้ถือตราสารเมื่อเปิดสถานะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายที่จะใช้สิทธิซื้อหรือขายในวันที่กำหนด วันสิ้นสิทธิแต่ละงวดแบ่งเป็นสี่งวดในหนึ่งปี หรือจะปิดสถานะแบบมีสิทธิก่อนวันหมดอายุก็ได้ตามตราสารสิทธิแบบอเมริก.

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และตราสารสิทธิ · ดูเพิ่มเติม »

ตราสารหนี้

ตราสารหนี้ หรือ ตราสารแห่งหนี้(bond) คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรืยกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลาดทุนมักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป.

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และตราสารหนี้ · ดูเพิ่มเติม »

ตราสารทางการเงิน

ตราสารทางการเงิน (financial instrument) คือ เอกสารทางการเงินที่ผู้ออกหลักทรัพย์นำออกมาจำหน่ายเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน อาจนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ตราสารทางการเงินอาจแบ่งออกได้เป็นตราสารแห่งหนี้ ตราสารแห่งทุน ตราสารอนุพันธ์ และ ตราสารที่มีลักษณะผสม (เช่น กึ่งหนี้กึ่งทุน) ตัวอย่างตราสารทางการเงินได้แก.

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และตราสารทางการเงิน · ดูเพิ่มเติม »

ตราสารทุน

ตราสารทุน หรือ ตราสารแห่งทุน (equity instrument) เป็นตราสารทางการเงินที่แสดงถึงการจัดแหล่งเงินทุนจากการเป็นเจ้าของ ซึ่งจะมีความผูกพันในฐานะเจ้าของหุ้นส่วนกิจการ.

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และตราสารทุน · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ปลี่ยนแปลงจากปีก่อน: +198.96 จุด (+%) |- ! colspan.

ใหม่!!: ตราสารอนุพันธ์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สัญญาอนุพันธ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »